Sunday, September 27, 2009

บทซิกิรเฉพาะสำหรับสภาวะและสถานการณ์ต่างๆ







บทซิกิรเฉพาะสำหรับสภาวะและสถานการณ์ต่างๆ
﴿الأذكار المقيدة﴾
] ไทย – Thai – تايلاندي [

มุหัมมัด อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์

แปลโดย : ซุฟอัม อุษมาน
ผู้ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ที่มา : มุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์
2009 - 1430


﴿الأذكار المقيدة﴾
« باللغة التايلاندية »

محمد بن إبراهيم التويجري

ترجمة: صافي عثمان
مراجعة: فيصل عبدالهادي
المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي
2009 - 1430


ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

บทซิกิรสำหรับสภาวะและสถานการณ์ต่างๆ

นี่เป็นบทซิกิรบางบทที่ใช้กล่าวในสภาวะและสถานการณ์เฉพาะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในสภาวะปกติ หรือยามคับขัน หรือในสถานการณ์ฉุกเฉิน

1. บทซิกิรในสภาวะปกติ
เมื่อสวมเสื้อผ้าใหม่
1. จากอบู สะอีด อัลคุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม เมื่อสวมเสื้อผ้าใหม่ ท่านจะเรียกชื่อมัน เช่น เสื้อหรือผ้าโพกหัว แล้วท่านก็จะกล่าวว่า
«اللّٰهُـمَّ لَكَ الحَـمْدُ، أَنْتَ كَسَوْتَنِيْـهِ، أَسْأَلُكَ مِنْ خَيْرِهِ، وَخَيْرِ مَا صُنِعَ لَـهُ، وَأَعُوذُ بِكَ مِنْ شَرِّهِ، وَشَرِّ مَا صُنِعَ لَـهُ»
(คำอ่าน อัลลอฮุมมา ละกัลหัมดุ, อันตา กะเซาตะนีฮี, อัสอะลุกะ มิน ค็อยริฮี, วะค็อยริ มา ศุนิอะ ละฮุ, วะอะอูซุบิกะ มิน ชัรริฮี, วะ ชัรริมา ศุนิอะ ละฮุ)
ความว่า "โอ้ อัลลอฮฺ แด่พระองค์นั้นคือมวลการสรรเสริญทั้งหลาย พระองค์ได้สวมใส่มันให้แก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ขอจากพระองค์ซึ่งความดีงามของมัน และความดีงามของสิ่งที่มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการนั้น และข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากความชั่วร้ายของมัน และความชั่วร้ายของสิ่งที่มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการนั้น"

อบู นัฎเราะฮฺ ผู้รายงานหะดีษได้กล่าวว่า เหล่าเศาะหาบะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เมื่อพวกเขาคนใดคนหนึ่งสวมใส่เสื้อผ้าใหม่ก็จะถูกกล่าวแก่เขาว่า "(จงใส่จนกระทั่ง)ให้มันเก่า แล้วอัลลอฮฺก็จะทรงทดแทน(อันใหม่ให้แก่ท่าน)" (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อบู ดาวูด 4020 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และอัต-ติรมิซีย์ 1767)

2. จากอุมมุ คอลิด เราะฎิยัลลอฮฺอันฮา เล่าว่า มีเสื้อผ้าใหม่ถูกนำมาให้แก่ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ในจำนวนนั้นมี เคาะมีเศาะฮฺ (ผ้าลายสีดำทำจากขนสัตว์) อยู่ด้วย ท่านกล่าวถามเศาะหาบะฮฺว่า "พวกท่านเห็นว่าใครที่เราควรให้เขาใส่เคาะมีเศาะฮฺนี้?" ผู้คนต่างก็เงียบไม่มีใครตอบ จากนั้นท่านนบีก็กล่าวว่า "ไปนำอุมมุ คอลิด มาให้ฉัน" ฉันจึงถูกนำไปยังท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิ วะสัลลัม แล้วท่านก็สวมเคาะมีเศาะฮฺให้ฉันด้วยมือท่านเอง แล้วก็กล่าวสองครั้งว่า
«أبْلِي وَأخْلِقِي»
(คำอ่าน อับลีย์ วะ อัคลิกีย์ )
ความว่า "จงสวมใส่ จนกระทั่งมันเก่าและผุพัง"

แล้วท่านก็มองดูลายของเคาะมีเศาะฮฺ และชี้ด้วยมือของท่านมายังฉันพร้อมกล่าวว่า "นี่อุมมุ คอลิด (ลาย)นี้สวยน่ะ"
(บันทึก อัล-บุคอรีย์ 5845)

เมื่อเข้าบ้าน
จากญาบิร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ฉันได้ฟังท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إذَا دَخَلَ الرَّجُلُ بَيْتَـهُ، فَذَكَرَ الله عِنْدَ دُخُولِـهِ وَعِنْدَ طَعَامِهِ، قَالَ الشَّيْطَانُ، لا مَبِيتَ لَكُمْ وَلا عَشَاءَ، وَإذَا دَخَلَ فَلَـمْ يَذْكُرِ الله عِنْدَ دُخُولِـهِ، قَالَ الشَّيْطَانُ أَدْرَكْتُـمُ المَبِيتَ، وَإذَا لَـمْ يَذْكُرِ الله عِنْدَ طَعَامِهِ قَالَ أَدْرَكْتُـمُ المَبِيتَ وَالعَشَاءَ».
ความว่า "เมื่อชายคนหนึ่งเข้าบ้านของเขา แล้วได้กล่าวถึงอัลลอฮฺตอนเข้าบ้านและตอนทานอาหาร ชัยฏอนก็จะพูดว่า ไม่มีที่หลับนอนและไม่มีอาหารให้เราอีกแล้ว และเมื่อชายคนหนึ่งเข้าบ้านแต่ไม่ได้กล่าวถึงอัลลอฮฺตอนเข้าบ้าน ชัยฏอนก็จะพูดว่า พวกเจ้าได้ที่หลับนอนแล้ว และหากเขาไม่กล่าวถึงอัลลอฮฺตอนทานอาหาร ชัยฏอนก็จะพูดว่า พวกเจ้าได้ที่หลับนอนและมีอาหารกินแล้ว"
(บันทึกโดย มุสลิม 2018)

เมื่อออกจากบ้าน
1. จากอุมมุ สะละมะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮา เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม เมื่อออกจากบ้านของท่านจะกล่าวว่า
«بسم الله تَوكّلت عَلى الله، اللّٰهُـمَّ إنّا نعُوذُ بِكَ من أَنْ نزِلَّ أَوْ نضِلَّ، أَوْ نظْلِـمَ أَوْ نُظْلَـمَ، أَوْ نجْهَلَ أَوْ يُـجْهَلَ عَلَينا».
(คำอ่าน บิสมิลลาฮฺ ตะวักกัลตุ อะลัลลอฮฺ, อัลลอฮุมมา อินนา นะอูซุบิกา มิน อัน นะซิลละ เอา นะฎิลละ, เอา นัซลิมะ เอา นุซละมะ, เอา นัจญ์ฮะละ เอา ยุจญ์ฮะละ อะลัยนา)
ความว่า ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ฉันขอมอบหมายที่พึ่งยังอัลลอฮฺ โอ้ อัลลอฮฺ เราขอความคุ้มครองต่อพระองค์ จากการที่เราต้องกระทำผิดพลาด หลงทาง อยุติธรรมแก่ผู้อื่น ถูกอธรรมโดยผู้อื่น ไม่รู้ผิดชอบชั่วดี หรือถูกผู้อื่นกระทำไม่ดี
(บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ 4327 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และอัน-นะสาอีย์ 5486)

2. จากอะนัส อิบนุ มาลิก เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إذَا خَرَجَ الرَّجُلُ مِنْ بَيْتِـهِ فَقَالَ: بِاسْمِ الله، تَوَكَّلْتُ عَلَى الله، لا حَوْلَ وَلا قُوَّةَ إلَّا بِاللهِ٬» قَالَ: «يُـقَالُ حِينَئِذٍ هُدِيتَ وَكُفِيتَ وَوُقِيتَ فَتَتَنَحَّى لَـهُ الشَّيَاطِينُ، فَيَـقُولُ لَـهُ شَيْطَانٌ آخَرُ: كَيفَ لَكَ بِرَجُلٍ قَدْ هُدِيَ وَكُفِيَ وَوُقِيَ».
ความว่า "เมื่อชายผู้หนึ่งออกจากบ้านของเขาและได้กล่าวว่า บิสมิลลาฮฺ ตะวักกัลตุ อะลัลลอฮฺ, ลาเหาละ วะลา กุวฺวะตะ อิลลา บิลลาฮฺ (ความว่า ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ฉันขอมอบหมายที่พึ่งยังอัลลอฮฺ ไม่มีความสามารถและพละกำลังใดที่เกิดขึ้นเว้นแต่ด้วยการอนุมัติของอัลลอฮฺ) เมื่อนั้นก็จะถูกกล่าวแก่เขาว่า ท่านได้รับการชี้นำแล้ว ท่านได้รับการคุ้มครองแล้ว ท่านได้รับการปกป้องแล้ว และชัยฏอนทั้งหลายก็จะพยายามเข้าใกล้เขา แต่จะมีชัยฏอนตัวอื่นกล่าว่า เจ้าจะทำอย่างไรได้เล่ากับชายซึ่งได้รับการชี้นำ ได้รับการคุ้มครองและปกป้องแล้ว?"
(บันทึกโดย อบู ดาวูด 5095 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และอัต-ติรมิซีย์ 3426)

เมื่อต้องการเข้าห้องน้ำ
จากอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ กล่าวว่า เมื่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ต้องการเข้าห้องน้ำ ท่านจะกล่าวว่า
«اللّٰهُـمَّ إِنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنَ الخُبُثِ وَالخَبَائِثِ».
(คำอ่าน อัลลอฮุมมา อินนี อะอูซุบิกะ มินัล คุบุษิ วัล เคาะบาอิษ)
ความว่า "โอ้ อัลลอฮฺ แท้จริงข้าพระองค์ของความคุ้มครองต่อพระองค์จากชัยฏอนตัวผู้และชัยฏอนตัวเมียทั้งหลาย"
(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ 142 และมุสลิม 357)

เมื่อออกจากห้องน้ำ
จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮา เล่าว่า เมื่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ออกจากห้องน้ำ ท่านจะกล่าวว่า
«غُفْرَانَكَ»
(คำอ่าน ฆุฟรอ นะกะ)
ความว่า "ขอการอภัยโทษจากพระองค์ด้วยเถิด" (บันทึกโดย อบู ดาวูด 30 และอัต-ติรมิซีย์ 7)

เมื่อมุ่งหน้าไปยังมัสญิด
จากอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา เล่าว่าท่านได้นอนที่บ้านน้าสาวของท่านคือ มัยมูนะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮา (เป็นภริยาท่านหนึ่งของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม) ในคืนหนึ่ง ซึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้อยู่กับนางด้วย ในรายงานระบุว่า เมื่อมีผู้อะซานได้ทำการอะซาน(ศุบห์)แล้ว ท่านนบีก็ออกไปละหมาด โดยท่านได้กล่าวดุอาอฺในขณะออกไปมัสญิดว่า
«اللّٰهُـمَّ اجْعَلْ فِي قَلْبِي نُوْراً، وَفِي لِسَانِي نُوراً، وَاجْعَلْ فِي سَمْعِي نُوراً، وَاجْعَلْ فِي بَصَرِي نُوراً، وَاجْعَلْ مِنْ خَلْفِي نُوراً، وَمِنْ أَمَامِي نُوراً، وَاجْعَلْ مِنْ فَوقِي نُوراً، وَمِنْ تَـحْتِي نُوراً، اللّٰهُـمَّ أَعْطِنِي نُوراً»
(คำอ่าน อัลลอฮุมมัจญ์อัล ฟี ก็อลบี นูรอ, วะฟี ลิซานี นูรอ, วัจญ์อัล ฟี ซัมอี นูรอ, วัจญ์อัล ฟี บะเศาะรี นูรอ, วัจญ์อัล มิน ค็อลฟี นูรอ, วะมิน อะมามี นูรอ, วัจญ์อัล มิน เฟากี นูรอ, วะมิน ตะห์ตี นูรอ, อัลลอฮุมมะ อะอฺฏีนี นูรอ)
ความว่า "โอ้ อัลลอฮฺ ขอทรงทำให้มีนูรฺ(รัศมีอันส่องประกาย)ในใจฉัน ที่ลิ้นฉันก็ให้มีนูรฺ ขอทรงทำให้มีนูรฺที่หูฉัน ขอทรงให้มีนูรฺที่ตาฉัน ขอทรงให้มีนูรฺข้างหลังฉัน และมีนูรฺข้างหน้าฉัน ขอทรงทำให้มีนูรฺเบื้องบนฉัน และให้มีนูรฺที่เบื้องล่างฉัน โอ้ อัลลอฮฺ ขอทรงประทานนูรฺแก่ฉันด้วยเถิด"
(บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 6316 มุสลิม 763 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)

เมื่อเข้าและออกมัสญิด
1. จากอับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า เมื่อท่านนบีเข้ามัสญิดท่านจะกล่าวว่า
«أَعُوذُ بِالله العَظِيمِ، وَبِوَجْهِهِ الكَرِيمِ، وَسُلْطَانِـهِ القَدِيمِ مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيمِ».
(คำอ่าน อะอูซุบิลลาฮิลอะซีม, วะบิ วัจญ์ฮิฮิล กะรีม, วะสุลฏอนิฮิล เกาะดีม, มินัช ชัยฏอนิร เราะญีม)
ความว่า "ข้าขอความคุ้มครองด้วยอัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ และด้วยพระพักตร์อันทรงเกียรติของพระองค์ และด้วยอำนาจอันดั้งเดิมของพระองค์ จากชัยฏอนผู้ถูกสาปแช่ง"
(หะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดย อบู ดาวูด 466)

2. เมื่อเข้ามัสญิด
«اللّٰهُـمَّ افْتَـحْ لِي أَبْوَابَ رَحْـمَتِكَ»
(คำอ่าน อัลลอฮุมมัฟตะห์ลี อับวาบะ เราะหฺมะติก)
ความว่า "โอ้ อัลลอฮฺ ขอทรงเปิดประตูทั้งหลายแห่งความเมตตาของพระองค์แก่ฉันด้วยเถิด"
(บันทึกโดย มุสลิม 713)

เมื่อออกจากมัสญิด
«اللّٰهُـمَّ إنِّي أَسْأَلُكَ مِنْ فَضْلِكَ»
(คำอ่าน อัลลอฮุมมะ อินนี อัสอะลุกะ มิน ฟัฎลิก)
ความว่า "โอ้ อัลลอฮฺ แท้จริงข้าพระองค์ขอต่อพระองค์ จากความประเสริฐของพระองค์ด้วยเถิด"
(บันทึกโดย มุสลิม 713)

เมื่อได้ยินเสียงอะซาน
1. จากอับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ บิน อัล-อาศ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา เล่าว่าได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إذَا سَمِعْتُـمُ المُؤَذِّنَ فَقُولُوا مِثْلَ مَا يَـقُولُ، ثُمَّ صَلُّوا عَلَيَّ؛ فَإنَّهُ مَنْ صَلَّى عَلَيَّ صَلاةً صَلَّى اللهُ عَلَيهِ بِـهَا عَشْراً، ثُمَّ سَلُوا اللهَ لِيَ الوَسِيلَةَ فَإنَّهَا مَنْزِلَةٌ فِي الجَنَّةِ لا تَنْبَـغِي إلَّا لِعَبْدٍ مِنْ عِبَادِ اللهِ، وَأَرْجُو أَنْ أَكُونَ أَنَا هُوَ، فَمَنْ سَأَلَ لِيَ الوَسِيلَةَ حَلَّتْ لَـهُ الشَّفَاعَةُ».
ความว่า "เมื่อพวกท่านได้ยินผู้ขับเสียงอะซาน ก็จงกล่าวตามเขา จากนั้นก็จงกล่าวเศาะละวาตแก่ฉัน เพราะผู้ใดที่กล่าวเศาะละวาตแก่ฉันหนึ่งครั้งอัลลอฮฺจะทรงประทานเมตตาของพระองค์แก่เขาสิบเท่า จากนั้นก็จงขอต่ออัลลอฮฺให้ประทาน อัล-วะสีละฮฺ แก่ฉัน แท้จริงมันเป็นตำแหน่งหนึ่ง(อันสูงส่ง)ในสวรรค์ ซึ่งที่นั้นมันไม่เหมาะเว้นแต่สำหรับบ่าวหนึ่งคนเท่านั้นจากบรรดาบ่าวทั้งหลายของอัลลอฮฺ และฉันหวังว่าเขาผู้เหมาะสมคนนั้นจะเป็นฉัน ดังนั้นผู้ใดที่ขอ อัล-วะสีละฮฺ ให้แก่ฉัน การช่วยเหลือของฉัน(อัช-ชะฟาอะฮฺ)ก็ย่อมได้รับอนุมัติสำหรับเขา" .
(บันทึกโดย มุสลิม 384)

2. จากญาบิรฺ อิบนุ อับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา เล่าว่าได้ยินท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«مَنْ قَالَ حِينَ يَسْمَعُ النِّدَاءَ: اللّٰهُـمَّ رَبَّ هَذِهِ الدَّعْوَةِ التَّامَّةِ، وَالصَّلاةِ القَائِمَةِ، آتِ مُـحَـمَّداً الوَسِيلَةَ وَالفَضِيلَةَ، وَابْعَثْهُ مَقَاماً مَـحْـمُوداً الَّذِي وَعَدْتَـهُ، حَلَّتْ لَـهُ شَفَاعَتِي يَومَ القِيَامَةِ».
ความว่า "ผู้ใดที่กล่าวเมื่อได้ยินเสียงอะซานว่า อัลลอฮุมมะ ร็อบบะ ฮาซิฮิด ดะอฺวะติต ต๊ามมะฮฺ, วัศเศาะลาติล กออิมะฮฺ, อาติ มุหัมมะดะนิล วะสีละตะ วัล ฟะฎีละฮฺ, วับอัษฮุ มะกอมัม มะห์มูดะนิล ละซี วะอัดตะฮฺ, (ความหมาย โอ้ อัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลแห่งเสียงการเรียกร้องอันสมบูรณ์นี้ และพระผู้อภิบาลแห่งการละหมาดที่ดำเนินขึ้น ขอทรงโปรดประทาน อัล-วะสีละฮฺ (ดูความหมายในหะดีษก่อนหน้า) และ อัล-ฟะฎีละฮฺ (ตำแหน่งหนึ่งอันสูงส่งในสวรรค์ หรือมีความหมายในนัยยะเดียวกันกับ อัล-วะสีละฮฺ) แก่มุหัมมัดด้วยเถิด และขอทรงโปรดให้เขาฟื้นขึ้นในวันกิยามะฮฺในสภาพที่ได้รับการยกย่องสรรเสริญด้วยเถิด) การช่วยเหลือของฉัน(อัช-ชะฟาอะฮฺ)ก็จะได้รับอนุมัติสำหรับเขาในวันกิยามะฮฺ".
(บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 614)

3. จากสะอัด อิบนุ อบี อัล-วักกอศ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ จากท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«مَنْ قَالَ حِينَ يَسْمَعُ المُؤَذِّنَ: أَشْهَدُ أَنْ لا إلٰـهَ إلَّا اللهُ وَحْدَهُ لا شَرِيكَ لَـهُ، وَأَنَّ مُـحَـمَّداً عَبْدُهُ وَرَسُولُـهُ، رَضِيتُ بِاللهِ رَبّاً، وَبِمُـحَـمَّدٍ رَسُولاً، وَبِالإسْلامِ دِيناً، غُفِرَ لَـهُ ذَنْبُـهُ».
ความว่า "ผู้ใดที่กล่าวเมื่อได้ยินเสียงผู้อะซานว่า อัชฮะดุ อัลลา อิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ วะฮฺดะฮู ลา ชะรีกะละฮฺ, วะอันนะ มุหัมมะดัน อับดุฮุ วะเราะซูลุฮฺ, เราะฎีตุ บิลลาฮิ ร็อบบา, วะบิ มุหัมมะดิร เราะซูลา, วะบิล อิสลามิ ดีนา (ความหมาย ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรต้องเคารพภักดีนอกจากอัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น โดยไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ และมุหัมมัดนั้นเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์ ข้าพอใจด้วยอัลลอฮฺเป็นพระผู้อภิบาลของฉัน พอใจด้วยมุหัมมัดเป็นศาสนทูตของฉัน และพอใจด้วยอิสลามเป็นศาสนาของฉัน) บาปของเขาก็จะถูกอภัยให้"
(บันทึกโดย มุสลิม 386)


2. บทซิกิรที่ใช้กล่าวในยามทุกข์เข็ญ

เมื่อประสบความทุกข์ยากลำบาก
1. จากอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา เล่าว่าท่านรอซูลุลลอฮฺ เมื่อประสบกับความทุกข์ยากจะกล่าวว่า
«لا إلٰـهَ إلَّا اللهُ العَظِيمُ الحَلِيمُ، لا إلٰـهَ إلَّا اللهُ رَبُّ العَرْشِ العَظِيمِ، لا إلٰـهَ إلَّا اللهُ رَبُّ السَّماَوَاتِ، وَرَبُّ الأَرْضِ، وَرَبُّ العَرْشِ الكَريمِ»
(คำอ่าน ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮุล อะซีมุล หะลีม, ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮุ ร็อบบุล อัรชิล อะซีม, ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮุ ร็อบบุส สะมาวาต, วะ ร็อบบุล อัรฎฺ, วะ ร็อบบุล อัรชิล กะรีม)
ความว่า "ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรต้องเคารพภักดี นอกจากอัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่และทรงอารีย์ยิ่ง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรต้องเคารพภักดี นอกจากอัลลอฮฺผู้อภิบาลแห่งอัรช์(บัลลังก์)อันยิ่งใหญ่ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรต้องเคารพภักดี นอกจากอัลลอฮฺผู้อภิบาลแห่งชั้นฟ้าทั้งหลาย ผู้อภิบาลแห่งพื้นปฐพี และผู้อภิบาลแห่งอัรช์อันมีเกียรติ"
(บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 6346 และ มุสลิม 2730)

2. ในรายงานหนึ่งของมุสลิม มีว่า เมื่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เมื่อมีเรื่องใดมารบกวนใจท่านอย่างหนัก ก็จะกล่าวดุอาอ์ข้างต้น พร้อมกับเพิ่มเติมอีกว่า
«لا إلٰـهَ إلَّا اللهُ رَبُّ العَرْشِ الكَريمِ»
(คำอ่าน ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ ร็อบบุล อัรชิล กะรีม)
ความว่า "ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรต้องเคารพภักดี นอกจากอัลลอฮฺผู้อภิบาลแห่งอัรช์(บัลลังก์)อันมีเกียรติ"
(บันทึกโดย มุสลิม 2730)

3. จากสะอัด อิบนุ อบี อัล-วักกอศ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«دَعْوَةُ ذِي النُّونِ إذْ دَعَا وَهُوَ فِي بَطْنِ الحُوتِ: «لا إلٰـهَ إلَّا أَنْتَ سُبْـحَانَكَ إنِّي كُنْتُ مِنَ الظَّالِـمِينَ» فإنه لَـمْ يَدْعُ بِـهَا رَجُلٌ مُسْلِـمٌ فِي شَيْءٍ قَطُّ إلَّا اسْتَـجَابَ الله لَـهُ».
ความว่า "ดุอาอฺของ ซินนูน (หมายถึงท่านนบี ยูนุส อะลัยฮิสลาม) เมื่อครั้งที่ท่านขอขณะอยู่ในท้องปลาวาฬคือ ลาอิลาฮะ อิลลา อันตะ, สุบหานะกะ อินนี กุนตุ มินนัซ ซอลิมีน (ความหมาย ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ มหาบริสุทธิ์ยิ่งเถิดพระองค์ผู้เป็นเจ้า แท้จริงข้าเป็นหนึ่งในบรรดาผู้อธรรม) แท้จริง ไม่มีมุสลิมคนใดที่อ่านมันเมื่อเกิดเรื่องใดขึ้นก็ตาม เว้นอัลลอฮฺย่อมจะต้องตอบรับแก่เขา"
(บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์ 3505)

เมื่อตื่นตระหนกกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด
จากเษาบาน เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม เมื่อมีสิ่งใดทำให้ท่านตื่นตระหนก ก็จะกล่าวว่า
«هُوَ الله رَبِّي لا أُشْرِكُ بِـهِ شَيْئاً».
(คำอ่าน:ฮุวัลลอฮุ ร็อบบีย์, ลา อุชริกุ บิฮี ชัยอา)
ความว่า "พระองค์คืออัลลอฮฺ ผู้เป็นองค์อภิบาลแห่งข้า ข้าไม่ตั้งภาคีกับพระองค์ด้วยสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น"
(หะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดย อัน-นะสาอีย์ ใน อะมัลุล เยามฺ วัล ลัยละฮฺ 657 ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ 2070)

เมื่อประสบกับความกังวลหรือโศกเศร้าเสียใจ
จากอับดุลลอฮฺ อิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«مَا أَصَابَ أَحَداً قَطُّ هَـمٌّ وَلا حُزْنٌ فَقَالَ: اللّٰهُـمَّ إنِّي عَبْدُكَ، وَابْنُ عَبْدِكَ، وَابْنُ أَمَتِكَ، نَاصِيَتِي بِيَدِكَ، مَاضٍ فِيَّ حُكْمُكَ، عَدْلٌ فِيَّ قَضَاؤُكَ، أَسْأَلُكَ بِكُلِّ اسْمٍ هُوَ لَكَ سَمَّيْتَ بِـهِ نَفْسَكَ، أَوْ عَلَّمْتَـهُ أَحَداً مِن خَلْقِكَ، أَوْ أَنْزَلْتَـهُ فِي كِتَابِكَ، أَوْ اسْتَأْثَرْتَ بِـهِ فِي عِلْـمِ الغَيْبِ عِنْدَكَ، أَنْ تَـجْعَلَ القُرآنَ رَبِيعَ قَلْبِي، وَنُورَ صَدْرِي، وَجِلاءَ حُزْنِي، وَذَهَابَ هَـمِّي، إلَّا أَذْهَبَ الله هَـمَّهُ وَحُزْنَـهُ وَأَبْدَلَـهُ مَكَانَـهُ فَرَحَاً» قَالَ: فَقِيلَ: يَا رَسُولَ الله ألا نَتَعَلَّمُهَا فَقَالَ: «بَلَى يَنْبَـغِي لِـمَنْ سَمِعَهَا أَنْ يَتَعَلَّمَهَا».
ความว่า "ผู้ใดก็ตามที่ประสบกับความกังวลและความโศกเศร้าเสียใจ แล้วเขาก็กล่าวว่า อัลลอฮุมมะ อินนี อับดุก, วับนุ อับดิก, วับนุ อะมะติก, นาศิยะตี บิยะดิก, มาฎิน ฟียฺยะ หุกมุก, อัดลุน ฟียฺยะ เกาะฎออุก, อัสอะลุกะ บิกุลิสมิน ฮุวะลัก, สัมมัยตะ บิฮี นัฟสัก, เอา อัลลัมตะฮู อะหะดัม มิน ค็อลกิก, เอา อันซัลตะฮุ ฟี กิตาบิก, อะวิส ตะอ์ษัรตะ บิฮี ฟี อิลมิล ฆ็อยบฺ อินดัก, อัน ตัจญ์อะลัล กุรอานะ เราะบีอะ ก็อลบี, วะนูเราะ ศ็อดรี, วะ ญีลาอะ หุซนี, วะ ซะฮาบะ ฮัมมี (ความหมาย โอ้ อัลลอฮฺ ข้าคือบ่าวของพระองค์ บุตรของบ่าวชายของพระองค์ บุตรของบ่าวหญิงของพระองค์ ขม่อมของข้าอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ กำหนดการของพระองค์ดำเนินบนตัวข้า ลิขิตแห่งพระองค์นั้นยุติธรรมแก่ข้าแล้ว ข้าขอต่อพระองค์ด้วยพระนามทุกนามของพระองค์ ที่ซึ่งพระองค์ได้ตั้งไว้สำหรับตัวพระองค์เอง หรือที่พระองค์ได้สอนมันแก่บ่าวผู้ใดผู้หนึ่งของพระองค์ หรือที่พระองค์เก็บไว้เป็นความลับในความรอบรู้ของพระองค์ ข้าขอให้พระองค์ทรงโปรดประทานให้อัลกุรอานเป็นสิ่งที่รื่นรมย์แก่ใจข้า เป็นรัศมีแก่อกข้า เป็นสิ่งที่ขจัดความโศกเศร้าของข้า และเป็นสิ่งที่ลบความกังวลของข้าให้หมดไป) ไม่มีผู้ใดที่กล่าวเช่นนั้น เว้นแต่อัลลอฮฺจะทรงขจัดความกังวลและความโศกเศร้าของเขาให้หมดไป และจะทรงแทนที่ของมันด้วยความปีติยินดี" มีผู้ถามว่า "โอ้ ท่านรอซูลลุลลอฮฺ พวกเราควรเรียนรู้มันหรือไม่?" ท่านตอบว่า "แน่นอน สมควรอย่างยิ่งสำหรับใครที่ได้ฟัง ให้เขาเรียนรู้มัน(ท่องจำและปฏิบัติใช้ตามที่ได้รู้มา)"
(หะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดย อะหฺมัด 3712 ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ 199)

เมื่อรู้สึกกลัวต่อคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด
1. จากอบู มูซา อัล-อัชอารีย์ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม เมื่อรู้สึกกลัวคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดท่านจะกล่าวว่า
«اللّٰهُـمَّ إنَّا نَجْعَلُكَ فِي نُحُورِهِـمْ، وَنَعُوذُ بِكَ مِنْ شُرُورِهِـمْ».
(คำอ่าน อัลลอฮุมมะ อินนา นัจญ์อะลุกะ ฟี นุหูริฮิม, วะนะอูซุ บิกะ มิน ชุรูริฮิม)
ความว่า "โอ้ อัลลอฮฺ แท้จริงเราขอให้พระองค์อยู่ต่อหน้าคอของพวกเขา(หมายถึงให้พระองค์ปกป้องเราจากศัตรูและกั้นขวางไม่ให้พวกเขาทำร้ายเราได้ – ดูคำอธิบายใน ฟัยฎุล เกาะดีร 6646) และเราขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากความชั่วร้ายของพวกเขา"
(หะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดย อะห์มัด 19958 และ อบู ดาวูด 1537 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)

2. อีกบทหนึ่งคือ
«اللّٰهُـمَّ اكْفِنِيهِـمْ بِمَا شِئْتَ».
(คำอ่าน: อัลลอฮุมมักฟินีฮิม บิมา ชิอ์ตะ)
ความว่า "โอ้ อัลลอฮฺ ขอทรงคุ้มครองข้าพระองค์จากพวกเขา ด้วยวิธีที่พระองค์ทรงประสงค์ด้วยเถิด"
(บันทึกโดย มุสลิม 3005)

เมื่อปะทะกับศัตรู
1. จาก อะนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ กล่าวว่า เมื่อท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิ วะสัลลัม สู้รบกับศัตรูท่านจะกล่าวว่า
«اللّٰهُـمَّ أَنْتَ عَضُدِي وَنَصِيرِي، بِكَ أَحُولُ، وَبِكَ أَصُولُ، وَبِكَ أُقَاتِلُ».
(คำอ่าน อัลลอฮุมมะ อันตะ อะฎุดี วะ นะศีรี, บิกะ อะหูลุ, วะ บิกะ อะศูลุ, วะ บิกะ อุกอติล)
ความว่า "โอ้ อัลลอฮฺ พระองค์เป็นผู้สนับสนุนข้า เป็นผู้ช่วยเหลือข้า ด้วยพระองค์ข้าทุ่มเทความพยายาม ด้วยพระองค์ข้าโจมตีศัตรู และด้วยพระองค์ข้าทำการสู้รบ"
(หะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดย อบู ดาวูด 2632 และ อัต-ติรมิซีย์ 3584)

2. จาก อิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา กล่าวว่า
(حَسْبُنَا اللَّهُ وَنِعْمَ الْوَكِيلُ)
(คำอ่าน หัสบุนัลลอฮฺ วะนิอฺมัล วะกีล)
ความว่า "อัลลอฮฺทรงเป็นผู้ปกป้องช่วยเหลือที่เพียงพอแล้วสำหรับเรา และพระองค์เป็นผู้ดูแลที่ดีที่สุดแล้ว"
เป็นดุอาอฺที่ท่านนบี อิบรอฮีม อะลัยฮิสลาม ได้กล่าวเมื่อครั้งที่ถูกโยนลงในกองไฟ และท่านนบี มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวเมื่อครั้งที่เหล่าผู้ปฏิเสธศรัทธาได้กล่าวว่า
(إِنَّ النَّاسَ قَدْ جَمَعُوا لَكُمْ فَاخْشَوْهُمْ فَزَادَهُمْ إِيمَانًا وَقَالُوا حَسْبُنَا اللَّهُ وَنِعْمَ الْوَكِيلُ)
ความว่า "(พวกนั้นได้กล่าวว่า) 'แท้จริงผู้คนต่างได้รวมตัวเพื่อสู้กับท่าน จงกลัวพวกเขาสิ' แต่สิ่งนั้นกลับทำให้พวกเขา(เหล่าผู้ศรัทธา)มีอีมานความศรัทธาที่เพิ่มขึ้น และพวกเขาก็กล่าวว่า อัลลอฮฺทรงเป็นผู้ปกป้องช่วยเหลือที่เพียงพอแล้วสำหรับเรา และพระองค์เป็นผู้ดูแลที่ดีที่สุดแล้ว"
(บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 4563)

เมื่อต้องการขอให้ได้รับชัยชนะเหนือศัตรู
จากอับดุลลอฮฺ อิบนุ อบี เอาฟา เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวขอดุอาอฺในสงครามอะห์ซาบให้มีชัยชนะเหนือพวกมุชริกีนว่า
«اللّٰهُـمَّ مُنْزِلَ الكِتَابِ، سَرِيعَ الحِسَابِ، اللّٰهُـمَّ اهْزِمِ الأَحْزَابَ، اللّٰهُـمَّ اهْزِمْهُـمْ وَزَلْزِلْـهُـمْ».
(คำอ่าน อัลลอฮุมมะ มุนซิลัล กิตาบ, สะรีอัล หิซาบ, อัลลอฮุมมะฮฺซิมิล อะห์ซาบ, อัลลอฮุมมะฮฺซิมฮุม วะ ซัลซิลฮุม)
ความว่า "โอ้ อัลลอฮฺ พระผู้ทรงประทานกิตาบ(คัมภีร์)ลงมา พระผู้ทรงฉับไวในการสอบสวน ได้โปรดทำให้กลุ่มพันธมิตรของศัตรูพ่ายแพ้ โอ้ อัลลอฮฺ ขอทรงโปรดทำให้พวกเขาพ่ายแพ้ และทรงโปรดเขย่าของพวกเขาให้สะทกสะท้าน"
(บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 2933 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และ มุสลิม 1742)

คำที่กล่าวสำหรับผู้ที่อธรรมต่อชาวมุสลิม
1. จาก อะลีย์ อิบนุ อะบี ฏอลิบ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ครั้งที่เราอยู่กับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ในสงครามสนามเพลาะนั้น ท่านได้กล่าวว่า
«مَلأَ الله قُبُورَهُـمْ وَبُيُوتَـهُـمْ نَاراً كَمَا شَغَلُونَا عَنِ الصَّلاةِ الوُسْطَى حَتّٰى غَابَتِ الشَّمْسُ».
ความว่า "ขออัลลอฮฺได้สุมไฟในหลุมศพและบ้านของพวกเขาให้เต็ม เช่นที่พวกเขาได้ทำให้เราวุ่นวายจนมิได้ละหมาดอัศร์กระทั่งตะวันตกดิน"
(บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 6396 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และ มุสลิม 627)

2. อีกหะดีษหนึ่ง
«اللّٰهُـمَّ اشْدُدْ وَطْأَتَـكَ عَلٰى مُضَرَ، اللّٰهُـمَّ اجْعَلْـهَا عَلَيهِـمْ سِنِينَ كَسِنِيِّ يُوسُفَ».
(คำอ่าน: อัลลอฮุมมัชดุด วัฏอะตะกะ อะลา "มุฎ็อรฺ", อัลลอฮุมมัจญ์อัลฮา อะลัยฮิม ซีนีนะ กะซินีย์ ยูซุฟ)
ความว่า "โอ้ อัลลอฮฺ โปรดลงโทษอย่างหนักแก่พวก มุฎ็อรฺ (เป็นชื่อของเผ่าหนึ่งในสมัยท่านนบี แต่เมื่อใช้อ่านจริงๆ ให้ระบุชื่อศัตรูในปัจจุบันแทน) โอ้ อัลลอฮฺ โปรดทำให้พวกเขาประสบกับความแห้งแล้งเหมือนกับความแห้งแล้งที่ได้ประสบในสมัยนบียูซุฟ"
(บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 1006 และ มุสลิม 675 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)

เมื่อมีปัญหาใดทับถมจนล้นตัว
จาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺเราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูลลุลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«المُؤْمِنُ القَوِيُّ خَيرٌ وَأَحَبُّ إلَى الله مِنَ المُؤْمِنِ الضَّعِيفِ، وَفِي كُلٍّ خَيْرٌ، احْرِصْ عَلَى مَا يَنْفَعُكَ، وَاسْتَعِنْ بِالله وَلا تَعْجَزْ، وَإنْ أَصَابَكَ شَيْءٌ فَلا تَقُلْ: لَو أَنِّي فَعَلْتُ كَانَ كَذَا وَكَذَا، وَلَكِنْ قُلْ: قَدَرُ الله وَمَا شَاءَ فَعَلَ، فَإنَّ لَوْ تَفْتَـحُ عَمَلَ الشَّيْطَانِ».
ความว่า "ผู้ศรัทธาที่เข้มแข็งย่อมต้องดีกว่าและเป็นที่รักแด่อัลลอฮฺมากกว่าผู้ศรัทธาที่อ่อนแอ แต่ทั้งหมดก็มีความดีงามอยู่ จงมุ่งมั่นในสิ่งที่ให้ประโยชน์แก่เจ้า และจงขอความช่วยเหลือกับอัลลอฮฺ และอย่าได้รู้สึกเพลี่ยงพล้ำ เมื่อมีสิ่งใดประสบกับเจ้าก็อย่ากล่าวว่า 'หากฉันทำอย่างนั้น มันก็คงจะเป็นอย่างนี้' แต่ให้กล่าวว่า ก็อดดะร็อลลอฮฺ, วะ มาชาอะ ฟะอัล (ความหมาย อัลลอฮฺได้กำหนดมาแล้ว สิ่งใดที่ทรงประสงค์ก็จะทรงทำ) เพราะแท้จริงคำว่า 'ถ้า' นั้นจะเปิดประตูของชัยฏอน"
(บันทึกโดยมุสลิม 2664)

เมื่อพลาดพลั้งกระทำความผิดบาป
จากอบู บักรฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَا مِنْ عَبْدٍ يُذْنِبُ ذَنْباً فَيُـحْسِنُ الطُّهُورَ، ثُمَّ يَـقُومُ فَيُصَلِّي رَكْعَتَينِ، ثُمَّ يَسْتَغْفِرُ الله إلَّا غَفَرَ الله لَـهُ»
ความว่า: "ไม่มีบ่าวคนใดที่ทำบาปหนึ่งบาปใด แล้วเขาก็ทำวุฎูอฺ(อาบน้ำละหมาด)อย่างดี จากนั้นก็ลุกขึ้นละหมาดสองร็อกอะฮฺ แล้วก็ขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ เว้นแต่อัลลอฮฺจะทรงอภัยให้กับเขา" จากนั้นท่านก็อ่านอายะฮฺอัลกุรอาน
وَالَّذِينَ إِذَا فَعَلُوا فَاحِشَةً أَوْ ظَلَمُوا أَنْفُسَهُمْ ذَكَرُوا اللَّهَ فَاسْتَغْفَرُوا لِذُنُوبِهِمْ وَمَنْ يَغْفِرُ الذُّنُوبَ إِلَّا اللَّهُ وَلَمْ يُصِرُّوا عَلَى مَا فَعَلُوا وَهُمْ يَعْلَمُونَ
ความว่า "และบรรดาผู้คนซึ่งเมื่อพวกเขากระทำความต่ำทรามหรือก่ออธรรมต่อตัวพวกเขาเองก็จะรำลึกถึงอัลลอฮฺ" (สูเราะฮฺ อาล อิมรอน 135)
... จนกระทั่งจบอายะฮฺ
(หะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดย อบู ดาวูด 1521 และ อัต-ติรมิซีย์ 3006)

คำกล่าวสำหรับผู้ติดหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้
1. จาก อะลีย์ อิบนุ อบี ฏอลิบ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่า ทาสผู้ต้องการไถ่ตัวเองคนหนึ่งได้มาหาท่าน และกล่าวว่า "แท้จริงฉันไม่มีความสามารถที่จะไถ่ถอนตัวเองได้ ได้โปรดช่วยเหลือฉันด้วยเถิด" ท่านอะลีย์ จึงตอบว่า "เอาไหม ฉันจะสอนถ้อยคำบางอย่างที่ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้สอนฉันไว้ ซึ่งแม้ท่านจะมีหนี้มากมายเท่าภูเขา ษะบีรฺ ก็ตาม อัลลอฮฺก็จะทรงให้เจ้ามีทางออกได้ชำระหนี้นั้น" แล้วท่านอะลีย์ ก็สอนว่า "จงกล่าวว่า ...
«اللّٰهُـمَّ اكْفِنِي بِـحَلالِكَ عَنْ حَرَامِكَ، وَأَغَنِنِي بِفَضْلِكَ عَمَّنْ سِوَاكَ».
(คำอ่าน: อัลลอฮุมมักฟินี บิ หะลาลิกะ อัน หะรอมิก, วะ อัฆนินี บิ ฟัฎลิกะ อัมมัน สิวาก)
ความว่า "โอ้ อัลลอฮฺ ขอทรงโปรดทำให้สิ่งที่หะลาลของพระองค์เพียงพอแก่ข้า(ทดแทน)จากสิ่งที่หะรอมของพระองค์ และขอทรงโปรดทำให้ข้าร่ำรวยอย่างพอเพียงด้วยความประเสริฐของพระองค์ (ทดแทน)จากการต้องพึ่งผู้อื่นนอกเหนือไปจากพระองค์ด้วยเถิด"
(หะดีษ หะซัน บันทึกโดย อะหฺมัด 1319 ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ 266 และ อัต-ติรมิซีย์ 3563)

2. จาก อะนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้เคยกล่าวว่า
«اللّٰهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنَ الهَـمِّ وَالحَزَنِ، وَالعَجْزِ وَالكَسَلِ، وَالجُبْنِ وَالبُـخْلِ، وَضَلَعِ الدَّينِ وَغَلَبَةِ الرِّجَالِ».
(คำอ่าน: อัลลอฮุมมะ อินนี อะอูซุบิกะ มินัล ฮัมม์ วัล หะซัน, วัลอัจญ์ซิ วัล กะสัล, วัลญุบนี วัล บุคลิ, วะ เฎาะละอิดดัยน์, วะ เฆาะละบะติรฺ ริญาล)
ความว่า "โอ้ อัลลอฮฺ แท้จริง ข้าขอความคุ้มครองต่อพระองค์ จากความกังวลและความโศกเศร้า ความอ่อนแอและความเกียจคร้าน ความขี้ขลาดและความตระหนี่ จากการเป็นหนี้ที่มากมายก่ายกอง และจากการกดขี่ของคนอื่น"
(บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 6329)

เมื่อประสบกับความทุกข์ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่
1. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
( ﭫ ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ ﭵﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ) [البقرة/155-157].
ความว่า "จงให้ข่าวดีแก่บรรดาผู้ที่อดทนทั้งหลาย คือบรรดาผู้ซึ่งเมื่อทุกข์ยากใดๆ ประสบกับพวกเขาแล้ว พวกเขาก็จะกล่าวว่า แท้จริงเราเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ และแท้จริงเราจะกลับไปยังพระองค์ คนเหล่านั้นคือผู้ที่ได้รับพรและความเมตตาจากพระผู้อภิบาลของพวกเขา และพวกเขาก็คือคนที่ได้รับทางนำ"
(สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ 155-157)

2. จาก อุมมุ สะละมะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮา กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านรอซูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«مَا مِنْ عَبْدٍ تُصِيبُـهُ مُصِيبَةٌ فَيَـقُولُ: إنَّا ٬ وَإنَّا إلَيهِ رَاجِعُونَ، اللهم أَجِرْنِي فِي مُصِيبَتِي، وَأَخْلِفْ لِي خَيراً مِنْـهَا إلَّا أَجَرَهُ الله فِي مُصِيبَتِـهِ وَأَخْلَفَ لَـهُ خَيراً مِنْـهَا».
ความว่า "ไม่มีบ่าวคนใดที่ประสบกับความทุกข์ยากใดๆ แล้วเขาก็กล่าวว่า อินนา ลิลลาฮฺ, วะ อินนา อิลัยฮิ รอญิอูน, อัลลอฮุมมะ อะญิรนี ฟี มุศีบะตี, วะ อัคลิฟ ลี ค็อยร็อน มินฮา (ความหมาย แท้จริงเราเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ และแท้จริงเราจะกลับไปยังพระองค์ โอ้ อัลลอฮฺ ขอทรงประทานผลบุญต่อความทุกข์ยากนี้ของข้า และขอทรงแทนมันด้วยสิ่งที่ดีกว่า) (ไม่มีผู้ใดกล่าวเช่นนั้น)เว้นแต่อัลลอฮฺจะทรงประทานผลบุญเนื่องจากความทุกข์ยากนั้นของเขา และจะทรงทดแทนมันด้วยสิ่งที่ดีกว่า"
(บันทึกโดย มุสลิม 918)

คำกล่าวเพื่อไล่ชัยฏอนและความลังเลที่มันใช้ล่อลวง
1. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
(ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕﯚ) [فصلت/36].
ความว่า "และหากว่าได้มีการล่อลวงเจ้าจากชัยฏอนแล้วไซร้ ก็จงขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺ แท้จริงพระองค์นั้นทรงได้ยินและทรงรอบรู้ยิ่ง"
(สูเราะฮฺ ฟุศศิลัต 36)

2. การอะซาน, การหมั่นกล่าวระลึกถึงอัลลอฮฺอย่างสม่ำเสมอ, การอ่านอัลกุรอาน, อายะฮฺ อัลกุรซีย์, และสิ่งที่คล้ายกัน ซึ่งจะได้อธิบายต่อไป อินชาอัลลอฮฺ

คำกล่าวเมื่อมีความโมโหโกรธา
จาก สุลัยมาน บิน ศ็อรด์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ได้มีชายสองคนด่าทอกันไปมาต่อหน้าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ในขณะที่พวกเราก็อยู่กับท่านด้วย หนึ่งในสองคนนั้นได้กล่าวด่าว่าสหายของเขาด้วยอาการที่โมโหจนกระทั่งหน้าของเขาแดงกล่ำ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงกล่าวว่า
«إنِّي لأَعْلَـمُ كَلِـمَةً لَو قَالَـهَا لَذَهَبَ عَنْـهُ مَا يَـجِدُ، لَو قَالَ: أَعُوذُ بِالله مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيمِ..».
ความว่า "แท้จริง ฉันรู้ถ้อยคำหนึ่ง ซึ่งถ้าหากเขากล่าวมันแล้ว อาการที่อยู่กับเขานั้นก็จะหมดไป นั่นคือถ้าหากเขากล่าวว่า อะอูซุบิลลาฮิ มินัช ชัยฏอนิร เราะญีม (ข้าขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺ จากชัยฏอนผู้ถูกสาปแช่ง)"
(บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 6115 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และ มุสลิม 2610)

3. บทซิกิรที่ใช้กล่าวในกรณีอื่นๆ

เมื่อลุกจากการนั่งชุมนุม
จาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«مَنْ جَلَسَ فِي مَـجْلِسٍ فَكَثُرَ فِيهِ لَغَطُهُ فَقَالَ قَبْلَ أَنْ يَـقُومَ مِنْ مَـجْلِسِهِ ذَلِكَ: سُبْـحَانَكَ اللهم وَبِـحَـمْدِكَ، أَشْهَدُ أَنْ لا إلهَ إلَّا أَنْتَ، أَسْتَغْفِرُكَ وَأَتُوبُ إلَيْكَ، إلَّا غُفِرَ لَـهُ مَا كَانَ فِي مَـجْلِسِهِ ذَلِكَ».
ความว่า "ผู้ใดที่นั่งอยู่ ณ ที่ประชุมใด แล้วมีข้อผิดพลาดในคำพูดของเขาเยอะ เมื่อเขากล่าวก่อนที่จะลุกจากที่นั่งนั้นว่า สุบหานะกัลลอฮุมมะ วิบิหัมดิกะ, อัชฮะดุ อัลลา อิลาฮะ อิลลา อันตา, อัสตัฆฟิรุกะ วะอะตูบุ อิลัยก์ (ความหมาย มหาบริสุทธิ์ยิ่งเอกองค์อัลลอฮฺพระผู้อภิบาลแห่งเรา และด้วยการสรรเสริญแด่พระองค์ ข้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ต้องเคารพภักดีนอกจากพระองค์ และข้าขออภัยโทษและกลับตัวต่อพระองค์) (ไม่มีใครที่กล่าวเช่นนั้น)เว้นแต่บาปของเขาที่เกิดขึ้นระหว่างการนั่ง ณ ที่ประชุมนั้นจะถูกอภัยให้หมดไป"
(หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อะห์มัด 10420 และ อัต-ติรมิซีย์ 3433 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)

เมื่อได้ยินเสียงไก่ขัน เสียงร้องของลา และเสียงสุนัขเห่าหอน
1. จาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«إذَا سَمِعْتُـمْ صِيَاحَ الدِّيَكَةِ فَاسْأَلُوا اللهَ مِنْ فَضْلِـهِ، فَإنَّهَا رَأَتْ مَلَكاً، وَإذَا سَمِعْتُـمْ نَـهِيقَ الحِـمَارِ فَتَعَوَّذُوا بِاللهِ مِنَ الشَّيْطَانِ فَإنَّهَا رَأَتْ شَيْطَاناً».
ความว่า "เมื่อพวกท่านได้ยินเสียงไก่ขัน ก็จงขอต่ออัลลอฮฺให้ประทานความประเสริฐต่างๆ ของพระองค์ เพราะมัน(ไก่)มองเห็นมลาอิกะฮฺ และเมื่อพวกท่านได้ยินเสียงลาร้องก็จงขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺจากชัยฏอน เพราะมัน(ลา)มองเห็นชัยฏอน".
(บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 3303 และมุสลิม 2729)

2. จากญาบิร อิบนุ อับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«إذَا سَمِعْتُـمْ نُبَاحَ الكِلابِ، وَنَـهِيقَ الحُـمُرِ بِاللَّيلِ فَتَعَوَّذُوْا بِالله، فَإنَّهُنَّ يَرَيْنَ مَا لا تَرَوْنَ».
ความว่า "เมื่อพวกท่านได้ยินเสียงสุนัขเห่าหอนและเสียงลาร้องในเวลากลางคืน ก็จงขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺจากชัยฏอน เพราะพวกมัน(สุนัขและลา)มองเห็นสิ่งที่พวกเจ้ามองไม่เห็น"
(หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อะหฺมัด 14334 และ อบู ดาวูด 5103 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)

เมื่อพบเห็นผู้ที่ถูกทดสอบด้วยโรคหรืออื่นๆ
จากอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา กล่าวว่า ท่านรอซุลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَنْ رَأَى مُبْتَلَىً فَقَالَ: الحَـمْدُ ٬ الَّذِي عَافَانِي مِـمَّا ابْتَلاكَ بِـهِ، وَفَضَّلَنِي عَلَى كَثِيرٍ مِـمَّنْ خَلَقَ تَفْضِيلاً لَـمْ يُصِبْـهُ ذَلِكَ البَلاءُ». أخرجه الطبراني في الأوسط.
ความว่า "ผู้ใดที่พบเห็นคนที่ถูกทดสอบ(ด้วยการเป็นโรคหรือทุพพลภาพ เป็นต้น) แล้วเขาก็กล่าวว่า อัลหัมดุลิลลาฮิล ละซี อาฟานี มิมมับตะลากะ บิฮี, วะ ฟัฎเฎาะละนี อะลา กะษีริม มิมมัน เคาะละกอ ตัฟฎีลา (ความหมาย ขอสรรเสริญอัลลอฮฺผู้ทรงโปรดให้ฉันปราศจากสิ่งที่ท่านถูกทดสอบ และทรงประทานความประเสริฐแก่ฉันเหนือผู้อื่นอีกมากที่พระองค์ทรงสร้างมา) ดังนั้น เขาก็จะไม่ประสบกับการทดสอบนั้น(ไม่เป็นโรคดังกล่าวนั้น)"
(หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อัฏ-เฏาะบะรอนีย์ ใน อัล-เอาสัฏ 5320 ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ ของ อัล-อัลบานีย์ 2737)
(หมายเหตุผู้แปล: ไม่ควรที่จะกล่าวดุอาอฺนี้อย่างเปิดเผยต่อหน้าคนที่ประสบกับโรคภัยที่เราไม่ได้เป็น เพื่อคำนึงถึงความรู้สึกของเขา เป็นการเพียงพอแล้วที่เราจะกล่าวเพียงค่อยๆ ไม่ต้องให้มีเสียงดัง อินชาอัลลอฮฺ – วัลลอฮฺอะอฺลัม)

เมื่อตักเตือนผู้อื่น แล้วผู้ถูกตักเตือนทำตัวยะโส
จาก สะละมะฮฺ อิบนุ อัล-อักวะอฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า
أَنَّ رَجُلاً أَكَلَ عِنْدَ رَسُولِ الله صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّم بِشِمَالِـهِ فَقَالَ: «كُلْ بِيَـمِيْنِكَ» قَالَ: لا أَسْتَطِيعُ، قَالَ: «لا اسْتَطَعْتَ» مَا مَنَعَهُ إلَّا الكِبْرُ، قَالَ: فَمَا رَفَعَهَا إلَى فِيْـهِ.
ความว่า ได้มีชายผู้หนึ่งกินอาหารกับท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ด้วยมือซ้าย ท่านจึงกล่าวสอนเขาว่า "จงกินด้วยมือขวา" เขาตอบท่านนบีว่า "ฉันทำไม่ได้" ท่านจึงตอบกลับไปว่า "ท่านก็อย่าทำได้เลย" ไม่มีอะไรที่ห้ามเขานอกจากเพราะความยะโส ผู้รายงานหะดีษเล่าว่า ชายผู้นั้นก็ไม่สามารถที่จะใช้มือขวายกอาหารเข้าปากได้อีกหลังจากนั้น
(บันทึกโดย มุสลิม 2021)

เมื่อเริ่มลงมือขจัดสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
จากอับดุลลอฮฺ อิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่า
دَخَلَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّم مَكَّةَ وَحَوْلَ البَيْتِ ثَلاثُمِائَةٍ وَسِتُّونَ نُصُباً، فَجَعَلَ يَطْعَنُـهَا بِـعُودٍ فِي يَدِهِ، وَجَعَلَ يَـقُولُ: «( جاء الحق وزهق الباطل إن الباطل كان زهوقا)».
ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้เข้ามักกะฮฺ(เมื่อครั้งเปิดเมือง) ในขณะที่มีรูปเจว็ดรอบๆ กะอฺบะฮฺอยู่ถึง 360 ตัว แล้วท่านก็ใช้ไม้ที่อยู่ในมือท่านแทงไปยังรูปเจว็ดเหล่านั้น พลางกล่าวว่า
(บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 2478 สำนวนรายงานนนี้เป็นของท่าน และ มุสลิม 1781)

เมื่อมีคนทำดีกับเรา
1. จาก อิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา เล่าว่า
أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّم دَخَلَ الخَلاءَ فَوَضَعْتُ لَـهُ وُضُوءاً، قَالَ: «مَنَ وَضَعَ هَذَا؟» فَأُخْبِرَ فَقَالَ: « اللهم فَقِّهْهُ فِي الدِّينِ».
ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้เข้าห้องน้ำ ฉันจึงหาน้ำมาให้ท่านได้ใช้ทำวุฎูอ์(อาบน้ำละหมาด) เมื่อท่านเห็นน้ำก็ถามว่า "ใครเอาน้ำนี้มาให้?" แล้วก็มีคนบอกให้ท่านทราบ ท่านจึงกล่าวขอดุอาอ์ให้ว่า "โอ้ อัลลอฮฺ ขอทรงประทานให้เขา(อิบนุ อับบาส)ได้มีความเข้าใจในศาสนา"
(บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 143 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และมุสลิม 2477)

2. จากอุสามะฮฺ อิบนุ ซัยด์ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«مَنْ صُنِعَ إلَيهِ معْرُوفٌ فقال لِفَاعِلِـهِ: جَزَاكَ الله خَيراً، فَقَدْ أَبْلَغَ فِي الثَّنَاءِ».
ความว่า "ใครที่ได้รับการทำดีจากใครก็ตามด้วยความดีงามใดๆ แล้วเขาก็กล่าวแก่ผู้ทำดีนั้นว่า ญะซากัลลอฮุ ค็อยรอ (ความหมาย ขออัลลอฮฺทรงตอบแทนท่านด้วยความดี) แน่แท้ นั่นแสดงว่าเขาได้ยกย่องสรรเสริญคนผู้นั้นอย่างที่สุดแล้ว"
(หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์ 2035)

3. จาก อับดุลลอฮฺ อิบนุ อบู เราะบีอะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ กล่าวว่า
اسْتَقْرَضَ مِنِّي النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّم أَرْبَـعِينَ أَلْفاً فَجَاءَهُ مَالٌ فَدَفَعَهُ إلَيَّ وَقَالَ: «بَارَكَ الله لَكَ فِي أَهْلِكَ وَمَالِكَ، إنَّمَا جَزَاءُ السَّلَفِ الحَـمْدُ وَالأَدَاءُ».
ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ยืมเบี้ยไปจากฉันจำนวนสี่หมื่น จากนั้นเมื่อท่านมีทรัพย์สินท่านก็นำมันมาจ่ายแก่ฉัน และกล่าวว่า บาเราะกัลลอฮุ ละกะ ฟี อะฮฺลิกะ วะ มาลิก (ความหมาย ขออัลลอฮฺให้ความประเสริฐแก่ท่าน ในครอบครัวของท่านและทรัพย์สินของท่าน) แท้จริงแล้ว การตอบแทนในการจ่ายหนี้นั้นก็คือ การขอบคุณเจ้าหนี้และการใช้หนี้ให้ครบ" (หะดีษ หะสัน บันทึกโดย อัน-นะสาอีย์ 4683 และ อิบนุ มาญะฮฺ 2424)

เมื่อเห็นตะกร้าหรือภาชนะที่มีผลไม้ให้ทาน
จาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ กล่าวว่า
كَانَ النَّاسُ إذَا رَأَوْا أَوَّلَ الثَّمَرِ جَاؤُوْا بِـهِ إلَى النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّم، فَإذَا أَخَذَهُ رَسُولُ الله صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّم قَالَ: « اللهم بَارِكْ لَنَا فِي ثَمَرِنَا، وَبَارِكْ لَنَا فِي مَدِيْنَتِنَا، وَبَارِكْ لَنَا فِي صَاعِنَا، وَبَارِكْ لَنَا فِي مُدِّنَا...» قَالَ: ثُمَّ يَدْعُو أَصْغَرَ وَلِيدٍ لَـهُ فَيُـعْطِيهِ ذَلِكَ الثَّمَـرَ.
ความว่า บรรดาเศาะหาบะฮฺเมื่อเห็นผลไม้ที่ออกใหม่(หมายถึง ผลไม้ที่เริ่มสุกเป็นครั้งแรกในแต่ละฤดูกาล) ก็จะนำไปให้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก่อน เมื่อท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้หยิบมันแล้วท่านก็จะกล่าวว่า อัลลอฮุมมะ บาริก ละนา ฟี ษะมะรินา, วะ บาริก ละนา ฟี มะดีนะตีนา, วะ บาริก ละนา ฟี ศออินา, วะ บาริก ละนา ฟี มุดดินา (ความหมาย โอ้ อัลลอฮฺ ขอทรงโปรดให้ความประเสริฐแก่ผลไม้ของเรา และขอทรงโปรดให้ความประเสริฐแก่เมืองของเรา และขอทรงโปรดให้ความประเสริฐแก่ศออฺ(เครื่องตวงชนิดหนึ่งเท่ากับ 4-5 ลิตรโดยประมาณ) ของเรา และขอทรงโปรดให้ความประเสริฐแก่มุดด์ (การตวงโดยใช้กำมือ) ของเรา)" อบู ฮุร็อยเราะฮฺเล่าต่อว่า จากนั้น ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็จะเรียกเด็กที่เล็กที่สุดแล้วก็มอบผลไม้นั้นให้กับเขา
(บันทึกโดย มุสลิม 1373)

เมื่อมีเรื่องที่ทำให้ดีใจ
จาก อบู บักเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่า
أنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّم كانَ إذَا أَتَاهُ أَمْرٌ يَسُرُّهُ أَوْ يُسَرُّ بِـهِ خَرَّ سَاجِداً شُكْراً ٬ تَـبَارَكَ وَتَعَالَى.
ความว่า เมื่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม มีเรื่องที่ทำให้ท่านดีใจหรือถูกทำให้ดีใจด้วยมัน ท่านจะรุดลงสุญูดเพื่อขอบคุณต่ออัลลอฮฺผู้ทรงประเสริฐและสูงส่งยิ่ง
(หะดีษ หะสัน บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์ 1578 และ อิบนุ มาญะฮฺ 1394 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)

เมื่อมีความแปลกใจและสุขใจ
1. จาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่า
أَنَّهُ لَقِيَـهُ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّم فِي طَرِيقٍ مِنْ طُرُقِ المَدِيْنَةِ وَهُوَ جُنُبٌ فَانْسَلَّ فَذَهَبَ فَاغْتَسَلَ فَتَفَقَّدَهُ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّم فَلَـمَّا جَاءَهَ قَالَ: «أَيْنَ كُنْتَ يَا أَبَا هُرَيرَةَ؟» قَالَ: يَا رَسُولَ الله لَقِيْتَنِي وأَنَاَ جُنُبٌ فَكَرِهْتُ أَنْ أُجَالِسَكَ حَتَّى أَغْتَسِلَ فَقَالَ رَسُولُ الله صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّم : «سُبْـحَانَ الله إنَّ المُؤْمِنَ لا يَنْجُسُ».
ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้เจอเขาบนทางหนึ่งในเมืองมะดีนะฮฺ ในขณะที่เขา(อบู ฮุร็อยเราะฮฺ) มี ญะนาบะฮฺ (คืออยู่ในสภาพที่ละหมาดไม่ได้เนื่องจากสาเหตุต่างๆ เช่น หลังจากการมีเพศสันพันธ์หรือการฝันเปียก เป็นต้น) เขาจึงเดินเลี่ยงหนีไปและได้ทำการอาบน้ำ ท่านนบีก็ถามหาเขา และเมื่อเขามาหาท่านนบีแล้ว ท่านก็ถามว่า "ท่านไปอยู่ที่ไหนมา อบู ฮุร็อยเราะฮฺ ?" เขาตอบว่า "โอ้ รอซูลุลลอฮฺ ท่านพบฉันในขณะที่ฉันมีญะนาบะฮฺ ฉันจึงไม่ชอบที่จะนั่งกับท่านจนกว่าฉันจะได้อาบน้ำเสียก่อน" ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ตอบว่า "สุบหานัลลอฮฺ ! แท้จริงแล้วผู้ศรัทธานั้นไม่นะญิส"
(บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 283 และมุสลิม 371 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)

2. จาก อิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เนื้อหาส่วนหนึ่งในรายงานมีอยู่ว่า
قَالَ عُمَرُ: يَا رَسُولَ الله أَطَلَّقْتَ نِسَاءَكَ، فَرَفَعَ إلَيَّ بَصَرَهُ فَقَالَ: «لا» فَقُلْتُ: الله أَكْبَرُ...
ความว่า ท่านอุมัร ได้กล่าวถามว่า "โอ้น ท่านรอซูลุลลอฮฺ ท่านได้หย่ากับภรรยาของท่านแล้วหรือ?" ท่านรอซูลุลลอฮฺเงยหน้ามองฉันแล้วตอบว่า "ไม่" ฉัน(อุมัร)จึงกล่าวว่า "อัลลอฮุ อักบัร !" ...
(บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 5191 สำนวนรายงานนี้ เป็นของท่าน และ มุสลิม 1479)

เมื่อเห็นเมฆครึ้มและฝนตก
จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา เล่าว่า
أن النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّم كانَ إذا رأى سَحَاباً مُقبلاً من أُفُقٍ منَ الآفاقِ ترَكَ ما هُوَ فيه وإنْ كانَ في صَلاتِـهِ حَتَّى يَسْتَقْبِلَـهُ فيقُولُ: «اللَّهُـمَّ إنَّا نَعُوذُ بكَ من شَرّ مَا أُرْسِلَ بِـهِ» فإنْ أمطَرَ قالَ: « اللهم سَيْباً نَافِعاً» مَرَّتْينِ أو ثلاثةً، وإنْ كَشَفَهُ الله عزَّ وجلَّ ولمْ يُـمطِرْ حَـمِدَ الله على ذَلكَ.
ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เมื่อเห็นเมฆครึ้มมาจากทิศใดของท้องฟ้า ท่านก็จะละทิ้งงานที่ท่านทำอยู่ แม้กระทั่งท่านจะละหมาดอยู่ก็ตาม ท่านจะหันไปทางเมฆนั้นและกล่าวดุอาอ์ว่า อัลลอฮุมมะ อินนา นะอูซุบิกะ มิน ชัรริ มา อุรซิละ บิฮฺ (ความหมาย โอ้ อัลลอฮฺ แท้จริงเราขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากสิ่งเลวร้ายที่มันถูกส่งมาด้วย) แต่ถ้าหากเมฆนั้นนำฝนมาให้ ท่านก็จะกล่าวว่า อัลลอฮุมมะ สัยบัน นาฟิอา (โอ้ อัลลอฮฺ ขอทรงประทานให้มันมีประโยชน์) ท่านจะกล่าวสองหรือสามครั้ง หากอัลลอฮฺไม่ทำให้เมฆนั้นมีฝน ท่านก็จะกล่าว ตะห์มีด (อัลหัมดุลิลลาฮฺ) สรรเสริญอัลลอฮฺต่อสิ่งนั้น
(หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ ใน อัล-อะดับ อัล-มุฟร็อด 707 และอิบนุ มาญะฮฺ 3889)

เมื่อลมพัดแรง
จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เมื่อมีลมพายุพัด จะกล่าวว่า
« اللهم إنِّي أَسْأَلُكَ خَيْرَهَا، وَخَيْرَ مَا فِيهَا، وَخَيْرَ مَا أُرْسِلَتْ بِـهِ، وَأَعُوذُ بِكَ مِنْ شَرِّهَا وَشَرِّ مَا فِيهَا، وَشَرِّ مَا أُرْسِلَتْ بِـهِ».
(คำอ่าน อัลลอฮุมมะ อินนี อัสอะลุกะ ค็อยเราะฮา, วะ ค็อยเราะมา ฟีฮา, วะ ค็อยเราะมา อุรสิลัต บิฮี, วะ อะอูซุ บิกะ มิน ชัรริฮา, วะ ชัรริ มา ฟีฮา, วะ ชัรริมา อุรสิลัต บิฮฺ)
ความว่า "โอ้ อัลลอฮฺ แท้จริง ข้าขอต่อพระองค์ซึ่งสิ่งที่ดีของมัน(ลมพายุนี้) และสิ่งดีที่มีอยู่ในมัน และสิ่งดีที่มันถูกส่งมาด้วย และข้าขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากสิ่งเลวร้ายของมัน และสิ่งเลวร้ายที่มีอยู่ในมัน และสิ่งเลวร้ายที่มันถูกส่งมาด้วย"
(บันทึกโดย มุสลิม 899)

ดุอาอฺที่ใช้กล่าวแก่คนรับใช้
จาก อะนัส เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ กล่าวว่า แม่ของฉันได้กล่าวแก่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม "นี่เป็นคนรับใช้ของท่าน ให้ท่านขอดุอาอ์ให้เขาด้วย" ท่านนบี จึงกล่าวว่า
« اللهم أكْثِرْ مَالَـهُ، وَوَلَدَهُ، وَبَارِكْ لَـهُ فِيمَا أَعْطَيْتَـهُ».
(คำอ่าน: อัลลอฮุมมะ อักษิร มาละฮู, วะ วะละดะฮู, วะ บาริก ละฮู ฟีมา อะอฺฏ็อยตะฮู)
ความว่า "โอ้ อัลลอฮฺ ขอทรงประทานทรัพย์สมบัติและลูกหลานอันมากมายแก่เขา และขอทรงให้ความประเสริฐแก่เขาในสิ่งที่พระองค์ได้ประทานให้กับเขา"
(บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 6344 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และ มุสลิม 660)

คำกล่าวเมื่อต้องการชมเชยมุสลิม
จาก อบู บักเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ซึ่งในเนื้อหารายงานส่วนหนึ่งมีว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า:
«إذَا كَانَ أَحَدُكُمْ مَادِحاً صَاحِبَـهُ لا مَـحَالَةَ، فَلْيَـقُلْ: أَحْسِبُ فُلاناً، وَالله حَسِيْبُـهُ، وَلا أُزَكِّي عَلَى الله أَحَداً، أَحْسِبُـهُ -إنْ كَانَ يَـعْلَـمُ ذَاكَ- كَذَا وَكَذَا».
ความว่า "เมื่อพวกท่านคนใดคนหนึ่งจำเป็นต้องชมเชยสหายของเขาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ให้เขากล่าวว่า อะห์ซิบุ ฟุลานัน, วัลลอฮุ หะสีบุฮฺ, วะลา อุซักกี อะลัลลอฮิ อะหะดา, อะห์สีบุฮู ... (ความหมาย ฉันคิดว่าเขาเป็นอย่างนั้น และอัลลอฮฺทรงเป็นผู้ที่รู้เรื่องเขาดีที่สุด และฉันไม่กล่าวชมผู้ใดเกินเลยเหนือไปจากที่อัลลอฮฺรู้ ฉันคิดว่าเขาเป็น ....) ให้ระบุคุณลักษณะที่ต้องการชม อย่างนั้นอย่างนี้"
(บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 2662 และ มุสลิม 3000 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)


เมื่อมีคนชม
จาก อะดียฺ บิน อบี อัรเฏาะอะฮฺ กล่าวว่า เศาะหาบะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม เมื่อถูกชมจะกล่าวว่า
اللهم لا تُؤَاخِذْنِي بِمَا يَـقُولُونَ، وَاغْفِرْ لِي مَا لا يَـعْلَـمُونَ.
(คำอ่าน อัลลอฮุมมะ ลา ตุอาคิซนี บิมา ยะกูลูน, วัฆฟิรฺลี มาลา ยะอฺละมูน)
ความว่า โอ้ อัลลอฮฺ ขอทรงอย่าได้เอาผิดฉันด้วยสิ่งที่พวกเขากล่าวเลย และขอทรงอภัยให้ฉันในสิ่งที่พวกเขาไม่รู้(เกี่ยวกับฉัน)
(หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ ใน อัล-อะดับ อัล-มุฟร็อด 782)