Saturday, September 26, 2009

การกล่าวชะฮาดะฮฺทั้งสองเพียงพอที่จะให้ได้เข้าสวรรค์หรือไม่ ?


ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

การกล่าวชะฮาดะฮฺทั้งสองเพียงพอที่จะให้ได้เข้าสวรรค์หรือไม่ ?

คำถาม : ถูกต้องหรือไม่เมื่อครอบครัวของคนๆ หนึ่งศรัทธาว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็นศาสนทูตของพระองค์” ดังกล่าวนี้ถือว่าเพียงพอที่จะทำให้เข้าสวรรค์หรือไม่ ?

คำตอบ : อัลฮัมดุลิ้ลลาฮฺ
อิสลามไม่ใช่เพียงการกล่าวชะฮาดะฮฺทั้งสองเท่านั้น แต่ทว่าจำเป็นจะต้องทำให้เงื่อนไขต่างๆ ของชะฮาดะฮฺทั้งสองนี้เป็นจริงและถูกต้อง เพื่อที่ผู้กล่าวมันทั้งสองนั้นจะได้เป็นมุสลิมที่แท้จริง หลักการอิสลามนั้นรวมไว้ทั้งการเชื่อมั่น การกล่าว และการปฏิบัติ
จากท่านอุบาดะฮฺ อิบนิ อัศศอมิต กล่าวว่า : ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :
عن عُبَادَةُ بْنُ الصَّامِتِ قَالَ : قَالَ رَسُولُ اللَهِ صَلَّى اللَهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «مَنْ قَالَ أَشْهَدُ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللَهُ وَحْدَهُ لَا شَرِيكَ لَهُ، وَأَنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُولُهُ، وَأَنَّ عِيسَى عَبْدُ اللهِ وَابْنُ أَمَتِهِ، وَكَلِمَتُهُ أَلْقَاهَا إِلَى مَرْيَمَ، وَرُوحٌ مِنْهُ، وَأَنَّ الْجَنَّةَ حَقٌّ، وَأَنَّ النَّارَ حَقٌّ، أَدْخَلَهُ اللهُ مِنْ أَيِّ أَبْوَابِ الْجَنَّةِ الثَّمَانِيَةِ شَاءَ » . رواه البخاري ( 3252 ) ومسلم ( 28 ) .
ความว่า "ผู้ใดที่กล่าวว่า ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺองค์เดียว ไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ และแท้จริงมุฮัมมัดเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์ แท้จริงอีซา(เยซู)เป็นบ่าวของพระองค์ และเป็นลูกของบ่าวของพระองค์ และพระองค์ได้ทรงโยนพระดำรัสของพระองค์ให้แก่มัรยัม และเป็นวิญญาณจากพระองค์ และแท้จริงสวรรค์นั้นเป็นความจริง และแท้จริงนรกนั้นเป็นความจริง อัลลอฮฺจะทรงให้เขาเข้าประตูสวรรค์ทั้งแปด ประตูใดก็ได้ตามที่เขาประสงค์" (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ 3252 มุสลิม 28)

ท่านชัยคฺ อับดุรเราะหฺมาน อิบนฺ หะซัน อิบนฺ มุฮัมมัด อิบนฺ อับดิลวะฮฺฮาบ ร่อหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า : คำพูดที่ว่า (ผู้ใดที่ให้ชะฮาดะฮฺหรือปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ) หมายถึง ผู้ที่กล่าวมันโดยรู้ความหมายของมัน ปฏิบัติตามเป้าหมายของมัน ทั้งภายในและภายนอก ดังนั้นจำเป็นในชะฮาดะฮฺทั้งสองที่จะต้องมีความรู้ ความมั่นใจ และปฏิบัติตามเป้าหมายของมัน ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า :
﴿فَاعْلَمْ أَنَّهُ لاَ إِلٰهَ إلاَّ الله﴾
ความว่า "จงรู้เถิดว่าแท้จริงไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ" (ซูเราะฮฺ มุฮัมมัด: 19 )

และคำตรัสของอัลลอฮฺที่ว่า :
﴿إِلاَّ مَنْ شَهِدَ بِالْحَقِّ وَهُمْ يَعْلَمُوْنَ﴾
ความว่า "นอกจากผู้ยืนยันเป็นพยานด้วยความจริง และพวกเขารู้ดี" ( ซูเราะ อัซซุครุฟ : 86)

ส่วนการกล่าวโดยไม่รู้ถึงความหมายของมัน ไม่มีความมั่นใจ และไม่ปฏิบัติตามเป้าหมายของมัน นั่นคือการออกห่างจากการตั้งภาคี ความบริสุทธิ์ใจในคำพูดและการกระทำ คำพูดทางด้านหัวใจและปาก และการปฏิบัติของหัวใจและอวัยวะต่างๆ (ถ้าหากไม่เป็นไปตามดังกล่าวแล้ว) ก็ไม่เป็นประโยชน์ทั้งนี้ด้วยมติของปวงปราชญ์
ท่านอิมามอัลกุรฏุบีย์ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อัลมุฟฮิม อะลา ศ่อฮีหิ มุสลิม” ในบทที่ว่าด้วยเรื่อง "ไม่เป็นการเพียงพอเพียงแค่การกล่าวชะฮาดะฮฺทั้งสอง แต่ว่าจะต้องมีหัวใจที่เชื่อมั่น" การตั้งชื่อเรียกเช่นนี้เป็นการเตือนให้รู้ถึงความไม่ถูกต้องของผู้ที่คลั่งไคล้ในแนวทางมุรญิอะฮฺที่กล่าวว่า การกล่าวชะฮาดะฮฺทั้งสองเพียงพอแล้วในการมีอีมาน และหะดีษต่างๆ ในบทนี้ก็บ่งชี้ถึงความไม่ถูกต้องของแนวทางนี้ ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นแนวทางที่เป็นที่ทราบกันว่าไม่ถูกต้องในบทบัญญัติอิสลามสำหรับผู้ศึกษาและรู้เรื่องของมัน และคำพูดดังกล่าวยังเป็นการอนุญาตอนุโลมแก่การนิฟาก(กลับกลอก)อีกด้วย และเป็นการตัดสินว่ามุนาฟิกก็มีการศรัทธาที่ถูกต้อง ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดและไม่เป็นจริงอย่างชัดเจน (จบ)
และในหะดีษเองก็ได้ชี้ถึงสิ่งนี้ นั่นคือประโยคที่ว่า : "ผู้ใดที่ให้ชะฮาดะฮฺ" เพราะแท้จริงชะฮาดะฮฺหรือการปฏิญาณจะไม่ถูกต้องนอกเสียจากว่าจะต้องมีความรู้ ความมั่นใจ บริสุทธิ์ใจ และมีความสัตย์จริง (ดู ฟัตหุลมะญีด หน้า 36)
และเงื่อนไขของ “การปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ” มีอยู่ 7 เงื่อนไข มันจะไม่ยังประโยชน์นอกจากจะต้องมีครบทั้งหมด ซึ่งโดยสรุปคือ
หนึ่ง ความรู้ที่จะต้องไม่มีความเขลา
สอง ความมั่นใจที่จะต้องไม่มีความสงสัย
สาม การยอมรับที่จะต้องไม่มีการปฏิเสธ
สี่ การปฏิบัติตามที่จะต้องไม่มีการละทิ้ง
ห้า ความบริสุทธิ์ใจที่จะต้องไม่มีการตั้งภาคี
หก ความสัจจริงที่จะต้องไม่มีการโกหกมดเท็จ
เจ็ด ความรักที่จะต้องไม่มีสิ่งที่ตรงข้ามกับมัน นั่นก็คือความโกรธเกลียด
และเงื่อนไขของ “การปฏิญาณว่าแท้จริงมุฮัมมัดเป็นรอซูลของอัลลอฮฺ” ก็เงื่อนไขเดียวกันกับ “การปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ” โดยหลักฐานต่างๆ อยู่ในคำตอบของฟัตวาหมายเลข 9104 และ 12295
และอัลลอฮฺทรงรู้ดียิ่ง

www.islamqa.com
ฟัตวาหมายเลข 82857
ลิงก์ร่วม
หลักความเชื่อและการศรัทธา ( เรื่องที่เกี่ยวข้อง ) - ( ไทย )

เราจะเข้าใจการลงมาของอัลลอฮฺอย่างไร ในเมื่อกลางคืนของประเทศต่างๆ นั้นเหลื่อมล้ำกัน ?


ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

เราจะเข้าใจการลงมาของอัลลอฮฺอย่างไร ในเมื่อกลางคืนของประเทศต่างๆ นั้นเหลื่อมล้ำกัน ?

คำถาม : มีรายงานในหะดีษว่า "อัลลอฮฺจะลงมาในทุกๆ คืน ยังฟากฟ้าของดุนยาในช่วงหนึ่งส่วนสามสุดท้ายของกลางคืน" (อัลหะดีษ)
เมื่อไหร่จะเริ่มหนึ่งส่วนสามสุดท้าย และจะสิ้นสุดเมื่อใด ? และการลงมาของอัลลอฮฺจะเป็นอย่างไรในประเทศที่มีความแตกต่างเหลื่อมล้ำกัน ?

คำตอบ : อัลหัมดุลิลลาฮฺ
มีหะดีษจำนวนมากจากท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ยืนยันในเรื่องของการลงมาของอัลลอฮฺ คือ คำกล่าวของท่านบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่า :
«ينزل ربنا إلى سماء الدنيا كل ليلة حين يبقى ثلث الليل الآخر فيقول من يدعوني فأستجيب له من يسألني فأعطيه من يستغفرني فأغفر له»
ความว่า "พระผู้อภิบาลของเราจะลงมายังฟากฟ้าของดุนยาในทุกๆ คืนในช่วงหนึ่งส่วนสามสุดท้ายของกลางคืน และจะมีดำรัสว่า ผู้ใดที่วิงวอนข้า ข้าจะตอบรับเขา ผู้ใดที่ขอข้า ข้าจะให้เขา ผู้ใดที่ขออภัยโทษต่อข้า ข้าจะอภัยให้เขา"

อะฮฺลุซซุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺเห็นตรงกันในการยืนยันถึงการลงมา(ของพระองค์อัลลอฮฺ)ที่เหมาะสมกับพระองค์ โดยไม่เหมือนสิ่งถูกสร้างใดๆ ในด้านคุณลักษณะต่างๆ ของพระองค์ อัลลอฮฺได้ตรัสว่า :
﴿قُلْ هُوَ اللهُ أَحَدٌ ، اللهُ الصَّمَدُ ، لَمْ يَلِدْ وَلَمْ يُولَدْ ، وَلَمْ يَكُنْ لَهُ كُفُوًا أَحَدٌ﴾
ความว่า "จงล่าวเถิดมุฮัมมัด พระองค์คืออัลลอฮฺผู้ทรงเอกะ อัลลอฮฺนั้นทรงเป็นที่พึ่ง พระองค์ไม่ประสูติ และไม่ทรงถูกประสูติ และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์" (ซูเราะฮฺ อัลอิคลาศ)

และพระองค์ได้ตรัสอีกว่า :
﴿لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ وَهُوَ السَّمِيعُ الْبَصِيرُ ﴾
ความว่า "ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์ผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็น" (ซูเราะฮฺ อัชชูรอ : 11)

จำเป็นสำหรับชาวอะฮฺลุซซุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺที่จะต้องให้โองการต่างๆ ที่เกี่ยวกับศิฟาต (คุณลักษณะ) และหะดีษต่างๆ ที่เกี่ยวกับศิฟาตเป็นไปตามที่ได้มีมา โดยไม่มีการบิดเบือน ตัดทอน กำหนดวิธีการ เปรียบเทียบ พร้อมกับการศรัทธาต่อคุณลักษณะต่างๆ และจะต้องเชื่อมั่นตามที่มีหลักฐานต่างๆ บ่งถึงว่าเป็นจริง ไม่มีการเปรียบเทียบต่ออัลลอฮฺแต่ประการใดกับสิ่งถูกสร้าง และไม่มีการกำหนดวิธีการในคุณลักษณะของพระองค์ ยิ่งไปกว่านั้นการกล่าวถึงของพวกเขาที่เกี่ยวกับศิฟาต(คุณลักษณะ)ต่างๆ ก็เหมือนกับการกล่าวถึงสิ่งที่เกี่ยวกับตัวของพระองค์ ในการที่อะฮฺลุซซุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺได้ยืนยันศรัทธาในตัวของพระองค์ โดยไม่กำหนดวิธีการ(ตักยีฟ) และไม่เปรียบเทียบ(ตัมษีล) และเช่นเดียวกันศิฟาตต่างๆ ของพระองค์ก็จะต้องยืนยันโดยไม่บอกวิธีการและไม่เปรียบเทียบ
การลงมาของอัลลอฮฺในทุกๆประเทศ ก็ขึ้นอยู่กับประเทศนั้นๆ เพราะการลงมาของอัลลอฮฺนั้น ไม่เหมือนกับการลงมาของสิ่งถูกสร้าง โดยที่อัลลอฮฺนั้นได้ถูกบอกลักษณะว่าได้ลงมาในช่วงหนึ่งส่วนสามสุดท้ายของกลางคืนในทุกที่ของโลก ที่เหมาะสมกับพระองค์โดยไม่รู้ถึงวิธีการลงมาของพระองค์นอกจากพระองค์เอง ดังเช่นที่ไม่รู้ถึงวิธีการ(รูปแบบ)เกี่ยวกับตัวของพระองค์นอกจากพระองค์เอง อัลลอฮฺได้ตรัสว่า :
﴿لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ وَهُوَ السَّمِيعُ الْبَصِيرُ ﴾
ความว่า "ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์ผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็น" (ซูเราะฮฺ อัชชูรอ : 11)

และอัลลอฮฺได้ตรัสอีกว่า
﴿فَلا تَضْرِبُوا لِلهِ الأَمْثَالَ إِنَّ اللهَ يَعْلَمُ وَأَنْتُمْ لا تَعْلَمُونَ﴾
ความว่า "ดังนั้น พวกเจ้าอย่ายกอุทาหรณ์(การเปรียบเทียบ)ทั้งหลายกับอัลลอฮฺเลย แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงรอบรู้ และพวกเจ้าไม่รู้เท่าพระองค์" (ซูเราะฮฺ อันนะห์ลฺ : 74)

หนึ่งส่วนสามแรกและหนึ่งส่วนสามสุดท้ายเป็นที่รู้ในทุกๆ เวลาที่ขึ้นอยู่กับตัวมันเอง ถ้าหากเวลากลางคืนมีเก้าชั่วโมง ดังนั้นเริ่มแรกของการลงมาก็คือช่วงแรกของชั่วโมงที่เจ็ดจนกระทั่งแสงอรุณขึ้น และถ้ากลางคืนมีสิบสองชั่วโมง ช่วงแรกของหนึ่งส่วนสามสุดท้ายของกลางคืน คือเริ่มแรกของชั่วโมงที่เก้าจนกระทั่งแสงอรุณขึ้น และก็จะเป็นเช่นนี้ไป ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความยาวและสั้นของกลางคืนในทุกๆ ที่ และอัลลอฮฺทรงเป็นผู้ให้เตาฟีก

จาก หนังสือ มัจญมูอฺ ฟะตาวา วะมากอลาต มุตะเนาวิอะฮฺ ของท่านชัยคฺ อับดุลอะซีซ อิบนฺ อับดิลลาฮฺ อิบนฺ บาซ ยัรหะมุฮุลลอฮฺ เล่ม 4 หน้า 420

www.islamqa.com
ฟัตวาหมายเลข 34810
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
หลักฐานที่บ่งชี้ว่าอัลลอฮฺทรงอยู่เหนือสิ่งถูกสร้างและชั้นฟ้า ( ไทย )
ลิงก์ร่วม
หลักความเชื่อและการศรัทธา ( เรื่องที่เกี่ยวข้อง ) - ( ไทย )

อัลลอฮฺทรงอยู่เหนือสวรรค์



ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

อัลลอฮฺทรงอยู่เหนือสวรรค์

คำถาม : อัลลอฮฺทรงอยู่บนสวรรค์หรืออยู่ในสวรรค์ ? และเช่นเดียวกัน การเชื่อมั่นว่าอัลลอฮฺนั้นใหญ่กว่าโลก (จักรวาล) ถือเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อถือศรัทธา(อะกีดะฮฺ)หรือไม่ ?

คำตอบ : อัลฮัมดุลิลลาฮฺ
เราได้เสนอคำถามต่อไปนี้ต่อท่านชัยคฺ อับดุรเราะหฺมาน อัลบัรรอก หะฟิเซาะฮุลลอฮฺ แล้วท่านได้ตอบดังนี้
การสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่ง ผู้ทรงยิ่งใหญ่ ผู้ทรงเกรียงไกร ผู้ทรงสูงสุดยิ่ง มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์ผู้ทรงยิ่งใหญ่และไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ ขอความสดุดีและความศานติจงมีแด่ท่านนบีของเรา คือท่านนบีมุฮัมมัด วงศ์วานของท่าน และบรรดาเศาะฮาบะฮฺของท่าน
แท้จริงสิ่งที่จะต้องศรัทธานั้นก็คือ อัลลอฮฺนั้นสูงส่ง สูงสุดยิ่ง พระองค์ประทับอยู่บนบัลลังก์ ดังที่พระองค์ได้ทรงบอกถึงตัวพระองค์เองในคัมภีร์ของพระองค์ โดยที่พระองค์นั้นอยู่เหนือทุกๆ สิ่ง ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวในดุอาอ์ของท่านว่า
«وأنت الظاهر ليس فوقك شيء»
“และพระองค์นั้นทรงเปิดเผย โดยไม่มีสิ่งใดเหนือพระองค์”

และเช่นเดียวกัน จะต้องศรัทธาว่าพระองค์นั้นทรงยิ่งใหญ่ แท้จริงพระองค์นั้นยิ่งใหญ่กว่าทุกๆ สิ่ง พระองค์นั้นมีความยิ่งใหญ่ไม่มีสิ่งใดใหญ่กว่าพระองค์ และด้วยความยิ่งใหญ่และเดชานุภาพของพระองค์ พระองค์นั้นจะทรงเอาชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินด้วยกับพระหัตถ์ทั้งสองของพระองค์ในวันกิยามะฮฺ ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿وما قدروا الله حق قدره والأرض جميعا قبضته يوم القيامة والسموات مطويات بيمينه سبحانه وتعالى عما يشركون﴾ سورة الزمر
ความว่า “และพวกเขามิได้ให้ความยิ่งใหญ่แด่อัลลอฮ์อันพึงมีต่อพระองค์อย่างแท้จริง และแผ่นดินนี้ทั้งหมดเป็นเพียงกำพระหัตถ์หนึ่งของพระองค์ในวันกิยามะฮ์ และชั้นฟ้าทั้งหลายจะม้วนกลิ้งด้วยพระหัตถ์ขวาของพระองค์มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์ และพระองค์ทรงสูงส่งเหนือจากสิ่งที่พวกเขาตั้งภาคี ” (อัซซุมัร : 67)

ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องรู้ว่า ความสมบูรณ์แบบในเรื่องของความสูงส่งและความยิ่งใหญ่ของพระองค์นั้น เป็นไปไม่ได้ที่พระองค์จะไปอยู่ภายในสิ่งหนึ่งจากสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย และไม่อนุญาตให้กล่าวว่าอัลลอฮฺอยู่ในสวรรค์ แต่ทว่าพระองค์อยู่บนบัลลังก์ ซึ่งถือว่า(บัลลังก์) เป็นเพดานของสวรรค์ชั้นฟิรเดาสฺ และฟิรเดาสฺคือสวรรค์ชั้นสูงสุด ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า “เมื่อพวกท่านขอสวรรค์ของอัลลอฮฺ พวกท่านก็จงขอสวรรค์ชั้นฟิรเดาสฺ เพราะมันคือสวรรค์ชั้นสูงสุดและดีที่สุด และเพดานของมัน(ฟิรเดาสฺ)นั้นคือบัลลังก์ของพระองค์(อัลลอฮฺ)ผู้คืออัรเราะหฺมาน”
และไม่อนุญาตให้มุสลิมคิดจินตนาการเกี่ยวกับตัว(ซาต)ของอัลลอฮฺ หรือคิดจินตนาการถึงความยิ่งใหญ่ของพระองค์ เพราะสติปัญญาของมนุษย์นั้นไม่สามารถที่จะรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวของพระองค์ คุณลักษณะต่างๆ (ศิฟาต) รวมทั้งวิธีการ(รูปแบบ)ต่างๆ ของพระองค์ด้วย
ดังที่ท่านอิมามมาลิกได้ตอบเมื่อครั้งที่ท่านถูกถามเกี่ยวกับวิธีการประทับของอัลลอฮฺบนบัลลังก์ว่า "การประทับเป็นที่รู้กัน ส่วนวิธีการไม่เป็นที่ทราบ การศรัทธาต่อมัน(การประทับบนบัลลังก์)เป็นความจำเป็น การถามเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นสิ่งอุตริ"

คำตอบโดย ชัยคฺ อับดุรเราะหฺมาน อัลบัรรอก
www.islamqa.com ฟัตวาหมายเลข 9564
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
หลักฐานที่บ่งชี้ว่าอัลลอฮฺทรงอยู่เหนือสิ่งถูกสร้างและชั้นฟ้า ( ไทย )
ลิงก์ร่วม
หลักความเชื่อและการศรัทธา ( เรื่องที่เกี่ยวข้อง ) - ( ไทย )
อัลลอฮฺทรงอยู่เหนือสิ่งถูกสร้างโดยที่พระองค์ทรงอยู่ทางด้านหน้าของผู้นมาซ ( เรื่องที่เกี่ยวข้อง ) - ( ไทย )

อัลลอฮฺทรงอยู่เหนือสิ่งถูกสร้างโดยที่พระองค์ทรงอยู่ทางด้านหน้าของผู้นมาซ


ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

อัลลอฮฺตะอาลาทรงอยู่เหนือสิ่งถูกสร้างโดยที่พระองค์ทรงอยู่ทางด้านหน้าของผู้นมาซ

คำถาม : ฉันอ่านหะดีษบทหนึ่งบอกว่า อัลลอฮฺตะอาลาอยู่ข้างหน้าผู้นมาซ ? ดังกล่าวมีความหมายว่าอย่างไร? และจะค้านกับที่บอกว่าอัลลอฮอยู่บนฟากฟ้าหรือไม่ ?

คำตอบ : มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ
ผ่านมาแล้วในคำถามที่ 992, 11035 ซึ่งได้บอกหลักฐานว่าอัลลอฮฺนั้นทรงประทับอยู่บนบัลลังก์ และทรงอยู่เหนือสิ่งถูกสร้าง
มีหะดีษที่บันทึกโดยอิมามอัลบุคอรีย์ เลขที่ 406 และอิมามมุสลิม เลขที่ 547 จากอับดิลลาฮฺ อิบนิ อุมัร รอฎิยัลลอฮฺอันฮุมา ว่า
وورد في الحديث الذي رواه البخاري (406) ومسلم (547) عَنْ عَبْدِ اللهِ بْنِ عُمَرَ أَنَّ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ رَأَى بُصَاقًا فِي جِدَارِ الْقِبْلَةِ ، فَحَكَّهُ ثُمَّ أَقْبَلَ عَلَى النَّاسِ فَقَالَ : « إِذَا كَانَ أَحَدُكُمْ يُصَلِّي فَلَا يَبْصُقُ قِبَلَ وَجْهِهِ ، فَإِنَّ اللهَ قِبَلَ وَجْهِهِ إِذَا صَلَّى»
ความว่า "แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เห็นน้ำลายติดอยู่ที่กำแพงด้านกิบละฮฺ แล้วท่านก็ได้ไปขูดมันออก และหันหน้ามายังผู้คนแล้วกล่าวว่า “เมื่อคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านได้นมาซ เขาอย่าได้ถ่มน้ำลายทางด้านหน้าของเขา เพราะอัลลอฮฺทรงอยู่ด้านหน้าของเขาเมื่อเขานมาซ”

และไม่ถือว่าหะดีษนี้ (อัลลอฮฺอยู่ด้านหน้า) ค้านกับการที่อัลลอฮฺนั้นอยู่เหนือสิ่งถูกสร้าง ท่านชัยคุลอิสลาม ได้กล่าวไว้ใน “มัจญมูอฺ อัลฟะตาวา” เล่มที่ 5 หน้า 101 ว่า คำกล่าวของท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม "เมื่อคนหนึ่งคนใดในพวกท่านจะนมาซ แท้จริงอัลลอฮฺทรงอยู่ด้านหน้าของเขา ดังนั้นเขาอย่าได้ถ่มน้ำลายทางด้านหน้าของเขา" เป็นความจริงตามเนื้อหาของหะดีษ และอัลลอฮฺทรงอยู่บนบัลลังก์โดยที่พระองค์ทรงอยู่ด้านหน้าของผู้นมาซ ยิ่งไปกว่านั้นลักษณะดังกล่าวนี้ก็มีกับสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เพราะแท้จริงหากมนุษย์วิงวอนฟากฟ้าหรือวิงวอนดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ แน่นอนว่า ฟากฟ้าดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ จะอยู่เหนือเขาและก็จะอยู่ต่อหน้าเขาด้วย" (จบ)
และท่านได้กล่าวอีกว่า ( เล่มที่ 5 หน้า 672 ) "เป็นที่ทราบกันดีว่าใครที่ผินหน้าไปทางดวงจันทร์และพูดกับมัน (หากสมมุติว่าเขาพูดกับมันได้) เขาจะไม่ผินไปหามันนอกจากจะด้วยใบหน้าของเขาทั้งๆ ที่มัน(ดวงจันทร์)อยู่เหนือเขา โดยที่เขามุ่งไปหามันด้วยใบหน้าของเขาโดยที่ดวงจันทร์อยู่เหนือเขา และเช่นเดียวกันเมื่อบ่าวได้นมาซ เขาได้ผินสู่พระเจ้าของเขาโดยที่พระองค์ทรงอยู่เหนือเขาและวิงวอนพระองค์จากทางด้านหน้าของเขา ไม่ใช่ทางด้านขวาและไม่ใช่ทางด้านซ้าย และเขาวิงวอนพระองค์ทางด้านบนมิใช่ทางด้านล่าง" (จบ)
ท่านชัยคฺ อิบนุ อุษัยมีน ได้กล่าวว่าหลักฐานที่บ่งบอกว่าแท้จริงอัลลอฮฺนั้นอยู่ด้านหน้าของผู้ละหมาด คือคำกล่าวของท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่า
«إذا قام أحدكم في الصلاة فلا يبصق قبل وجهه فإن الله قبل وجهه»
ความว่า “เมื่อคนหนึ่งคนใดในพวกท่านอยู่ในละหมาด ดังนั้นเขาอย่าได้ถ่มน้ำลายด้านหน้าของเขาเพราะแท้จริงอัลลอฮฺทรงอยู่ด้านหน้าเขา”
และการอยู่ด้านหน้านี้มีอยู่จริงสำหรับอัลลอฮฺที่เหมาะสมสำหรับพระองค์และไม่ได้ค้านกับการอยู่ที่สูงของพระองค์ การรวมตัวบททั้งสอง (การอยู่ด้านหน้าและการอยู่ที่สูงของพระองค์) มีสองด้านด้วยกันคือ
1. การรวมทั้งสองสิ่งเป็นไปได้สำหรับสิ่งถูกสร้าง ดังเช่น หากว่าดวงอาทิตย์กำลังขึ้นแท้จริงมันจะอยู่ด้านหน้าของผู้ที่ผินหน้าไปทางทิศตะวันออกทั้งๆ ที่มันอยู่บนฟ้า เมื่อสิ่งเหล่านี้สามารถรวมกันและอยู่ในสิ่งที่ถูกสร้างได้ ฉะนั้นการเป็นไปได้สำหรับผู้สร้างก็เป็นสิ่งที่สมควรกว่า
2. หากว่าการรวมทั้งสองเป็นไปไม่ได้สำหรับสิ่งถูกสร้าง ดังนั้นมันก็ไม่จำเป็นว่าจะเป็นที่ต้องห้ามหรือเป็นไปไม่ได้สำหรับผู้สร้าง เพราะแท้จริงอัลลอฮฺไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ (จบ) จาก ฟะตาวา อิบนิอุษัยมีน (4/287)

www.islamqa.com
ฟัตวาหมายเลข 40865
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
หลักฐานที่บ่งชี้ว่าอัลลอฮฺทรงอยู่เหนือสิ่งถูกสร้างและชั้นฟ้า ( ไทย )
อัลลอฮฺทรงอยู่เหนือสวรรค์ ( ไทย )
ลิงก์ร่วม
หลักความเชื่อและการศรัทธา ( เรื่องที่เกี่ยวข้อง ) - ( ไทย )

จะรับอิสลามและเป็นมุสลิมได้อย่างไร?

จะรับอิสลามและเป็นมุสลิมได้อย่างไร?
รายละเอียด: ขั้นตอนที่คนผู้หนึ่งซึ่งสนใจจะรับอิสลามและต้องการเป็นมุสลิมโดย: IslamReligion.com
ความหมายของคำว่า "มุสลิม" หมายถึงการที่บุคคลหนึ่งยอมจำนนต่อพระเจ้า ซึ่งไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ สัญชาติ วัฒนธรรม หรือภาษาใดก็ตาม การที่จะเป็นมุสลิมนั้นเป็นสิ่งที่ง่ายและมีวิธีการที่ไม่ยุ่งยากและไม่มีอะไรซับซ้อน คนคนหนึ่งอาจจะรับอิสลามเพราะความพอใจโดยส่วนตัวของเขาหรืออาจจะเป็นเพราะได้รับอิทธิพลจากคนรอบข้างก็เป็นได้
ใครที่มีความปรารถนาอย่างจริงจังเพื่อเป็นมุสลิม พร้อมทั้งมีสำนึกที่เต็มเปี่ยมและศรัทธาอย่างเชื่อมั่นว่าอิสลามเป็นศาสนาที่แท้จริงของพระผู้เป็นเจ้า สิ่งเดียวที่เขาต้องทำคือการกล่าวปฏิญานตนหรือที่เรียกว่า "ชะฮาดะฮฺ" นั่นคือถ้อยคำอันเป็นพยานแห่งการศรัทธา โดยไม่ต้องรีรอสิ่งใด "ชะฮาดะฮฺ" คือสิ่งแรกและเป็นประการสำคัญที่สุดในจำนวนหลักการอิสลามทั้งห้า
ด้วยการกล่าวปฎิญานตนหรือกล่าว "ชะฮาดะฮฺ" ในสภาพที่ศรัทธามั่นและสำนึกอย่างบริสุทธิ์ใจ คนผู้หนึ่งก็จะเข้าไปอยู่ในขอบเขตแห่งอิสลามและกลายเป็นมุสลิมโดยทันที
เมื่อเข้าอยู่ในอิสลามและเป็นมุสลิมด้วยความบริสุทธิ์ใจโดยหวังในความพอพระทัยของพระผู้เป็นเจ้าแล้ว บาปทั้งหมดที่ผ่านมาของคนผู้นั้นก็จะถูกอภัยให้แก่เขา และเขาจะได้เริ่มชีวิตใหม่ตามแบบฉบับแห่งความศรัทธาและคุณธรรมความดี ท่านศาสนทูตมุหัมมัด (ขออัลลอฮฺประทานความพรและสันติสุขแก่ท่าน) ได้กล่าวแก่คนผู้หนึ่งที่เข้ารับอิสลามกับท่านแล้ววางเงื่อนไขว่าต้องการให้พระผู้เป็นเจ้าอภัยโทษให้กับเขาทั้งหมด ท่านกล่าวแก่เขาว่า "ท่านไม่ทราบดอกหรือว่า การที่ท่านเข้ารับอิสลามนั้นจะลบล้างความผิดทั้งหมดที่ท่านกระทำก่อนหน้านี้ ?" (บันทึกโดยอิมาม มุสลิม)
เมื่อผู้ใดรับอิสลาม โดยสามัญสำนึกแล้วย่อมจะเสียใจในแนวทางและความเชื่อของชีวิตเขาก่อนหน้านี้ เขาไม่จำเป็นต้องแบกรับบาปต่างๆ ที่ผูกมัดเขาก่อนที่จะรับอิสลาม บันทึกชีวิตของเขาจะสะอาดหมดจดประหนึ่งเพิ่งคลอดออกจากท้องมารดาใหม่อีกครั้ง และควรอย่างยิ่งที่เขาจักต้องรักษาความสะอาดบริสุทธิ์นี้ไว้ตลอดไปเท่าที่มีความสามารถ พร้อมทั้งต้องมุ่งมั่นกระทำความดีให้มากที่สุดเท่าที่จะปฏิบัติได้
พระมหาคัมภีร์อัลกรุอานและวจนะของท่านศาสนทูตได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการตอบรับอิสลาม ดังที่พระผู้เป็นเจ้าได้ตรัสความว่า "แท้จริงศาสนา ณ อัลลอฮฺ(พระผู้เป็นเจ้า)นั้นคืออิสลาม" (อัลกรุอาน 3:19)
ในอีกโองการหนึ่งพระผู้เป็นเจ้าได้ตรัสความว่า "และผู้ใดแสวงหาศาสนาหนึ่งศาสนาใดอื่นจากอิสลามแล้ว ศาสนานั้นก็จะไม่ถูกรับจากเขาโดยเด็ดขาด และในปรโลกเขาจะอยู่ในหมู่ผู้ขาดทุน" (อัลกุรอาน 3:85)
ในถ้อยคำอื่น ท่านศาสนทูตมุหัมมัดได้กล่าวว่า "ผู้ใดที่ปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ต้องเคารพสักการะนอกจากอัลลอฮฺโดยไม่ตั้งภาคีใดๆ ต่อพระองค์ และปฏิญาณว่ามุหัมมัดนั้นเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์ และปฏิญาณว่าอีซา(เยซู)นั้นเป็นบ่าวของพระผู้เป็นเจ้า เป็นถ้อยคำของพระองค์ที่เป่าลงสู่มัรยัม(มาเรีย) (หมายถึงพระผู้เป็นเจ้าได้สร้างเยซูด้วยคำสั่งของพระองค์ว่า "จงเป็น") และเป็นวิญญาณที่พระองค์สร้างขึ้น พร้อมทั้งปฏิญาณว่าสวรรค์นั้นมีจริงและนรกนั้นมีจริง พระองค์จะทรงนำเขาสู่สวรรค์ตามแต่สภาพการปฏิบัติคุณความดีของเขาผู้นั้น" (บันทึกโดย อิมาม อัล-บุคอรีย์)
ท่านศาสนทูตยังได้กล่าวอีกว่า "แท้จริงแล้ว พระผู้เป็นเจ้าจะทรงห้ามไม่ให้เข้านรกแก่ผู้ที่ปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ต้องเคารพสักการะนอกจากอัลลอฮฺ โดยบริสุทธิ์ใจเพื่อพระพักตร์ของพระองค์" (บันทึกโดย อิมาม อัล-บุคอรีย์)

การกล่าวปฏิญาณหรือ "ชะฮาดะฮฺ"
บุคคลที่ต้องการรับอิสลามและเป็นมุสลิม จะต้องกล่าวคำปฏิญาณข้างล่างนี้ด้วยสำนึกที่จริงจังและเข้าใจในความหมายของมัน นั่นคือ
"อัชฮะดุ อัลลา อิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ, วะอัชฮะดุ อันนะ มุหัมมะดัร รอซูลลุลลอฮฺ"
ความหมายก็คือ "ฉันขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ต้องเคารพสักการะนอกจากอัลลอฮฺ และฉันขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดนั้นเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ"
คลิกที่นี่ เพื่อรับฟังคำกล่าวปฏิญาณ หรือคลิกที่ลิงก์ "Live Help" (ภาษาอังกฤษเท่านั้น) ด้านบนเพื่อรับคำแนะนำผ่านระบบแชท
เมื่อได้กล่าวปฏิญานตนด้วยความเชื่อมั่นเช่นนั้นแล้ว เขาก็จะกลายเป็นมุสลิม การกล่าวปฏิญาณสามารถกระทำด้วยตนเองเพียงลำพังได้ แต่มันจะดีกว่าถ้ากระทำโดยมีคนแนะนำผ่าน "Live Help" ที่มีลิงก์อยู่ด้านบน ซึ่งอาจจะช่วยเขาให้ออกเสียงได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
วรรคแรกของคำปฏิญานตนประกอบด้วยสัจธรรมอันสำคัญที่ว่า พระผู้เป็นเจ้าได้ประกาศแก่มนุษย์ว่า ไม่มีสิ่งใดที่คู่ควรและมีค่าแก่การสรรเสริญสักการะกราบไหว้ ยกเว้นพระผู้เป็นเจ้าซึ่งมีอำนาจเหนือทุกอย่าง พระองค์ได้ตรัสในมหาคัมภีร์อัลกุรอานความว่า "และเรา(พระผู้เป็นเจ้า)มิได้ส่งศาสนทูตคนใดก่อนหน้าเจ้า(มุหัมมัด) นอกจากเราได้ประทานวิวรณ์แก่เขาว่า แท้จริงไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากข้า ดังนั้นพวกเจ้าจงเคารพภักดีต่อข้า” (อัลกุรอาน 21:25)
นี่หมายความว่า รูปแบบทั้งหมดของการเคารพสักการะไม่ว่าจะเป็นการนมาซ(ละหมาด) การถือศีลอด การวิงวอนขอพร การพึ่งพิงเพื่อแสวงหาความปลอดภัย และการเชือดสัตว์เพื่อเป็นพลี ย่อมต้องทำไปเพื่อพระผู้เป็นเจ้าโดยตรงและทำเพื่อพระองค์เพียงผู้เดียวเท่านั้น การมอบความภักดีและเคารพสักการะแก่สิ่งอื่นนอกจากพระผู้เป็นเจ้า(ไม่ว่าจะเป็นเทวทูต ศาสนทูต เยซู มุหัมมัด นักบุญ รูปปั้น พระอาทิตย์ พระจันทร์ ต้นไม้ ฯลฯ)ถูกนับว่าเป็นการตั้งภาคีต่อพระผู้เป็นเจ้าในความหมายของสารแห่งอิสลาม และมันเป็นบาปใหญ่ที่ไม่อาจจะได้รับการอภัย เว้นแต่เขาต้องขอลุแก่โทษต่อพระผู้เป็นเจ้าก่อนที่จะสิ้นชีวิต การเคารพสักการะทุกประการต้องมอบให้กับพระผู้เป็นเจ้าโดยตรงและให้กับพระองค์เพียงองค์เดียวเท่านั้น
การเคารพสักการะหมายถึงการปฏิบัติสิ่งใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นการกระทำหรือการกล่าวถ้อยคำที่สร้างความโปรดปรานแก่พระผู้เป็นเจ้า การตอบรับต่อพระบัญชาของพระองค์และปฏิบัติสิ่งที่พระองค์สนับสนุนเรียกร้องให้กระทำ ทั้งที่เป็นพระบัญชาซึ่งมีปรากฏตามหลักฐานหรือด้วยการอนุมานเทียบเคียงกับหลักฐานนั้น ดังนั้น การเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าจึงไม่ได้จำกัดเพียงแค่ให้ปฏิบัติอยู่ในกรอบของหลักการอิสลามห้าประการเท่านั้น แต่ยังได้รวมถึงวิถีการดำเนินชีวิตในทุกด้านๆ ด้วย การหาปัจจัยยังชีพให้กับครอบครัว การพูดสิ่งที่ดีเพื่อสร้างความสบายใจแก่ผู้อื่น ก็ถูกนับว่าอยู่ในข่ายของการเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าเช่นกัน ถ้าหากกระทำสิ่งเหล่านั้นลงไปด้วยเจตนาเพื่อแสวงหาความโปรดปรานของพระองค์
นั่นหมายถึงว่า เพื่อให้พระผู้เป็นเจ้าทรงตอบรับการปฏิบัติความดีของเรา ย่อมจำเป็นที่เราต้องปฏิบัติสิ่งเหล่านั้นด้วยความบริสุทธิ์ใจเพื่อหวังในความโปรดปรานของพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้น
ส่วนวรรคที่สองของคำปฏิญาณนั้น มีความหมายว่า ท่านศาสนทูตมุหัมมัดนั้นเป็นบ่าวและผู้ถูกคัดสรรจากพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้นผู้ปฏิญาณจึงต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของท่านโดยปริยาย ต้องศรัทธาในสิ่งที่ท่านพูด ต้องปฏิบัติตามในสิ่งที่ท่านสอน และละทิ้งสิ่งที่ท่านห้าม จะต้องเคารพสักการะพระผู้เป็นเจ้าตามแบบอย่างที่ท่านศาสนทูตได้ทำไว้เท่านั้น คำสอนทุกประการของท่านศาสนทูตแท้ที่จริงแล้วล้วนได้รับการวิวรณ์และการดลใจให้แก่ท่านจากพระผู้เป็นเจ้าทั้งสิ้น
ผู้กล่าวปฏิญาณต้องพยายามฝึกฝนเพื่อใช้ชีวิตและปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ โดยอาศัยแบบอย่างของท่านศาสนทูต เพราะท่านเป็นตัวอย่างในการดำเนินชีวิตที่มนุษย์พึงปฏิบัติตาม พระผู้เป็นเจ้าได้ตรัสความว่า "แท้จริง เจ้า(มุหัมมัด)ดำเนินอยู่บนจริยธรรมอันยิ่งใหญ่" (อัลกุรอาน 68:4)
พระองค์ยังได้ตรัสอีกโดยมีความว่า "แน่นอน ในศาสนทูตของพระผู้เป็นเจ้านั้นมีย่อมแบบฉบับอันดีงามสำหรับพวกเจ้าแล้ว สำหรับผู้ที่หวัง(จะพบ)พระผู้เป็นเจ้าและวันปรโลกและรำลึกถึงพระองค์อย่างมากมาย" (อัลกุรอาน 33:21)
ท่านศาสนทูตถูกส่งมาเพื่อเป็นผู้สาธยายความหมายของอัลกุรอานในเชิงปฏิบัติ ซึ่งสามารถที่จะเห็นได้จากการพูดการจาของท่าน การประพฤติปฏิบัติของท่าน การกำหนดบัญญัติต่างๆ ของท่าน และรวมถึงแง่มุมอื่นๆ ของการดำเนินชีวิต ท่านหญิงอาอิชะฮฺ ภรรยาของท่านศาสนทูตได้อธิบายถึงตัวตนของท่านศาสนทูตว่า "ลักษณะนิสัยของท่านศาสนทูตนั้นก็คืออัลกุรอาน(หมายถึงคำสอนที่ปรากฏอยู่ในอัลกุรอานทั้งหมด)" (บันทึกโดย อัส-สุยูฏีย์)
การยึดมั่นที่แท้จริงกับส่วนที่สองของคำปฏิญาณนั้นก็คือการตามแบบอย่างของท่านในทุกก้าวย่างของชีวิตนั่นเอง พระผู้เป็นเจ้าได้ตรัสความว่า "จงกล่าวเถิด(มุหัมมัด แก่มนุษย์ทั้งหลาย) หากพวกท่านรักพระผู้เป็นเจ้าอย่างจริงแท้แล้วไซร้ พวกท่านก็จงตามข้า" (อัลกุรอาน 3:31)
คำปฏิญาณส่วนที่สองนี้ยังหมายถึงการเชื่อว่ามุหัมมัดเป็นศาสนทูตและผู้ประกาศสารแห่งพระผู้เป็นเจ้าคนสุดท้าย จะไม่มีศาสนทูตอื่นใดอีกหลังจากท่าน
"มุหัมมัดนั้นไม่ใช่บิดาของใครในหมู่พวกเจ้า หากแต่เป็นศาสนทูตของพระผู้เป็นเจ้า และเป็นผู้ปิดท้ายบรรดาศาสนทูตทั้งหลาย และพระผู้เป็นเจ้านั้นทรงรอบรู้ในทุกๆ สิ่ง" (อัลกุรอาน 33:40)
ผู้ใดที่มาแอบอ้างการเป็นศาสนทูตหรือแอบอ้างว่าได้รับวิวรณ์จากพระผู้เป็นเจ้าอีกหลังจากท่าน คนผู้นั้นย่อมเป็นคนหลอกลวง การยอมรับผู้ที่แอบอ้างนี้ก็ประหนึ่งว่าได้ปฏิเสธศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้าด้วยเช่นกัน
ขอต้อนรับท่านเข้าสู่อิสลาม ขอแสดงความยินดีกับการตัดสินใจของท่าน และเราจะพยายามช่วยเหลือท่านอย่างเต็มที่เท่าที่เราสามารถจะทำได้ ..
_uacct="UA-2619037-1";
urchinTracker();

หลักการอิสลามข้อที่ห้า


หลักการอิสลามข้อที่ห้า
การบำเพ็ญหัจญ์
หนึ่ง : คำนิยามของ หัจญ์
หัจญ์ ในทางรากศัพท์ภาษาอาหรับ มีความหมายว่า ตั้งใจ
มุ่งหมาย ดังประโยคที่ว่า حجَّ إِ َليْنَا ُ ف َ لانٌ หมายความว่า เขาผู้นั้น
เจาะจงพวกเรา / มุ่งหมายหาพวกเรา
หัจญ์ ในทางศาสนบัญญัติ มีความหมายว่า ตั้งเจตนามุ่งไปยัง
มักกะฮฺเพื่อปฏิบัติศาสนกิจ โดยมีคุณสมบัติเฉพาะในเวลาที่เฉพาะและ
เงื่อนไขเฉพาะ
สอง : ข้อตัดสิน(หุก่ม)ของหัจญ์
ประชาชาติอิสลามได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ว่า ผู้ที่มีความสามารถ
วาญิบ(จำเป็น)ต้องประกอบพิธีหัจญ์หนึ่งครั้งในชีวิต เพราะหัจญ์คือหนึ่ง
ในหลักการอิสลามทั้งห้า ซึ่งอิสลามได้วางรากฐานอยู่บนหลักการทั้งห้า
ประการนี้ อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿وَلِلَّهِ عََلى النَّاسِ حِ  ج الْبَيْتِ مَنِ اسْتَطَاعَ إَِليْهِ
سَبِي ً لا وَمَنْ َ كَفرَ َفإِنَّ اللَّهَ َ غنِيٌّ عَنِ الْعَاَلمِينَ﴾
( (آل عمران: 97
ความว่า : สิทธิของอัลลอฮฺที่มีแก่มนุษย์นั้น คือ การมุ่งสู่บ้าน
หลังนั้น(กะอฺบะฮฺ) อันได้แก่ผู้ที่สามารถหาทางไปยังบ้านหลังนั้นได้ และ
ผู้ใดปฏิเสธแท้จริงอัลลอฮฺนั้นมั่งมีปัจจัยเหนือทุกสรรพสิ่ง(คือไม่ทรง
พึ่งพิงหรือขัดสนต่อสิ่งใดทั้งสิ้น) [ อาล อิมรอน โองการที่ 97]
และท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวไว้ความ
ว่า “อิสลามได้วางรากฐานอยู่บนหลักห้าประการ คือ กล่าวปฏิญาณตนว่า
ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และมุหัมมัดคือรอซูลของพระองค์
ทำการละหมาด จ่ายซะกาต ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนและประกอบ
พิธีหัจญ์” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
และท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวในขณะ
ประกอบหัจญ์วิดาอฺ(เป็นชื่อเรียกหัจญ์ครั้งเดียวและครั้งสุดท้ายที่ท่าน
รอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้ปฏิบัติ)ความว่า “โอ้มวลมนุษย์
แท้จริงอัลลอฮฺทรงกำหนดหัจญ์แก่พวกเจ้า ดังนั้นจงประกอบพิธีหัจญ์
เถิด” (รายงานโดย มุสลิม)
สาม : ภาคผลและเหตุผลในการบัญญัติหัจญ์
ได้มีบทบัญญัติมากมายที่กล่าวถึงความประเสริฐของการปฏิบัติ
หัจญ์ดังเช่น พระดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
﴿وََأذِّنْ فِي النَّاسِ بِاْلحَ  ج يَأْتُوكَ رِجَا ً لا وَعََلى كُلِّ
ضَامِرٍ يَأْتِينَ مِنْ كُلِّفَ  ج عَمِيقٍ لِيَشْهَدُوا مَنَافِعَ َلهُمْ
وَيَذْ ُ كرُوا اسْمَ اللَّهِ فِي َأيَّامٍ مَعْلُومَاتٍ عََلى مَا
(28 - رَزََقهُمْ مِنْ بَهِيمَةِ اْلَأنْعَامِ﴾ (سورة الحج : 27
ความว่า : และจงประกาศแก่มนุษย์ทั่วไปเพื่อการทำหัจญ์ พวก
เขาจะมาหาเจ้าโดยทางเท้าและโดยทางอูฐ มาจากทางไกลทุกทิศทาง
เพื่อพวกเขาจะได้มาร่วมเป็นพยานในผลประโยชน์ของพวกเขา และ
กล่าวพระนามอัลลอฮฺในวันที่รู้กันอยู่แล้ว(คือวันเชือดสัตว์) ตามที่
พระองค์ทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเขาจากสัตว์สี่เท้า [อัล-หัจญ์
โองการที่ 27-28]
การประกอบพิธีหัจญ์มีภาคผลมากมาย แก่มวลมุสลิมทั้งโลกนี้
และโลกหน้า ตัวอย่างเช่น ในการประกอบพิธีหัจญ์นั้น ได้รวบรวมเอา
อิบาดะฮฺหลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน ดังเช่น การเฏาะวาฟฺ(การเดินเวียน
รอบกะอฺบะฮฺ) การสะแอ(การเดินวนรอบ)ระหว่างเศาะฟาและมัรวะฮฺ
การพำนัก ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺ มีนา มุซดะลิฟะฮฺ การขว้างเสาหิน การค้าง
คืนที่มีนา การเชือดสัตว์พลี การโกนผม การรำลึกถึงอัลลอฮฺเพื่อ
แสวงหาความใกล้ชิด การนอบน้อมต่อพระองค์และสำนึกผิดต่อพระองค์
ด้วยเหตุนี้ หัจญ์จึงเป็นเหตุผลสำคัญในการลบล้างความผิดและ
เข้าสวนสวรรค์
มีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า ฉันได้
ยินท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวไว้ความว่า “ผู้ใดที่
ประกอบพิธีหัจญ์ ณ บ้านหลังนี้(บัยตุลลอฮฺ) และเขามิได้กล่าววาจา
หยาบคายหรือกระทำความเหลวไหล ความผิดของเขาจะถูกลบล้าง
เปรียบดัง(ทารก)ในวันที่แม่เขาคลอดเขาออกมา” (รายงานโดย อัล-
บุคอรีย์ และมุสลิม)
และจากการรายงานของท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ
อีกเช่นกัน ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวไว้ความว่า
“การประกอบอุมเราะฮฺหนึ่งไปยังอุมเราะฮฺหนึ่งคือการลบล้างความผิด
ระหว่างสองอุมเราะฮฺนั้น และหัจญ์มับรูรฺ(หัจญ์ที่อัลลอฮฺทรงรับ)นั้น
ผลตอบแทนคือสวนสวรรค์” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์และมุสลิม)
และจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เช่นกันความ
ว่า : มีชายผู้หนึ่งถามรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมว่า “กิจการใด
ที่ประเสริฐที่สุด?” ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ตอบว่า
“คือการศรัทธาต่ออัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์” ชายผู้นั้นก็ถามอีกว่า
“แล้วอะไรอีกเล่า?” ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมก็ตอบว่า
“การรบในหนทางของอัลลอฮฺ” ชายผู้นั้นก็ถามอีกว่า “แล้วอะไรอีกเล่า?”
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมตอบว่า “หัจญ์มับรูรฺ” (รายงาน
โดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
และตามรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺ
อันฮุ ว่าท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวไว้ความว่า “จง
ปฏิบัติหัจญ์และอุมเราะฮฺอย่างสม่ำเสมอ แท้จริงสองสิ่งนี้จะลบล้างความ
ขัดสนและความผิด เช่นเครื่องหล่อที่ลบล้างเอาสิ่งสกปรกออกจากเหล็ก
ทองคำและเงิน และหัจญ์มับรูรฺผลตอบแทนคือสวนสวรรค์” (รายงาน
โดย อัต-ติรมีซีย์)
ผลประโยชน์จากการประกอบพิธีหัจญ์อีกเช่นกันคือ การพบปะ
ระหว่างมุสลิมจากทั่วทุกมุมโลกในสถานที่ๆ พระองค์ทรงโปรดที่สุด ทำ
ความรู้จักกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในสิ่งดีงาม ทัดเทียมกันทั้งใน
คำพูด การรำลึกถึงพระองค์ และการกระทำสิ่งเหล่านี้จะช่วยอบรมมุสลิม
ในการรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวในด้านความศรัทธา อิบาดะฮฺ เป้าหมายและ
แนวทาง
ในการรวมตัวของมุสลิมจะนำมาซึ่งการทำความรู้จัก ความ
ใกล้ชิด สนิทสนม ดังพระดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
﴿يَا َأيهَا النَّاسُ إِنَّا خََلقْنَا ُ كمْ مِنْ َ ذ َ كرٍ وَُأنَْثى
وَجَعَلْنَا ُ كمْ شُعُوبًا وَقَبَائِ َ ل لِتَعَارَُفوا إِنَّ َأكْرَمَكُمْ عِنْدَ
( اللَّهِ َأتَْقا ُ كمْ إِنَّ اللَّهَ عَلِيمٌ خَبِيرٌ﴾ (سورة الحجرات 13

ความว่า : โอ้มวลมนุษย์ชาติทั้งหลาย แท้จริงเราได้สร้างพวกเจ้า
จากเพศชายและเพศหญิง และเราได้ให้พวกเจ้าแยกเป็นเผ่าและตระกูล
เพื่อจะได้รู้จักกัน แท้จริงผู้ที่มีเกียรติยิ่งในหมู่พวกเจ้า ณ ที่อัลลอฮฺคือผู้
ที่มีความยำเกรงยิ่งในหมู่พวกเจ้า แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้อย่าง
ละเอียดถี่ถ้วน [ อัล-หุญุรอต โองการที่ 13]
สี่ : กฎเกณฑ์ เงื่อนไขและสิ่งจำเป็นในหัจญ์(วาญิบ)
นักวิชาการอิสลามได้ลงความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า เงื่อนไขของ
หัจญ์มีห้าประการด้วยกันคือ
1. เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม
2. มีสติสัมปชัญญะ
3. บรรลุนิติภาวะ
4. เป็นไท
5. มีความสามารถในการบำเพ็ญหัจญ์.
และได้เพิ่มเงื่อนไขอีก 1 ประการคือ ต้องมีมะหฺร็อมสำหรับ
ผู้หญิง(ผู้ดูแลที่ไม่สามารถแต่งงานด้วยกันได้) ในการเดินทางเพื่อ
บำเพ็ญหัจญ์ ดังวจนะของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมตาม
รายงานของท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ซึ่งมีความว่า “ไม่
เป็นการอนุมัติแก่หญิงที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันอาคิเราะฮฺ ที่จะเดินทาง
ในระยะทางหนึ่งวันนอกจากจะมีมะหฺร็อมไปด้วย” (รายงานโดย อัล-
บุคอรีย์ และมุสลิม)
นักวิชาการฟิกฮฺได้จำแนกเงื่อนไขเหล่านี้ออกเป็นสามจำพวก
ได้แก่
จำพวกแรก : เงื่อนไขเพื่อวาญิบและเพื่อสมบูรณ์ได้แก่ การนับ
ถืออิสลามและการมีสติสัมปชัญญะ ดังนั้น ผู้ที่มิใช่อิสลามิกชนและ
สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์จึงไม่จำเป็นต้องต้องบำเพ็ญหัจญ์ถึงแม้บุคคล
สองจำพวกนี้จะปฏิบัติภารกิจหัจญ์ หัจญ์ของเขาก็ใช้ไม่ได้ เพราะบุคคล
สองจำพวกนี้ไม่พร้อม(เหมาะสม)ในการทำอิบาดะฮฺ(ศาสนกิจ)
จำพวกที่สอง : เงื่อนไขเพื่อวาญิบและ(ได้รับ)ภาคผล คือ บรรลุ
นิติภาวะ และเป็นไท สองเงื่อนไขนี้ไม่ใช่เงื่อนไขเพื่อหัจญ์สมบูรณ์ ดังที่
เข้าใจกัน หากเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและทาสปฏิบัติภารกิจแล้ว หัจญ์
ของบุคคลทั้งสอง จำพวกนี้ใช้ได้แต่จะไม่ได้รับผลบุญจากการปฏิบัติ
ภารกิจหัจญ์อิสลามแต่อย่างใด
จำพวกที่สาม : เงื่อนไขเพื่อวาญิบเพียงอย่างเดียว คือ มี
ความสามารถ หากผู้ที่ไม่มีความสามารถที่จะบำเพ็ญหัจญ์เนื่องด้วย
ความยากลำบาก เดินทางโดยไม่มีเสบียงหรือไม่มีพาหนะ ถือว่าหัจญ์
ของเขาใช้ได้(สมบูรณ์)
ข้อตัดสินหรือหุก่มของการบำเพ็ญฺหัจญ์แทนผู้อื่น
นักวิชาการอิสลามได้ลงความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า ผู้ใดเสียชีวิต
ก่อนที่จะมีความสามารถในการบำเพ็ญหัจญ์ หัจญ์ฟัรฎูของเขาก็สิ้นไป
(ถือว่าไม่จำเป็น) แต่หากผู้ใดเสียชีวิตหลังจากที่มีความสามารถในการ
บำเพ็ญหัจญ์ แต่เขาไม่ได้ปฏิบัติภารกิจหัจญ์ฟัรฎู หัจญ์ของเขาจะสิ้นไป
เพราะการเสียชีวิตของเขาหรือไม่ ?
ที่ถูกต้องแล้ว(อินชาอัลลอฮฺ) ฟัรฎูหัจญ์จะไม่สิ้นสุดด้วยการ
เสียชีวิต โดยญาติของผู้ตายจำเป็นจะต้องบำเพ็ญแทนผู้ตายด้วย
ทรัพย์สินของผู้ตาย ไม่ว่าจะสั่งเสียหรือไม่ก็ตาม เพราะหัจญ์วาญิบอยู่
บนตัวผู้ตาย เช่นเดียวกับหนี้สินที่ต้องชดใช้เท่าจำนวนที่ยืมมา ซึ่งมี
หลักฐานจากหะดีษฺอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ว่า ได้มีหญิงผู้
หนึ่ง บนบานต่ออัลลอฮฺว่า จะทำการบำเพ็ญหัจญ์ หลังจากนั้นไม่นาน
นางก็เสียชีวิต พี่ชาย/น้องชาย ของนางผู้นั้นจึงได้มาหาท่านรอซูล
ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และถามถึงสิ่งที่นางได้บนบานต่ออัลลอฮฺ
ไว้ ท่านจึงกล่าวว่า : “หากพี่/น้องสาวของเจ้ามีหนี้สินเจ้าจะชำระแทน
หรือไม่?” ชายผู้นั้นตอบว่า “จะชำระแทน” ท่านจึงกล่าวว่า “ฉะนั้นจง
ชำระแด่อัลลอฮฺ(คือการบำเพ็ญหัจญ์แทน)เพราะพระองค์ย่อมควรแก่การ
ชำระสัญญามากกว่า” (รายงานโดย อัน-นะสาอีย์)
ผู้ที่ยังมิได้บำเพ็ญฺหัจญ์ให้ตนเอง จะบำเพ็ญให้ผู้อื่นได้หรือไม่?
ที่ถูกต้องคือ เขาจงอย่าบำเพ็ญหัจญ์ให้ผู้อื่นตราบใดที่ยังไม่ได้
ปฏิบัติให้ตนเอง ดังหลักฐานในหะดีษฺที่เป็นที่รู้จักกันดีว่า ครั้งหนึ่งท่าน
รอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ยินชายผู้หนึ่งกล่าวว่า
َلبَّيْكَ عَنْ شُبْرُمََة
(ฉันได้ตอบรับคำเรียกร้องของพระองค์แทนชุบรุมะฮฺ)
ท่านรอซูลจึงถามว่า “ใครคือ ชุบรุมะฮฺ?” ชายผู้นั้นตอบว่า “พี่/
น้อง หรือญาติของฉัน” ท่านรอซูลถามต่อว่า “ท่านได้ปฏิบัติภารกิจหัจญ์
ให้ตนเองหรือยัง?” ชายผู้นั้นตอบว่า “ยังไม่ได้ปฏิบัติ” ท่านจึงกล่าวว่า
“จงบำเพ็ญหัจญ์ให้ตนเองเสียก่อน จากนั้นจงปฏิบัติให้ ชุบรุมะฮฺ”
(รายงานโดย อะหฺมัด, อบู ดาวูด, อิบนุ มาญะฮฺ และอัล-บัยฮะกีย์)
และที่ถูกต้องอีกเช่นกันคือ สามารถปฏิบัติภารกิจหัจญ์แทนผู้ที่
ขาดความสามารถหรืออ่อนแอได้ ด้วยหลักฐานจาก ฟัฏลฺ อิบนุ อับบาส
เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา กล่าวถึงหญิงจากเผ่า ค็อซฺอัม นางกล่าวว่า “โอ้
รอซูลุลลอฮฺ แท้จริงแล้วอัลลอฮฺทรงกำหนดให้บ่าวของพระองค์บำเพ็ญ
หัจญ์ ด้วยพ่อของฉันชราภาพไม่สามารถนั่งบนพาหนะได้ ฉันจะสามารถ
ปฏิบัติภารกิจหัจญ์แทนท่านได้หรือไม่?” ท่านรอซูลตอบว่า “ย่อมได้”
เหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นในหัจญ์วิดาอฺ
ควรบำเพ็ญหัจญ์เมื่อใด ?
จากคำกล่าวของนักวิชาการอิสลามที่มีน้ำหนักค่อนข้างมาก
(อินชาอัลลอฮฺ)ว่า การบำเพ็ญหัจญ์จำเป็นต้องปฏิบัติในทันทีที่เงื่อนไข
ของการวาญิบหัจญ์ครบถ้วนสมบูรณ์ และได้อ้างอิงถึงพระดำรัส
ของอัลลอฮฺ ที่ว่า
﴿وَلِلَّهِ عََلى النَّاسِ حِ  ج الْبَيْتِ مَنِ اسْتَطَاعَ إَِليْهِ
( سَبِي ً لا﴾ (سورة آل عمران : 97
ความว่า : สิทธิของอัลลอฮฺที่มีแก่มนุษย์นั้นคือ การมุ่งสู่บ้านหลัง
นั้น อันได้แก่ผู้ที่สามารถหาทางไปยังบ้านหลังนั้นได้ [ อาล อิมรอน
โองการที่ 97]
และพระดำรัสของอัลลอฮฺอีกบทหนึ่งที่ว่า
( ﴿وََأتِ  موا الْحَجَّ وَالْعُمْرََة لِلَّهِ﴾ (سورة البقرة : 196
ความว่า : และพวกเจ้าจงปฏิบัติให้สมบูรณ์ ซึ่งการทำหัจญ์และ
การทำอุมเราะฮฺ เพื่ออัลลอฮฺเถิด [อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 196]
และจากหะดีษฺอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ความว่า “จง
เร่งรีบในการบำเพ็ญหัจญ์เถิด (หมายถึงหัจญ์ฟัรฎู) แท้จริงบุคคลใด
บุคคลหนึ่งมิล่วงรู้ถึงสิ่งที่จะบังเกิดแก่เขา” (รายงานโดย อะหฺมัด, อบู
ดาวูด และอัล-หากิม)
ห้า : รุก่นหัจญ์
รุก่นหัจญ์มีสี่ประการคือ
1. การอิหฺรอม (หมายถึง การเนียตเข้าพิธีหัจญ์)
2. การวูกุฟ(พำนัก)ที่อะเราะฟะฮฺ
3. การเฏาะวาฟฺอิฟาเฏาะฮฺ (ในวันที่ 10 หรือในวันตัชรีก)
4. สะแอ ระหว่างเศาะฟาและมัรวะฮฺ
รุก่นทั้งสี่ประการนี้จำเป็นต้องปฏิบัติในการบำเพ็ญหัจญ์ ซึ่งหาก
ผู้ใดละทิ้งข้อหนึ่งข้อใดหัจญ์ของเขาก็จะไม่สมบูรณ์
ก. รุก่นแรก การอิหฺรอม
1. ความหมายของอิหฺรอม คือการเนียตเพื่อเข้าในการปฏิบัติ
ภารกิจหัจญ์
2. มีกอต(กำหนดเวลาและสถานที่)ของการครองอิหฺรอม มีสอง
ชนิดได้แก่ เวลา และสถานที่
มีกอตเวลา ได้แก่ : ช่วงเดือนหัจญ์ ซึ่งอัลลอฮฺทรงมีดำรัสว่า
( ﴿الْحَ  ج َأشْهُرٌ مَعْلُومَاتٌ﴾ (سورة البقرة: 197
ความว่า : การบำเพ็ญหัจญ์ อยู่ในเดือนที่ถูกกำหนดไว้แล้ว
[อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 197]
ซึ่ง ณ ที่นี้ คือเดือนเชาวาล ซุลเกาะอฺดะฮฺ และซุลหิจญะฮฺ
มีกอตสถานที่ ได้แก่ พรมแดนซึ่งไม่อนุมัติให้ผู้ที่ปฏิบัตภารกิจ
หัจญ์ล่วงล้ำเพื่อเดินทางไปยังมักกะฮฺโดยที่ยังมิได้ทำการอิหฺรอมซึ่งมีห้า
สถานที่ด้วยกัน
1. ซุลหุลัยฟะฮฺ มีชื่อเรียกในปัจจุบันว่า “อับยารฺ อะลี” ซึ่งถูก
กำหนดให้เป็นมีกอตของชาวมะดีนะฮฺ มีระยะทางห่างจากมักกะฮฺ 336
กิโลเมตร หรือ 226 ไมล์
2. ญุหฺฟะฮฺ คือ หมู่บ้านซึ่งอยู่ห่างจากทะเลแดง 10 กิโลเมตร
และห่างจากมักกะฮฺ 180 กิโลเมตร หรือ 120 ไมล์ มีกอตนี้กำหนดให้เป็น
มีกอตของชาวอียิปต์ ชาม(แถบซีเรีย) มัฆริบ(ประเทศทางโมร็อกโก)
และประเทศซึ่งตั้งอยู่แนวหลังประเทศเหล่านี้และชาวสเปน โรม ตักโร
เป็นต้น แต่ผู้คนในปัจจุบันได้ทำการอิหฺรอมจาก “รอบิฆฺ” ตั้งอยู่แนว
เดียวกันกับ ญุหฺฟะฮฺ
3. ยะลัมลัม มีชื่อเรียกในปัจจุบันว่า “สะอฺดิยะฮฺ” คือภูเขาจาก
เทือกเขาติฮามะฮฺ ห่างจากมักกะฮฺ 72 กิโลเมตร หรือ 48 ไมล์ เป็นมีกอต
ของชาว เยเมน ชวา อินเดียและจีน

4. ก็อรนุ อัล-มะนาซิลฺ มีชื่อเรียกในปัจจุบันว่า “ซัยลุลมีรฺ” ห่าง
จากมักกะฮฺ 72 กิโลเมตร หรือ 48 ไมล์ เป็นมีกอตของชาวเมืองนัจญ์ดฺ
และชาวฏออิฟ
5. ซาตุล อิรกฺ มีชื่อเรียกในปัจจุบันว่า “อัฏ-เฏาะรีบะฮฺ” ที่ได้มีชื่อ
เรียกเช่นนี้เพราะที่ซาตุล อิรกฺ มีเขาลูกเล็กที่ชื่อ อิรก ฺ ห่างจากมักกะฮฺ 72
กิโลเมตร หรือ 48 ไมล์ เป็นมีกอตของผู้ที่อาศัยอยู่ทางทิศตะวันออก คือ
ชาวอิรักและอิหร่าน
สถานที่ที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ คือ มีกอตสถานที่ เป็นพรมแดน
ซึ่งไม่อนุมัติให้ผู้ที่บำเพ็ญหัจญ์และอุมเราะฮฺล่วงล้ำไปยังมักกะฮฺโดยที่ยัง
มิได้ทำการอิหฺรอม
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้อธิบายถึงสถานที่
เหล่านี้ ดังในหะดีษฺ จากการรายงานของท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ
อันฮุมา ความว่า “ท่านรอซูลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้
กำหนดซุลหุลัยฟะฮฺเป็นมีกอตของชาวมะดีนะฮฺ ญุหฺฟะฮฺเป็นมีกอตของ
ชาวมักกะฮฺ(แถบซีเรีย) ก็อรนุ อัล-มะนาซิล เป็นมีกอตของชาวนัจญ์ดฺ
และยะลัมลัมเป็นมีกอตของชาวเยเมน สถานที่เหล่านี้กำหนดให้ชาวเมือง
เหล่านี้และผู้ที่เดินทางผ่านเมืองเหล่านี้เพื่อบำเพ็ญหัจญ์และอุมเราะฮฺ
สำหรับผู้อื่นที่มิใช่ชาวเมืองดังกล่าวให้ทำการอิหฺรอมจากที่ใดก็ได้ที่เขา
ประสงค์ ซึ่งชาวมักกะฮฺก็ให้ทำการอิหฺรอมจากมักกะฮฺ” (บันทึกโดย อัล-
บุคอรีย์ และมุสลิม)
และจากการบันทึกของมุสลิมตามรายงานหะดีษฺโดยญาบิรฺ
เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ความว่า “มีกอตของชาวอิรักคือ ซาตุล อิรกฺ”
หากผู้ใดไม่ได้เดินทางผ่านมีกอตของเขาก็ให้ใช้มีกอตที่กำหนด
ไว้แล้ว โดยทำการอิหฺรอมเมื่อรู้ว่าได้อยู่ในแนวเดียวกันกับมีกอตที่ใกล้
ที่สุดดังกล่าว สำหรับผู้ที่เดินทางโดยเครื่องบินให้ทำการอิหฺรอม เมื่อ
เครื่องบินบินอยู่ในแนวเดียวกันกับมีกอตเหล่านี้ และไม่อนุมัติให้
ยืดเวลาการอิหฺรอมจนกระทั่งเครื่องบินลงจอด ณ สนามบินญิดดะฮ์
ดังที่ผู้บำเพ็ญหัจญ์บางกลุ่มได้กระทำกัน เพราะญิดดะฮฺมิใช่มีกอตนอก
เสียจากว่าเขาเป็นชาวญิดดะฮฺเท่านั้น และไม่อนุมัติให้ทำการเนียตหัจญ์
หรือ อุมเราะฮฺจากญิดดะฮฺ แท้จริงเขาได้ละทิ้งสิ่งวาญิบนั่นคือ การอิหฺ
รอม ซึ่งเขาจำเป็นต้องจ่ายฟิดยะฮฺ (การชดเชยที่ถูกกำหนดไว้)
เช่นกันผู้ใดที่ล่วงล้ำมีกอตโดยมิได้ทำการอิหฺรอมก็ให้ย้อนกลับ
ไปยังมีกอตใหม่ หากไม่ย้อนกลับ แต่ทำการครองอิหฺรอมโดยที่ไม่ใช่จาก
มีกอต จำเป็นต้องจ่ายฟิดยะฮฺ โดยการเชือดแพะ 1 ตัว หรือ อูฐ 1 ตัว
แบ่งเป็น 7 ส่วน หรือ วัว 1 ตัว แบ่งเป็น 7 ส่วน จากนั้นในการแจกจ่าย
แก่คนยากจนในเขตหะร็อมมักกะฮฺ โดยที่เขาไม่ได้รับอนุญาตให้
รับประทานเนื้อสัตว์ เหล่านี้แม้แต่น้อย
ลักษณะของการอิหฺรอม
ส่งเสริมให้มีการเตรียมตัวก่อนการครองอิหฺรอมด้วยการอาบน้ำ
ทำความสะอาดร่างกาย ตัดหรือโกนขน ซึ่งเป็นขนที่อิสลามได้กำหนดไว้
ให้โกนได้(เช่น ขนในที่ลับ ขนใต้รักแร้) และพรมน้ำหอมลงบนร่างกาย
สำหรับผู้ชายให้เปลื้องผ้าที่ทำการตัดเย็บออก แล้วสวมผ้าที่ขาวสะอาดให้
ปกปิดส่วนบนและส่วนล่าง
ไม่มีการละหมาดใดที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการครองอิหฺรอม แต่
หากเกิดบังเอิญตรงกับเวลาละหมาดฟัรฎูก็ให้ทำการครองอิหฺรอม
หลังจากละหมาดฟัรฎูเสร็จ เพราะท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม เนียตอิหฺรอมหลังละหมาดเสร็จ หลังจากนั้นให้เลือกการ
อิหฺรอมตามต้องการจากหัจญ์สามประเภท คือ ตะมัตตุอฺ กีรอน อิฟรอด
- ตะมัตตุอฺ คือ การเนียตอิหฺรอมทำพิธีอุมเราะฮฺในเดือนหัจญ์
จากนั้นเปลื้องอิหฺรอมหลังจากปฏิบัติอุมเราะฮฺเสร็จ แล้วจึงเนียตอิหฺรอม
หัจญ์ในขณะที่ออกเดินทางประกอบพิธีหัจญ์ในวันที่แปด
- กีรอน คือ การเนียตอิหฺรอม อุมเราะฮฺ และหัจญ์ในคราว
เดียวกันหรือเนียตอิหฺรอมก่อน จากนั้นก็นำหัจญ์เข้าไปในการทำ
อุมเราะฮฺ โดยเนียตก่อนที่จะเริ่มการเฏาะวาฟอุมเราะฮฺ โดยต้องทำการ
เนียตอุมเราะฮฺและหัจญ์มาจากมีกอต หรือเนียตหัจญ์ก่อนที่จะเริ่มการ
เฏาะวาฟอุมเราะฮฺจากนั้นให้เฏาะวาฟอุมเราะฮฺและหัจญ์ต่อด้วยการ
สะแอของหัจญ์
- อิฟรอด คือการเนียตอิหฺรอมหัจญ์มาจากมีกอตเพียงอย่าง
เดียว จากนั้นให้ครองอิหฺรอมจนกระทั่งเสร็จพิธีหัจญ์
สำหรับผู้ที่ประกอบหัจญ์ตะมัตตุอฺหรือหัจญ์กีรอน หากมิใช่ชาว
หะร็อมมักกะฮฺจะต้องจ่ายฟิดยะฮฺ
ได้มีทรรศนะขัดแย้งกันถึงการบำเพ็ญหัจญ์ว่าหัจญ์อย่างใดดี
ที่สุด ซึ่งนักวิชาการรุ่นก่อนๆเห็นว่า การบำเพ็ญหัจญ์ตะมัดตุอฺดีที่สุด
เมื่อทำการอิหฺรอมหัจญ์ชนิดใดชนิดหนึ่งดังที่ได้กล่าวมาเสร็จ
เรียบร้อยแล้ว ก็ให้กล่าวตัลบิยะฮฺโดยกล่าวว่า
َلبَّيْكَ اللَّهُمَّ َلبَّيْكَ، َلبَّيْكَ َ لا شَرِيْكَ َلكَ َلبَّيْكَ، إِنَّ
اْلحَمْدَ وَالنعْمََة َلكَ وَاْلمَُلكَ َ لا شَرِيْكَ َلكَ
ลับบัยกัลลอฮุมมะลับบัยก์ ลับบัยกะลา ชะรีกะ
ล่ะกะ ลับบัยก์, อินนัลหัมดะ วันนิอฺมะตะ ล่ะกะ
วัลมุลก์ ลาชะรีกะลัก
ความหมาย : ขอตอบรับการเชิญชวนของพระองค์ โอ้ พระผู้
อภิบาลแห่งเรา เราขอตอบรับการเชิญชวนของพระองค์ เราขอตอบรับ
โดยไม่ตั้งภาคีใดๆ กับพระองค์ เราขอตอบรับพระองค์อีกครั้ง แท้จริง
การสรรเสริญและคุณต่างๆ นั้นเป็นของพระองค์ อำนาจทั้งมวลก็เป็น
ของพระองค์ โดยไม่มีภาคีใดๆ กับพระองค์
พยายามกล่าวให้บ่อยที่สุด หากเป็นผู้ชายก็ให้กล่าวด้วยเสียงดัง
และให้กล่าวเบาๆสำหรับผู้หญิง
สิ่งต้องห้ามในการครองอิหฺรอม
คือ สิ่งที่ห้ามไม่ให้ผู้ที่ครองอิหฺรอมกระทำ อันเนื่องจากการ
ครองอิหฺรอมมีเก้าอย่างด้วยกันคือ
1. การกำจัดขนจากร่างกายด้วยการโกนหรือวิธีอื่นๆ ดังดำรัส
ของอัลลอฮฺ
﴿وَلا تَحْلِقُوا رُؤُوسَ ُ كمْ حَتَّى يَبْلُ َ غ اْلهَدْيُ مَحِلَّهُ﴾
( (سورة البقرة: 196
ความว่า : และจงอย่าโกนศีรษะของพวกเจ้า จนกว่าสัตว์พลีนั้น
จะถึงที่ของมัน [ อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 196]
2. การตัดเล็บ เพราะการตัดเล็บจะนำมาซึ่งความเพลิดเพลิน
ดังนั้นการตัดเล็บจึงเหมือนการกำจัดขน ยกเว้นในกรณีจำเป็น อนุมัติให้
ตัดเล็บและกำจัดขนได้
3. การปกปิดศีรษะสำหรับชาย เนื่องจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ
อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ห้ามมิให้ผู้ที่ครองอิหฺรอมทำการโพกศีรษะ ดัง
วจนะของท่านในรายงานของท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ซึ่ง
กล่าวถึงชายที่ครองอิหฺรอมแล้วตกพาหนะเสียชีวิตความว่า “จงอย่า
ปกปิดศีรษะของเขา เพราะเขาจะฟื้นคืนชีพในวันกียามะฮ์ในสภาพที่
กล่าวตัลบิยะฮฺ (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์และมุสลิม)
และท่านอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ได้กล่าวว่า “การ
ครองอิหฺรอมของชายนั้นได้แก่ศีรษะของเขา(คือ ห้ามปกปิดศีรษะ)และ
การครองอิหฺรอมของหญิงคือใบหน้าของหล่อน(คือห้ามปกปิดใบหน้า)”
(รายงานโดย อัล-บัยฮะกีย์ ด้วยสายรายงานที่ดี)
4. ห้ามผู้ชายสวมใส่สิ่งที่ตัดเย็บเป็นรูปทรง หรือสวมคุ๊ฟ(ถุงเท้า
หุ้มข้อทำมาจากหนังสัตว์) ดังที่ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ
อันฮุมา รายงานว่า ได้มีชายผู้หนึ่งถามท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม ถึงสิ่งที่ผู้ครองอิหฺรอมสามารถสวมใส่ได้ ท่านรอซูลตอบว่า “ผู้
ที่ครองอิหฺรอมห้ามสวมเสื้อ โพกศีรษะ สวมเสื้อคลุม สวมกางเกง หรือ
สวมเสื้อผ้าที่พรมด้วยซ็อฟรอน(ชื่อของพืชชนิดหนึ่งที่สกัดเป็นน้ำหอม
หรือเครื่องแป้ง)หรือสวมถุงเท้าหนัง ยกเว้นผู้ที่ไม่มีรองเท้าแตะ เขาก็จง

ตัดถุงเท้าหนังดังกล่าวให้ต่ำกว่าข้อเท้า” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และ
มุสลิม)
5. การใช้เครื่องหอม เพราะท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม เคยสั่งให้ชายคนหนึ่งในรายงานของ ซ็อฟวาน อิบนุ ยะอฺลา
อิบนุ คุมัยยะฮฺ ล้างเครื่องหอมออก (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และ
มุสลิม)
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็เคยกล่าวถึงชายที่
ครองอิหฺรอมแล้วตกอูฐเสียชีวิตว่า “จงอย่าใช้เครื่องหอมในการจัดการ
ศพของเขา” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิมตามการรายงานของ
ท่านอิบนุ อับบาส)
ส่วนบทหะดีษฺที่บันทึกโดยมุสลิม มีความว่า “จงอย่าทาเครื่อง
หอมบนตัวเขา”
และห้ามมิให้ผู้ที่ครองอิหฺรอมพรมน้ำหอมหรือสิ่งใดที่มีกลิ่น
หอมลงบนร่างกาย หลังจากที่ครองอิหฺรอมเรียบร้อยแล้ว เนื่องจาก
หะดีษฺจาก อิบนุ อับบาส ที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น
6. การล่าสัตว์บก ดังพระดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
﴿يَا َأيهَا الَّذِينَ آمَنُوا لا تَقْتُلُوا الصَّيْدَ وََأنْتُمْ حُرُمٌ﴾
( (سورة المائدة: 95
ความว่า : โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงอย่าฆ่าสัตว์ล่าในขณะที่
พวกเจ้ากำลังครองอิหฺรอมอยู่ [อัล-มาอิดะฮฺ โองการที่ 95]
และห้ามล่าถึงแม้จะไม่ฆ่าหรือทำให้เกิดบาดแผลก็ตามดังพระ
ดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
﴿وَحُ  رمَ عََليْ ُ كمْ صَيْدُ الْبَ  ر مَا دُمْتُمْ حُرُمًا﴾
( (سورة المائدة: 96
ความว่า : และได้ถูกห้ามแก่พวกเจ้าซึ่งสัตว์ล่าบนบกตราบใดที่
พวกเจ้าครองอิหฺรอมอยู่ [อัล-มาอิดะฮฺ โองการที่ 96]
7. กระทำการแต่งงาน (นิกาหฺ) โดยห้ามมิให้ผู้ที่ครองอิหฺรอม
แต่งงานเป็นจ้าวบ่าวหรือแต่งให้ผู้อื่น จะด้วยการมอบอำนาจ หรือด้วย
ตัวแทนก็ตาม ซึ่งมีหลักฐานจากหะดีษฺซึ่งรายงานโดยท่านอุษมาน
เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าว
ความว่า “ห้ามมิให้ผู้ที่ครองอิหฺรอมกระทำการแต่งงานหรือแต่งให้ผู้อื่น
และห้ามการหมั้นหมาย” (บันทึกโดยมุสลิม)
8. การร่วมประเวณีกับหญิงทางอวัยวะเพศของนาง ดังดำรัส
ของอัลลอฮที่ว่า
﴿َفمَنْ َفرَضَ فِيهِنَّ الْحَجَّ َفلا رََف َ ث﴾
( (سورة البقرة: 197
ความว่า : ดังนั้นผู้ใดที่ได้ตั้งมั่นทำหัจญ์ในเดือนเหล่านั้นแล้ว ก็
ต้องไม่มีการสนองกำหนัด [ อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 197]
ท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา กล่าวว่าในที่นี้หมายถึง
การมีเพศสัมพันธ์ ดังหลักฐานจากคำดำรัสของพระองค์อัลลอฮฺที่ว่า
﴿ُأحِلَّ َل ُ كمْ َليَْلَة ال  صيَامِ الرََّفثُ إَِلى نِسَائِ ُ كمْ﴾
( (سورة البقرة: 187
คำว่า ( الرفث ) ในที่นี้ หมายถึง การมีเพศสัมพันธ์
9. การร่วมหรือหลั่งโดยมิใช่ทางอวัยวะเพศหญิง อันเกิดจาก
อารมณ์ทางเพศ จากการจูบ จากการแตะเนื้อต้องตัว หรือการมองด้วย
อารมณ์ทางเพศ ก็ต้องห้ามเช่นกัน เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นแนวทางอันจะ
นำไปสู่การร่วมเพศของผู้ที่ครองอิหฺรอม ดังนั้นสิ่งเหล่านี้จึงเป็นที่
ต้องห้าม
สำหรับผู้หญิงก็เช่นเดียวกับผู้ชายในข้อห้ามเหล่านี้ แต่จะ
แตกต่างกันในสิ่งอื่นคือ สำหรับผู้หญิงการครองอิหฺรอมของพวกนางคือ
ใบหน้าของนาง(ห้ามปกปิดใบหน้า) ดังนั้นจึงห้ามมิให้พวกนางปกปิด
ใบหน้าด้วยบุรกุอฺ(ลักษณะคล้ายหน้ากากใช้ปิดใบหน้า) หรือนิกอบฺ(ผ้าที่
ใช้ปิดใบหน้า) หรือด้วยสิ่งอื่นๆและห้ามมิให้สวมถุงมือ
ดังหะดีษฺที่รายงานโดยท่านอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา
จากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม (ส่วนหนึ่งจากหะดีษฺ)
ความว่า “ห้ามมิให้หญิงที่ครองอิหฺรอมปกปิดใบหน้าและสวมถุงมือ”
(บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์)
และอีกรายงานหนึ่งจากท่าน อิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา
เช่นกันว่า “การครองอิหฺรอมของหญิงคือใบหน้าของหล่อน” (บันทึกโดย
อัล-บัยฮะกีย์ ด้วยสายรายงานที่ดี )

และตามรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา “ได้
มีกลุ่มผู้ที่ขี่พาหนะเดินทางผ่านพวกเรา (เราในที่นี้หมายถึง กลุ่มผู้หญิง
ด้วยกัน) ซึ่งพวกเราในขณะนั้นอยู่กับท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม ในลักษณะครองอิหฺรอม เมื่อกลุ่มดังกล่าวได้เข้ามาใกล้พวกเรา
หญิงผู้หนึ่งในหมู่พวกเราได้ดึงผ้าปิดหน้าที่ยาวเลยทรวงอกของเธอลงมา
จากศีรษะปิดใบหน้าของเธอ และเมื่อกลุ่มดังกล่าวได้ผ่านไป พวกเราจึง
เปิดใบหน้าเช่นเดิม” (บันทึกโดยอบู ดาวูด, อิบน ุ มาญะฮฺ และอะหฺมัด)
และห้ามสำหรับผู้หญิงในสิ่งที่ห้ามสำหรับผู้ชาย ในเรื่องการ
กำจัดขน การตัดเล็บ การล่าสัตว์และอื่นๆ เพราะผู้หญิงรวมเข้าในคำสั่ง
ใช้โดยรวมเช่นกัน ยกเว้นการสวมสิ่งตัดเย็บ สวมถุงเท้า และการปกปิด
ศีรษะ ซึ่งไม่เป็นต้องห้ามสำหรับนาง
ข. รุก่นที่สอง : คือการหยุดพำนัก ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺ
ดังวจนะของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมที่มีความ
ว่า “หัจญ์คืออะเราะฟะฮฺ (หมายถึงการพำนักที่อะเราะฟะฮฺเป็นเป้าหมาย
หลักของหัจญ์)” (บันทึกโดย อะหฺมัด, อบู ดาวูด, อัน-นะสาอีย์, อิบนุ
มาญะฮฺ และอัต-ติรมีซีย์)
ค. รุก่นข้อที่สาม : การเฏาะวาฟ อิฟาเฎาะฮฺ
ดังพระดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
( ﴿وَلْيَطَّوَّفُوا بِالْبَيْتِ اْلعَتِيقِ﴾ (سورة الحج: 29
ความว่า : และจงให้พวกเขาเฏาะวาฟรอบบ้านอันเก่าแก่(บัย
ตุลลอฮฺ) [ อัล-หัจญ์ โองการที่ 29]
ง. รุก่นที่สี่ : การสะแอ
ดังมีหลักฐานจากวจนะของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม ความว่า “จงทำการสะแอเถิด แท้จริงอัลลอฮฺได้กำหนดแก่พวก
เจ้าซึ่งการสะแอ” (บันทึกโดย อะหฺมัด และอัล-บัยฮะกีย์)
หก : สิ่งวาญิบ(พึงจำเป็น)
ในการบำเพ็ญหัจญ์ มีเจ็ดประการคือ
1. การอิหฺรอม จากมีกอตที่ถูกกำหนด
2. หยุดพำนัก ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺ จนกระทั่งตะวันตกดิน สำหรับ
ผู้ที่หยุดในกลางวัน
3. การค้างคืนที่มุซดะลิฟะฮฺ
4. การค้างคืนที่มีนาในค่ำคืนของวันตัชรีก (วันที่ 10 ถึง 13)
5. การขว้างเสาหิน
6. การโกนหรือตัดผม
7. การเฏาะวาฟ วิดาอ์(เฏาะวาฟอำลาก่อนการเดินทางกลับ
ภูมิลำเนา)
เจ็ด : การประกอบพิธีหัจญ์
1. มีแบบฉบับสำหรับผู้ที่ต้องการประกอบพิธีหัจญ์ ให้อาบน้ำ
สุนัตซึ่งกระทำเช่นเดียวกับการอาบน้ำเนื่องจากญุนุบ ให้ใส่น้ำหอมตาม
ร่างกาย ศีรษะ เครา และให้ใส่ผ้าสีขาวสองผืน เพื่อใช้ห่มและนุ่ง สำหรับ
สตรีให้สวมใส่เสื้อผ้าตามที่นางต้องการ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องไม่เปิดเผย
เครื่องประดับของนาง
2. เมื่อเดินทางถึงมีกอต(สถานที่เพื่อเนียตครองอิหฺรอม)ให้
ละหมาดฟัรฎู หากว่าเวลานั้นอยู่ในช่วงฟัรฎู(สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ละหมาด)
เพื่อเขาจะได้ทำการเนียตครองอิหฺรอมหลังจากละหมาดเสร็จ แต่ถ้าหาก
ว่าเวลานั้นไม่ใช่เวลาละหมาดฟัรฎู ก็ให้ละหมาดสุนัต 2 ร็อกอะฮฺโดย
เนียตว่าเป็นการละหมาดสุนัตวุฎูอฺ(ละหมาดเนื่องจากอาบน้ำละหมาด)
และต้องไม่เนียตว่าเป็นการละหมาดครองอิหฺรอม เนื่องจากไม่มีหลักฐาน
ยืนยันจากท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า การละหมาดสุนัต
เพื่อครองอิหฺรอมเป็นแบบอย่างของท่าน
3. เมื่อเสร็จจากการละหมาดแล้ว ให้เนียตเข้าสู่พิธีกรรม หากทำ
แบบตะมัตตุอฺให้กล่าวตัลบิยะฮฺว่า
َلبَّيْكَ اللَّهُمَّ عُمْرًَة
คำอ่าน : ลับบัยกัลป์ลอฮุมมะ อุมเราะตัน
หากประกอบพิธีหัจญ์แบบอิฟรอดให้กล่าวว่า
َلبَّيْكَ اللَّهُمَّ حَ  جا
คำอ่าน : ลับบัยกัลป์ลอฮุมมะ หัจญัน
หากประกอบพิธีหัจญ์แบบกิรอนให้กล่าวว่า
َلبَّيْكَ اللَّهُمَّ حَجا فِيْ عُمْرَةٍ
คำอ่าน : ลับบัยกัลป์ลอฮุมมะ หัจญัน ฟี อุมเราะฮฺ
ซึ่งผู้ชายให้กล่าวเสียงดัง ส่วนผู้หญิงให้กล่าวเสียงเบา และสุนัต
(ส่งเสริม) ให้ทำการกล่าวตัลบิยะฮฺมากๆ
4. เมื่อถึงเมืองมักกะฮฺให้เริ่มเฏาะวาฟ(เวียนรอบกะอฺบะฮฺ) โดย
เริ่มจากแนวหินดำ และให้วิหารกะอฺบะฮฺอยู่ทางด้านซ้ายของเขา หลังจาก
นั้นเมื่อครบรอบ ให้ทำการจูบหินดำหรือใช้มือขวาสัมผัสหินดำ ในกรณีที่
สามารถทำได้และไม่มีการแออัดของผู้คน หากเกิดความลำบาก ให้ยก
มือไปทางหินดำแทนพร้อมกล่าวตักบีรฺ “อัลลอฮุ อักบัรฺ” และให้กล่าวว่า
َاللَّهُمَّ إِيْمَانًا بِكَ، وَتَصْدِيْقًا بِكِتَابِكَ، وَوََفاءً بِعَهْدِكَ،
وَاتبَاعًا لِسُنَّةِ نَبِيكَ صَلَّى اللهُ عََليْهِ وَسَلَّمَ
คำอ่าน : อัลลอฮุมมะ อีมานัน บิกะ, วะตัศดีก็อน บิ
กิตาบิกะ วา วะฟาอัน บิ อะฮฺดิกะ, วัตติบาอัน ลิ
ซุนนะติ นะบิยฺยิกะ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม
ความว่า : ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้าพระองค์(เฏาะวาฟ) ด้วยความมีใจ
ศรัทธาต่อพระองค์ และเชื่อในคัมภีร์ของพระองค์และยอมปฏิบัติตนตาม
สัญญาของพระองค์ อีกทั้งยังปฏิบัติตามแนวทางของศาสนทูตแห่ง
พระองค์ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม
การเฏาะวาฟรอบกะอฺบะฮฺนั้นต้องกระทำเจ็ดรอบ และเมื่อผ่าน
รุกนุลยะมานี(มุมหนึ่งของวิหารกะอฺบะฮฺก่อนถึงตำแหน่งของหินดำ) ให้
สัมผัสโดยไม่มีการจูบ (หากผู้คนไม่แออัด แต่หากผู้คนแออัดหรือเกิด
ความลำบากให้เขาละทิ้งโดยไม่ต้องกระทำการใดๆ)
สำหรับผู้ชายสุนัตให้เฏาะวาฟแบบร็อมลฺใน 3 รอบแรก(คือการ
วิ่งเหยาะๆ)ในเฏาะวาฟกุดูม(เฏาะวาฟครั้งแรก)โดยมีรายงานจากท่าน
อิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ความว่า “เมื่อท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺ
อะลัยฮิ วะสัลลัมทำการเฏาะวาฟครั้งแรก ท่านได้วิ่งเหยาะๆ สามรอบ
และเดินสี่รอบ” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์และมุสลิม)
และให้ทำการครองอิหฺรอมแบบสไบเฉียง ตามแบบอย่างของ
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม (คือ การห่มผ้าที่ใช้ห่มส่วนบน
โดยให้ผ้าอยู่ใต้รักแร้ด้านขวาเพื่อเปิดไหล่ขวาและปิดไหล่ซ้ายเอาไว้)
เนื่องจากมีหะดีษฺรายงานโดยอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ความ
ว่า “ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมและบรรดาเศาะหาบะฮฺของ
ท่านได้ห่มแบบสไบเฉียงและวิ่งเหยาะๆ สามรอบ”
การห่มแบบสไบเฉียงเป็นแบบฉบับเฉพาะในขณะที่ทำการ
เฏาะวาฟเท่านั้น จึงไม่มีแบบฉบับให้ห่มแบบสไบเฉียงก่อนหรือหลังการ
เฏาะวาฟ
ให้ขอดุอาอฺในสิ่งที่ปรารถนาด้วยความนอบน้อมและใจที่แน่วแน่
ขณะทำการเฏาะวาฟพร้อมให้กล่าวขณะเฏาะวาฟอยู่ระหว่าง รุกนุ้ล-
ยะมานีย์กับหินดำว่า
﴿رَبَّنَا آتِنَا فِي ال  دنْيَا حَسَنًَة وَفِي الْآخِرَةِ حَسَنًَة وَقِنَا
( عَذَابَ النَّارِ﴾ (سورة البقرة: 201
ความว่า : พระผู้อภิบาลของพระองค์ทรงประทานให้แก่เราซึ่งสิ่ง
ที่ดีงามในโลกนี้และสิ่งที่ดีงามในโลกหน้าและโปรดปกป้องเราให้พ้นจาก
การลงโทษในไฟนรกด้วยเถิด [ อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 201]
ส่วนการอ่านดุอาอฺที่เจาะจงแน่นอนในแต่ละรอบนั้น ไม่ใช่แบบ
ฉบับจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม แต่หากถือว่าการ
กระทำเช่นนั้นเป็นอุตริกรรม(บิดอะฮฺ)
การเฏาะวาฟมีสามประเภท คือ
1. อิฟาเฏาะฮฺ( คือเฏาะวาฟ หนึ่งครั้งในวันที่สิบหรือหลังจากนั้น)
2. กุดูม (คือเฏาะวาฟขณะเดินทางถึงมักกะฮฺหรือในการทำ
อุมเราะฮฺ)
3. วะดาอ์(การเฏาะวาฟเพื่ออำลาก่อนเดินทางกลับภูมิลำเนา) ซึ่ง
เป็นวาญิบตามทัศนะนักวิชาการส่วนใหญ่
5. เมื่อเสร็จจากการเฏาะวาฟแล้วให้ละหมาดสุนัตสองร็อกอัต
หลังมะกอมอิบรอฮีม แม้ว่าจะยืนละหมาดอยู่ไกลจากมะกอมอิบรอฮีมก็
ตาม โดยในขณะละหมาดให้อ่าน สูเราะฮฺ อัล-กาฟิรูน ในร็อกอัตแรก

และให้อ่าน สูเราะฮฺ อัล-อิคลาศ ในร็อกอัตที่สอง ซึ่งสุนัตให้อ่านด้วย
เสียงเบาทั้งสองร็อกอัต
6. จากนั้นให้ทำการสะแอ(การเดินระหว่างภูเขาเศาะฟากับ
มัรวะฮฺ)เจ็ดเที่ยว เริ่มจากภูเขาเศาะฟาและสิ้นสุดที่ภูเขามัรวะฮฺ เมื่อขึ้น
ภูเขาเศาะฟาให้กล่าวว่า
﴿إِنَّ الصََّفا وَالْمَرْوََة مِنْ شَعَائِرِ اللَّهِ َفمَنْ حَجَّ
الْبَيْتَ َأوِ اعْتَمَرَ َفلا جُنَاحَ عََليْهِ َأ ْ ن يَطَّوَّفَ بِهِمَا
وَمَنْ تَ َ طوَّعَ خَيْرًا َفإِنَّ اللَّهَ شَاكِرٌ عَلِيمٌ﴾
( (سورة البقرة : 158
ความว่า : แท้จริงภูเขาเศาะฟาและมัรวะฮฺนั้น เป็นหนึ่งจาก
เครื่องหมายของอัลลอฮฺดังนั้นผู้ใดประกอบพิธีหัจญ์หรืออุมเราะฮฺ ณ
บัยตุลลอฮฺ ก็ไม่มีบาปใดๆแก่เขาที่จะเดินวนเวียนไปมา ณ ภูเขาทั้งสอง
นั้น และผู้ใดประกอบความดีโดยสมัครใจแล้วแน่นอนอัลลอฮฺนั้นผู้ทรง
ขอบใจและผู้ทรงรอบรู้ [ อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 158]
และกล่าวว่า
َأبْدَُأ بِمَا بَدََأ اللهُ بِهِ
คำอ่าน : อับดะอุ บิมา บะดะอัลลอฮุ บิฮฺ
ความว่า : ข้าพเจ้าขอเริ่มด้วยสิ่งที่อัลลอฮฺทรงเริ่ม
และเมื่อถึงภูเขาเศาะฟา ให้หันสู่ทางกิบลัตพร้อมยกมือทั้ง 2 ข้าง
พร้อมกล่าวตักบี้ร และทำการสรรเสริญอัลลอฮฺแล้วกล่าวว่า
اللهُ َأ ْ كبَرُ، اللهُ َأ ْ كبَرُ، اللهُ َأ ْ كبَرُ، َ لا إِل ٰهَ إِ لا اللهُ و حدَ ه،
َ لا شَرِ يكَ َلهُ، َلهُ اْل مُْلكُ و َلهُ اْل حَمْدُ، يُحْيِيْ و يُمِيْتُ،
و هوَ علىَ ُ كلِّ شَيْ ء َ قدِ يْرٌ ، َ لا إِل ٰهَ إِ لا اللهُو حدَ ه،
َأنْجَزَ وَعْدَهُ، وَنَصَرَ عَبْدَهُ، وَهَزَمَ الأَحْزَابَ وَحْدَهُ
คำอ่าน : อัลลอฮุ อักบัรฺ, อัลลอฮุ อักบัรฺ, อัลลอฮุ อักบัรฺ,
ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮุ วะหฺดะฮู ลาชะรีกะละฮฺ,
ละฮุลมุลกุ วะ ละฮุลหัมดุ, ยุหฺยี วะ ยุมีต, วะฮุวะ อะลา
กุลลิชัยอิน เกาะดีรฺ, ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮุ วะหฺดะฮู ลา
ชะรีกะละฮฺ, อันญะซะ วะหฺดะฮฺ, วะนะเศาะเราะ อับดะฮฺ
, วะ ฮะซะมัล อะหฺซาบ วะฮฺดะฮฺ
ความว่า : อัลลอฮฺทรงยิ่งใหญ่ อัลลอฮฺทรงยิ่งใหญ่ อัลลอฮฺทรง
ยิ่งใหญ่ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่คู่ควรต่อการสักการะอย่างแท้จริงนอกจาก
อัลลอฮฺ หามีภาคีใดๆกับพระองค์ไม่ อำนาจปกครองและการสรรเสริญ
ล้วนเป็นเอกสิทธิ์ของพระองค์ ผู้ทรงทำให้เป็นและทำให้ตาย อีกทั้งยัง
ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสรรพสิ่งทั้งปวง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดควรต้อง
เคารพสักการะนอกจากพระองค์เพียงองค์เดียว
จากนั้นจึงทำการขอดุอาอฺตามใจปรารถนา ที่เป็นสิ่งที่ดีในโลกนี้
และโลกหน้า โดยอ่านคำกล่าวข้างต้นสามครั้งด้วยกันระหว่างการขอ
ดุอาอฺของเขา
หลังจากนั้นจึงลงจากภูเขาเศาะฟาสู่ภูเขามัรวะฮฺ โดยมีสุนัต
สำหรับผู้ชายให้วิ่งระหว่างสัญลักษณ์สีเขียว หากมีความสามารถและไม่
สร้างความเดือดร้อนแก่คนรอบข้าง เมื่อถึงภูเขามัรวะฮฺให้หันไปทาง

กิบละฮฺพร้อมยกมือขอดุอาอฺ และกล่าวเช่นเดียวกันกับการกล่าวที่ภูเขา
เศาะฟา
หากมีความประสงค์ที่จะขอดุอาอฺขณะสะแอให้กล่าวว่า
رَ  ب ا ْ غفِرْ وَارْحَمْ، إِنَّكَ َأنْتَ الأَعَ  ز الأَ ْ كرَمُ
คำอ่าน : ร็อบบิฆฺฟิรฺ วัรหัม, อินนะกะ อันตัล อะอัซซุลอักร็อม
ความว่า : ข้าแด่พระผู้อภิบาลของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรง
อภัยโทษและทรงเมตตาแก่ข้าพระองค์ด้วย แน่แท้พระองค์เป็นผู้ทรง
เกรียงไกรและทรงเกียรติยิ่ง
เนื่องจากมีตัวหลักฐานยืนยันซึ่งรายงานมาจากท่านอิบนุ อุมัรฺ
และท่านอิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ในการกระทำดังกล่าว
การสะแอ สุนัตส่งเสริมให้มีน้ำละหมาด โดยไม่ใช่สิ่งจำเป็นซึ่ง
หากสะแอโดยไม่มีน้ำละหมาดก็ถือว่าสมบูรณ์เช่นเดียวกัน การสะแอของ
หญิงมีประจำเดือนก็ถือว่าใช้ได้เพราะการมีน้ำละหมาดมิใช่เงื่อนไขของ
การเดินสะแอ
7. เมื่อเสร็จจากการเดินสะแอ ให้ตัดผมทั่วศีรษะ หากทำหัจญ์
แบบตะมัตตุอฺ ส่วนผู้หญิงให้ตัดออกยาวประมาณเท่าปลายนิ้ว และ
หากว่าทำหัจญ์แบบกิรอนหรืออิฟรอด ก็ให้อยู่ในชุดอิหฺรอมโดยไม่ต้อง
ตัดผมจนกระทั่งเปลื้องอิหฺรอมในวันนะหฺริ(หรือวันอีด) หลังจากขว้างเสา
หิน ญุมรอตุ้ล อะเกาะบะฮฺ ณ ทุ่งมีนา ตามเงื่อนไขการประกอบพิธีหัจญ์
8. ในวันที่ 8 ซุลหิจญะฮฺ ซึ่งเรียกว่า วันตัรวิยะฮฺ. ผู้ประกอบพิธี
หัจญ์แบบตะมัตตุอฺ ต้องครองอิหฺรอมเพื่อทำหัจญ์ในตอนสายจากที่พัก
ของตนเอง ซึ่งในกรณีนี้รวมถึงชาวมักกะฮฺที่ต้องการประกอบพิธีหัจญ์
และขณะที่ครองอิหฺรอมให้ถือปฏิบัติตามที่เคยทำมาเช่นการอาบน้ำชำระ
กาย เป็นต้น ส่วนการไปมัสญิดหะร็อมเพื่อทำการครองอิหฺรอมไม่ใช่แบบ
ฉบับจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เพราะการปฏิบัติ
แบบนี้ไม่มีรายงานจากท่านและท่านมิเคยสั่งใช้บรรดาเศาะหาบะฮฺให้ถือ
ปฏิบัติ
มีรายงานจากท่านญาบิรฺ อิบนุ อับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ
มา ว่า ท่านนบีได้กล่าวแก่บรรดาเศาะหาบะฮฺความว่า “พวกท่านจงอยู่ใน
สภาพที่ปลดอิหฺรอมเถิด กระทั่งเมื่อถึงวันตัรวิยะฮฺ พวกท่านก็จงกล่าว
ตัลบิยะฮฺเพื่อบำเพ็ญหัจญ์” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์และมุสลิม)
และจากการรายงานของท่านมุสลิม จากท่านญาบิรฺ เราะฎิยัล-
ลอฮฺ อันฮุมา กล่าวว่า : ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้สั่ง
ให้พวกเราทำการอิหฺรอมเมื่อกล่าวตัลบิยะฮฺ และเมื่อเรามุ่งสู่มีนา เราก็
กล่าว ตัลบิยะฮฺที่อับเฏาะฮฺ(ชื่อสถานที่หนึ่ง)
ส่วนผู้ที่ทำหัจญ์ตะมัตตุอฺให้กล่าวตัลบิยะฮฺว่า
َلبَّيْكَ اللَّهُمَّ حَ  جا
คำอ่าน : ลับบัยกัลป์ลอฮุมมะ หัจญัน
9. ส่งเสริมให้ออกสู่มีนาและทำการละหมาดซุฮฺริ อัศริ มัฆริบ
และอีชาอฺ แบบย่อ โดยไม่นำมารวมกัน และยังส่งเสริมให้ค้างคืนที่มีนา

ในคืนของวันอะเราะฟะฮฺด้วย เนื่องจากมีหะดีษฺที่รายงานจากท่านญาบิรฺ
เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ซึ่งบันทึกโดยมุสลิม
10. เดินทางสู่ทุ่งอะเราะฟะฮฺ ในยามตะวันทอแสงของวันที่ 9
ซุลหิจญะฮฺ โดยส่งเสริม(สุนัต)ให้ลงพักที่มัสญิดนะมิเราะฮฺ ณ ทุ่ง
อะเราะฟะฮฺ จนกระทั่งตะวันคล้อยหากเกิดความสะดวกในการปฏิบัติ
เนื่องจากเป็นการปฏิบัติของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม
หากไม่เกิดความสะดวกก็ให้หยุดพัก ณ ที่ใดก็ได้ในเขตอะเราะฟะฮฺ และ
เมื่อถึงเวลาละหมาดซุฮริให้ละหมาดซุฮริกับอัศริโดยรวมและย่อ จากนั้น
ให้ลงพักที่อะเราะฟะฮฺ และที่ดียิ่งในการพัก ให้เลือกตำแหน่งหลังภูเขา
เราะฮฺมะฮฺ โดยเมื่อผินหน้าไปยังกิบละฮฺแล้ว มีภูเขาอยู่ในแนวเดียวกัน
แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ ก็ให้หันไปทางกิบละฮฺอย่างเดียว โดยไม่ต้องผิน
ไปทางภูเขาเราะฮฺมะฮฺแต่อย่างใด
ส่งเสริมให้ใช้เวลาว่างขณะที่พำนัก ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺ ทำการ
กล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ (ซิกรฺ) และคงความนอบน้อม อ่านกุรอานและขอ
ดุอาอฺ โดยยกมือทั้งสองข้างขึ้น
มีรายงานจากท่านอุสามะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ความว่า : “ฉัน
เคยอยู่กับท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมที่ทุ่งอะเราะฟะฮฺ โดย
ท่านได้ยกมือทั้งสองข้างขึ้นขอดุอาอฺ แล้วอูฐของท่านได้เอนตัวลงจน
ตะกร้อครอบปากของอูฐได้ตกลง ท่านจึงได้ใช้มือข้างหนึ่งลงหยิบตะกร้อ
ครอบปากอูฐอันนั้น ในขณะที่มืออีกข้างหนึ่งยังยกขอดุอาอฺอยู่” (รายงาน
โดย อัน-นะสาอีย์)
และในอีกรายงานหนึ่งมีว่า : “ท่านยังคงยืนขอดุอาอฺ จนกระทั่ง
ตะวันลับขอบฟ้าแล้วแสงตะวันลับหายไป”
การขอดุอาอฺในวันอะเราะฟะฮฺ ถือว่าประเสริฐกว่าการขอดุอาอฺ
ใดๆ ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวไว้ความว่า : “การ
ขอดุอาอฺที่ดียิ่ง คือการขอดุอาอฺในวันอะเราะฟะฮฺ และคำกล่าวที่ดีที่สุดที่
ฉันและบรรดานบีก่อนหน้าฉันได้อ่านมาก็คือ
َ لا إِلٰهَ إِلاَّ اللهُ وَحْدَهُ، َ لا شَرِيْكَ َلهُ، َلهُ اْلمُْلكُ وََلهُ
اْلحَمْدُ، يُحْيِيْ وَيُمِيْتُ، وَهُوَ عَلىَ ُ كلِّ شَيْءٍ َقدِيْرٌ
คำอ่าน : ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮุ วะหฺดะฮู ลาชะรีกะ
ละฮฺ, ละฮุลมุลกุ วะ ละฮุลหัมดุ, ยุหฺยี วะ ยุมีต,
วะฮุวะ อะลา กุลลิชัยอิน เกาะดีรฺ
ความว่า : ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว
ไม่มีภาคีใดๆสำหรับพระองค์ กรรมสิทธิ์และการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์
ของพระองค์ และพระองค์ทรงเดชานุภาพเหนือสรรพสิ่งทั้งปวง”
(รายงานโดย มุสลิม)
การแสดงออกถึงความยากไร้ ความปราถนา และขอที่พึ่งพิง
กับอัลลอฮฺเป็นสิ่งที่จำเป็นสมควรปฏิบัติ และจะต้องไม่ปล่อยให้โอกาส
อันยิ่งใหญ่นี้ผ่านไปอย่างไร้ความหมาย
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวไว้ความว่า :
“ไม่มีวันใดอีกแล้ว ที่อัลลอฮฺจะทรงปลดปล่อยบ่าวของพระองค์จากไฟ
นรก มากไปกว่าวันอะเราะฟะฮฺ และแน่แท้อัลลอฮฺจะเสด็จใกล้เข้ามา
แล้วบรรดามะลาอิกะฮฺ จะนำพวกเขามาเข้าเฝ้าแล้วพระองค์ได้ตรัสว่า
พวกเขา(ปวงบ่าวของข้า)ต้องการอะไร?...” (รายงานโดยมุสลิม)
การวุกูฟที่อะเราะฟะฮฺ เป็นรุก่นของการทำหัจญ์ และจำเป็น
จะต้องวุกูฟจนกระทั่งตะวันลับขอบฟ้า โดยผู้ประกอบพิธีหัจญ์จะต้องให้
ความสำคัญกับเขตของทุ่งอะเราะฟะฮฺ เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีผู้
ประกอบพิธีหัจญ์จำนวนมากละเลยกับเขตของทุ่งอะเราะฟะฮฺ จนเป็น
เหตุให้พวกเขาหยุดพักนอกเขตอะเราะฟะฮฺ ซึ่งเป็นเหตุให้การบำเพ็ญ
หัจญ์ขาดตกบกพร่องไม่สมบูรณ์
11. เมื่อตะวันลับขอบฟ้าให้เดินสู่มุซดะลิฟะฮฺด้วยความสงบ
เสงี่ยมและนอบน้อม ดังที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม
กล่าวไว้ความว่า “ผู้คนทั้งหลาย สงบเสงี่ยมเข้าไว้ สงบเสงี่ยบเข้าไว้”
(รายงานโดย มุสลิม)
เมื่อถึงมุซดะลิฟะฮฺแล้วให้ละหมาดมัฆริบและอีชาอฺที่นั้น โดย
ละหมาดมัฆริบ 3 ร็อกอัต และอีชาอฺ 2 ร็อกอัต รวมกันในเวลาอีชาอฺ
(ญัมอ์ ตะคีรฺ)
และแนวทางสำ หรับผู้ประกอบพิธีหัจญ์นั้น เขาจะต้องไม่
ละหมาดมัฆริบและอีชาอฺที่ใด นอกจากที่มุซดะลิฟะฮฺ เพื่อเป็นการปฏิบัติ
ตามท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เว้นแต่เมื่อเขากลัวว่าเวลา
อีชาอฺใกล้จะหมด ก็ให้เขาละหมาดมัฆริบและอีชาอฺที่ใดก็ได้
ให้ค้างคืนที่มุซดะลิฟะฮฺ โดยไม่ต้องตื่นขึ้นมาเพื่อทำ การ
ละหมาดใดๆ หรือทำ อิบาดะฮฺในตอนกลางคืน เพราะท่านรอซูล
ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ไม่เคยปฏิบัติ ดังมีรายงานจากท่านญาบิรฺ
อิบนุ อับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ความว่า “แท้จริงท่านรอซูล
ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เมื่อมาถึงมุซดะลิฟะฮฺ ท่านก็ได้ละหมาดที่
นั่นทั้งเวลามัฆริบและอีชาอฺด้วยอาซานเพียงครั้งเดียวและอิกอมะฮฺสอง
ครั้ง โดยที่ท่านมิได้กล่าวตัสบีหฺใดๆ ระหว่างละหมาดทั้งสอง หลังจาก
นั้นท่านได้ล้มตัวลงนอนจนกระทั่งรุ่งอรุณ” (รายงานโดย มุสลิม)
ในกรณีของผู้ที่มีอุปสรรคหรือผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอนั้นอนุญาต
ให้ออกจากมุซดะลิฟะฮฺเข้าสู่มีนาหลังจากเที่ยงคืนเพื่อขว้างเสาหิน
(ญัมเราะตุลอะเกาะบะฮฺ)
ส่วนผู้ที่ร่างกายแข็งแรงและมิใช่ผู้คอยดูแลคนอ่อนแอ เขา
จะต้องอยู่ที่มุซดะลิฟะฮฺจนรุ่งอรุณ และการที่มีผู้คนจำนวนมากแข่งกัน
ไปขว้างเสาหินตั้งแต่ช่วงหัวค่ำเพื่อต้องการพักผ่อนถือเป็นการขัดกับทาง
นำของท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม
เมื่อผู้ประกอบพิธีหัจญ์ละหมาดซุบฮิที่มุซดะลิฟะฮฺแล้ว ให้เขาไป
หยุดยืนอยู่บริเวณ อัลมัชอะริ้ลหะรอม(มัสญิด ณ มุซดะลิฟะฮฺ) แล้วผิน
หน้าไปทางกิบละฮฺพร้อมยกมือขอดุอาอฺต่ออัลลอฮฺให้มากๆ จนกระทั่ง
ใกล้เวลาตะวันขึ้นหรือเป็นที่ใดก็ได้ของมุซดะลิฟะฮฺที่เขาได้หยุดพำนัก
ดังคำกล่าวของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่มีความว่า
“ฉันได้หยุดพักอยู่ที่นี่ และทั้งหมดนั้น(มุซดะลิฟะฮฺ)ล้วนเป็นที่พำนัก”
(รายงานโดย มุสลิม)
12. จากนั้น ผู้ประกอบพิธีหัจญ์จะต้องกลับสู่มีนา ก่อนตะวันขึ้น
ของวันนะหฺริ (วันที่ 10 ซุลหิจญะฮฺ) เพื่อขว้างเสาหิน ที่เรียกว่า
(ญัมเราะตุลอะเกาะบะฮฺ) คือเสาหินหน้าเดียว ซึ่งอยู่ใกล้กับมักกะฮฺกว่า
ต้นอื่นๆ ด้วยลูกหิน 7 ลูก ซึ่งแต่ละลูกให้มีขนาดใหญ่กว่าเมล็ดถั่ว
เล็กน้อย(ประมาณเม็ดอินทผาลัม)
นักวิชาการได้มีมติเอกฉันท์ว่า อนุญาตให้ขว้างเสาหินทางด้าน
ใดก็ได้แต่ที่ดีที่สุดคือให้กะอฺบะฮฺอยู่ทางซ้ายมือของเขาและมีนาอยู่
ทางด้านขวา ดังได้มีรายงานจากท่านอิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ
ความว่า : แท้จริงเมื่อท่านได้ขว้างเสาหินจนถึงเสาหินต้นใหญ่(เสาหน้า
เดียว)ท่านก็ได้ให้บัยตุลลอฮฺอยู่ทางด้านซ้ายและให้มีนาอยู่ทางด้านขวา
แล้วขว้างเสาหินด้วยก้อนหิน 7 ก้อน (หลังจากนั้นจึงกล่าวว่า) แบบ
เดียวกันนี้แหละที่ผู้ซึ่ง สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺถูกประทานให้แก่เขา
เคยขว้างเสาหิน (หมายถึงท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม)
(รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
ไม่อนุญาตให้ใช้ก้อนหินก้อนใหญ่หรือรองเท้าเพื่อขว้างเสาหิน
ผู้ที่ประกอบพิธีหัจญ์จะหยุดการกล่าวตัลบิยะฮฺเมื่อเขาขว้างเสา
หิน(ญัมเราะตุลอะเกาะบะฮฺ)
ตามแบบฉบับของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม
ให้ทำการขว้างเสาหินเป็นลำดับแรก จากนั้นให้เชือดสัตว์ หากทำหัจญ์
แบบตะมัตตุอฺหรือแบบกิรอน หลังจากนั้นให้โกนศีรษะ หรือตัดผม
สำหรับชาย การโกนศีรษะประเสริฐที่สุด เพราะท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ
อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ขอความเมตตาและการอภัยโทษจากอัลลอฮฺแก่ผู้
โกนศีรษะถึงสามครั้ง และขอพรให้กับผู้ที่ตัดผมเพียงครั้งเดียว ซึ่งมี
รายงานจากอัล-บุคอรีย์และมุสลิมในการอ้างอิงถึงเรื่องนี้
หลังจากนั้นให้ไปยังบัยตุลลอฮฺเพื่อทำการเฏาะวาฟอิฟาเฎาะฮฺ
การปฏิบัติตามกิจกรรมข้างต้นนี้เป็นแบบฉบับที่ท่านรอซูลเคยปฏิบัติ
ตามรายงานของท่านญาบิรฺ อิบนุ อับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา
ความว่า : ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้มาที่เสาหิน ซึ่ง
ใกล้กับต้นไม้ (หมายถึงญัมเราะตุลอะเกาะบะฮฺ) แล้วท่านได้ขว้างเสาหิน
ด้วยลูกหินเจ็ดลูก โดยท่านจะกล่าวตักบีรฺขณะจะขว้างลูกหินแต่ละก้อน
ซึ่งมีขนาดเท่าลูกแก้ว ท่านได้ขว้างตรงกลางหลุม หลังจากนั้นท่านได้ไป
ที่เชือดสัตว์ แล้วท่านก็ได้เชือด จากนั้นท่านได้ขี่อูฐไปทำการเฏาะวาฟ
อิฟาเฎาะฮฺ ที่บัยตุลลอฮฺ แล้วละหมาดซุฮริที่มักกะฮฺ” (รายงานโดย
มุสลิม)
ส่วนผู้ใดสลับกิจกรรมทั้งสี่นี้ก็ถือว่าใช้ได้ เนื่องจากมีรายงาน
จากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อัมรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ในพิธีหัจญ์อำลา
โดยเมื่อท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้ยืนขึ้น ผู้คนก็
ติดตามถามท่าน อับดุลลอฮฺ อิบนุ อัมรฺ กล่าวความว่า : ในวันนั้นไม่มี
ผู้ใดที่ถามท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ถึงสิ่งใดที่ควร
ปฏิบัติก่อนหรือสิ่งใดควรปฏิบัติหลัง นอกจากท่านจะกล่าวว่า “ทำไปเถิด
ไม่เป็นไร” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
เมื่อเฏาะวาฟเสร็จแล้ว ให้เดินสะแอหลังจากเฏาะวาฟ หาก
ประกอบพิธีหัจญ์แบบตะมัตตุอฺ เพราะการเดินสะแอในครั้งแรก เป็น
สะแอของอุมเราะฮฺ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำการเดินสะแอของพิธีหัจญ์อีก
ครั้งหนึ่ง และหากว่าเป็นการประกอบพิธีหัจญ์แบบอิฟรอดหรือกิรอน ซึ่ง
ได้เดินสะแอหลังจากเฏาะวาฟกุดูมไปแล้ว ก็ไม่ต้องมาทำสะแอใหม่อีก
ดังท่านญาบิรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา กล่าวความว่า : ท่านรอซูล
ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านมิได้ทำ
การเฏาะวาฟระหว่างภูเขาเศาะฟาและมัรวะฮฺ(หมายถึงสะแอ) นอกจาก
เพียงครั้งเดียวซึ่งเป็นเฏาะวาฟ(หมายถึงสะแอ) ในครั้งแรก(รายงานโดย
มุสลิม)
13. วันตัชรีกทั้งสามวัน (คือ วันที่ 11, 12 และ 13 เดือน
ซุลหิจญะฮฺ) นั้น ถือว่าเป็นวันของการขว้างเสาหินสำหรับผู้ที่ยังคงพำนัก
ที่มีนา ส่วนผู้ที่รีบกลับให้ขว้างเสาหินเพียงสองวัน คือวันที่ 11 และ 12
ดังพระดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
﴿وَاذْ ُ كرُوا اللَّهَ فِي َأيَّامٍ مَعْدُودَاتٍ َفمَنْ تَعَجَّ َ ل فِي
يَوْمَيْنِ َفلا إِثْمَ عََليْهِ وَمَنْ تََأخَّرَ َفلا إِثْمَ عََليْهِ لِمَنِ
( اتََّقى﴾ (سورة البقرة: 203
ความว่า : และพวกเจ้าจงกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ ในบรรดาวันที่
ถูกกำหนดไว้แล้ว(คือวันตัชรีก) สำหรับผู้ใดที่เร่งรีบในสองวัน ก็ไม่มี
ความผิดใดๆแก่เขา และหากผู้ใดรั้งรอไปอีก ก็ไม่มีความผิดใดๆแก่เขา
สำหรับผู้ที่มีความยำเกรง [อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 203]
การขว้างเสาหินนั้นให้เริ่มขว้างจากต้นแรก (ญัมเราะตุลซุฆฺรอ)
คือเสาต้นที่อยู่ใกล้มัสญิด ค็อยฟฺ ด้วยลูกหินเจ็ดก้อน จากนั้นให้ขว้าง
เสาหินต้นกลาง ด้วยลูกหินเจ็ดก้อน หลังจากนั้น ให้ขว้างเสาหิน
(ญัมเราะตุลอะเกาะบะฮฺ) ด้วยลูกหินเจ็ดลูก พร้อมกล่าวตักบีรฺในการ
ขว้างลูกหินทุกลูก ซึ่งตามแบบฉบับของท่านรอซูลนั้น ให้หยุดยืน
หลังจากขว้างเสาต้นแรกแล้วผินหน้าสู่กิบละฮฺ โดยให้เสาต้นแรกอยู่ใน
ตำแหน่งซ้ายมือของเขา แล้วทำการขอดุอาอฺนานๆ ส่วนต้นที่สองก็
เช่นกันให้ยืนหลังจากที่ขว้างเสาต้นนี้แล้ว โดยผินหน้าสู่กิบละฮฺ และให้

เสาต้นที่สองอยู่ในตำแหน่งขวามือของเขาและให้ขอดุอาอฺนานๆ ส่วน
ญัมเราะตุลอะเกาะบะฮฺ ไม่ต้องหยุดยืนเพื่อกล่าวหรือขอดุอาอฺใดๆ
ทั้งสิ้น
เวลาของการขว้างเสาหินในวันตัชรีกนั้น จะเริ่มหลังจากตะวัน
คล้อยตามรายงานจากท่านอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ความว่า :
เราได้คอยเวลา ซึ่งเมื่อตะวันคล้อย เราจึงขว้างเสาหิน (รายงานโดย อัล-
บุคอรีย์)
นักวิชาการมีมติเป็นเอกฉันท์แล้วว่า เวลาสุดท้ายของการขว้าง
เสาหินในวันตัชรีกนั้นคือ ตอนตะวันลับฟ้าของวันที่ 13 ซุลหิจญะฮฺ โดย
หากตะวันลับฟ้าในวันดังกล่าวไปแล้วและมีผู้ที่ยังมิได้ขว้างเสาหินก็ไม่
จำเป็นต้องขว้างเสาหินแล้ว แต่จำเป็นแก่เขาต้องเสียดัม(เชือดแพะ)
14. ต้องข้างคืนที่มีนาในวันตัชรีก คือ ( วันที่ 10, 11 และ 12) ซึ่ง
หากตะวันลับขอบฟ้าในวันที่ 12 แล้วยังมิได้ออกจากมีนา จำเป็นต้องค้าง
คืนที่มีนาอีกหนึ่งคืน และขว้างเสาหินทั้งสามต้นในวันที่ 13 อีกเช่นกัน
15. เมื่อผู้ประกอบพิธีหัจญ์ต้องการออกจากมักกะฮฺ เพื่อกลับ
ภูมิลำเนา จะต้องทำการเฏาะวาฟ วะดาอฺ (เฏาะวาฟอำลา) ก่อน เนื่องจาก
การเฏาะวาฟวะดาอฺ นั้นเป็นวาญิบของพิธีหัจญ์ตามทัศนะของนักวิชาการ
ส่วนใหญ่ ยกเว้นหญิงที่มีประจำเดือน มีคำบอกเล่าจากท่านอิบนุ อับบาส
เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม
กล่าวความว่า “คนหนึ่งคนใดอย่าพึ่งแยกย้ายไปไหน จนกว่าสัญญาของ
เขาจะสิ้นสุดที่บัยตุลลอฮฺ (หมายถึงการเฏาะวาฟวะดาอฺ)”

และมีรายงานหนึ่งได้กล่าวเสริมมีใจความว่า “เว้นแต่จะผ่อน
ปรนให้กับสตรีที่มีประจำเดือน(ไม่ต้องเฏาะวาฟวะดาอฺ)” (รายงานโดย
อิมาม มาลิก)
มีนักวิชาการจำ นวนมากได้ให้ความเห็นว่า ผู้ที่เฏาะวาฟ
อิฟาเฎาะฮฺ (เฏาะวาฟหัจญ์) ล่าช้าจนถึงเวลาเดินทางกลับ การเฏาะวาฟ
อิฟาเฎาะฮฺในขณะนั้นเพียงพอแล้ว โดยเขาไม่ต้องเฏาะวาฟวะดาอฺอีก
16. ผู้ที่จะเดินทางกลับภูมิลำเนาส่งเสริมให้กล่าวสิ่งที่ท่าน
อิมาม อัล-บุคอรีย์ได้บันทึกเอาไว้ ตามรายงานจากท่าน อิบนุ อุมัรฺ
เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ความว่า : แท้จริงท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม เมื่อท่านเสร็จสิ้นจากสงคราม หรือการประกอบพิธีหัจญ์ หรือ
อุมเราะฮฺ ท่านจะกล่าวตักบีรฺบนเนินดินที่สูง จากนั้นท่านจึงกล่าวว่า
َ لا إَِلهَ إِلاَّ اللهُ وَحْدَهُ َ لا شَرِيْكَ َلهُ، َلهُ اْلمُْلكُ وََلهُ
اْلحَمْدُ، وَهُوَ عَلىَ ُ كلِّ شَيْءٍ َقدِيْرٌ، آيِبُوْ َ ن تَائِبُوْ َ ن،
عَابِدُوْ َ ن لرَبنَا حَامِدُوْ َ ن، صَدَقَ اللهُ وَعْدَهُ، وَنَصَرَ
عَبْدَهُ، وَهَزَمَ الأَحْزَابَ وَحَدَهُ
คำอ่าน : ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮุ วะหฺดะฮฺ ลาชะรีกะ
ละฮฺ ละฮุลมุลกุ วาละฮุลหัมดุ วะฮุวา อะลากุลลิชัย
อิน กอดีรฺ, อายีบูน ตาอีบูน อาบีดูน ลีร๊อบบีนา
หามิดูน, เศาะดะก็อลลอฮุวะหฺดะฮฺ วะนะเศาะรอ
อับดะฮฺ วะฮะซะมัล อะหฺซาบะ วะหฺดะฮฺ
ความหมาย : ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์
เดียว โดยไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ ทรงครองอำนาจและสิทธิแห่ง
มวลการสรรเสริญ และทรงปรีชาสามารถเหนือทุกสรรพสิ่ง เราได้กลับ
ตัว ได้วอนขอลุแก่โทษ ได้เคารพอิบาดะฮฺพระผู้อภิบาลแห่งเรา อัลลอฮฺ
ทรงสัจจริงในสัญญาแห่งพระองค์ ทรงช่วยเหลือบ่าวของพระองค์ และ
ทรงกำราบเหล่ากองทัพทั้งหลายด้วยพระองค์เพียงผู้เดียว
*****

หลักการอิสลามข้อที่ส


หลักการอิสลามข้อที่สี่
การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน
หนึ่ง : คำนิยามของการถือศีลอด
การถือศีลอด(อัศ- ศิยาม) ทางด้านภาษา หมายถึง การระงับ
และทางด้านศาสนบัญญัติหมายถึง การระงับจากภาวะที่นำไปสู่
การละศีลอดตั้งแต่แสงอรุ่ณขึ้นจนกระทั่งดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า
สอง : หุก่มของการถือศีลอด
การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนเป็นหลักการประการหนึ่งของ
หลักการอิสลามห้าประการดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿يَا َأيهَا الَّذِينَ آمَنُوا كُتِبَ عََليْكُمُ ال  صيَامُ َ كمَا
كُتِبَ عََلى الَّذِينَ مِنْ َقبْلِ ُ كمْ َلعَلَّكُمْ تَتَُّقو َ ن﴾
( (سورة البقرة: 183
ความว่า : บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย การถือศีลอดนั้นได้ถูก
กำหนดแก่พวกเจ้า เช่นเดียวกับที่ได้ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้ก่อนหน้าพวก
เจ้ามาแล้ว เผื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง [อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 183]
และรายงานจากท่านอิบนุ อุมัรฺ เล่าว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ
อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวไว้มีความว่า “อิสลามนั้นตั้งอยู่บนรากฐานห้า
ประการคือ การกล่าวปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ
และมุหัมมัดเป็นรอซูลของอัลลอฮฺ ดำรงละหมาด จ่ายซะกาต ถือศีลอด
ในเดือนเราะมะฎอน และการประกอบพิธีหัจญ์ ณ บัยตุลลอฮฺ” (รายงาน
โดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
สาม : ภาคผลและวิทยปัญญาในบทบัญญัติการถือศีลอด
เดือนเราะมะฎอนเป็นเทศกาลที่ยิ่งใหญ่สำหรับการทำอิบาดะฮฺ
และปฏิบัติตามคำสั่งอัลลอฮฺ การมาเยือนของเดือนเราะมะฎอนนั้นคือ
ความโปรดปรานอันกว้างใหญ่ไพศาล และเป็นความประเสริฐที่มา
จากอัลลอฮฺ ซึ่งพระองค์จะทรงประทานให้แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ใน
บรรดาปวงบ่าวของพระองค์ ทั้งนี้และทั้งนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มพูนคุณงาม
ความดีและยกฐานะของเขาให้สูงเกียรติยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นการลบล้าง
ความผิดต่างๆ และเพื่อเสริมสร้างความผูกพันระหว่างปวงบ่าวกับพระ
ผู้สร้างให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เพื่อเขาจักได้รับความพอพระทัยจากพระองค์
และหัวใจที่เปี่ยมล้นไปด้วยความยำเกรง
ที่มาของความประเสริฐในการถือศีลอดเดือนเราะมะฎอนได้แก่
1. พระดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
﴿شَهْرُ رَمَضَا َ ن الَّذِي أُنْزِ َ ل فِيهِ الْقُرْآ ُ ن هُدىً لِلنَّاسِ
وَبَينَاتٍ مِنَ اْلهُدَى وَاْلُفرَْقانِ َفمَنْ شَهِدَ مِنْكُمُ
الشَّهْرَ َفلْيَصُمْهُ وَمَنْ كَا َ ن مَرِيضًا َأوْ عََلى سََفرٍ
َفعِدَّةٌ مِنْ َأيَّامٍ أُخَرَ يُرِيدُ اللَّهُ بِكُمُ اْليُسْرَ وَلا يُرِيدُ
بِكُمُ اْلعُسْرَ وَلِتُكْمِلُوا الْعِدََّة وَلِتُ َ كبرُوا اللَّهَ عََلى مَا
( هَدَا ُ كمْ وََلعَلَّكُمْ تَشْ ُ كرُو َ ن﴾ (سورة البقرة، الآية: 185
ความว่า : เดือนเราะมะฎอนนั้นเป็นเดือนที่อัลกุรอานได้ถูก
ประทานลงมาในฐานะเป็นข้อแนะนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอัน
ชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะนำนั้น และเป็นสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงกับ
ความเท็จ ดังนั้นผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว เขาก็จงถือ
ศีลอดในเดือนนั้น และผู้ใดป่วยหรืออยู่ในการเดินทาง ก็จงถือใช้ในวัน
อื่นแทน อัลลอฮฺทรงประสงค์ให้มีความสะดวกแก่พวกเจ้า และไม่ทรงให้
มีความลำบากแก่พวกเจ้าและเพื่อที่พวกเจ้าจะได้(ถือศีลอด)อย่าง
ครบถ้วนซึ่งจำนวนวัน(ของเดือนเราะมะฎอน) และเพื่อพวกเจ้าจะได้เชิด
ชูความเกรียงไกรของอัลลอฮฺในสิ่งที่พระองค์ทรงแนะนำแก่พวกเจ้า และ
เพื่อพวกเจ้าจะขอบคุณ [อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 185]
2. ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ รายงานว่า ท่าน
รอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวไว้มีความว่า “ผู้ใดถือศีลอด
ในเดือนเราะมะฎอนด้วยความศรัทธามั่นและหวังในการตอบแทนความ
ดี เขาจะได้รับการอภัยโทษในความผิดที่ผ่านมา” (รายงานโดย อัล-
บุคอรีย์ และมุสลิม)
3. ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้รายงานว่า ท่าน
รอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวไว้มีความว่า “ความดีจะถูก
เพิ่มพูนเป็นสิบถึงเจ็ดร้อยเท่า(ผลตอบแทนการปฏิบัติความดีจะมี
กฎเกณฑ์เช่นนี้ทั้งสิ้น) อัลลอฮฺได้ตรัสว่า ‘นอกจากการถือศีลอด แท้จริง
มันเป็นสิทธิ์ของข้า ข้าจะตอบแทนมันเอง(คือไม่ได้เป็นไปตามกฎเกณฑ์
ข้างต้นแต่อยู่ที่อัลลอฮฺจะทรงตอบแทนมากมายเท่าใดก็ตามแต่ประสงค์)
เขาได้ละทิ้งอารมณ์ใคร่ ละทิ้งอาหารเพื่อข้า’ และสำหรับผู้ถือศีลอดนั้น
เขาจะดีใจสองวาระด้วยกัน นั่นคือในขณะที่ละศีลอด และดีใจในขณะที่
เขาได้พบกับพระเจ้าของเขา และกลิ่นปากของผู้ถือศีลอดนั้น ณ อัลลอฮฺ

แล้วมีความหอมยิ่งกว่ากลิ่นชะมดเชียงเสียอีก” รายงานโดย (อัล-
บุคอรีย์ และมุสลิม)
4. ดุอาอฺของผู้ถือศีลอดจะถูกตอบรับ ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ
อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวไว้ความว่า “สำหรับผู้ถือศีลอดนั้นในขณะที่เขา
ละศีลอดนั้นการขอดุอาอฺของเขาจะไม่ถูกผลักไส” (รายงานโดย อิบนุ
มาญะฮฺ)
ดังนั้นสมควรอย่างยิ่งที่มุสลิมจะรีบฉวยโอกาสในช่วงเวลาแห่ง
การละศีลอด ด้วยการขอดุอาอฺต่อพระผู้เป็นเจ้าของเขาเผื่อว่าเขาจะได้รับ
ของขวัญอันล้ำค่าจากพระองค์ และเพื่อความผาสุกทั้งชีวิตในโลกดุนยา
และอาคิเราะฮฺ
5. อัลลอฮฺทรงกำหนดประตูหนึ่งจากประตูแห่งสรวงสวรรค์ เป็น
การกำหนดเฉพาะแก่ผู้ที่ถือศีลอดซึ่งไม่มีผู้ใดผ่านประตูดังกล่าวนอกจาก
ผู้ถือศีลอด ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่เขาและเพื่อจำแนกแยกแยะ
ระหว่างเขากับบุคคลอื่นๆ... จากซะฮลฺ อิบนุ สะอฺด์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ
กล่าวว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวไว้มีความว่า
“ในสวนสวรรค์นั้นมีประตูหนึ่งซึ่งถูกกล่าวขานว่า อัร-ร็อยยาน เมื่อวัน
กิยามะฮฺมาถึง จะมีเสียงกล่าวว่า ‘ไหนผู้ถือศีลอด?’ ครั้นเมื่อพวกเขาได้
เข้าไปยังประตูนั้น มันก็จะถูกปิดและจะไม่มีใครได้เข้าไปอีกภายหลัง
จากนั้นแม้สักคนเดียว” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
6. การถือศีลอดนั้นจะทำการไถ่โทษ(ชะฟาอะฮฺ) แก่ผู้ถือศีลอด
ในวันกิยามะฮฺ จากอับดุลลอฮฺ อิบนุ อัมรฺ อิบนุ อาซ กล่าวว่า ท่านรอซูล
ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวไว้ความว่า “การถือศีลอดและ
อัลกุรอาน ทั้งสองนี้จะขอไถ่โทษ (ชะฟาอะฮฺ) แก่ผู้เป็นบ่าวในวันกิยามะฮฺ
การถือศีลอดจะกล่าวว่า ‘โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน ฉันได้ยับยั้งเขาจากการ
รับประทานอาหาร และการปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ ดังนั้นขอพระองค์
ได้โปรดให้ฉันขอไถ่โทษให้แก่เขาเถิด’ อัลกุรอานกล่าวว่า ‘ฉันได้ยับยั้ง
เขาไม่ให้นอนหลับในยามค่ำคืนดังนั้นได้โปรดให้ฉันขอไถ่โทษให้เขาเถิด’
แล้วทั้งสองก็ได้รับอนุญาตให้ขอไถ่โทษ(ชะฟาอะฮฺ)” (รายงานโดย
อะหฺมัด)
7. การถือศีลอดทำให้มุสลิมได้รู้จักและเคยชินกับความอดทน
ต่ออุปสรรคและความทุกข์ยากทำให้เขาเลิกละจากความยั่วเย้าและการ
ตกเป็นทาสแห่งตัณหา และฉุดกระชากเขาออกจากความใคร่ในอารมณ์
สี่ : เงื่อนไขที่จำเป็น(วาญิบ)ในการถือศีลอด
บรรดานักวิชาการมุสลิมต่างเห็นฟ้องต้องกันว่า การถือศีลอด
เป็นหน้าที่จำเป็น(วาญิบ)แก่มุสลิมผู้บรรลุศาสนภาวะ มีสติสัมปชัญญะ
มีสุขภาพดี มิได้เป็นผู้เดินทางและจำเป็นสำหรับสตรีที่สะอาดจาก(ไม่มี)
รอบเดือนหรือเลือดเสียหลังคลอดบุตร(นิฟาส)
ห้า : ข้อควรปฏิบัติต่างๆของผู้ถือศีลอด
1. ห่างไกลจากการนินทา กล่าวให้ร้าย และสิ่งที่อัลลอฮฺทรงห้าม
ดังนั้นมุสลิมจำเป็นจะต้องสำรวมคำพูด และต้องระมัดระวังการสร้าง
ความเสียหายแก่ผู้อื่น ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวไว้
ความว่า “บุคคลใดไม่ละทิ้งคำพูดโกหก พฤติกรรมเท็จและไร้สาระ ทั้ง
ยังปฏิบัติมันอยู่อีก(ในขณะที่ถือศีลอด) ดังนั้นไม่มีความจำเป็นใดๆ
สำหรับอัลลอฮฺที่เขาผู้นั้นจะต้องอดอาหารและเครื่องดื่มของเขา(เพราะไม่
มีผลบุญใดๆ แก่เขาเลย)” (รายงานโดยอัล-บุคอรีย์)
2. ไม่ละเลยต่อการรับประทานอาหารสะฮูรฺ(อาหารช่วงก่อนรุ่ง
สาง) เพราะจะช่วยให้ผู้ถือศีลอดมีความกระปรี้กระเปร่าและมีชีวิตชีวาใน
การถือศีลอดในแต่ละวัน ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้
ส่งเสริมในการดังกล่าวโดยที่ท่านปรารภไว้ความว่า “การรับประทาน
อาหารสะฮูรฺนั้น เป็นอาหารมื้อที่มีความสิริมงคล (บารอกัต) ดังนั้นท่าน
จงอย่าละเลยในการที่จะรับประทานอาหารสะฮูรฺ ถึงแม้ว่าคนหนึ่งคนใด
จากพวกท่านจะดื่มน้ำเพียงแค่อึกเดียวก็ตาม แท้จริงอัลลอฮฺและบรรดา
มลาอิกะฮฺของพระองค์ทรงขอพรให้แก่ผู้ที่รับประทานอาหารสะฮูรฺ”
(รายงานโดย อะหฺมัด)
3. ให้รีบละศีลอดทันทีเมื่อแน่ใจว่าดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ท่าน
รอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวไว้ความว่า “ประชาชาติของ
ฉันยังคงอยู่ในความดีตราบเท่าที่พวกเขารีบละศีลอด(เมื่อถึงเวลา)”
(รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
4. ควร(เริ่ม)ละศีลอดด้วยอินทผาลัมสดหรืออินทผาลัมแห้ง
เพราะดังกล่าวนี้ เป็นแบบฉบับของท่านรอซูล(ซุนนะฮฺ) ดังที่ท่าน
อะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้กล่าวไว้ความว่า “ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ
อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ละศีลอดด้วยอินทผาลัมสดก่อนที่ท่านจะละหมาด
(มัฆริบ) ถ้าหากว่าไม่มีอินทผาลัมสดท่านก็จะละศีลอดด้วยอินทผาลัม
แห้ง หากว่าไม่มีอินทผาลัมแห้งท่านก็จะดื่มน้ำ” (รายงานโดย อบู ดาวูด)
5. อ่านอัลกุรอานให้มากๆ รวมทั้งการซิกรุลเลาะฮฺ (การรำลึก
ถึงอัลลอฮฺ) การสรรเสริญต่อพระองค์ การบริจาคทาน ทำคุณงามความดี
และละหมาดซุนนะฮฺต่างๆให้มากๆ ตลอดจนการประกอบความดีอื่นๆ
ดังที่ท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ได้กล่าวไว้ความว่า “ท่าน
รอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เป็นผู้ที่ประเสริฐที่สุดในเรื่องของ
ความดี และเป็นผู้ที่ประเสริฐที่สุดในช่วงแห่งเดือนเราะมะฎอน โดยที่
ญิบรีลได้มาพบกับท่านรอซูลในทุกค่ำคืนของเดือนเราะมะฎอนและ
ทบทวนอัลกุรอานแก่ท่าน และท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม
ในขณะที่เจอกับญิบรีลนั้น ท่านเอาใจใส่ในความดียิ่งเสียกว่าสายลมพัด
เสียอีก” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
หก : สิ่งที่ทำให้เสียศีลอด
1. กินหรือดื่มโดยเจตนาในช่วงกลางวันและรวมไปถึงสิ่งต่างๆที่
นำไปสู่การละศีลอด เช่นการให้น้ำเกลือ การรับประทานยาทางปาก
เพราะถือว่าอยู่ในสถานะเดียวกับการกินและดื่ม ส่วนการที่มีเลือดไหล
ซึมออกมาเพียงเล็กน้อยนั้น เช่น การเจาะเลือด เพื่อนำมาตรวจวินิจฉัย
ทางการแพทย์ ดังกล่าวนี้ถือว่าไม่มีผลกระทบใดๆต่อการที่จะทำให้เสีย
ศีลอด

2. การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงกลางวันของเดือนเราะมะฎอน ใน
การนี้ทำให้การถือศีลอดของเขาต้องโมฆะ เขาจะต้องลุกะโทษ(เตาบะฮฺ)
ต่ออัลลอฮฺในฐานะที่เขาละเมิดต่อสิ่งที่ต้องห้ามแห่งเดือนเราะมะฎอน เขา
จะต้องถือศีลอดชดใช้และเสียค่าปรับด้วยการปล่อยทาสให้เป็นอิสระ
หนึ่งคน หากว่าไม่มี(ทาส)ก็ให้ถือศีลอดติดต่อกันสองเดือน หากไม่มี
ความสามารถก็ให้เขาให้อาหารแก่คนยากจนหกสิบคน โดยจ่ายให้แก่ละ
คนนั้นครึ่งศออฺ( 2 กิโลครึ่งโดยประมาณ) ไม่ว่าอาหารนั้นจะเป็นข้าวสาลี
(ข้าวบาร์เล่)หรืออย่างอื่นก็ได้ที่ถือว่าอาหารท้องถิ่นนิยมของแต่ละ
ประเทศ ดังหะดีษฺจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ท่านกล่าวว่า :
ในขณะที่เรานั่งอยู่กับท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น มี
ชายผู้หนึ่งได้เข้ามาหาท่านแล้วพูดขึ้นว่า “โอ้ ท่านรอซูล! ฉันพินาศแล้ว!”
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงถามว่า “เกิดอะไรขึ้นแก่
ท่านหรือ?” เขาตอบว่า “ฉันได้ร่วมหลับนอนกับภรรยาฉันในขณะที่ฉัน
ถือ ศีลอดอยู่
ท่านรอซูลจึงกล่าวว่า “ท่านมีทาสเพื่อที่จะปลดปล่อยให้
เป็นอิสระบ้างหรือไม่?” เขาตอบว่า “ไม่มี” ท่านจึงกล่าวอีกว่า “ท่านมี
ความสามารถในการถือศีลอดติดต่อกันสองเดือนหรือไม่?” เขาตอบว่า
“ไม่” ท่านจึงกล่าวอีกว่า “ท่านมีความสามารถให้อาหารแก่คนยากจนหก
สิบคนได้หรือไม่?” เขาตอบว่า “ไม่” อบู ฮุร็อยเราะฮฺ)เล่าว่า ดังนั้นท่าน
รอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงนิ่งอยู่ชั่วขณะหนึ่ง ในขณะนั้นมี
ภาชนะที่บรรจุด้วยอินทผาลัมถูกนำมายังท่าน ท่านจึงถามว่า “ไหนผู้ถาม
เมื่อครู่?” ชายผู้นั้นตอบว่า “ฉันเอง” ท่านรอซูลกล่าวแก่ชายผู้นั้นว่า “จง
นำภาชนะที่บรรจุอินทผาลัมนี้ไปบริจาคเสีย” เขากล่าวว่า “มีผู้ยากจนกว่า
ฉันอีกกระนั้นหรือ โอ้ รอซูลุลลอฮฺ ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า ระหว่าง
ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกไม่มีครอบครัวใดที่ยากจนกว่าฉันอีกแล้ว”
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม หัวเราะจนเห็นซี่ฟันขาวของ
ท่าน แล้วกล่าวแก่ชายผู้นั้นว่า “ถ้าเช่นนั้นก็จงให้ทานแก่ครอบครัวของ
เจ้าเถิด” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์และมุสลิม)
3. การหลั่งน้ำอสุจิ ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุจากการจูบ เล้าโลม การ
สำเร็จความใคร่ หรือการเพ่งมอง(ด้วยความใคร่)ก็ตาม เมื่อผู้ถือศีลอด
ได้ทำการหลั่งน้ำอสุจิด้วยสาเหตุดังกล่าวนี้ การถือศีลอดของเขาก็ใช้
ไม่ได้ เขาต้องถือศีลอดชดใช้ในขณะเดียวกันเขาต้องอดอาหารใน
ช่วงเวลาที่เหลืออยู่ของวันนั้นโดยไม่ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺ(ค่าปรับ)ใดๆ
ทั้งสิ้น แต่เขาจะต้องเตาบะฮฺ(ขอลุกะโทษ)ต่ออัลลอฮฺอย่างจริงจัง และ
ต้องหลีกเลี่ยงจากทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นเหตุให้เกิดอารมณ์ทางเพศ ส่วน
ในกรณีที่เมื่อเขานอนหลับแล้วเกิดฝันโดยมีน้ำอสุจิเคลื่อนออกมานั้นไม่
ทำให้เสียการถือศีลอด และไม่ต้องเสียค่าปรับใดๆทั้งสิ้นแต่เขาจะต้อง
อาบน้ำญานาบะฮฺ
4. การอาเจียนโดยเจตนา ด้วยการทำให้สิ่งที่อยู่ในท้องออกมา
ทางปาก แต่ถ้าหากว่าอาเจียนออกมาโดยไม่ตั้งใจก็ไม่ทำให้เสียศีลอด
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวไว้ความว่า “ผู้ใดที่
อาเจียน(โดยไม่ตั้งใจ) ไม่จำเป็นที่เขาจะต้องชดใช้ และผู้ใดที่ทำให้เกิด
การอาเจียนโดยเจตนาเขาก็จงถือศีลอด(ชดใช้) (รายงานโดย อบู ดาวูด
และ อัต-ติรมีซีย์)
5. การมีรอบเดือนและเลือดหลังคลอดบุตร(นิฟาส)ไม่ว่าจะเป็น
ช่วงกลางวันหรือท้ายของกลางวัน หรือแม้เพียงแค่ก่อนดวงอาทิตย์ลับ
ขอบฟ้าก็ตาม
ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ถือศีลอดนั้น ต้องงดจากการกรอกเลือด
(หิญามะฮฺ) เพื่อหลีกเลี่ยงจากความเสี่ยงที่ทำให้การถือศีลอดนั้นต้อง
โมฆะไป
และที่ดีนั้นต้องไม่บริจาคเลือด นอกจากในภาวะฉุกเฉินเท่านั้น
หากว่ามีเลือดกำเดาไหลออกมาจากจมูกหรือไอ(ที่มีเลือดออกมา) หรือทำ
การถอนฟันนั้นไม่ทำให้เสียศีลอด
เจ็ด : บทบัญญัติทั่วไป
1. จำเป็นต้องถือศีลอดเมื่อเห็นจันทร์เสี้ยว อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿َفمَنْ شَهِدَ مِنْكُمُ الشَّهْرَ َفلْيَصُمْهُ﴾
( (سورة البقرة: 185
ความว่า : ดังนั้น ผู้ใดในหมู่พวกเจ้าอยู่ในเดือนนั้นแล้วก็จงถือ
ศีลอดในเดือนนั้น [อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 185]
การเป็นพยานของมุสลิมที่ซื่อสัตย์ยุติธรรมคนหนึ่งในการเห็น
ดวงจันทร์นั้นถือว่าเป็นการเพียงพอ ดังมีรายงานจากอิบนุอุมัร ท่านได้
กล่าวไว้ความว่า : ผู้คนได้เห็นดวงจันทร์ ฉันจึงนำเรื่องนี้ไปบอกแก่ท่าน
รอซูลว่าฉันได้เห็นดวงจันทร์(เช่นกัน) ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม จึงถือศีลอดและสั่งให้ประชาชนถือศีลอดดังการถือศีลอดของ
ท่าน” (รายงานโดย อบู ดาวูด, อัด-ดาริมีย์ และคนอื่นๆ)
การถือศีลอดของแต่ละประเทศนั้นขึ้นอยู่กับคำ สั่งของ
ผู้ปกครองมุสลิมในประเทศนั้นๆหากว่าผู้ปกครองมุสลิมออกคำสั่งให้มี
การถือศีลอดหรือไม่ก็ตาม จำเป็นที่จะต้องเชื่อฟัง(ฏออะฮฺ)ต่อผู้ปกครอง
มุสลิม หากไม่มีผู้ปกครองมุสลิมก็ให้ยึดถือปฏิบัติตามสภาศูนย์กลาง
อิสลามของประเทศนั้นๆ ทั้งนี้เพื่อความเป็นภารดรภาพแห่งอิสลาม
อนุญาตให้ใช้กล้องดูดาวในการดูดวงจันทร์ แต่ไม่อนุญาตให้ใช้
หลักการคำนวณทางดาราศาตร์ หรือการเห็นดวงดาวเพื่อกำหนดวันเข้า
บวชหรือออกบวช ให้ยึดถือตามการเห็นเท่านั้น ดังคำตรัสของอัลลอฮฺ
ที่ว่า
﴿َفمَنْ شَهِدَ مِنْكُمُ الشَّهْرَ َفلْيَصُمْهُ﴾
( (سورة البقرة: 185
ความว่า : ดังนั้น ผู้ใดในหมู่พวกเจ้าอยู่ในเดือนนั้นแล้วก็จงถือ
ศีลอดในเดือนนั้น [อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 185]
ผู้ใดได้เข้าสู่เดือนเราะมะฎอนโดยที่เขาบรรลุศาสนภาวะ
จำเป็นต้องถือศีลอดไม่ว่าช่วงเวลาของกลางวันนั้นจะยาวหรือสั้นก็ตาม
หลักการในการพิจารณาการเริ่มถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน
ของแต่ละแคว้น/หรือประเทศนั้น ขึ้นอยู่กับการเห็นตามตำแหน่งการขึ้น
ของดวงจันทร์ ดังกล่าวนี้เป็นทรรศนะที่ถูกต้องที่สุดจากสองทรรศนะ
ของนักวิชาการมุสลิม เนื่องจากบรรดาอุลามาอฺเห็นพ้องต้องกันว่า
ตำแหน่งการขึ้นของดวงจันทร์แต่ละตำแหน่งนั้นมีความแตกต่างกัน และ
ดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่รู้เห็นเด่นชัดกันโดยปริยาย เพราะท่านรอซูล
ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมกล่าวไว้ความว่า “ท่านทั้งหลายจงถือ
ศีลอดเมื่อเห็นดวงจันทร์(เข้าบวช) และท่านทั้งหลายจงละศีลอด(ออก
บวช) เมื่อเห็นดวงจันทร์ ดังนั้นถ้าหากว่ามีเมฆมาบดบังพวกท่าน ก็จง
นับเดือนชะอฺบานให้ครบ 30 วัน” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
2. ผู้ถือศีลอดจะต้องตั้งเจตนา (เนี๊ยต)ถือศีลอดในเวลากลางคืน
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวไว้ความว่า “แท้จริงทุกๆ
กิจการนั้นขึ้นอยู่กับการตั้งเจตนา (เนี๊ยต)” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์
และมุสลิม)
และท่านยังกล่าวอีกความว่า “ผู้ใดที่ไม่ได้ตั้งเจตนาก่อนรุ่งอรุณ
(ศุบฮฺ) นั้น ไม่มีการถือศีลอดสำหรับเขา(คือใช้ไม่ได้)” (บันทึกโดย
อะหฺมัด, อบู ดาวูด, อัต-ติรมิซีย์ และอัน-นะสาอีย์ จากหะดีษฺที่รายงาน
โดยท่านหญิงหัฟเซาะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา)
3. ไม่อนุญาตให้ละทิ้งการถือศีลอดหรือละศีลอดในช่วงกลางวัน
ของเดือนเราะมะฎอน ยกเว้นผู้ที่มีอุปสรรคเท่านั้น อันได้แก่ ผู้ป่วย ผู้
เดินทาง สตรีที่มีรอบเดือน มีเลือดหลังการคลอดบุตร ตั้งครรภ์หรือให้
นมบุตร ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿َفمَنْ كَا َ ن مِنْ ُ كمْ مَرِيضًا َأوْ عََلى سََفرٍ َفعِدَّةٌ مِنْ
( َأيَّامٍ ُأخَر﴾ (سورة البقرة: 184
ความว่า :และผู้ใดในพวกเจ้าป่วยหรืออยู่ในการเดินทางก็ให้ถือ
ใช้ในวันอื่น [อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 184]
ส่วนผู้ป่วยที่ไม่มีความสามารถถือศีลอด อนุญาตให้เขาไม่ต้อง
ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน แต่ทว่าหลังจากนั้นเขาต้องถือศีลอดชดใช้
ตามจำนวนวันที่เขาขาดถือศีลอด
สตรีที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรที่กลัวว่าจะเกิดอันตรายแก่ตนเอง
นั้น ไม่ต้องถือศีลอด แต่เขาต้องถือศีลอดใช้ ดังกล่าวนี้เป็นมติเอกฉันท์

ของบรรดานักวิชาการมุสลิม เพราะถือว่าเขาอยู่ในสถานะเดียวกับผู้ป่วย
ที่เกรงว่าจะเกิดอันตรายแก่ชีวิต
ส่วนในกรณีที่เมื่อกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตของตนเอง
รวมทั้งเด็กทารกหรือเด็กในครรภ์นั้น ก็ไม่ต้องถือศีลอดเช่นกัน แต่
จำเป็นต้องถือศีลอดชดใช้ดังมีรายงานจากท่านอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ
ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺทรงลดหย่อนผ่อนผันแก่ผู้เดินทางครึ่งหนึ่งของ
การละหมาดและการถือศีลอด และทรงลดหย่อนผ่อนผันแก่สตรีที่มี
ครรภ์และสตรีผู้ให้นมบุตร” (รายงานโดย อัน-นะสาอีย์ และอิบนุ
มาญะฮฺ เป็นหะดีษฺ หะซัน)
สำหรับผู้ชราภาพและสตรีที่อ่อนแอนั้นได้รับการผ่อนผันโดยไม่
ต้องถือศีลอด หากว่าการถือศีลอดนั้นก่อให้เกิดความยากลำบากอันหนัก
หน่วง และเขาต้องจ่ายอาหารให้คนยากจน(มิสกีน)ทุกวัน ดังที่อัลบุคอรีย์
ได้บันทึกจากอะฏออฺ ซึ่งท่านได้ยิน อิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา
อ่านโองการ
﴿وَعََلى الَّذِينَ يُطِيُقونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ﴾
( (سورة البقرة: 184
ความว่า :และหน้าที่ของบรรดาผู้ที่ถือศีลอดด้วยความ
ยากลำบากยิ่ง(โดยที่เขาได้งดเว้นการถือ)นั้น คือการชดเชย อันได้แก่การ
ให้อาหาร(มื้อหนึ่ง)แก่คนยากจนมิสกีนคนหนึ่ง [อัล-บะเกาะเราะฮฺ
โองการที่ 184]
ท่านอิบนุ อับบาสได้กล่าวว่า: โองการดังกล่าวนี้ ไม่ใช่โองการที่
ถูกยกเลิก ความในโองการนี้หมายถึง ผู้ชราภาพ และผู้หญิงที่อ่อนแอที่

ไม่สามารถถือศีลอดได้ เขาต้องจ่ายอาหารให้แก่คนยากจน (มิสกีน) ทุก
วัน
4. การเดินทางเป็นอุปสรรคประการหนึ่งที่ได้รับการผ่อนผันไม่
ต้องถือศีลอด ดังหะดีษฺจากท่านอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ความว่า “เรา
ได้เดินทางร่วมไปกับท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ผู้ถือ
ศีลอดไม่ตำหนิติเตียนผู้ไม่ถือศีลอด และผู้ไม่ถือศีลอดก็ไม่ตำหนิติ
เตียนผู้ถือศีลอด” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)

หลักการอิสลามข้อที่สาม


หลักการอิสลามข้อที่สาม
ซะกาต

หนึ่ง : คำนิยามของซะกาต
ความหมายตามรากศัพท์ทางภาษาอาหรับ
หมายถึง การงอกเงย หรือการเพิ่มพูน และยังได้ใช้คำว่า ซะกาต
ในการยกย่องสรรเสริญ การชำระล้างทำความสะอาด หรือการปรับปรุง
แก้ไข
ทั้งนี้ได้เรียกอัตราที่จ่ายซะกาตว่า “ซะกาต” นั้น ก็เพราะส่วน
ดังกล่าวจะเพิ่มพูนความสิริมงคลแก่ทรัพย์สินที่อยู่ภายใต้การ
ครอบครอง และเป็นการชำระเจ้าของทรัพย์ด้วยการอภัยโทษจากอัลลอฮฺ
ความหมายทางศาสนบัญญัติ
หมายถึง ส่วนที่ถูกกำหนดไว้(วาญิบ)บนทรัพท์สินที่ถูกเจาะจง
ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ในช่วงระยะเวลาที่ถูกกำหนด
สอง : ความสำคัญและเหตุผลในการจ่ายซะกาต
ซะกาต คือหลักปฏิบัติ (รุก่น) ประการหนึ่งจากรุก่นอิสลามทั้งห้า
ซึ่งอัลลอฮฺได้ทรงระบุซะกาตพร้อมกับการกล่าวถึง การละหมาดใน
ขณะเดียวกันในหลายๆโองการของอัลกุรอาน เช่นพระดำรัสของพระองค์
ที่ว่า
( ﴿وََأقِيمُوا الصَّلاَة وَآتُوا الزَّكَاَة﴾ (سورة البقرة: 43

ความว่า : และพวกเจ้าจงยืนหยัดการละหมาดและจงจ่ายซะกาต
[อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 43]
และพระดำรัสของพระองค์ที่ว่า
( ﴿وَيُقِيمُوا الصَّلاَة وَيُؤْتُوا الزَّكَاَة﴾ (سورة البينة: 5
ความว่า : และ(พวกเจ้า)จงยืนหยัดการละหมาด และจงจ่าย
ซะกาต [อัล-บัยยินะฮฺ โองการที่ 5]
และท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวไว้ตาม
รายงานของท่านอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ความว่า “อิสลามได้
ถูกยืนหยัดบนหลักห้าประการ (โดยได้ระบุหนึ่งในจำนวนนั้นว่า) การจ่าย
ซะกาต” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
อัลลอฮฺได้ทรงบัญญัติซะกาตขึ้น เพื่อเป็นการขัดเกลาจิตใจ
มนุษย์จากความโลภ ตระหนี่ถี่เหนียว พร้อมทั้งเป็นการอนุเคราะห์บุคคล
ที่ขัดสนและยากไร้
ในขณะเดียวกันยังเป็นการชำระล้างทรัพย์สินให้หมดจากบาป
และเป็นการเพิ่มพูนทรัพย์สินให้มีความจำเริญและสิริมงคลห่างจาก
ความหายนะ ตลอดจนเป็นการสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความผาสุขและ
ปรีดา ในการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม
พระองค์ได้ตรัสว่า
﴿خُ ْ ذ مِنْ َأمْوَالِهِمْ صَدََقًة تُ َ ط  هرُهُمْ وَتُزَكِّيهِمْ بِهَا﴾
( (سورة التوبة: 103

ความว่า : ท่านจงเอาส่วนหนึ่งจากทรัพย์สมบัติของพวกเขาเป็น
ทาน เพื่อทำให้พวกเขาบริสุทธิ์ และล้างมลทินของพวกเขาด้วยส่วนที่เป็น
ทานนั้น [อัต-เตาบะฮฺ โองการที่ 103]
สาม : ข้อตัดสิน(หุก่ม)ของการจ่ายซะกาต
การจ่ายซะกาต คือข้อบังคับหรือฟัรฎู ซึ่งมุสลิมทุกคนที่มี
ทรัพย์สินครบตามจำนวนที่ศาสนากำหนด จะต้องจ่ายซะกาตตามเงื่อนไข
ที่ศาสนากำหนด ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินของผู้เยาว์ หรือคนบ้า โดย
ผู้ปกครองของผู้เยาว์และคนบ้าจะเป็นผู้จัดการในการจ่ายซะกาตแทน
บุคคลประเภทนี้ และผู้ใดปฏิเสธซะกาตโดยเจตนาแล้วเขาผู้นั้นถูก
จัดเป็นผู้ปฏิเสธ(กาฟิรฺ)สิ้นสุดการเป็นมุสลิมในทันที
แต่ถ้าหากเขาปฏิเสธซะกาตด้วยความตระหนี่ถี่เหนียวแล้ว เขาผู้
นั้นถูกจัดให้เป็นผู้ที่ทำบาปใหญ่ชนิดหนึ่ง ซึ่งหากเขาเสียชีวิตในขณะนั้น
ชะตากรรมของเขาจะถูกกำหนดโดยพระประสงค์ของอัลลอฮฺระหว่างเข้า
สวรรค์หรือลงนรก และจะต้องถูกประจานให้ผู้อื่นได้รับทราบถึง
พฤติกรรมของเขา ดังพระดำรัสของพระองค์ที่ว่า
﴿إِنَّ اللَّهَ لا يَغْفِرُ َأ ْ ن يُشْرَكَ بِهِ وَيَغْفِرُ مَا دُو َ ن َ ذلِكَ
( لِمَنْ يَشَاءُ﴾ (سورة النساء: 48
ความว่า : แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงอภัยโทษ แก่ผู้ที่ตั้งภาคีกับ
พระองค์โดยเด็ดขาด และพระองค์จะทรงอภัยโทษในบาปอื่นต่อผู้ที่
พระองค์ทรงประสงค์ [อัน-นิสาอฺ โองการที่ 48]
บุคคลที่ปฏิเสธการออกซะกาตนั้น อัลลอฮฺได้ทรงกำหนด
บทลงโทษแก่เขาไว้แล้ว ดังพระดำรัสของพระองค์ที่ว่า
﴿وَالَّذِينَ يَكْنِزُو َ ن الذَّهَبَ وَالْفِضََّة وَلا يُنْفُِقونَهَا فِي
سَبِيلِ اللَّهِ َفبَ  شرْهُمْ بِعَذَابٍ َألِيمٍ. يَوْمَ يُحْمَى عََليْهَا
فِي نَارِ جَهَنَّمَ َفتُ ْ كوَى بِهَا جِبَاهُهُمْ وَجُنُوبُهُمْ
وَظُهُورُهُمْ هَ َ ذا مَا َ كنَزْتُمْ لأنْفُسِكُمْ َف ُ ذوُقوا مَا ُ كنْتُمْ
(35- تَكْنِزُو َ ن﴾ (سورة التوبة،: 34
ความว่า : และบรรดาผู้สะสมทองคำและเงิน โดยไม่ยอมจ่ายไป
ในวิถีทางของอัลลอฮฺ จงแจ้งข่าวดีแก่พวกเขาเถิดถึงการลงโทษอัน
เจ็บปวด(เป็นสำ นวนเย้ยหยัน) ในวันที่มันจะถูกนำ มาเผาในไฟ
นรกญะฮันนัม แล้วนำมันไปนาบหน้าผาก สีข้าง และหลังของพวกเขา นี่
คือสิ่งที่พวกเจ้าสะสมไว้ เพื่อตัวของพวกเจ้าเอง ดังนั้นพวกเจ้าจงลิ้มรส
สิ่งที่พวกเจ้าได้สะสมไว้เถิด [อัต-เตาบะฮฺ โองการที่ 34-35]
ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูล
ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวความว่า “ไม่มีผู้ครอบครอง
ทรัพย์สินใดที่ไม่จ่ายซะกาต นอกเสียจากทรัพย์นั้นจะถูกนำไปเผาใน
นรกญะฮัมนัม จนเป็นแท่งแล้วถูกนำไปทาบกับสีข้างทั้งสองและหน้าผาก
ของเขา จนถึงวันที่อัลลอฮฺจะทรงพิพากษาบ่าวของพระองค์ ในวันซึ่ง
เวลาของมันนานเท่ากับห้าหมื่นปี (ของเวลาในโลกนี้)” (รายงานโดย อัล-
บุคอรีย์ และมุสลิม)
สี่ : กฎเกณฑ์ เงื่อนไข ของผู้ที่ต้องจ่ายซะกาต
กฎเกณฑ์ หรือเงื่อนไขดังกล่าวมี 5 ข้อด้วยกันคือ
1. ต้องนับถือศาสนาอิสลาม จึงไม่จำเป็นต่อผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมที่
จะต้องจ่ายซะกาต
2. เป็นไท หรือมีอิสรภาพ จึงไม่จำเป็นแก่ทาส ทั้งทาสทั่วไป หรือ
ทาสที่อนุมัตให้ไถ่ตัวเองได้ เนื่องจากทาสไม่มีทรัพย์สินในการ
ครอบครอง (ตามทัศนะของนักวิชาการส่วนมาก)
3. มีทรัพย์สินครบตามอัตรา จึงไม่จำเป็นแก่ทรัพย์สินที่มีจำนวน
น้อยไม่ครบตามอัตรา
4. ครอบครองทรัพย์สินโดยเด็ดขาด จึงไม่จำเป็นแก่ทรัพย์สินที่
พัวพันกับการเป็นหนี้ หรือเงินกำไรจากการลงทุนร่วมก่อนการแบ่งปันผล
หรือวงเงินที่ถูกหยิบยืม หรือทรัพย์สมบัติที่ถูกอุทิศเพื่อประโยชน์
ส่วนรวม (วากัฟ) เช่น ทรัพย์สินที่ถูกอุทิศแก่ นักรบ มัสญิด คนยากจน
เป็นต้น.
5. ครอบครองทรัพย์สินตามอัตรา ครบรอบปี(จันทรคติ)ยกเว้น
ในกรณีของธัญญพืชและผลไม้ที่ไม่ถูกกำหนดให้ครบรอบปี โดยการจ่าย
นั้นจะกระทำต่อเมื่อผลไม้นั้นๆสุกดีแล้ว พร้อมกับครบตามอัตราที่ถูก
กำหนดไว้ ดังพระดำรัสของอัลลอฮฺ ที่ว่า
( ﴿وَآتُوا حَقَّهُ يَوْمَ حَصَادِهِ﴾ (سورة الأنعام: 141
ความว่า : และจงจ่ายสิทธิ์ของมันในวันที่เก็บเกี่ยวมัน [อัล-
อันอาม โองการที่ 141]
ส่วนทรัพย์สินที่เป็นสินแร่นั้น ถูกจัดอยู่ในกรณีซะกาตของ
ผลผลิตที่งอกเงยจากพื้นดิน เนื่องจากสินแร่ก็เป็นผลผลิตที่ได้จาก
พื้นดินเช่นกัน
ส่วนผลผลิตจากการปศุสัตว์ที่เลี้ยงแบบปล่อยกินหญ้าสาธารณะ
นั้น อันได้แก่ลูกของสัตว์ดังกล่าว หรือผลกำไรจากการขาย ให้นำ
ผลผลิตเหล่านี้ รวมเข้ากับจำนวนเดิม(พ่อพันธุ์แม่พันธุ์) ซึ่งวาระของ
จำนวนหลังนั้นก็คือวาระของจำนวนแรก ซึ่งต้องจ่ายซะกาตเช่นกัน
ห้า : ทรัพย์ที่จำเป็นต้องจ่ายซะกาต
1. ทองคำและเงิน
ไม่ว่าจะอยู่ในรูปเงินตรา เป็นแท่งหรือรูปพรรณ เนื่องจาก
เงินตรานั้น เดิมทีเป็นทองคำหรือเงิน ดังนั้นเงินตราที่เป็นพันธบัตรหรือ
เหรียญนั้น จึงถือว่าเข้าข่ายของทองคำและเงินด้วย
อัตราที่ต้องจ่ายซะกาตจากทองและเงินนั้นคือ 2.5 % ของทองคำ
หรือเงินที่ครอบครองอยู่โดย ครบวาระรอบปีตามพิกัดที่ถูกกำหนดไว้
ซึ่งพิกัดของทองคำที่ต้องจ่ายซะกาตนั้นคือ 20 มิซกอล (หน่วย
การชั่งของอาหรับ) โดย 1 มิซกอล จะเท่ากับ 4.25 กรัม ดังนั้น พิกัดของ
ทองคำก็คือ 85 กรัมขึ้นไป
ส่วนพิกัดของเงินนั้น คือ 200 ดิรฮัม (หน่วยเงินของอาหรับ) โดย
1 ดิรฮัม จะเท่ากับ 2.995 กรัม ดังนั้นพิกัดของเงินก็คือ 595 กรัมขึ้นไป
ส่วนกรณีของเงินตราที่เป็นพันธบัตรนั้น การจ่ายซะกาตให้
ดำเนินการเช่นเดียวกับ พิกัดของทองคำหรือเงินก็ได้ โดยให้เปรียบเทียบ
เงินตราเท่ากับค่าของทอง 85 กรัม หรือเงิน 595 กรัมในขณะนั้นหรือช่วง
ปัจจุบัน เนื่องจากราคาทองคำและเงินนั้น มีการขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา
หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้ใดมีเงินที่สามารถซึ้อทองคำ 85 กรัมขึ้น
ไป หรือสามารถซื้อเงิน 595 กรัมขึ้นไปในขณะนั้น เขาจะต้องจ่ายซะกาต
เมื่อครบรอบปีในทันที โดยจะไม่คำนึงถึงค่าเดิมของเงินตรานั้นว่าจะมา
จากเงินหรือทองคำ เช่น เงินเหรียญดีนาร์ ปอนด์ ดอลลาร์ บาท เป็นต้น
และไม่คำนึงถึงลักษณะของมันไม่ว่าจะเป็นกระดาษ(พันธบัตร) หรือ
โลหะก็ตาม
และพึงจำไว้เสมอว่า เงินตราที่ต้องจ่ายซะกาตนั้นก็คือ เงินตราที่
สามารถซื้อพิกัดของทองคำ หรือเงินในขณะครบวาระนั้นเอง
ตัวอย่างเช่น ซะกาตจำเป็นต้องจ่ายในวันที่ 1 เราะมะฎอน ดังนั้นให้
เปรียบเทียบจำนวนเงินกับราคาของพิกัดทองคำและเงินในวันนี้เป็นต้น
ส่วนจำนวนทองคำ เงิน หรือเงินตราที่เกินจากพิกัด ก็จำต้องจ่าย
ซะกาตในส่วนที่เกินนี้ด้วยการเฉลี่ยตามอัตราและพิกัดเดิม โดยมีข้อ
อ้างอิงจากหะดีษฺบทหนึ่งซึ่งรายงานโดยท่านอะลี เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวความว่า “เมื่อท่าน
ครอบครองไว้สองร้อยดิรฮัม และครบรอบปี ต้องจ่ายซะกาตห้าดิรฮัม
และไม่มีอะไรที่ท่านจะต้องจ่าย(หมายถึงทองคำ) จนกว่าท่านจะ
ครอบครองมันไว้ยี่สิบดีนารฺเมื่อท่านครอบครองไว้ยี่สิบดีนารฺและ
ครบรอบปี ท่านต้องมีซะกาตครึ่งดีนารฺ และส่วนที่เกินจากนั้นก็ให้ใช้
หลักคำนวณเช่นกัน และไม่พึงต้องจ่ายซะกาตในทรัพย์สินจนกว่า จะ
ครบรอบปี” (รายงานโดย อบู ดาวูด และหะดีษฺนี้อยู่ในระดับหะซัน)
ส่วนเครื่องประดับที่ประดิษฐ์จากทองคำหรือเงิน มีสองลักษณะ
ด้วยกันคือ
1. เครื่องประดับที่ถูกเก็บไว้เพื่อการเช่า ซึ่งในกรณีนี้
นักวิชาการทั้งหมดเห็นพ้องกันว่า พึงจำเป็นต้องจ่ายซะกาต โดยไม่มี
ข้อยกเว้นใดๆ
2. เครื่องประดับที่ถูกนำ มาใช้ประดับ ก็จำ เป็นต้องจ่าย
ซะกาตเช่นกันตามทัศนะของนักวิชาการที่หลักฐานในการอ้างอิงของพวก
เขาที่มีน้ำหนักกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง
ซึ่งหลักฐานในการอ้างอิงของพวกเขาก็คือ ตัวบทอัลกุรอานที่
ระบุถึง ความจำเป็นที่ต้องจ่ายซะกาตของทองคำและเงิน และอ้างอิงถึง
หะดีษฺหลายบทด้วยกัน เช่น หะดีษฺที่บันทึกโดย อบู ดาวูด อัน-นะสาอีย์
และอัต-ติรมีซีย์ ซึ่งรายงานโดย ท่านอัมรฺ อิบนุ ชุอัยบฺ จากบิดาของท่าน
และบิดาของท่านก็รายงานมาจากปู่ของท่าน เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ความว่า
: มีหญิงนางหนึ่งมาหาท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม พร้อม
กับลูกสาวของนาง โดยที่ข้อมือลูกสาวของนาง ได้สวมเครื่องประดับจาก
ทองคำ ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมจึงถามนางว่า “เธอจ่าย
ซะกาตของสิ่งนี้แล้วหรือ?” นางจึงตอบว่า “เปล่าเลย” ท่านรอซูล
ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงกล่าวแก่นางว่า “เธอยินดีกระนั้นหรือ
ที่อัลลอฮฺจะประดับกำไลทั้งสองจากไฟนรก(อันมาจากสาเหตุไม่จ่ายซะ
กาตเครื่องประดับดังกล่าว)?” นางจึงถอดเครื่องประดับทั้งสองต่อหน้า
ท่านรอซูลพลางกล่าวว่า “มันทั้งสองเป็นสิทธิของอัลลอฮฺและรอซูลของ
พระองค์”
และจากหะดีษฺอีกบทหนึ่งที่ถูกบันทึกโดยอบู ดาวูดและคนอื่นๆ
ซึ่งรายงานมาจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ความว่า : ท่าน
รอซูลได้เข้ามาหาฉัน และเห็นวงแหวนหลายอันที่ทำจากเงิน ท่านจึงถาม
ว่า “นี่อะไรกัน อาอิชะฮฺ?” ฉันจึงตอบว่า “สิ่งนี้ฉันทำมันขึ้นมาเพื่อให้ท่าน
ได้เห็นฉันประดับมัน โอ้ท่านรอซูล” ท่านจึงกล่าวว่า “เธอจ่ายซะกาตของ
มันแล้วหรือ?” ฉันตอบว่า “เปล่า” (ในรายงานหนึ่งนางตอบด้วยความ
ประหลาดใจว่า) “มาชาอฺ อัลลอฮฺ (เป็นความประสงค์ของอัลลอฮฺ)” ท่าน
รอซูลจึงกล่าวว่า “มันเป็นสิ่งที่สามารถอย่างเพียงพอแล้วสำหรับจะนำเธอ
สู่ไฟนรก(ถ้าเธอไม่จ่ายซะกาต)”
หลักฐานเหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนที่ใช้ในการอ้างอิงถึงความ
จำเป็นที่ต้องจ่ายซะกาตของทองคำและเงินไม่ว่าจะใช้ประดับหรือไม่ก็
ตาม
ในส่วนของสินแร่และทรัพยากรธรณี ที่นอกเหนือจากทองคำ
และเงิน เช่น พลอยเป็นต้น นักวิชาการกลุ่มหนึ่งเห็นว่า ไม่จำเป็นต้อง
จ่ายซะกาต ยกเว้นในกรณีที่ถูกนำมาเป็นสินค้าซื้อขาย ซึ่งต้องจ่าย
ซะกาต ตามลักษณะของสินค้า
2. ปศุสัตว์
ได้แก่ อูฐ วัว แพะหรือแกะ การจ่ายซะกาตของสัตว์เหล่านี้ มี
กฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขว่า ต้องเป็นสัตว์ที่ถูกเลี้ยงให้หากินเองตามที่
สาธารณะเป็นส่วนใหญ่ ตามหลักฐานจากหะดีษฺที่มีความว่า “อูฐที่เลี้ยง
ตามทุ่งหญ้าสาธารณะนั้นต้องจ่ายซะกาต” (รายงานโดย อะหฺมัด, อบู
ดาวูด และอัน-นะสาอีย์)
และจากหะดีษฺอีกบทหนึ่งมีใจความว่า “ซะกาตของแพะนั้น คือ
(แพะ)ที่เลี้ยงตามทุ่งหญ้าสาธารณะ” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์)
การจ่ายซะกาตของสัตว์เหล่านี้มีเงื่อนไขอยู่ว่า ต้องครอบครอง
ครบตามพิกัดในช่วงครบรอบปี
พิกัดปศุสัตว์และจำนวนที่ต้องจ่ายซะกาต
1. อูฐ
พิกัด จำนวนที่ต้องจ่าย หมายเหตุ
จาก 5 ถึง 9 แกะหนึ่งตัว
จาก 10 ถึง 14 แกะสองตัว
จาก 15 ถึง 19 แกะสามตัว
จาก 20 ถึง 24 แกะสี่ตัว
แกะในที่นี้ คือแกะที่พลัดพันหน้า
หรือมีอายุหนึ่งปี
หรือแพะอายุสองปี
จาก 25 ถึง 35 บินตุมะคอตหนึ่งตัว คืออูฐตัวเมียมีอายุย่างเข้าสองปี
จาก 36 ถึง 45 บินตุละบูน คืออูฐตัวเมียมีอายุย่างเข้าปีที่สาม
จาก 46 ถึง 60 ฮิกเกาะฮฺหนึ่งตัว คืออูฐตัวเมียมีอายุย่างเข้าปีที่สี่
จาก 61 ถึง 75 ญิชอะฮฺหนึ่งตัว คืออูฐตัวเมียมีอายุย่างเข้าปีที่ห้า
จาก 76 ถึง 90 บินตุละบูนสองตัว
จาก 91 ถึง 120 ฮิกเกาะฮฺสองตัว
เกิน 120 ตัวขึ้นไป
เพิ่มขึ้น
ทุกๆ 40 ตัว
-ให้จ่ายบินตุละบูนหนึ่งตัว
เพิ่มขึ้น
ทุกๆ 50 ตัว
-ให้จ่ายฮิกเกาะฮฺหนึ่งตัว (ตามทัศนะของนักวิชาการส่วน
ใหญ่)
พิกัด จำนวนที่ต้องจ่าย
จาก 30 ถึง 39 วัวที่มีอายุหนึ่งปีเพศผู้หรือเพศเมียก็ได้จำนวน 1 ตัว
จาก 40 ถึง 59 วัวที่มีอายุสองปีต้องเป็นเพศเมียหนึ่งตัว

จาก 60 ถึง 69 วัวที่มีอายุหนึ่งปีจำนวน 2 ตัว
จาก 70 ถึง 79 วัวอายุหนึ่งปี 1 ตัว และอายุสองปีเพศเมีย 1 ตัว
รวมเป็น 2 ตัว
เกิน 70 ขึ้นไป
เพิ่มขึ้นทุกๆ 30 ตัว วัวอายุหนึ่งปี 1 ตัว
เพิ่มขึ้นทุกๆ 40 ตัว วัวอายุสองปีเพศเมีย 1 ตัว
3. แพะหรือแกะ
พิกัด จำนวนที่ต้องจ่าย
จาก 40 ถึง 120 แกะอายุหนึ่งปี หรือแพะอายุสองปี 1 ตัว
จาก 121 ถึง 200 แกะหรือแพะดังกล่าว จำนวน 2 ตัว
จาก 201 ถึง 300 แกะหรือแพะดังกล่าว จำนวน 3 ตัว
เกิน 300 ขึ้นไป ทุกๆ 100 ตัวให้จ่ายแกะหรือแพะดังกล่าว 1 ตัว
ส่วนหลักฐานที่ระบุถึงจำนวนสัตว์ที่ต้องจ่ายซะกาตนั้น คือ
หะดีษฺที่รายงานโดยอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ที่มีการระบุว่า ท่านอบู
บักรฺเราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้มอบข้อความฉบับหนึ่งในขณะที่ท่านอะนัส
ถูกส่งตัวไปพำนัก ณ เมืองบะฮฺเรน ซึ่งเนื้อความฉบับนั้นมีใจความดังนี้
“ด้วยนามแห่งอัลลอฮฺผู้ทรงกรุณายิ่งผู้ทรงปรานียิ่ง นี่คือ
ข้อบังคับเรื่องซะกาตที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้
กำหนดให้เป็นหน้าที่สำหรับมวลมุสลิม และคือข้อบังคับที่อัลลอฮฺทรง
บัญชาแก่ศาสนทูตของพระองค์ มุสลิมคนใดถูกเรียกเก็บซะกาตอย่าง
ถูกต้อง ให้เขาจงจ่ายเถิด และผู้ใดถูกเรียกเก็บเกินกว่าที่กำหนด เขาไม่
ต้องจ่าย ในอูฐจำนวนยี่สิบตัวหรือที่น้อยกว่านั้นได้แก่ ทุกห้าตัวต้องจ่าย
แกะหนึ่งตัว เมื่อมีอูฐยี่สิบห้าตัวจนถึงสามสิบห้าตัว ต้องจ่ายบินตุมะคอต
หนึ่งตัว(อูฐตัวเมียที่ย่างเข้าปีที่สอง) ถ้าไม่มีบินตุมะคอตให้จ่ายอิบนุ
ละบูนหนึ่งตัว (อูฐตัวผู้ที่ย่างเข้าปีที่สาม) เมื่อมีอูฐสิบหกตัวจนถึงสี่สิบห้า
ตัวให้จ่ายบินตุละบูนหนึ่งตัว(อูฐตัวเมียที่ย่างเข้าปีที่สาม) เมื่อมีอูฐสี่สิบ
หกตัวจนถึงหกสิบตัว ให้จ่ายฮิกเกาะฮฺ(อูฐตัวเมียย่างเข้าปีที่สี่)ที่รับการ
ผสมพันธุ์ได้แล้วหนึ่งตัว เมื่อมีอูฐห้าสิบเอ็ดตัวจนถึงเจ็ดสิบห้าตัว ให้
จ่ายญิซอะฮฺ(อูฐตัวเมียย่างเข้าปีที่ห้า)หนึ่งตัว เมื่อมีอูฐเจ็ดสิบหกตัวจนถึง
เก้าสิบตัวจ้องจ่ายบินตุละบูนสองตัว เมื่อมีอูฐเก้าสิบเอ็ดตัวจนถึงหนึ่ง
ร้อยยี่สิบตัวต้องจ่ายฮิกเกาะฮฺที่รับการผสมพันธุ์แล้วสองตัว และเมื่อ
เกินหนึ่งร้อยยี่สิบตัว ต้องจ่ายบินตุละบูนหนึ่งตัวต่อทุกๆยี่สิบตัวที่
เพิ่มขึ้น และผู้ใดครอบครองอูฐสี่ตัวก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตเว้นแต่
เจ้าของอูฐจะต้องการ แต่หากอูฐมีครบห้าตัว ก็ต้องจ่ายซะกาตแพะ(หรือ
แกะ) หนึ่งตัว และในส่วนซะกาตแพะนั้นต้องเป็นสัตว์ที่ปล่อยเลี้ยงในทุ่ง
หญ้าสาธารณะ ถ้ามีสี่สิบตัวถึงหนึ่งร้อยยี่สิบตัว ต้องจ่ายแกะหนึ่งตัว
และเมื่อเกินจากหนึ่งร้อยยี่สิบตัวถึงสองร้อยตัวต้องจ่ายซะกาตแกะสอง
ตัว และเมื่อเกินจากสองร้อยตัวถึงสามร้อยตัว ต้องจ่ายซะกาตแกะสาม
ตัว และเมื่อเกินจากสามร้อยตัวขึ้นไปให้จ่ายแกะหนึ่งตัวต่อทุกๆหนึ่ง
ร้อยตัวที่เกิน และถ้าหากแพะของชายคนหนึ่งขาดไปหนึ่งจึงจะครบสี่สิบ
ตัวก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาต นอกจากเจ้าของแพะต้องการ” (หะดีษฺ
บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์)
และยังมีหะดีษฺที่รายงานโดยมุอาซฺ อิบนุ ญะบัล เราะฎิยัลลอฮฺ
อันฮุ ความว่า : ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ส่งเขา(มุ
อาซฺ) ไปยังเมืองเยเมน พร้อมทั้งได้มีคำสั่งให้เก็บ (ซะกาต) ในวัวสามสิบ
ตัวให้จ่ายตะบีอฺหรือตะบีอะฮฺ (คือวัวที่มีอายุหนึ่งปีเพศผู้หรือเมีย)หนึ่งตัว
และในทุกๆ สี่สิบตัวนั้นให้จ่ายมุซินนะฮฺ(คือวัวที่มีอายุเข้าสองปีเพศเมีย)
หนึ่งตัว” (รายงานโดย อัต-ติรมิซีย์, อบู ดาวูด, อัน-นาสาอีย์ และอิบนุ
มาญะฮฺ)
สำหรับลูกของสัตว์จำพวกนี้ ที่คลอดใหม่หลังจากนับรอบปีพ่อ
พันธุ์แม่พันธุ์แล้ว ให้ถือเป็นสัตว์ที่อยู่ในจำนวนเดิม กล่าวคือ หากสัตว์
ดังกล่าวไม่ครบตามพิกัด เว้นแต่ต้องนับจำนวนลูกรวมเข้าไปด้วย ก็ให้
ถือว่า สัตว์นั้นครบตามพิกัดแล้วจำเป็นต้องจ่ายซะกาตเมื่อครบรอบปี
ถ้าหากว่าสัตว์พวกนี้ถูกเลี้ยงไว้เพื่อเป็นสินค้า การจ่ายซะกาตนั้นก็ให้
ดำเนินตามข้อกำหนดของซะกาตสินค้า แต่ถ้าถูกเลี้ยงไว้เพื่อการใช้งาน

และขยายพันธุ์ ก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตแต่อย่างใด ดังหะดีษฺที่รายงาน
โดย ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ
อะลัยฮิ วะสัลลัมกล่าวความว่า “ไม่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลิม ในบ่าว
ไพร่ และพาหนะของเขา(สัตว์ที่ใช้เป็นพาหนะ) ที่จะต้องจ่ายซะกาต”
(รายงานโดย อัล-บุคอรีย์)
3. ธัญญพืช และผลไม้
ต้องจ่ายซะกาตของธัญญพืชและผลไม้ทันทีเมื่อครบตามพิกัด
ซึ่งพิกัดของธัญญพืชและผลไม้นั้น คือห้าวะสัก ดังคำกล่าวของท่าน
รอซูลศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมมีความว่า “ในสิ่งที่ต่ำกว่าห้าวะสัก
ไม่ต้องจ่ายซะกาต” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์และมุสลิม)
โดย 1 วะสัก เท่ากับ 60 ศออฺ ดังนั้น 5 วะสัก จึงเท่ากับ 300 ศออฺ
ซึ่ง 1 ศออฺเท่ากับ 3 ลิตร โดยถ้าคำนวณตามนี้ พิกัดธัญญพืชและผลไม้
เท่ากับ 900 ลิตร (หากเป็นข้าวสารเท่ากับ 60 ถังโดยประมาณ)
และไม่มีการกำหนดวาระของธัญญพืชและผลไม้ ดังพระดำรัส
ของอัลลอฮฺที่ว่า
( ﴿وَآتُوا حَقَّهُ يَوْمَ حَصَادِهِ﴾ (سورة الأنعام: 141
ความว่า : และเจ้าทั้งหลายจงจ่ายสิทธิของมันในวันที่เก็บเกี่ยว
มัน [อัล-อันอาม โองการที่ 141]
ส่วนอัตราของซะกาตชนิดนี้ มี 2 ประเภท ด้วยกันคือ
1. ผลผลิตจากแหล่งเกษตรที่อาศัยน้ำ จากแหล่งน้ำธรรมชาติ
เช่น ฝน ลำคลอง เป็นต้น อัตราที่ต้องจ่ายคือ ร้อยละสิบ หรือ 10% ของ
ผลผลิตรวม
2. ผลผลิตจากแหล่งเกษตรที่ต้องใช้แรง หรือเครื่องทุ่นแรง เช่น
ใช้ระหัดฉุดน้ำ หรือเครื่องยนต์เป็นต้น อัตราที่ต้องจ่ายคือ ร้อยละห้า
หรือ 5% ของผลผลิตรวม
ดังหลักฐานจากวจนะของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม ที่มีความว่า “สำหรับพืชที่ใชัน้ำฝนรด ตาน้ำ หรือลำคลอง หรือ
อาศัยลำต้นดูดน้ำ ต้องจ่ายซะกาต เศษหนึ่งส่วนสิบ(ร้อยละสิบ) และพืช
ที่ อาศัยการฉุดน้ำด้วยระหัด ต้องจ่ายซะกาต ครึ่งหนึ่งของเศษหนึ่งส่วน
สิบ(ร้อยละห้า)” (รายงานโดยอัล-บุคอรีย์)
4. ทรัพย์ที่เป็นสินค้า
คือทรัพย์สินทุกประเภท ที่ถูกนำมาเป็นสินค้าซื้อขายโดยซะกาต
ของทรัพย์สินประเภทนี้นั้น ครอบคลุมทรัพย์สินทุกชนิด ทั้งที่กล่าว
มาแล้ว และยังไม่ได้นำมากล่าว ณ ที่นี้
การจ่ายซะกาตทรัพย์สินประเภทนี้ถูกกำหนดพิกัดโดยการ
คำนวณราคาของสินค้าทั้งหมด เทียบกับราคาของพิกัดทอง 85 กรัม หรือ
ของเงิน 595 กรัม ซึ่งกำหนดให้คำนวณราคารวมของสินค้าเทียบกับราคา
ปัจจุบันโดยไม่คำนึงถึงราคาในขณะซื้อหรือลงทุน และจำเป็นต้อง
ครอบครองครบตามพิกัดขึ้นไป เป็นระยะเวลาครบรอบปีเช่นกัน
ซะกาตของสินค้านั้น เป็นที่ต้องการของคนยากจนยากไร้ ยิ่งกว่าทองคำ
และเงินเสียอีก
อัตราซะกาตของสินค้าคือ เศษหนึ่งส่วนสี่ หรือ 2.5 % (ร้อยละ2.5)
ของราคารวมสินค้าทั้งหมด และส่วนของผลกำไรจากการซื้อขายสินค้า ก็
ให้นับรวมเข้ากับจำนวนราคาสินค้าเดิม โดยไม่ต้องเริ่มนับวาระใหม่ แต่
ถ้าหากว่าราคาสินค้าเดิมไม่ครบตามพิกัด นอกจากต้องรวมผลกำไรเข้า
ไปด้วยก็ให้เริ่มวาระในขณะนั้น
5. สินแร่และทรัพย์ที่ถูกฝังดินไว้
หนึ่ง : สินแร่ หมายถึง สิ่งที่ถูกขุดพบจากพื้นดินและมีค่า ซึ่ง
ไม่ใช่พืชพันธุ์ เช่น แร่ทองคำ แร่เงิน แร่เหล็ก ทับทิม และน้ำมันดิบ เป็น
ต้น
ทรัพย์สินประเภทนี้จำเป็นต้องจ่ายซะกาตเช่นกัน ดังพระดำรัส
ของอัลลอฮฺที่ว่า
﴿يَا َأيهَا الَّذِينَ آمَنُوا َأنْفِقُوا مِنْ َ طيبَاتِ مَا َ كسَبْتُمْ
( وَمِمَّا َأخْرَجْنَا َل ُ كمْ مِنَ الَْأرْضِ﴾ (سورة البقرة: 267
ความว่า : บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงบริจาคส่วนหนึ่งจาก
บรรดาสิ่งดีๆ ของสิ่งที่พวกเจ้าได้แสวงหาไว้ และจากสิ่งที่เราได้ให้
ออกมาจากดินสำหรับพวกเจ้า [อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 167]
และไม่ต้องสงสัยเลยว่า สินแร่คือสิ่งที่อัลลอฮฺทรงบันดาลให้
ออกมาจากดินเพื่อมวลมนุษย์
นักวิชาการส่วนใหญ่ เห็นว่าการกำหนดพิกัดของทรัพย์สิน
ประเภทนี้ จำเป็นเช่นกันในการจ่ายซะกาต โดยอัตราที่ต้องจ่ายเป็น
ซะกาตคือ ร้อยละ 2.5 หรือ 2.5 % ของทรัพย์ที่ขุดพบ เปรียบเทียบกับ
อัตราของเงินและทองคำ และทรัพย์สินประเภทนี้ไม่มีการกำหนดวาระ
โดยต้องจ่ายซะกาตในขณะที่ขุดพบตามพิกัดทันที
สอง : ทรัพย์ที่ถูกฝังดินไว้ หมายถึง ทรัพย์สินที่ถูกขุดพบ ซึ่งถูก
ฝังไว้ในยุคก่อนอิสลาม ไม่ว่าจะขุดพบในรัฐอิสลามหรือไม่ก็ตาม
ทรัพย์สินประเภทนี้จะถูกจารึกสัญลักษณ์ต่างๆของชาวกาฟิรฺ เช่น ชื่อ
กษัตริย์ ชื่อเจ้าของ ภาพของคน หรือภาพของเทวรูปต่างๆ
แต่ถ้าสิ่งที่ถูกจารึกไว้เป็นสัญลักษณ์ของมุสลิม เช่น ชื่อนบี หรือ
ชื่อผู้นำมุสลิมหรือโองการอัลกุรอาน หรือไม่ปรากฎสัญลักษณ์ใดอยู่เลย
เช่น ถ้วยจาน เครื่องประดับ สร้อยเป็นต้น ทรัพย์ทั้งหมดที่กล่าวมานี้
ถือว่าเป็นของสูญหาย ไม่สามารถนำมาครอบครองได้ จนกว่าจะประจักษ์
ว่าผู้ใดเป็นเจ้าของ เนื่องจากทรัพย์สินของมุสลิมเป็นกรรมสิทธ์แก่
เจ้าของตลอดไป
อัตราซะกาตของทรัพย์สินประเภทแรกนั้น (ไม่ใช่ของมุสลิม) คือ
หนึ่งส่วนห้า หรือร้อยละ 20 ของสิ่งที่ถูกขุดพบ โดยไม่จำกัดพิกัดจำนวน
ใดๆ ทั้งสิน จึงจำเป็นต้องจ่ายซะกาต ไม่ว่าจะขุดพบจำนวนมากหรือน้อย
ก็ตาม ดังวจนะของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมจากการ
รายงานของท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ ที่มีความว่า “และในสิ่งที่ขุดพบนั้น
(ต้องจ่ายซะกาต)หนึ่งส่วนห้า”
ซะกาตของทรัพย์ชนิดนี้ จะถูกจ่ายให้กับการบำเพ็ญบ้านเมือง
มุสลิม และส่วนที่เหลือหลังจากซะกาตแล้ว เป็นกรรมสิทธ์ของผู้ขุดพบ
ดังที่ท่านอุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้มอบส่วนที่เหลือแก่ผู้ขุดพบมัน
หก : แหล่งจ่ายซะกาต
ผู้มีสิทธิรับซะกาตมีแปดจำพวกด้วยกันคือ
1. คนยากไร้ (ฟากิรฺ)
ได้แก่ คนที่ไม่มีทรัพย์ ไม่มีค่าเลี้ยงชีพ หรือมีแต่ไม่เพียงพอใน
การเลี้ยงชีพ คนประเภทนี้สามารถรับซะกาตได้ตลอดปี.
2. คนขัดสน (มิสกีน)
ได้แก่ คนที่มีค่าเลี้ยงชีพในแต่ละวันครึ่งหนึ่ง หรือมากกว่า แต่
ไม่เพียงพอ คนประเภทนี้จะฐานะดีกว่าคนยากไร้ และสามารถรับซะกาต
ได้ตลอดปีเช่นกัน
3. เจ้าหน้าที่ซะกาต
ได้แก่ เจ้าหน้าที่ พนักงาน ที่ทำหน้าที่ เก็บรวบรวมซะกาต และ
แจกจ่ายซะกาตแก่ผู้มีสิทธิรับซะกาต บุคคลประเภทนี้รับซะกาตได้ เพียง
อัตราค่าจ้างของเขาเท่านั้น
4. ผู้ถูกดลใจให้เข้ารับอิสลาม
บุคคลประเภทนี้มี 2 จำพวก
จำพวกแรก : ผู้ที่ยังไม่ใช่มุสลิม คนจำพวกนี้สามารถมอบ
ซะกาตแก่เขาได้ในกรณีที่เพื่อให้เขาเข้ารับอิสลาม หรือให้เพื่อยับยั้ง
ป้องกันภัยในสังคมมุสลิมอันเกิดจากน้ำมือของเขา
จำพวกที่สอง : ผู้ที่เข้าอิสลามแล้ว คนจำพวกนี้สามารถมอบ
ซะกาตแก่เขาเพื่อเป็นการยึดเหนี่ยวเขาให้ยืนหยัดในอิสลามได้อย่าง
มั่นคง หรือหวังในการเข้ารับอิสลามของคนใกล้ชิด และพวกพ้องของเขา
เป็นต้น
5. ผู้ไร้อิสรภาพ
ได้แก่ ทาสที่นายอนุมัติให้ไถ่ตัวเองได้ ทาสประเภทนี้ สามารถ
มอบซะกาตให้เขาได้ เพื่อให้เขาเป็นอิสรภาพ ซึ่งเขาสามารถรับซะกาตได้
เพียงจำนวนทรัพย์ที่ขาดในการไถ่ตัวเองเท่านั้น และได้มีนักวิชาการบาง
กลุ่มให้ทัศนะว่า สามารถใช้ทรัพย์ซะกาตซื้อตัวทาสผู้นั้นเพื่อการ
ปลดปล่อยได้เช่นกัน
6. คนมีหนี้สิน
มีสองลักษณะด้วยกันคือ
ลักษณะแรก : ผู้เป็นหนี้สินของตัวเอง : ได้แก่ ผู้ที่หยิบยืม
ทรัพย์สินจากผู้อื่นเพื่อกิจการส่วนตัวของเขา และไม่มีลู่ทางที่จะใช้หนี้สิน
นั้นได้ คนลักษณะนี้ สามารถรับซะกาตได้เพื่อใช้ชำระหนี้ดังกล่าวเท่านั้น
ลักษณะที่สอง : ผู้เป็นหนี้สินให้ผู้อื่นได้แก่ : บุคคลที่กู้ยืมเพื่อ
ขจัดปัญหาในสังคม คนลักษณะนี้ สามารถรับซะกาตได้ เพื่อใช้ชำระหนี้
ดังกล่าวเท่านั้น ถึงแม้ว่าเขาจะมีฐานะร่ำรวยก็ตาม
7. ในวิถีทางของอัลลอฮฺ
หมายถึง การรบในหนทางของอัลลอฮฺ ดังนั้นจึงสามารถจ่าย
ซะกาตแก่ผู้ที่อยู่ในหนทางนี้ อันได้แก่ นักรบ ผู้ภักดีในแนวทางของ
อิสลาม ซึ่งพวกเขาไม่ได้รับค่าเลี้ยงดูจากคลังของอิสลาม (บัยตุลมาลฺ)
8. คนเดินทาง
ได้แก่ ผู้ที่เดินทางออกจากถิ่นเดิมของเขา และขาดปัจจัยในการ
เดินทาง จนไม่สามารถกลับภูมิลำเนาเดิมได้ ดังนั้น คนประเภทนี้
สามารถมอบซะกาตแก่เขาได้เพียงจำนวนที่ใช้เป็นปัจจัยเดินทางกลับ
ภูมิลำเนาเท่านั้น
บุคคลทั้งแปดจำพวกนี้ ได้ถูกกล่าวเอาไว้ในอัลกุรอาน คือ
﴿إِنَّمَا الصَّدَقَاتُ لِْلُفقَرَاءِ وَاْلمَسَاكِينِ وَالْعَامِلِينَ
عََليْهَا وَالْمُؤَلََّفةِ قُلُوبُهُمْ وَفِي ال  رقَابِ وَالْغَارِمِينَ
وَفِي سَبِيلِ اللَّهِ وَابْنِ السَّبِيلِ فَرِيضًَة مِنَ اللَّهِ وَاللَّهُ
( عَلِيمٌ حَكِيمٌ﴾ (سورة التوبة: 60
ความว่า : แท้จริงทานทั้งหลายนั้น สำหรับผู้ที่ยากจน และ
บรรดาผู้ที่ขัดสน และบรรดาเจ้าหน้าที่ในการรวบรวมมัน และบรรดาผู้ที่
หัวใจของพวกเขาโอนอ่อน(กับอิสลาม) และในการไถ่ทาส และบรรดาผู้ที่
หนี้สินล้นตัว และในทางของอัลลอฮฺ และผู้ที่อยู่ในระหว่างเดินทาง ทั้งนี้
เป็นบัญญัติอันจำเป็นซึ่งมาจากอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้
ทรงปรีชาญาณ [อัต-เตาบะฮฺ โองการที่ 60]
เจ็ด : ซะกาตฟิฏรฺ(ฟิฏเราะฮฺ)
1. เหตุผลหรือวิทยปัญญาในการบัญญัติซะกาตฟิฏรฺ
ซะกาตฟิฏรฺ ถูกตราเป็นบัญญัติขึ้นเพื่อเป็นสิ่งขัดเกลาและชำระ
ล้างผู้ที่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน ให้ปราศจากบาปอันเกิดจากคำพูด
ที่ไร้สาระและหยาบคายที่อาจเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติศาสนกิจอันนี้
ทั้งยังเป็นการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แก่ผู้ยากจนขัดสนในการบริจาค
อาหาร เพื่อพวกเขาจะได้อิ่มหน่ำสำราญ ไม่ต้องขอวิงวอนจากผู้ใดในวัน
ตรุษ(วันอีด)นั่นเอง
ดังที่ได้ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนในหะดีษฺที่รายงานโดยท่านอิบนุ
อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ความว่า “ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัมได้กำหนด ซะกาตฟิฏรฺเพื่อชำระผู้ถือศีลอดให้สะอาดจากคำพูด
ที่ไร้สาระและหยาบคาย และเพื่อเป็นอาหารแก่คนยากไร้” (รายงานโดย
อบู ดาวูด และอิบนุ มาญะฮฺ)
2. ข้อตัดสินหรือ หุก่มของซะกาตฟิฏรฺ
ซะกาตฟิฏรฺ เป็นฟัรฎู และจำเป็นเหนือมุสลิมทุกคน ทั้งชายและ
หญิง เด็กและผู้ใหญ่ ผู้เป็นทาสและไม่เป็นทาส ซึ่งมีหลักฐานจากหะดีษฺ
ที่รายงานโดยท่านอุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ มีความว่า “ท่านรอซูล
ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กำหนดซะกาตฟิฏรฺของเราะมะฎอนไว้
หนึ่งศออฺจากผลอินทผาลัม หรือหนึ่งศออฺจากข้าวสาลี เหนือทุกคนที่เป็น
เสรีชนหรือเป็นทาส เป็นเพศชายหรือเพศหญิง เป็นผู้เยาว์หรือผู้ใหญ่ ที่
เป็นมุสลิม และได้กำชับให้จ่ายมันก่อนที่ผู้คนจะออกไปละหมาดอีด”
(รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
ทั้งนี้ยังส่งเสริม(สุนัต)ให้จ่ายซะกาตฟิฏรฺในส่วนของทารกที่อยู่
ในครรภ์เช่นกัน
การจ่ายซะกาตฟิฏรฺเป็นสิ่งจำเป็นที่มุสลิมจะต้องจ่าย ในส่วน
ของตนและส่วนของผู้อยู่ใต้การอุปการะเลี้ยงดู เช่น ภรรยา หรือญาติพี่
น้องที่ตนเลี้ยงดูอยู่
และไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิฏรฺ ในกรณีที่อาหารไม่เพียงพอ
สำหรับเขาและสมาชิกครอบครัวของเขาในการบริโภคสำหรับวันอีดและ
ค่ำคืนของวันอีด
3. ปริมาณของซะกาตฟิฏรฺ
ปริมาณที่ต้องจ่ายได้แก่ 1 ศออฺ ของอาหารหลักในถิ่นนั้นๆ เช่น
ข้าวสาร ข้าวสาลี ข้าวบาเล่ย์ อิทผาลัม องุ่นแห้งเป็นต้น
โดย 1 ศออฺ มีปริมาณเท่ากับ 2.176 กิโลกรัมโดยเฉลี่ย
และไม่อนุมัติให้จ่ายเป็นค่าเงินแทนซะกาตฟิฏรฺ ตามทัศนะของ
นักวิชาการส่วนมาก เนื่องจากการกระทำดังกล่าวนั้น ผิดวัตถุประสงค์ที่
ท่าน รอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กำหนดไว้ ทั้งยังเป็นการ
ขัดแย้งกับแบบอย่างของเหล่าเศาะฮาบะฮฺของท่านอีกด้วย
4. เวลาของซะกาตฟิฏรฺ
การจ่ายซะกาตฟิฏรฺมีสองเวลาคือก่อนคืนวันอีดหนึ่งหรือสองวัน
หรือ เวลาอันประเสริฐ ได้แก่ ตั้งแต่เริ่มรุ่งอรุณของวันอีดจนกระทั่งก่อน
การละหมาดอีด
เนื่องจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กำชับให้
จ่ายซะกาตก่อนที่ผู้คนจะออกไปสู่การละหมาดอีด และหากผู้ใดล่าช้าใน
การจ่ายซะกาตฟิฏรฺ โดยปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปจนละหมาดเสร็จ
เขาผู้นั้นจะมีความผิดและบาปในการล่าช้าของเขา โดยสิ่งที่เขาบริจาคนั้น
ก็ไม่จัดว่าเป็น ซะกาตฟิฏรฺแต่อย่างใด หากถือว่าเป็นเพียงการบริจาค
ธรรมดานั้นเอง
5. แหล่งจ่ายซะกาตฟิฏรฺ
ซะกาตฟิฏรฺถูกกำหนดให้จ่ายหรือบริจาคแก่ผู้ขัดสนยากไร้
เนื่องจากบุคคลเหล่านี้เหมาะสมกับสิ่งนี้กว่าคนอื่นๆ