Friday, December 18, 2009


รสแห่งดุอาอฺ



นานมาแล้ว...เคยถามเพื่อนเล่น ๆ เกี่ยวกับคำที่ใช้เรียกแทนตัวเองเวลาขอดุอาอฺเป็นภาษาไทย
--ไม่นึกว่าจะได้คำตอบค่อนข้างหลากหลาย

บางคนบอกว่าใช้ชื่อตัวเอง บางคนใช้ว่า'ข้าพระองค์'
บางคนใช้ว่า'บ่าว' บางคนใช้ว่า'ฉัน' บางคนใช้ว่า 'หนู'
(คนหลังสุดนี่บอกด้วยว่าเค้าเรียกอัลลอฮฺว่า 'อัลลอฮฺจ๋า' ตอนแรกฟังแล้วก็ยิ้ม
แต่มีครั้งนึง ที่รู้สึกแย่สุด ๆ แล้วคำว่า 'อัลลอฮฺจ๋า' ก็ปรากฏขึ้น มันรู้สึกอบอุ่นบอกไม่ถูก
เหมือนเราเป็นแค่เด็กเล็ก ๆ ที่ไม่มีที่พึ่งอื่นใดอีกแล้วนอกจากผู้ที่เรากำลังวอนขอ...
จากนั้นก็ใช้คำนี้อยู่เรื่อย ๆ โดยเฉพาะเวลาที่สึกแย่ไม่ไหวแล้ว)


ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็ก ๆ นะ แค่คำเรียกขานในดุอาอฺ แต่พอมาอ่านสำนวนดุอาอฺของท่านนบีแล้ว
รู้สึกว่ามันเป็นมากกว่าคำขอธรรมดา เราจะพบคำขานพระนามอันงดงาม หรือคุณสมบัติอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺอยู่เสมอ
ในดุอาอฺของท่านนบี เช่น 'อัลลอฮุมม่ะอันตัสสลาม'(โอ้อัลลอฮฺพระองค์คือผู้ทรงสันติ)
'ยาร็อบบัลอาละมีน'(โอ้ผู้เป็นเจ้าแห่งสากลโลก) หรือ 'อินนะกะอันตัซซะมีอุ้ลอะลีม'
(แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้)
นั่นแสดงว่ามุสลิมไม่ได้วอนขอต่ออัลลอฮฺโดยปราศจากความหมาย
ขอเพียงเพราะเผื่อจะฟลุคได้แบบที่ยายสาตาสีขอหวยต่อต้นไทร แต่เราขอด้วยความเชื่อมั่น
ความศรัทธาในผู้ที่เราวอนขอว่าพระองค์มีอำนาจที่จะให้เราได้ในสิ่งที่เราวอนขอ


และแท้ที่จริงแล้วการเรียกขานอัลลอฮฺด้วยพระนามหรือคุณสมบัติอันงดงามของพระองค์ก็เป็นสิ่งที่ดีต่อเราเอง หลาย ๆ ครั้งเรารีบเร่งในการขอดุอาอฺมากเกินไป สักแต่ว่าขอ ไม่ได้ใส่ใจที่จะเข้าถึงรสชาติและพลังที่แท้จริงของดุอาอฺ การที่เราได้ให้เวลาตัวเองทบทวนถึงความยิ่งใหญ่ของผู้ที่เรากำลังวอนขอ ด้วยการกล่าวสรรเสริญพระองค์จึงเป็นเหมือนการสร้างสมาธิให้เราเองอย่างหนึ่ง(ถ้าเราจริงใจในคำกล่าวนั้นอย่างแท้จริง)


ระหว่างการขอว่า 'โอ้อัลลอฮฺ โปรดชำระล้างหัวใจของข้าพระองค์จากสิ่งโสมมทั้งหลายด้วยเถิด'
กับการขอว่า 'โอ้อัลลอฮฺ พระองค์คือผู้ทรงบังเกิดหัวใจภายในอกนี้ และทรงรู้จักมันดียิ่งกว่าตัวของข้าพระองค์เอง
โปรดทรงชำระล้างมันจากสิ่งโสมมทั้งหลายด้วยเถิด แท้จริงทุกหัวใจนั้นอยู่ในกำมือของพระองค์' จึงให้รสชาติต่างกัน


การเอาใจใส่ในรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ทำให้อิบาดะฮฺของเรามีพลังและความหมายมากขึ้น
มันดีต่อชีวิตของเราจริง ๆ นะ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ชีวิตประสบความทุกข์ยาก และยังมองไม่เห็นทางออก

'พึงทราบเถิด ด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺเท่านั้นที่ทำให้หัวใจสงบ' (อัร-เราะอฺดุ:28)

มุสลิมรุ่งเรืองในดินแดนคาทอลิกโปแลนด์

มุสลิมรุ่งเรืองในดินแดนคาทอลิกโปแลนด์

บูรณะ‘มัสยิดหลังน้อย’ที่ลิเวอร์พูล - มัสยิดหลังแรกของอังกฤษ

บูรณะ‘มัสยิดหลังน้อย’ที่ลิเวอร์พูล - มัสยิดหลังแรกของอังกฤษ

วีเซนเต โมตา อัลฟาโร : Vicente Mota Alfaro(เรื่องราวของหนุ่มคาทอลิกสเปนผู้กลายเป็นอิหม่ามมัสยิดศูนย์กลางวัฒนธรรมอิสลามเมืองบาเลนเซีย)

วีเซนเต โมตา อัลฟาโร : Vicente Mota Alfaro(เรื่องราวของหนุ่มคาทอลิกสเปนผู้กลายเป็นอิหม่ามมัสยิดศูนย์กลางวัฒนธรรมอิสลามเมืองบาเลนเซีย)

การบริจาคอวัยวะ

การบริจาคอวัยวะ

คำทำนาย

คำทำนาย

เหนือกามารมณ์

เหนือกามารมณ์

รักไม่มีพรมแดนแต่รักต้องมีศาสนา

รักไม่มีพรมแดนแต่รักต้องมีศาสนา

โรคที่น้ำผึ้งไม่อาจรักษาได้

โรคที่น้ำผึ้งไม่อาจรักษาได้

Friday, December 11, 2009

ดุอาอ์และซิกิรฺที่ใช้อ่านเพื่อป้องกันจากชัยฏอน


ดุอาอ์และซิกิรฺที่ใช้อ่านเพื่อป้องกันจากชัยฏอน
﴿ ما يعتصم به العبد من الشيطان من الأدعية والأذﻛﺎر ﴾
[ ไทย – Thai – [ تايلاندي
มุหัมมัด อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์
แปลโดย : ซุฟอัม อุษมาน
ผู้ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ที่มา : มุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์
2009 - 1430
﴿ ما يعتصم به العبد من الشيطان من الأدعية والأذﻛﺎر ﴾
« باللغة اﻛﺤايلاندية »
ﻣﺤمد بن إبراهيم اﻛﺤوﻳﺠري
ترﺟﻤة: صاﻓﻲ عثمان
مراجعة: فيصل عبداﻟﻬادي
اﻟﻤصدر: كتاب ﻣﺨتﺼﺮ الفقه الإسلاﻣﻲ
2009 - 1430
1
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
ดุอาอ์และซิกิรฺที่ใช้อ่านเพื่อป้องกันจากชัยฏอน
ประเภทของโรคภัยไข้เจ็บและการรักษา
โรคภัยไข้เจ็บมีสองประเภท คือ โรคทางใจ และโรคทางกาย
โรคทางใจนั้นมีสองชนิด คือ
1. โรคที่ว่าด้วย ชุบฮะฮฺ (ความเคลือบแคลงสงสัย) เช่นที่อัลลอฮฺได้ตรัสถึงพวกมุนาฟิกว่า:
_ ~ } { z y x w v u t sI
[ اكقرة/ ١٠ ] H`
ความว่า "ในหัวใจของพวกเขานั้นมีโรคอยู่ แล้วอัลลอฮฺก็ทรงเพิ่มให้
พวกเขาเป็นโรค และสำหรับพวกเขานั้นคือการลงโทษอันแสนเจ็บปวด
เนื่องด้วยเหตุที่พวกเขาโป้ปดมดเท็จ"
(อัล-บะเกาะเราะฮฺ: 10)
2. โรคที่ว่าด้วย ชะฮฺวะฮฺ (อารมณ์ใฝ่ต่ำ) เช่นที่อัลลอฮฺได้ตรัสต่อเหล่ามารดาแห่งศรัทธา
ชนว่า
[ الأحزاب/ ٣٢ ] Ha ` _ ^ ] \ [ ZI
วามว่า "ดังนั้น พวกเธอจงอย่าทำเสียงอ่อน เพราะมันจะเป็นเหตุให้คน
ที่มีโรคในใจเกิดความใคร่อยาก"
(อัล-อะหฺซาบ: 32)
ส่วนโรคทางกายนั้นก็คือ การเจ็บไข้ได้ป่วยทั่วๆ ไป
การเยียวยาจิตใจและการรักษาโรคทางใจนั้นจะรู้ได้ผ่านการสอนของศาสนทูตทั้งหลาย
เท่านั้น แท้จริงแล้วไม่มีความดีใดๆ ที่จะเกิดขึ้นกับจิตใจเว้นแต่เมื่อมันรู้จักพระเจ้าและผู้สร้างมัน
ด้วยพระนามและคุณลักษณะต่างๆ ของพระองค์ ด้วยกิริยาและบทบัญญัติต่างๆ ของพระองค์ ซึ่ง
เป็นปัจจัยที่นำไปสู่ความโปรดปรานและความรักของพระองค์ และเป็นเหตุให้ห่างไกลจากสิ่ง
ต้องห้ามและความโกรธกริ้วของพระองค์
ส่วนการรักษาโรคทางกายนั้นมีสองชนิด คือ ชนิดที่หนึ่งเป็นสิ่งที่อัลลอฮฺได้สอนให้สรรพ
สัตว์ทั้งหลายรู้ได้ด้วยสันดานเดิม เช่น การรักษาความหิวกระหายและความเหนื่อยล้า ซึ่งสามารถ
ที่จะทำให้หายด้วยสิ่งตรงข้าม (นั่นคือการกิน การดื่ม และพักผ่อน ฯลฯ เหล่านี้สรรพสัตว์ทั้งหลาย
ต่างก็รู้ได้เองโดยสันดาน) อีกชนิดหนึ่งนั้นต้องอาศัยการคิดและสังเกต การรักษานี้ต้องใช้ยาจาก
ธรรมชาติหรือจากพระผู้เป็นเจ้า หรือใช้ทั้งสองอย่างพร้อมๆ กัน
2
โรคทางใจ
โรคทางใจ คือ อาการที่ผิดปกติจากความผ่องใสและความสมดุลของจิตใจ จิตใจที่ผ่องใส
คือหัวใจที่รู้จักสัจธรรม รักความจริง และให้ความสำคัญกับมันเหนือสิ่งอื่นใด เพราะฉะนั้นโรคทาง
ใจนั้นจึงอาจจะเกี่ยวข้องกับความสงสัยในสัจธรรม หรือให้ความสำคัญกับสิ่งอื่นมากกว่ามัน เช่น
โรคทางใจของพวกมุนาฟิกผู้กลับกลอก ซึ่งมีทั้ง ชุบฮะฮฺ และ ชะฮฺวะฮฺ ส่วนโรคทางใจของผู้ที่ทำ
บาปนั้นคือโรคแห่ง ชะฮฺวะฮฺ นอกจากนี้ยังมีโรคทางใจอื่นๆ อีกเช่น การโอ้อวด การหยิ่งยะโส การ
หลงตัวเอง การอิจฉาริษยา การทะนงตน การผยอง ชอบตำแหน่ง และทำตัวสูงส่งในแผ่นดิน โรค
เหล่านี้ล้วนกำเนิดมาจากโรคหลักสองอย่าง คือ ชุบฮะฮฺ และ ชะฮฺวะฮฺ ดังที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง –
ขออัลลอฮฺประทานความปลอดภัยแก่เราด้วยเทอญ
การป้องกันความชั่วร้ายของชัยฏอนมนุษย์และญิน
1. อัลลอฮฺได้สั่งให้เราพยายามสนทนาปราศรัยและทำดีกับศัตรูที่เป็นมนุษย์ด้วยกัน เพื่อ
ปรับให้นิสัยอันดีงามดั้งเดิมของเขากลับสู่ความรักใคร่และมารยาทที่ดี พระองค์ตรัสว่า
g f e d c b a ` _ ~ } { zI
v u t s r q p o n m lk j i h
[٣٥ - فصلت/ ٣٤ ] Hx w
ความว่า "และย่อมไม่เท่ากันระหว่างความดีและความชั่ว จงต้าน(ความ
ชั่วร้ายของคู่กรณี)ด้วย(วิธีการและแนวทาง)ที่ดีที่สุด เมื่อนั้น คนที่มี
ความเป็นศัตรูกันะหว่างเจ้ากับเขาก็จะกลับมาเป็นดังมิตรสหายผู้
ใกล้ชิด และไม่มีใครที่จะได้รับสิ่งนั้น เว้นแต่ผู้ที่อดทน และไม่มีใครที่
ได้รับสิ่งนั้น เว้นแต่เขาย่อมเป็นผู้ที่มีโชคอันยิ่งใหญ่"
(ฟุศศิลัต: 34-35)
2. อัลลอฮฺสั่งให้เราขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้เราพ้นจากศัตรูที่เป็นชัยฏอน ซึ่งไม่
ยอมรับกับเจรจาหรือทำดีด้วย ทว่านิสัยของมันนั้นคือการล่อลวงและเป็นศัตรูกับมนุษย์แต่เดิมอยู่
แล้ว พระองค์ตรัสว่า
H¦ ¥ ¤ £ ¢ ¡  ~ } { z yI
[ [فصلت/ ٣٦
ความว่า "และหากว่ามีการยุแหย่เจ้าจากชัยฏอนด้วยการยั่วยุใดๆ ก็จง
ขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺ แท้จริงพระองค์ทรงเป็นผู้ได้ยินและผู้รอบ
รู้ยิ่ง" (ฟุศศิลัต: 36)
3
มลาอิกะฮฺและชัยฏอนนั้นจะคอยวนเวียนเปลี่ยนเวรเข้ามายังหัวใจของมนุษย์ เหมือนการ
เปลี่ยนผันของกลางวันและกลางคืน มนุษย์บางคนอาจจะมีกลางคืนนานกว่ากลางวัน บางคน
กลางวันอาจจะนานกว่ากลางคืน บางคนอาจจะมีเวลาเป็นกลางคืนตลอด และบางคนก็อาจจะมี
ช่วงเวลาที่เป็นกลางวันตลอด (เป็นการเปรียบเทียบสภาพของหัวใจมนุษย์กับมลาอิกะฮฺและ
ชัยฏอน) มลาอิกะฮฺนั้นมีงานที่พวกเขาจะทำกับหัวใจมนุษย์ ชัยฏอนก็มีงานที่พวกมันจะทำกับ
หัวใจมนุษย์เช่นกัน และไม่มีสิ่งใดที่อัลลอฮฺได้สั่งใช้และมีบัญชา เว้นแต่ชัยฏอนจะต้องเข้ามา
ล่อลวงด้วยสองทางเสมอ คือ อาจจะเป็นด้วยการล่อลวงให้ทำอย่างเกินเลยและละเมิดขอบเขต
หรือล่อลวงให้ทำอย่างหย่อนยานและบกพร่อง
การเป็นศัตรูของชัยฏอนต่อลูกหลานอาดัม
มนุษย์และญินซึ่งเป็นมัคลูกที่ถูกใช้โดยอัลลอฮฺนั้น มีความพิเศษเหนือมัคลูกอื่นๆ อยู่สาม
ประการคือ มีสติปัญญา มีศาสนา และมีสิทธิในการตัดสินใจเลือก อิบลีสเป็นผู้แรกที่ใช้นิอฺมัตทั้ง
สามประการนี้ในทางที่ผิดด้วยการทรยศต่อคำสั่งแห่งพระผู้อภิบาลของมัน ทว่ายังหัวแข็งและดื้อ
ด้านที่จะอยู่ในสภาพนั้น ซ้ำยังได้ขอร้องให้พระองค์ไว้ชีวิตมันจนถึงวันกิยามะฮฺ เพื่อที่จะใช้นิอฺมัตนี้
ในการล่อลวงลูกหลานอาดัม และตกแต่งความผิดบาปให้ดูสวยงาม เพื่อชวนให้พวกเขาได้เข้านรก
ตามพวกมันไป
1. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
k j i h g f e d c b a ` _I
[ فاطر/ ٦ ] Hm
ความว่า "แท้จริงชัยฏอนนั้นเป็นศัตรูกับพวกเจ้า ดังนั้น จงถือว่ามันเป็น
ศัตรู แท้จริงแล้วมันเรียกร้องพรรคพวกของมันเพื่อให้กลายเป็นชาว
นรก"
(ฟาฏิร: 6)
2. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
[ يوسف/ ٥ ] HQ P O N M LI
ความว่า "แท้จริงชัยฏอนนั้นเป็นศัตรูที่ชัดเจนสำหรับมนุษย์"
(ยูซุฟ: 5)
3. จาก ญาบิรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม กล่าวว่า
إن عَرش إبليس ﻟﺒ اكحر فَيَبْعَثُ ﺳَﺮَايَاهُ فَيَفْتِنُونَ اجَّاسَ، »
ِ
ََََََِّْْْ
فأقْظَمُهُمْ عِنْدَهُ أَقْظَمُهُمْ فِتْنَةً
.«َ
4
ความว่า "แท้จริง บัลลังก์ของอิบลีสนั้นอยู่เหนือมหาสมุทร แล้วมันก็จะ
ส่งกองทัพของมันเพื่อล่อลวงมนุษย์ ตัวที่ร้ายกาจที่สุดในหมู่ลูกน้องที่
อยู่กับมันคือตัวที่ร้ายกาจที่สุดในการล่อลวง"
(บันทึกโดย มุสลิม: 2813)
ลักษณะการเป็นศัตรูของชัยฏอน
ลักษณะการแสดงออกถึงการเป็นศัตรูของชัยฏอนต่อมนุษย์นั้นมีหลากหลายรูปแบบ
บางครั้ง ด้วยการหลอกมนุษย์ และตกแต่งความชั่วร้ายและบาปให้ดูสวยงามแก่พวกเขา
แล้วมันก็ผละจากพวกเขาโดยไม่รับผิดชอบ
บางครั้ง ด้วยการหลอกให้มนุษย์มีความสับสนลังเลในการปฏิบัติอะมัล
บางครั้ง ด้วยการทำให้มนุษย์หลงผิด ให้สัญญาและความหวังอย่างโกหก และยุแหย่
ระหว่างพวกเขา
บางครั้ง ด้วยการชักชวนและนำพวกเขาสู่การทำบาปและสิ่งต้องห้ามทั้งหลาย
บางครั้ง มันจะนั่งขวางทางการทำดีทั้งหมด เพื่อห้ามมนุษย์ไม่ให้ทำดี คอยทำให้ท้อ คอย
ขัดขวาง และทำให้กลัว
บางครั้ง มันพยายามให้ทะเลาะกันระหว่างมนุษย์ ด้วยการโยนความเป็นศัตรูและความ
โกรธเข้าใส่ระหว่างพวกเขา
บางครั้ง ด้วยการปลุกความอิจฉาริษยาและคิดไม่ซื่อในหัวใจพวกเขา
บางครั้ง ด้วยการทำร้ายพวกเขาด้วยความชั่วร้ายและโรคต่างๆ และขัดขวางพวกเขาจาก
เส้นทางของอัลลอฮฺด้วยวิธีการเท่าที่พวกมันจะทำได้
บางครั้ง ด้วยการปัสสาวะใส่หูของมนุษย์ เพื่อให้พวกเขานอนถึงเช้า และเป่ามนตร์บนหัว
ของพวกเขาเพื่อไม่ให้พวกเขาตื่น
ดังนั้น ผู้ใดที่ฟังและเชื่อตามชัยฏอน และยอมรับตามมัน เขาก็จะเป็นพรรคพวกของมัน
และจะถูกเรียกชุมนุมในวันกิยามะฮฺพร้อมพวกมัน และผู้ใดที่เชื่อฟังพระผู้อภิบาลของเขาและต่อสู้
กับชัยฏอน พระองค์ก็จะปกป้องเขาจากมัน และจะทรงให้เขาได้เข้าสู่สวรรค์
1. อัลลอฮฺตรัสว่า
× Ö Õ Ô Ó Ò Ñ Ð Ï Î Í Ì Ë ÊI
[ اﻟﻤجادلة/ ١٩ ] HÛ Ú Ù Ø
ความว่า "ชัยฎอนได้เข้า ไปครอบงำพวกเขา มันทำให้พวกเขาลืมรำลึก
ถึงอัลลอฮฺ ชนเหล่านั้นคือบรรดาพรรคพวกของชัยฏอน พึงทราบเถิด
ว่า แท้จริงพรรคพวกของชัยฏอนนั้น พวกเขาเป็นผู้ขาดทุน"
(อัล-มุญาดะละฮฺ: 19)
2. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
5
~ } { z y x w v u t sI
© ¨ § ¦ ¥ ¤ £ ¢ ¡ 
¶ μ ´ ³ ² ± ° ¯ ® ¬ « ª
[٦٥- الإﺳﺮاء/ ٦٣ ] HÀ ¿ ¾ ½ ¼ » º ¹ ¸
ความว่า "พระองค์ตรัส(แก่ชัยฏอน)ว่า “เจ้าจงไปให้พ้น! ดังนั้นผู้ใดใน
หมู่พวกเขา(หมู่มนุษย์)ที่ปฏิบัติตามเจ้า แท้จริงนรกคือการตอบแทน
ของพวกเจ้า(และพรรคพวกที่ตามเจ้า) เป็นการตอบแทนที่สมบูรณ์
และเจ้าจงยั่วยวนผู้ที่เจ้าสามารถทำให้เขาหลงในหมู่พวกเขาด้วยเสียง
ของเจ้า และชักชวนพวกเขาให้เห็นพ้องด้วยด้วยม้าของเจ้าและด้วย
เท้าของเจ้า และจงร่วมกับพวกเขาในทรัพย์สินและลูกหลาน(คือใช้มัน
ในทางที่ผิด) และจงให้สัญญาแก่พวกเขา (คำสั่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่อัล
ลอฮฺอนุมัติแก่ชัยฏอนเพื่อใช้ทดสอบมนุษย์) และชัยฏอนมิได้ให้สัญญา
ใดๆ แก่พวกเขา เว้นแต่เป็นการหลอกลวงเท่านั้น แท้จริงปวงบ่าวของ
ข้านั้น เจ้าไม่มีอำนาจใดๆ เหนือพวกเขา และพอเพียงแล้วที่พระ
เจ้าของเจ้าเป็นผู้คุ้มครอง(บรรดาบ่าวผู้ศรัทธาและพึ่งพาพระองค์)".
(อัล-อิสรออฺ: 63-65)
3. จาก สับเราะฮฺ อิบนุ อบู ฟากิฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านรอซูลุลอฮฺ
ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
إن الشيْطَان قَعَدَ لابن آدَمَ بَأَطْرُقِهِ، فَقَعَدَ لَهُ بِطَرِيقِ الإسلاِم، فَقَالَ »
ِ
:ََّّْ
تسْلم وتذر دينَكَ ودينَ آبائكَ وآباء أنيكَ فَعَصَاهُ فَأَسْلَمَ
ِ
َ
.ََََُُُِِِِِ
عُمَّ قَعَدَ لَهُ بِطَرِيقِ الهِجْرَةِ فَقَالَ: تُهَاجِرُ وَتَدَعُ أَرْضَكَ وَسَمَاءَكَ، وَإغَّمَا
مَثل المهَاجر كمثل الفَرَسِ ﻓِﻲ الطِّوَلِ فَعَصَاهُ فَهَاجَرَ
ِ
ََ
.ُِ
عُمَّ قَعَدَ لَهُ بِطَرِيقِ اﻟﺠِهَادِ، فَقَالَ: تجاهِد فَهُو جُهد اجفس واﻟﻤالِ فَتُقَاتِلُ
َََََُُُِّْْ
فَقَالَ رَسُولُ الله « فَتُقْتَلُ فَتُنْكَحُ المَرْأَةُ، وَيُقْسَمُ المَالُ، فَعَصَاهُ فَجَاهَدَ
فَمَنْ فَعَلَ ذَلِكَ ﻛﺎَنَ حَقّاً ﻟَﺒَ الله عَزَّ وَجَلَّ أَنْ » : صﻠﻰ الله عليه وسلم
.«.. يُدْخِلَهُ اﻟﺠَنَّةَ
ความว่า "แท้จริง ชัยฏอนจะนั่งอยู่บนทางทั้งหลายของมนุษย์ มันจะนั่ง
อยู่บนเส้นทางแห่งอิสลาม แล้วมันก็จะกล่าวว่าแก่มนุษย์ 'เจ้าจะรับ
อิสลาม จะละทิ้งศาสนาของเจ้าและศาสนาของปู่ย่าตายายและ
บรรพบุรุษของเจ้าอย่างนั้นหรือ?' แต่มนุษย์ก็ไม่เชื่อฟังมัน สุดท้ายเขาก็
รับอิสลาม
6
จากนั้น มันก็นั่งอยู่บนเส้นทางแห่งการฮิจญ์เราะฮฺ(การอพยพเพื่อ
อิสลาม) มันจะกล่าวแก่มนุษย์ว่า 'เจ้าจะอพยพ จะละทิ้งแผ่นดินและ
ท้องฟ้าของบ้านเกิดอย่างนั้นหรือ ? แท้จริงคนอพยพนั้นเปรียบเหมือน
ม้าที่ถูกผูกไว้(คือไม่มีอิสระเหมือนตอนที่อยู่ ณ บ้านเกิดเมืองนอนของ
ตนเอง)' แต่มนุษย์ก็ไม่เชื่อฟังมัน สุดท้ายเขาก็อพยพไป
จากนั้น มันก็จะนั่งอยู่บนเส้นทางแห่งการญิฮาด มันจะกล่าวแก่มนุษย์
ว่า 'เจ้าจะญิฮาดอย่างนั้นหรือ ? มันหนักหนามากทั้งในเรื่องทรัพย์สิน
และชีวิต เจ้าสู้กับศัตรูแล้วเจ้าก็จะถูกฆ่าตาย ภรรยาของเจ้าก็จะ
แต่งงานใหม่ ทรัพย์สมบัติก็จะถูกแบ่ง' แต่มนุษย์ก็ไม่ฟังมัน สุดท้ายเขา
ออกไปญิฮาด"
ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า "ผู้ใดที่ปฏิบัติ
ได้ดังกล่าว ย่อมเป็นสิทธิที่อัลลอฮฺจะนำเขาเข้าสวรรค์"
(หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อะหฺมัด 16054 ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮี
หะฮฺ 2979 และ อัน-นะสาอีย์ 3134 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)
เส้นทางของชัยฏอน
ทางที่มนุษย์ใช้ดำเนินชีวิตนั้นมีสี่ทางคือ ขวา ซ้าย หน้า และ หลัง ไม่ว่าเส้นทางใดที่มนุษย์
ใช้เดินเขาย่อมต้องพบว่ามีชัยฏอนคอยที่จะล่อลวงเขาทั้งนั้น
หากบ่าวได้ดำเนินชีวิตเพื่อทำการเชื่อฟังต่ออัลลอฮฺ เขาก็จะพบว่ามีชัยฏอนคอยทำให้ท้อ
ใจ คอยฉุดดึงให้ช้า และคอยขัดขวางเขา
หากบ่าวได้มุ่งสู่การทำบาป เขาก็จะพบว่ามีชัยฏอนคอยยุยงส่งเสริม คอยรับใช้ คอย
ช่วยเหลือ และคอยทำให้มันดูสวยงามน่าปฏิบัติ
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
z y x w v u t s r q p o n mI
- الأعراف/ ١٦ ] He d c b a ` _ ~ } {
[١٧
ความว่า "มันกล่าวว่า ด้วยเหตุที่พระองค์ได้ทรงให้ข้าพระองค์ตกอยู่ใน
ความหลงผิด แน่นอนข้าพระองค์จะนั่งขวางกั้นพวกเขาซึ่งทางอัน
เที่ยงตรงของพระองค์ แล้วข้าพระองค์จะเข้ามายังพวกเขา จากเบื้อง
หน้าของพวกเขา และจากเบื้องหลังของพวกเขา และจากเบื้องขวาของ
พวกเขา และจากเบื้องซ้ายของพวกเขา และพระองค์จะไม่พบว่า
ส่วนมากของพวกเขานั้นเป็นผู้ขอบคุณ"
(อัล-อะอฺรอฟ: 16-17)
ประตูทางเข้าของชัยฏอน
7
ช่องทางที่ชัยฏอนใช้เข้ามาก่อกวนมนุษย์นั้นมีสามช่องทางคือ ชะฮฺวะฮฺ (ความใคร่อยาก)
ความโกรธ และ ฮะวา (อารมณ์)
ชะฮฺวะฮฺนั้นเป็นประเภทเดียวกันกับนิสัยของสรรพสัตว์ต่างๆ (บะฮีมียะฮฺ) ด้วยนิสัยนี้
มนุษย์จะกลายเป็นผู้ที่ทำร้ายตัวเอง ตัวอย่างของผลลัพธ์ด้านชะฮฺวะฮฺก็คือ ความงกและความ
ตระหนี่
ความโกรธนั้นเป็นนิสัยของเดรัจฉาน (สะบะอียะฮฺ) ซึ่งหนักกว่าชะฮฺวะฮฺ ด้วยความโกรธทำ
ให้มนุษย์ทำร้ายตัวเองและผู้อื่น ตัวอย่างผลลัพธ์ของความโกรธก็คือ การหลงตัวเองและความหยิ่ง
ยะโสโอหัง
ฮะวานั้นเป็นนิสัยของชัยฏอน (ชัยฏอนียะฮฺ) ซึ่งหนักหนากว่าความโกรธ ด้วยฮะวานี้
มนุษย์ได้ละเมิดในการก่ออธรรมไปยังพระผู้อภิบาลของเขาด้วยการตั้งภาคีและปฏิเสธศรัทธา
ตัวอย่างผลลัพธ์ของฮะวาก็คือ กุฟร์และบิดอะฮฺ
บาปส่วนใหญ่ของมนุษย์นั้นจะมาจากนิสัย บะฮีมียะฮฺ หรือการตามชะฮฺวะฮฺ เพราะเขา
มักจะไม่มีความสามารถกับส่วนอื่นๆ อีกสองประเภทดังกล่าว และจากการชะฮฺวะฮฺนี่เองที่จะชัก
นำเขาไปสู่อีกสองชนิดที่เหลือ
ก้าวย่างในการล่อลวงของชัยฏอน
ความชั่วร้ายทั้งหมดในโลกเกิดมาจากชัยฏอนเป็นสาเหตุ แต่ความชั่วร้ายของมันจะจำกัด
อยู่ในเจ็ดขั้นตอน มันจะคอยล่อลวงมนุษย์จนกระทั่งโดนเข้ากับหนึ่งในเจ็ดขั้นตอนนี้หรือมากกว่า
ขั้นตอนแรกและที่ร้ายกาจที่สุด คือ ความพยายามที่จะให้บ่าวนั้นตั้งภาคี ปฏิเสธศรัทธา
และเป็นศัตรูกับอัลลอฮฺและศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม
ขั้นตอนที่สอง ถ้ามันหมดหนทางที่จะทำได้ตามขั้นตอนแรก มันก็จะเปลี่ยนไปมุ่งให้เขาทำ
บิดอะฮฺแทน
ขั้นตอนที่สาม ถ้ามันหมดหนทางจากขั้นตอนที่สอง มันก็จะเปลี่ยนให้เขามุ่งไปทำบาป
ใหญ่แทน
ขั้นตอนที่สี่ ถ้ามันหมดหนทางจากขั้นตอนที่สาม มันก็จะเปลี่ยนให้เขามุ่งไปทำบาปเล็ก
แทน
ขั้นตอนที่ห้า ถ้ามันหมดหนทางจากขั้นตอนที่สี่ มันก็จะทำให้เขาวุ่นอยู่กับสิ่งที่เป็นมุบาห์
(สิ่งที่อนุโลมให้ทำ) ซึ่งไม่มีทั้งบุญและบาปใด ให้เขาง่วนอยู่กับสิ่งนั้นจนลืมการทำความดีและ
หน้าที่อื่นๆ
ขั้นตอนที่หก ถ้ามันหมดหนทางจากขั้นตอนที่ห้า มันก็จะทำให้เขาง่วนอยู่กับงานที่มีความ
ประเสริฐน้อยกว่า แทนที่จะทำงานซึ่งประเสริฐมากกว่า เช่น ให้เขาทำสิ่งที่สุนัตแทนที่จะทำสิ่งที่วา
ญิบ เป็นต้น
ขั้นตอนที่เจ็ด ถ้ามันหมดหนทางจากขั้นตอนที่หก มันก็จะส่งพรรคพวกของมันไม่ว่าจะ
เป็นญินหรือมนุษย์ให้มาทำร้ายและสร้างความเดือดร้อนต่างๆ นานา เพื่อก่อกวนเขา ดังนั้น ผู้
8
ศรัทธาจะยังคงอยู่ในสภาพของการต่อสู้(ญิฮาด)อยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งเขาเสียชีวิตและได้พบ
กับอัลลอฮฺ เราขอให้พระองค์ประทานความช่วยเหลือและความมั่นคงด้วยเถิด
สิ่งที่ใช้ป้องกันตัวเองจากชัยฏอน
บ่าวสามารถป้องกันตัวเองจากชัยฏอนและจากความชั่วร้ายของมัน ด้วยดุอาอ์และบทซิ
กิรที่มีระบุในอัลกุรอานและซุนนะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่ถูกต้องและเชื่อถือ
ได้ ในคำสอนของทั้งสองอย่างนั้นมีสิ่งที่ใช้ในการเยียวยา ความเมตตา ทางนำ และการปกป้อง
จากความชั่วร้ายต่างๆ ในโลกดุนยาและอาคิเราะฮฺ ด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺตะอาลา ในจำนวน
วิธีการป้องกันเหล่านั้นก็คือ
หนึ่ง การขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺผู้ยิ่งใหญ่ เพราะแท้จริงอัลลอฮฺได้สั่งรอซูลของ
พระองค์ให้ขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากชัยฏอนในสภาวะทั่วๆ ไป และในสภาวะเฉพาะเช่น
เมื่อต้องการอ่านอัลกุรอาน เมื่อมีความโกรธ เมื่อมีความลังเล เมื่อฝันร้าย เป็นต้น
1. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
H¦ ¥ ¤ £ ¢ ¡  ~ } { z yI
[ [فصلت/ ٣٦
ความวา่ "และหากวา่ มีการยุแหยเ่จ้าจากชัยฏอนด้วยการยั่วยุใดๆ ก็จง
ขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺ แท้จริงพระองค์ทรงเป็นผู้ได้ยินและผู้รอบ
รู้ยิ่ง"
(ฟุศศิลัต: 36)
2. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
y x w v u t s r q p o n mI
[٩٩- اجحل/ ٩٨ ] H¡  ~ } { z
ความว่า "ดังนั้น เมื่อเจ้าอ่านอัลกรุอาน ก็จงขอความคุ้มครองต่ออัลลอ
ฮฺให้พ้นจากชัยฏอนที่ถูกสาปแช่ง แท้จริงมันไม่มีอำนาจใด ๆ เหนือ
บรรดาผู้ศรัทธา โดยที่พวกเขาได้มอบหมาย(การงาน)ต่อพระเจ้าของ
พวกเขา"
(อัน-นะห์ลฺ: 98-99)
สอง การกล่าวพระนามของอัลลอฮฺ (กล่าว บิสมิลลาฮฺ) การกล่าวพระนามของอัลลอฮฺเป็น
การป้องกันจากชัยฏอน และปกป้องไม่ให้มันมายุ่งเกี่ยวปะปนกับมนุษย์เวลาดื่มกิน ยามหลับนอน
กับภรรยา เมื่อเข้าบ้าน และทุกๆ อิริยาบทของมนุษย์
9
1. จากญาบิรฺ อิบนุ อับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าว่าได้ฟังท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะ
ลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
إذَا دَخَلَ الرَّجُلُ بَيْتَهُ، فَذَكَرَ الله عِنْدَ دُخُولِهِ، وَعِنْدَ طَعَامِهِ، قَالَ »
الشَّيْطَانُ: لا مَبِيتَ لكم ولا عشاء، وإذا دخل فلم يذكرِ الله عِنْدَ
َََََََََُُْْْ
دُخُولِهِ، قَالَ الشَّيْطَانُ: أدركتم المبيت، وإذا لم يذكرِ الله عِنْدَ
ََََََََُُِْْْْ
طَعَامِهِ قَالَ: أَدْرَكْتُمُ المَبِيتَ وَالعَشَاءَ

ความว่า "เมื่อชายคนหนึ่งเข้าบ้านของเขา แล้วได้กล่าวถึงอัลลอฮฺตอน
เข้าบ้านและตอนทานอาหาร ชัยฏอนก็จะพูดว่า ไม่มีที่หลับนอนและไม่
มีอาหารให้เราอีกแล้ว และเมื่อชายคนหนึ่งเข้าบ้านแต่ไม่ได้
กล่าวถึงอัลลอฮฺตอนเข้าบ้าน ชัยฏอนก็จะพูดว่า พวกเจ้าได้ที่หลับนอน
แล้ว และหากเขาไม่กล่าวถึงอัลลอฮฺตอนทานอาหาร ชัยฏอนก็จะพูดว่า
พวกเจ้าได้ที่หลับนอนและมีอาหารกินแล้ว" (บันทึกโดย มุสลิม: 2018)
2. จาก อิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะ
ลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
أَهْلَهُ فَقَالَ 􀅘 لَو أَن أَحدكم إذا أَراد أَنْ يأ َِ »
:ََُّْْ بِاسْمِ الله، اللَّهُمَّ جَنِّبْنَا
ﻓِﻲ 􀈅 الشَّيْطَانَ، وَجَنِّبِ الشَّيْطَانَ مَا رَزَقْتَنَا، فَإنَّهُ إنْ يُقَدَّرْ بَيْنَهُمَا وَ ٌَ
.« ذَلِكَ لَمْ يَﻀُﺮَّهُ شَيْطَانٌ أَبَدًا
ความว่า "หากพวกท่านคนใดคนหนึ่งต้องการหลับนอนมีเพศสัมพันธ์
กับภรรยาของเขา แล้วเขากล่าวว่า บิสมิลลาฮฺ, อัลลอฮุมมัจญ์นิบนัช
ชัยฏอน วะ ญันนิบิชชัยฏอน มา เราะซักตะนา (ควาหมาย ด้วยพระนาม
ของอัลลอฮฺ ขอทรงโปรดให้เราห่างไกลจากชัยฏอน และให้ชัยฏอน
ห่างไกลจากสิ่งที่พระองค์ประทานให้เรา) ดังนั้น แท้จริงแล้ว ถ้าหากว่า
ถูกกำหนดให้มีลูกระหว่างทั้งสองเนื่องด้วย(การมีเพศสัมพันธ์)ในครั้ง
นั้น ชัยฏอนก็จะไม่สามารถทำร้ายเขา(ลูกคนนั้น)ได้ตลอดไป" (บันทึก
โดย อัล-บุคอรีย์ 7396 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และ มุสลิม
1434)
สาม การอ่านสองสูเราะฮฺ อัล-มุเอาวิซะตัยน์ คือ สูเราะฮฺ อัล-ฟะลัก และ สูเราะฮฺ อัน-นาส
เมื่อเข้านอน หลังละหมาด เมื่อเจ็บป่วย และกรณีคล้ายๆ กัน ดังที่มีรายงานจากอุกบะฮฺ บิน อามิรฺ
เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า เมื่อครั้งที่เราได้เดินทางกับท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม ระหว่าง ญุฮฺฟะฮฺ กับ อับวาอ์ อยู่นั้น ได้เกิดมีลมพัดแรงและฟ้ามืดทึบมาปกคลุม ท่าน
10
รอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็ได้ขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺด้วยการอ่านสูเราะฮฺ
H الناس I และ H الفلك I และท่านได้กล่าวว่า
يا ققبَة يعوذ بِهِمَا فمَا يعوذ متعوذ بِمِثْلِهِمَا »
قَالَ: وَسَمِعْتُهُ يَؤُمُّنَا .«ٌََََََُُُِّّّْْ
بِهِمَا ﻓِﻲ الصَّلاةِ.
ความว่า "โอ้ อุกบะฮฺ จงขอความคุ้มครองด้วยมันทั้งสอง(สองสูเราะฮฺนี้)
เพราะไม่มีสิ่งใดที่จะใช้ขอความคุ้มครอง(ได้ดีเท่า)เหมือนกับสองสู
เราะฮฺนี้" อุกบะฮฺเล่าว่า ฉันได้ยินท่านอ่านสูเราะฮฺนี้ในการเป็นอิมามละ
หมาดกับเรา (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อะห์มัด 17483 และ อบู ดา
วูด 1463 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)
สี่ อ่านอายะฮฺ อัล-กุรสีย์
จาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม ได้มอบหมายให้ฉันเฝ้าซะกาตของเดือนเราะมะฎอน และแล้วก็มีสิ่งหนึ่ง(คือญินตนหนึ่ง)
มาหาฉัน มันได้ขุดคุ้ยหาอาหาร ฉันจึงจับมันไว้และบอกว่า "ขอสาบานว่าข้าจะนำเจ้าไปให้ท่าน
รอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม" แล้วท่านก็เล่าหะดีษที่ยาวซึ่งในตอนท้ายของหะดีษมี
ว่า มัน(ญินที่มาขโมยอาหารนั้น)ได้กล่าวว่า "เมื่อท่านเอนกายลงบนที่นอนก็จงอ่านอายะฮฺ อัล-กุร
สีย์ แล้วอัลลอฮฺจะให้มีสิ่งที่คอยเฝ้าพิทักษ์ท่าน และชัยฏอนตัวไหนก็มิอาจจะเข้าใกล้ท่านได้
จนกระทั่งรุ่งเช้า แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็กล่าวว่า
« صَدَقَكَ وَهُوَ كَذُوبٌ، ذَاكَ شَيْطَانٌ »
ความว่า "มันซื่อสัตย์กับเจ้า ทั้งๆ ที่มันเป็นจอมโกหก นั่นแหล่ะคือ
ชัยฏอน" (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ โดยไม่ระบุสายรายงาน 5010 อัน-นะ
สาอีย์ และคนอื่นๆ ได้ระบุสายรายงานหะดีษนี้ด้วยสายที่เศาะฮีหฺ ดู
มุคตะศ็อร เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ ของ อัล-อัลบานีย์ 2:106)
ห้า การอ่านสองอายะฮฺสุดท้ายของสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ ตั้งแต่ h g I
H...จนจบสูเราะฮฺ
จาก อบู มัสอูด อัล-อันศอรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ
อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
ْلَةٍ كَفَتَاهُ 􀇾 مَن قرأ هاتﻴﻦ الآيتﻴﻦ من آخر سورة اكقَرة ﻓﻲ َ »
.«ََََُِِِِِْْْ
ความว่า "ผู้ใดที่อ่านสองอายะฮฺนี้ของท้ายสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ ใน
เวลากลางคืน มันจะช่วยคุ้มครองเขา" (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 5009
และ มุสลิม 808 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)
11
หก การอ่านสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ
จาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่าท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม กล่าวว่า
ي يقرأ 􀈆 لا تجعلوا نيوتكم مقابر إن الشيطان فنفر من اكيت ا »
ََُُِْ
َّ
ََََََُِِِّّْْْ
ََََُُْْ
.« فِيهِ سُورَةُ اكَقَرَةِ
ความว่า "อย่าได้ทำให้บ้านของพวกท่านเป็นเหมือนสุสาน(คือไม่มีการ
อ่านอัลกุรอานและทำอิบาดะฮฺในบ้าน) แท้จริงแล้วชัยฏอนจะหนีออก
จากบ้านที่มีการอ่านสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ" (บันทึกโดย มุสลิม
780)
เจ็ด กล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ(ซิกิร)ให้มาก ด้วยการอ่านอัลกุรอาน การตัสบีหฺ ตะหฺมีด ตักบีร
ตะฮฺลีล เป็นต้น
จาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม กล่าวว่า
مَنْ قَالَ: لا إلَهَ إلا الله وَحدَه لا ﺷﺮيكَ لَهُ، لَهُ المُلْكُ وَلَهُ اﻟﺤَمْدُ »
ِ
َُْ
ء قدير مائة مرة ﻛﺎنتْ له عدل عﺸﺮ رقاب، وكتِبَتْ 􀅽 وهو ﻟﺒ ﻛﻞ
ٍََُ
ََ
ِِ
ٌٍٍَََََََُُُِِِّّْْْ
نَتْ لَهُ حِرْزاً مِنَ 􀈡 لَهُ مِائَةُ حَسَنَةٍ، وَمُحِيَتْ قَنْهُ مِائَةُ سَيِّئَةٍ، وَ َ
، وَلم يأت أحَد بأَفْضَلَ مِمَّا جَاءَ إلَّا 􀆀 يمْ 􀅠 الشيْطان يومَه ذلك حَ
ٌَِ
ِِ
ََََََََُُِِّّْْ
.« رَجُلٌ عَمِلَ أَكْﺜَﺮَ مِنْهُ
ความว่า "ผู้ใดกล่าวว่า ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ วะห์ดะฮู ลา ชะรีกะละฮฺ,
ละฮุลมุลก์ วะละฮุลหัมดุ วะฮูวา อะลา กุลลิ ชัยอิน เกาะดีรฺ (ความหมาย
ดุอาอฺ : ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺแต่เพียงพระองค์เดียว ไม่มี
ภาคีใดสำหรับพระองค์ อำนาจการปกครองและมวลการสรรเสริญเป็น
เอกสิทธิ์ของพระองค์ และพระองค์ทรงอำนาจเหนือสรรพสิ่งทั้งมวล)
จำนวนหนึ่งร้อยครั้ง ย่อมเท่ากับ(การปล่อยทาส)สิบคน และถูกบันทึก
แก่เขาหนึ่งร้อยความดีงาม และถูกลบล้างแก่เขาหนึ่งร้อยความผิด และ
มันจะเป็นปกป้องเขาจากชัยฏอนในวันนั้นจนกระทั่งเย็น และไม่มีผู้ใด
ในวันกิยามะฮฺที่จะนำสิ่งใดๆ อันประเสริฐไปกว่าสิ่งที่เขาได้นำมา(ด้วย
การกล่าวบทซิกิรดังกล่าว) นอกจากผู้ที่อ่านมากกว่าเขา" (บันทึกโดย
อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 6403 สำนวนรายงานเป็นของท่าน และ มุสลิม
หมายเลข 2691)
แปด ดุอาอฺเมื่อออกจากบ้าน
12
จากอะนัส อิบนุ มาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม
กล่าวว่า
ْتُ ﻟَﺒَ الله، لا 􀈢 إذَا خَرَجَ الرَّجُلُ مِنْ بَيْتِهِ فَقَالَ: بِاسْمِ الله، تَوَ َّ »
حول ولا قوة إلا بِا
يُقَالُ حِينَئِذٍ هُدِيتَ وَكُفِيتَ وَوُقِيتَ » : قَالَ « لََََُّّْلهِ
لَهُ الشَّيَاطِﻴﻦُ، فَيَقُولُ لَهُ شَيْطَانٌ آخَرُ: كيف لك برجلٍ 􀅵 فَتَتَنَ َّ
َُِ
ََ
َ􀈛 قد هدي وَكﻔِﻲَ وَوُ ِ
.«ََُُِْ
ความว่า "เมื่อชายผู้หนึ่งออกจากบ้านของเขาและได้กล่าวว่า
บิสมิลลาฮฺ ตะวักกัลตุ อะลัลลอฮฺ, ลาเหาละ วะลา กุว์วะตะ อิลลา
บิลลาฮฺ (ความว่า ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ฉันขอมอบหมายที่พึ่ง
ยังอัลลอฮฺ ไม่มีความสามารถและพละกำลังใดที่เกิดขึ้นเว้นแต่ด้วย
การอนุมัติของอัลลอฮฺ) เมื่อนั้นก็จะถูกกล่าวแก่เขาว่า ท่านได้รับการ
ชี้นำแล้ว ท่านได้รับการคุ้มครองแล้ว ท่านได้รับการปกป้องแล้ว
และชัยฏอนทั้งหลายก็จะพยายามเข้าใกล้เขา แต่จะมีชัยฏอนตัวอื่น
กล่าว่า เจ้าจะทำอย่างไรได้เล่ากับชายซึ่งได้รับการชี้นำ ได้รับการ
คุ้มครองและปกป้องแล้ว?" (บันทึกโดย อบู ดาวูด 5095 สำนวน
รายงานนี้เป็นของท่าน และอัต-ติรมิซีย์ 3426)
เก้า ดุอาอฺเมื่อแวะพักระหว่างทาง
จาก เคาละฮฺ บินตุ หะกีม อัส-สุละมียะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา เล่าว่า ฉันได้ยินท่านรอซู
ลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า:
إذا نزل أحدكم مﻨﺰلاً فَلْيَقُلْ »
ِ
:ََُْْ أعوذ بِكَلِمَاتِ الله اﻛﺤَّامَّاتِ مِنْ ﺷَﺮِّ
َُ
.« يَرْتَحِلَ مِنْهُ 􀅠 ءٌ حَ َّ 􀅽 مَا خَلَقَ، فَإنَّهُ لا يَﻀُﺮُّهُ َْ
ความว่า "เมื่อพวกท่านคนใดคนหนึ่งหยุดพัก(ระหว่างเดินทาง) ณ ที่ใดที่หนึ่ง แล้ว
เขาก็กล่าวว่า อะอูซุ บิกะลีมาติลลาฮิต ต๊ามมาต, มิน ชัรริ มา เคาะลัก (ความหมาย ฉันขอ
ความคุ้มครองด้วยถ้อยคำอันสมบูรณ์แห่งอัลลอฮฺ จากความชั่วร้ายที่พระองค์ทรงสร้าง)
ดังนั้น จะไม่มีสิ่งใดที่ทำร้ายเขาได้ จนกระทั่งเขาเดินทางออกไปจากที่นั้น" (บันทึกโดย
มุสลิม 2708)
สิบ พยายามระงับการหาวและใช้มือปิดปาก
1. จาก อบู สะอีด อัล-คุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ
อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
إذا يثاوب أحدكم فَليمسك نيدِه ﻟﺒ فِيهِ فَ »
َََِِ
.« إَُُِْْْنَّ الشَّيْطَانَ يَدْخُلُ
ความว่า "เมื่อพวกท่านคนใดคนหนึ่งหาว ก็จงใช้มือของเขาปิดปากเสีย
เพราะแท้จริงแล้วชัยฏอนจะเข้าไป" (บันทึกโดย มุสลิม 2995)
13
2. จาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม กล่าวว่า
اﻛﺤثاوب من الشيْطَان، فإذا يثاءبَ أحَدكمْ فليكظِمْ مَا اسْتَطَاعَ »
ََََُْْ
.«ََُِِّّ
ความว่า "การหาวนั้นมาจากชัยฏอน ดังนั้นเมื่อพวกท่านคนใดหาวก็จง
พยายามระงับมันเท่าที่สามารถทำได้" (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 3289
และ มุสลิม 2994 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)
สิบเอ็ด การอะซาน
จาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม กล่าวว่า
لا يسمع اﻛﺤأذِينَ، فَإذَا 􀅠 إذَا نودِيَ للصلاةِ أدبر الشيطان له ﺿﺮاط ح »
ٌََََََََََََُُّّّّْْْْ
ُِ
اﻛﺤثوِيبُ 􀆉 إذا ق 􀅠 إذا ثوب للصلاة أدبر، ح 􀅠 اجِّدَاءُ أَقْبَلَ، ح 􀆉 قُ َِ
ََََََََُُِّّّّْْ
ِّ
يَخْطُرَ نَﻴْﻦَ المَرْءِ وَغَفْسِهِ، يَقُولُ اذْكُرْ كَذَا، اذْكُرْ كَذَا لِمَا 􀅠 أَقْبَلَ، حَ َّ
يظلَّ الرجل لا يَدري كَمْ صَﻠَّﻰ 􀅠 لمْ يَكنْ يَذكر ح َّ
ِ
.«َََُُُّْْ
ความว่า "เมื่อมีการอะซานเรียกสู่การละหมาด ชัยฏอนจะหนีไปไกล
พร้อมกับตดไปด้วย (วิ่งหนีไปด้วยสภาพเช่นหางจุกตูด) เพื่อไม่ให้ได้ยิน
เสียงอะซาน เมื่อสิ้นเสียงอะซานมันก็จะกลับมาอีก จนกระทั่งเมื่อมีการ
อิกอมะฮฺเพื่อละหมาด มันก็จะหนีอีกครั้ง และเมื่ออิกอมะฮฺเสร็จมันก็
จะกลับมา จนกระทั่งมันได้เข้าไปรบกวนคนคนหนึ่งกับใจของเขา ด้วย
การล่อลวงว่า 'จงนึกถึงสิ่งนี้และสิ่งนั้น' ให้เขานึกถึงสิ่งที่เคยนึกไม่ได้
จนกระทั่งชายคนหนึ่งอาจจะไม่รู้สึกตัวว่าได้ละหมาดไปเท่าไรแล้ว"
(บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 608 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และ มุสลิม
389)
สิบสอง ดุอาอฺตอนเข้ามัสญิด
จาก อุกบะฮฺ กล่าวว่า อับดุลลอฮฺ อิบนุ อัมร์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ได้เล่าให้เราฟัง
จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า เมื่อท่านนบีเข้ามัสญิดท่านจะกล่าวว่า
أعوذ بالله العظيمِ، وَبِوجههِ الكرِيمِ، وَسُلْطَانِ »
َ
ََِِِْ
َُ
هِ القَدِيمِ مِنَ
قَالَ: أَقَطُّ؟ قُلْتُ .« الشَّيْطَانِ الرَّجِيمِ
: غَعَمْ، قَالَ: فَإذَا قَالَ ذَلِكَ قَالَ
َومِ. 􀇾 الشَّيْطَانُ: حُفِظَ مِﻨِّﻲ سَائِرَ ا
(คำอ่าน อะอูซุบิลลาฮิลอะซีม, วะบิวัจญ์ฮิฮิล กะรีม, วะสุลฏอนิฮิล
เกาะดีม, มินนัช ชัยฏอนิร เราะญีม)
14
ความว่า "ข้าขอความคุ้มครองด้วยอัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ และด้วย
พระพักตร์อันทรงเกียรติของพระองค์ และด้วยอำนาจอันดั้งเดิมของ
พระองค์ จากชัยฏอนผู้ถูกสาปแช่ง"
อุกบะฮฺ ถามคนที่ฟังหะดีษ(นักรายงานที่ชื่อ หัยวะฮฺ)อยู่ว่า "ท่านฟัง
จากฉันเท่านี้เองหรือ?" เขา(หัยวะฮฺ)ตอบว่า "ใช่" อุกบะฮฺ จึงกล่าว
ต่อไปว่า "เมื่อเขากล่าวดุอาอ์นั้น ชัยฏอนก็จะพูดว่า เขาถูกปกป้อง
จากฉันวันนั้นทั้งวัน" (หะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดย อบู ดาวูด 466)
สิบสาม การทำวุฎูอฺ(อาบน้ำละหมาด)และเศาะลาฮฺ(ละหมาด) โดยเฉพาะมีความโกรธ
และมีอารมณ์ใคร่อยากในบาป เพราะไม่มีสิ่งใดที่บ่าวจะใช้ดับความร้อนรุ่มของความโกรธและ
อารมณ์ใคร่ได้ดีเท่าการอาบน้ำละหมาดและการละหมาด
สิบสี่ การเชื่อฟังอัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ หลีกเลี่ยงจากการดูและพูดเรื่อยเปื่อย การ
กินที่เกินเลย และการคลุกคลีปะปนที่เกินพอดี
สิบห้า ทำให้บ้านปลอดจากรูปภาพ รูปปั้น สุนัข และกระดิ่ง(หรือระฆัง)
1. จาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม กล่าวว่า
.« لا تَدْخُلُ المَلائِكَةُ بَيْتاً فِيهِ تَمَاعِيلُ أَوْ تَصَاوِيرُ »
ความว่า "มลาอิกะฮฺจะไม่เข้าบ้านที่มีรูปปั้นและรูปภาพ" (บันทึกโดย
มุสลิม 2112)
2. จาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม กล่าวว่า:
.« لا تَصْحَبُ المَلائِكَةُ رُفْقَةً فِيْها ﻛَﻠْبٌ وَلا جَرَسٌ »
ความว่า "มลาอิกะฮฺจะไม่อยู่ร่วมกับผู้เดินทางที่มีสุนัขและกระดิ่ง"
(บันทึกโดย มุสลิม 2113)
สิบหก หลีกเลี่ยงสถานที่อาศัยของญินและชัยฏอน เช่น ที่ร้าง ที่โสโครกมีนะญิส อาทิ
สุขา(หรือสถานที่ปัสสาวะหรืออุจจาระ) ที่ทิ้งขยะ เป็นต้น หรือสถานที่ที่ไม่มีผู้คนอาศัย เช่น
ทะเลทราย ชายหาดที่เปลี่ยว เป็นต้น รวมทั้ง คอกอูฐ และ อื่นๆ ในทำนองเดียวกัน

บทซิกิรทั่วไป


บทซิกิรทั่วไป
﴿الأذﻛﺎر اﻟﻤطلقة﴾
[ ไทย – Thai – [ تايلاندي
มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์
แปลโดย : ซุฟอัม อุษมาน
ผู้ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์
2009 - 1430
﴿الأذﻛﺎر اﻟﻤطلقة﴾
« باللغة اﻛﺤايلاندية »
الشيخ ﻣﺤمد بن إبراهيم اﻛﺤوﻳﺠري
ترﺟﻤة: صاﻓﻲ عثمان
مراجعة: فيصل عبداﻟﻬادي
اﻟﻤصدر: كتاب ﻣﺨتﺼﺮ الفقه الإسلاﻣﻲ
2009 - 1430
1
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
บทซิกิรทั่วไป
ในบรรพนี้ข้าพเจ้าได้กล่าวถึงความประเสริฐของการตัสบีหฺ(การกล่าว สุบหานัลลอฮฺ
หมายถึง มหาบริสุทธิ์ยิ่งพระองค์อัลลอฮฺ) ตะฮฺลีล(การกล่าว ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ หมายถึง
ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ) ตะห์มีด(การกล่าว อัลหัมดุลิลลาฮฺ หมายถึง มวลการ
สรรเสริญแด่พระองค์อัลลอฮฺ) ตักบีร(การกล่าว อัลลอฮุอักบัร หมายถึง อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่)
อิสติฆฟาร(การกล่าว อัสตัฆฟิรุลลอฮฺ หมายถึง ข้าขออภัยโทษยังพระองค์อัลลอฮฺ) และบทซิกิ
รเยี่ยงเดียวกันที่มีบัญญัติให้กล่าวได้ทุกเวลา
จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิ
วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
ﻛﻠمتان خفيفتان ﻟَﺒَ »
اللسان ثَقيلتان ﻓﻲ المﻴﺰان حبيبَتان إﻟَﻰ الرَّﺣْﻤَن
ََََِِِِِ
ْ
ِ
:ََِِِّ
.« سُبْحَانَ اللهِ وَﺑِﺤَمْدِهِ، سُبْحَانَ اللهِ الْعَظِيمِ
ความว่า "สองคำที่เบาแก่ลิ้น(ที่จะกล่าว) หนักบนตาชั่ง(ในวันกิยา
มะฮฺ) เป็นที่รักแก่อัร-เราะห์มาน(อัลลอฮฺผู้ทรงเมตตา) นั่นคือ สุบ
หานัลลอฮฺ วะบิหัมดิฮฺ และ สุบหานัลลอฮิลอะซีม"
(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 6682 สำนวนรายงานนี้เป็นของ
ท่าน และมุสลิม หมายเลข 2694)
จากสะมุเราะฮฺ อิบนุ ญุนดุบ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอ
ฮฺอะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
أَحَ »
بُّ الﻜَﻠﺎمِ إﻟَﻰ اللهِ أَرْبَعٌ
: سُبْحَانَ اللهِ، وَاﻟﺤَمْدُ للهِ، وَلا إلٰهَ إلَّا
اللهُ، وَاللهُ أكﺒﺮ، لا يَﻀﺮك بكفهِنَّ بَدَأْتَ
َِّ
َََُُِّْ

ความว่า "ถ้อยคำที่เป็นที่รักที่สุดแก่อัลลอฮฺนั้นมีสี่อย่าง คือ สุบ
หานัลลอฮฺ, อัลหัมดุลิลลาฮฺ, ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ และ อัลลอฮุ
อักบัร ไม่เป็นปัญหาแก่ท่านว่าจะเริ่มกล่าวด้วยคำใดก่อนก็ได้"
(บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2137)
จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิ
วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
لأَنْ أَقُولَ »
: سُبْحَانَ اللهِ، وَاﻟﺤَمْدُ للهِ، وَلا إلٰهَ إلَّا اللهُ، وَاللهُ أَكْﺒَﺮُ،
أَحَبُّ إﻟَﻲَّ مِمَّا طَلَعَتْ عَلَيهِ الشَّمْسُ

2
ความว่า "การที่ฉันกล่าว สุบหานัลลอฮฺ วัลหัมดุลิลลาฮฺ วะลาอิลาฮะ
อิลลัลลอฮฺ วัลลลอฮุอักบัร นั้นย่อมเป็นที่รักแก่ฉันมากกว่าสิ่งที่ดวง
อาทิตย์ได้ขึ้นมาเหนือมัน(หมายถึงโลกดุนยา)"
(บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2695)
จากอบู มาลิก อัล-อัชอะรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอ
ฮฺอะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
الطُّهُورُ شَطْرُ الإيْمَانِ، وَاﻟﺤَمْدُ لله تمْلأ المِﻴﺰَانَ، وَسُبْحَانَ الله »
وَاﻟﺤَمْدُ لله تملآن أو تملأ مَا بﻴﻦ السَّماوَات وَالأَرْضِ، وَالصَّلاةُ نُورٌ،
ََََُِِْْْ
وَالصَّدَقَةُ بُرْهَانٌ، وَالصَّﺒْﺮُ ضِيَاءٌ، وَالقُرآنُ حُجَّةٌ لَكَ أَوْ عَلَيكَ، ﻛُﻞُّ
اجاس يغدو، فبايع غفسه، فمعتقُهَا أو موبقُهَ
ََُِْْ
.« اٌَََََُُُِِِّْْْ
ความว่า "ความสะอาดนั่นคือส่วนหนึ่งของความศรัทธา(นักอธิบาย
บางท่านให้ความหมายว่า การอาบน้ำละหมาดนั้นเป็นส่วนหนึ่งของ
ละหมาด) ถ้อยคำ อัลหัมดุลิลลาฮฺ นั้น(ผลบุญของมัน)เติมเต็มตาชั่ง
(ในวันกิยามะฮฺ) และ สุบหานัลลอฮฺ วัล หัมดุลิลลาฮฺ นั้น(ผลบุญของ
มัน)เต็มระหว่างชั้นฟ้าและแผ่นดิน การละหมาดนั้นเป็นนูรฺ(แสงรัศมี
ที่แพรวพราวหรือแสงนวล) การเศาะดะเกาะฮฺ(การจ่ายซะกาต)นั้น
เป็นหลักฐาน(ถึงการศรัทธาที่แท้จริง) ความอดทนนั้นเป็นแสงสว่าง
เจิดจ้า อัลกุรอานนั้นเป็นหลักฐานให้กับท่าน(หากปฏิบัติตามมัน)
หรือเป็นพยานเหนือตัวท่าน(หากไม่ปฏิบัติตามมัน) มนุษย์ทุกคนตื่น
เช้าเพื่อแลกตัวเอง บางคนได้ปลดปล่อยตัวเองจากการลงโทษ(ด้วย
การภักดีต่ออัลลอฮฺและทำความดี) และบางคนได้ทำลายตัวเอง
(ด้วยการภักดีต่อชัยฎอนและทำความชั่ว)"
(บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 223)
จากอบู ซัร เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม
ถูกถามว่า "ถ้อยคำใดที่ประเสริฐที่สุด?" ถามตอบว่า
ما اصطﻔﻰ الله لِمَلائكته أَوْ لِعِبَادِهِ »
:َََِِْ سبْحَان الله وبحَمْدِهِ
.«َُِ
ความว่า "คือสิ่งที่อัลลอฮฺได้เลือกสรรให้ปวงมลาอิกะฮฺหรือปวงบ่าว
ของพระองค์ นั่นคือ สุบหานัลลอฮฺ วะ บิหัมดิฮฺ"
(บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2731)
จาสะอัด อิบนุ อบี วักกอศ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่า ครั้งหนึ่งเราได้อยู่พร้อมกับท่าน
เราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วท่านก็ได้กล่าวว่า
3
أَيَعْجِزُ أَحَدُكُمْ أَنْ يَكْسِبَ ﻛُﻞَّ يَوم أَلْفَ حَسَنَةٍ؟ »
فَسَأَلَهُ «ٍ
سَائِلٌ مِنْ جُلَسَائِهِ: كَيْفَ يَكْسِبُ أَحَدُنَا أَلْفَ حَسَنَةٍ؟ قَالَ:
يسَبِّح مائة تسْبيحَةٍ، فَيُكْتَبُ لَهُ أَلْفُ حَسَنَةٍ، أوْ يُحَطُّ قَنْهُ »
ِ
َُُِ
أَلْفُ خَطِيئَةٍ
تكتب له أ » : لفظ 􀈙 أخرجه مسلم، و .«
لَََُُُْْفُ
.« حَسَنَةٍ، وَتُحَطُّ قَنْهُ أَلْفُ سَيِّئَةٍ
ความว่า "พวกท่านแต่ละคนอ่อนแอหรือที่จะเก็บเกี่ยวหนึ่งพันความ
ดีในแต่ละวัน?" คนที่นั่งอยู่ด้วยคนหนึ่งได้ถามท่านว่า พวกเราแต่ละ
คนจะเก็บเกี่ยวหนึ่งพันความดีในแต่ละวันได้อย่างไร? ท่านตอบว่า
"ให้เขากล่าวตัสบีห์ สุบหานัลลอฮฺ หนึ่งร้อยครั้ง เขาก็จะถูกบันทึก
หนึ่งพันความดีให้ หรือจะถูกลบหนึ่งพันความผิดจากเขา" (บันทึก
โดยมุสลิม หมายเลข 2698) ในรายงานหนึ่งมีว่า "จะถูกบันทึกหนึ่ง
พันความดีให้กับเขา และจะถูกลบหนึ่งพันความผิดจากเขา"
(บันทึกโดยอะหฺมัด หมายเลข 1496 และอัต-ติรมิซีย์ หมายเลข
3463 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)
จากญาบิร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านกล่าว
ว่า
من قال سبحان الله العظيم وبحمدهِ غرست له ﻧﺨلة ﻓِﻲ اﻟﺠَنَّةِ »
ٌَََََََُِِْْْْ
.«َََُُِِْ
ความว่า "ผู้ใดที่กล่าวว่า สุบหานัลลอฮิลอะซีม วะบิหัมดิฮฺ จะถูกปลูก
ต้นอินทผลัมหนึ่งต้นเตรียมไว้แก่เขาในสวรรค์"
(บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ หมายเลข 3465 ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮี
หะฮฺ หมายเลข 64)
จากญุวัยริยะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮา เล่าว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ละ
ออกไปจากบ้านนางในยามเช้าตรู่ในขณะที่นางนั่งในที่ละหมาดของนาง แล้วท่านก็กลับมาใน
ยามสายในขณะที่นางยังนั่งอยู่ที่เดิม ท่านกล่าวว่า "เธอยังนั่งเช่นในสภาพเดิมตอนที่ฉัน
ออกไปกระนั้นหรือ?" นางตอบว่า "ใช่" ท่านจึงกล่าวว่า
لقد قلت بَعدك أَرْبَعَ ﻛَﻠِمَاتٍ ثَلاثَ مَ »
رََُُِْْْات لو وزنت بما قلتِ مُنْذُ
ََُِْْ
َُِْ
ٍَّ
ومِ لَوَزَغَتْهُنَّ: سبْحان الله وبحمْدِه، عدَد خلقِهِ، ورضَا غَفْسِهِ، 􀇾 ا َ
ََََِِْ
ِ
َُ
وَزنَةَ عَرْشِهِ، وَمِدَادَ ﻛَﻠِمَاتِهِ
.«ِ
ความว่า "แท้จริง หลังจากที่ออกไป ฉันได้กล่าวถ้อยคำสี่คำสามครั้ง
ซึ่งถ้านำไปชั่งเทียบกับสิ่งที่เธอกล่าวทั้งหมดตั้งแต่เริ่มวันนี้ แน่นอน
สี่คำนั้นย่อมหนักกว่า นั่นคือ สุบหานัลลอฮฺ วะบิหัมดิฮฺ, อะดะดา
4
ค็อลกิฮฺ, วะ ริฎอ นัฟซิฮฺ, วะ ซินะตะ อัรชิฮฺ, วะ มิดาดะ กะลิมาติฮฺ
(ความหมาย มหาบริสุทธิ์ยิ่งอัลลอฮฺ และด้วยการสรรเสริญแด่
พระองค์ มากเท่าสิ่งถูกสร้างของพระองค์ และเท่าที่ตัวพระองค์
โปรดปราน และเท่ากับน้ำหนักของอัรชฺแห่งพระองค์ และเท่ากับน้ำ
หมึกแห่งถ้อยคำของพระองค์)" (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2726)
จากอบู อัยยูบ อัล-อันศอรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิ
วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
من قال لا إلَه إلا الله وَحده لا ﺷﺮيكَ لَهُ، لَهُ المُلْكُ وَلَهُ »
ِ
َََََُّْْ
ء قدير، عَﺸْﺮ مرار ﻛﺎَنَ كَمَنْ أَقْتَقَ أَرْبَعَةَ 􀅽 اﻟﺤَمْدُ وَهُوَ ﻟَﺒٰ ﻛﻞ
ٌٍٍََََُِِِّْ
أَغْفُ
إسْمَاقِيلَ 􀈅 س مِن و ِ
.«ٍَْ
ความว่า "ผู้ใดที่กล่าวว่า ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ วะห์ดะฮุ ลาชะรีกะ
ละฮฺ, ละฮุลมุลกุ วะละฮุลหัมด์, วะฮุวะ อะลา กุลลิชัยอิน กอดีร
(ความว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ สำหรับพระองค์คือ
อำนาจการครอบครองและมวลการสรรเสริญ และพระองค์ทรงมีเด
ชานุภาพเหนือทุกสิ่ง) จำนวนสิบครั้ง เขาจะได้รับผลบุญประหนึ่งไถ่
ทาสสี่คนจากลูกหลานของอิสมาอีล"
(บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2693)
จากสะอัด บิน อบี วักกอศ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่า มีชายเบดูอินคนหนึ่งมาหา
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และได้กล่าวแก่ท่านว่า "จงสอนถ้อยคำแก่ฉันสัก
ประการที่ฉันจะได้ใช้กล่าว" ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ตอบว่า
قُلْ : لَا إلٰهَ إلَّا الله وَحْدَهُ لَا ﺷﺮيكَ لَهُ، اللهُ »
ِ
أكﺒﺮ كَبﻴﺮاً،
ََُِْ
وَاﻟﺤَمْدُ للهِ كَثﻴﺮاً، سُبْحَانَ اللهِ
رب العالمِﻴﻦَ، لا
حَولَ وَلا قُوَّةَ
إلا بِاللهِ
العزِيزِ اﻟﺤَكِيمِ
قُلْ: » : فَمَا ﻟِﻲ؟ قَالَ 􀈒 قَالَ: فَهٰؤلَاءِ لِرَ ِّ ،«َ
وارزقﻨِﻲ

Tuesday, December 8, 2009

ดุอาอ์จากอัลกุรอาน


ดุอาอ์จากอัลกุรอาน
﴿الدعاء من القرآن الكريم﴾
] ไทย – Thai – تايلاندي [


มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์



แปลโดย : ซุฟอัม อุษมาน
ผู้ตรวจทาน : อัสรัน นิยมเดชา
ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

2009 - 1430









﴿الدعاء من القرآن الكريم﴾
« باللغة التايلاندية »


الشيخ محمد بن إبراهيم التويجري



ترجمة: صافي عثمان
مراجعة: عصران إبراهيم
المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي

2009 - 1430



ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

ดุอาอ์จากอัลกุรอาน

อัลลอฮฺประทานอัลกุรอานลงมาเพื่อแถลงไขทุกสิ่งทุกอย่างแก่มนุษย์ และเพื่อเป็นทางนำ ความเมตตา และการเยียวยา ต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทดุอาอ์ที่มีระบุในอัลกุรอาน ซึ่งมุสลิมสามารถใช้ขอได้ และสามารถเลือกขอด้วยบทดุอาอ์ที่เหมาะสมกับตัวเอง
(ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ) [الأعراف/ 23].
ความว่า "โอ้ พระเจ้าของพวกข้าพระองค์ พวกข้าพระองค์ได้อธรรมแก่ตัวของพวกข้าพระองค์เอง และถ้าพระองค์ไม่ทรงอภัยโทษแก่พวกข้าพระองค์และเอ็นดูเมตตาแก่ข้าพระองค์แล้ว แน่นอนพวกข้าพระองค์ก็ต้องกลายเป็นผู้ที่ขาดทุน" (อัล-อะอฺรอฟ 23)

(ﯲ ﯳ ﯴ ﯵ ﯶ ﯷ ﯸ ﯹ) [الممتحنة/4].
ความว่า "ข้าแต่พระเจ้าของเรา แด่พระองค์เราขอมอบหมายและยังพระองค์เท่านั้นเราขอลุแก่โทษ และยังพระองค์เท่านั้นคือการกลับไป" (อัล-มุมตะหะนะฮฺ 4)

(ﭑﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ) [آل عمران/53].
ความว่า "ข้าแต่พระเจ้าแห่งพวกข้าพระองค์ พวกข้าพระองค์ศรัทธาแล้วต่อสิ่งที่พระองค์ได้ประทานลงมา และพวกข้าพระองค์ก็ได้ปฏิบัติตามรอซูลแล้ว โปรดทรงบันทึกพวกข้าพระองค์ร่วมกับบรรดาผู้ที่กล่าวปฏิญาณยืนยันทั้งหลายด้วยเถิด"

(ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ) [المؤمنون/109].
ความว่า "ข้าแต่พระเจ้าของเรา พวกเราได้ศรัทธาต่อพระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดอภัยโทษให้แก่เรา และทรงเมตตาต่อเราด้วย และพระองค์เท่านั้นที่ทรงเป็นผู้เมตตาที่ดียิ่ง" (อัล-มุอ์มินูน 109)

(ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ) [المائدة/83].
ความว่า "โอ้พระเจ้าของพวกข้าพระองค์ โปรดได้ทรงจารึกพวกข้าพระองค์ไว้ร่วมกับบรรดาผู้กล่าวปฏิญาณยืนยันด้วยเถิด" (อัล-มาอิดะฮฺ 83)

(ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ) [آل عمران/16].
ความว่า "โอ้พระเจ้าแห่งพวกข้าพระองค์ แท้จริงพวกข้าพระองค์ศรัทธากันแล้ว โปรดทรงอภัยโทษให้แก่พวกข้าพระองค์ซึ่งบรรดาความผิดของพวกข้าพระองค์ด้วยเถิด และโปรดได้ทรงป้องกันพวกข้าพระองค์ให้พ้นจากการลงโทษแห่งไฟนรกด้วย" (อาล อิมรอน 16)

(ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ) [التحريم/8].
ความว่า "ข้าแต่พระเจ้าของเรา ขอพระองค์ได้ทรงโปรดทำให้แสงสว่างของเราอยู่กับเราตลอดไป และทรงยกโทษให้แก่เรา แท้จริงพระองค์ท่านเป็นผู้ทรงอานุภาพเหนือทุกสิ่ง" (อัต-ตะห์รีม 8)

(ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ) [الحشر/10].
ความว่า "ข้าแต่พระเจ้าของเรา ทรงโปรดอภัยให้แก่เราและพี่น้องของเราผู้ซึ่งได้ศรัทธาก่อนหน้าเรา และขอพระองค์อย่าได้ให้มีการเคียดแค้นเกิดขึ้นในหัวใจของเราต่อบรรดาผู้ศรัทธา ข้าแต่พระเจ้าของเราแท้จริงพระองค์ท่านเป็นผู้ทรงเอ็นดู ผู้ทรงเมตตาเสมอ" (อัล-หัชร์ 10)

(ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱﭲ ﭳ) [البقرة/127-128].
ความว่า "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของพวกข้าพระองค์โปรดรับ(งาน) จากพวกข้าพระองค์ด้วยเถิด แท้จริงพระองค์นั้นทรงได้ยินและทรงรอบรู้ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ โปรดให้พระองค์ทั้งสองเป็นผู้นอบน้อมต่อพระองค์ และโปรดให้มีขึ้นจากลูกหลานของพวกพระองค์ ซึ่งประชาชนที่นอบน้อมต่อพระองค์ และโปรดแสดงแก่ข้าพระองค์ซึ่งพิธีการทำฮัจญ์ของพวกข้าพระองค์ และโปรดอภัยโทษแก่พวกข้าพระองค์ด้วย แท้จริงพระองค์ทรงเป็นผู้อภัยโทษ ทรงเอ็นดูเมตตา" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 127-128)

(ﯺﯻ ﯼ ﯽ ﯾ ﯿ ﰀ ﰁ ﰂ ﰃ ﰄ ﰅ ﰆ ﰇ ﰈ) [الممتحنة/5].
ความว่า "ข้าแต่พระเจ้าของเรา ขอพระองค์ทรงอย่าให้เราเป็นที่ทดสอบของบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา ขอพระองค์ทรงโปรดอภัยให้แก่เรา ข้าแต่พระเจ้าของเรา แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงปรีชาญาณ" (อัล-มุมตะหะนะฮฺ 5)

(ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱﯓ ﯔ ﯕ) [يونس/85-86].
ความว่า "ข้าแต่พระเจ้าของเรา ได้ทรงโปรดอย่าให้เราเป็นเครื่องทดลองสำหรับหมู่ชนผู้อธรรมเลย และได้ทรงโปรดช่วยเราให้พ้นจากหมู่ชนผู้ปฏิเสธศรัทธาด้วยพระเมตตาของพระองค์ด้วยเถิด" (ยูนุส 85-86)

(ﯫﯬ ﯭ ﯮ ﯯ ﯰ ﯱ ﯲ ﯳ ﯴ ﯵ ﯶ ﯷﯾ) [آل عمران/147].
ความว่า "โอ้พระเจ้าแห่งพวกข้าพระองค์ โปรดได้ทรงอภัยโทษให้แก่พวกข้าพระองค์ซึ่งบรรดาความผิดของพวกข้าพระองค์ด้วยเถิด และการที่พวกข้าพระองค์กระทำเกินขอบเขตในกิจการของพวกข้าพระองค์ และโปรดทรงให้เท้าของพวกข้าพระองค์มั่นอยู่ และโปรดทรงช่วยเหลือพวกข้าพระองค์ให้ชนะเหนือกลุ่มชนผู้ปฏิเสธศรัทธาด้วย" (อาล อิมรอน 147)

(ﮔ ﮕ ﮖ ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ) [الكهف/10].
ความว่า "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของเรา ขอพระองค์ทรงโปรดประทานความเมตตาจากพระองค์แก่เรา และทรงทำให้การงานของเราอยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง" (อัล-กะฮฺฟุ 10)

(ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ) [الفرقان/74].
ความว่า "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของเรา ขอพระองค์โปรดประทานแก่เรา ซึ่งคู่ครองของเราและลูกหลานของเรา ให้เป็นที่รื่นรมย์แก่สายตาของเรา และทรงทำให้เราเป็นแบบอย่างแก่บรรดาผู้ยำเกรง" (อัล-ฟุรกอน 74)

(ﯧ ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﯭ ﯮ ﯯﯰ ﯱ ﯲ ﯳ ﯴ ﯵ ﯶ) [الفرقان/65-66].
ความว่า "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของเรา ขอพระองค์ทรงปัดเป่าการลงโทษของนรกให้พ้นไปจากเรา แท้จริงการลงโทษของมันนั้นคงอยู่ตลอดกาล แท้จริงมันเป็นที่อยู่และที่พำนักอันเลวร้ายยิ่ง" (อัล-ฟุรกอน 65-66)

(ﯜﯝ ﯞ ﯟ ﯠ ﯡ ﯢ ﯣ ﯤ ﯥ ﯦ ﯧ) [البقرة/201].
ความว่า "โอ้พระเจ้าของเรา โปรดประทานให้แก่พวกเรา ซึ่งสิ่งดีงามในโลกนี้ และสิ่งดีงามในปรโลก และโปรดคุ้มครองพวกเราให้พ้นจากลงโทษแห่งไฟนรกด้วยเถิด" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 201)

(ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ) [البقرة/285].
ความว่า "เราได้ยิน และเราภักดี ขอพระองค์ได้โปรดให้อภัยด้วยเถิด โอ้องค์อภิบาลของเรา และเป้าหมาย(ของเรา)ย่อมคืนสู่พระองค์" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 285)

( ﯥ ﯦ ﯧ ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﯭ ﯮ ﯯ ﯰ ﯱ ﯲ ﯳ ﯴ ﯵ ﯶ ﯷ ﯸ ﯹ ﯺ ﯻ ﯼ ﯽﯾ ﯿ ﰀ ﰁ ﰂ ﰃ ﰄ ﰅ ﰆ ﰇ ﰈ ﰉ ﰊ ﰋ ﰌ ﰍ ﰎ) [البقرة/286].
ความว่า "โอ้พระเจ้าของพวกเรา! โปรดอย่าเอาโทษแก่เราเลย หากพวกเราลืม หรือผิดพลาดไป โอ้พระเจ้าของพวกเรา! โปรดอย่าได้บรรทุกภาระหนักใดๆ แก่พวกเราเช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงบรรทุกมันแก่บรรดาผู้ที่อยู่ก่อนหน้าพวกเรามาแล้ว โอ้พระเจ้าของพวกเรา! โปรดอย่าให้พวกเราต้องแบกรับสิ่งที่เราไม่มีกำลังจะรับมันได้ และโปรดได้ทรงอภัยแก่พวกเราและยกโทษให้แก่พวกเรา และเมตตาแก่พวกเราด้วยเถิด พระองค์นั้น คือผู้ปกครองของพวกเราดังนั้นโปรดได้ทรงช่วยเหลือพวกเราให้ได้รับชัยชนะเหนือกลุ่มชนที่ปฏิเสธศรัทธาด้วยเถิด" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 286)

(ﯫﯬ ﯭ ﯮ ﯯ ﯰ ﯱ ﯲ ﯳ ﯴ ﯵ ﯶ ﯷ ﯸ ﯹ ﯺ ﯻ) [آل عمران/8].
ความว่า "โอ้พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา ! โปรดอย่าให้หัวใจของพวกเราเอนเอียงออกจากความจริงเลยหลังจากที่พระองค์ได้ทรงแนะนำแก่พวกเราแล้ว และโปรดได้ประทานความเอ็นดูเมตตาจากพระองค์ให้แก่พวกเราด้วยเถิด แท้จริงพระองค์นั้นคือผู้ทรงประทานให้อย่างมากมาย" (อาล อิมรอน 8)

(ﯼﯽ ﯾ ﯿ ﰀ ﰁ ﰂ ﰃ ﰄ ﰅ ﰆ ﰇ ﰈ ﰉ ﰊ) [آل عمران/9].
ความว่า "โอ้พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา แท้จริงพระองค์นั้นเป็นผู้รวมมนุษย์ทั้งหลายในวันหนึ่งซึ่งไม่มีการสงสัยใดๆ ในวันนั้น (หมายถึงวันกิยามะฮฺ) แท้จริงอัลลอฮ์นั้นจะไม่ทรงผิดสัญญา" (อาล อิมรอน 9)

(ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﯙ ﯚ ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ ﯟ ﯠ ﯡ ﯢ ﯣ ﯤ ﯥ ﯦ ﯧ ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﯭ ﯮ ﯯ ﯰ ﯱ ﯲ ﯳ ﯴ ﯵ ﯶ ﯷﯸ ﯹ ﯺ ﯻ ﯼ ﯽ ﯾ) [آل عمران/191-194].
ความว่า "โอ้พระเจ้าของพวกข้าพระองค์ พระองค์มิได้ทรงสร้างสิ่งนี้มาโดยไร้สาระ มหาบริสุทธิ์พระองค์ท่าน โปรดทรงคุ้มครองพวกข้าพระองค์ให้พ้นจากการลงโทษแห่งไฟนรกด้วยเถิด โอ้พระเจ้าของพวกข้าพระองค์ แท้จริงผู้ใดที่พระองค์ทรงให้เข้าไฟนรก แน่นอนพระองค์ก็ยังความอัปยศแก่เขาแล้ว และสำหรับบรรดาผู้อธรรมนั้น ย่อมไม่มีผู้ช่วยเหลือใดๆ โอ้พระเจ้าของพวกข้าพระองค์! แท้จริงพวกข้าพระองค์ได้ยินผู้ประกาศเชิญชวนผู้หนึ่งกำลังประกาศเชิญชวนให้มีการศรัทธา ว่าท่านทั้งหลายจงศรัทธาต่อพระเจ้าของพวกเจ้าเถิด และพวกข้าพระองค์ก็ศรัทธากัน โอ้พระเจ้าของพวกข้าพระองค์! โปรดทรงอภัยแก่พวกข้าพระองค์ด้วย ซึ่งบรรดาโทษของพวกข้าพระองค์ และโปรดลบล้างให้พ้นจากพวกข้าพระองค์ ซึ่งบรรดาความผิดของพวกข้าพระองค์ และโปรดทรงให้พวกข้าพระองค์สิ้นชีวิตโดยร่วมอยู่กับบรรดาผู้ที่เป็นคนดีด้วยเถิด โอ้พระผู้เป็นเจ้าของพวกข้าพระองค์! และได้โปรดประทานแก่พวกข้าพระองค์สิ่งที่พระองค์ได้สัญญาไว้แก่พวกข้าพระองค์ โดยผ่านบรรดารอซูลของพระองค์ และโปรดอย่าได้ทรงยังความอัปยศแก่พวกข้าพระองค์ในวันปรโลกเลย แท้จริงพระองค์นั้นไม่ทรงผิดสัญญา (อาล อิมรอน 191-194)

(ﯭ ﯮ ﯯ ﯰ ﯱ ﯲ ﯳ ﯴ ﯵ) [إبراهيم/41].
ความว่า "โอ้พระเจ้าของเรา ขอพระองค์ทรงอภัยโทษให้แก่ข้าพระองค์ และแก่บิดามารดาของข้าพระองค์ และแก่บรรดามุอ์มินผู้ศรัทธา ในวันที่การสอบสวนจะมีขึ้น" (อิบรอฮีม 41)

(ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ) [الأنبياء/87].
ความว่า "ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ท่าน มหาบริสุทธิ์แห่งพระองค์ท่าน แท้จริงข้าพระองค์เป็นผู้หนึ่งในหมู่ผู้อธรรมทั้งหลาย" (อัล-อันบิยาอ์ 87)

( ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﯙ ﯚ ﯛ) [النمل/19].
ความว่า "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดประทานแกข้าพระองค์ เพื่อให้ข้าพระองค์ขอบคุณต่อความโปรดปรานของพระองค์ท่าน ซึ่งพระองค์ท่านได้ทรงโปรดปรานแก่ข้าพระองค์ และบิดามารดาของข้าพระองค์ และให้ข้าพระองค์กระทำความดีเพื่อให้พระองค์ทรงพอพระทัยมัน และทรงให้ข้าพระองค์เข้าอยู่ในความเมตตาของพระองค์ ในหมู่ปวงบ่าวของพระองค์ที่ดีมีคุณธรรมทั้งหลาย" (อัน-นัมล์ 19)

(ﯢ ﯣ ﯤ ﯥ ﯦ ﯧ ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ) [إبراهيم /40].
ความว่า "โอ้พระเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงให้ข้าพระองค์และจากลูกหลานของข้าพระองค์เป็นผู้ดำรงการละหมาด โอ้พระเจ้าของเรา ขอพระองค์ทรงตอบรับการวิงวอนของข้าพระองค์ด้วยเทอญ" (อิบรอฮีม 40)

(ﭩ ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ) [الأحقاف/15].
ความว่า "ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดประทานแก่ข้าพระองค์ เพื่อให้ข้าพระองค์ขอบคุณต่อความโปรดของพระองค์ท่าน ซึ่งพระองค์ท่านได้ทรงโปรดปรานแก่ข้าพระองค์และบิดามารดาของข้าพระองค์ และทรงโปรดปรับปรุงลูกหลานของข้าพระองค์ให้ดีเพื่อประโยชน์แก่ตัวข้าพระองค์ด้วยเถิด แท้จริงข้าพระองค์ขอลุแก่โทษต่อพระองค์ และแท้จริงข้าพระองค์อยู่ในหมู่ผู้นอบน้อม" (อัล-อะห์กอฟ 15)

(ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ) [القصص/16].
ความว่า "ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ แท้จริงข้าพระองค์ได้อธรรมต่อตนเอง ดังนั้นขอพระองค์ทรงอภัยให้แก่ข้าพระองค์ด้วย" (อัล-เกาะศ็อศ 16)

(ﯘﯙ ﯚ ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ ﯟ ﯠ ﯡ ﯢ ﯣ ﯤ ﯥ ﯦ ﯧ ﯨ) [طه/25-28].
ความว่า "ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดเปิดอกของข้าพระองค์ให้แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด และทรงโปรดทำให้การงานของข้าพระองค์ง่ายดายแก่ข้าพระองค์ด้วย และทรงโปรดแก้ปมจากลิ้นของข้าพระองค์ด้วย เพื่อให้พวกเขาเข้าใจคำพูดของข้าพระองค์" (ฏอฮา 25-28)

(ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ) [هود/47].
ความว่า "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ แท้จริงข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์ ให้พ้นจากการร้องเรียนต่อพระองค์ในสิ่งที่ข้าพระองค์ไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น และหากพระองค์ไม่ทรงอภัยแก่ข้าพระองค์และไม่ทรงเมตตาข้าพระองค์แล้วไซร้ ข้าพระองค์ก็จะอยู่ในหมู่ผู้ขาดทุน" (ฮูด 47)

(ﰃﰄ ﰅ ﰆ ﰇ ﰈ ﰉ ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ) [الشعراء/83-85].
ความว่า "ข้าแต่พระเจ้าของฉัน! ขอพระองค์ทรงประทานความรู้และทรงให้ฉันอยู่ร่วมกับหมู่คนดีทั้งหลาย และทรงทำให้ฉันได้รับการรำลึกอย่างดีในหมู่ชนรุ่นต่อๆ ไป และทรงทำให้ฉันอยู่ในหมู่ผู้รับมรดกแห่งสวนสวรรค์อันร่มรื่น" (อัช-ชุอะรออ์ 83-85)

(ﰁ ﰂ ﰃ ﰄ ﰅ ﰆ ﰇ ﰈ ﰉ ﰊ ﰋ ﰌ ﰍ ﰎ ﰏ ﰐ) [نوح/28].
ความว่า "ข้าแต่พวกเจ้าของข้าพระองค์ ขอทรงอภัยโทษให้แก่ข้าพระองค์ และพ่อแม่ของข้าพระองค์ และผู้ที่เข้ามาในบ้านของข้าพระองค์ในฐานะผู้ศรัทธา และบรรดาผู้ศรัทธาชายและบรรดาผู้ศรัทธาหญิง และพระองค์ท่านอย่าได้เพิ่มอันใดแก่พวกอธรรมเหล่านั้น นอกจากความพินาศหายนะเท่านั้น" (นูห์ 28)

(ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ) [آل عمران/38].
ความว่า "ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ โปรดได้ทรงประทานแก่ข้าพระองค์ จาก(การประทานแห่ง)พระองค์ท่าน ซึ่งบุตรหลานอันเป็นเชื้อสายที่ดี แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยินคำวิงวอน" (อาล อิมรอน 38)

(ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﯙ ﯚ ﯛ ﯜ) [الأنبياء/89].
ความว่า "ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงอย่าปล่อยให้ข้าพระองค์อยู่อย่างเดียวดาย และพระองค์ท่านเท่านั้นเป็นผู้สืบทอดอันดียิ่ง(หมายถึงผู้ที่คงอยู่หลังจากที่ผู้อื่นเสียชีวิตไปหมดแล้ว)" (อัล-อันบิยาอ์ 89)

(ﯯ ﯰ ﯱ ﯲ ﯳ ﯴ) [الصافات/100].
ความว่า "ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงประทาน(บุตร)จากหมู่คนที่ดีให้แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด" (อัศ-ศอฟฟาต 100)
( ﯺ ﯻ ﯼ ﯽ ﯾ ﯿ ﰀ) [المؤمنون/118].
ความว่า "ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดอภัยและทรงเมตตา และพระองค์ท่านเท่านั้นทรงเป็นผู้เมตตาที่ดียิ่ง" (อัล-มุอ์มินูน 118)

(ﮛﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ) [المؤمنون/ 97- 98].
ความว่า " ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์ ให้พ้นจากเสียงกระซิบกระซาบของชัยฏอน และข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์ ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ให้พ้นจากการที่พวกมันจะนำความชั่วร้ายมาสู่ข้าพระองค์" (อัล-มุอ์มินูน 97-98)

(ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ) [طه/114].
ความว่า "ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดเพิ่มพูนความรู้แก่ข้าพระองค์ด้วย" (ฏอฮา 114)

(ﮋﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔ ﮕ ﮖ ﮗﮜ) [الإسراء/80].
ความว่า "ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ได้ทรงโปรดนำข้าพระองค์เข้าตามทางเข้าที่ชอบธรรม และได้ทรงโปรดนำข้าพระองค์ออกตามทางออกที่ชอบธรรม และทรงโปรดให้ข้าพระองค์มีอำนาจที่เข้มแข็ง ซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากพระองค์" (อัล-อิสรออ์ 80)

(ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ) [المؤمنون/29].
ความว่า "ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงให้ข้าพระองค์ลง(ณ จุดหมายปลายทาง) ด้วยการลงที่มีความจำเริญ และพระองค์เท่านั้นเป็นผู้เลิศยิ่งแห่งบรรดาผู้ให้ลง(ยังจุดหมายปลายทาง)" (อัล-มุอ์มินูน 29)

(ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ) [القصص/17].
ความว่า "ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ด้วยการที่พระองค์ได้ทรงโปรดปรานแก่ข้าพระองค์แล้วนั้น ข้าพระองค์จะไม่เป็นผู้สนับสนุนเหล่าอาชญากรอีกเด็ดขาด" (อัล-เกาะศ็อศ 17)

(ﯲ ﯳ ﯴ ﯵ ﯶ ﯷ) [العنكبوت/30].
ความว่า "ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดช่วยข้าพระองค์ให้มีชัยเหนือหมู่ชนผู้บ่อนทำลายด้วยเถิด" (อัล-อันกะบูต 30)

ความหมายและประเภทของ “ดุอาอ์”


ความหมายของดุอาอ์
ในทางรากศัพท์ “ดุอาอ์” دعاء หมายถึง การขอ การวิงวอน การเรียก (ดูอ้างอิง 1-3)
ส่วนความหมายของมันในทางศาสนบัญญัตินั้นหมายถึง การวิงวอนของจากอัลลอฮฺ รวมถึงการสรรเสริญและสดุดีพระองค์ (อ้างอิง 3)
นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายอื่นอีก แต่ทั้งนี้ลักษณะการให้ความหมายมีความคล้ายกัน เช่น
1.การแสดงความปรารถนาต่ออัลลอฮฺ
2.การขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ
3.การแสดงตนว่าต้องพึ่งอัลลอฮฺ ไม่แสดงทิฐิ สำนึกในความเป็นมนุษย์ที่ต่ำต้อย และยอมรับในความประเสริฐอันมหาศาลของอัลลอฮฺ ด้วยการสรรเสริญพระองค์
4.การขอสิ่งที่เป็นประโยชน์ และให้พ้นจากสิ่งที่เป็นพิษภัย
5.การนอบน้อมวิงวอนต่ออัลลอฮฺ และมอบตนต่อหน้าพระองค์ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ปรารถนาและให้ปลอดภัยจากสิ่งที่ไม่ประสงค์ (อ้างอิง 2)
ประเภทของดุอาอ์
บรรดาอุละมาอฺได้แบ่งดุอาอ์ไว้สองประเภทด้วยกัน (อ้างอิง 1-3)
1.ดุอาอ์ อิบาดะฮฺ นั่นคือ การขอด้วยการภักดี
2.ดุอาอ์มัสอะละฮฺ นั่นคือ การขอด้วยการกล่าววิงวอน
ประเภทที่ 1 ดุอาอ์ อิบาดะฮฺ นั่นคือการเรียกร้องผลบุญจากอัลลอฮฺ ด้วยการปฏิบัติความดีต่างๆ ทั้งที่เป็นภารกิจบังคับหรือภารกิจที่ให้เลือกทำโดยเสรี เช่น การกล่าวปฏิญาณ(ชะฮาดะฮฺ) และทำตามเงื่อนไขต่างๆ ของมัน การละหมาด การถือศีลอด การจ่ายซะกาต การทำฮัจญ์ การเชือดสัตว์พลี การบนบานต่ออัลลอฮฺ ฯลฯ เพราะแก่นแท้ของการปฏิบัติความดีเหล่านี้ก็คือการหวังให้อัลลอฮฺทรงตอบแทน นั่นก็คือการขอจากพระองค์นั่นเอง ถึงแม้จะไม่ได้เปล่งด้วยวาจา แต่ภาษาของการกระทำได้แสดงการขอและวิงวอนจากอัลลอฮฺแล้ว เช่นนี้จึงถือว่าการงานทุกอย่างที่เราปฏิบัติด้วยความหวังในผลตอบแทนจากผู้ทรงตอบแทนได้ดีที่สุด หรือทำเพราะยำเกรงต่ออำนาจและการลงโทษขององค์ผู้อภิบาล ย่อมเรียกได้ว่าเป็น ดุอาอ์ นั่นคือ ดุอาอ์ อิบาดะฮฺ (อ้างอิง 3)
ดุอาอ์ประเภทนี้ไม่ค่อยเป็นที่เข้าใจกันในคนส่วนใหญ่ เพราะทุกครั้งที่เราพูดถึงดุอาอ์ เรามักจะคิดถึงเฉพาะ ดุอาอ์ ที่เป็นการของด้วยการกล่าววิงวอน และไม่เคยคิดว่าทุกๆ อิบาดะฮฺของเราก็เป็นดุอาอ์ (อ้างอิง 2)
การแยกให้มีดุอาอ์อิบาดะฮฺ เป็นการยกอ้างมาจากดำรัสของอัลลอฮฺใน สูเราะฮฺ อัล-ฟุรกอน อายะฮฺสุดท้ายว่า
قل ما يعبأ بكم ربي لولا دعاؤكم فقد كذبتم فسوف يكون لزاما
ความว่า จงกล่าวเถิด(มุหัมมัด) พระผู้เป็นเจ้าของฉันจะไม่ใยดีต่อพวกท่าน หากไม่มีการวิงวอนภักดีของพวกท่าน เพราะพวกท่านได้ปฏิเสธไม่รับฟัง ดังนั้นการลงโทษจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
คำว่าดุอาอ์ ที่ทรงกล่าวถึงในอายะฮฺข้างต้น ได้มีผู้อธิบายด้วยว่า ความหมายของมันก็คือ การอิบาดะฮฺ นั่นเอง (มุคตะศ็อรฺ ตัฟสีรฺ อัล-บะฆอวีย์ 2/667)
ดังนั้นจึงมีผู้กล่าวว่า ความหมายของอายะฮฺดังกล่าวได้รวมเอาทั้งดุอาอ์อิบดะฮฺและดุอาอ์มัสอะละฮฺ ทั้งสองประเภทไว้ด้วยกันแล้ว (อ้างอิง 1)
ประเภทที่ 2 ดุอาอ์มัสอะละฮฺ นั่นคือการดุอาอ์ในรูปแบบของการขอ วิงวอนในสิ่งที่เป็นคุณแก่ผู้ขอ หรือขจัดภัยจากเขา รวมทั้งการขอในสิ่งตนต้องการ (อ้างอิง 3)
สรุปแล้ว ดุอาอ์มัสอะละฮฺ คือการดุอาอ์ทั่วๆ ไปตามที่เราถือปฏิบัติและตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกันนั่นเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ดุอาอ์ทั้งสองประเภทอาจจะใช้การอธิบายรวมๆ กันได้ เพราะตามที่เราทราบมาแล้วว่า ทุกๆ อิบาะฮฺของเราคือการดุอาอ์ ส่วนตัวดุอาอ์เอง ก็ถือเป็นอิบาดะฮฺ ดังที่มีในหะดีษของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า
الدعاء هو العبادة
ความว่า ดุอาอ์ นั้นคือ อิบาดะฮฺ
เมื่อความจริงเป็นเช่นนี้ จึงมิควรที่เราจะเพิกเฉยหรือรู้สึกเหนื่อยหน่ายต่อการปฏิบัติตนในกรอบของอิบาดะฮฺ เพราะนั่นย่อมหมายถึงทุกเวลาเราอยู่ในสภาพผู้ที่กำลังวิงวอนต่ออัลลอฮฺ และใกล้ชิดพระองค์ แม้ในอิริยาบทปกติและกิจกรรมประจำวันทั่วไป ทั้งนี้งานที่เราทำนั้นจะต้องอยู่ในกรอบความหมายรวมของอิบาดะฮฺ อันหมายถึงการทำในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงพอใจและงดเว้นสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม
วัลลอฮฺ อะอฺลัม
อ้างอิง
1. อบูซัยด์, บักรฺ อับดุลลอฮฺ. ตัศฮีหฺ อัด-ดุอาอ์
2. อัล-หัมด์, มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม. อัด-ดุอาอ์ มัฟฮูมุฮุ อะหฺกามุฮุ อัคฏออ์ ตะเกาะอุ ฟีฮิ
3. อัล-เกาะห์ฏอนีย์, สะอีด อะลี วะฮฺฟ์. ชุรูฏ อัด-ดุอาอ์ วะ มะวานิอฺ อัล-อิญาบะฮฺ

บทว่าด้วยการขอดุอาอ์


บทว่าด้วยการขอดุอาอ์
﴿كتاب الأدعية﴾
] ไทย – Thai – تايلاندي [


มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์



แปลโดย : ซุฟอัม อุษมาน
ผู้ตรวจทาน : อัสรัน นิยมเดชา
ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

2009 - 1430









﴿كتاب الأدعية﴾
« باللغة التايلاندية »


الشيخ محمد بن إبراهيم التويجري



ترجمة: صافي عثمان
مراجعة: عصران إبراهيم
المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي

2009 - 1430



ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

บทว่าด้วยการขอดุอาอ์

ประเภทของดุอาอ์
ดุอาอ์มีสองประเภท คือ ดุอาอ์ อิบาดะฮฺ และ ดุอาอ์ มัสอะละฮฺ แต่ละประเภทมีนัยที่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกันด้วย
1. ดุอาอ์ อิบาดะฮฺ คือ การ ตะวัสสุล (พึ่งปัจจัย)ต่ออัลลอฮฺให้ได้สิ่งที่ต้องการ หรือป้องกันจากสิ่งที่ไม่ชอบ หรือขจัดโทษภัย ด้วยการปฏิบัติอิบาดะฮฺ(อะมัลความดีต่างๆ) ด้วยความบริสุทธิ์ใจต่อพระองค์เพียงผู้เดียว
อัลลอฮฺตรัสว่า
(ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔ ﮕ ﮖ ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ) [الأنبياء/87-88].
ความว่า "และจงรำลึกถึงเรื่องราวของซันนูน (นบี ยูนุส) เมื่อเขาจากไปด้วยความโกรธพรรคพวกของเขา แล้วเขาคิดว่าเราจะไม่ทำให้เขาได้รับความลำบาก แล้วเขาก็ร้องเรียนท่ามกลางความมืดทึบทะมึนว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ท่าน มหาบริสุทธิ์แห่งพระองค์ท่าน แท้จริงข้าพระองค์เป็นผู้หนึ่งในหมู่ผู้อธรรมทั้งหลาย ดังนั้นเราได้ตอบรับการร้องเรียนของเขา และเราได้ช่วยให้เขารอดพ้นจากความทุกข์ระทม และเช่นเดียวกันนี้แหละที่เราช่วยบรรดาผู้ศรัทธา" (อัล-อันบิยาอ์ 87-88)

2. ดุอาอ์ มัสอะละฮฺ คือ การร้องขอสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ขอ ไม่ว่าจะเป็นการขอให้ได้รับผลประโยชน์ หรือ ขอให้ขจัดโทษภัยให้หมดไป
อัลลอฮฺตรัสว่า
( ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ) [آل عمران/ 16]
ความว่า "คือบรรดาผู้ที่กล่าวว่า โอ้พระเจ้าแห่งพวกข้าพระองค์ แท้จริงพวกข้าพระองค์ศรัทธากันแล้ว โปรดทรงอภัยโทษให้แก่ความผิดของพวกข้าพระองค์ และโปรดได้ทรงป้องกันพวกข้าพระองค์ให้พ้นจากการลงโทษแห่งไฟนรกด้วย" (อาล อิมรอน 16)

พลังของดุอาอ์
ดุอาอ์ (การขอพร) และ ตะเอาวุซ (การขอความคุ้มครอง) เป็นเหมือนอาวุธ และพลังของอาวุธนั้นเกี่ยวข้องกับผู้ที่ใช้มันด้วย ไม่ใช่เกี่ยวข้องกับความคมของมันเพียงอย่างเดียว ดังนั้น ถ้าหากอาวุธใดมีความสมบูรณ์พร้อม ไม่หักไม่บิ่น และมือที่ใช้อาวุธก็เปี่ยมไปด้วยพลัง อีกทั้งไม่มีสิ่งใดๆ มากีดขวางการใช้อาวุธนั้น แน่นอนว่ามันย่อมต้องใช้ได้ผลอย่างเต็มประสิทธิภาพกับคู่ต่อสู้ แต่ถ้าเมื่อใดที่หนึ่งในสามประการดังกล่าวไม่พร้อม ผลของมันก็จะไม่ปรากฏ
ดุอาอ์นั้นเป็นอาวุธของผู้ศรัทธา ซึ่งมันเป็นประโยชน์ทั้งกับกำหนดลิขิตของอัลลอฮฺที่เกิดขึ้นแล้วและที่ยังไม่เกิดขึ้น และด้วยแรงแห่งความมั่นใจที่เข้มข้นต่อพระองค์อัลลอฮฺ การยืนหยัดบนคำสั่งใช้ของพระองค์ และความมุ่งมั่นที่จะเชิดชูพระพจนารถของพระองค์ ก็จะเกิดการตอบรับดุอาอ์และสมความปรารถนาตามที่ต้องการ

การตอบรับดุอาอ์
เมื่อการขอดุอาอ์เป็นไปด้วยเงื่อนไขต่างๆ ของมันอย่างครบถ้วน เมื่อนั้นอัลลอฮฺก็จะทรงกำหนดให้เกิดผลอย่างหนึ่งอย่างใดในประการต่างๆ เหล่านี้ คือ 1) พระองค์จะทรงตอบรับดุอาอ์นั้นทันที หรือ 2) พระองค์จะทรงไม่ตอบรับทันที แต่จะทรงให้มันล่าช้า เพื่อให้บ่าวของพระองค์ได้วอนขอต่อพระองค์ให้มากขึ้นด้วยการร้องไห้และนอบน้อม หรือ 3) จะทรงประทานสิ่งอื่นให้ที่เป็นประโยชน์ต่อเขามากกว่าสิ่งที่เขาขอ หรือ 4) จะทรงขจัดภัยอย่างอื่นให้เขาแทนสิ่งที่เขาขอ หรือ 5) จะทรงเก็บไว้เพื่อประทานให้เขาในวันกิยามะฮฺ อัลลอฮฺเท่านั้นที่ทรงรู้ดีว่าอันไหนเป็นประโยชน์ต่อบ่าวของพระองค์มากที่สุด ดังนั้น เราจึงไม่ควรรีบร้อนต้องการเห็นผลของดุอาอ์ทันทีทันใด อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﯙﯚ﴾ [الطلاق/3]
ความว่า "แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงบรรลุในกิจการของพระองค์ โดยแน่นอนสำหรับทุกสิ่งอย่างนั้นอัลลอฮฺทรงกำหนดกฎสภาวะไว้แล้ว" (อัฏ-เฏาะลาก 3)
(ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﯭ ﯮ ﯯ ﯰ ﯱ ﯲ ﯳ ﯴ ﯵ ﯶ ﯷ ﯸ ﯹ ﯺ ﯻ ﯼ) [البقرة/186]
ความว่า "และเมื่อบ่าวของข้าถามเจ้าถึงข้าแล้วละก็ (จงตอบเถิดว่า)แท้จริงและข้าอยู่ใกล้ ข้าจะตอบรับคำวิงวอนของผู้ที่วิงวอนเมื่อเขาวิงวอนต่อข้า ดังนั้น พวกเขาจงตอบรับข้าเถิดและจงศรัทธาต่อข้า เพื่อว่าพวกเขาจะได้อยู่ในทางที่ถูกต้อง" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 186)



ปัจจัยที่กีดขวางการตอบรับดุอาอ์
ดุอาอ์เป็นเหตุปัจจัยที่มีพลังมากที่สุดในการขจัดเพทภัยและการขอให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ปรารถนา แต่ผลของมันอาจจะไม่ปรากฏให้เห็น เนื่องจากความอ่อนของตัวดุอาอ์เอง เช่น เป็นดุอาอ์ที่อัลลอฮฺไม่ชอบเนื่องจากแฝงด้วยถ้อยคำที่ละเมิดขอบเขต หรืออาจจะเป็นเพราะหัวใจที่อ่อนแอและไม่มุ่งมั่นจิตใจไปยังอัลลอฮขณะที่เขาขอดุอาอ์ หรืออาจจะมีปัจจัยอื่นๆ ที่กีดขวางการตอบรับดุอาอ์ เช่น การกินสิ่งที่หะรอม การหลงลืมและเผลอเรออย่างชัดเจน บาปที่ทับถมในหัวใจ การรีบร้อนอยากเห็นผลของดุอาอ์จนละทิ้งไม่ขอดุอาอ์อย่างต่อเนื่อง บางครั้งอัลลอฮฺอาจจะไม่ให้เห็นผลของดุอาอ์บนโลกนี้เพราะพระองค์ได้เตรียมสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าให้เขาในอาคิเราะฮฺ บางทีพระองค์ไม่ประทานสิ่งที่เขาขอเพราะพระองค์ได้ขจัดสิ่งที่เป็นภัยต่อเขาแทน หรือบางที การให้สิ่งที่เขาขออาจจะเป็นเหตุให้เขาทำบาปมากขึ้น ดังนั้นการไม่ให้สมปรารถนาจึงมีคุณต่อตัวเขามากกว่า และบางที พระองค์ไม่ให้เขาสมปรารถนาตามที่เขาขอ เพื่อไม่ให้เขาลืมพระองค์ แล้วเขาก็จะหยุดการวิงวอนขอต่อพระองค์อีก

สภาพของดุอาอ์กับบททดสอบในชีวิต
ดุอาอ์เป็นยาที่ดีสุด เป็นศัตรูกับบททดสอบ เพราะมันจะคอยยับยั้งไม่ให้บททดสอบลงมาโดนกับตัวของมนุษย์ คอยขจัดมันถ้าหากมันลงมาแล้ว หรือบรรเทาให้มันทุเลาลง สภาพของดุอาอ์กับบททดสอบมีอยู่สามกรณีดังนี้
กรณีที่หนึ่ง ดุอาอ์มีพลังเหนือกว่าบททดสอบ และมันก็สามารถต้านทานและขจัดมันได้
กรณีที่สอง ดุอาอ์มีพลังน้อยกว่าแรงของบททดสอบ ดังนั้นมันก็จะไม่เป็นผลและแพ้ต่อบททดสอบที่มีความเข้มข้นกว่ามัน
กรณีที่สาม ทั้งสองอย่างมีพลังเท่าๆ กัน และจะคอยต่อสู้เพื่อเอาชนะอีกฝ่ายให้ได้

คุณค่าของดุอาอ์
1. อัลลอฮฺตรัสว่า
(ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﯭ ﯮ ﯯ ﯰ ﯱ ﯲ ﯳ ﯴ ﯵ ﯶ ﯷ ﯸ ﯹ ﯺ ﯻ ﯼ) [البقرة/186]
ความว่า "และเมื่อบ่าวของข้าถามเจ้าถึงข้าแล้วละก็ (จงตอบเถิดว่า)แท้จริงแล้วข้าอยู่ใกล้ ข้าจะตอบรับคำวิงวอนของผู้ที่วิงวอนเมื่อเขาวิงวอนต่อข้า ดังนั้น พวกเขาจงตอบรับข้าเถิดและจงศรัทธาต่อข้า เพื่อว่าพวกเขาจะได้อยู่ในทางที่ถูกต้อง" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 186)

2. อัลลอฮฺตรัสว่า
(ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ) [ غافر/60]
ความว่า "และพระเจ้าของพวกเจ้าตรัสว่า จงวิงวอนขอต่อข้า ข้าจะตอบรับแก่พวกเจ้า ส่วนบรรดาผู้โอหังต่อการเคารพภักดีข้านั้น จะเข้าไปอยู่ในนรกอย่างต่ำต้อย" (ฆอฟิรฺ 60)

มารยาทในการขอดุอาอ์ และสาเหตุแห่งการตอบรับ
ส่วนหนึ่งของสิ่งดังกล่าวก็คือ อิคลาศ การบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮฺ ผู้ทรงเกียรติและสูงส่ง เริ่มต้นด้วยการกล่าวสรรเสริญสดุดีอัลลอฮฺ จากนั้นก็กล่าวเศาะละวาตต่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ทั้งในตอนเริ่มต้นขอและตอนปิดท้าย
ต้องให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวขณะที่ขอดุอาอ์ ใช้เสียงเบา ยอมรับในความผิดบาปและขออภัยโทษ ยอมรับต่อนิอฺมัตของอัลลอฮฺ การทวนดุอาอ์สามครั้ง การขออย่างจริงจัง ไม่แสดงความรู้สึกว่าดุอาอ์เกิดผลช้า การขอด้วยความมั่นใจว่าดุอาอ์จะได้รับการตอบรับ ต้องไม่ขอในสิ่งที่เป็นบาปหรือตัดสัมพันธ์กับเครือญาติ และต้องไม่ละเมิดขอบเขตในการขอ
ไม่ขอให้เกิดภัยต่อตัวเอง ครอบครัว ทรัพย์สิน และลูกหลาน อาหารการกินและเสื้อผ้าต้องไม่ใช่สิ่งต้องห้าม ต้องคืนสิทธิที่เคยละเมิดแก่ผู้เป็นเจ้าของ ขอด้วยความนอบน้อมและสงบเสงี่ยม อยู่ในสภาพที่สะอาดจากญุนุบและสิ่งสกปรก ยกมือขณะขอดุอาอ์ให้สูงระดับไหล่ด้วยการประกบมือทั้งสองข้างแบมือสู่ท้องฟ้า หรือถ้าต้องการให้ฝ่ามือทั้งสองข้างหันเข้าสู่ใบหน้าและให้หลังมือหันไปทางกิบละฮฺก็ได้ การผิดหน้าไปสู่กิบละฮฺตอนขอดุอาอ์ ขอดุอาอ์ทั้งในยามสุขและยามทุกข์ และการขอดุอาอ์ด้วยดุอาอ์ที่คาดหวังว่าจะได้รับการตอบรับเนื่องจากมีระบุในสายรายงาน

ดุอาอ์ที่อนุญาตให้ขอและที่ไม่อนุญาต
ดุอาอ์มีหลายประเภท
1. ประเภทที่ถูกใช้ให้ขอ ไม่ว่าจะเป็นในเชิงบังคับหรือเชิงสนับสนุน เช่นดุอาอ์ต่างๆ ในละหมาด และอื่นๆ ที่มีในอัลกุรอานและซุนนะฮฺ ประเภทนี้เป็นดุอาอ์ที่อัลลอฮฺชอบและโปรดปราน
2. ประเภทที่ถูกห้ามไม่ให้ขอ เช่นการละเมิดในการขอดุอาอ์ ตัวอย่างเช่นการขอสิ่งที่เป็นคุณลักษณะเฉพาะของพระเจ้า อย่างการขอให้ตัวเองรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง หรือขอให้มีพลังเหนือทุกสรรพสิ่ง หรือขอให้มีความรู้ในสิ่งที่เร้นลับ เป็นต้น ประเภทนี้เป็นสิ่งที่อัลลอฮฺไม่ชอบและไม่โปรดปราน
3. สิ่งที่อนุญาตให้ขอได้ เช่น การขอสิ่งที่อยู่นอกเหนือความจำเป็นที่ไม่เป็นการฝ่าฝืนหรือมะอฺศิยัต


เวลา สถานที่ และสภาพที่ดีที่สุดในการขอดุอาอ์
1. เวลาที่ดีที่สุดในการขอดุอาอ์
กลางดึกช่วงสุดท้ายของคืน, คืนลัยละตุลก็อดรฺ, หลังละหมาดห้าเวลา, ระหว่างอะซานและอิกอมะฮฺ, ช่วงเวลาเฉพาะเวลาหนึ่งในกลางคืน(ไม่มีระบุว่าช่วงไหน), ช่วงเวลาเฉพาะเวลาหนึ่งในวันศุกร์นั่นคือช่วงเวลาสุดท้ายหลังอัศร์, ช่วงเวลาอะซานเรียกสู่การละหมาดห้าเวลา, เมื่อนอนในสภาพที่มีวุฎูอ์(น้ำละหมาด)จากนั้นตื่นขึ้นมาในเวลากลางคืนและขอดุอาอ์, การขอดุอาอ์ในเดือนเราะมะฎอน เป็นต้น

2. สถานที่ที่ดีที่สุดในการขอดุอาอ์
ดุอาอ์วันอะเราะฟะฮฺ ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺ, ดุอาอ์บนเนินเศาะฟาและมัรวะฮฺ, ดุอาอ์ ณ อัล-มัชอัร อัล-หะรอม, ดุอาอ์หลังจากขว้างเสาหินอันที่หนึ่งและอันที่สองในวันตัชรีก เป็นต้น

3. สภาพที่ดีที่สุดในการขอดุอาอ์
หลังจากที่กล่าวขอว่า "ลาอิลาฮะ อิลลา อันตะ, สุบหานะกะ, อินนี กุนตุ มินัซ ซอลิมีน", ดุอาอ์ในขณะที่จิตใจรำลึกถึงและมุ่งมั่นอยู่กับอัลลอฮฺ, ดุอาอ์หลังจากอาบน้ำละหมาด, ดุอาอ์ของผู้เดินทาง, ดุอาอ์ของผู้ป่วย, ดุอาอ์ของผู้ที่ถูกอธรรม, ดุอาอ์ของบุพการีแก่ลูกหลาน, ดุอาอ์ของผู้ที่อยู่ในภาวะคับขัน, ดุอาอ์ขณะสุญูด, ดุอาอ์ของบรรดามุสลิมเมื่อมีการนั่งรวมกันเพื่อรำลึกถึงอัลลอฮฺ, ดุอาอ์เมื่อได้ยินไก่ขัน, ดุอาอ์เมื่อตกใจตื่นเวลากลางคืนแล้วกล่าวว่า "ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ วะห์ดะฮู..." จนจบ จากนั้นก็กล่าวอิสติฆฟารและขอดุอาอ์ เป็นต้น

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งของดุอาอ์จากอัลกุรอานและสุนนะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่ถูกต้อง

(ติดตามต่อได้ที่หัวข้อ "ดุอาอ์จากอัลกุรอาน" ในหน้าเว็บ)

ความหมายของดุอาอ์

ความหมายของดุอาอ์
ในทางรากศัพท์ “ดุอาอ์” دعاء หมายถึง การขอ การวิงวอน การเรียก (ดูอ้างอิง 1-3)
ส่วนความหมายของมันในทางศาสนบัญญัตินั้นหมายถึง การวิงวอนของจากอัลลอฮฺ รวมถึงการสรรเสริญและสดุดีพระองค์ (อ้างอิง 3)
นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายอื่นอีก แต่ทั้งนี้ลักษณะการให้ความหมายมีความคล้ายกัน เช่น
1.การแสดงความปรารถนาต่ออัลลอฮฺ
2.การขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ
3.การแสดงตนว่าต้องพึ่งอัลลอฮฺ ไม่แสดงทิฐิ สำนึกในความเป็นมนุษย์ที่ต่ำต้อย และยอมรับในความประเสริฐอันมหาศาลของอัลลอฮฺ ด้วยการสรรเสริญพระองค์
4.การขอสิ่งที่เป็นประโยชน์ และให้พ้นจากสิ่งที่เป็นพิษภัย
5.การนอบน้อมวิงวอนต่ออัลลอฮฺ และมอบตนต่อหน้าพระองค์ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ปรารถนาและให้ปลอดภัยจากสิ่งที่ไม่ประสงค์ (อ้างอิง 2)
ประเภทของดุอาอ์
บรรดาอุละมาอฺได้แบ่งดุอาอ์ไว้สองประเภทด้วยกัน (อ้างอิง 1-3)
1.ดุอาอ์ อิบาดะฮฺ นั่นคือ การขอด้วยการภักดี
2.ดุอาอ์มัสอะละฮฺ นั่นคือ การขอด้วยการกล่าววิงวอน
ประเภทที่ 1 ดุอาอ์ อิบาดะฮฺ นั่นคือการเรียกร้องผลบุญจากอัลลอฮฺ ด้วยการปฏิบัติความดีต่างๆ ทั้งที่เป็นภารกิจบังคับหรือภารกิจที่ให้เลือกทำโดยเสรี เช่น การกล่าวปฏิญาณ(ชะฮาดะฮฺ) และทำตามเงื่อนไขต่างๆ ของมัน การละหมาด การถือศีลอด การจ่ายซะกาต การทำฮัจญ์ การเชือดสัตว์พลี การบนบานต่ออัลลอฮฺ ฯลฯ เพราะแก่นแท้ของการปฏิบัติความดีเหล่านี้ก็คือการหวังให้อัลลอฮฺทรงตอบแทน นั่นก็คือการขอจากพระองค์นั่นเอง ถึงแม้จะไม่ได้เปล่งด้วยวาจา แต่ภาษาของการกระทำได้แสดงการขอและวิงวอนจากอัลลอฮฺแล้ว เช่นนี้จึงถือว่าการงานทุกอย่างที่เราปฏิบัติด้วยความหวังในผลตอบแทนจากผู้ทรงตอบแทนได้ดีที่สุด หรือทำเพราะยำเกรงต่ออำนาจและการลงโทษขององค์ผู้อภิบาล ย่อมเรียกได้ว่าเป็น ดุอาอ์ นั่นคือ ดุอาอ์ อิบาดะฮฺ (อ้างอิง 3)
ดุอาอ์ประเภทนี้ไม่ค่อยเป็นที่เข้าใจกันในคนส่วนใหญ่ เพราะทุกครั้งที่เราพูดถึงดุอาอ์ เรามักจะคิดถึงเฉพาะ ดุอาอ์ ที่เป็นการของด้วยการกล่าววิงวอน และไม่เคยคิดว่าทุกๆ อิบาดะฮฺของเราก็เป็นดุอาอ์ (อ้างอิง 2)
การแยกให้มีดุอาอ์อิบาดะฮฺ เป็นการยกอ้างมาจากดำรัสของอัลลอฮฺใน สูเราะฮฺ อัล-ฟุรกอน อายะฮฺสุดท้ายว่า
قل ما يعبأ بكم ربي لولا دعاؤكم فقد كذبتم فسوف يكون لزاما
ความว่า จงกล่าวเถิด(มุหัมมัด) พระผู้เป็นเจ้าของฉันจะไม่ใยดีต่อพวกท่าน หากไม่มีการวิงวอนภักดีของพวกท่าน เพราะพวกท่านได้ปฏิเสธไม่รับฟัง ดังนั้นการลงโทษจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
คำว่าดุอาอ์ ที่ทรงกล่าวถึงในอายะฮฺข้างต้น ได้มีผู้อธิบายด้วยว่า ความหมายของมันก็คือ การอิบาดะฮฺ นั่นเอง (มุคตะศ็อรฺ ตัฟสีรฺ อัล-บะฆอวีย์ 2/667)
ดังนั้นจึงมีผู้กล่าวว่า ความหมายของอายะฮฺดังกล่าวได้รวมเอาทั้งดุอาอ์อิบดะฮฺและดุอาอ์มัสอะละฮฺ ทั้งสองประเภทไว้ด้วยกันแล้ว (อ้างอิง 1)
ประเภทที่ 2 ดุอาอ์มัสอะละฮฺ นั่นคือการดุอาอ์ในรูปแบบของการขอ วิงวอนในสิ่งที่เป็นคุณแก่ผู้ขอ หรือขจัดภัยจากเขา รวมทั้งการขอในสิ่งตนต้องการ (อ้างอิง 3)
สรุปแล้ว ดุอาอ์มัสอะละฮฺ คือการดุอาอ์ทั่วๆ ไปตามที่เราถือปฏิบัติและตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกันนั่นเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ดุอาอ์ทั้งสองประเภทอาจจะใช้การอธิบายรวมๆ กันได้ เพราะตามที่เราทราบมาแล้วว่า ทุกๆ อิบาะฮฺของเราคือการดุอาอ์ ส่วนตัวดุอาอ์เอง ก็ถือเป็นอิบาดะฮฺ ดังที่มีในหะดีษของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า
الدعاء هو العبادة
ความว่า ดุอาอ์ นั้นคือ อิบาดะฮฺ
เมื่อความจริงเป็นเช่นนี้ จึงมิควรที่เราจะเพิกเฉยหรือรู้สึกเหนื่อยหน่ายต่อการปฏิบัติตนในกรอบของอิบาดะฮฺ เพราะนั่นย่อมหมายถึงทุกเวลาเราอยู่ในสภาพผู้ที่กำลังวิงวอนต่ออัลลอฮฺ และใกล้ชิดพระองค์ แม้ในอิริยาบทปกติและกิจกรรมประจำวันทั่วไป ทั้งนี้งานที่เราทำนั้นจะต้องอยู่ในกรอบความหมายรวมของอิบาดะฮฺ อันหมายถึงการทำในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงพอใจและงดเว้นสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม
วัลลอฮฺ อะอฺลัม
อ้างอิง
1. อบูซัยด์, บักรฺ อับดุลลอฮฺ. ตัศฮีหฺ อัด-ดุอาอ์
2. อัล-หัมด์, มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม. อัด-ดุอาอ์ มัฟฮูมุฮุ อะหฺกามุฮุ อัคฏออ์ ตะเกาะอุ ฟีฮิ
3. อัล-เกาะห์ฏอนีย์, สะอีด อะลี วะฮฺฟ์. ชุรูฏ อัด-ดุอาอ์ วะ มะวานิอฺ อัล-อิญาบะฮฺ

ชื่อหัวข้อ: ความหมายและประเภทของ “ดุอาอ์”
ภาษา: ไทย
วันที่เพิ่ม: Oct 15,2007
ผู้เขียน : ซุฟอัม อุษมาน
คำอธิบายโดยย่อ: กล่าวถึงความหมายและประเภทของดุอาอ์
: عربي - বাংলা - മലയാളം - Bosanski - Bosanski - Bosanski - Bosanski - Ўзбекча - English - Türkçe
จำนวนครั้งที่แสดง: 2326
ลิ้งก์ : http://www.islamhouse.com/p/

บทซิกิรเฉพาะสำหรับสภาวะและสถานการณ์ต่างๆ


บทซิกิรเฉพาะสำหรับสภาวะและสถานการณ์ต่างๆ
﴿الأذﻛﺎر اﻟﻤقيدة﴾
[ ไทย – Thai – [ تايلاندي
มุหัมมัด อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์
แปลโดย : ซุฟอัม อุษมาน
ผู้ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ที่มา : มุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์
2009 - 1430
﴿الأذﻛﺎر اﻟﻤقيدة﴾
« باللغة اﻛﺤايلاندية »
ﻣﺤمد بن إبراهيم اﻛﺤوﻳﺠري
ترﺟﻤة: صاﻓﻲ عثمان
مراجعة: فيصل عبداﻟﻬادي
اﻟﻤصدر: كتاب ﻣﺨتﺼﺮ الفقه الإسلاﻣﻲ
2009 - 1430
1
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
บทซิกิรสำหรับสภาวะและสถานการณ์ต่างๆ
นี่เป็นบทซิกิรบางบทที่ใช้กล่าวในสภาวะและสถานการณ์เฉพาะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นใน
สภาวะปกติ หรือยามคับขัน หรือในสถานการณ์ฉุกเฉิน
1. บทซิกิรในสภาวะปกติ
เมื่อสวมเสื้อผ้าใหม่
1. จากอบู สะอีด อัลคุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮฺอะ
ลัยฮิวะสัลลัม เมื่อสวมเสื้อผ้าใหม่ ท่านจะเรียกชื่อมัน เช่น เสื้อหรือผ้าโพกหัว แล้วท่านก็จะ
กล่าวว่า
اللّٰهُمَّ لَكَ اﻟﺤَمْدُ، أَنْتَ كَسَوْتَنِيْهِ »
، أسألك من خﻴﺮِه، وخﻴﺮِ مَا
َََََُِِْْْْ
صُنِعَ لَهُ، وَأعوذ بكَ مِنْ ﺷَﺮِّهِ، وَﺷَﺮِّ مَا صُنِعَ لَهُ
ِ
َُ
«
(คำอ่าน อัลลอฮุมมา ละกัลหัมดุ, อันตา กะเซาตะนีฮี, อัสอะลุกะ มิน
ค็อยริฮี, วะค็อยริ มา ศุนิอะ ละฮุ, วะอะอูซุบิกะ มิน ชัรริฮี, วะ ชัรริมา
ศุนิอะ ละฮุ)
ความว่า "โอ้ อัลลอฮฺ แด่พระองค์นั้นคือมวลการสรรเสริญทั้งหลาย
พระองค์ได้สวมใส่มันให้แก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ขอจากพระองค์
ซึ่งความดีงามของมัน และความดีงามของสิ่งที่มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ
การนั้น และข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากความชั่ว
ร้ายของมัน และความชั่วร้ายของสิ่งที่มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการนั้น"
อบู นัฎเราะฮฺ ผู้รายงานหะดีษได้กล่าวว่า เหล่าเศาะหาบะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ
อะลัยฮิ วะสัลลัม เมื่อพวกเขาคนใดคนหนึ่งสวมใส่เสื้อผ้าใหม่ก็จะถูกกล่าวแก่เขาว่า "(จงใส่
จนกระทั่ง)ให้มันเก่า แล้วอัลลอฮฺก็จะทรงทดแทน(อันใหม่ให้แก่ท่าน)" (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึก
โดย อบู ดาวูด 4020 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และอัต-ติรมิซีย์ 1767)
2. จากอุมมุ คอลิด เราะฎิยัลลอฮฺอันฮา เล่าว่า มีเสื้อผ้าใหม่ถูกนำมาให้แก่ท่านรอซู
ลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ในจำนวนนั้นมี เคาะมีเศาะฮฺ (ผ้าลายสีดำทำจากขน
สัตว์) อยู่ด้วย ท่านกล่าวถามเศาะหาบะฮฺว่า "พวกท่านเห็นว่าใครที่เราควรให้เขาใส่เคาะมี
เศาะฮฺนี้?" ผู้คนต่างก็เงียบไม่มีใครตอบ จากนั้นท่านนบีก็กล่าวว่า "ไปนำอุมมุ คอลิด มาให้
ฉัน" ฉันจึงถูกนำไปยังท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิ วะสัลลัม แล้วท่านก็สวมเคาะมีเศาะฮฺให้
2
ฉันด้วยมือท่านเอง แล้วก็กล่าวสองครั้งว่า
أبﻠِﻲ وَأخْلِﻘِﻲ »
«ْ
(คำอ่าน อับลีย์ วะ อัคลิกีย์ )
ความว่า "จงสวมใส่ จนกระทั่งมันเก่าและผุพัง"
แล้วท่านก็มองดูลายของเคาะมีเศาะฮฺ และชี้ด้วยมือของท่านมายังฉันพร้อม
กล่าวว่า "นี่อุมมุ คอลิด (ลาย)นี้สวยน่ะ"
(บันทึก อัล-บุคอรีย์ 5845)
เมื่อเข้าบ้าน
จากญาบิร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ฉันได้ฟังท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม
กล่าวว่า
إذَا دَخَلَ الرَّجُلُ بَيْتَهُ، فَذَكَرَ الله عِنْدَ دُخُولِهِ وَعِنْدَ طَعَامِهِ، قَالَ »
الشيطان، لا مبيت لكم ولا عشاء، وإذا دخل فلم يذكرِ الله
ََََََََََََََََُُُِّْْْْ
عند دخوله، قال الشيطان أدركتم المبيت، وإذا لم يذكرِ الله
َََََََََُُُُِِِّْْْْْْ
.« عِنْدَ طَعَامِهِ قَالَ أَدْرَكْتُمُ المَبِيتَ وَالعَشَاءَ
ความว่า "เมื่อชายคนหนึ่งเข้าบ้านของเขา แล้วได้กล่าวถึงอัลลอฮฺ
ตอนเข้าบ้านและตอนทานอาหาร ชัยฏอนก็จะพูดว่า ไม่มีที่หลับ
นอนและไม่มีอาหารให้เราอีกแล้ว และเมื่อชายคนหนึ่งเข้าบ้านแต่
ไม่ได้กล่าวถึงอัลลอฮฺตอนเข้าบ้าน ชัยฏอนก็จะพูดว่า พวกเจ้าได้ที่
หลับนอนแล้ว และหากเขาไม่กล่าวถึงอัลลอฮฺตอนทานอาหาร
ชัยฏอนก็จะพูดว่า พวกเจ้าได้ที่หลับนอนและมีอาหารกินแล้ว"
(บันทึกโดย มุสลิม 2018)
เมื่อออกจากบ้าน
1. จากอุมมุ สะละมะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮา เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิ
วะสัลลัม เมื่อออกจากบ้านของท่านจะกล่าวว่า
ت ﻟَﺒ الله، اللّٰهمَّ إنا نعوذ بك من أَن نزل أَوْ نضِلَّ، أَوْ 􀈢 بسم الله تَو ّ »
َّ
ِ
َْ
ِ
ُُّ
.« نظْلِمَ أَوْ غُظْلَمَ، أَوْ ﻧﺠْهَلَ أَوْ يُجْهَلَ عَلَينا
(คำอ่าน บิสมิลลาฮฺ ตะวักกัลตุ อะลัลลอฮ,ฺ อัลลอฮุมมา อินนา นะ
อูซุบิกา มิน อัน นะซิลละ เอา นะฎิลละ, เอา นัซลิมะ เอา นุซละมะ
, เอา นัจญ์ฮะละ เอา ยุจญ์ฮะละ อะลัยนา)
3
ความว่า ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ฉันขอมอบหมายที่พึ่งยังอัลลอฮฺ
โอ้ อัลลอฮฺ เราขอความคุ้มครองต่อพระองค์ จากการที่เราต้อง
กระทำผิดพลาด หลงทาง อยุติธรรมแก่ผู้อื่น ถูกอธรรมโดยผู้อื่น ไม่
รู้ผิดชอบชั่วดี หรือถูกผู้อื่นกระทำไม่ดี
(บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ 4327 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และ
อัน-นะสาอีย์ 5486)
2. จากอะนัส อิบนุ มาลิก เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม กล่าวว่า
ْتُ ﻟَﺒَ الله، لا 􀈢 إذَا خَرَجَ الرَّجُلُ مِنْ بَيْتِهِ فَقَالَ: بِاسْمِ الله، تَوَ َّ »
حول ولا قوة إلا بِا
يُقَالُ حِينَئِذٍ هُدِيتَ وَكُفِيتَ وَوُقِيتَ » : قَالَ « لََََُّّْلهِ
لَهُ الشَّيَاطِﻴﻦُ، فَيَقُولُ لَهُ شَيْطَانٌ آخَرُ: كيف لك برجلٍ 􀅵 فَتَتَنَ َّ
َُِ
ََََ
َ􀈛 قَد هدي وَكﻔِﻲَ وَوُ ِ
.«َُُِْ
ความว่า "เมื่อชายผู้หนึ่งออกจากบ้านของเขาและได้กล่าวว่า
บิสมิลลาฮฺ ตะวักกัลตุ อะลัลลอฮฺ, ลาเหาละ วะลา กุวฺวะตะ อิลลา
บิลลาฮฺ (ความว่า ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ฉันขอมอบหมายที่พึ่ง
ยังอัลลอฮฺ ไม่มีความสามารถและพละกำลังใดที่เกิดขึ้นเว้นแต่ด้วย
การอนุมัติของอัลลอฮฺ) เมื่อนั้นก็จะถูกกล่าวแก่เขาว่า ท่านได้รับการ
ชี้นำแล้ว ท่านได้รับการคุ้มครองแล้ว ท่านได้รับการปกป้องแล้ว
และชัยฏอนทั้งหลายก็จะพยายามเข้าใกล้เขา แต่จะมีชัยฏอนตัวอื่น
กล่าว่า เจ้าจะทำอย่างไรได้เล่ากับชายซึ่งได้รับการชี้นำ ได้รับการ
คุ้มครองและปกป้องแล้ว?"
(บันทึกโดย อบู ดาวูด 5095 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และอัต-
ติรมิซีย์ 3426)
เมื่อต้องการเข้าห้องน้ำ
จากอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ กล่าวว่า เมื่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม
ต้องการเข้าห้องน้ำ ท่านจะกล่าวว่า
أعوذ بكَ مِنَ اﻟﺨُبُ 􀅚 اللّٰهُمَّ إِ »
ِ
.« ثَُِِّ وَاﻟﺨَبَائِثِ
(คำอ่าน อัลลอฮุมมา อินนี อะอูซุบิกะ มินัล คุบุษิ วัล เคาะบาอิษ)
ความว่า "โอ้ อัลลอฮฺ แท้จริงข้าพระองค์ของความคุ้มครองต่อ
พระองค์จากชัยฏอนตัวผู้และชัยฏอนตัวเมียทั้งหลาย"
(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ 142 และมุสลิม 357)
4
เมื่อออกจากห้องน้ำ
จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮา เล่าว่า เมื่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิ
วะสัลลัม ออกจากห้องน้ำ ท่านจะกล่าวว่า
« لُفْرَانَكَ »
(คำอ่าน ฆุฟรอ นะกะ)
ความว่า "ขอการอภัยโทษจากพระองค์ด้วยเถิด" (บันทึกโดย อบู
ดาวูด 30 และอัต-ติรมิซีย์ 7)
เมื่อมุ่งหน้าไปยังมัสญิด
จากอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา เล่าว่าท่านได้นอนที่บ้านน้าสาวของท่านคือ
มัยมูนะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮา (เป็นภริยาท่านหนึ่งของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม)
ในคืนหนึ่ง ซึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้อยู่กับนางด้วย ในรายงานระบุว่า เมื่อ
มีผู้อะซานได้ทำการอะซาน(ศุบห์)แล้ว ท่านนบีก็ออกไปละหมาด โดยท่านได้กล่าวดุอาอฺ
ในขณะออกไปมัสญิดว่า
نُوراً، واجعل ﻓِﻲ سَمْﻌِﻲ نُوراً، 􀅚 لسا 􀈙 اللّٰهم اجعل ﻓِﻲ قلﺒﻲ نُوراً، و »
َََََِِْْْْ
ْ
ِ
َُّْ
وَاجْعل ﻓﻲ بﺼﺮي نُوراً، وَاجْ
َِِ
عََْلْ مِنْ خلﻔِﻲ نُوراً، وَمِنْ أَمَاﻣِﻲ نُوراً، وَاجْعَلْ
َْ
نُوراً، ومن تحﺘﻲ نُوراً، اللّٰ 􀈛 من فو
ِ
ََِِِْْْ
هَم أعطﻨﻲ نُوراً
«َُِّْ
(คำอ่าน อัลลอฮุมมัจญ์อัล ฟี ก็อลบี นูรอ, วะฟี ลิซานี นูรอ, วัจญ์อัล
ฟี ซัมอี นูรอ, วัจญ์อัล ฟี บะเศาะรี นูรอ, วัจญ์อัล มิน ค็อลฟี นูรอ,
วะมิน อะมามี นูรอ, วัจญ์อัล มิน เฟากี นูรอ, วะมิน ตะห์ตี นูรอ, อัล
ลอฮุมมะ อะอฺฏีนี นูรอ)
ความว่า "โอ้ อัลลอฮฺ ขอทรงทำให้มีนูรฺ(รัศมีอันส่องประกาย)ในใจ
ฉัน ที่ลิ้นฉันก็ให้มีนูรฺ ขอทรงทำให้มีนูรฺที่หูฉัน ขอทรงให้มีนูรฺที่ตา
ฉัน ขอทรงให้มีนูรฺข้างหลังฉัน และมีนูรฺข้างหน้าฉัน ขอทรงทำให้
มีนูรฺเบื้องบนฉัน และให้มีนูรฺที่เบื้องล่างฉัน โอ้ อัลลอฮฺ ขอทรง
ประทานนูรฺแก่ฉันด้วยเถิด"
(บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 6316 มุสลิม 763 สำนวนรายงานนี้เป็นของ
ท่าน)
เมื่อเข้าและออกมัสญิด
1. จากอับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิ
วะสัลลัม ว่า เมื่อท่านนบีเข้ามัสญิดท่านจะกล่าวว่า
أعوذ بالله العظيمِ، وَبِوَجههِ الكرِيمِ، وَسُلْطَانِهِ القَدِيمِ مِنَ »
َ
َِِِْ
َُ
.« الشَّيْطَانِ الرَّجِيمِ
5
(คำอ่าน อะอูซุบิลลาฮิลอะซีม, วะบิ วัจญ์ฮิฮิล กะรีม, วะสุลฏอนิฮิล
เกาะดีม, มินัช ชัยฏอนิร เราะญีม)
ความว่า "ข้าขอความคุ้มครองด้วยอัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ และด้วย
พระพักตร์อันทรงเกียรติของพระองค์ และด้วยอำนาจอันดั้งเดิมของ
พระองค์ จากชัยฏอนผู้ถูกสาปแช่ง"
(หะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดย อบู ดาวูด 466)
2. เมื่อเข้ามัสญิด
اللّٰهم افتَح ﻟﻲ أَبْوَابَ رَحْمَتِكَ »
«َُِّْ
(คำอ่าน อัลลอฮุมมัฟตะห์ลี อับวาบะ เราะหฺมะติก)
ความว่า "โอ้ อัลลอฮฺ ขอทรงเปิดประตูทั้งหลายแห่งความเมตตา
ของพระองค์แก่ฉันด้วยเถิด"
(บันทึกโดย มุสลิม 713)
เมื่อออกจากมัสญิด
« أَسْأَلُكَ مِنْ فَضْلِكَ 􀅚 اللّٰهُمَّ إ ِّ »
(คำอ่าน อัลลอฮุมมะ อินนี อัสอะลุกะ มิน ฟัฎลิก)
ความว่า "โอ้ อัลลอฮฺ แท้จริงข้าพระองค์ขอต่อพระองค์ จากความ
ประเสริฐของพระองค์ด้วยเถิด"
(บันทึกโดย มุสลิม 713)
เมื่อได้ยินเสียงอะซาน
1. จากอับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ บิน อัล-อาศ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา เล่าว่าได้ยินท่านนบี
ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
إذَا سَمِعْتُمُ المُؤَذِّنَ فَقُولُوا مِثْلَ مَا يَقُولُ، عُمَّ صَلُّوا عَﻠَﻲَّ؛ فَإنَّهُ »
مَنْ صَﻠَّﻰ عَﻠَﻲَّ صَلاةً صَﻠَّﻰ اللهُ عَلَيهِ بِهَا عَﺸْﺮاً، عُمَّ سَلُوا اللهَ ﻟِﻲَ
الوسيلة فإغها مﻨﺰِ
لَََِّْة ﻓﻲ اﻟﺠنةِ لا تنبَﻐﻲ إلَّا لِعَبْدٍ مِنْ عِبَادِ اللهِ
ِ
ََِّْ
،ٌَ
وأرجو أن أكون أنا هوَ، فمن سألَ ﻟِﻲَ الوَسِيلَةَ حَلَّتْ لَهُ
َََََََََََُُُْْْ
.« الشَّفَاعَةُ
ความว่า "เมื่อพวกท่านได้ยินผู้ขับเสียงอะซาน ก็จงกล่าวตามเขา
จากนั้นก็จงกล่าวเศาะละวาตแก่ฉัน เพราะผู้ใดที่กล่าวเศาะละวาต
แก่ฉันหนึ่งครั้งอัลลอฮฺจะทรงประทานเมตตาของพระองค์แก่เขาสิบ
เท่า จากนั้นก็จงขอต่ออัลลอฮฺให้ประทาน อัล-วะสีละฮฺ แก่ฉัน
แท้จริงมันเป็นตำ แหน่งหนึ่ง(อันสูงส่ง)ในสวรรค์ ซึ่งที่นั้นมันไม่
6
เหมาะเว้นแต่สำหรับบ่าวหนึ่งคนเท่านั้นจากบรรดาบ่าวทั้งหลาย
ของอัลลอฮฺ และฉันหวังว่าเขาผู้เหมาะสมคนนั้นจะเป็นฉัน ดังนั้น
ผู้ใดที่ขอ อัล-วะสีละฮฺ ให้แก่ฉัน การช่วยเหลือของฉัน(อัช-
ชะฟาอะฮฺ)ก็ย่อมได้รับอนุมัติสำหรับเขา" .
(บันทึกโดย มุสลิม 384)
2. จากญาบิรฺ อิบนุ อับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา เล่าว่าได้ยินท่านรอซูลุลลอฮฺ
ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
عْوَةِ اﻛﺤَّامَّةِ، 􀈅 مَنْ قَالَ حِﻴﻦَ يسَْمَعُ اجِّدَاءَ: اللّٰهُمَّ رَبَّ هَذِهِ ا َّ »
وَالصَّلاةِ القَائِمَةِ، آتِ مُحَمَّداً الوَسِيلَةَ وَالفَضِيلَةَ، وَانْعَثْهُ مَقَاماً
ي وَ 􀈆 محمودا ا ِ
عًََُّْدته، حَلت له شفاعَﺘِﻲ يَومَ القِيَامَةِ
.«ََََُُّْْ
ความว่า "ผู้ใดที่กล่าวเมื่อได้ยินเสียงอะซานว่า อัลลอฮุมมะ ร็อบบะ
ฮาซิฮิด ดะอฺวะติต ต๊ามมะฮฺ, วัศเศาะลาติล กออิมะฮฺ, อาติ มุหัมมะ
ดะนิล วะสีละตะ วัล ฟะฎีละฮฺ, วับอัษฮุ มะกอมัม มะห์มูดะนิล ละซี
วะอัดตะฮฺ, (ความหมาย โอ้ อัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลแห่งเสียงการ
เรียกร้องอันสมบูรณ์นี้ และพระผู้อภิบาลแห่งการละหมาดที่ดำเนิน
ขึ้น ขอทรงโปรดประทาน อัล-วะสีละฮฺ (ดูความหมายในหะดีษก่อน
หน้า) และ อัล-ฟะฎีละฮฺ (ตำแหน่งหนึ่งอันสูงส่งในสวรรค์ หรือมี
ความหมายในนัยยะเดียวกันกับ อัล-วะสีละฮฺ) แก่มุหัมมัดด้วยเถิด
และขอทรงโปรดให้เขาฟื้นขึ้นในวันกิยามะฮฺในสภาพที่ได้รับการยก
ย่องสรรเสริญด้วยเถิด) การช่วยเหลือของฉัน(อัช-ชะฟาอะฮฺ)ก็จะ
ได้รับอนุมัติสำหรับเขาในวันกิยามะฮฺ".
(บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 614)
3. จากสะอัด อิบนุ อบี อัล-วักกอศ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ จากท่านรอซูลุลลอฮฺ
ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
مَنْ قَالَ حِﻴﻦَ يسَْمَعُ المُؤَذِّنَ: أَشْهَدُ أَنْ لا إلٰهَ إلَّا اللهُ وَحْدَهُ لا »
ﺷَﺮيكَ لَهُ، وَأَنَّ مُحَمَّداً قَبْدُهُ وَرَسُولُهُ، رَضِيتُ بِاللهِ
رَبّاً،
وَبِمُحَمَّد رسُولا، وَبالإسْلامِ دِيناً، غُفِرَ لَهُ ذَغْبُهُ
ِ
.«ًٍَ
ความว่า "ผู้ใดที่กล่าวเมื่อได้ยินเสียงผู้อะซานว่า อัชฮะดุ อัลลา อิลา
ฮะ อิลลัลลอฮฺ วะฮฺดะฮู ลา ชะรีกะละฮฺ, วะอันนะ มุหัมมะดัน อับดุฮุ
วะเราะซูลุฮฺ, เราะฎีตุ บิลลาฮิ ร็อบบา, วะบิ มุหัมมะดิร เราะซูลา, วะ
บิล อิสลามิ ดีนา (ความหมาย ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่
ควรต้องเคารพภักดีนอกจากอัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น โดยไม่มีภาคี
ใดๆ สำหรับพระองค์ และมุหัมมัดนั้นเป็นบ่าวและศาสนทูตของ
7
พระองค์ ข้าพอใจด้วยอัลลอฮฺเป็นพระผู้อภิบาลของฉัน พอใจด้วย
มุหัมมัดเป็นศาสนทูตของฉัน และพอใจด้วยอิสลามเป็นศาสนาของ
ฉัน) บาปของเขาก็จะถูกอภัยให้"
(บันทึกโดย มุสลิม 386)
8
2. บทซิกิรที่ใช้กล่าวในยามทุกข์เข็ญ
เมื่อประสบความทุกข์ยากลำบาก
1. จากอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา เล่าว่าท่านรอซูลุลลอฮฺ เมื่อประสบกับ
ความทุกข์ยากจะกล่าวว่า
لا إلٰهَ إلَّا اللهُ العَظِيمُ اﻟﺤَلِيمُ، لا إلٰهَ إلَّا اللهُ رَبُّ العَرْشِ »
العَظِيمِ، لا إلٰهَ إلَّا اللهُ رَبُّ السماوَات، وَرَبُّ الأَرْضِ، وَرَبُّ
ِ
َّ
العرش الكريمِ
«ََِْ
(คำอ่าน ลา

บทซิกิรเฉพาะสำหรับสภาวะและสถานการณ์ต่างๆ


บทซิกิรเฉพาะสำหรับสภาวะและสถานการณ์ต่างๆ

1. บทซิกิรในสภาวะปกติ
เมื่อสวมเสื้อผ้าใหม่
เมื่อเข้าบ้าน
เมื่อออกจากบ้าน
เมื่อต้องการเข้าห้องน้ำ
เมื่อออกจากห้องน้ำ
เมื่อมุ่งหน้าไปยังมัสญิด
เมื่อเข้าและออกมัสญิด
เมื่อได้ยินเสียงอะซาน

2. บทซิกิรที่ใช้กล่าวในยามทุกข์เข็ญ
เมื่อประสบความทุกข์ยากลำบาก
เมื่อตื่นตระหนกกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด
เมื่อประสบกับความกังวลหรือโศกเศร้าเสียใจ
เมื่อรู้สึกกลัวต่อคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด
เมื่อปะทะกับศัตรู
เมื่อต้องการขอให้ได้รับชัยชนะเหนือศัตรู
คำที่กล่าวสำหรับผู้ที่อธรรมต่อชาวมุสลิม
เมื่อมีปัญหาใดทับถมจนล้นตัว
เมื่อพลาดพลั้งกระทำความผิดบาป
คำกล่าวสำหรับผู้ติดหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้
เมื่อประสบกับความทุกข์ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่
คำกล่าวเพื่อไล่ชัยฏอนและความลังเลที่มันใช้ล่อลวง
คำกล่าวเมื่อมีความโมโหโกรธา

3. บทซิกิรที่ใช้กล่าวในกรณีอื่นๆ
เมื่อลุกจากการนั่งชุมนุม
เมื่อได้ยินเสียงไก่ขัน เสียงร้องของลา และเสียงสุนัขเห่าหอน
เมื่อพบเห็นผู้ที่ถูกทดสอบด้วยโรคหรืออื่นๆ
เมื่อตักเตือนผู้อื่น แล้วผู้ถูกตักเตือนทำตัวยะโส
เมื่อเริ่มลงมือขจัดสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

เมื่อมีคนทำดีกับเรา
เมื่อเห็นตะกร้าหรือภาชนะที่มีผลไม้ให้ทาน
เมื่อมีเรื่องที่ทำให้ดีใจ
เมื่อมีความแปลกใจและสุขใจ

เมื่อเห็นเมฆครึ้มและฝนตก
เมื่อลมพัดแรง
ดุอาอฺที่ใช้กล่าวแก่คนรับใช้
คำกล่าวเมื่อต้องการชมเชยมุสลิม
เมื่อมีคนชม


ชื่อหัวข้อ: บทซิกิรเฉพาะสำหรับสภาวะและสถานการณ์ต่างๆ
ภาษา: ไทย
วันที่เพิ่ม: Aug 01,2009
ผู้เขียน : มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์
ผู้แปล : ซุฟอัม อุษมาน
ผู้ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
เผยแพร่โดย : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
ไฟล์แนบพร้อมข้อมูล : 2
คำอธิบายโดยย่อ: กล่าวถึงบทซิกิรเฉพาะตามสภาวะและสถานการณ์ต่างๆ ตามแบบฉบับซุนนะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม สำหรับการปฏิบัติของมุสลิมในชีวิตประจำวัน
: عربي
จำนวนครั้งที่แสดง: 775
ลิ้งก์ : http://www.islamhouse.com/p/228521

บางมุมว่าด้วย ซิกรุลลอฮฺ



เมื่อพูดถึงซิกรุลลอฮฺหลายคนจะนึกถึงถ้อยคำที่เราใช้กล่าวตามวาระและโอกาสต่างๆ เพื่อใช้รำลึกถึงอัลลอฮฺ บางครั้งอาจจะรู้สึกเป็นเรื่องปกติธรรมดาไม่มีอะไรสลักสำคัญ หรือไม่ก็รู้สึกเหนื่อยหน่ายด้วยซ้ำ ทั้งนี้เพราะมันดูเป็นเหมือนพิธีกรรม มีขั้นมีตอนที่น่าอึดอัดและไม่ชวนให้น่าทำ
จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับซิกรุลลอฮฺเสียใหม่ เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้ว ซิกรุลลอฮฺ เป็นสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าให้ความสำคัญมาก ดังที่มีระบุถึงมากมายในคัมภีร์อัลกุรอานหลายโองการและในวาระต่างๆ ที่หลากหลายอีกด้วย
ประการแรก การซิกรุลลอฮฺในข้อเท็จจริงของอัลกุรอานไม่ได้มีรูปแบบเป็นพิธีกรรมแม้แต่น้อย ทว่ามันเป็นเหมือนกิจกรรมอย่างหนึ่งในชีวิตของผู้ศรัทธาที่แยกออกจากการดำเนินชีวิตประจำวันของเขาไม่ได้ และเป็นกิจกรรมที่ต้องรวมอยู่ในทุกอิริยาบทตลอดวัน ไม่ใช่เฉพาะบางครั้งบางเวลาหรือบางโอกาสบางสถานที่เท่านั้น
ซิกรุลลอฮฺ ตามมุมมองแห่งอัลกุรอานหมายถึงการใช้ชีวิตในทุกอิริยาบทโดยไม่หลงลืมอัลลอฮฺ เพราะในทุกวินาทีที่เราหายใจเข้าออกเราสามารถที่จะรำลึกถึงอัลลอฮฺได้ และนี่คือสิ่งที่ควรต้องเป็น เพราะหนึ่งในคุณลักษณะของผู้ที่จะได้ผลตอบแทนเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่คือผู้ที่รำลึกถึงอัลลอฮฺอย่างมากมาย เช่นในโองการนี้
إِنَّ الْمُسْلِمِينَ وَالْمُسْلِمَاتِ وَالْمُؤْمِنِينَ وَالْمُؤْمِنَاتِ وَالْقَانِتِينَ وَالْقَانِتَاتِ وَالصَّادِقِينَ وَالصَّادِقَاتِ وَالصَّابِرِينَ وَالصَّابِرَاتِ وَالْخَاشِعِينَ وَالْخَاشِعَاتِ وَالْمُتَصَدِّقِينَ وَالْمُتَصَدِّقَاتِ وَالصَّائِمِينَ وَالصَّائِمَاتِ وَالْحَافِظِينَ فُرُوجَهُمْ وَالْحَافِظَاتِ وَالذَّاكِرِينَ اللَّهَ كَثِيرًا وَالذَّاكِرَاتِ أَعَدَّ اللَّهُ لَهُمْ مَغْفِرَةً وَأَجْرًا عَظِيمًا
ความว่า "แท้จริงบรรดามุสลิมผู้นอบน้อมทั้งชายและหญิง บรรดามุอ์มินผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิง บรรดาผู้ที่ภักดีทั้งชายและหญิง บรรดาผู้ที่กล่าวคำสัตย์ทั้งชายและหญิง บรรดาผู้ที่อดทนทั้งชายและหญิง บรรดาผู้นอบน้อมถ่อมตนทั้งชายและหญิง บรรดาผู้ที่บริจาคทานทั้งชายและหญิง บรรดาผู้ถือศีลอดทั้งชายและหญิง บรรดาผู้รักษาอวัยวะเพศทั้งชายและหญิง บรรดาผู้ที่รำลึกถึงอัลลอฮฺอย่างมากมายทั้งชายและหญิง อัลลอฮฺได้ทรงเตรียมสำหรับพวกเขาซึ่งการอภัยโทษ และรางวัลอันใหญ่หลวง" (อัล-อะห์ซาบ : 35)

การรำลึกถึงอัลลอฮฺอย่างมากมาย ไม่ได้หมายถึงว่าต้องมีจำนวนมากมายเท่านั้น คำว่ามากมายอาจจะแปลได้ว่าบ่อยๆ ตลอดเวลา สม่ำเสมอ โดยไม่ขาด และน่าจะเป็นความหมายที่มีน้ำหนักมากกว่าความหมายแรก เพราะความหมายตามนัยนี้มีระบุหลายที่ในอัลกุรอานเช่น
1. คำสั่งให้ระลึกถึงอัลลอฮฺทุกเช้าเย็น
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اذْكُرُوا اللَّهَ ذِكْرًا كَثِيرًا، وَسَبِّحُوهُ بُكْرَةً وَأَصِيلاً
ความว่า "โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงรำลึกถึงอัลลอฮฺอย่างมากมายเถิด และจงกล่าวตัสบีห์(สดุดีความบริสุทธิ์)ต่อพระองค์ในยามเช้าและเย็น" (อัล-อะห์ซาบ : 41-42)

وَاذْكُرِ اسْمَ رَبِّكَ بُكْرَةً وَأَصِيلاً
ความว่า "และจงกล่าวถึงพระนามของผู้อภิบาลแห่งเจ้าในยามเช้าและเย็น" (อัล-อินซาน : 25)

2. ระบุว่าการละหมาดซึ่งเป็นภารกิจหลักของมุสลิมในแต่ละวันนั้น มีจุดประสงค์เพื่อให้เป็นการรำลึกถึงอัลลอฮฺ
إِنَّنِي أَنَا اللَّهُ لا إِلَهَ إِلا أَنَا فَاعْبُدْنِي وَأَقِمِ الصَّلاةَ لِذِكْرِي
ความว่า "แท้จริงข้าเท่านั้นคืออัลลอฮฺ ผู้ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากข้า ดังนั้นจงเคารพภักดีต่อข้าและจงละหมาดเพื่อรำลึกถึงข้า" (ฏอฮา : 14)

3. ให้มีการซิกรุลลอฮฺในวันศุกร์อันเป็นวันที่มีความสำคัญในรอบสัปดาห์
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا إِذَا نُودِيَ لِلصَّلاةِ مِنْ يَوْمِ الْجُمُعَةِ فَاسْعَوْا إِلَى ذِكْرِ اللَّهِ وَذَرُوا الْبَيْعَ ذَلِكُمْ خَيْرٌ لَكُمْ إِنْ كُنْتُمْ تَعْلَمُونَ، فَإِذَا قُضِيَتِ الصَّلاةُ فَانْتَشِرُوا فِي الأرْضِ وَابْتَغُوا مِنْ فَضْلِ اللَّهِ وَاذْكُرُوا اللَّهَ كَثِيرًا لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ
ความว่า "โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย เมื่อใดที่มีการเรียกร้องสู่การละหมาดในวันศุกร์ พวกเจ้าก็จงมุ่งไปสู่การซิกรุลลอฮฺ และจงละทิ้งการซื้อขาย นั่นย่อมดีกว่าถ้าหากพวกเจ้ารู้ ครั้นเมื่อเสร็จจากการละหมาดแล้วก็จงกระจายไปตามหน้าแผ่นดิน จงหาความโปรดปรานของอัลลอฮฺ(หาปัจจัยยังชีพ) และจงรำลึกถึงอัลลอฮฺให้มากเพื่อว่าพวกเจ้าจะประสบความสำเร็จ " (อัล-ญุมุอะฮฺ : 9-10)

4. การบำเพ็ญหัจญ์ซึ่งเป็นอะมัลในรอบปีมีจุดประสงค์เพื่อให้เป็นการซิกรุลลอฮฺ
وَأَذِّنْ فِي النَّاسِ بِالْحَجِّ يَأْتُوكَ رِجَالاً وَعَلَى كُلِّ ضَامِرٍ يَأْتِينَ مِنْ كُلِّ فَجٍّ عَمِيقٍ، لِيَشْهَدُوا مَنَافِعَ لَهُمْ وَيَذْكُرُوا اسْمَ اللَّهِ فِي أَيَّامٍ مَعْلُومَاتٍ عَلَى مَا رَزَقَهُمْ مِنْ بَهِيمَةِ الأنْعَامِ
ความว่า "และจงประกาศการทำหัจญ์แก่มวลมนุษย์ พวกเขาจะได้มายังเจ้าด้วยการเดินเท้าและบนสัตว์พาหนะที่มาจากทุกสถานที่อันไกลโพ้น เพื่อให้พวกเขาได้ประจักษ์ถึงสรรพประโยชน์ของพวกเขา และได้กล่าวถึงพระนามของอัลลอฮฺในวันต่างๆ ตามจำนวนที่ทราบกัน(วันตัชรีก)เหนือสัตว์เลี้ยงที่พระองค์ประทานให้แก่พวกเขา(เวลาที่พวกเขาทำการเชือด)" (อัล-หัจญ์ : 27-28)
وَلِكُلِّ أُمَّةٍ جَعَلْنَا مَنْسَكًا لِيَذْكُرُوا اسْمَ اللَّهِ عَلَى مَا رَزَقَهُمْ مِنْ بَهِيمَةِ الأنْعَامِ
ความว่า "และสำหรับทุกประชาชาตินั้น เราได้กำหนดสถานที่เพื่อการบำเพ็ญหัจญ์(คือนครมักกะฮฺ) เพื่อให้พวกเขาได้กล่าวถึงพระนามของอัลลอฮฺเหนือสัตว์เลี้ยงที่พระองค์ประทานให้แก่พวกเขา(เวลาที่พวกเขาทำการเชือด)" (อัล-หัจญ์ : 34)

وَاذْكُرُوا اللَّهَ فِي أَيَّامٍ مَعْدُودَاتٍ
ความว่า "และจงกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺในวันต่างๆ ตามที่ทราบกัน(คือวันตัชรีกในพิธีหัจญ์)" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 203)


5. ให้รำลึกถึงอัลลอฮฺแม้กระทั่งขณะต่อสู้ในสงคราม
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا إِذَا لَقِيتُمْ فِئَةً فَاثْبُتُوا وَاذْكُرُوا اللَّهَ كَثِيرًا لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ
ความว่า "โอ้ ผู้ศรัทธาทั้งหลาย เมื่อใดพวกเจ้าปะทะกับคู่ต่อสู้ก็จงสู้ให้มั่น และจงกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺให้มาก เพื่อว่าพวกเจ้าจะประสบความสำเร็จ" (อัล-อันฟาล : 45)

จะสังเกตได้ว่าการซิกรุลลอฮฺในอัลกุรอานจะมีความหมายรวมอย่างกว้างๆ โดยหมายถึงการกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺไม่ว่าจะด้วยวิธีใดหรือคำกล่าวใดก็ตาม และไม่มีการระบุจำนวนว่าควรกล่าวมากน้อยเท่าใด เพียงแต่ให้ใช้ชีวิตในสภาพที่ไม่หลงลืมอัลลอฮฺ สร้างความผูกพันกับพระองค์ทั้งในสถานการณ์ปกติคือ แต่ละวันให้มีการรำลึกถึงอัลลอฮฺทุกเช้าเย็น รวมถึงในละหมาดทุกครั้งก็เป็นการซิกรุลลอฮฺ ในรอบสัปดาห์ให้มีการซิกรุลลอฮฺทุกวันศุกร์ ในรอบปีก็ซิกรุลลอฮฺในหัจญ์ เป็นต้น
แม้แต่ในสถานการณ์ตึงเครียดเช่นในยามสงครามก็ยังคงต้องมีการซิกรุลลอฮฺ
อย่างไรก็ตาม ถ้อยคำ จำนวน และลักษณะการกล่าวซิกรุลลอฮฺ จะมีระบุอย่างละเอียดในซุนนะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ซึ่งกล่าวได้ว่าซุนนะฮฺของท่านคือตัวอธิบายโองการอัลกุรอานเหล่านั้น ซึ่งเป็นปกติวิสัยอยู่แล้วที่ซุนนะฮฺมักจะทำหน้าที่ในการอธิบายอัลกุรอานในทุกๆ ด้าน ไม่ใช่เฉพาะเกี่ยวกับซิกรุลลอฮฺเท่านั้น
ประการสำคัญที่ควรต้องเน้น ณ ที่นี้ก็คือ อัลกุรอานให้ความสำคัญกับซิกรุลลอฮฺอย่างยิ่งยวดในระดับหลักการเลยทีเดียว และเป็นการคิดที่ผิดถนัดถ้าหากจะให้ความหมายการซิกรุลลอฮฺว่ามีความสำคัญเป็นเพียงแค่ศาสนกิจหนึ่งเหมือนกับอะมัลปกติทั่วๆ ไป
มีโองการในอัลกุรอานที่ระบุอย่างชัดเจนว่า ซิกรุลลอฮฺ ควรต้องรวมอยู่ในทุกอิริยาบทของเรา คือพระดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
إِنَّ فِي خَلْقِ السَّمَاوَاتِ وَالأرْضِ وَاخْتِلافِ اللَّيْلِ وَالنَّهَارِ لآيَاتٍ لأولِي الألْبَابِ، الَّذِينَ يَذْكُرُونَ اللَّهَ قِيَامًا وَقُعُودًا وَعَلَى جُنُوبِهِمْ وَيَتَفَكَّرُونَ فِي خَلْقِ السَّمَاوَاتِ وَالأرْضِ رَبَّنَا مَا خَلَقْتَ هَذَا بَاطِلا سُبْحَانَكَ فَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
ความว่า "แท้จริงแล้ว ในการสรรค์สร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน และการสับเปลี่ยนหมุนเวียนของกลางคืนและกลางวันนั้น ย่อมเป็นเครื่องหมายแก่บรรดาผู้มีหัวใจ คือบรรดาผู้ที่รำลึกถึงอัลลอฮฺทั้งในยามยืน ยามนั่ง และยามที่พวกเขาวางลำตัว(ยามนอน) และพวกเขาคิดใคร่ครวญในการสรรค์สร้างของชั้นฟ้าและแผ่นดิน (กระทั่งได้กล่าวออกมาว่า)โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งเรา พระองค์มิได้สร้างสิ่งนี้มาอย่างเท็จ(สูญเปล่าหรือไร้ความหมาย) มหาบริสุทธ์เถิดพระองค์ ขอพระองค์ทรงปกป้องเราจากไฟนรกด้วยเถิด" (อาล อิมรอน : 190-191)

อายะฮฺนี้บอกถึงคุณลักษณะของผู้ที่มีหัวใจใคร่ครวญไว้ชัดเจนว่า ไม่ว่าจะยืนนั่งนอน เขาก็เป็นผู้ที่ผูกพันกับการรำลึกถึงอัลลอฮฺอยู่ตลอดเวลา
นอกจากนี้ อัลลอฮฺยังได้กล่าวเตือนถึงผู้ที่ไม่ยอมซิกรุลลอฮฺ ผู้ที่หลงลืม และผู้ที่ไม่รำลึกถึงพระองค์อย่างสม่ำเสมอ ว่าอาจจะเป็นพวกหัวใจแข็งกระด้าง เป็นพวกมุนาฟิก หรือพวกที่มีศรัทธาไม่มั่นคงนั่นเอง เช่นในโองการเหล่านี้
فَوَيْلٌ لِلْقَاسِيَةِ قُلُوبُهُمْ مِنْ ذِكْرِ اللَّهِ أُولَئِكَ فِي ضَلالٍ مُبِينٍ
ความว่า "ดังนั้น ความหายนะจงประสบแก่ผู้ที่หัวใจของพวกเขาแข็งกระด้างต่อการรำลึกถึงอัลลอฮฺ พวกเขาเหล่านั้นอยู่ในความหลงทางอันชัดเจน" (อัซ-ซุมัร : 22)

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا لا تُلْهِكُمْ أَمْوَالُكُمْ وَلا أَوْلادُكُمْ عَنْ ذِكْرِ اللَّهِ وَمَنْ يَفْعَلْ ذَلِكَ فَأُولَئِكَ هُمُ الْخَاسِرُونَ
ความว่า "โอ้ ผู้ศรัทธาทั้งหลาย อย่าได้ปล่อยให้ทรัพย์สมบัติและลูกหลานของพวกเจ้าเป็นเหตุทำให้พวกเจ้าหลงลืมการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ใครที่ทำเช่นนั้นแสดงว่าพวกเขาเป็นผู้ขาดทุน" (อัล-มุนาฟิกูน : 9)

إِنَّ الْمُنَافِقِينَ يُخَادِعُونَ اللَّهَ وَهُوَ خَادِعُهُمْ وَإِذَا قَامُوا إِلَى الصَّلاةِ قَامُوا كُسَالَى يُرَاءُونَ النَّاسَ وَلا يَذْكُرُونَ اللَّهَ إِلاَّ قَلِيلاً
ความว่า "แท้จริงบรรดามุนาฟิกูน(ชนผู้สับปลับ)นั้น พวกเขาได้หลอกลวงอัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงลวงพวกเขา และเมื่อพวกเขาลุกขึ้นละหมาดก็จะลุกยืนอย่างผู้เกียจคร้านโดยปฏิบัติไปเพื่อแสร้งให้คนดู และพวกเขาจะไม่รำลึกถึงอัลลอฮฺเว้นแต่นิดเดียวเท่านั้น" (อัน-นิสาอ์ : 142)

ในประเด็นเกี่ยวกับคุณค่าของการซิกรุลลอฮฺนั้น มันมีผลที่ใหญ่หลวงต่อชีวิตของผู้ศรัทธา โดยเฉพาะในด้านความมั่นคงทางจิตใจ อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
الَّذِينَ آمَنُوا وَتَطْمَئِنُّ قُلُوبُهُمْ بِذِكْرِ اللَّهِ أَلا بِذِكْرِ اللَّهِ تَطْمَئِنُّ الْقُلُوبُ
ความว่า "คือบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย และหัวใจของพวกเขาสงบด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺ พึงรู้เถิดว่า ด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺนั้นหัวใจทั้งหลายจะสงบ" (อัร-เราะอฺดุ : 28)

การซิกรุลลอฮฺยังสามารถนำไปสู่การเพิ่มความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ และเกรงขามต่อความยิ่งใหญ่ของพระองค์ ในที่สุดก็จะนำไปสู่การยอมศิโรราบและพึ่งพิงต่อพระองค์เพียงผู้เดียว และนั่นย่อมเป็นเหตุแห่งการรอดพ้นจากไฟนรกและได้รับความสำเร็จในวิมานแห่งสวรรค์ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เล่าถึงหนึ่งในจำนวนผู้ที่จะได้อยู่ภายใต้ร่มเงาของอัลลอฮฺในวันกิยามะฮฺว่า "...และชายผู้หนึ่งที่รำลึกถึงอัลลอฮฺเพียงลำพัง แล้วตาทั้งสองของเขาก็หลั่งน้ำตาออกมา" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ 6114 และมุสลิม 1031)
การกล่าวยอมรับอย่างสุดซึ้งดังที่ระบุในอายะฮฺข้างต้นว่า
رَبَّنَا مَا خَلَقْتَ هَذَا بَاطِلا سُبْحَانَكَ فَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
ความว่า "โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งเรา พระองค์มิได้สร้างสิ่งนี้มาอย่างเท็จ(สูญเปล่าหรือไร้ความหมาย) มหาบริสุทธ์เถิดพระองค์ ขอพระองค์ทรงปกป้องเราจากไฟนรกด้วยเถิด" (อาล อิมรอน : 190-191)
เหล่านี้ก็ล้วนเป็นผลลัพธ์มาจากการซิกรุลลอฮฺ ด้วยการประสมกับการใคร่ครวญถึงความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺนั่นเอง
ที่สำคัญที่สุด การซิกรุลลออฮฺอย่างสม่ำเสมอเป็นเครื่องหมายว่าเราผูกพันกับพระองค์ ศรัทธาต่อพระองค์โดยไม่ตั้งภาคีใดๆ กับพระองค์ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นหัวใจของการศรัทธาที่จะนำไปสู่การยอมรับบทบัญญัติอื่นๆ ของพระองค์มาปฏิบัติใช้ ความหมายของการซิกรุลลอฮฺจึงมีมากกว่าการกล่าวด้วยถ้อยคำเพียงอย่างเดียว หากแต่มันหมายถึงการยอมรับโดยดุษฎีต่อผู้ที่เรากล่าวถึงเขา นั่นคือเอกองค์อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งด้วยความกรุณาและเปี่ยมด้วยเดชานุภาพ
ด้วยเหตุนี้ หากมีสิ่งใดที่ควรจะเป็นนิสัยติดตัวที่ดีสำหรับเราทั้งหลาย สิ่งนั้นก็ควรจะเป็นการทำให้ลิ้นเปียกชุ่มด้วยการกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺอย่างเป็นนิจ ในทุกอิริยาบทและทุกกาลเทศะ เพราะนั่นคือความหมายที่แท้จริงของ "การซิกรุลลอฮฺอย่างมากมาย" ตามที่มีระบุในอัลกุรอาน
และนั่นยังเป็นคำสั่งเสียที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้สั่งแก่เศาะหาบะฮฺท่านหนึ่งที่ได้ถามท่านว่า "แท้จริงแล้วบทบัญญัติแห่งอิสลามมีมากมายเหลือเกินสำหรับเรา ท่านจะบอกได้ไหมว่าอะไรที่ฉันควรปฏิบัติยึดมั่นกับมันไว้?" ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ตอบว่า "จงทำให้ลิ้นของท่านเปียกชุ่มอยู่เสมอด้วยการกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ" (อะห์มัด 17734, อิบนุ อบี ชัยบะฮฺ 29453, อัล-บัยฮะกีย์ ใน อัล-กุบรอ 6318)
จึงควรอย่างยิ่งที่ต้องรู้ให้ซึ้งว่าอะไรคือ ซิกรุลลอฮฺ และสามารถที่จะปฏิบัติได้อย่างไร ให้เป็นนิสัยติดตัวที่แยกไม่ออกจากชีวิตจิตใจของเราตลอดไป
ขออัลลอฮฺประทานเตาฟีก.

Sunday, December 6, 2009

ดุอาอฺยามเช้าและยามเย็น (2)

ดุอาอฺยามเช้าและยามเย็น (2)
Submitted by dp6admin on Tue, 13/10/2009 - 15:59
7. ท่านร่อซูลุลลอฮฺ จะกล่าวถ้อยคำต่อไปนี้ทั้งในยามเช้าและยามเย็นอยู่เสมอ
الَّلهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ العَافِيَةَ في الدُّنْيَا وَالأَخِرَةَ ،
[ อัลลอฮุมมะ อินนี อัสอะลุกัลอาฟิยะฮฺ ฟิดดุนยา วัลอาคิเราะฮฺ ]
โอ้อัลลอฮฺ ข้าพระองค์ขอต่อพระองค์ให้มีสุขภาพดีทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺ اللَّهُمَّ إِنّي أَسْأَلُكَ العَفْوَ والعَاِفَيَة في دِيِْنْي وَدُنْيَايَ وَأَهْلِيْ وَمَالِي،[ อัลลอฮุมมะอินนี อัสอะลุกัลอัฟวะ วัลอาฟิยะฮฺ ฟีดีนีวะดุนยา วะอะฮฺลียฺวะมาลียฺ ]
โอ้อัลลอฮฺ ข้าพระองค์ขออภัยโทษต่อพระองค์และการมีพลานามัยในการปฏิบัติตามศาสนาของข้า พระองค์ และการดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้ของข้าพระองค์ และการอบรมสั่งสอนครอบครัวของข้าพระองค์ และการรักษาทรัพย์ของข้าพระองค์
اللَّهُمَّ اسْتُرْ عَوْرَاتِيْ وَآَمِنْ رَوْعَاتِيْ ،[ อัลลอฮุมมัสตุร เอารอตียฺ วะอามิน เราอาตียฺ ]
โอ้อัลลอฮฺ ทรงปกปิดข้อผิดพลาดต่างๆของข้าพระองค์ และทรงให้ข้าพระองค์ปลอดภัยจากความหวาดกลัวทั้งหลาย
الَّلهُمَّ احْفَظْنِيْ مِنْ بَيْنِ يَدَيَّ وَمِنْ خَلْفِيْ وَعَنْ يَمِيْنِيْ وَعَنْ شِمَالِيْ وَمِنْ فَوْقِيْ[ อัลลอฮุมมะหฺฟัซนียฺ มินบัยนิ ยะดัยยะ วะมินค็อลฟียฺ วะอันยะมีนียฺ วะอันชิมาลียฺ วะมินเฟากียฺ ]
โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงคุ้มครองข้าพระองค์จากเบื้องหน้าของข้าพระองค์ จากเบื้องหลังของข้าพระองค์ จากเบื้องขวาของข้าพระองค์ และจากเบื้องซ้ายของข้าพระองค์
وَأَعُوْذُ بِعَظَمَتِكَ أَنْ أُغْتَالَ مِنْ تَحْتِيْ .
[ วะอะอูซุ บิอะเซาะมะติกะ อันอุฆตาละ มินตะหฺตียฺ ]
และข้าพระองค์ขอความคุ้มครองด้วยความยิ่งใหญ่ของพระองค์ให้พ้นจากการได้รับภยันตรายจากภายใต้ของข้าพระองค์(คือถูกธรณีสูบ)
رواه أبو داود .(บันทึกโดยอะบูดาวุด)
8. ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม อ่านดุอาอฺนี้ในยามเช้า
الَّلهُمَّ بِكَ أَصْبَحْنَا وَبِكَ أَمْسَيْنَا وَبِكَ نَحْيَا وَبِكَ نَمُوْتُ وَإِلَيْكَ النُّشُوْرُ .
[ อัลลอฮุมมะบิกะ อัศบะหฺนา วะบิกะอัมซัยนา วะบิกะนะหฺยา วะบิกะนะมูตุ วะอะลัยกันนุชูร ]
ความว่า โอ้อัลลอฮฺ ด้วยพระองค์ท่านเราขอเริ่มวันใหม่ และด้วยพระองค์ท่านเราได้เข้าสู่เวลาเย็น และด้วยพระองค์ท่านเราจึงมีชีวิตอยู่ และด้วยพระองค์ท่านเราจะตาย และเราจะฟื้นคืนชีพไปสู่พระองค์ท่าน
ในเวลาเย็นจะอ่านดังนี้
الَّلهُمَّ بِكَ أَمْسَيْنَا وَبِكَ أَصْبَحْنَا وَبِكَ نَحْيَا وَبِكَ نَمُوْتُ وَإِلَيْكَ النُّشُوْرُ .
[ อัลลอฮุมมะบิกะ อัมซัยนา วะบิกะอัศบะหฺนา วะบิกะนะหฺยา วะบิกะนะมูตุ วะอะลัยกันนุชูร ]
ความว่า โอ้อัลลอฮฺ ด้วยพระองค์ท่านเราได้เข้าสู่เวลาเย็น และด้วยพระองค์ท่านเราขอเริ่มวันใหม่ และด้วยพระองค์ท่านเราจึงมีชีวิตอยู่ และด้วยพระองค์ท่านเราจะตาย และเราจะฟื้นคืนชีพไปสู่พระองค์ท่าน (หะดีษศ่อเฮี้ยะฮฺ บันทึกโดยอัตติรมิซียฺ)
9. ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม สอนให้เราอ่านดุอาอฺต่อไปนี้ในเวลาเช้า 3 ครั้ง
أَصْبَحْنَا عَلَى فِطْرَةِ الإِسْلامِ وَكَلِمَةِ الإِخْلاصِ وَدِيْنِ نَبِيِّنَا مُحَمَّدٍ وَمِلَّةِ أَبِيْنَا إِبْرَاهِيْمَ حَنِيْفَاً مُسْلِمَاً وَمَا كَانَ مِنَ المُشْرِكِيْنَ .
[ อัศบะหฺนา อะลาฟิฏเราะติลอิสลาม, วะกะลิมะติลอิคลาศ, วะดีนินะบียินา มุฮัมมัด, วะมิลลาติอะบีนา อิบรอฮีม, หะนีฟัมมุสลิมา วะมากะนามินัลมุชริกีน ]
ความว่า “เราได้เริ่มวันใหม่โดยตั้งอยู่บนธรรมชาติของอิสลาม และบนถ้อยคำแห่งการเตาฮีด (ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ) และบนศาสนาของนะบีของเรา คือมุฮัมมัด และบนแนวทางของบิดาของเราคือนะบีอิบรอฮีม ผู้ยึดมั่นอยู่ในแนวทางที่เที่ยงธรรมและมิเคยอยู่ในหมู่ผู้ตั้งภาคีกับพระองค์”
เวลาเย็นให้กล่าวอีก 3 ครั้ง โดยเปลี่ยนเป็น อัมซัยนา
أَمْسَيْنَا عَلَى فِطْرَةِ الإٍِسْلامِ ... رواه أحمد وصححه الألباني .
10. เวลาเย็นท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้อ่านดุอาอฺต้นนี้คือ
أَمْسَيْنَا وَأَمْسَى المُلْكُ للهِ وَالحَمْدُ لله ،
เราเข้ามาอยู่ในเวลาเย็น อำนาจการปกครองเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ
لا إِلَهَ إِلا اللهُ وَحْدَهُ لا شَرِيْكَ لَهُ ،
ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น ไม่มีภาคีใดๆคู่เคียงกับพระองค์
لَهُ المُلْكُ وَلَهُ الحَمْدُ وَهُوَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيْرٌ ،
อำนาจทั้งหลายเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ และการสรรเสริญทั้งมวลก็เป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ และพระองค์นั้นทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่ง
رَبِّ أَسْأَلُكَ خَيْرَ مَا فِيْ هَذَه الَّليْلَةِ وَخَيْرَ مَا بَعْدَهَا
โอ้พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ขอต่อพระองค์ท่านสิ่งซึ่งเป็นคุณงามความดีที่มีอยู่ในค่ำคืนนี้ และคุณงามความดีที่จะมีมาภายหลังค่ำคืนนี้
وَأَعُوْذُ بِكَ مِنْ شَرِّ هَذِهِ الَّليْلَةِ وَشَرِّ مَا بَعْدَهَا ،
และข้าพระองค์ขอความคุ้มครองด้วยพระองค์ให้พ้นจากความชั่วร้ายที่มีอยู่ใน ค่ำคืนนี้ และความชั่วร้ายที่จะมีมาภายหลังค่ำคืนนี้
رَبِّ أَعُوْذُ بِكَ مِنْ الكَسَلِ وَسُوْءِ الكِبَرِ ،
โอ้พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองด้วยพระองค์ให้พ้นจากความเกียจคร้านและความเลวร้ายในวัยชรา
رَبِّ أَعُوْذُ بِكَ مِنْ عَذَابٍ في النَّارِ وَعَذَابٍ في القَبْرِ .
โอ้พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองด้วยพระองค์ให้พ้นจากการลงโทษในนรกและการลงโทษในกุบูร(หลุมฝังศพ)
ในเวลาเช้าให้เปลี่ยนจาก أَمْسَيْنَا وَأَمْسَى المُلْكُ للهِ
เป็น อัศบะฮฺนา วะอัศบะฮัลมุลกุลิลลาฮฺ
11. ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“ผู้ใดกล่าวว่า سُبْحَانَ اللهِ وَبِحَمْدِهِ ในวันหนึ่ง 100 ครั้ง ความผิดต่างๆของเขาจะถูกลบล้างไป ถึงแม้ว่าความผิดเหล่านั้นจะมีเท่าฟองน้ำของทะเลก็ตาม” (บันทึกโดยมุสลิม)
12. “ผู้ใดกล่าวดุอาอฺต้นนี้ในยามเช้า
لا إِلَهَ إِلا اللهُ وَحْدَهُ لا شَرِيْكَ لَهُ ، لَهُ المُلْكُ وَلَهُ الحَمْدُ وَهُوَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيْرٌ .
ความว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น ไม่มีภาคีใดๆคู่เคียงกับพระองค์ อำนาจและการสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ และพระองค์ทรงเดชรนุภาพเหนือทุกสิ่ง
เท่ากับเขาได้ปล่อยทาสจากลูกหลานนะบีอิสมาอีลและลบล้างความผิด 10 ครั้งออกจากเขา และเพิ่มความดีให้แก่เขา 10 เท่า และได้รับความคุ้มครองให้พ้นจากชัยฏอนจนถึงเวลาเย็น และเมื่อถึงเวลาเย็นจนกระทั่งรุ่งเช้า” (ศ่อเฮียะฮฺสุนันอิบนฺมาญะฮฺ)
และในบันทึกของมุสลิมว่า “ผู้ใดกล่าวดุอาอฺต้นนี้ 10 ครั้ง” เสมือนกับว่าเขาได้ปล่อยทาสจากลูกหลานอิสมาอีล 10 คน
และอีกรายงานหนึ่งของมุสลิมกล่าวว่า “ผู้ใดกล่าวดุอาอฺต้นนี้ 100 ครั้ง” เท่ากับเขาได้ปล่อยทาส 10 คน ความดี 100 ครั้งจะถูกบันทึกให้แก่เขา ความชั่ว 100 ครั้งจะถูกลบล้างไปจากเขา และเขาจะได้รับความคุ้มครองให้พ้นจากชัยฏอนในวันนั้นจนกระทั่งถึงเวลาเย็น และไม่มีผู้ใดจะได้รับความดีมากกว่าเขาในสิ่งที่เขาได้กระทำไปนอกจากผู้ที่ กระทำมากกว่า(หมายถึงผู้ที่อ่านดุอาอฺต้นนี้มากกว่า 100 ครั้ง)