Saturday, June 20, 2009

มุสลิมมีเมียได้ 4 คน

มุสลิมมีเมียได้ 4 คน
จาก MuslimCampus
คัมภีร์อัลกรุอานเป็นคัมภีร์เล่มเดียวเท่านั้นในบรรดาคัมภีร์ของศาสนาทั้งหลายในโลกนี้ ที่มีข้อความที่ว่า

“จงแต่งงานกับสตรีเพียงแค่คนเดียวเท่านั้น
ในโลกนี้มีเพียงแค่คัมภีร์อัลกรุอานเพียงเล่มเดียวเท่านั้นในบรรดาคัมภีร์ของศาสนาทั้งหลายที่มี ถ้อยคำที่ว่า “ จงแต่งงานกับสตรีเพียงแค่คนเดียวเท่านั้น” ไม่มีคัมภีร์ของศาสนาไหนอีกแล้วที่บอกเพศชายให้แต่งงานกับสตรีเพียงแค่คนเดียว ไม่ว่าจะเป็นคัมภีร์ พระเวท รามายาน่ะ มาหาพราตะ พระควะคีตา คัมภีร์ตัลมูด ไบเบิ้ล ในบรรดาคัมภีร์เหล่านี้นอกเหนือไปจากคัมภีร์อัลกรุอานแล้วจะไม่มีคัมภีร์เล่มไหนเลยที่จำกัดการไม่ให้มีภรรยาหลายคน

ตามคัมภีร์ทั้งหลายนั้นนอกเหนือไปจากอัลกรุอานแล้วเราจะเห็นว่าเพศชายได้รับอนุญาติให้แต่งงานกับสตรีมากกี่คนก็ได้ตามความต้องการ พระในศาสนาฮินดู และโบสถ์ของคริสจักรพึ่งจะมาจำกัดการมีภรรยาได้เพียงแค่หนึ่งคนในภายหลังนี้เอง

ตามคัมภีร์ของศาสนาฮินดูแล้วจะเห็นว่าบุคคลสำคัญๆหลายคนเคยมีภรรยาหลายคน พระราชาดาชรัตผู้เป็นพ่อของพระราม มีภรรยามากกว่า 1 คน พระกฤษณะมีภรรยาหลายคน

ในช่วงแรกๆเลยนั้นชาวคริสเตียนได้รับอนุญาติให้มีภรรยากี่คนก็ได้ตามความต้องการ ทั้งนี้เนื่องมาจาก คัมภีร์ไบเบิ้ลไม่ได้จำกัดจำนวนเอาไว้ แต่เพียงแค่ไม่กี่ศัตวรรษที่ผ่านมานี้เองที่ฝ่ายศาสนจักรของตริสเตียนได้ออกมากำหนดให้มีภรรยาได้เพียงแค่คนเดียว


การมีภรรยามากกว่า 1 คนนั้นได้รับอนุญาติในศาสนายูดาย ยิว ตามกฎแห่งคัมภีร์ ตัลมูดนั้น อับราฮัมมีภรรยา 3 คน โซโลมอนมีภรรยา 100คน การมีภรรยามากกว่า1 คนยังคงมีอยู่ต่อไปในศาสนายูดายจนกระทั่งใน ปี 1030 ที่ เจอโชมเบนเยฮูดฮฺ บาทหลวงชาวยิวได้ออกคำสั่งห้าม แต่กระนั้นชุมชน ชาวยิวที่อาศัยอยู่ในประเทศมุสลิมก็ยังคงมีภรรยามากกว่า 1 คน จนกระทั่งถึงปี1950นี้เองที่ได้มีกฎหมายสั่งห้ามการมีภรรยามากกว่า1 คน ออกมาจากบาทหลวงยิวแห่งอิสราเอล




เนื้อหา
1 ชาวฮินดูมีภรรยามากกว่า 1 คนมากกว่ามุสลิม
2 คัมภีร์อัลกุรอานได้กำหนดจำนวนภรรยาไว้ชัดเจน
3 อัตราการมีชีวิตอยู่โดยเฉลี่ยของเพศหญิงนั้นจะยืนยาวมากกว่าเพศชาย
4 ประชากรโลกที่เป็นเพศหญิงมีมากกว่าเพศชาย
5 การกำหนดให้ผู้ชายทุกคนมีภรรยาเพียงคนเดียวนั้น เป็นสิ่งที่ขัดกับความเป็นจริงในทางปฏิบัติ
6 อ้างอิง


ชาวฮินดูมีภรรยามากกว่า 1 คนมากกว่ามุสลิม
จากรายงานของ “ คณะกรรมการสถานะภาพของสตรีในอิสลาม” “ Committee Of The Status Of Woman In Islam “ ซึ่งออกเมื่อปี 1975 ได้กล่าวไว้ในหน้าที่ 66และ67 รายงานว่าการแต่งงานแบบมีภรรยามากกว่า 1 คนในหมู่ชาวฮินดูระหว่างปี 1951 และ 1961 นั้นปรากฎว่าในหมู่ชาวฮินดูนั้นมี 5.06% และในหมู่มุสลิมมี 4.31% ตามกฎหมายของประเทศอินเดียนั้นมุสลิมเพียงเท่านั้นที่ได้รับอนุญาติจากกฎหมายให้มีภรรยามากกว่า 1 คนและจะเป็นการผิดกฎหมายถ้าผู้ที่มิใช่เป็นมุสลิมชาวอินเดียคนใดจะมีภรรยามากกว่า 1 คน ถึงแม้จะเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายก็ตาม แต่กระนั้นชาวฮินดูก็ยังมีภรรยาหลายคนเมื่อเทียบดูกับมุสลิมในอินเดียแล้ว ก่อนปี1954 ชาวฮินดูไม่ได้ถูกห้ามที่จะมีภรรยามากกว่า 1 คนแต่อย่างใด แต่ต่อมาในปี 1954 นี้เองที่ได้มีการออกกฎที่ว่าด้วยการแต่งงานออกมา ซึ่งได้ห้ามและถือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายที่ฮินดูคนใดจะมีภรรยามากกว่า 1 คน ในปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่าเพียงแค่กฎหมายของประเทศอินเดียเท่านั้นที่ออก มาห้ามมิให้ชาวฮินดูมีภรรยาเกินกว่า 1 คน แต่คัมภีร์ของศาสนาฮินดูเองนั้นไม่ได้มีข้อห้ามกล่าวไว้แต่อย่างใด

เรามาวิเคราะห์กันดูว่าทำไมอิสลามถึงอนุญาติให้ผู้ชายมีภรรยามากกว่า1 คนได้

คัมภีร์อัลกุรอานได้กำหนดจำนวนภรรยาไว้ชัดเจน
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าคัมภีร์อัลกรุอานเป็นคัมภีร์เล่มเดียวเท่านั้นที่มีข้อความที่กล่าวว่า “ จงแต่งงานกับสตรีเพียงแค่คนเดียว” ข้อความโดยสมบูรณ์ของโองการที่กล่าวมานี้มีปรากฎอยู่ในคัมภีร์อัลกรุอานดังต่อไปนี้ “ จงแต่งงานกับสตรีที่ดีๆแก่พวกเจ้าสองคนหรือสามคนหรือสี่คนแต่ ถ้าพวกเจ้าเกรงว่าจะให้ความยุติธรรมไม่ได้ก็จงแต่งงานกับหญิงเดียว” อัลกรุอานบทที่ 4 โองการที่ 3

ก่อนที่คัมภีร์อัลกรุอานจะถูกประทานลงมานั้นไม่มีการจำกัดจำนวนภรรยา คือจะแต่งงานกับสตรีกี่คนก็ได้ ดังนั้นชายจำนวนมากจึงมีภรรยาจำนวนมาก บางคนมีภรรยาเป็น ร้อยๆคนก็มี แต่อิสลามมากำหนดและจำกัดจำนวนเพียงแค่ 4 คนอิสลามอนุญาติแต่ไม่ได้บังคับให้แต่งงานกับสตรี สอง สาม หรือ สี่คน เพียงแต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องให้ความเป็นธรรมและยุติธรรมในระหว่างภรรยาของเขาได้

ในบทเดียวกันของคัมภีร์อัลกรุอานนั้น คือ บทอันนิซาอนั้นคือ บทที่4 โองการที่ 129 ซึ่งกล่าวว่า

“และพวกเจ้าจะไม่สามารถให้ความยุติธรรมในระหว่างภรรยาได้เลย” อัลกรุอาน 4:129
ดังนั้นการมีภรรยามากกว่าหนึ่งคนจึงไม่ใช่กฎหรือข้อบังคับแต่เป็นข้อยกเว้นเพียงเท่านั้นหลายๆคนยังมีความเข้าใจที่ผิดๆที่ว่ามุสลิมจำเป็นต้องมีภรรยามากกว่า 1 คน กล่าวโดยทั่วไปแล้ว ในอิสลามจะมีข้อสั่งห้ามและสั่งใช้ 5 ประเภทด้วยกันคือ

ฟัรดู นั้นคือ จำเป็น บังคับให้กระทำ
มุสตะฮับ นั้นคือ สนับสนุน แนะนำให้กระทำ
มู่บาฮ นั้นคือ อนุญาติให้กระทำได้
มักรู่ฮ นั้นคือ ไม่สนับสนุนหรือแนะนำให้กระทำ
ฮะราม นั้นคือ ห้ามโดยเด็ดขาด

การมีภรรยามากกว่า 1 คนนั้นตกอยู่ในประเภทที่ 3 นั้นคือ อนุญาติให้กระทำได้ เราไม่อาจกล่าวได้ว่ามุสลิมที่มีภรรยาย สอง สาม หรือ สี่คนนั้น จะดีกว่ามุสลิมที่มีภรรยาเพียงคนเดียว

อัตราการมีชีวิตอยู่โดยเฉลี่ยของเพศหญิงนั้นจะยืนยาวมากกว่าเพศชาย
ตามปรกติแล้วเพศชายและเพศหญิงนั้นจะมีอัตราการเกิดโดยเฉลี่ยแล้วเท่ากัน แต่เพศหญิงนั้นจะมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคได้มากกว่าทารกเพศชาย ทารกเพศหญิงจะสามารถสู้กับเชื้อจุลินทรีย์และ โรคต่างๆได้ดีกว่าทารกเพศชายด้วยเหตุนี้เองในช่วงที่ยังอยู่ในวัยเด็กนี้ก็เช่นกันจะพบได้ว่าอัตราการตายในเพศชายนั้นมีมากกว่าในเพศหญิงเมื่อเทียบกันแล้วในช่วงสงคราม เพศชายนั้นจะสูญเสียชีวิตมากกว่าเพศหญิง เมื่อเกิดอุบัติเหตุใดๆขึ้นหรือเมื่อมีโรคใดๆเกิดขึ้นจะพบได้ว่าเพศชายนั้นจะตายมากกว่าเพศหญิง

โดยเฉลี่ยแล้วช่วงการมีชีวิตของเพศหญิงนั้นจะยืนยาวมากกว่าเพศชายและในช่วงใดๆก็แล้วแต่เราจะพบว่ามีแม่ม้ายมากกว่าพ่อม้าย

อินเดียมีประชากรเพศชายมากกว่าเพศหญิงเนื่องมาจากการฆ่าทารกในครรภ์หรือการทำแท้งและการฆ่าเด็กทารก

อินเดียเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่อยู่รอบข้างมัน ที่มีประชากรเพศหญิงน้อยกว่าเพศชาย สาเหตุก็เพราะว่าในอินเดียนั้นมีอัตราการเกิดของทารกเพศหญิงสูงและในประเทศอินเดียนั้นจะมีการทำแท้งทารกเพศหญิงมากกว่า 1 ล้านคนต่อปีทันทีที่ตรวจพบว่าเด็กที่อยู่ในครรภ์เป็นเพศหญิง ถ้าการกระทำอันชั่วร้ายนี้หยุดลงเมื่อไหร่อินเดียก็จะมีเพศหญิงมากกว่าเพศชายเช่นเดียวกัน




ประชากรโลกที่เป็นเพศหญิงมีมากกว่าเพศชาย
ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีผู้หญิงมากกว่าผู้ชายอยู่ถึง 7.8 ล้านคน ในนิวยอคเพียงอย่างเดียวมีผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 1 ล้านคน และในประชากรของนิวยอคนั้น 1 ใน 3 เป็นเกย์ หรือพวกรักร่วมเพศ ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นมีเกย์มากกว่า 25 ล้านคน ในรัสเซียมีผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 9 ล้านคน และอัลลอฮฺ พระผู้เป็นเจ้าทรงรู้ดียิ่งว่าทั้งโลกนั้นมีผู้หญิงมากกว่าผู้ชายกี่ล้านคน เมื่อเทียบกันดู

การกำหนดให้ผู้ชายทุกคนมีภรรยาเพียงคนเดียวนั้น เป็นสิ่งที่ขัดกับความเป็นจริงในทางปฏิบัติ
ถ้าแม้นว่าชายทุกคนที่อยู่บนโลกนี้แต่งงานกับผู้หญิงเพียงคนเดียวแล้ว ก็จะยังคงเหลือสตรีที่ยังหาสามีไม่ได้อีกเป็นจำนวนมากกว่า 30 ล้านคนเฉพาะใน U.S.A เพียงอย่างเดียวทั้งนี้ทั้งนั้นเนื่องจากว่า อเมริกามีพวกเกย์อยู่ถึง 25 ล้านคนด้วย และจะมีสตรีมากกว่า 4 ล้านคนใน ประเทศอังกฤษ สตรีมากกว่า 5 ล้านคนในเยรมัน และสตรีมากกว่า 9 ล้านคนในรัสเซียเพียงประเทศเดียวที่ไม่สามารถหาสามีได้

สมมุติว่าน้องสาวของผมหรือน้องสาวของท่านที่ยังไม่ได้แต่งงานเธอได้อาศัยอยู่ในประเทศอเมริกา หล่อนก็จะมีเพียง สองตัวเลือกเท่านั้นให้เลือก นั้นคือ ให้เธอไปแต่งงานกับชายที่มีภรรยาอยู่แล้ว หรือไม่ก็ตกเป็นสมบัติของสาธารณะไป ไม่มีตัวเลือกอื่นอีกแล้ว และสตรีที่มีความรักนวลสงวนตัวก็จะเลือกแต่งงานกับชายที่มีภรรยาอยู่แล้ว

ในสังคมตะวันตกนั้นการมีเมียน้อยหรือนางบำเรอเพื่อไว้ระบายความใคร่ตลอดจนการมีคู่ขาหรือคู่นอนจำนวนมาก ดูเหมือนจะเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับพวกเขา ซึ่งในกรณีเช่นนั้นสตรีก็จะใช้ชีวิตที่ตกต่ำ และไร้เกรียติและไม่ได้รับการปกป้องคุ้มครองที่แท้จริง แต่กระนั้นก็เป็นเรื่องแปลกที่ในสังคมตะวันตกเดียวกันนี้แหละที่ไม่สามารถยอมรับการที่ผู้ชายจะมีภรรยามากกว่า 1 คนได้ซึ่งจะทำให้ ผู้หญิงได้มีเกียรติมีหน้ามีตาในสังคมและได้รับความเท่าเทียมกันตลอดจนได้รับการปกป้องในชีวิตและทรัพย์สิน

ดังนั้นจึงมีตัวเลือก สองตัวสำหรับหญิงที่ไม่สามารถหาสามีได้ นั้นคือ

ให้เธอไปแต่งงานกับชายที่มีภรรยาแล้ว
หรือไม่ก็ตกเป็นสมบัติสาธารณะไป
แต่สำหรับอิสลามแล้ว อิสลามปรารถนาให้สตรีได้มีศักด์ศรีได้รับเกียรติและการปกป้อง โดยการอนุญาติให้หล่อนเลือกที่จะแต่งงานกับชายที่มีภรรยาแล้ว และไม่อนุญาตให้เธอตกเป็นสมบัติของสาธารณะ

ยังมีเหตุผลอีกหลายอย่างที่อิสลามอนุญาตให้มีภรรยาได้มากกว่า หนึ่งคน แต่ไม่เกิน สี่คนแต่เหตุผลหลักคือเพื่อปกป้องสตรี

อ้างอิง
มุสลิมไทย แปลโดยชารีฟ วงค์เสงี่ยม
รับข้อมูลจาก "http://www.muslimcampus.com/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89_4_%E0%B8%84%E0%B8%99"
หมวดหมู่: บทความ

มัสยิดหลังแรกของอังกฤษ

สภาพปัจจุบันของ ‘มัสยิดหลังน้อย’ เลขที่ 8 โบรมเทอเรซ ที่เคยเป็นมัสยิดหลังแรกของอังกฤษเป็นเวลานับสิบๆ ปีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำงานที่อาคารโบรมเทอเรซ (Brougham Terrace), ลิเวอร์พูล, มักเอ่ยถึงห้องขนาดใหญ่ด้านชั้นในของอาคารว่า ‘มัสยิดหลังน้อย’ แต่ไม่เคยมีใครรู้ว่าทำไมคนถึงเรียกเช่นนั้นนั้น

อาคารชุดนี้ตั้งอยู่ตรงมุมถนนเวสต์เดอร์บี ด้านตะวันออกของใจกลางเมือง ตึกเทอเรซแบบจอร์เจียที่แสนหรูหรานี้เก่าลงตามเวลาที่ผ่านไป

ตึกชุดนี้ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อเกือบสองร้อยปีก่อน ในปี 1830 โดยโจเซฟ อลันสัน พิคตัน เป็นตึกเทอเรซติดกัน 12 หลัง ถูกตั้งชื่อว่า ‘โบรม’ ตามชื่อ เฮนรี ปีเตอร์ โบรม (Henry Peter Brougham ปีค.ศ.1778–1868), นักกฎหมายชื่อดังและนักการเมืองพรรควิก (Whig ในปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นพรรคเสรีนิยม), ซึ่งเป็นบารอนคนแรกของโบรมและโวกซ์, บารอนแห่งโบรมเป็นชาวสก็อตและดำรงตำแหน่งอธิบดีศาลสูงสุดของประเทศอังกฤษช่วงปี 1830-34

แรกเริ่มเดิมทีเทอเรซชุดนี้เป็นบ้านพักอาศัยของนักธุรกิจชั้นสูงของลิเวอร์พูล ต่อมาในปี 1900 ตึกเลขที่ 1-7 ถูกรื้อถอนเพื่อก่อสร้างอาคารเวสต์เดอร์บียูเนียน

แต่ตึกเลขที่ 8-12 ต่างหากที่ประวัติศาสตร์อันสำคัญได้เกิดขึ้น!

ในวันคริสต์มาสปี 1889 นั่นเองที่ วิลเลียม เฮนรี อับดุลลาฮ์ กิลเลียม (William Henry Abdullah Quilliam ปีค.ศ.1851-1932) ทนายความชื่อดังของลิเวอร์พูลผู้เป็นมุสลิมใหม่เอี่ยมอ่องได้เปิดประตูประวัติศาสตร์ของโบรมเทอเรซเลขที่ 8 ซึ่งเป็นมัสยิดหลังแรกของประเทศอังกฤษออกมา!!

วิลเลียมเป็นบุตรชายของผู้ผลิตนาฬิกาฐานะร่ำรวยของเมืองลิเวอร์พูล ต่อมาถูกส่งไปพักผ่อนเพื่อรักษาสุขภาพที่โมรอคโคในปี 1887 ถัดจากนั้นหนึ่งปี วิลเลียม กิลเลียม กล่าวชาฮาดาฮ์ ปฏิญาณตนเป็นมุสลิม และเดินทางกลับมายังอังกฤษในชื่อ ‘อับดุลลาฮ์ กิลเลียม’

อับดุลลาฮ์ กิลเลียม เป็นชายผู้มีเสน่ห์ น่านับถือ – เขาเริ่มต้นบรรยายเรื่องอิสลามที่หอประชุม Temperance League Hall ที่ถนนเมาท์เวอร์นอน ในเมืองลิเวอร์พูล

และเมื่อจำนวนชาวเมืองลิเวอร์พูลที่หันมารับอิสลามมีจำนวนเยอะขึ้น อับดุลลาฮ์ กิลเลียมก็ได้ซื้ออาคารเลขที่ 8 โบรมเทอเรซ

อับดุลลาฮ์ให้ โจเซฟ แมคโกเวิร์น สถาปนิกของเขาปรับปรุงอาคารเสียใหม่ แล้วตั้งชื่อว่า ‘สถาบันมุสลิมลิเวอร์พูล’ (Liverpool Muslim Institute) และนี่คือมัสยิดแห่งแรกของอังกฤษ เปิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 1889 ด้วยความพยายามของชาวอังกฤษผิวขาวที่ชื่อ วิลเลียม อับดุลลาฮ์ กิลเลียม

ในปัจจุบันอาคารเลขที่ 8 โบรมเทอเรซเป็นอาคารสำนักงานทะเบียน และสมาคมมุสลิมลิเวอร์พูล (The Muslim Society in Liverpool) กำลังอยู่ระหว่างระดมทุน (ประมาณ 100 ล้านบาท) เพื่อซื้ออาคารเลขที่ 8-10 นำมาทำป็นศูนย์อนุรักษ์มรดกมุสลิมอังกฤษ

ปัจจุบันมีมุสลิมอาศัยในเมอร์ซีย์ไซด์ 15,000 คน รอบลิเวอร์พูล 6,000 คน

อาลี อักบาร์, กรรมการของสมาคมมุสลิมลิเวอร์พูล, บอกว่า: “เป้าหมายของสมาคมเราคือต้องการซื้ออาคารเลขที่ 8 โบรมเทอเรซ ตั้งเป็นศูนย์อนุรักษ์มรดกมุสลิม มีพิพิธภัณฑ์ ห้องอ่านหนังสือ นี่ละเหมาะมาก เพราะแม้จนกระทั่งทุกวันนี้เจ้าหน้าที่ของสำนักทะเบียนก็ยังพูดกันว่าต้องไปเอาไฟล์ ‘จากมัสยิด’ (from the mosque) – แม้พวกเขาจะไม่เคยรู้เลยว่าทำไมต้องเรียกเช่นนั้น – อาคารหลังนี้คือมรดกของเรา และเราจะไม่ยอมให้มันสูญหายไป!!”

มุสลิมลิเวอร์พูลทุ่ม 180 ล้านบาทรื้อฟื้นมัสยิดหลังแรกของอังกฤษ

แปลนของอาคารที่จะสร้างขึ้นมาใหม่มุสลิมเมืองลิเวอร์พูลเร่งระดมทุน 180 ล้านบาทเพื่อปรับปรุงอาคารเลขที่ 8 โบรมเทอเรซ ที่ Tuebrook เมืองลิเวอร์พูล ให้เป็นศูนย์มรดกและการศึกษาอิสลาม

โครงการนี้เป็นการรำลึกถึง วิลเลียม เฮนรี กิลเลียม (William Henry Quilliam ค.ศ.1851-1932) ทนายความชื่อดังของลิเวอร์พูลผู้เปลี่ยนมารับอิสลามหลังเดินทางไปโมรอคโคในปี 1887 จากนั้นเขาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ‘อับดุลลาฮ์ กิลเลียม’

หลังกลับมาลิเวอร์พูลได้สองปี กิลเลียมได้เปิดมัสยิดหลังแรกของอังกฤษและตั้งเป็นศูนย์รวมของมุสลิมใหม่ชาวอังกฤษ

เกือบ 120 ปีจากวันนั้น, สมาคมอับดุลลาฮ์ กิลเลียม (Abdullah Quilliam Society) ได้เริ่มรณรงค์จัดหาทุนเพื่อรื้อฟื้นอาคารประวัติศาสตร์แห่งความปรีดาของมุสลิมอังกฤษ

เมื่อคืนก่อน ทางสมาคมฯ ได้จัดเลี้ยงดินเนอร์ที่ Athenaeum เพื่อหาทุน มีคนสำคัญเข้าร่วมมากมายเช่น เรฟเวอร์เริน เจมส์ โจนส์, บิชอปแองกลิเคินของลิเวอร์พูล, และเซอร์อิกบาล ซาครานี ประธานสภามุสลิมอังกฤษ

มุมีน ข่าน, ผู้อำนวยการบริหารศูนย์มรดกอับดุลลาฮ์ กิลเลียม, กล่าวว่า: “มัสยิดหลังน้อยแห่งนี้คือสถานที่สำคัญและเป็นความภูมิใจของมุสลิมอังกฤษ และเราไม่ต้องการจะสูญเสียมันไป ศูนย์ฯ แห่งนี้จะเป็นสะพานระหว่างมุสลิมกับเพื่อนต่างศาสนา และเพื่อขจัดความไม่เข้าใจเกี่ยวกับอิสลาม”

ศูนย์มรดกอับดุลลาฮ์ กิลเลียม จะมีห้องสมุด ห้องนิทรรศการ และการบรรยายศาสนา

‘มัสยิดหลังน้อย’ แห่งนี้ถูกแปลงไปเป็นสำนักงานทะเบียนหลังจากกิลเลียมย้ายไปอยู่ตุรกีในปี 1908




อ้างอิง
The Little Mosque. Architectural Heritage. BBC: UK. แปลโดย วาริษาฮ์ อัมรีล
£2.5m to restore mosque. Liverpool Echo: Liverpool, UK. 1 November 2007.
รับข้อมูลจาก "http://www.muslimcampus.com/wiki/The_Little_Mosque"
หมวดหมู่: ความรู้ทั่วไป | บทความ | มัสยิด

หลักปฏิบัติ


หลักปฏิบัติ
จาก MuslimCampus

การยืนยันความศรัทธาด้วยการปฏิบัติ ความศรัทธาทั้ง 6ประการที่กล่าวมาก่อนหน้านี้เป็นหลักการสำคัญพื้นฐานของอิสลามที่มุสลิมจะต้องมีอยู่ประจำใจแต่ความศรัทธาเพียงอย่างเดียวนั้นยังไม่เป็นการเพียงพอเพราะในอิสลามความศรัทธาที่แท้จริงจะต้องแสดงผลของมันออกมาให้เห็นเป็นการปฏิบัติในชีวิตประจำวันและเพื่อให้แน่ใจว่าคนที่มีความศรัทธาในหลักการ6ประการดังกล่าวยังคงยืนยันในความศรัทธานั้นอย่างมั่นคงอัลลอฮ์. ก็ได้ทรงวางภารกิจสำคัญให้เขาต้องปฏิบัติ5ประการหรือที่เรียกกันว่าหลักการอิสลาม5 ประการนั่นคือ

เนื้อหา
1 1. การกล่าวคำปฏิญาณตนว่า “ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮ. มุฮัมมัด รอซูลุลลอฮ.”
2 2. การนมาซหรือละหมาด
3 3. การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน
4 4. การจ่ายซะกาต
5 5. การทำฮัจญ์


1. การกล่าวคำปฏิญาณตนว่า “ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮ. มุฮัมมัด รอซูลุลลอฮ.”

คำปฏิญาณ นี้เป็นถ้อยคำที่ผู้ยอมรับอิสลามทุกคนจะต้องกล่าวออกมา เป็นการยืนยันด้วยวาจาว่าตัวเองมีความศรัทธาดังที่กล่าวมาข้างต้นและพร้อมที่จะปฏิบัติตามบทบัญญัติและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่อัลลอฮ์.ได้ทรงกำหนดไว้ในคัมภีร์กุรอานและคำสอนของท่านศาสดามุฮัมมัด


ถึงแม้คำปฏิญาณดังกล่าวจะเป็นคำพูดเพียงประโยคสั้น ๆ แต่ถ้อยคำนี้แหละที่ทำให้สังคมอาหรับป่าเถื่อน ในสมัยท่านศาสดามุฮัมมัด ต้องเปลี่ยนแปลงและส่งผลให้อิสลามได้กลายเป็นอู่อารยธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก คำปฏิญาณดังกล่าวนี้หมายความว่ามุสลิมจะไม่ยอมเคารพกราบไหว้หรือสักการะบูชาพระเจ้าอื่นใด ไม่ว่าพระเจ้านั้นจะเป็นวัตถุที่มนุษย์ทำขึ้นมาหรือคนที่อุปโลกน์ตัวเองหรือถูกอุปโลกน์เป็นพระเจ้า หรือแม้แต่สิ่งใดหรือใครก็ตามที่อ้างว่าตัวเองมีคุณสมบัติบางอย่างเหมือนอัลลอฮ์. แล้วเรียกร้องต้องการให้คนอื่นสักการะบูชาตนเอง ดังนั้นอิสลามจึงห้ามมุสลิมแสดงกิริยากราบแบบมือและหัวจรดพื้นแก่วัตถุหรือบุคคลใด ๆ แม้แต่พ่อแม่ของตัวเอง เพราะกิริยาการกราบอันถือว่าเป็นกิริยาที่แสดงถึงความสูงสุดในการเคารพสักการะนั้นจะถูกสงวนไว้ใช้กับ “อัลลอฮ์.” ผู้ทรงเป็นพระเจ้าที่แท้จริงแต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น แต่นั่นมิได้หมายความว่าอิสลามห้ามมิให้เคารพเชื่อฟังและทำความดีต่อพ่อแม่


การที่อิสลามห้ามกราบไหว้บูชาวัตถุและบุคคลเช่นนั้น ก็เพราะอิสลามถือว่ามนุษย์เป็นสิ่งถูกสร้างที่ประเสริฐที่สุดและมนุษย์ทุกคนมีฐานะแห่งความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกันในสายตาของอัลลอฮ์ เมื่อมนุษย์เป็นสิ่งถูกสร้างที่ประเสริฐที่สุดแล้ว หากมนุษย์ยังไปสักการะบูชาหรือกราบไหว้วัตถุธรรมชาติหรือสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์ทำขึ้นมาหรือสักการะบูชามนุษย์ด้วยกันเอง นั่นก็หมายความว่ามนุษย์กำลังลดฐานะแห่งความเป็นมนุษย์ในสายตาของพระองค์ลง


เมื่ออิสลามห้ามสักการะหรือกราบไหว้พระเจ้าอื่นใดแล้ว อิสลามก็สั่งให้มุสลิมเคารพภักดีอัลลอฮ์.แต่เพียงพระองค์เดียว ทั้งนี้เพราะพระองค์เท่านั้นที่ทรงเป็นพระเจ้าที่แท้จริง ผู้ทรงสร้างทุกสรรพสิ่งในสากลจักรวาลรวมทั้งตัวมนุษย์เองด้วย และพระองค์ไม่มีผู้ใดมาเป็นภาคีร่วมกับพระองค์


คำปฏิญาณตอนที่สองที่กล่าวว่า “มุฮัมมัด เป็นรอซูลของอัลลอฮ์.” นั้นหมายความว่าเมื่อใครยอมรับอัลลอฮ์.ว่าเป็นพระเจ้าของเขาแล้วเขาจะต้องยอมรับว่ามุฮัมมัด เป็นรอซูลหรือผู้นำสารของอัลลอฮ์. (กุรอาน-) มาประกาศยังมนุษยชาติและจะต้องเชื่อฟังคำสั่งสอนของศาสดามุฮัมมัด ด้วย


เมื่อท่านศาสดามุฮัมมัด ประกาศคำปฏิญาณนี้ออกมา ความหมายของคำปฏิญาณนี้ได้ทำให้บรรดาพวกผู้นำชาวมักก๊ะฮ.เริ่มหวั่นวิตกทันที เพราะคนเหล่านี้รู้ดีว่าท่านศาสดามุฮัมมัด กำลังประกาศให้คนรู้ว่าอัลลอฮ์.ต่างหากที่เป็นใหญ่และเป็นผู้ทรงอำนาจ มิใช่พวกหัวหน้าชาวมักก๊ะฮ. และถ้าใครยอมรับคำปฏิญาณนี้ก็หมายความว่าบุคคลนั้นจะต้องยอมรับความเป็นผู้นำของศาสดามุฮัมมัด นอกจากนั้นแล้วมันยังหมายความว่าความเชื่อ ศาสนา ประเพณี วิถีการดำรงชีวิตแบบเก่าที่พวกเขาเคยปฏิบัติสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษจะต้องถูกทำลายลงด้วย นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมพวกหัวหน้าชาวมักก๊ะฮ.ถึงได้ต่อต้านท่านศาสดามุฮัมมัด ตั้งแต่ท่านเริ่มประกาศอิสลาม


2. การนมาซหรือละหมาด

การนมาซคือการแสดงความเคารพสักการะและการแสดงความขอบคุณต่ออัลลอฮ์.ซึ่งจะกระทำวันละ 5 เวลา คือ ตอนรุ่งอรุณ ตอนบ่าย ตอนตะวันคล้อย ตอนดวงอาทิตย์ตกดิน และในยามค่ำคืน โดยในการนมาซทุกครั้งมุสลิมทุกคนจะหันหน้าไปทางก๊ะอ.บ๊ะฮ.ซึ่งอยู่ในนครมักก๊ะฮ. และหน้าที่ในการนมาซนี้เป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคนตั้งแต่เริ่มมีความรู้สึกทางเพศ (สำหรับผู้ชาย) และเริ่มมีประจำเดือน (สำหรับผู้หญิง) ซึ่งเป็นวัยที่อิสลามถือว่าเริ่มเข้าสู่วัยแห่งความเป็นผู้ใหญ่แล้ว


การนมาซเป็นสิ่งยืนยันความศรัทธาที่ปรากฎให้เห็นทางภายนอกได้ชัดเจนที่สุดเพราะเป็นการปฏิบัติที่มีรูปแบบ และคนที่จะดำรงรักษาการนมาซของตัวเองได้ครบ 5 เวลาต่อวันนั้น จะต้องเป็นคนที่มีความผูกพันต่ออัลลอฮ์.และรำลึกถึงพระคุณของพระองค์อยู่ตลอดเวลา


อันที่จริงแล้ว การปฏิบัติศาสนกิจที่อิสลามกำหนดให้มุสลิมปฏิบัติมิได้เป็นพิธีกรรมอันลึกลับที่ยากต่อการปฏิบัติ หากแต่เป็นภารกิจที่ปฏิบัติอย่างเปิดเผย สะดวกและง่ายต่อผู้ปฏิบัติ การนมาซนอกจากจะมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแสดงความเคารพภักดีและเป็นการแสดงความขอบคุณต่ออัลลอฮ์.แล้ว คัมภีร์กุรอานยังได้กล่าวอย่างไว้ชัดเจนอีกว่า

“แท้จริงการนมาซจะยับยั้งจากความชั่วช้าและความลามก”

ทั้งนี้เนื่องจากคนที่นมาซนั้นจะเป็นคนที่รำลึกถึงอัลลอฮ์.และจะเชื่อว่าอัลลอฮ์.จะทรงเห็นการกระทำของเขาทั้งในที่ลับและในที่เปิดเผย ดังนั้น ความเกรงกลัวอันนี้จะช่วยยับยั้งเขามิให้ปฏิบัติความชั่ว

3. การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน

การถือศีลอดในอิสลาม คือ การงดเว้นจากการกิน การดื่ม การเสพสิ่งต่าง ๆ การมีความสัมพันธ์ทางเพศฉันสามีภรรยา ตลอดจนการอดกลั้นอารมณ์ใฝ่ต่ำทั้งหลายและการนินทาว่าร้ายผู้อื่นตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตก


การถือศีลอดเป็นหลักปฏิบัติอีกประการหนึ่ง ซึ่งอิสลามกำหนดให้มุสลิมทุกคนที่ศรัทธาในอัลลอฮ์.และมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งชายหญิงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติเป็นเวลา 29 – 30 วัน ในเดือนรอมฎอนซึ่งเป็นเดือนที่เก้าตามปฏิทินอิสลาม


การถือศีลอดมิได้เพิ่งจะเริ่มมีในสมัยของศาสดามุฮัมมัด แต่มีมาตั้งแต่ก่อนสมัยของท่านเสียอีก แม้แต่ศาสดามูซา (โมเสส) และศาสดาอีซา (เยซู) ก็เคยถือศีลอดด้วยเช่นกัน คัมภีร์กุรอานได้กล่าวยืนยันถึงเรื่องนี้พร้อมกับบอกวัตถุประสงค์ของการถือศีลอดให้เราทราบว่า :-

“บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย การถือศีลอดได้ถูกกำหนดแก่สูเจ้าเช่นเดียวกับที่เคยถูกกำหนดแก่บรรดาก่อนหน้าสูเจ้า ทั้งนี้เพื่อที่สูเจ้าจะได้ยำเกรงพระเจ้า”

ที่การถือศีลอดมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกมุสลิมให้เกิดความยำเกรงพระเจ้าก็เพราะในเวลาปกติ อัลลอฮ์.ทรงอนุมัติให้มุสลิมกินและดื่มได้อย่างเสรี แต่เมื่อถึงเดือนรอมฎอน เมื่ออัลลอฮ์.ทรงมีบัญชาให้ละเว้นจากการกินดื่ม มุสลิมก็ละเว้นทันที นี่เป็นบทเรียนที่สอนมุสลิมให้ยำเกรงเละเชื่อฟังอัลลอฮ์.


การถือศีลอดยังเป็นการฝึกให้ผู้ถือศีลอดซื่อสัตย์ต่อตัวเองและพระเจ้า กล่าวคือ ขณะที่ถือศีลอดเขาอาจจะแอบกินอาหารและดื่มน้ำในระหว่างการถือศีลอดก็ได้โดยที่ไม่มีใครรู้ แต่ด้วยความเชื่อในพระเจ้าว่าพระองค์ทรงเห็นและทรงรู้การกระทำของเขาทั้งในที่ลับและที่แจ้ง ดังนั้น เขาก็จะไม่ทำในสิ่งที่ขัดต่อความสำนึกของตัวเอง นอกจากนั้นแล้ว การถือศีลอดยังเป็นการแสดงออกถึงความเสมอภาคกันในบรรดาผู้ศรัทธาด้วย เพราะในเดือนถือศีลอด มุสลิมผู้ศรัทธาไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใดต่างต้องงดจากการกินดื่มเหมือนกันหมด


ความจริงแล้ว ในระหว่างการถือศีลอดนั้น การอดอาหารและน้ำเป็นเพียงมาตรการที่จะช่วยย้ำเตือนจิตสำนึกของผู้ถือศีลอดให้ระลึกถึงพระเจ้า และลดความต้องการทางอารมณ์ให้ต่ำลง ดังนั้น ถ้าผู้ใดถือศีลอดแล้วยังคล้อยตามอารมณ์ใฝ่ต่ำทำความชั่วอยู่ สิ่งที่เขาผู้นั้นจะได้รับจากการถือศีลอดก็คือความหิวกระหายธรรมดาตลอดทั้งวัน ซึ่งไม่มีผลต่อการฝึกฝนหรือการขัดเกลาทางด้านจิตวิญญาณของเขาแต่ประการใด


สำหรับคนชราที่ร่างกายอ่อนแอ ผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยว่าการถือศีลอดจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย กรรมกรที่ทำงานหนักในเหมืองแร่ หญิงมีครรภ์แก่ก็ได้รับการยกเว้นเช่นกัน และมิต้องชดใช้ แต่มีเงื่อนไขว่า ผู้ที่ได้รับการยกเว้นจะต้องบริจาคอาหารที่ตัวเองกินเป็นประจำหนึ่งมื้อให้แก่ผู้ยากจนเป็นการทดแทนในแต่ละวันที่มิได้ถือศีลอด ในระหว่างการถือศีลอด มุสลิมสามารถกลืนน้ำลายได้ถ้าหากว่าน้ำลายนั้นสะอาดและไม่มีเศษอาหารติดอยู่

4. การจ่ายซะกาต

การจ่ายซะกาต คือ การจ่ายทรัพย์สินในอัตราที่ศาสนากำหนดไว้จำนวนหนึ่งจากทรัพย์สินที่สะสมไว้เมื่อครบกำหนดเวลา โดยจะต้องจ่ายทรัพย์สินนี้ให้แก่คนที่มีสิทธิ์ได้รับ 8 จำพวกตามที่คัมภีร์กุรอานได้กำหนดไว้อันได้แก่

คนยากจน
คนที่อัตคัดขัดสน
คนที่มีหัวใจโน้มมาสู่อิสลาม
ผู้บริหารการจัดเก็บและจ่ายซะกาต
ไถ่ทาส
ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
คนพลัดถิ่นหลงทาง
ใช้ในหนทางของอัลลอฮ์.

ความจริงแล้วคำว่า ”ซะกาต” โดยทางภาษาแปลว่า “การซักฟอกการทำให้สะอาดบริสุทธิ์ และการเจริญเติบโต” และคำว่า “ซะกาต” นี้ได้ถูกกล่าวควบคู่กับการนมาซในคัมภีร์กุลอานไม่ต่ำกว่า 20 ครั้งด้วยเหตุนี้ มุสลิมที่ปฏิบัตินมาซแต่ไม่ยอมจ่ายซะกาตนั้น ความเป็นมุสลิมของเขาจึงยังไม่สมบูรณ์


วัตถุประสงค์ที่อิสลามกำหนดให้มุสลิมจ่ายซะกาตก็คือเพื่อเป็นการยืนยันถึงความศรัทธา นอกจากนั้นแล้วการจ่ายซะกาตก็ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อซักฟอกทรัพย์สินและจิตใจของผู้จ่ายให้มีความสะอาดบริสุทธิ์ ขณะเดียวกันก็เพื่อเป็นการสร้างความเจริญให้แก่สังคมอีกด้วย


ที่กล่าวว่าซะกาตมีวัตถุประสงค์เพื่อซักฟอกทรัพย์สินและจิตใจของผู้จ่ายซะกาต ก็เพราะอิสลามถือว่าทรัพย์สินที่มุสลิมหามาได้นั้นถึงแม้ว่าจะหามาด้วยความสุจริตก็ตาม ถ้าหากทรัพย์สินที่สะสมไว้นั้นยังไม่ได้นำมาจ่ายซะกาต ทรัพย์สินนั้นก็ยังไม่บริสุทธิ์ เพราะซะกาตเป็นสิทธิ์ของคน 8 ประเภทดังกล่าว การไม่จ่ายซะกาตก็คือการยักยอกทรัพย์สินของคนเหล่านั้น ขณะเดียวกัน การจ่ายซะกาตก็จะช่วยชำระจิตใจของผู้จ่ายให้หมดจดจากความตระหนี่ถี่เหนียวและความโลภซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสกปรกทางใจอย่าง หนึ่ง


หากเรามองหลักการจ่ายซะกาตจากแง่สังคม เราจะเห็นว่าบรรดาผู้มีสิทธิได้รับซะกาตนั้นมักจะเป็นผู้ที่เป็นปัญหาในสังคม ดังนั้นการนำซะกาตไปให้แก่คนเหล่านี้จึงเป็นการแก้ปัญหาสังคมที่ถูกจุด ขณะเดียวกัน ถ้าเรามองจากทางด้านเศรษฐกิจ เราจะเห็นว่าซะกาตจะทำให้คนยากจนคนอานาถาในสังคมมีอำนาจซึ้อเพิ่มขึ้น เพราะมีการถ่ายเททรัพย์สินจากคนรวยไปสู่คนจน และเมื่อคนเหล่านี้มีอำนาจซื้อก็จะส่งผลให้มีการผลิตสนองตอบความต้องการ ทำให้มีการจ้างงานและมีการกระจายรายได้ทางเศรษฐกิจติดตามมา


ดังนั้น จึงอาจพูดได้ว่าการจ่ายซะกาตนอกจากจะเป็นการแสดงออกถึงความศรัทธาแล้ว ยังเป็นการแสดงความเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์. โดยผ่านทางการช่วยเหลือสังคมด้วย

ซะกาตมี 2 ประเภท คือ

ซะกาตฟิตเราะฮ. คือ ซะกาตที่มุสลิมที่สามารถจะเลี้ยงตัวได้ต้องจ่ายให้แก่คนยากจนหรือคนอนาถาในเดือนรอมฎอนอันเป็นเดือนถือศีลอด โดยจ่ายเป็นอาหารหลักที่คนในท้องถิ่นกินกันเป็นประจำซึ่งได้แก่ข้าวสารประมาณ 3 ลิตร (หรืออาจให้เป็นเงินที่มีมูลค่าเท่ากับข้าวสารจำนวนดังกล่าว) สำหรับผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวนั้นจะต้องรับผิดชอบการจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ.นี้ แทนสมาชิกในครอบครัวด้วย หากยังไม่ได้จ่ายซะกาตฟิตเราะฮ. อัลลอฮ์.ก็จะยังไม่รับการถือศีลอดของเขา
ซะกาตมาล หรือ ซะกาตทรัพย์สิน เป็นซะกาตที่จ่ายจากทรัพย์สินที่สะสมไว้หลังจากการใช้จ่ายครบรอบปีแล้ว ในอัตราที่ต่างกันตามประเภทของทรัพย์สินตั้งแต่ร้อยละ 2.5 ไปจนถึง 20

5. การทำฮัจญ์

การประกอบพิธีฮัจญ์การทำฮัจญ์ คือ การเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่นครมักกะฮ.ในเดือนซุลฮิจญะฮ.ตามวันเวลาและสถานที่ที่ถูกกำหนดไว้ หลักการข้อนี้ถือเป็นหน้าที่สำหรับมุสลิมทั้งชายหญิงทุกคนที่มีความสามารถในด้านร่างกาย ทรัพย์สิน และเส้นทางการเดินทางมีความปลอดภัยหากใครได้ศึกษาถึงประวัติศาสตร์อิสลามแล้ว จะพบว่าการทำหัจญ์เป็นพิธีกรรมทางศาสนาเก่าแก่ที่มีมาก่อนสมัยของศาสดามุฮัมมัด จากหลักฐานในคัมภีร์กุรอาน การทำฮัจญ์เริ่มต้นขึ้นเมื่อตอนที่อัลลอฮ์ ได้บัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีมและอิสมาอิลผู้เป็นลูกชายร่วมกันสร้าง “บัยตุลลอฮ.” (บ้านของอัลลอฮ์. ) ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับการเคารพภักดีต่อพระองค์ เมื่อสร้างเสร็จแล้ว พระองค์ก็ทรงบัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีมเรียกร้องเชิญชวนมนุษยชาติให้มาร่วมกันแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์ที่บ้านดังกล่าว


ดังนั้น ในเดือนซุลฮิจญะฮ. ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของปฏิทินอิสลาม มุสลิมทุกชาติทุกเผ่าพันธุ์จากทั่วโลกนับล้านคนจะเดินทางไปร่วมกันแสดงความเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์.ที่บ้านของพระองค์


หลังจากสมัยของท่านศาสดาอิบรอฮีมแล้ว ด้วยความโง่เขลาและความหลงผิดของผู้คน รูปแบบของการทำหัจญ์ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เช่น แทนที่ผู้คนจะเคารพบูชาอัลลอฮ์.แต่เพียงพระองค์เดียว พวกเขากลับเอารูปปั้นเทวรูปต่าง ๆ ที่พวกเขาบูชามาตั้งไว้รอบ ๆ ก๊ะอ.บ๊ะฮ. เพื่อสักการะบูชาในระหว่างการทำหัจญ์ และในพิธีการเดินรอบก๊ะอ.บ๊ะฮ.นั้น พวกเขาหลายคนได้เปลือยกายเดินรอบก๊ะอ.บ๊ะฮ.และอื่น ๆ อีกมากมายที่ท่านศาสดาอิบรอฮีมไม่ได้ทำแบบอย่างไว้ จนกระทั่งมาถึงสมัยของท่านศาสดามุฮัมมัด หลังจากที่ท่านเข้ายึดมักก๊ะฮ.ได้แล้ว ท่านได้สั่งให้ทำลายรูปปั้นบูชาต่าง ๆ รอบก๊ะอ.บ๊ะฮ.ลงจนหมดสิ้น และท่านได้แสดงแบบอย่างการทำหัจญ์ที่ถูกต้องให้บรรดาผู้ที่ศรัทธาในอัลลอฮ์.ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น การทำหัจญ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจึงเป็นหัจญ์ที่มีแบบอย่างมาจากท่านศาสดามุฮัมมัด


หากใครได้ศึกษาถึงรายละเอียดของหลักการและการปฏิบัติฮัจญ์ เขาจะทราบได้ทันทีว่าหัจญ์เป็นบทบัญญัติทางศาสนาที่ถูกกำหนดให้มุสลิมถือปฏิบัติเพื่อยืนยันถึงความศรัทธาในอัลลอฮ์. ที่ต้องอาศัยความเสียสละทั้งทรัพย์สินและเวลา ความอดทนทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ การให้อภัยและความสำนึกทางประวัติศาสตร์ตลอดจนความศรัทธามั่นต่อพระผู้เป็นเจ้าไปพร้อม ๆ กัน


การทำฮัจญ์ นอกจากจะเป็นการแสดงความเคารพภักดีและยืนยันในความศรัทธาต่ออัลลอฮ์. แล้ว ยังสอนมนุษย์ทุกคนให้รู้สำนึกว่าในสายตาของอัลลอฮ์. แล้ว มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน เพราะในการทำหัจญ์ ผู้ทำหัจญ์ทุกคนไม่ว่าจะมาจากชนชั้น เผ่าพันธุ์ ภาษา หรือจะมีฐานะอย่างไรก็ตาม ทุกคนจะต้องห่อหุ้มร่างกายด้วยผ้าสีขาวเพียงสองชิ้นเหมือนกันหมดทุกคน จะต้องปฏิบัติพิธีการต่าง ๆ เหมือนกันหมดและทุกคนต่างก็ประกาศความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ์.เหมือนกันหมด


สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดตั้งแต่ต้น อาจกล่าวสรุปได้ว่าหลักศรัทธา 6 ประการนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคน ส่วนหลักปฏิบัติ 5 ประการที่อิสลามกำหนดไว้ให้มุสลิมปฏิบัตินั้นมิใช่เป็นหลักปฏิบัติทั้งหมดในอิสลาม หากแต่มันเป็นเพียงวินัยบัญญัติอย่างน้อยที่สุดที่อิสลามกำหนดไว้ให้มุสลิมปฏิบัติเพื่อยืนยันถึงความศรัทธาของเขาเท่านั้น อันที่จริงแล้วอิสลามยังมีบทบัญญัติอื่น ๆ ที่กำหนดให้มุสลิมปฏิบัติอีกมากมายที่จะเป็นการแสดงออกถึงความศรัทธาในทุกย่างก้าวของชีวิต(หรือในภาษาอาหรับเรียกว่า “เศาะลาฮ.”)

รับข้อมูลจาก "http://www.muslimcampus.com/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4"
หมวดหมู่: คู่มือมุสลิมเบื้องต้น

หลักศรัทธา

หลักศรัทธา
จาก MuslimCampus
ข้ามไปที่: นำทาง, ค้นหา
ศรัทธาในพระองค์เดียว คือ อัลลอฮ์ ไม่ใช่พระอ้าหล่า อิสลามถือว่าในสากลจักรวาลทั้งหลายมีพระเจ้าที่เที่ยงแท้เพียงองค์เดียวเป็นผู้สร้างสากลจักรวาลและเป็นผู้บริหารควบคุม โลกนี้มิใช่เกิดมาโดยบังเอิญถ้าเกิดโดยบังเอิญมันจะมีระเบียบแบบแผนในการโคจรไม่ได้โลกและดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ได้หมุนโคจรอย่างมีระบบรักษาตำแหน่งหน้าที่ของมันอย่างคงเส้นคงวานับเป็นเวลานานไม่รู้กี่ล้านปีโดยที่มันไม่เคยได้ชนกันเลยนี่ต้องแสดงว่ามีผู้บริหารและต้องมีผู้ควบคุมมัน
ศรัทธาในบรรดามะลาอิกะหฺของพระองค์ มะลาอิกะหฺ คือผู้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างพระผู้เป็นเจ้ากับศาสดาทั้งหลายเพื่อจะได้ให้ศาสดาดังกล่าวได้เข้าถึงอัลลอฮ์มนุษย์เราแม้จะมีปัญญาสักปานใดก็ต้องอาศัยสื่อภายนอกด้วยเหมือนกันเช่นมนุษย์นั้นแม้จะมีสายตาดีสักเพียงใดก็ตามเขาก็ไม่สามารถมองเห็นวัตถุใด ๆได้เลยถ้าหากไม่มีแสงสว่างเป็นสื่อคำว่ามะลาอิกะหฺหาคำศัพท์แปลเป็นภาษาไทยไม่ได้มะลาอิกะหฺ เป็นนามธรรมไม่ใช่เทวทูต, เทวดา, ทูตสวรรค์แต่ในศาสนาอิสลามถือว่ามลาอีกะฮ์ไม่มีเพศไม่ขัดขืนคำสั่งของอัลลอฮ์ไม่กิน ไม่ดื่ม ไม่หลับไม่นอนมะลาอิกะหฺ คืออำนาจแห่งความดีส่วนอำนาจแห่งความชั่วนั้น คือชัยตอน หรือซาตานหรือมาร นั่นเองดังนั้น มลาอีกะฮ์จึงไม่ใช่เทวดาและนางฟ้า
ศรัทธาในบรรดาคัมภีร์ทั้งหลายของพระองค์ มุสลิมต้องเชื่อถือต้นฉบับเดิมของคัมภีร์ทั้งหลายทุกๆเล่มในอดีต (เตารอต, อินญีล, ซะบูร) รวมทั้งอัล-กุรอานด้วยทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขว่าคัมภีร์เหล่านั้นต้องเป็นวะฮีย์ (ได้รับการดลใจ)มาจากอัลลอฮ์และต้องมีเนื้อหาสาระตรงกับอัล-กุรอานมุสลิมต้องเชื่อถือในส่วนบริสุทธิ์ของคัมภีร์เท่านั้นอิสลามถือว่าคัมภีร์ที่สมบูรณ์ที่สุดและเป็นคัมภีร์สุดท้ายคือคัมภีร์อัล-กุรอาน เป็นศาสดาสุดท้ายของโลกที่มารับภารกิจต่อจากศาสดาก่อนๆที่เชิญชวนมนุษย์ให้รู้จักพระเจ้าและดำเนินชีวิตตามคำสอนของพระองค์ศาสดามุฮัมมัด ได้กล่าวว่าหลังจากท่านแล้วจะไม่มีศาสดาเกิดขึ้นมาอีกเพราะถือว่าท่านได้นำคำสอนหรือแนวทางแห่งการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์มาสู่มนุษยชาติแล้ว
ศรัทธาในบรรดานบี (ศาสดา) ทั้งหลาย มุสลิมทุกคนต้องยอมรับนับถือศาสดาทั้งหลายที่มาเทศนาก่อนศาสดามุฮัมมัด ไม่ว่าศาสดาเหล่านั้นจะปรากฎชื่ออยู่ในคัมภีร์อัล-กุรอานหรือไม่ก็ตาม ไม่ว่าศาสดาเหล่านั้นจะเป็นชนชาติใดอยู่ที่ไหน พูดภาษาอะไรก็ตาม มุสลิมต้องให้เกียรติยกย่องบรรดาศาสดาเหล่านั้นอย่างเท่าเทียมกันหมด ศาสดามุฮัมมัดเป็นศาสดาสุดท้ายของโลก ที่มารับภารกิจต่อจากศาสดาก่อน ๆ ที่เชิญชวนมนุษย์ให้รู้จักพระเจ้าและดำเนินชีวิตตามคำสอนของพระองค์ ศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวว่าหลังจากท่าน แล้วจะไม่มีศาสดาเกิดขึ้นมาอีก เพราะถือว่าท่านได้นำคำสอนหรือแนวทางแห่งการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์มาสู่มนุษยชาติแล้ว
ศรัทธาในวันสุดท้ายและการเกิดใหม่ในวันปรโลก อิสลามถือว่าโลกที่เราอาศัยอยู่นี้เป็นเพียงวัตถุธาตุชิ้นหนึ่งซึ่งต้องมีการแตกสลายเหมือน ๆกับวัตถุหรือสิ่งอื่น ๆแน่นอนโลกของเราต้องถึงจุดจบไม่วันใดก็วันหนึ่งเมื่อโลกแตกสลายแล้วทุกสิ่งทุกอย่างก็ดับสิ้นนอกจากอัลลอฮ์เท่านั้นที่ยังดำรงอยู่และมนุษย์ทั้งหลายก็จะไปเกิดใหม่อีกครั้งแต่จะไปเกิดสภาพใดนั้นไม่มีมนุษย์ผู้ใดรู้ได้การเกิดใหม่อีกครั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้มนุษย์รับผลตอบแทนตามที่เขาได้กระทำไว้เมื่อครั้งที่เขายังมีชีวิตอยู่ผลงานของเขาในโลกนี้จะเป็นตัวกำหนดว่าเขาจะเป็นผู้ได้รับสวรรค์หรือนรกไม่มีใครช่วยใครได้ไม่มีการกลับชาติมาเกิดถ้าเราไม่เชื่อในเรื่องการเกิดใหม่แล้วสังคมของเราก็จะสับสนปั่นป่วนวุ่นวายหาความสงบสุขไม่ได้ดังเช่น พวกอรับในยุคญาฮีลียะฮ(ยุคแห่งความโง่เขลา งมงาย)ซึ่งเชื่อว่าเมื่อพวกเขาเกิดมาแล้วก็ตายไปคือ ตายแล้วสูญเหมือนดังสัตว์อื่น ๆความดีความชั่วที่เขาได้กระทำมานั้นไม่มีการตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น ดังนั้นพวกเขาจึงใช้ชีวิตความเป็นอยู่ไปในทางชั่วช้าทุกรูปแบบจนสร้างความเสียหายปั่นป่วนให้แก่สังคมเป็นอย่างยิ่ง
ศรัทธาในกฎกำหนดสภาวะของพระองค์ คือต้องศรัทธาว่าสรรพสิ่งทั้งหลายในสากลจักรวาลนี้ล้วนเกิดขึ้นมาและดำเนินไปตามกฎเกณฑ์ของอัลลอฮ์ทั้งสิ้นเช่น ไฟมีคุณสมบัติร้อนน้ำไหลลงจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำแพะ แกะ วัว ควาย สุนัขออกลูกเป็นตัว นก เป็ด ไก่ออกลูกเป็นไข่ต้นมะม่วงต้องออกลูกเป็นมะม่วงต้นกล้วยจะออกลูกเป็นแอปเปิ้ลไม่ได้ทุก ๆ ชีวิตต้องตายนี่คือกฎกำหนดสภาวะของอัลลอฮ์หมายความว่ากฎธรรมชาติทั้งหลายนั้นอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงสร้างและควบคุมมันส่วนการกำหนดสภาวะในหลักจริยธรรมความดี- ความชั่วนั้นพระองค์จะเป็นผู้บอกเราเองว่าอะไรคือความดีและอะไรคือความชั่วแต่สิ่งที่ใช้วัดความดีความชั่วนั้นในอิสลามถือว่ามันไม่ได้มาจากมติบุคคลหรือมติของมหาชนมิได้อาศัยขนบธรรมเนียมประเพณีหรือความนิยมหรือสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องกำหนดเพราะถ้ามนุษย์เป็นผู้กำหนดความดีความชั่วแล้วมาตรฐานความดีของมนุษย์ก็จะแตกต่างกัน

การที่มนุษย์ได้กระทำความดีความชั่วนั้นอัลลอฮ์ไม่ได้เป็นผู้ลิขิตชะตาชีวิตของเขาไว้ล่วงหน้ามาก่อนเลยสิ่งเหล่านี้มันขึ้นอยู่กับการกระทำหรือการตัดสินใจของมนุษย์เองเพราะอัลลอฮ์ได้ให้ความคิดอิสระเสรีแก่เขาในการที่เขาจะเลือกทางเดินของเขาเองดังนั้นเหตุการณ์ต่าง ๆที่สับสนวุ่นวายอยู่ในบ้านเมืองหรือสังคมนั้นมันเกิดขึ้นมาจากน้ำมือของมนุษย์ด้วยกันเองทั้งสิ้นมิใช่เกิดขึ้นจากการกำหนดหรือการลิขิตของพระผู้เป็นเจ้าความจน ความรวย ความทุกข์ทรมานความทุกข์ยาก ความขมขื่นที่เกิดแก่มนุษย์นั้นก็เนื่องมาจากผู้ปกครองขาดความรับผิดชอบนั่นเองการที่อัลลอฮ์ไม่ได้เป็นผู้ขีดชะตากรรมของผู้ใดล่วงหน้ามานั้นก็เพื่อที่จะให้มนุษย์ได้มีความรับผิดชอบในการงานของตนเองที่ได้กระทำไว้

รับข้อมูลจาก "http://www.muslimcampus.com/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B2"
หมวดหมู่: คู่มือมุสลิมเบื้องต้น

อัลกุรอาน


[[ไฟล์:Al-quran.jpg|200px|thumb|right|พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน]]
พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานทะยอยประทานมาให้แก่ท่านนบีมุฮัมมัด นับตั้งแต่ท่านได้รับวะหฺยุ (วิวรณ์) ครั้งแรก ขณะที่ท่านอายุ 40 ปี จนถึงอายุ 63 ปี รวมเวลาของการประทานอัลกุรอานทั้งหมด 23 ปี ก่อนที่ท่านจะเสียชีวิต (วะฟาต) ท่านได้อ่านอัลกุรอานทั้งหมดต่อหน้าญิบรีลในเดือนรอมฎอนสุดท้ายของชีวิตท่าน 2 ครั้ง ซึ่งเดิมแล้วท่านจะอ่านต่อหน้าญิบรีลทุกๆปีในเดือนรอมฎอน 1 ครั้ง และการอ่านครั้งสุดท้ายนี้ท่านได้อ่านอัลกุรอานเรียงตามอายะฮฺเหมือนดังรูปเล่มอัลกุรอานที่เราได้อ่านกันทุกวันนี้ นอกจากนี้ญิบรีลยังได้สอนการอ่านอัลกุรอานทั้ง 7 สำเนียงอีกด้วย

เพราะฉะนั้นอายะฮฺแต่ละอายะฮฺจึงได้รับการตรวจสอบจากท่านนบียฺเองโดยตรง บรรดาเศาะฮาบะฮฺจำนวนหลายร้อยคนที่จดจำอัลกุรอานทั้งเล่ม อย่างไรก็ดีอัลกุรอานยังไม่มีการจัดพิมพ์ให้อยู่ในเล่มเดียวเหมือนปัจจุบัน เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีกระดาษและระบบการพิมพ์ บรรดาเศาะฮาบะฮฺแต่ละท่านก็มีการรวบร่วมอัลกุรอานกันเป็นการส่วนตัว ซึ่งแน่นอนว่ามีการจัดลำดับก่อนหลังที่ไม่ตรงกัน

ภายหลังท่านนบีได้จากไปท่านอุมัรได้สนับสนุนให้ท่านอบูบักร (632-634) คอลีฟะฮฺแห่งอิสลาม รวบรวมอัลกุรอานให้อยู่ในเล่มเดียวกันอย่างเป็นสากล ให้เป็นไปตามลำดับที่ท่านนบีได้อ่านให้ญิบรีลก่อนจากโลกนี้ไป เนื่องจากว่าได้มีเศาะฮาบะฮฺที่จำอัลกุรอานทั้งเล่มเสียชีวิตไปในสงครามยะมามะฮฺหลายท่าน ท่านอบูบักรได้มอบงานนี้ให้กับซัยดฺ บิน ษาบิต เศาะฮาบะฮฺที่เชี่ยวชาญอัลกุรอาน ทำการรวบรวมอัลกุรอานตามที่ท่านนบีได้อ่านเป็นครั้งสุดท้ายกับญิบรีล อัลกุรอานฉบับนี้ได้รับการเก็บรักษาไว้ที่บ้านของฮับเซาะฮฺ บุตรสาวของท่านอุมัร

ในสมัยของท่านเคาะลีฟะฮฺคนที่สามแห่งอิสลามคือท่านอุษมาน บิน อัฟฟาน รัฐอิสลามได้ขยายตัวออกไปกว้างไกล ท่านจึงต้องการที่จะทำการคัดลอกต้นฉบับของอัลกุรอานส่งไปตามหัวเมืองต่างๆ เพื่อการเผยแผ่อัลกุรอานที่เป็นระบบ มีการจัดเรียงลำดับซูเราะฮฺอย่างถูกต้อง รวมไปถึงการออกเสียงที่สอดคล้องกันทั้งรัฐ ท่านได้มอบงานนี้ให้ซัยดฺ บิน ษาบิต และเศาะฮาบะฮฺกลุ่มหนึ่งทำการคัดสำเนาจากอัลกุรอานของท่านหญิงฮับเซาะฮฺส่งออกไปทั่วโลกมุสลิม ต้นฉบับชุดนี้บางเล่มยังคงมีอยู่ในโลกมุสลิม

เมื่อเราทราบประวัติความเป็นมาของอัลกุรอานโดยย่อ เราก็พอจะเห็นเป็นเค้าโครงว่าอัลกุรอานได้รับการบันทึกเป็นเล่มอย่างเคร่งครัด แต่อย่างไรก็ตามวิธีการเด่นที่รักษาอัลกุรอานไว้ได้อย่างไม่มีใครเถียงนั่นก็คือ "การท่องจำ" ที่ดำเนินผ่านศตวรรษแล้วศตวรรตเล่า บุคคลแรกที่จำอัลกุรอานทั้งเล่มก็คือ ท่านนบีมุฮัมมัด ซึ่งท่านได้รับอัลกุรอานทะยอยลงมา 22.5 ปี และคนรุ่นแรกที่จดจำต่อจากท่านก็คือบรรดาเศาะฮาบะฮฺจำนวนหลายร้อยคน จากนั้นก็ถ่ายทอดสู่คนรุ่นต่อไป จนถึงทุกวันนี้ ชาวมุสลิมแทบทุกคนจะจำอัลกุรอานได้บางส่วน และมีบางคนสามารถจดจำได้ตลอดทั้งเล่ม ฉะนั้นเป็นที่ยอมรับกันว่าวิธีการจดจำอัลกุรอานแบบท่องจำ กลายเป็นวีธีการหลักในการรักษาอัลกุรอานเอาไว้ตลอดระยะเวลาของประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา

ความมหัศจรรย์แห่งการท้าทาย อัลกุรอานเป็นอายะฮฺที่ถูกประทานมาจากอัลลอฮฺ ชาวมุสลิมเองได้พบหลักฐานที่นำมาพิสูจน์เรื่องนี้มากมาย ซึ่งเป็นที่ภูมิใจแก่ชาวมุสลิมเป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ในทางภาษาศาสตร์ ภาษาที่อัลกุรอานใช้นั้นสั้นแต่มีความหมายที่ชัดเจน การนำคำที่ง่ายๆแต่งดงามมาใช้สื่อความ ลีลาที่เร่งเร้าและแทงทะลุเข้าสู่จิตใจของมนุษย์เป็นรูปแบบพิเศษในการใช้ภาษา การเริ่มต้นการลงท้าย การวางตำแหน่งของคำ เป็นรูปแบบที่งดงามไร้ที่ติ นี่เป็นสิ่งที่ประจักษ์ในหมู่ผู้เชี่ยวชาญภาษาอาหรับ

และเมื่ออัลกุรอานได้บันทึกเรื่องใดเรื่องนั้นเป็นความเป็นจริงเสมอ ซึ่งถูกพิสูจน์มาแล้วทั้งสิ่งที่ผ่านมาและสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลัง เช่น

และบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาเหล่านั้นไม่เห็นดอกหรือว่า แท้จริงชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินนั้นแต่ก่อนนี้รวมติดเป็นอันเดียวกัน แล้วเราได้แยกมันทั้งสองออกจากกัน
และเราได้ทำให้ทุกสิ่งมีชีวิตมาจากน้ำ ดังนั้นพวกเขาจะยังไม่ศรัทธาอีกหรืออัล อัมบียาอฺ 21.30)

โอ้ชุมนุมแห่งญินและมนุษย์ทั้งหลาย เอ๋ย! หากพวกเจ้ามีความสามารถที่จะผ่านไปให้พ้นขอบฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินนี้ได้ ก็จงผ่านไปให้พ้นเถิด
แต่ว่าพวกเจ้าไม่สามารถที่จะผ่านไปให้พ้นได้เว้นแต่ด้วยพลัง (พระบัญชาและพระประสงค์ของอัลลอฮฺ) (อัร เราะมาน 55.33)

ที่ต้องสังเกตเป็นพิเศษก็คือ นบีมุฮัมมัดนั้นไม่เคยศึกษาเล่าเรียน หรือผ่านสถาบันใดๆมาเลย เป็นผู้นำคัมภีร์เล่มนี้มาประกาศ จึงไม่สามารถสันนิษฐานว่าท่านเป็นคนประพันธ์สิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้ ด้วยเหตุนี้เองที่อัลกุรอานเป็นสิ่งหลักที่ใช้ยืนยันว่าท่านนบีมุฮัมมัดเป็นผู้นำสาส์นมาจากผู้เป็นเจ้า

และหากปรากฏว่าพวกเจ้าอยู่ในความแคลงใจใด ๆ จากสิ่งที่เราได้ลงมาแก่บ่าวของเราแล้ว ก็จงนำมาสักซูเราะฮฺหนึ่งเยี่ยงสิ่งนั้น และจงเชิญชวนผู้ที่อยู่ในหมู่พวกเจ้าอื่น
นอกจากอัลลอฮฺหากพวกเจ้าเป็นผู้พูดจริง (อัล บะเกาะเราะฮฺ 2.23)

หรือพวกเขากล่าว่า "เขา (มุฮัมมัด) เป็นผู้ปั้นแต่งขึ้น" จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) "พวกท่านจงนำกลับมาสักบทหนึ่งเยี่ยงนั้น และจงเรียกร้องผู้ที่พวกท่านสามารถนำมาได้
นอกจากอัลลอฮ์ หากพวกท่านเป็นผู้สัจจริง" (ยุนุส 10.38)

หรือพวกเขากล่าวว่า "เขา (มุฮัมมัด) ได้ปลอมแปลงอัลกุรอานขึ้นมา" (มุฮัมมัด) จงกล่าวเถิด "ดังนั้น พวกท่านจงนำมาสักสิบซูเราะฮ์
ที่ถูกปลอมแปลงขึ้นให้ได้อย่างอัลกรุอาน และพวกท่านจงเรียกผู้ที่มีความสามารถในหมู่พวกท่านอื่นจากอัลลอฮ์ (ให้มาช่วย) ถ้าพวกท่านเป็นพวกสัตย์จริง (ฮูด 11.13)

จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด แน่นอนหากมนุษย์และญินรวมกันที่จะนำมาเช่นอัลกุรอานนี้ พวกเขาไม่อาจจะนำมาเช่นนั้นได้ และแม้ว่าบางคนในหมู่พวกเขา
เป็นผู้ช่วยเหลือแก่อีกบางคนก็ตาม (อัล อิสรออฺ 17.88)

พวกเขาไม่พิจารณาดูอัลกุรอานบ้างหรือ ? และหากว่า อัลกุรอานมาจากผู้ที่ไม่ใช่อัลลอฮฺแล้วแน่นอนพวกเขาก็จะพบว่าในนั้นมีความขัดแย้งกันมากมาย (อัล นิสาอฺ 4.82)

แท้จริงเราได้ให้ข้อตักเตือน (อัลกุรอาน) ลงมา และแท้จริงเราเป็นผู้รักษามันอย่างแน่นอน (อัล อิจญฺ 15.9)

หากพวกเขาไม่ตอบสนองการเรียกร้องของพวกท่านก็จงรู้เถิดว่า แท้จริงอัลกรุอานถูกประทานลงมาด้วยวะฮีย์ของอัลลอฮ์ และนั่นคือไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์
แล้วพวกเจ้า (มุชริกีน) ยังมินอบน้อมอีกหรือ?" (ฮูด 11.13-14)


คัมภีร์เปลี่ยนโลก แม้คัมภีร์อัลกุรอานจะเป็น "สื่อ" ที่สำคัญที่สุดในการพิสูจน์ความแท้จริงของอิสลามว่าเป็นศาสนาที่ถูกประทานมาจากผู้เป็นเจ้า แต่อย่างไรก็ตาม คัมภีร์นี้ไม่ได้มาเพียงแค่ให้คนอ่านตีความไปวันๆหนึ่ง แต่มันเพื่อนำมนุษยชาติไปสู่แนวทางที่ถูกต้อง

และคัมภีร์อันชัดแจ้งนั้นได้มายังพวกเจ้าแล้ว ด้วยคัมภีร์นั้นแหละ อัลลอฮ์จะทรงแนะนำผู้ที่ปฏิบัติตามความพึงพระทัยของพระองค์ ซึ่งบรรดาทางแห่งความปลอดภัย
และจะทรงให้พวกเขาออกจากความมืดไปสู่แสงสว่างด้วยอนุมัติของอัลลอฮ์ และจะทรงแนะนำพวกเขาสู่ทางอันเที่ยงตรงอัล มาอิดะฮฺ 5.15-16)

ท่านเราะซูลุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า อัลลอฮฺทรงยกประชาชาติต่างๆเพราะคัมภีร์เล่มนี้ และได้ทรงทำให้ชาติอื่นๆอีกตกต่ำก็เพราะคำภีร์เล่านี้ (อัด ดะเราะมียฺ หมายเลข 3231)

==ดูเพิ่มเติม==
* [[อัลกุรอานแปลไทย]]

==อ้างอิง==
* [http://www.muslimthai.com มุสลิมไทย]

[[หมวดหมู่:คู่มือมุสลิมเบื้องต้น]]

อัลลอฮฺ

คำว่า “อัลลอฮฺ”เป็นพระนามของพระเจ้าที่มาจากสำนวนภาษาอาหรับซึ่งมีความเก่าแก่พอๆกับภาษาฮิบรูและภาษาซุรยานี เมื่อศึกษาความหมายในภาษาต่างๆก็คล้ายกัน ซึ่งความหมายตามหลักการอิสลามนั้นมีความเกี่ยวข้องกับคุณลักษณะของพระผู้เป็นเจ้า ต่างจากคำว่า “พระเจ้า”

ความหมายของคำว่า อัลลอฮฺ อุละมาอฺมี 2 ทัศนะคือ

==ทัศนะที่ 1 อิลาฮฺ -> อัลลอฮฺ==

اَلْ + إِلَه --< اَلْـإِلَه --< الله

อัล-อิลาฮฺ หมายถึง พระเจ้า แต่เนื่องจากคำนี้เป็นศัพท์ทางศาสนา สำหรับมุสลิมจะหมายถึง ผู้เป็นเจ้าของโลก ผู้สร้างมนุษย์ ผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่าง

นักประวัติศาสตร์กล่าวว่าผู้ที่พูดภาษาอาหรับอย่างถูกต้องคนแรกคือท่านนบีอิสมาอีล ก่อนหน้าท่านก็มีชาวเผ่าญุรฮุมที่ใช้ภาษาอาหรับโบราณกัน เดิมท่านนบีอิสมาอีลไม่ได้ใช้ภาษาอาหรับเพราะท่านมาจากบาบิลหรือบาบิโลน(เป็นดินแดนที่ยิ่งใหญ่แถบอิรัก) ท่านนบีอิบรอฮีม(บิดาของท่าน)ได้อพยพจากอิรักไปชาม อียิปต์ แล้วกลับมาเมืองชาม และได้สมรสกับภรรยาสองท่าน ท่านแรกคือท่านหญิงซาเราะฮฺ แต่ไม่มีลูก ท่านนบีอิบรอฮีมจึงแต่งงานกับท่านหญิงฮาญัร(ทาสจากอียิปต์) และนางได้ให้กำเนิดลูกชายชื่ออิสมาอีล จากนั้นอัลลอฮฺได้ทรงบัญชาให้นบีอิบรอฮีมนำท่านหญิงฮาญัรและลูกอพยพไปอยู่มักกะฮฺ แล้วนบีอิบรอฮีมก็กลับไปเมืองชาม มักกะฮฺในสมัยนั้นเป็นทะเลทรายไม่มีแหล่งน้ำ อัลลอฮฺจึงประทานน้ำซัมซัมมา อาหรับเร่ร่อนก็พากันมาอาศัยอยู่บริเวณนั้น ซึ่งเผ่าแรกที่มาอยู่คือญุรฮุม ภายหลังท่านนบีอิสมาอีลแต่งงานกับสตรีจากเผ่าญุรฮุมและท่านก็ได้เริ่มใช้ภาษาอาหรับ ชาวอาหรับในเกาะอาหรับทั้งหมดก็ได้ใช้ภาษาที่มาจากศาสนาของนบีอิบรอฮีมและนบีอิสมาอีล ฉะนั้นรากศัพท์ของภาษาอาหรับจึงมีความเกี่ยวข้องกับศาสนา

คำว่า อิลาฮฺ ในความเชื่อของอาหรับสมัยก่อนก็คืออัลลอฮฺ หมายถึงผู้เป็นเจ้าของโลก ผู้สร้างมนุษย์ ชั้นฟ้า แผ่นดิน สร้างทุกสรรพสิ่ง ซึ่งแตกต่างจากความหมายของคำว่า พระเจ้า ที่คนทั่วไป(ต่างศาสนิก)เข้าใจกัน เพราะไม่สามารถสื่อความหมายของ อิลาฮฺ ได้ชัดเจน เราจึงต้องศึกษาความหมายของคำว่า อิลาฮฺ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้

==ทัศนะที่ 2 อะ-ลิ-ฮะ -> อัลลอฮฺ==

มาจากรากศัพท์ อะลิฮะ ( أَلِهَ ) หมายถึง รัก เพราะฉะนั้นคำว่า อัลลอฮฺ จะหมายถึง (พระเจ้า)ที่ถูกรัก ซึ่งสร้างความผูกพันที่มากกว่าความศรัทธาคือความรัก เราลองกล่าว อัลลอฮฺ โดยนึกถึงความหมายว่า ที่รักของเรา ผู้ทรงยิ่งใหญ่ แทนที่จะเชื่อแค่ว่าอัลลอฮฺคือพระเจ้า ในเมื่ออัลลอฮฺเป็นที่รักของเรา จึงทำให้เกิดหน้าที่ต่อพระองค์


เราเห็นมนุษย์ที่รักกันคุยโทรศัพท์กันนานๆ หมดเงินและเวลาไปมากมายกับการแสดงความรัก แล้วกับอัลลอฮฺเราปฏิบัติอย่างไร ? เรารักอัลลอฮฺอย่างไร ? การจะตอบคำถามนี้ได้ก็ต้องศึกษาความหมายของคำว่า อัลลอฮฺ ตามหลักอะกีดะฮฺของผู้ศรัทธา ยิ่งศึกษาเราก็จะยิ่งรู้ว่าคำว่า อัลลอฮฺ ในมุมุมองของอิสลามมีเนื้อหาที่ต่างจากศาสนาอื่น ยิ่งศึกษามากก็ยิ่งรู้มาก อันเป็นความสำคัญของการศึกษาวิชาอะกีดะฮฺ(เตาฮีด)

==อ้างอิง==
* เรียบเรียงจากการบรรยายของ [[เชคริฎอ อะหมัด สมะดี]]

[[หมวดหมู่:คู่มือมุสลิมเบื้องต้น]]

มุสลิม

มุสลิม คือผู้นับถือศาสนาอิสลาม คำว่า "มุสลิม" เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับ مسلم แปลว่า ผู้สิโรราบ ผู้ภักดี มนุษย์ทุกคน ไม่จำกัดเผ่าพันธ์ อายุ เพศ และวรรณะ สามารถที่จะเป็นมุสลิมได้โดยการปฏิญาณตนว่า "อัชหะดุ อัลลา อิลาหะ อิลลัลลอหฺ วะอัชหะดุ อันนะ มุฮัมมะดัร รอซูลุลลอหฺ ข้าพเจ้าให้คำปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอหฺ และข้าพเจ้าให้คำปฏิญาณว่า มุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอหฺ" หลังจากนั้นผู้นั้นจะต้องขริบปลายหนังอวัยวะเพศหากเป็นเพศชาย เรียกว่า การทำสุนัต และปฏิบัติตามศาสนวินัยต่าง ๆ ของอิสลาม(ทั้งวาญิบ และ ฮะรอม)


==คำปฏิญาณตน==
การปฏิญาณตนเข้ารับมุสลิมเป็นการประกาศตนว่ามีความศรัทธาในศาสนาอิสลามและพร้อมจะปฏิบัติตามหลักศาสนา ผู้กล่าวด้วยความจริงใจและมีศรัทธามั่นคง พร้อมจะปฏิบัติตามหลักศาสนา ถือว่าเป็นมุสลิมแล้ว ทั้งนี้การกล่าวปฏิญาณนิยมกล่าวต่อหน้าผู้รู้ทางศาสนาและมีพยานอื่นอย่างน้อย 2 คน ทั้งนี้ ผู้รู้จะได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ถูกต้องได้ ผู้ปฏิญาณตนที่เป็นชายเมื่อปฏิญาณแล้วต้องขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศด้วย

คำปฏิญาณตนเข้ารับอิสลามคือการกล่าวคำเป็นภาษาอาหรับว่า
"อัชฮะดุ อัลลา อิลาหะ อินลัลลอหฺ วะอัชฮะดุ อันนะ มุฮัมมะดัร รอซูลุลลอหฺ"
มีความหมายในภาษาไทยว่า
"ข้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอหฺ และข้าขอปฏิญาณว่า นบีมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตแห่งพระองค์"


==อ้างอิง==
* บุญมี แท่นแก้ว.ประวัติศาสนาต่างๆและปรัชญาธรรม.โอเดียนสโตร์.2546

อิสลาม

==ศาสนาอิสลามคืออะไร?==
ศาสนาอิสลามคือการยอมรับและปฏิบัติตามโอวาท คำสอนของพระผู้เป็นเจ้าซึ่งพระองค์ทรงเปิดเผยต่อศาสนทูตองค์สุดท้ายของพระองค์ นั่นคือ [[มุฮัมมัด]] นั่นเอง.

'''อิสลาม'''แตกต่างกับความศรัทธาชนิดอื่น เริ่มจากที่ชื่อของศาสนานี้ คือ "อิสลาม" ไม่ได้มาจากชื่อผู้ก่อตั้ง เช่น พุทธศาสนาและคริสตศาสนา หรือมาจากชื่อเผ่าพันธ์และเชื้อชาติ เช่น ศาสนายิว หรือเกี่ยวข้องกับแผ่นดิน หรือชื่อของดินแดน เช่น ศาสนาฮินดู

หนังสือหลายเล่มเรียกอิสลามว่า ศาสนาโมหัมมัด (Mohamadanism) คงรับมาจากตำราฝรั่ง หรือเรียกคนมุสลิมว่า พวกโมหัมมัด หรือที่บ้านเราเรีกว่า พวกแขก นี่เป็นความเข้าใจผิด ความสับสนพวกนี้มีอีกหลายเรื่องหลายประเด็น เป็นเหตุให้ลดทอนความหมายที่ถูกต้องอิสลามลงไป และทำให้อิสลามคลาดเคลื่อนไปจากความเข้าใจของบุคคลทั่วไป

ในอิสลามนั้นถือว่าใครที่ยอมรับ[[อัลลอฮฺ]]เป็นผู้สร้าง เป็นผู้เป็นเจ้า สรรพสิ่ง เขาก็สามารถที่จะเป็น "[[มุสลิม]]" คนหนึ่งได้ ไม่ว่าคนนั้นจะมีเชื้อชาติใด เผ่าพันธุ์ใหนก็ตาม

ส่วน "อิสลาม" ชื่อที่ใช้เรียกศรัทธานี้ที่ถูกประทานมาจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงสร้าง ดังมีปรากฏอยู่ใน[[อัลกุรอาน]] คัมภีร์ที่พระองค์ประทานมาว่า
"วันนี้ ฉันได้ทำให้ศาสนาของสูเจ้าครบครันสำหรับสูเจ้าแล้ว และได้ให้ความโปรดปรานของฉันครบถ้วนแก่สูเจ้า และฉันได้พึงใจ (เลือก) อิสลาม เป็นศาสนาสำหรับสูเจ้า"
(อัล-มาอิดะฮฺ 5:3)

==แนวคิดพื้นฐาน==


แนวความคิดอิสลามขั้นพื้นฐาน ซึ่งหากถูกละเลยไป ก็จะไม่มีวันเข้าใจอิสลามได้เลย นั่นคือ อิสลามถือว่า สรรพสิ่งทั้งหลายถูกสร้างโดยผู้เป็นเจ้า ซึ่งอิสลามเรียกผู้เป็นเจ้าที่เที่ยงแท้นี้ในภาษาอาหรับว่า อัลลอฮฺ เป็นผู้อภิบาล และผู้ทรงอำนาจสูงสุด และทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินและเป็นไปตามกฎของพระองค์

เบื้องหลังของสรรพสิ่ง จึงมีเจตจำนงหนึ่งบริหารจัดการมัน มีอานาจหนึ่งที่ขับเคลื่อนมัน มีกฎหนึ่งที่คอยกำหนดควบคุมมัน จักรวาลทั้งหมด จึงเป็นสิ่งที่เชื่อฟังต่อเจตจำนงของพระเจ้า ด้วยเหตุจากการเชื่อฟังและการยอมจำนนนี้ ทำให้จักรวาลดำเนินต่อเนื่องไปได้ในรูปแบบที่ประสานกลมกลืนอย่างสันติ

เพราะฉะนั้นแนวคิดรากฐานของอิสลามจึงเริ่มจากเอกภาพของผู้เป็นเจ้า นั่นหมายความหมายความว่า สรรพสิ่งและชีวิตต่างๆนั้นมาจากแหล่งกำเนิดเดียว และต่างตกอยู่ภายใต้การบริหารของอำนาจเดียว ดำรงอยู่ท่ามกลางเป็นเอกภาพ ประสานกลมกลืนเข้าด้วยกันอย่างปราณีตงดงามยิ่ง

นี่คือแนวคิดหลัก ซึ่งเป็นแนวคิดที่ก่อขึ้นเป็นความเชื่อ อุดมการณ์ และระบอบอิสลามอื่นๆ ที่ถูกกล่าวไว้ในอัล-กุรอานตลอดทั้งเล่มก็ว่าได้ ดังตัวอย่างปรากฎในอัล-กุรอานว่า "และบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาเหล่านั้นไม่เห็นดอกหรือว่า แท้จริงชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินนั้นแต่ก่อนนี้รวมติดเป็นอันเดียวกัน แล้วเราได้แยกมันทั้งสองออกจากกัน และเราได้ทำให้ทุกสิ่งมีชีวิตมาจากน้ำ ดังนั้นพวกเขาจะยังไม่ศรัทธาอีกหรือ" (อัลอัมบิยาอฺ 21.30)

"หากในชั้นฟ้าและแผ่นดินมีพระเจ้าหลายองค์ นอกจากอัลลอฮ์แล้ว ก็จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างแน่นอน อัลลอฮ์พระเจ้าแห่งบัลลังก์ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งที่พวกเขาเสกสรรปั้นแต่งขึ้น" (อัลญุมุอะฮฺ 21:22)

"พระผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งเจ็ดเป็นชั้น ๆ เจ้าจะไม่เห็นแต่อย่างใดในความไม่ได้สัดส่วนในการสร้างของพระผู้ทรงกรุณาปรานี ดังนั้นเจ้าจงหันกลับมามองดูซิ เจ้าเห็นรอยร้าวหรือช่องโหว่บ้างไหม?" (อัลมุลกฺ 67.3)

ฉะนั้น สรรพสิ่งและชีวิตในอิสลามจึงถูกเน้นถึง "ความกลมกลืน" กันบน "อำนาจเดียว" ทุกสิ่งเดินไปบน "การยอมจำนน" อย่างสิ้นเชิงต่ออำนาจนั้น

"ชั้นฟ้าทั้งเจ็ดและแผ่นดินและที่อยู่ในนั้นสดุดีสรรเสริญแด่พระองค์ และไม่มีสิ่งใดเว้นแต่จะสดุดีด้วยการสรรเสริญพระองค์แต่ว่าพวกเจ้าไม่เข้าใจคำสดุดีของพวกเขาแท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงหนักแน่น ผู้ทรงอภัยเสมอ" (อัลอิสรออ์ 17.44)

"อื่นจากศาสนาของอัลลอฮ์กระนั้นหรือที่พวกเขาแสวงหา? และแด่พระองค์นั้น ผู้ที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลาย และแผ่นดินได้นอบน้อมกัน ทั้งด้วยการสมัครใจ และฝืนใจ และยังพระองค์นั้นพวกเขาจะถูกนำกลับไป" (อัรเราะอฺ13.15)


==ความหมายอิสลาม==


ภายหลังจากเราได้ทำความเข้าใจแนวคิดหลักของอิสลามแล้ว เราสามารถทำความเข้าใจความหมายของอิสลามได้ทันที เพราะความหมายของคำว่า "อิสลาม" นั่น ผูกติดอยู่กับแนวคิดข้างต้นนั่นเอง

เริ่มจากความหมายทางภาษากันก่อน คำว่า "อิสลาม" มาจากรากศัพท์สามอักษร คือ ซีน ลาม มีม หมายถึง

ก) ยอมจำนน ยอมรับ ยอมสยบ ให้แก่สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เหนือกว่า ดังนั้นประโยคที่ว่า อัสละละ อัมเราะฮุ อิลา อัลลอฮฺ จึงหมายถึง เขามอบหมายการงานของเขาไปยังอัลลอฮฺ หรือเขายอมรับเจตนารมณ์ของอัลลอฮฺโดยดุษฎี คำว่า อัสสะมะ ตัวเดียวกันนี้ยังหมายถึง เขามอบหมายตัวเขาไปสู่เจตนารมณ์ของอัลลอฮฺ หรือเขาเป็นมุสลิม ก็ได้

ข) ปรองดองกับสิ่งอื่น หรือสร้างสันติภาพ (โปรดดู Hans Wehr, Dictionary of Modern Arabic Written Wiesbadane : Harrassowitz ,1971p. 424-425.)

ถ้าเข้าใจความหมายทางภาษา ก็สามารถเข้าใจความหมายทางหลักการได้ไม่ยาก ความหมายอิสลามทางหลักการนั้นได้รับจากความเข้าใจที่มาจากอัล-กุรอาน อัซ-ซุนนะฮฺ และความเข้าใจอย่างเอกฉันท์ของศิษย์ของท่านนบีฯหรือบรรดาเศาะฮาบะฮฺนั่นเอง นั่นคืออิสลาม หมายถึงการยอมจำนน การอ่อนน้อม และการเชื่อฟัง ดังนั้น อิสลามคือระบอบที่ยืนหยัดอยู่บนหลักการยอมจำนน และเชื่อฟังต่ออัลลอฮฺ นี้คือสาเหตุที่มันถูกเรียกว่าระบอบหรือแนวทางแห่งอิสลาม

และในอีกด้านหนึ่ง คำว่าอิสลาม คือ "สันติภาพ" หมายถึงผู้ใดต้องการที่จะรับเอาสันติภาพที่แท้จริงทั้งทางภายนอก และทางความรู้สึกได้ ก็มีเพียงแต่โดยวิธีการยอมจำนน และเชื่อฟังต่ออัลลอฮฺเท่านั้น ตามที่กล่าวนี้ก็คือ ชีวิตที่เชื่อฟังอัลลอฮฺจะนำมาซึ่งสันติภาพของจิตใจ และจะขยายสันติภาพไปสู่ด้านอื่นๆของชีวิตต่อไป

เพราะฉะนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่ดำเนินไปตามเจตนารมณ์ของผู้เป็นเจ้าจึงเรียกได้ว่าได้เข้าสู่ความเป็นอิสลาม หรือเรียกเป็นภาษาอาหรับว่า "มุสลิม" หมายถึง ผู้หรือสิ่งที่ยอมจำนนต่ออัลลอฮฺและเป็นผลให้ผู้หรือสิ่งนั้นดำเนินไปบนแนวทางที่สันติ

กล่าวตามความหมายนี้ก็คือ ทุกสรรพสิ่งเป็นมุสลิม เพราะฉะนั้นการที่มนุษย์คนใดเลือกเป็นมุสลิม ก็คือมนุษย์คนนั้นได้เลือกวิถีทางเดียวกับทุกสรรพสิ่งที่ดำเนินและเคลื่อนไหวไปรอบๆตัวเขานั้นเอง อัล-กุรอานจึงได้เรียกร้องต่อผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺให้เข้าสู่สันติภาพนี้พาตัวเองเข้าสู่สันติภาพทั้งระบอบ

"โอ้บรรดาผู้ศรัทธาจงเข้าสู่สันติภาพทั้งหมด" คำว่าซิลมฺ ที่แปลว่า "สันติภาพ" ในที่นี้หมายถึง อิสลาม หรือการยอมจำนนต่ออัลลอฮฺในทุกแง่ทุกมุมของชีวิต เราจึงสามารถอธิบายได้เช่นกันว่า อิสลาม คือระบอบและแนวทางการดำเนินชีวิตที่ถูกประทานจากผู้เป็นเจ้าสู่มุฮัมมัด ผู้เป็นศาสดาท่านสุดท้าย

อิสลาม คือประมวลในสิ่งที่อัลลอฮฺประทานมาให้ทุกแง่ทุกมุมของชีวิต ไม่ว่าเป็นหลักศรัทธา กฎหมาย การเมือง แนวทางเศรษฐกิจ เป็นต้น ทั้งหมดนั้นถูกประทานมาเพื่อให้มนุษย์ทั้งหมดยอมรับ ยอมจำนน และปฏิบัติตามนั่นเอง

เพราะฉนั้น อิสลามจึงเป็นระบอบที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตทั้งหมด อิสลามคือการให้คำตอบต่อปัญหาชีวิตทั้งหมดสามประเด็น นั่นคือ เรามาจากไหน? เรามาทำไม? และเราจะไปไหน? คำตอบทั้งสามคำถามนี้อยู่ในเนื้อหาคำสอนทั้งหมดของอิสลาม

[[หมวดหมู่:คู่มือมุสลิมเบื้องต้น]]

WELLCOME ALL MUSLIM


ทุกคนรู้ไม่เท่ากัน บางคนรู้ในสิ่งที่หลายคนไม่รู้ หลายคนมีข้อมูลดีๆที่อยากจะเผยแพร่ ซึ่งอาจจะช่วยให้เกิดประโยชน์กับมุสลิมท่านอื่น ผมคนหนึ่งล่ะ และจะพยายามเท่าที่ทำได้นะครับ