Thursday, September 10, 2009

ดุอาอฺเมื่อละศีลอด

ดุอาอฺเมื่อละศีลอด

ذَهَبَ الظَمَأُ وَابْتَلَّتِ العُرُوقُ وَثَبَتَ الأَجْرُ إِن شَاءَ اللهُ

ซะฮาบาซ ซอมะอฺ วับ ตัลละติล อุรูก วะซะบาตัล อัจรุ อินชา อัลลอฮฺ

ความกระหายได้หมดไปแล้ว เส้นโลหิตก็เปียกชื้น ผลบุญก็ได้รับแล้ว ด้วยความประสงค์ของอัลลอฮฺ

ดุอาอฺเมื่อละศีลอดยังที่ๆได้รับคำเชิญ

أَفْطَرَ عِنْدَكُمُ الصَّائِمُوْنَ وَأَكَلَ طَعَامَكُمُ الأَبْرَاْرَ وَصَلَّتْ عَلَيْكُمُ الْمَلاَئِكَةُ

อัฟตอรอ อินดากุมุ ซออีมูน วะอากะลา ตออามากุมมุล อับรอร วะซอลลัต อะลัยกุมมุล มะลาอิกะฮฺ

ผู้ถือบวชได้ละศีลอดพร้อมท่าน เหล่าผู้ประเสริฐได้ทานอาหารของท่าน และบรรดามลาอิกะฮฺได้ขอพรให้ท่านแล้ว

ดุอาอฺคืน ลัยละตุล กอดัร

اللَّهُمَّ إِنَّكَ عَفُوٌّ تُحِبُّ الْعَفْوَ فَاعْفُ عَنِّيْ

อัลลอฮ ฮุมมา อินนะกา อะฟุวน ตุฮิบบุล อัฟวา ฟะอฺฟู อันนี

โอ้ผู้อภิบาลของเรา แท้จริงพระองค์ทรงเป็นผู้อภัยยิ่งและพระองค์ทรงรักการให้อภัยดังนั้นขอได้โปรดประทานอภัยแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด

ดุอาอฺทั่วไป

اللَّهُمَّ إِنِّيْ أَسْأَلُكَ الْهُدَى وَالتُّقَى وَالْعَفَافَ وَالْغِنَى

อัลลอฮ ฮุมมา อินนี อัซอะลุกัล ฮูดา วัตตูกอ วัลอาฟาฟ วัลฆีนา

โอ้องค์อภิบาลของเรา ข้าพระองค์ขอการชี้นำ การยำเกรง ความบริสุทธิ์จากตัณหา และความรู้สึกพอเพียง

اللَّهُمَّ مَغْفِرَتُكَ أَوْسَعُ مِنْ ذُنُوْبِيْ وَرَحْمَتُكَ أَرْجَى عِنْدِيْ مِنْ عَمَلِيْ

อัลลอฮ ฮุมมา มัฆฟีรอตุกา เอาซะ มิน ซุนูบี วะรอฮฺมาตุกา อัรญา อินดี มินอะมาลี

โอ้องค์อภิบาลของเรา การอภัยของพระองค์ยิ่งใหญ่กว่าบาปของข้าพระองค์นัก ความเมตตาของพระองค์ คือสิ่งที่ข้าพระองค์หวังมากกว่าการงานที่ข้าพระองค์ได้ทำเสียอีก


اللَّهُمَّ آتِ نَفْسِيْ تَقْوَاهَا وَزَكِّهَا أَنْتَ خَيْرُ مَنْ زَكَّاهَا أَنْتَ وَلِيُّهَا وَمَوْلاَهَا

อัลลอฮ ฮุมมา อาตีนัฟซี ตักวาฮา วะซักกีฮา อันตา คอยรูมัน ซักกาฮา อันตา วะลียุฮา วะ เมาลาฮา

โอ้องค์อภิบาลของเรา ได้โปรดประทานความยำเกรงให้แก่จิตของข้า และขอพระองค์ทรงล้างมันให้บริสุทธิ์ เพราะพระองค์คือผู้ที่ดีที่สุดที่ชะล้างมันให้สะอาด พระองค์เป็นเจ้าและผู้อภิบาลมัน

...............................................................................
คัดลอกจาก "อิกเราะอฺออนไลน์"

พิมพ์จาก : http://www.muslimthai.com/main/1428/content.php?category=36&id=275
วันที่ : 10 กันยายน 52 15:00:59
มุสลิมไทย http://www.muslimthai.com

การปรากฏของเดือนรอมฎอน


รอมฏอนกะรีม : การปรากฏของเดือนรอมฎอน
1. นับจำนวนวันของเดือนชะอฺบาน เป็นหน้าที่ของประชาชาติอิสลามที่จะต้องนับจำนวนวันของเดือนชะอฺบานเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่เดือนรอมฎอน เพราะเดือนหนึ่งจะมี 29 วัน หรือ 30 วัน

ดังนั้นจึงให้ถือศีลอดเมื่อเห็นเดือนเสี้ยว ถ้าหากเดือนเสี้ยวถูกเมฆหมอกมาบดบัง ก็ให้คาดคะเนนับเดือนชะอฺบานให้ครบ 30 วัน เพราะอัลลอฮฺ พระผู้ทรงให้กำเนิดชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน พระองค์ทรงทำให้เดือนข้างขึ้นเป็นกำหนดเวลาเพื่อมนุษย์จะได้รู้จำนวนปีและการคำนวณ และเดือนหนึ่งจะมีไม่เกิน 30 วัน มีรายงานจากอะบีฮุรอยเราะฮฺ แจ้งว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ กล่าวว่า "ท่านทั้งหลายจงถือศีลอดด้วยการดูดวงจันทร์ และจงละศีลอดด้วยการดูดวงจันทร์ ถ้าหากดวงจันทร์ถูกเมฆหมอกมาบดบังแก่พวกท่าน ก็จงนับเดือนชะอฺบานให้ครบ 30 วัน"
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม


มีรายงานจากอับดุลลอฮฺ อิบนฺอุมัร แจ้งว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ กล่าวว่า "ท่านทั้งหลายอย่าถือศีลอดจนกว่าจะมองเห็นเดือนเสี้ยว และอย่าละศีลอดจนกว่าจะมองเห็นเดือนเสี้ยว ถ้าหากดวงจันทร์ถูกเมฆมาบดบังแก่พวกท่าน ก็จงนับเดือนให้ครบ 30 วัน"

2. ผู้ใดถือศีลอดในวันสงสัย แท้จริงเขาฝ่าฝืนท่านนะบี ดังนั้นมุสลิมไม่สมควรจะถือศีลอดล่วงหน้าวันหนึ่งหรือสองวัน เว้นแต่จะไปตรงกับการถือศีลอดของเขาที่เคยกระทำอยู่ก่อนแล้ว

มีรายงานจากอะบีฮุรอยเราะฮฺ แจ้งว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ กล่าวว่า "ท่านทั้งหลายอย่าถือศีลอดเดือนรอมฎอนล่วงหน้าวันหนึ่งหรือสองวัน เว้นแต่ผู้ที่เคยถือศีลอดอยู่ก่อนแล้ว ก็ให้เขาถือได้"

3. หากมีพยานยืนยันการเห็นดวงจันทร์ก็จงถือศีลอดและละศีลอด การเห็นดวงจันทร์จะเป็นที่รับรองได้ด้วยการที่พยานที่เป็นมุสลิมที่เที่ยงธรรม 2 คน ยืนยันเห็นดวงจันทร์ ดังคำกล่าวของท่านนะบี ที่ว่า

ความว่า "ท่านทั้งหลายจงถือศีลอดด้วยการดูดวงจันทร์ และจงละศีลอดด้วยการดูดวงจันทร์ และจงทำอิบาดะฮฺด้วยการดูดวงจันทร์ ถ้าหากดวงจันทร์ถูกเมฆหมอกมาบดบังแก่พวกท่าน ก็จงนับเดือนให้ครบ 30 วัน ถ้าหากมีพยาน 2 คน ยืนยันการเห็นดวงจันทร์ ท่านทั้งหลายก็จงถือศีลอดและท่านทั้งหลายจงละศีลอด"
บันทึกโดยอันนะซาอีย์ และอะหมัด

...........................................................................................
คัดลอกจาก : อัล-อิสลาหฺสมาคม

พิมพ์จาก : http://www.muslimthai.com/main/1428/content.php?category=36&id=255
วันที่ : 10 กันยายน 52 14:57:43
มุสลิมไทย http://www.muslimthai.com

บัญญัติเกี่ยวกับการถือศีลอด


รอมฏอนกะรีม : บัญญัติเกี่ยวกับการถือศีลอด
1. ความหมายของการถือศีลอด

อัลฮะฟิซ อิบนฺ หะญัร ให้ความหมายไว้ในหนังสืออัลฟัตฮฺของเขาว่า "อัลเศามฺหรืออัลศิยาม" ทางด้านภาษาคือ การละเว้นหรือการระงับ เช่นคำตรัสของอัลลอฮฺ ที่ว่า

ความว่า "แท้จริงฉันได้บนบานที่จะระงับการพูดไว้ต่อพระผู้ทรงกรุณาปรานี"

ส่วนความหมายทางด้านบัญญัติศาสนา คือการระงับจากการกิน การดื่ม การร่วมรสระหว่างสามีภริยา และการพูดจาไร้สาระตลอดจนการกระทำที่ขัดกับคุณธรรม

2. ชนิดของการถือศีลอด

การถือศีลอดแบ่งออกเป็นสองชนิดด้วยกัน คือ การถือศีลอดฟัรฎู และการถือศีลอดซุนนะฮฺ

การถือศีลอดฟัรฎู แบ่งออกเป็นสามประเภท คือ
1. การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน
2. การถือศีลอดเพื่อไถ่บาปหรือไถ่โทษ
3. การถือศีลอดเพื่อบนบาน

3. บัญญัติการถือศีลอดเดือนรอมฎอน

การถือศีลอดในเดือนรอมฎอนเป็นสิ่งจำเป็นวายิบ ซึ่งมีหลักฐานยืนยันจากกิตาบุลลอฮฺ และซุนนะฮฺ และบรรดานักวิชาการทางศาสนา (อุละมาอฺ)


3.1 หลักฐานที่มาจากอัลกุรอานคือ คำตรัสของอัลลอฮฺ ในซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 183 และ 185 ที่ว่า
ความว่า "โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย! การถือศีลอดได้ถูกบัญญัติแก่พวกเจ้า ดังเช่นได้ถูกบัญญัติแก่ประชาชาติก่อนหน้าพวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง" (2/183)

ความว่า "เดือนรอมฎอนนั้นเป็นเดือนที่อัลกุรอานถูกประทานลงมา เพื่อเป็นแนวทางที่ถูกต้องสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดแจ้งจากแนวทางที่ถูกต้องและเป็นการจำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ดังนั้นผู้ใดในหมู่พวกเจ้าปรากฏอยู่ในเดือนนั้น ก็จงถือศีลอดของเดือนนั้น" (2/185)


3.2 ส่วนหลักฐานที่มาจากซุนนะฮฺ ก็คือ มีรายงานจากอับดุลลอฮฺ อิบนฺอุมัร ๐ แจ้งว่า แท้จริงท่านนะบี กล่าวว่า

ความว่า "อัลอิสลามตั้งอยู่บนหลักการณ์ 5 ประการคือ การปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และแท้จริงมุฮัมมัดเป็นร่อซูลของอัลลอฮฺ การธำรงไว้ซึ่งการละหมาด การบริจาคทานซะกาต การประกอบพิธีฮัจย์ ณ บ้านของอัลลอฮฺ และการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน" บันทึกโดย อัลบุคอรีย์และมุสลิม

และมีรายงานจากอะบูฮุรอยเราะฮฺ ๐ แจ้งว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ กล่าวว่า

ความว่า "เดือนรอมฎอนได้มาหาพวกท่าน เป็นเดือนอันประเสริฐ การถือศีลอดของมันได้ถูกบัญญัติแก่พวกท่าน" อัลฮะดีสบันทึกโดย อะหมัด ด้วยสายสืบที่ศ่อเฮียะฮฺ


3.3 และบรรดาอุละมาอฺมีความเห็นสอดคล้องต้องกันว่า การถือศีลอดเดือนรอมฎอนเป็นสิ่งจำเป็น และว่าเป็นรุกุ่นหนึ่งของอิสลาม ผู้ใดปฏิเสธ คือไม่ยอมรับว่าเป็นวายิบ เขาผู้นั้นเป็นกาฟิร คือผู้ปฏิเสธศรัทธาและออกนอกอิสลาม
...........................................................................................
คัดลอกจาก : อัล-อิสลาหฺสมาคม

พิมพ์จาก : http://www.muslimthai.com/main/1428/content.php?category=36&id=250
วันที่ : 10 กันยายน 52 14:55:31
มุสลิมไทย http://www.muslimthai.com

การถือศิลอดในทัศนะทางการแพทย์


รอมฏอนกะรีม : การถือศิลอดในทัศนะทางการแพทย์
อัลลอฮฺ (ศุบหฯ) ได้ทรงไว้ในซูเราะฮฺ อัลบากอระฮ อายะฮที่ 183 มีใจความว่า “ โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย การถือศิลอดได้ถูกบัญญัติแก่พวกเจ้า ดังเช่นได้ถูกบัญญัติแก่ประชาชาติก่อนเจ้า เพื่อว่าพวกเขจ้าจะได้ยำเกรง ” (2/183)

การถือศลอดในเดือนรอมฏอน เป็นอิบาดะฮเฉพาะอย่างหนึ่ง ได้ถูกบัญญัติลงมาในวันที่ 2 เดือนชะอฺบานปีที่ 2 แห่งฮิจเราะฮฺศักราช เป็นอิบาดะฮ ที่เน้นการงานทางด้านจิตวิญญาณเป็นสำคัญ คือให้คนรู้จักความอดทน อดกลั้นหรือละเว้น จากการกิน การดื่ม การร่วมรสระหว่างสามีภรรยา รวมถึงการกระทำในสิ่งที่ไร้สาระหรือขัดต่อคุณธรรม เริ่มตั้งแต่รุ่งอรุณจนถึงตะวันลับขอบฟ้า ด้วยเจตนา (นียัต) เพื่อพระองค์อัลลอฮฺ (ศุบหฯ) เท่านั้น

“ การถือศิลอด ” มิใช่ “ ความอดอยาก ” เพราะการถือศิลอดมีจุดม่งหมายและหลักปฏิบัติอย่างชัดเจน มุอฺมิน ผู้ศรัทธา เชื่อว่าจะต้องมีฮิกมะฮฺ (เคล็ดลับ) อย่างแน่นอน อย่างเช่น สำนักการแพทย์ธรรมชาติบำบัดที่เน้นการบำบัดรักษาโรคด้วยวิธีการอดอาหารเป็นหลัก ในโอกาสนี้จะขออธิบายถึงหลักการบางอย่างที่เกี่ยวกับการถือศิลอดว่า มีความสอดคล้อง หรือขัดต่อหลักวิชาการแพทย์อย่างไรหรือไม่ เป็นพอสังเขป ดังนี้

1. ระยะเวลาการถือศิลอด
การถือศิลอดรอมฏอน หรือ ถือศิลนัฟสูก็ดี จะใช้ระยะเวลาในการละเว้นจากสิ่งต้องห้าม โดยเฉลี่ยประมาณ 13 ชั้วโมงต่อวัน ซึ่งโดยปกติเราทุกคน มีการอดอาหารอยู่แล้ว ครั้งละ10-12 ชั่วโมง คือหลังอาหารเย็น (ค่ำ) จนถึงการกินหารในวันเช้าใหม่ และในการตรวจวินิจฉัยโรคบาอย่าง เช่นการเจาะเลือดผู้ป่วยก็ต้องอดอาหารเป็นระยะเวลา 10-12 ชั่วโมง เช่นกัน ดังนั้นจะเห็นว่าระยะยเวลาของการถือศิลอดไม่ขัดต่อหลักการตามธรรมชาติ (ซุนนะตุลลอฮฺ) หรือทางการแพทย์แต่อย่างใด แต่จะมีความแตกต่างกันอยู่ที่ช่วงเวลากลางวันหรือกลางคืน ซึ่งการถือศิลอดยึดเอาช่วงเวลากลางวันเป็นหลัก ก็เพราะมีจุดประสงค์ที่มากกว่าการอดอาหารทั่วไปนั้นอง

2. การเปลี่ยนแลงในร่างกาย
การถือศิลอดจะทำให้ร่างกายต้องขาดพลังงานจากสารอาหารและต้องสูญเสียน้ำจากการขับถ่ายออกจากร่างกาย การสูญเสียน้ำมากกว่า 2 % ของน้ำหนักตัวจะทำให้ร็สึกกระหายน้ำ และเมื่อระดับในน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดและเซลล์ลดลง ก็จะทำให้รู้สึกหิว ซึ้งจะเกิดอาการหลังจากการอดไปแล้วประมาน 6 - 12 ชั้วโมง ซึ่งเรียกนี้ว่าระยะหิวโหย
ระดับน้ำตาลกลลูโคสและน้ำลดที่ลดลงจะกระตุ้นเซลล์ประสาท (นิวรอน) บริเวณฮัยโปทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมความหิว , ศูนย์อิ่มและศูนย์กระหายน้ำ สำหรับคนที่มีร่างกายปกติ มีเจตนา (นียัต) อย่างแน่วแน่และมีความเชื่อมั่นต่อบทบัญญัติของอัลลอฮฺ (ศุบหฯ) แน่นอนจะไม่ทำให้เขาถึงขั้นมีอาการหน้ามืดหรือหมดสติไป เพราะระบบต่างๆ ในร่างกายจะช่วยประสานงานกันดดยอัตโนมัตเพื่อที่จะรักษาสมดุลหเกิดขึ้นในร่างกาย ในระยะแรกร่างกายจะเริ่มมีการสลายพลังงานในรูปของกลัยโคเจน ที่เก็บสะสมไว้ในตับและกล้ามเนื้อ โดยมีฮอร์โมนกลูกากอนจากตับอ่อนมาช่วยในปฏิกิริยาเคมีนี้จะได้น้ำตาลกลูโคสเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานต่อไป ส่วนต่อมหมวกไต (Adrenal Gland) ในส่วนใน (Medulla) ก็จะถูกกระตุ้นให้หลั่งเอพิเนฟริน (Epinephrine) เพิ่มมากขึ้น และมีผลทำให้เซลล์อื่นๆใช้พลังงานลดน้อยลงด้วย

ถ้าพลังงานทีได้รับจากการสลายกลัยโคเจนไม่เพียงพอ ก็จะสลายพลังงานสำรองในรูปของไขมัน ซึ่งกรดไขมันอิสนะออกมาสู่กระแสเลือด และจะถูกเปลี่ยนไปเป็นกลูโคสเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานต่อไป ส่วนการรักษาดุลน้ำและเกลือแร่ก็เป็นหน้าที่ของ Hypothalamus เช่นกัน ที่จะกระตุ้นให้ต่อมใต้สมองได้หลั่งฮอรโมน Vesoperssine หรือ ADH จะมีผลทำให้ไตมีการดูดซึมน้ำกลับมาใช้เพิ่มมากขึ้นจึงทำให้ปัสสาวะน้อยลงและมีสีเข้มมากกว่า

ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าอัลลอฮฺ (ศุบหฯ) พระองค์ทรงรอบรู้ยิ่งเกี่ยวกับการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายของมนุษย์และพระองค์ก็ได้กำชับให้เราศึกษาเกี่ยวกับตัวของเราเอง ดังคำตรัสของอัลลอฮฺ (ศุบหฯ) ความว่า : "และในตัวของพวกเจ้า พวกเจ้าไม่เห็นอะไรดอกหรือ ?" (อัซ-ซารียาต 51 : 52)

3. การละศิลอด
ท่านศาสดามูฮัมหมัด ได้แนะนำวิธีการละศิลอดไว้อย่างไร ? เมื่อเวลาละศิลอด อิสลามให้เรารีบละศิลอด ก่อนที่จะดำรงการละหมาด และแนะนำให้ละศิลอดด้วยลูกอินทผลัมหรือด้วยน้ำ มีรายงานจากท่านอะนัส อิบน มาลิก (รอฏ ฯ) กล่าวว่า “ ปรากฏว่าท่านนบี ละศิลอดด้วยอินทผลัมที่สุกงอมก่อนที่จะไปละหมาด ถ้าไม่มีอินทผลัมที่สุกงอมก็จะแก้ด้วยอินทผลัมที่แห้ง ถ้าหากไม่มีอินทผลัมที่แห้งก็จะกระจิบน้ำหลายกระจิบ ” (บันทึกโดย อะหมัด , อะบู ดาวูด , อิบนุคุไซมะฮ และอัตตัรมีซีย์)

ในลูกอินทผลัมมีอะไร หรือ ? จากการวิจัยทางด้านโภชนาการ ทำให้เราทราบว่า ในลูกอินทผลัมที่สุกงอมนั้นประกอบด้วย น้ำตาลฟรุกโตส, น้ำ ,วิตามิน และแร่ธาตุ โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโตสจักเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานแก่รร่างกายชนิดหนึ่ง มีการดูดซึมบริเวณลำไส้เล็ก โดยวิธี Facilitate diffusion ซึ่งไม่ต้องใช้พลังงาน ส่วนน้ำตาลกลูโคสและกาแลกโตสนั้นจะดูดซึมแบบ Secondary Active ซึ่งต้องอาศัยทั้งตัวพาและพลังงาน ดังนั้นในสภาวะที่ร่างกายกำลังอ่อนเพลีย จากการขาดพลังงานและน้ำ ลูกอินทผลัมน่าจะเป็นผลไม้ที่ดีชนิดหนึ่ง สำหรับผู้ที่ถือศิลอด ส่วนผลไม้ชนิดอื่นๆที่มีรสหวานก็สามารถทานได้ (แต่ไม่ใช่ซุนนะฮ) ในทางตรงกันข้าม ถ้าละศิลอดด้วยน้ำเย็น หรืออาหารหนัก และอิ่มมากจรเกินไปก่อนจะไปละหมาดแทนที่เราจะได้พลังงานกลับคืนมาอย่างเร็ว เราต้องกลับเสียพลังงานไป เนื่องจากเลือดจะถูกส่งไปยังกระเพาะอาหาร และลำไส้เพิ่มมากขึ้น ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองย้อยลง (สมองต้องการนำตาลกลูโคสประมาณ 40 % จากทั้งหมด) จึงทำให้มีอาการมึนงง, เวียนศรีษะ ,อ่อนเพลีย,แน่นหน้าอกและง่วงซึมได้ ดังนั้นในขณะที่แก้ศิลอด ท่านนบี ได้กล่าว คำดุอาว่า


ذهب الظمأ وأبتلت العروق وثبت الأجر إن شاء الله

ความว่า “ ความกระหายน้ำได้สูญเสีย เส้นโลหิตได้ชุมชื่นและจะดั้รบการตอบแทนอย่างแน่นอน อินซาอัลลออฺ ” (อะบูดาวูด , อัลบัยฮากีย์ และอัลฮากิม)

4. จุดประสงค์ของการถือศิลอด
มนุษย์อาจจะมีฐานะที่สูงส่ง หรือต่ำต้อยกว่าสัตว์เดรัจฉาก็ได้ ขึ้นอยู่กับความศรัทธาและอิบาดะฮของเขาต่ออัลลอฮฺ (ศุบหฯ) ประกอบกับความสามารถในการใช้สติปัญญาละจิตสำนึก เพื่อเอาชนะอารมณ์ใฝ่ต่ำหรือกิเลสได้ จะต้องผ่านการฝึกอบรมเป็นการพิเศษอย่างต่อเนื่องกับปัจจัยที่มีความสำคัญสำหรับชีวิตโดยมรเป้าหมายที่ชัดเจน เช่นการถือศิลอดรอมฏอน

ทำไมเราจะต้องอดน้ำอดอาหารทั้งๆที่รู้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต โดนปกติแล้ว เป็นสิ่งที่ได้อนุมัติ (ฮาลาล) สำหรับมนุษย์ รวมถึงการหลับนอนร่วมรสระหว่างสามีภรรยาในเวลากลางวันต้องกลับมาเป็นสิ่งที่ต้องห้ามในเดือนรอมฏอน
คำตอบก็คือ เพื่อพิสูจน์ความเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริง เพื่อแสดงให้เห็นว่า ความรู้สึกหิวโหยหรืออารมณ์ ใฝ่ต่ำ เขาสามารถควบคุมได้ ซึ่งต่างกับสัตว์เดรฉานที่พร้อมจะสนองตอบอารมณ์อยากใคร่ของมันได้ทุกเมื่อ ดังนั้นเมื่อเดอนรอมฏอนสิ้นสุดแล้วจะมีการเฉลิมฉลองความสำเร็จที่เรียกว่าอิย์ดุลฏรีย์ (การกลับสู่ความบริสุทธิ์ผุดผ่อง)
คือการมีใจที่บริสุทธิ์ เข้มแข็ง หลุดพ้นจากการครอกงำของของฮาวานัฟสูหรือชัยฏอนนั่นเอง

ดังนั้นการดำรงชีวิตของมุอฺมินทุกคนหลังจากรอมฏอนแล้ว จะเปรียบเสมือนชีวิตของคนที่ในสภาวะการถือศิลอดตลอดไป เขาจะต้องอดกลั่น ละเว้นจากการกระทำในสิ่งที่เป็นฮารอม (ทุจริต , คอรัปชั่น , คดโกง ,รับสินบน,รับส่วย,กินดอกเบี้ย เป็นต้น) และต้องงหากไกลการกระทำซีนา ได้อย่างง่ายดายด้วยความภาคภูมิใจ เพราะเขาได้บรรลุมรรคผลถึงขึ้น อัล มุตตากีน (ผู้ยำเกรง , ผู้สำรวม) นั้นเอง ซึ่งอัลลออฮฺ (ศุบหฯ) ได้ให้คำมั่นสัญญาว่า “ แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงรับงานของผู้ตักวาเท่านั้น ” (อัลมาอีดะฮ 5 :27)

5. บทสรุป
จากคำอธิบายโดยย่อๆข้างต้น พอจะสรุปได้ว่าแท้จริงการถือศิลออดนั้น ไม่ขัดต่อหลักกการแพทย์แต่อย่างใด เพราะคุณสมบัติบางประการของผู้ที่ถือศิลอดนั้นต้องป็ฯมุอมินทีมีสุ๘ภาพดี และมิใช่ผู้ที่มีอุปสรรบางอย่าง (ดูรายละเอียดในวิชาฟิกฮฺ) ส่วนบุคคลที่มีอุปสรรจริงๆ จะได้รับการผ่อนผัน หรือยกเว้นจากการถือศิลอดโดยบุคคลกลุ่มหนึ่งจะต้องถือศิลอดใช้ และกลุ่มหนึ่ง ต้องจ่ายฟิดยะฮแทน นั้นก็เป็นเพราะความเมตตา และทรงรอบรู้ของอัลลลอฮฺ (ซ.บ.) เกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมี กลไกลการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายมนุษย์นั้นเอง แน่นอนมิใช่ความประสงค์ของอัลลลอฮฺหากว่าอิบาดะฮ์นั้นจะนำไปสู่ความสูญเสีย (ทำให้เกิดโรค) แก่บ่าวของพระองค์ มีนักวิชาการอเมริกาคนหนึ่งชื่อนายแพทย์ Allan Cott เขาได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า “ Way Fast ? ” (ทำไม่ต้องถือศิลอด) ซึ่งเป็นผลจากกการวิจัยของเขาจากหลายๆประเทศ เขาได้สรุปถึงเคล็ดลับของการถือศิลอดไว้ 10 ข้อ ดังนี้


1. to feel better physically and mentally. = ทำให้รู้สึกว่ามีสุขภาพและจิตใจที่ดีขึ้น
2. to look and feel younger. = ทำให้มองเห็นและรู้สึกอ่อนเยาว์ขึ้น
3. to clean out the body. = ทำให้ร่างกายสะอาดสะอ้าน
4. to lower blood pressure and cholesterol levels = ช่วยลดความดันโลหิตสูง และระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
5. to get more out of sex = ช่วยลดความรู้สึกอารมณ์ใคร่ (เซ็กส์)
6.to let the body health itself = ช่วยให้ร่างกายบำบัดตนเอง
7. to relieve the tension = ช่วยลดความตรึงเครียด
8. to sharp the sense = ช่วยให้สติปัญญาเฉียบแหลม
9. to again control of ourself = ทำให้สามารถควบคุมตนเองได้
10. to slow the aging process = ช่วยชะลอความชรา
นอกจากฮิกมะฮดังกล่าวแล้ว ท่านนบีมุฮัมหมัด (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน) ยังกล่าวไว้ มีใจความ “ แด่ผู้ถือศิลอดนั้น เขาจะได้รับความสุข 2 ประการคือ ความสุขเมื่อถึงยามละศิอด และจะมีความสุขเมื่อได้พบกับผู้อภิบาลของเขา (ในวันกียามัต) ” พร้อมกับรางวัลที่สูงสุดคือสวนสวรรค์ ซึ่งเขาจะเดินเข้าทางประตู อัร-ร็อยยาน ที่ได้สร้างเฉพาะแก่บรรดาผู้ที่ถือศิลอดด้วยความสุจริตใจต่ออัลลอฮฺ (ศุบหฯ) เท่านั้น ...

-----------------------------------
เรียบเรียงโดย นพ.ดาวูด อัช-ชีฟาอฺ "อิกเราะอฺออนไลน์" คัดลอกจากสารอัช-ชีฟาอฺ มูลนิธิสงเคราะห์เด็กกำพร้าและการกุศล ยะลา

พิมพ์จาก : http://www.muslimthai.com/main/1428/content.php?category=36&id=271
วันที่ : 10 กันยายน 52 14:51:53
มุสลิมไทย http://www.muslimthai.com

รอมฎอนเดือนแห่งการตรวจสอบตนเอง


รอมฏอนกะรีม : รอมฎอนเดือนแห่งการตรวจสอบตนเอ
เดือนรอมฎอนก็ได้ผ่านพ้นไปวันแล้ววันเล่า ปีแล้วปีเล่า เราได้ตรวจสอบตัวของเราเองบ้างหรือไม่ว่า เราได้กระทำอะไรไปบ้างวันหนึ่งกับคืนหนึ่งของเดือนรอมฎอน เราถือศีลอดด้วยการนอนตลอดวัน เพื่อที่จะอดนอนในเวลากลางคืนกระนั้นหรือ ?

เดือนรอมฎอนเป็นเดือนแห่งการทำความดี การบริจาค การทำศ่อดะเกาะฮฺ และการปรึกษาหารือกันในทางที่ดี เราจะยอมล่ะหรือที่จะให้เดือนอันมหาประเสริฐนี้ผ่านไป โดยที่เรามิได้กระทำความดีเพื่อความโปรดปรานของอัลลอฮฺ เพื่อความเมตตาของพระองค์ เพื่อที่จะให้พระองค์ทรงยกโทษให้แก่เรา ด้วยการวิงวอนขอต่อพระองค์ให้เรารอดพ้นจากไฟนรก และเข้าสู่สวนสวรรค์ของพระองค์


เดือนรอมฎอนตลอดทั้งเดือนเป็นโอกาสพิเศษที่เราทุกคนจะต้องรีบฉวยเพื่อวิงวอนขอต่อพระองค์ ให้ทรงรับการทำความดีของเรา การละหมาดของเรา การถือศีลอดของเรา การกระทำความดีของเรานั้นมิใช่กระทำด้วยความเกียจคร้านหรือกระทำอย่างเสียมิได้ เรามิได้รำลึกถึงคำเตือนของท่านนบี ที่ได้กล่าวขณะที่ท่านได้ก้าวขึ้นมิมบัร แล้วท่านญิบรีลได้กล่าวแก่ท่านนะบี ว่า

“ผู้ใดที่รอมฎอนมาเยือนเขา แล้วเขาถือศีลอดในเวลากลางวันและยืนละหมาดในเวลากลางคืน เมื่อเขาตายไป อัลลอฮฺมิได้ยกโทษให้แก่เขา เขาจะเข้าสู่ไฟนรก นั่นคืออัลลอฮฺทรงให้เขาอยู่ห่างไกลจากความเมตตาของพระองค์”

เราได้รับความเข้าใจจากฮะดีสนี้ก็คือ มุสลิมคนนี้เขาถือศีลอดในเวลากลางวัน แต่การถือศีลอดของเขาไร้ผล คือไม่ได้รับการตอบรับ เรามาพิจารณาดูการถือศีลอดของบุคคลผู้นี้ว่าเขาได้ปฏิบัติไปตามที่อัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์ทรงใช้ให้กระทำหรือไม่ แน่นอนการถือศีลอดของเขาย่อมไม่ตรงกับข้อใช้ ข้อห้ามที่ได้กำหนดไว้ แต่เขาถือศีลอดตามอารมณ์ แล้วกระทำสิ่งที่เขาต้องการจะกระทำ โดยมิได้คำนึงถึง หรือมีความสำนึกว่าอะไรควรอะไรไม่ควรกระทำ แต่แล้วการถือศีลอดของเขาก็ได้แต่เพียงการอดอาหารอดน้ำในเวลากลางวันเท่านั้น จึงเป็นที่น่าเสียดายที่รอมฎอนแล้วรอมฎอนเล่าผ่านพ้นเข้าไป เขาก็ยังมีสภาพอยู่เช่นนี้ มิได้สำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัวหันหน้าเข้าขออภัยโทษต่อองค์พระผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงอภัยโทษแก่ปวงบ่าวของพระองค์ที่สำนึกผิด โดยให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่กระทำในสิ่งผิดกับคำสั่งใช้คำสั่งห้ามของพระองค์อีกต่อไป เสียใจในการกระทำความผิดที่แล้ว ๆ มา ตั้งหน้าตั้งตากระทำแต่ความดีตลอดไป นี่คือลักษณะที่ดีของปวงบ่าวอัลลอฮฺที่พระองค์จะทรงยกโทษในความผิดของเขาที่ล่วงเลยมาในอดีต การยืนละหมาดในเวลากลางคืนของเดือนรอมฎอนก็เช่นเดียวกัน ทำไมอัลลอฮฺจึงไม่รับการละหมาดของเขา แน่นอนการละหมาดของเขาย่อมปราศจากวิญญาณ ซึ่งไม่ตรงกับที่อัลลอฮฺได้กล่าวยืนยันเป็นพยานถึงสภาพที่แท้จริงของผู้ที่ยืนละหมาดในเวลากลางคืนไว้ว่า



ความว่า “แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธาต่อสัญญาณทั้งหลายของเราเท่านั้น ที่เมื่อพวกเขาถูกเตือนให้รำลึกถึงสัญญาณเหล่านั้น พวกเขาจะก้มลงสุญดและสดุดีสรรเสริญพระเจ้าของพวกเขาโดยที่พวกเขาไม่หยิ่งผยอง สีข้างของพวกเขาจะเคลื่อนห่างจากที่นอน พลางวิงวอนของต่อพระเจ้าของพวกเขาบริจาคสิ่งที่เราได้ให้เป็นเครื่องยังชีพแก่พวกเขา ดังนั้นจึงไม่มีชีวิตใดรู้สิ่งที่ถูกซ่อนไว้ สำหรับพวกเขาให้เป็นที่รื่นรมย์แก่สายตาเป็นการตอบแทนในสิ่งที่พวกเขาได้กระทำไว้” (32:15-16)

...........................................................................................
คัดลอกจาก : อัล-อิสลาหฺสมาคม

พิมพ์จาก : http://www.muslimthai.com/main/1428/content.php?category=36&id=267
วันที่ : 10 กันยายน 52 14:43:52
มุสลิมไทย http://www.muslimthai.com

รอมฏอนระหว่างข้อบัญญัติและข้อคิด


รอมฏอนกะรีม : รอมฏอนระหว่างข้อบัญญัติและข้อคิด
เดือนรอมฏอนเป็นเดือนที่เก้าของเดือนอาหรับ ซึ่งความเกี่ยวพันกับรากฐานแห่งการศรัทธาการทำความดีและเป็นเดือนที่คัมภีร์อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมา พระองค์อัลลอฮฺทรงได้ตรัสว่า "เดือนรอมฎอน เป็นเดือนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาเพื่อเป็นทางนำแก่มวลมนุษย์ และเป็นหลักฐานที่ประจักษ์แจ้งจากแนวทางที่ถูกต้องและการจำแนก (ระหว่างความจริงกับความเท็จ)"

นอกจากนั้นคัมภีร์อัลกุรอานยังเป็นดวงประทีปที่นำทางมนุษย์ออกจากความมืดสู่ความสว่าง และเป็นคัมภีร์ที่ประมวลไว้ซึ่งสัจธรรม ไม่มีความเท็จเคลือบแฝงอยู่เลย

สิ่งที่พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงใช้ให้ปฏิบัติคู่เคียงกับกับการถือศีลอด คือการปฏิบัติละหมาดกิยามหนือละหมาดตะรอเวียะฮฺ และให้อ่านอัลกุรอาน ทำซิกุรลเลาะฮฺพร้อมกับขอดุอาอฺให้มากในเดือนนี้ท่านนบีมุฮัมมัด กล่าวว่า "ผู้ใดที่ดำรงเดือนรอมฎอนโดยมีความศรัทธา และมีความหวังในการตอบแทน พระองค์อัลลอฮฺจะทรงอภัยโทษในความผิดที่เขาได้ปฏิบัติให้แก่เขา"
ด้วยการทำความดีเช่นนี้ พระองค์อัลลอฮฺจะทรงพิ่มพูนการตอบแทนให้อย่างมากมาย และผลบุญจากการทำความดีจะมีมากมายหลายเท่า ท่านซัลมาน อัลฟารีชีย์ ได้รายงานจากท่านร่อสู้ล ถึงความประเสริฐของเดือนรอมฎอนไว้ว่า "ผู้ไดที่ปฏิบัติความดีหนึ่งเพิ่มเติมจากความดีประการต่างๆ เขาจะได้รับการตอบแทนเหมือนกับผู้ที่ปฏิบัติสิ่งที่เป็นฟัรดูอื่น นอกจากนั้นและผู้ใดที่ปฏิบัติสิ่งที่เป็นฟัรดู เขาจะได้รับการตอบแทน เหมือนกับผู้ที่ปฏิบัติสิ่งที่เป็นฟัรดู 70 ประการอื่นจากนั้น"
ท่านร่อซุ้ลได้กล่าวอีกว่า "ถ้าหากมนุษย์รู้ถึงความดีที่มีอยู่ในเดือนรอมฎอนแล้วประชาชาติของฉันก็จะหวังที่จะให้ปีทั้งหมดเป็นรอมฎอน"
โดยเหตุนี้บรรดามุสลิมในยุคแรกจึงรอคอยเดือนรอมฎอนอย่างใจจดใจจ่อ และให้การต้อนรับเดือนนี้ด้วยความยินดีโดยมีความหวังที่จะทำความดี และได้รับการตอบแทนจากพระองค์
พระองค์อัลลอฮฺทรงบัญญัติการถือศีลอดเพื่อให้มนุษย์ ได้ขอบคุณพระองค์ต่อความเมตรตาอย่างมากมายที่พระองค์ได้ทรงประทานคัมภีร์อัลกุรอานมาในคืนที่ดีกว่า 1,000 เดือน คือ คืนอัลกอดริ์ พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า "โอ้ บรรดาผู้ที่ศรัทธาแล้วทั้งหลาย การถือศีลอดได้ถูกกำหนดแก่สูเจ้าทั้งหลายแล้ว ดังที่ได้ถูกกำหนดแก่ผู้ที่มาก่อนสูเจ้าจะยำเกรง"
พระองค์ได้ทรงแจ้งในอายะฮฺนี้ว่า พระองค์ได้ทรงกำหนดในการถือศีลอดเป็นฟัรดูบังคับแก่บรรดามุสลิมทั้งหลาย ถ้าหากว่าเขาปฏิบัติเขาก็จะได้รับผลบุญและถ้าหากว่าเขาละทิ้งก็จะถูกทำโทษ การถือศีลอดนี้มิใช่เป็นครั้งแรกที่ได้ถูกบัญญัติลงมาแต่ทว่าได้ถูกบัญญติมาแก่ประชาชาติก่อนๆแล้ว ซึ่งพระองค์ได้ทรงแต่งตั่งศาสดามาเผยแพร่และได้ประทานคัมภีร์มาชี้แจงแก่เขาเหล่านั้นด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้บรรดามุสลิมได้ปฏิบัติศาสนกิจที่มีภาระหนักนี้
พระองค์ทรงตรัสว่า "เพื่อสูเจ้าทั้งหลายจะยำเกรง" เป็นการชี้แจงถึงเป้าหมายของการถือศีลอด เพื่อให้บรรดามุสลิมผู้ถือศีลอดสำนึกมั่นต่ออัลลอฮฺโดยการปกิบัติในสิ่งที่พระองค์ทรงใช้ และละเว้นในสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม และพยายามระมัดระวังตัวมิให้ปฏิบัติในสิ่งที่ชั่วช้าและน่ารังเกลียด ไม่ว่าจะเปิดเผยหรือซ่อนเร้น อิสลามได้เรียกร้องให้ถือศีลอดแต่อารมณ์เรียกร้องให้เสพความสุขสำราญ ในสภาพนี้ทำให้บุคคลตกอยู่ในการแก่งแย่งกันระหว่างการปฏิบัติตามศาสนา และการปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ ศาสนาได้เรียกร้องให้มนุษย์ถือศีลอดเพื่อฝึกให้เขาสามารถข่มจิตใจองเขาให้หลุดพ้นจากการทำความชั่ว การถือศีลอดทำให้บุคคลได้ลิ้มรสความลำบากและยับยั้งการทำความชั่วและอารมณ์ใฝ่ต่ำ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ถือศีลอดเอง และก่อให้เกิดความสงบภายในสังคม ส่วยการปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำจะสิ้นสุดลงด้วยการหันเหออกจากหนทางที่เที่ยงตรงและการตกอยู่ในตันหาอารมณ์ ซึ่งก่อให้เกิดผลร้ายต่อตัวผู้ปฏิบัติ และทำให้สังคมตกอยู่นความพินาศ แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺไม่ทรงประสงค์จะให้บุคคลต้องประสพกับภัยร้ายพระองค์จึงได้ทรงกำหนดให้มมุสลิททำการถือศีลอด เพื่อเป็นหนทางที่ยับยั้งการทำความชั่วและระงับการปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ เริ่มจากการอดอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งเป็นการฝึกความอดทนทางด้านร่างกาย อันจะฝึกความเข้มแข็งทางด้านจิตใจ เพื่อต่อสู้กับการล่อลวงของมารร้ายชัยฏอน
บรรดานักปราชญ์ได้ให้คำจำกัดความของการถือศีลอดไว้ว่า หมายถึงการงดเว้นจากการกินการดื่ม และการปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ นับตั่งแต่แสงอรุณขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าและเนื่องจากเป็ษหมายของการถือศีลอดคือ การยับยั้งมิให้ทำความชั่ว ท่านร่อสู้ลจึงกล่าวว่า "การถือศีลอดเป็นโล่ ถ้าหากว่าผู้หนึ่งในพวกท่านถือศีลอดในวันหนึ่งแล้วเขาไม่ทำชั่ว และพูดจาหยาบคายเมื่อมีผู้หนึ่งดาทอต่อเขาหรือระรานเขา เขาจงกล่าวว่า แท้จริงฉันถือศีลอด ขอสาบานด้วยผู้ที่มีชีวิตของมุฮัมมัดอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ กลิ่นปากของผู้ถือศีลอดมีความหอม ณ อัลลอฮฺยิ่งกล่าวกลิ่นชะมดเชียง"
ดังนั้น การถือถือศีลอดที่แท้จริงจะสามารถป้องกันและปรับปรุงตัวของผผู้ที่ถือศีลอดเอง และเป็นการฝึกทางจิต ซึ่งผูกความสัมพันธ์และระหว่างบ่าวกับพระเจ้าของเขา และจะยกระดับจิตใจของบุคคลให้มีความสูงส่ง การถือศีลอดจะฝึกจิตใจให้มีความเข้มแข็ง จะปลูกมโนธรรม อบรมจรรยา มารยาท และกระชับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสังคม ท่านร่อสู้ล ได้บอกถึงเป้าหมายของการถือศีลอดไว้ในหะดีษของท่านว่า "เมื่อถึงเดือนรอมฎอน ประตูสวรรค์จะถูกเปิด ประตูนรกจะถูกปิด ชัยฏอนจะถูกล่ามโซ่ ผู้ประกาศจะร้องเรียกว่า โอ้ ผู้ปรารถนาจะทำความดีจงมาเถิด และผู้ที่ปรารถนาจะทำความชั่วจงหยุดยั้งเถิด"
ในเมื่อได้มีการปิดประตูสวรรค์ ก็จำเป็นที่มุสลิมจะต้องเปิดประตูแห่งการทำความดี และในเมื่อประตูนรกถูกปิดและชัยฏอนถูกล่ามโซ่ ก็จำเป็นที่มุสลิมจะต้องปิดหนทางสำหรับตัวเองที่จะทำความชั่วด้วย
นอกจากนี้แล้ว การถือศีลอดยังมีคุณประโยชน์อีกดังที่ท่านนบีมุฮัมมัด ได้กล่าวไว้ซึ่งรายงานโดย อบูฮุรอยเราะฮฺ ว่า "การงานของลูกหลานอาดัม เป็นของเขาโดยความดีจะได้รรับการตอบแทน 10 เท่า จนถึง 700 เท่า พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า นอกจากการถือศีลอด นั่นเป็นของเขาและข้าจะตอบแทนเจ้าเอง แท้จริงเขาละทิ่งอารมใคร่ของเขา อาหารของเขาและเครื่องดื่มของเขาเพื่อข้า สำหรับผู้ถือศีลอดมีความดีใจ 2 ครั้ง ครั้งหนึ่งขณะที่เขาถือศีลอด และอีกครั้งหนึ่งขณะที่ไปพบพระเจ้าของเขา และกลิ่นปากของผู้ถือศีลอดหอม ณ อัลลอฮฺ ยิ่งกว่าชะมดเชียง"
หะดีษนี้มีประโยชณ์อย่างมหาศาล กล่าวคือ ความดีที่มุสลิมประกอบ จะได้รับการตอบแทนเป็นเท่าทวีคูณ เป็น 10 เท่า จนถึง 700 เท่า นอกจากการถือศีลอด พระองค์อัลลอฮฺทรงตอบแทนด้วยพระองค์เองเป็นหลายเท่าทวีคูณ โดยไม่อาจอาจจะนับคำนวณได้
พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงจำกัดในการตอบแทนการถือศีลอดด้วยพระองค์เอง บรรดานักปราชญ์มีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับการจำกัดการถือศีลอดของพระองค์อัลลอฮฺ แต่สำหรับข้าพเจ้า ขอกล่าวว่า พระองค์ คือ ผู้ทรงรู้ยิ่งถึงเคล็ดลับเกี่ยวกับการนี้ เป็นการเพียงพอสำหรับเราที่จะกล่าวว่า การถือศีลอดคือการฝึกหัดทางการปฏิบัติเพื่ออบรมทางร่างกาย และจิตใจ เพื่อให้บุคคลมีการศรัทธาอย่างแน่นแฟ้น และพร้อมที่จะปฏิบัติความดี จนกลายเป็นนิสัย เพื่อเป็นการภัคดีต่ออัลลอฮฺ และในสังคมกับมนุษย์บุคคลจะไม่ประสพความสำเร็จในการถือศีลอดอย่างแท้จริง นอกจากจะต้องทำการต่อสู้อย่างจริงจังกับจิตใจ ซึ่งถูกชักจูง จากอารมตลอดเวลา แต่ในที่สุดเราก็ประสบชัยชนะสามารถสลัดอารมออกไปได้พร้อมกับยกระดับตัวเองขึ้นมาในฐานะมนุษย์ที่พระองค์อัลลอฮฺทรงเทิดเกียรติ การถือศีลอดเป็นการฝึกให้บุคคลยับยั้งการทำชั่วและดำรงอยู่กับการปฏิบัติความดี เพราะการถือศีลอดไม่เพียงแต่เป็นการอดอาหาร เครื่องดื่ม และอารมใฝ่ต่ำเท่านั้น แต่ทว่าการถือศีลอดจะต้องยับยั้งการกระทำในสิ่งชั่วช้าและน่าเกลียดด้วยท่านร่อสู้ล กล่าวว่า "ผู้ใดไม่สามารถละทิ่งคำพูดที่เหลวไหล และการกระทำตามคำพูดดังกล่าว สำหรับพระองค์อัลลอฮฺก็ไม่ทรงมีความต้องการแต่อย่างใด ในการที่เขาละทิ้งอาหารและเครื่องดื่มของเขา" "มีผู้ถือศีลอดจำนวนมากที่เขาไม่ได้รับสิ่งใดจากการถือศีลอดของเขานอกจากความหิวและความกระหาย"
บัญญัติศาสนาได้กำหนดการลงโทษสถานหนักต่อผู้ที่ละทิ้งการถือศีลอด โดยไม่มีเหตุผลจำป็นใดๆ และรับประทานอาหารในตอนกลางวันระหว่างเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นการละเมิดต่อขอบเขตที่พระองค์อัลลอฮฺทรงกำหนดไว้ในเดือนที่ยิ่งใหญ่นี้ ท่านร่อสู้ล ได้กล่าวกำชับไว้ว่า "ผู้ใดที่ละเว้นการถือศีลอดในวันหนึ่งของเดือนรอมฎอน โดยไม่ได้รับการผ่อนผันหรือเจ็บป่วย การถือศีลอดตลอดชีวิตก็ไม่อาจชดใช้ได้หมด ถึงแม้ว่าเขาถือศีลอดก็ตาม" "รากฐานของอิสลาม และหลักของศาสนา มีอยู่ 3 ประการ บนสิ่งนี้ อิสลามได้ตั่งขึ้น ผู้ใดที่ละทิ้งสิ่งทั้งสามนี้เขาก็ปฏิเสธต่อสิ่งดังกล่าว ชีวิตของเขาเป็นที่อนุมัติ นั่นคือ การกล่าวปฏิญาณว่า ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ การดำรงละหมาดที่ถูกกำหนด และการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน"
พร้อมกับการกำชับอย่างเด็ดขาดเช่นนี้ สิ่งที่ก่อให้เกิดความปวดร้าวภายในหัวใจก็คือ เราได้พบมุสลิมจำนวนมากที่ละเมิดบทบัญญัติของพระองค์อัลลอฮฺโดยเจตนาในเดือนนี้ เขากินและดื่มในตอนกลางวันของเดือนรอมฎอน โดยปราศจากความละอาย จึงเป็นเหตุให้ศาสนิกอื่นนำมาวิพากษ์วิจารย์ในทางเสียๆหายๆ เราจึงหวังว่ามุสลิมจะกลับเนื้อกลับตัวและหันกลับมายึดมั่นในศาสนาของอัลลอฮฺ เพื่อได้ดำรงอยู่ในหนทางที่เที่ยงตรง อินชาอัลลอฮฺ

พิมพ์จาก : http://www.muslimthai.com/main/1428/content.php?category=36&id=235
วันที่ : 10 กันยายน 52 14:35:14
มุสลิมไทย http://www.muslimthai.com

รอมะฎอนและการถือศีลอด ดีมากอยากให้อ่าน



รอมฏอนกะรีม : รอมะฎอนและการถือศีลอด ดีมากอยากให้อ่าน
มุสลิมไทยดอทคอม รอมะฎอนและการถือศีลอด
www.muslimthai.com

รอมะฎอนและการถือศีลอด
(สรุปเนื้อหาจาก islam-qa.com )

หัฟเศาะฮฺ อัล-มุสลิมาต ผู้แปล

(คำถามหมายเลข 26862) ทำไมต้องถือศีลอด ?

-เราต้องระลึกว่า อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงสร้างทุกสิ่งทุกอย่างในสากลจักรวาล รวมถึงมนุษย์ด้วย และพระองค์ได้ให้อิสลามเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ผู้สร้างย่อมรู้ดีที่สุดว่าอะไรเหมาะสมที่สุดแก่สิ่งถูกสร้าง แนวทางของพระองค์และกฎเกณฑ์ของพระองค์ย่อมดีที่สุด สมบูรณ์ที่สุด


- สิ่งที่อัลลอฮฺกำหนดล้วนแฝงไว้ด้วยความมุ่งหมายและเหตุผลอันยิ่งใหญ่ เราอาจจะเข้าใจหรืออาจจะไม่เข้าใจก็ได้ เพราะเราก็เป็นสิ่งที่พระองค์สร้างเช่นกัน

- ความมุ่งหมายและเหตุผลของการถือศีลอด ตามที่พระองค์บอกไว้ก็คือ เพื่อผู้ศรัทธาจะได้ตักฺวา เป็น มุตตะกูน ตามอายะฮฺ 183 ของสูเราะฮฺอัล-บะเก็าะเราะฮฺ

- จากการที่เราอดอาหาร น้ำ และอดกลั้นอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ทำให้เรารู้สึกจำเป็นต้องขอบคุณอัลลอฮฺอย่างยิ่ง ที่ได้ให้อาหารเรากิน ให้น้ำเราดื่ม ให้ภริยาเราได้มีความสุขจากนาง

- เป็นการฝึกตัวเองที่จะละทิ้งสิ่งที่อัลลอฮฺทรงห้ามด้วยความเต็มใจ เพราะกลัวการลงโทษอันเจ็บปวดยิ่งจากพระองค์

- ฝึกควบคุมอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง ในขณะเดียวกันก็ฝึกให้มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น สงสารคนยากจนมากขึ้น ฝึกฝนการมีมารยาทที่ดีมากขึ้น

-เป็นการลดอำนาจ ความสามารถ หรืออิทธิพลของชัยฏอนให้น้อยลง เนื่องจากชัยฏอนนั้นวนเวียนอยู่ในหมู่มนุษย์เหมือนกระแสเลือดในร่างกาย การถือศีลอดเหมือนกับเป็นการทำให้เส้นทางไหลเวียนของชัยฏอนนั้นคับแคบลง เพราะฉะนั้น จิตใจจะถูกกระตุ้นให้กระทำในสิ่งที่ดี และละเว้นการทำชั่ว

- เป็นฝึกให้ระลึกเสมอว่าอัลลอฮฺกำลังมองดูเราอยู่

- เป็นฝึกให้รู้จักและคุ้นเคยกับการใช้ชีวิตให้เข้าใกล้อัลลอฮฺมากขึ้นตลอดเวลา

(คำถามหมายเลข 3455) ให้ทำทุกวิถีทางที่จะทำให้เข้าใกล้อัลลอฮฺมากที่สุด ท่านรสูลุ้ลลอฮฺ ศ็อลลั้ลลอฮุ อฺะลัยฮิ วะสัลลัม จะทำอิบาดะฮฺทุกอย่างในร่อมะฎอนมากเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านอัล-กุรอาน ทำศ่อดะเก็าะฮฺ การทำดีต่อผู้อื่น การขอดุอฺาอ์ การซิกรุ้ลลอฮฺ การอิอฺติกาฟ การละหมาดสุนัตต่างๆ และอื่นๆอีกหลายอย่าง

(คำถามหมายเลข 12468) เป็นโอกาสอันยิ่งใหญ่สำหรับความดีงาม ความจำเริญ การอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ รางวัลสำหรับการทำความดีทั้งหลายจะเป็นทวีคูณ ความชั่วจะทำยาก ประตูทั้งหลายของสวรรค์จะถูกเปิด-ประตูนรกจะถูกปิด ชัยฏอนจะถูกล่ามโซ่ การสำนึกผิดของคนชั่วอัลลอฮฺจะตอบรับ ทำอิบาดะฮฺและความดีต่างๆให้มากๆ ละทิ้งสิ่งหะรอมและสิ่งที่เป็นบิดอฺะฮฺ

เร่งทำความดีให้มากๆก่อนที่ร่อมะฎอนจะผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็ว ยืนหยัดและอดทนในการยึดมั่นอิสลาม ควบคุมอารมณ์ใฝ่ต่ำของตัวเอง ควบคุมหู ตา ลิ้น เท้า มือ และส่วนอื่นๆกระทั่งจิตใจไม่ให้ทำในสิ่งอัลลอฮฺไม่พอใจ แสวงหาคืนหนึ่งที่ดีกว่าหนึ่งพันเดือนในสิบคืนสุดท้าย



(คำถามหมายเลข 12598) เลี้ยงอาหารคนที่ถือศีลอด ได้ผลบุญเท่ากับคนที่ถือศีลอดด้วย (ได้ผลบุญสองเท่า คือส่วนหนึ่งของตัวเองที่ถือศีลอด และอีกส่วนหนึ่งที่เลี้ยงอาหารละศีลอดแก่ผู้อื่น)

(คำถามหมายเลข 12653) ชัยฏอนส่วนใหญ่ถูกล่ามโซ่ แต่ไม่ทุกตัว มิได้หมายความว่าชัยฎอนไม่มีอิทธิพลในการล่อลวงมนุษย์เลย เพียงแต่มีอิทธิพลน้อยลงหรืออ่อนแอลงในเดือนร่อมะฎอน

(คำถามหมายเลข 13934) เมื่อถึงวันกิยามะฮฺ ในสวรรค์จะมี 8 ประตู และมีประตูหนึ่งที่มีชื่อว่า “อัรฺ-ร็อยยาน” จะเปิดให้ผู้ถืออดเท่านั้นเข้าผ่านเข้าไป เมื่อบรรดาผู้ถือศีลอดเข้าไปจนหมดแล้ว ประตู“อัรฺ-ร็อยยาน” ก็จะปิดล็อคเลย

ผู้ที่ถือศีลอดในเดือนร่อมะฎอน ด้วยจิตใจที่มีความศรัทธามั่นและหวังในรางวัลตอบแทนจากอัลลอฮฺ ความผิดต่างๆที่เขากระทำไปแล้วก่อนหน้านี้ จะได้รับการอภัยโทษ

การงานทุกอย่างของลูกหลานท่านนบีอฺาดัม อฺะลัยฮิสสะลาม เป็นของพวกเขา นอกจากการถือศีลอดเท่านั้นที่เป็นของอัลลอฮฺ

การถือศีลอดเป็นโล่ห์ป้องกันจากอารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง ความใคร่ หรือความอยากต่างๆ เมื่อมีใครมาหาเรื่องทำให้โกรธ ให้บอกผู้นั้นไปว่า“ฉันถือศีลอด” กลิ่นปากของผู้ถือศีลอดสำหรับอัลลอฮฺแล้วหอมยิ่งกว่ากลิ่นของชมดเชียง

ผู้ถือศีลอดจะมีช่วงเวลาที่ดีใจและเป็นสุขอย่างมาก คือ เวลาที่เขาละศีลอดกับเวลาที่เขาได้พบพระผู้อภิบาลของเขา

มะลาอิกะฮฺจะตามไปส่งบรรดาผู้ที่มีตักฺวาเข้าประตูสวรรค์ทุกประตู และเหล่ามะลาอิกะฮฺที่เฝ้าบรรดาประตูสวรรค์จะกล่าวสะลามแก่เขา จะเชื้อเชิญตอบรับเขาอย่างชื่นชมยินดี

(คำถามหมายเลข 14103) ดุอฺาอ์ละศีลอด ควรกล่าวตอนเข้าเวลามัฆริบแล้วก่อนละศีลอด เนื่องจากตอนนั้นยังอยู่ในสภาพของผู้ถือศีลอดอยู่ ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาที่ดุอฺาอ์ถูกตอบรับ แต่มีหะดีษหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าดุอฺาอ์ละศีลอด อาจกล่าวหลังจากที่ละศีลอดแล้วคือดุอฺาอ์ที่ว่า“ความหิวกระหายได้ผ่านพ้นไปแล้ว เส้นโลหิตก็เปียกชุ่ม และรางวัลตอบแทนก็ได้รับการยืนยันอย่างแน่นอนแล้ว ถ้าอัลลอฮฺทรงประสงค์”

(คำถามหมายเลข 26811) คนหนุ่มที่สามารถแต่งงานได้ก็ให้แต่งงานเลย เพราะจะช่วยลดสายตาจากการมองมากขึ้น และเป็นการปกป้องความเป็นหนุ่มเป็นสาวให้บริสุทธิ์ห่างไกลจากสิ่งหะรอม แต่ถ้ายังไม่สามารถแต่งงานได้ก็ให้ถือศีลอด เพราะมันจะเป็นโล่ห์ป้องกันเขา

(คำถามหมายเลข 26869)ควรทำอย่างไรบ้างในร่อมะฎอน ?

-เริ่มวันใหม่กับอาหารสะหูรฺก่อนเวลาฟัจญรฺ ที่ดีคือก่อนเข้าเวลาละหมาดศุบหฺ

-เตรียมตัวให้พร้อมละหมาด ก่อนอะซานบอกเวลาศุบหฺ และไปให้ถึงมัสญิดก่อนอะซาน

-เมื่อเข้ามัสญิดแล้วละหมาดตะฮียะตุ้ลมัสญิดสองร็อกอฺะฮฺ แล้วนั่งขอดุอฺาอ์ หรืออ่านอัล-กุรอาน หรือซิกรุ้ลลอฮฺ เมื่อมุอัซซินอะซานเรียกร้องสู่การละหมาด ให้กล่าวรับอะซานทุกๆประโยค เมื่อจบอะซานให้กล่าวดุอฺาอ์หลังอะซานจบ แล้วละหมาดสุนนะฮฺระหว่างสองอะซาน(ระหว่างอะซานกับอิกฺอมะฮฺ) แล้วละหมาดสุนนะฮฺก่อนศุบหฺสองร็อกอฺะฮฺ เสร็จแล้วก็นั่งขอดุอฺาอ์และอ่านอัล-กุรอานไปเรื่อยๆจนกระทั่งอิกฺอมะฮฺ

-ละหมาดศุบหฺร่วมกัน หลังจากนั้นถ้าให้ดีก็นั่งซิกรุ้ลลอฮฺหรืออ่านอัล-กุรอานในมัสญิด รอจนเข้าเวลาฎุหา แล้วก็ละหมาดฎุหา เสร็จแล้วจะนอนพักเอาแรงสักครู่ก็ได้ เพื่อร่างกายจะได้กระปรี้กระเปร่าสดชื่นก่อนออกไปทำงาน และการนอนนั้นควรปฏิบัติตามสุนนะฮฺทั้งคำกล่าวและการปฏิบัติ

หลังจากนั้นก็ออกไปทำงาน ครั้นเมื่อถึงเวลาซุฮฺริก็ให้ไปมัสญิดแต่เนิ่นๆ พยายามไปให้ทันก่อนอะซาน หลังจากเตรียมตัวให้พร้อมละหมาดรวมถึงละหมาดสุนัตต่างๆแล้ว ก็ละหมาดสุนัต 4 ร็อกอฺะฮฺ 2 สะลาม(สุนนะฮฺก่อนฟัรฎูซุฮฺรฺ) หลังจากนั้นก็อ่านอัล-กุรอานไปเรื่อยๆจนกระทั่งอิกฺอมะฮฺ เมื่อร่วมกันละหมาดญะมาอฺะฮฺซุฮฺริเสร็จ ซิกรุ้ลลอฮฺเสร็จแล้ว ก็ละหมาดสุนนะฮฺ 2 ร็อกอฺะฮฺหลังซุฮฺริ

หลังจากนั้นก็ไปทำงานต่อจนเลิกงาน ออกจากที่ทำงานถ้าไม่ไปทำธุระที่ไหนก็ตรงไปมัสญิดเพื่อละหมาดอัศรฺ หลังจากนั้นอาจจะนั่งอ่านอัล-กุรอานต่อ หรือถ้ารู้สึกเพลียกพักสักงีบเพื่อร่างกายจะได้พร้อมที่จะไปละหมาดตะรอวีหฺในยามค่ำคืน

ก่อนอะซานมัฆริบ ควรเตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนละศีลอด และถ้าเป็นไปได้ควรใช้เวลาช่วงนี้ให้เป็นประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านอัล-กุรอาน ขอดุอฺาอ์ ซิกรุ้ลลอฮฺ หรือการสนทนาที่เป็นประโยชน์กับภริยาและลูกๆ และที่ดียิ่งอีกอย่างหนึ่งในช่วงเวลาก่อนละศีลอดนี้ก็คือ การมีส่วนร่วมในการเลี้ยงอาหารละศีลอดทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะนำอาหารไปเลี้ยงเอง นำเงินไปบริจาคสมทบทุนร่วมเลี้ยงละศีลอดแก่องค์กรมุสลิมทั้งหลาย

หลังจากละศีลอดเพียงเล็กน้อย(ด้วยอินทผลัม น้ำ ผลไม้ หรือนม) แล้วก็ไปร่วมกันละหมาดมัฆริบที่มัสญิด เมื่อละหมาดทั้งฟัรฎูและสุนัตเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็กลับบ้านไปกินอาหารแต่อย่ากินให้มากนัก

หลังจากนั้นลองหาหนทางเหมาะๆที่จะใช้เวลาร่วมกับสมาชิกทุกคนในครอบครัว อ่านหนังสือเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ หรือหนังสือเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติในด้านต่างๆ หรือพูดคุยกันในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อทุกคน

คุยกันในเรื่องที่จะทำให้ห่างไกลจากสิ่งที่หะรอมที่มีในสื่อต่างๆทุกชนิด คุยกันในเรื่องที่จะทำให้เกรงกลัวอัลลอฮฺมากขึ้น อีมานต่อพระองค์มากขึ้น ยึดมั่นในอิสลามมากขึ้น เสียสละและใช้ชีวิตในหนทางของอัลลอฮฺมากขึ้น เตรียมตัวให้พร้อมที่จะไปตอบคำถามต่ออัลลอฮฺในวันกิยามะฮฺ

เตรียมตัวให้พร้อมต่อการละหมาดอิชาอ์ ไปมัสญิดก่อนเวลาอะซาน ทำอิบาดะฮฺต่างๆที่สมควรต้องทำให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ละหมาดอิชาอ์และละหมาดตะรอวีหฺด้วยความตั้งใจจนแล้วเสร็จ หลังจากนั้นควรทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นความดีงามทั้งต่อตนเองและครอบครัว แต่ต้องไม่ลืมว่า ออกห่างจากสิ่งหะรอม ทำตัวเองและคนในครอบครัวให้เข้าใกล้อัลลอฮฺทุกวิถีทาง

ไม่ควรนอนดึก ถ้าได้อ่านอัล-กุรอานหรือหนังสือที่เป็นประโยชน์ก่อนนอนก็จะดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าในวันนั้นเรายังอ่านอัล-กุรอานไม่จบยุซอ์ก็อย่างเพิ่งนอน

สำหรับวันศุกร์ซึ่งเป็นวันที่ดีที่สุดของสัปดาห์ ควรมีโปรแกรมพิเศษสำหรับวันนี้ เช่น

ไปมัสญิดแต่เนิ่นๆ อยู่ในมัสญิดหลังละหมาดอัศรฺแล้วเพื่ออ่านอัล-กุรอาน ขอดุอฺาอ์ ซิกรุ้ลลอฮฺ จนถึงชั่วโมงสุดท้ายของวันศุกร์ เพราะเป็นเวลาที่ดุอฺาอ์ถูกตอบรับ

สิบวันสุดท้ายของร่อมะฎอน มีอยู่คืนหนึ่งที่ดีกว่าหนึ่งพันเดือน คือ ลัยละตุ้ลก็อดรฺ และมีสุนนะฮฺให้อิอฺติกาฟที่มัสญิดในสิบวันสุดท้ายนี้ ใครที่ไม่สามารถอยู่อิอฺติกาฟ ที่มัสญิดได้ติดต่อกันทั้งสิบวัน ก็ให้ทำเท่าที่ทำได้

นี่เป็นเพียงคำแนะนำเล็กๆน้อยๆ ท่านทั้งหลายอาจจะทำในสิ่งที่ควรจะทำมากกว่านี้ เพื่อให้ตัวท่านและครอบครัวของพวกท่านเข้าใกล้อัลลอฮฺมากยิ่งๆขึ้น

(คำถามหมายเลข 37720) การบริจาคในเดือนร่อมะฎอนนั้นดีกว่าการบริจาคในเดือนอื่น แต่ยังไม่เคยพบในสุนนะฮฺที่ระบุว่าการบริจาคในสิบวันสุดท้ายดีกว่าวันอื่นๆ ทว่าการทำความดีจะดียิ่งขึ้นเมื่อทำในช่วงเวลาอันมีคุณค่า ไม่ต้องสงสัยเลยว่าสิบคืนสุดท้ายของร่อมะฎอนดีกว่าคืนอื่นๆ เนื่องจากหนึ่งในสิบคืนนั้นมี ลัยละตุ้ลก็อดรฺ ซึ่งมีค่ายิ่งกว่าหนึ่งพันเดือน

โดยปกติท่านรสูลุ้ลลอฮฺ ศ็อลลั้ลลอฮุ อฺะลัยฮิ วะสัลลัม เป็นคนใจบุญศุลทานที่สุดอยู่แล้ว และท่านใจบุญศุลทานที่สุดในช่วงร่อมะฎอน

(คำถามหมายเลข 37745) ส่งเสริมให้ใช้สิวาก ถูกฟันตลอดเวลา ทั้งขณะถือศีลอดและไม่ถือศีลอด ตั้งแต่ตื่นนอนยันเข้านอน และอนุญาตให้กลืนน้ำลายได้หลังจากที่ใช้ สิวาก ถูกฟันแล้ว แต่ต้องไม่มีอะไรหลุดออกมาจาก สิวาก นั้น ถ้ามีก็ให้แยกสิ่งนั้นทิ้งไป

(คำถามหมายเลข 38042) แนวทางของท่านรสูลุ้ลลอฮฺ ศ็อลลั้ลลอฮุ อฺะลัยฮิ วะสัลลัม ในการละศีลอด คือ ท่านละศีลอดด้วยอินทผลัมสด ถ้าไม่มีก็ใช้อินทผลัมแห้ง ถ้าหาอิทผลัมไม่ได้ท่านก็ละศีลอดด้วยน้ำ แล้วท่านก็ไปละหมาดฟัรฎูมัฆริบที่มัสญิด หลังจากนั้นก็กลับไปละหมาดสุนัตที่บ้าน ไม่ทราบว่าท่านทานอาหารช่วงระหว่างหลังจากละหมาดฟัรฎูมัฆริบกับละหมาดสุนัตหรือไม่

(คำถามหมายเลข 38068) อาหารสะหูรฺสิ้นสุดที่เสียงอะซานศุบหฺ ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของอาหารสะฮูรฺคือ เริ่มทานอาหารสะหูรฺจนถึงอะซานศุบหฺ ประมาณอ่านอัล-กุรอานห้าสิบอายะฮฺ โปรดดู อัล-บุคอรียฺ 1921, สูเราะฮฺ อัล-บะเก็าะเราะฮฺ : 187, อัล-บุคอรียฺ 1919, มุสลิม 1092,

(สมมุติว่า อะซานศุบหฺเวลา ประมาณ 05.00 น. อ่านอัล-กุรอาน 50 อายะฮฺใช้เวลาประมาณ 25 นาที เพราะฉะนั้นเวลาที่ดีที่สุดของอาหารสะหูรฺ คือประมาณ 04.35 – 05.00 น. นี่เป็นเพียงเวลาที่สมมุติขึ้นเป็นตัวอย่างเท่านั้น - ผู้แปล )

(คำถามหมายเลข 38221) ส่งเสริมให้ทำอุมเราะฮฺในเดือนร่อมะฎอน เพราะเทียบเท่ากับทำหัจญ์ โปรดดู อัล-บุคอรียฺ 1782 และมุสลิม 1256

(คำถามหมายเลข 50019) ให้รีบละศีลอด อย่าล่าช้า


(คำถามหมายเลข 50047) การเลี้ยงอาหารผู้ถือศีลอด ไม่จำเป็นว่าจะต้องเลี้ยงผู้ถือศีลอดที่ยากจน จะเป็นคนรวยก็ได้ จะเป็นมหาเศรษฐี พระราชา หรือยาจกก็ได้ ขอเพียงคนเหล่านั้นถือศีลอด

(คำถามหมายเลข 50112) อย่าเสียเวลากับเรื่องไร้สาระ อย่าปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยไร้ประโยชน์ ทุกเวลานาทีให้หมดไปกับการรำลึกถึงอัลลอฮฺ และอิบาดะฮฺต่อพระองค์ทุกรูปแบบให้มากๆ


กุรอาน

(คำถามหมายเลข 65754) ไม่บังคับว่าจะต้องอ่านอัล-กุรอานให้จบ 30 ญุซอ์ ในเดือนร่อมะฎอน แต่ถ้าทำได้ก็ดี เป็นเพียงแค่ส่งเสริมให้กระทำเท่านั้น

บรรดาสะละฟุศศอลิหฺมักจะขมักเขม้นอ่านอัล-กุรอานให้จบในเดือนร่อมะฎอน และไม่ใช่เพียงแค่จบเดียวเท่านั้น ตัวอย่าง เช่น
อัล-อัสวัด เคยอ่านอัล-กุรอานในเดือนร่อมะฎอนจบทุกๆสองคืน

ท่านเก็าะตาดะฮฺ โดยปกติแล้วอ่านอัล-กุรอานจบภายในเจ็ดวัน แต่เมื่อถึงเดือนร่อมะฎอนท่านอ่านจบภายในสามวัน และเมื่อถึงสิบคืนสุดท้ายท่านอ่านจบ 30 ญุซอ์ทุกคืน

ท่านมุญาฮิด อ่านอัล-กุรอานจบ 30 ญุซอ์ทุกคืนในเดือนร่อมะฎอน
ท่านอฺะลียฺ อัล-อัซฺดียฺ อ่านอัล-กุรอานจบ 30 ญุซอ์ทุกคืนในเดือนร่อมะฎอน
ท่านอิมามชาฟิอียฺ เคยอ่านอัล-กุรอานจบ 30 ญุซอ์ในเดือนร่อมะฎอนถึงหกสิบเที่ยว

บิดาของท่าน อัล-กฺอสิม อิบนิ อัล-หาฟิซ อิบนิ อฺะสากิรฺ ละหมาดญะมาอฺะฮฺและอ่านอัล-กุรอานที่มัสญิดเป็นประจำ และอ่านอัล-กุรอานจบ 30 ญุซอ์ ทุกๆสัปดาห์ และจบทุกวันในเดือนร่อมะฎอน เป็นต้น

(คำถามหมายเลข 65955) ไม่มีดุอฺาอ์ตอนอาหารสะหูรฺ แต่ส่งเสริมให้ทานอาหารสะหูรฺในช่วงท้ายของคืน (โปรดดูในคำถามหมายเลข 38068) สมควรขอดุอฺาอ์ในช่วงเวลานี้ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดุอฺาอ์ถูกตอบรับ ไม่ใช่ดุอฺาอ์เนื่องจากอาหารสะหูรฺ ท่านรสูลุ้ลลอฮฺ ศ็อลลั้ลลอฮุ อฺะลัยฮิ วะสั้ลลัม บอกว่าอัลลอฮฺจะลงมายังชั้นฟ้าชั้นต่ำสุดทุกคืนในช่วงท้ายของส่วนที่สามของกลางคืน แล้วอัลลอฮฺจะกล่าวว่า “ผู้ใดเรียกข้า ข้าจะขานรับเขา ผู้ใดขอสิ่งใดจากข้า ข้าจะให้สิ่งนั้นแก่เขา ผู้ใดขออภัยโทษจากข้า ข้าจะให้อภัยโทษแก่เขา” อัล-บุคอรียฺ 1094, มุสลิม 758

(คำถามหมายเลข 78591) บุคคลที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ ไม่ถูกบังคับให้ถือศีลอด แต่ถ้าเต็มใจถือศีลอดเองก็จะได้รางวัลตอบแทนจากอัลลอฮฺ ถ้าไม่ถือก็ไม่เป็นบาป และไม่ต้องถือศีลอดชดใช้ที่ขาดไปเมื่อร่อมะฎอนของปีที่ผ่านมา

(คำถามหมายเลข 101582) เมื่ออะซานมัฆริบซึ่งเป็นเวลาเริ่มละศีลอด จะรับอะซานทีละประโยค หรือจะรีบละศีลอด ทำได้ทั้งสองอย่าง

การรับอะซานเป็นเพียงมุสตะหาบ(ส่งเสริมให้กระทำ) ไม่ใช่วาญิบ

ไม่เป็นที่ขัดแย้งกันเลยที่จะรีบละศีลอด และรับอะซานจากมุอัซซินทีละประโยค ผู้ที่ถือศีลอดสามารถรีบละศีลอดได้ ในขณะเดียวกันก็สามารถกล่าวรับอะซานตามมุอัซซิน

(คำถามหมายเลข 106528) หะดีษที่บันทึกโดยอัล-บัยฮะกียฺ ในหนังสือ“ชุอับ อัล-อีมาน” รายงานโดยอับดุลลอฮฺ อิบนิ อบียฺ เอาฟา รฎิยั้ลลอฮุ อันฮุ ว่า ท่านรสูลุ้ลลอฮฺ ศ็อลลั้ลลอฮุ อฺะลัยฮิ วะสั้ลลัม “การนอนของผู้ถือศีลอดเป็นอิบาดะฮฺ การเงียบของเขาเป็นตัสบีหฺ ดุอฺาอ์ของเขาจะถูกตอบรับ และการงานที่ดีทั้งหลายของเขาจะได้รับรางวัลตอบแทนเป็นทวีคูณ” เป็นหะดีษฎ่ออีฟ

(คำถามหมายเลข 66605) มุอัซซินควรรีบละศีลอดก่อนหรืออะซานก่อน ?

ถ้าหากมีคนจำนวนมากรอมุอัซซินอะซานเพื่อพวกเขาจะได้รีบละศีลอด มุอัซซินควรต้องรีบอะซานก่อน แต่ถ้าหากมุอัซซินรีบละศีลอดด้วยอาหารที่ง่ายๆ เช่น น้ำหรือนม โดยที่คนอื่นรอเพียงชั่วไม่กี่วินาที ก็ไม่ผิดแต่อย่างใด

และถ้าเขาอยู่คนเดียวไม่ต้องรอใคร หรืออยู่กับหมู่คณะเล็กๆ เช่น อยู่ระหว่างการเดินทาง จะละศีลอดก่อนพร้อมๆกันแล้วอะซานทีหลังก็ได้

(รายละเอียดและตัวบทหลักฐาน ขอให้ท่านผู้อ่านโปรดดูใน www.islam-qa.com ตามหมายเลขคำถามแต่ละข้อ)
……………………………….



พิมพ์จาก : http://www.muslimthai.com/main/1428/content.php?category=36&id=4191
วันที่ : 10 กันยายน 52 14:20:56
มุสลิมไทย http://www.muslimthai.com

รอมฏอนเดือนแห่งการต่อสู้

รอมฏอนกะรีม : รอมฏอนเดือนแห่งการต่อสู้ การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน เดือนอันมีเกียรตินี้ เป็นการแสดงออกของบ่าวถึง การเชื่อฟังและน้อมรับในคำสั่งใช้ แห่งพระผู้สร้างอย่างแท้จริง การถือศีลอดถือเป็นอิบาดะฮฺที่จะต้องใช้ความอดทนอย่างมาก เพราะอัลลอฮฺ มิได้ใช้เราให้ยับยั้ง แค่เพียงอาหารและเครื่องดื่มเท่านั้น
แต่พระองค์ใช้ให้เรายับยั้งจากสิ่งที่ไม่ดีทั้งปวง อันพึงจะเกิดจากอวัยวะของเรา สายตาที่ต้องลดต่ำลง หูที่ต้องยับยั้งจากการฟังในสิ่งที่ต้องห้าม ปากที่จะต้องยับยั้งจากเครื่องดื่มและอาหาร รวมทั้งจะต้องยับยั้งจาก คำนินทา หรือวาจาที่ไม่ไพเราะ ตลอดจนอวัยวะอื่นๆ ทั้งหมด ที่ต้องระงับจากสิ่งที่อัลลอฮฺ ทรงห้าม อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้ทรงมีบัญชาใช้ให้บ่าวของพระองค์ ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน โดยพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นเอกภาพ แห่งประชาชาติอิสลาม

พระองค์ได้ทรงตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า "โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย การถือศีลอดได้ถูกกำหนดบนพวกท่านทั้งหลาย เช่นที่ถูกกำหนดมาบนผู้ที่มาก่อนเจ้า (ชนยุคก่อน) หวังว่าพวกท่านทั้งหลายจะยำเกรง"

จากอายะฮฺอัลกุรอานข้างต้นจะเห็นได้ว่าอัลลอฮฺ ทรงกำหนดการถือศีลอดแก่ประชาชาติอิสลามทั้งหมด.คำว่ากำหนดนี้หมายถึงวายิบที่เราจะต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อแสดงถึงการเป็นบ่าวที่ดี ที่เชื่อฟังในคำสั่งใช้ของพระผู้เป็นเจ้า

เราจะเห็นว่า อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้ทรงให้เกียรติกับเดือนรอมฎอน ด้วยการประทานอัลกุรอานลงมาในเดือนนี้ อัลกุรอานนั้นถือว่าเป็นธรรมนูญที่ประชาชาติอิสลามต้องยึดถือปฏิบัติ และนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ท่านร่อซู้ล มีพระวจนะว่า "ฉันได้ทิ้งสิ่งหนึ่งไว้ให้กับพวกท่าน ถ้าหากพวกท่านได้ยึดเอาสิ่งนั้นแน่แท้พวกท่านจะไม่ตกอยู่ในความหลงผิดตลอดไปนั้นก็คือ อัลกุรอาน และอัลหะดีษ"

ท่านพี่น้องที่รักทั้งหลาย จากหะดีษดังกล่าวจะเห็นว่า ท่านนบีได้ยืนยันกับเราว่า เรานั้นจะอยู่ในแนวทางอันเที่ยงตรง อยู่ในหนทางของท่านร่อซู้ล หากเราถือปฏิบัติ ตามอัลกุรอาน และหะดีษ นี่คือความสำคัญของอัลกุรอานที่ท่านนบีมุฮัมมัด ได้กล่าวรับรองเอาไว้

ท่านพี่น้องผู้มีศรัทธาทั้งหลาย เราจะเห็นว่าเดือนรอมฎอน นั้นเป็นเดือนที่มีความศิริมงคล ชัยตอนจะถูกล่ามไว้ เป็นเดือนที่พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้ทรงให้ความเมตตาต่อบ่าวของพระองค์อย่างแท้จริง พระองค์ได้ให้ความสำคัญด้วยการประทานอัลกุรอานลงมาในเดือนนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ของประชาชาติมุสลิมทั้งปวง. อีกทั้งเดือนรอมฎอนนี้ พระองค์อัลลอฮฺ ยังประทานคืนอันประเสริฐ โดยที่ไม่ได้ประทานแก่ประชาชาติยุคก่อนๆนั้นก็คือ คืนลัยลาตุ้ลก๊อดริ์

ท่านพี่น้องผู้มีศรัทธาทั้งหลาย ในเดือนนี้พระองค์อัลลอฮฺ ยังทรงทำให้ท่านร่อซูลได้รับชัยชนะต่อศัตรูในการทำสงครามบดัรที่ยิ่งใหญ่ซึ่งเป็นสงครามที่มุสลิมมีจำนวนน้อยกว่าพวกศัตรู อีกทั้งเดือนนี้เป็นเดือนที่มีการพิชิตเมืองมักกะฮซึ่งตรงกับวันศุกร์ที่ 20 รอมฎอน ฮิจเราะฮศักราชที่ 8 โดยที่บรรดาเหล่าทหารมุสลิมผู้ศรัทธา ซึ่งกำลังถือศีลอดได้เคลือบตัวเขาไปยังที่มั่นของบรรดาผู้ตั้งภาคี พวกเขาได้บุกเข้าไปโดยมีพลังแห่งวิญญาณ มีการศรัทธาที่เข้มแข็ง มีความเชื่อมั่นอย่างแน่นแฟ้น

ท่านพี่น้องผู้มีศรัทธาทั้งหลาย เราจะเห็นได้ว่าในเดือนนี้นั้นแม้ว่าจะเป็นเดือนที่ถือศีลอด แต่มุสลิมเราก็สามารถเอาชนะสงครามมาได้ทุกๆ ครั้ง ทั้งสงครามตะบูกที่มุสลิมรบกับเผ่าลัคม์ ญุซาม และฆ้อสซาน ซึ่งมีโรมันให้การสนับสนุน และในเดือนรอมฎอนเช่นเดียวกัน ท่านคอลิด บิน วาลิด ได้ทำสงครามกับพวกเปอร์เซียและโรมันในสมรภูมิ อัล-ฟารอฏ ท่ามกลางความร้อนระอุ เหตุการณ์ต่างๆ ในประวัติศาสตร์เหล่านี้จึงเป็นเครื่องหมายยืนยันถึงความอดทน ความศรัทธามั่น แม้ว่าจะอยู่ในสภาพการณ์ใดๆ ของบรรดาซอฮาบะฮฺ

ในปัจจุบันนี้เราไม่จำเป็นต้องจับดาบสู้รบปรบมือกับใครๆ เพียงแต่เราต้องต่อสู้กับนัฟซูตัวเอง เพียงแค่นี้เราจะเป็นผู้แพ้แล้วหรือ ?
พิมพ์จาก : http://www.muslimthai.com/main/1428/content.php?category=36&id=129
วันที่ : 10 กันยายน 52 14:16:03
มุสลิมไทย http://www.muslimthai.com

การเริ่มเดือนรอมฎอน

การเริ่มเดือนรอมฎอน


บรรดาศรัทธาชนต่างผินสายตาของพวกเขาสู่ฟากฟ้าเพื่อค้นหาดวงจันทร์เเรกของเดือนรอมฎอน พวกเขารวมตัวกันเป็นกลุ่มๆเเต่ละท้องที่ เพื่อรอคอยการยืนยันถึงการเห็นดวงจันทร์ของเดือนรอมฎอนด้วยหัวใจที่ปลื้มปิติ เพราะท่านรอซูล ซ.ล. ได้กล่าวไว้ว่า

“ท่านทั้งหลายจงถือศีลอดเมื่อเห็นดวงจันทร์ เเละจงละศีลอดเมื่อเห็นดวงจันทร์ ถ้าหากมีสิ่งใดบดบัง (ดวงจันทร์) แก่ท่านทั้งหลาย ก็จงนับเดือนชะอ์บานให้ครบ 30 วัน”

นี้เป็นความรู้สึกที่ดียิ่ง หรือภาพพจน์ที่ดีงาม ซึ่งเเสดงออกถึงเจตนารมณ์ที่เเน่วเเน่ในการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นอิบาะฮ์ที่พระองค์อัลเลาะฮ์ทรงบัญญัติมา พระองค์ได้ทรงตรัสไว้ในหะดีษกุดซีย์ว่า

“การงานของลูกหลานอาดัมเป็นของเขานอกจากการถือศีลอดมันเป็นของข้า และข้าจะตอบเเทนมัน”

การถือศีลอดได้ถูกระบุไว้ในอัลกุรอานว่าเป็นฟัรฎูเพียงหนึ่งครั้ง ในขณะที่บัญญัติอื่นๆเช่น การละหมาด การประกอบพิธีฮัจญ์ การบริจาคซากาต การญิฮาด (ต่อสู้ในหนทางของอัลเลาะฮ์) เเละการงานที่ประเสริฐต่างๆได้ถูกกล่าวไว้ในกุรอานหลายครั้ง เเละในหลายอายะฮ์ เหมือนกับว่าพระองค์อัลเลาะฮ์ได้ให้ความสำคัญต่อการถือศีลอดมากกว่าบัญญัติอื่นๆ พระองค์อัลเลาะฮ์ได้ทรงกำหนดให้การถือศีลอดเป็นหน้าที่จำเป็น ดังอายะฮ์ที่ว่า

“โอ้ ศรัทธาชนทั้งหลาย การถือศีลอดได้ถูดกำหนดเเก่สูเจ้าทั้งหลายเเล้ว”

พระองค์อัลเลาะฮ์ได้ทรงใช้ถ้อยคำเรียกบรรดามุมินทั้งหลาย ก่อนที่จะกล่าวถึงบัญญัติศาสนาด้วยถ้อยคำที่สละสลวยว่า “โอ้ ศรัทธาชนทั้งหลาย” เป็นการเสริมความสัมพันธ์ที่ดีงามดังคำพูดของอิบนิมัสอูด กล่าวว่า “เมื่อท่านได้เห็นพระองค์อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า โอ้ ศรัทธาชนทั้งหลาย ท่านก็จงตั้งใจฟังเถิด เพราะพระองค์จะทรงตรัสใช้ให้ปฏิบัติความดีหรือให้ละเว้นการทำชั่ว”

พระองค์อัลเลาะฮ์ได้ทรงชี้เเจงว่า ประชาชาติก่อนๆก็ได้ถือศีลอดเช่นเดียวกัน ดังที่พระองค์อัลเลาะฮ์ได้ทรงตรัสว่า

“โอ้ บรรดาศรัทธาชนทั้งหลาย การถือศีลอดได้ถูกกำหนดเเก่สูเจ้าทั้งหลาย ดังที่ได้ถูกกำหนดแก่ประชาชาติก่อนพวกสูเจ้า เพื่อว่าพวกสูเจ้าทั้งหลายจะยำเกรง” ซูเราะฮ์ อัลบะเกาะเราะฮ์ /183)

บรรดานักปราชญ์ต่างพยายามค้นคว้าว่า การถือศีลอดที่ถูกกำหนดนั้นมีจำนวนวันเเละเวลาเท่ากับการถือศีลอดของประชาชาติ นบีมูฮำหมัดหรือไม่? พระองค์อัลเลาะฮ์ได้ทรงกำหนดการถือศีลอดให้แก่ชาวยิวเเละครีสเตียน แล้วพวกเขาได้เปลี่ยนเเปลงวิธีการเสีย หรือว่าพระองค์ได้ทรงกำหนดการถือศีลอดเเก่ประชาชาติก่อนทั้งหมด หรือว่ารูปเเบบของการถือศีลอดเป็นเพียงการงดเว้นการกินเเเละการดื่มขณะที่ถือศีลอดเท่านั้น

ศ. อาลี อัลดุลวาฮีด วาฟี ได้เขียนบทวิจัยภายใต้หัวข้อเรื่อง “การถือศีลอดของประชาชาติก่อนๆ” พิมพ์เผยเเพร่ในนิตรยสาร “ริซาละฮ์กอฮิรียะฮ์” อันดับที่ 1096 วันที่ 12 รอมฎอน ฮ.ศ. 1384 ตรงกับวันที่ 14 มกราคม 2508

พระองค์อัลเลาะฮ์ได้ทรงชี้แจงถึงเป้าหมายของการถือศีลอดไว้ว่า ไม่เป็นเพียงเเต่การงดเว้นอาหาร เครื่องดื่ม เเละการเสพความสุข ในตอนกลางวันของเดือนรอมฎอนเท่านั้น เเต่เพื่อที่จะฝึกจิตใจของเขาให้มีความยำเกรงต่ออัลเลาะฮ์ เขาก็ไม่ได้ถือศีลอดอย่างเเท้จริง ท่านนบีมูฮำหมัด ซ.ล. กล่าวว่า

“มีผู้ถือศีลอดจำนวนมากที่ไม่ได้รับผลจากการถือศีลอดนอกจากความหิวโหยเเละความกระหาย”

ท่านรอซูล ซ.ล. กล่าวต่อไปอีกว่า

“ผู้ใดที่ไม่ละทิ้งคำพูดที่ไร้สาระ และการกระทำตามคำพูดนั้นก็ไม่มีความต้องการใดๆสำหรับอัลเลาะฮ์ในการที่เขาได้ละทิ้งอาหารและเครื่องดื่มของเขา”

การถือศีลอดที่เเท้จริงจะสามารถระงับอารมณ์ไฝ่ต่ำจะทำให้มูลเหตุที่ทำให้การทำความชั่วหมดไป เพราะการถือศีลอดเป็นโล่ พระองค์อัลเลาะฮ์ก็ได้ทรงกำหนดให้การถือศีลอดในวันเฉพาะที่กำหนดเเน่นอน เเละเพื่อไม่สร้างความลำบากยากเเก่บรรดามุมินผู้ศรัทธาพระองค์อัลเลาะฮ์ได้ทรงผ่อนปรนการถือศีลอดให้แก่บุคคลต่อไปนี้

“บรรดาวันที่เเน่นอน ดังนั้นผู้ใดในพวกสูเจ้าเจ็บป่วยหรืออยู่ในการเดินทาง ดังนั้นจงเลื่อนการถือศีลอดไปในวันอื่น เเละบรรดาผู้ที่ถือศีลอดทำให้เกิดความลำบากยาก ก็จงจ่ายอาหารให้เเก่ผู้ขัดสน ดังนั้นผู้ใดที่อาสาเสริมในความดีก็เป็นการดีสำหรับเขา เเละการถือศีลอดจะเป็นการดีสำหรับสูเจ้าทั้งหลาย ถ้าหากสูเจ้าทั้งหลายรู้” ซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ /184

สำหรับผู้ที่เจ็บป่วยไม่เป็นภาระหนัก หรือการเดินทางมีความสะดวกสบาย หรือความชราไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางการถือศีลอดให้เเก่เขา ก็สมควรที่เขาจะถือศีลอด เพราะว่านั่นเป็นการดีสำหรับเขา พระองค์อัลเลาะฮ์ทรงกล่าวไว้ในหะดีษกุดซีย์ว่า

“การถือศีลอดเป็นความลับเฉพาะระหว่างบ่าวกับพระเจ้าของเขา”

หมายความว่า พระองค์อัลเลาะฮ์ทรงรู้ถึวข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความไม่สามารถในการถือศีลอดของเขา

เดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่มีความปรเสริฐยิ่งเพราะว่าพระองค์อัลเลาะฮ์ได้ทรงเริ่มประทานคัมภีร์อัลกุรอานลงในเดือนนี้ เพื่อให้เป็นทางนำเเละเป็นหลักฐานอันชัดเเจ้งเพื่อให้ท่านนบีมูฮำหมัด ซ.ล. นำมาประกาศเผยเเพร่
พระองค์อัลเลาะฮ์ได้ทรงกำหนดการถือศีลอดสำหรับผู้ที่อยู่ในภูมิลำเนาไม่ใช่ผู้เดินทาง เมื่อเขาเห็นดวงจันทร์ค่ำเเรกของเดือนรอมฎอน ดังที่พระองค์ทรงตรัสว่า

“ดังนั้น ผู้ใดในพวกสูเจ้ารู้ว่า เข้าเดือน (รอมฎอน) เขาจงถือศีลอด”

อิมามอิบนิกะซีร ได้กล่าวไว้ในหนังสืออธิบายอัลกุรอานของท่านว่า “นี่เป็นการกำหนดบังคับอย่างเด็ดขาดต่อผู้ที่เห็นดวงจันทร์เสี้ยว จะต้องถือศีลอดในเมื่อเขามิได้เดินทางเเละมีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วย”
เชคมูฮำหมัด อะหมัด อัลอิดวี ได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่านชื่อ “การเชิญชวนไปสู่อัลเลาะฮ์ของบรรดาศาสนา” หน้าที่ 499 ว่า

“อายะฮ์นี้พระองค์อัลเลาะฮ์ได้ทรงชี้เเจงให้เราทราบว่า ผู้ที่รู้ว่าเข้าเดือนรอมฎอนเเล้วเช่น ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นเเละเขตร้อน พวกเขาถูกบังคับให้ถือศีลอดในเดือนนี้ ส่วนผู้ที่อาศัยอยู่ในเเถบขั้วโลก พวกเขามีกลางวันครึ่งปีเเละกลางคืนครึ่งปี พวกเขาจะไม่พบกับดวงจันทร์ต้นเดือนรอมฎอนเลยในกรณีนี้ บรรดานักปราชญ์มีความเห็นว่าให้พวกเขาคำนวณเพื่อกำหนดเดือนรอมฎอน เเล้วถือศีลอด”

พระองค์อัลเลาะฮ์ได้ทรงประทานศาสนาอิสลามมา เเละได้บัญญัติอิบาดะฮ์ต่างๆเพื่อให้บรรดามุสลิมปฏิบัติ มิใช่เพื่อสร้างความลำบากยาก พระองค์ทรงตรัสว่า

“พระองค์ทรงต้องการให้สูเจ้าทั้งหลายได้รับความสะดวกสบาย เเละทรงไม่ต้องการให้พวกสูเจ้าได้รับความยากลำบาก” (ซูเราะฮ์ อัลบะเกาะเราะฮ์ /185)

ท่านรอซูล ซ.ล. กล่าวว่า
“แท้จริงฉันถูกส่งมาพร้อมด้วยศาสนาเเห่งการนอบน้อมที่สะดวกง่ายดาย”

พระองค์อัลเลาะฮ์ที่ได้ทรงบังคับให้ผู้ถือศีลอดรำลึกถึงพระองค์ ขอบคุณพระองค์ สดุดีในความยิ่งใหญ่ของพระองค์ และขอพร (ดุอาอ์) ต่อพระองค์ ทั้งในยามเช้า ยามเย็นเเละก่อนการเเก้ศีลอด พระองค์อัลเลาะฮ์ได้ทรงตรัสไว้ในอายะฮ์ต่างๆเกี่ยวกับการถือศีลอดว่า

“เเละเมื่อบ่าวของข้าได้ถามเจ้าถึงข้า เเท้จริงข้าอยู่ใกล้ ข้าจะตอบต่อคำขอของผู้ที่ขอ เมื่อเขาขอต่อข้า ดังนั้น เขาจงวิงวอนขอต่อข้าเถิด เเละเขาจงศรัทธาต่อข้า เพื่อว่าพวกเขาจะได้รับการนำทาง”
ซูเราะฮ์ อัลบะเกาะเราะฮ์/ 186

การวิงวอนขอดุอาอ์จากพระองค์อัลเลาะฮ์ไม่ต้องมีนายหน้าหรือสื่อกลางที่จะวิงวอนขอต่อพระองค์ เเละไม่มีการตั้งเงื่อนไขใดๆในการขอดุอาอ์ หากเเต่ขึ้นอยู่กับความหวังและพรประสงค์ของพระองค์
พระองค์อัลเลาะฮ์ได้ทรงกล่าวถึงมารยาทในการขอดุอาอ์ไว้ว่า

“สูเจ้าทั้งหลายจงวิงวอนขอต่อพระผู้เป็นเจ้าของสูเจ้าโดยมีความนอบน้อมและแบบค่อยๆ เเท้จริง พระองค์ไม่ทรงรักผู้ที่ละเมิด เเละสูเจ้าทั้งหลายจงอย่าก่อความเสียหายในแผ่นดิน หลังจากที่ได้ปรับปรุงมัน เเละสูเจ้าวิงวอนขอต่อพระองค์ โดยมีความหวาดกลัว และมีความหวัง (ในการตอบรับดุอาอ์) แท้จริง ความเมตตาของพระองค์อัลเลาะฮ์อยู่ใกล้กับบรรดาผู้กระทำความดี”
ซูเราะฮ์ อัลอะอ์ร้อฟ / 55-56

ท่านอบู มูซา อัลอัชอะซีย์ ได้รายงานไว้ในหนังสืออซอเฮียะห์บุคอรี เเละซอเฮียะห์มุสลิม จากท่านรอซูล ซ.ล. ได้กล่าวกับผู้ที่ตะโกนขอดุอาอ์ว่า

“ประชาชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงขอดุอาอ์ภายในใจของพวกท่าน เเท้จริงท่านทั้งหลายมิได้วิงวอนขอต่อผู้ที่หูหนวกหรือผู้ที่ไม่อยู่ เเต่ทว่าท่านทั้งหลายได้วิงวอนขอต่อผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงอยู่ใกล้”

ท่านอิบนิกะซีร ได้กล่าวซึ่งถ้อยคำที่ดีไว้ว่า
“บรรดามุสลิมได้วิงวอนขอต่อพระองค์อัลเลาะฮ์อย่างมาก ไม่มีผู้ใดได้ยินเสียงของการขอดุอาอ์ของพวกเขา นอกจากเป็นเพียงเสียงกระซิบระหว่างเขากับพระเจ้าของเขา โดยเหตุนี้พระองค์อัลเลาะฮ์จึงตรัสว่า สูเจ้าทั้งหลายได้วิงวอนขอต่อพระเจ้าของสูเจ้าทั้งหลายด้วยความนอบน้อมเเละเเบบค่อยๆและพระองค์ได้ทรงกล่าวถึงการรำลึกถึงพระองค์ของบ่าวที่ดีท่านหนึ่งว่า ครั้นเมื่อเขาได้วิงวอนต่อพระเจ้าของเขา อันเป็นการวิงวอนที่ค่อยๆ บรรดามุมินจะวิงวอนขอต่ออัลเลาะฮ์ โดยที่เขามีความเชื่อมั่นในการตอบแทนของพระองค์ เเละเขาจะไม่มีความท้อแท้ใจในการตอบสนองการขอดุอาอ์เเละความเมตตาของพระองค์”

พระองค์อัลเลาะฮ์ได้ทรงกำหนดระยะเวลาในการถือศีลอดในวันหนึ่งกับคืนหนึ่งไว้ หลังจากที่พระองค์กำหนดเดือนรอมฎอน เป็นเดือนเเห่งการถือศีลอด พระองค์ทรงตรัสว่า
“สู้เจ้าทั้งหลายจงกินจ งดื่ม จนกระทั่งด้ายขาว (ความสว่าง) ประจักษ์เเจ้งจากด้ายดำ (ความมืด) ของรุ่งอรุณเเก่พวกสูเจ้า แล้วสูเจ้าทั้งหลายจงทำให้การถือศีลอด ครบสมบูรณ์จนถึงยามค่ำคืน”

ในหนังสือซอเอียะห์บุคอรีเเละมุสลิม จากท่านอนัสและท่านเชค บินซาบิต รฏิร กล่าวว่า
เราได้รับประทานอาหารสะฮูรร่วมกับท่านรอซูล ซ.ล. แล้วเราก็ลุกขึ้นไปละหมาด อนัสได้กล่าวกับเชคว่า ระยะเวลาห่างกันเท่าไรระหว่างอะซานเเละอาหารซะฮุร? ท่านกล่าวว่า “ระยะเวลาอ่านอัลกุรอาน ประมาณ 50 อายะฮ์”
ท่านรอซูลเรียกร้องให้ล่าช้าในการรับประทานอาหารสะฮูร เเละให้รีบเเก้ศีลอดเมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า เมื่อเเก้ศีลอดเรียบร้อยเเล้วก็อนุญาตให้มุสลิมปฏิบัติสิ่งต่างๆได้ตามความปราถนา เช่น การหลับนอนฉันสามีภรรยา ดังอายะฮ์ที่ว่า
“การร่วมหลับนอนกับภรรยาของสูเจ้าทั้งหลายในค่ำคืนของเดือนรอมฎอนเป็นที่อนุมัติสำหรับพวกสูเจ้า นางเหล่านั้นคืออาภรณ์ของพวกสูเจ้า เเละสูเจ้าทั้งหลายก็เป็นอาภรณ์สำหรับนางเหล่านั้น พระองค์อัลเลาะฮ์ทรงรู้ว่าสูเจ้าทั้งหลายได้หลอกลวงตัวของสูเจ้าเอง เเล้วพระองค์ก็ทรงอภัยและทรงยกโทษให้เเก่พวกสูเจ้า ขณะที่สูเจ้าทั้งหลายร่วมหลับนอนกับนางเเละจงเเสวงหาสิ่งที่พระองค์อัลเลาะฮ์ได้ทรงกำหนดให้เเก่พวกสูเจ้า”
ซูเราะฮ์ อัลบะเกาะเราะฮ์ / 187

นี่คือ การพิเคราะห์อายะฮ์ต่างๆเกี่ยวกับการถือศีลอดโดยสรุปซึ่งเป้าหมายในการบำบัดโรคภายในจิตใจและเป็นทางนำภายในหัวใจของผู้พินิจพิจารณา เเละผู้ที่เฝ้ารอคอยการมาของเดือนรอมฎอน เพื่อเขาจะได้ปฏิบัติอิบาดะฮ์ต่อพระองค์อัลเลาะฮ์ ได้รับความเมตตาเเละความโปรดปรานจากพระองค์ในเดือนนี้ เป็นการเพียงพอเเล้วสำหรับท่านที่จะต้อนรับเดือนดังเช่นการต้อนรับเดือนนี้ของมะลาอิกะฮ์ว่า

“โอ้ ผู้ที่ปราถนาจะทำความชั่วจงหยุดยั้งเถิด โอ้ ผู้ที่ปราถนาจะทำความดีจงรีบเร่งเถิด”


โดย เชค มุเอาวัฎ อวัฎ อิบรอฮีม
พิมพ์จาก : http://www.muslimthai.com/main/1428/content.php?category=36&id=1058
วันที่ : 10 กันยายน 52 14:10:57
มุสลิมไทย http://www.muslimthai.com

รอมฏอนกะรีม

รอมฏอนกะรีม : ขอต้อนรับเดือนรอมฎอน
ขอต้อนรับเดือนรอมฎอน

โดย เชคหะซัน มะมูน อิหม่ามใหญ่ของอัลอัซฮัร

บรรดาหนังสือชีวประวัติของท่านนบีมูฮำหมัดเเละหนังสือฮาดิษ ท่านนบีมูฮำหมัด บิน อับดุลเลาะห์ บิน อับดุลมุฏฏอลิบ ได้ปล่อยภรรยาเเละลูกๆของท่านอยู่ตามลำพัง และท่านได้ใช้เวลาค่ำคืนส่วนใหญ่ภายในถ้ำหิรออ์ ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของเมืองมักกะฮ์ ท่านอยู่ในถ้ำเพียงคนเดียว โดยพินิจพิจารณาถึงธรรมชาติที่อยู่โดยรอบ เพื่อที่จะค้นหาความจริงที่บุคคลส่วนมากได้หลงผิด พวกพ้องของท่านแกะสลักเเล้วนำไปตั้งไว้โดยรอบกะอ์บะฮ์ ทุกเผ่าจะเคารพสักการะรูปเจว็ดของตนเมื่อท่านเห็นเช่นนั้น จึงคัดค้านต่อการบูชาเจว็ดดังกล่าว ซึ่งมันไม่ให้โทษหรือยังประโยชน์อันใดมันไม่ได้บังเกิดมนุษย์หรือสัตว์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หรือสิ่งต่างๆที่มีอยู่ในธรรมชาติ ท่านได้พิจารณาในจักรวาลอันกว้างใหญ่ เเละพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงในศาสนาอื่นๆ ท่านได้เห็นชนกลุ่มหนึ่งเคารพภักดีต่ออัลเลาะฮ์ตามเเนวทางของท่านนบีมูซา เเละอีซาในตอนเเรกท่านก็มีความเสื่อมในศรัทธาในศาสนาดังกล่าว เเต่ต่อมาท่านก็ปฎิเสธต่อความเชื่อถือของกลุ่มชนผู้ดำเนินตามท่านนบีมูซาที่ว่าอุไซร์ เป็นบุตรของอัลเลาะฮ์และปฎิเสธต่อกลุ่มชนผู้ดำเนินตามนบีอีซาซึ่งเชื่อว่านบีอีซา (เยซู)เป็นบุตรของอัลเลาะฮ์ ท่านปฎิเสธลัทธิที่มีมลทินโดยที่มีความเชื่อมั่นว่าจะต้องมีพระเจ้าผู้ทรงบริสุทธิ์อย่างแน่นอนท่านได้อยู่อย่างโดดเดี่ยวภายในถ้ำฮิรออ์ ท่ามกลางความวิเวกวังเวงเเละห่างไกลความอึกทึกของผู้คนและการงานอันยุ่งยาก ท่านได้ใช้สติปัญญาพินิจพิจารณาการเกิดของจักรวาล บรรดาพืช สัตว์ มนุษย์ตลอดจนสรรพสิ่งต่างๆ

ขณะที่ท่านครุ่นคิดอย่างด่ำดื่มในคืนหนึ่ง –คืนหนึ่งในเดือนรอมฎอน – ท่านได้เห็นภาพมะลาอิกะฮ์โดยที่เขาได้กล่าวกับท่านว่า “จงอ่าน” ท่านนบีได้กล่าวตอบว่า “ฉันอ่านไม่เป็น” มะลาอิกะฮ์ท่านนั้นก็สวมกอดท่านจนกระทั่งเกิดความอึดอัดเเล้วเขาก็ปล่อยพร้อมกับกล่าวอีกว่า “จงอ่าน” ท่านนบีได้กล่าวว่า “ฉันอ่านไม่เป็น” เขาก็เข้าสวมกอดท่านรอซูล เขาทำเช่นนี้ 3 ครั้ง จึงสอนให้ท่านบีมูฮำหมัดอ่านว่า
“(มูฮำหมัด) จงกล่าวอ่านด้วยพระนามของอัลเลาะฮ์ ผู้ทรงบังเกิด พระองค์ทรงบังเกิดมนุษย์จากก้อนเลือด (มูฮำหมัด) จงอ่าน โดยที่พระผู้อภิบาลของสูเจ้าผู้ทรงเกียรติยิ่ง พระองค์ทรงสอนมนุษย์ในสิ่งที่เขาไม่รู้” (ซูเราะฮ์ อัล อะลัก อายะฮ์ที่ 1-4)

ท่านนบีได้อ่านตามที่ได้ยินมา เหมือนกับว่าถ้อยคำนั้นถูกสลักไว้ในหัวใจของท่าน เมื่อมะลาอิกะฮ์ ท่านนั้นไปแล้ว ท่านนบีมูฮำหมัด ก็ทบทวนดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งสิ่งที่ท่านได้ยิน ท่านรำพึงว่า นั่นเป็นความฝันหรือเปล่าหรือเป็นวะฮีย์ที่มีมายังท่าน เมื่อท่านมีความตระหนกเเละมีความกระวนกระวายใจมากขึ้น ท่านจึงได้รีบออกจากถ้ำ เมื่อท่านมองขึ้นไปยังฟากฟ้า ก็เห็นมาลาอิกะฮ์ท่านนั้นอยู่บนฟากฟ้า ท่านจึงตกใจกลัวเป็นอย่างยิ่ง จึงได้รีบวิ่งกลับบ้าน เมื่อไปถึงก็ได้กล่าวกับภรรยาของท่านว่า จงเอาผ้าห่มให้ฉัน จงเอาผ้าห่มให้ฉัน นางคอดียะฮ์จึงนำเอาผ้ามาห่มให้และได้ปลอบใจจนกระทั่งคลายความกลัว ท่านจึงได้เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้นางฟัง นางจึงกล่าวว่า “จงรับการบอกข่าวดี โอ้ลูกของลุงฉันและจงมีความมั่นคง ขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตของคอดียะฮ์ อยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ ฉันหวังว่าท่านจะเป็นศาสดาของประชาชาตินี้เเละขอสาบานด้วยอัลเลาะฮ์ พระองค์มิได้ทรงทำให้ท่านต่ำต้อยเเต่อย่างใด เเท้จริงท่านก็มีความสำคัญกับเครือญาติเเละพูดจริง ท่านเเบกภาระของผู้อ่อนเเอ เเละช่วยเหลือเพื่อดำรงความจริง”

ท่านนบีมีความเชื่อมั่นว่าสิ่งที่ท่านพบเห็นนั้นไม่ใช่การฝัน เเต่ทว่านั้นคือ วะฮีย์ ของอัลเลาะฮ์ที่พระองค์ได้ทรงประทานมายังศาสดาทั่งหลาย ท่านได้คิดถึงสิ่งที่ท่านได้รับฟังมาเเละรู้ว่า นั้นเป็นความจริงที่ท่านพยายามค้นหา เเท้จริงพระผู้เป็นเจ้าของท่านคือ พระผู้อภิบาลทุกสิ่ง พระองค์คือผู้ทรงบังเกิด พระองค์ทรงบังเกิดมนุษย์จากก้อนเลือด เเละทรงทำให้ท่านรู้จักการอ่าน คัมภีร์อัลกุรอาน

คืนหนึ่งของเดือนรอมฎอนที่อัลกุรอานโองการเเรกได้ถูกประทานมานั้นคือ คืนอัลก้อดร์ (ลัยละตุลก้อดร์) ซึ่งถือได้ว่าคืนนี้เป็นคืนที่มีรัศมีของอิสลามเริ่มฉายเเสงขึ้น ต่อมารัศมีของอิสลาม ซึ่งมีอัลกุรอานเป็นสื่อกลางได้เเผ่กระจายไปทั่วจักรวาล เเละทำให้หัวใจของผู้ที่ได้รับรัศมีของอิสลามเปี่ยมล้นไปด้วยการอีหม่าน (การศรัทธา) การตั๊กวา (การยำเกรงอัลเลาะฮ์) ในที่นี้จึงสมควรที่เราจะอ่านอายะฮ์กุรอานเพื่อต้อนรับเดือนที่มีเกียรติที่สุดนี้ คืออายะฮ์ที่ว่า

“เดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่คัมภีร์อัลกุรอานถูกประทานมาเพื่อเป็นทางนำเเก่บรรดามนุษย์เเละเป็นการเเสดงให้ปรากฎจากทางนำ เเละการจำเเนกความจริงเเละความเท็จ ดังนั้นผู้ใดในพวกท่านที่เข้าอยู่ในเดือนนี้ เขาจงถือศีลอดเเละผู้ใดที่เจ็บป่วยหรืออยู่ในการเดินทาง ก็จงถือศีลอดในวันอื่น พรองค์อัลเลาะฮ์ทรงต้องการให้ความง่ายดายเเก่สูเจ้าทั้งหลาย เเละไม่ทรงต้องการให้พวกสูเจ้าได้รับความยากลำบาก” ซูเราะฮ์ อัล บากอเราะฮ์/ 185
และในซูเราะฮ์ อัลก๊อดร์ กล่าวคือ

“เเท้จริงเรา (อัลเลาะฮ์) ได้ประทานอัลกุรอานในคืนก๊อดร์ สิ่งใดที่ทำให้สูเจ้ารู้ว่าคืนอัลก๊อดร์เป็นคืนอะไร คืนอัลก๊อดร์ดีกว่าหนึ่งพันเดือน โดยที่มะลาอิกะฮ์เเละวิญญาณ (ญิบรีล) ได้ลงมาในคืนนี้ด้วยการอนุญาตของพระผู้อภิบาลของพวกเขา พร้อมด้วยทุกกิจการ ความสันติมีอยู่ในคืนนี้ จนกระทั่งเเสงอรุณขึ้น”

ซูเราะฮ์อัดดุคอน กล่าวว่า
“ฮามีม ขอสาบานด้วยคัมภีร์ที่ชัดเเจ้ง เเท้จริงเรา (อัลเลาะฮ์) ได้ประทานคัมภีร์นี้ในคืนที่มีความจำเริญ เเท้จริงเราเป็นผู้ตักเตือน ในคืนนี้ ทุกกิจการที่เด็ดขาดได้ถูกจำเเนกอันเป็นกิจการของเรา เเท้จริง เราคือผู้ส่งมา ซึ่งเป็นความเมตตาจากพระผู้อภิบาลของสูเจ้า แท้จริงพระองค์คือ ผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้” (อายะฮ์ที่ 1-6)

ในคืนนี้ พระองค์อัลเลาะฮ์ได้ทรงประทานความโปรดปรานรัศมีของอิสลามมายังโลกที่มีเเต่ความปั่นป่วนยุ่งเหยิง รัศมีนี้คือ คัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งจะนำมนุษย์ไปสู่ความจริงเเละทำให้เขาออกห่างจากการหลงผิด การตั้งภาคีต่ออัลเลาะฮ์ การเคารพบูชาต่อสิ่งอื่นใดนอกจากอัลเลาะฮ์ เเละทำให้ท่านนบีผู้อ่านไม่ออก เขียนไม่เป็น ได้เปิดหัวใจของมนุษยชาติเพื่อบรรจุใส่การศรัทธา เเละความดีงาม มีหลักศรัทธาที่ถูกต้อง มีจิตใจที่บริสุทธิ์ ซึ่งบรรดามุสลิมไม่อาจจะละเลย ภาพพจน์ที่สว่างไสวนี้ได้ ภาพพจน์ในคืนที่พระองค์อัลเลาะฮ์ได้ทรงให้เกียรติต่อนบีมูฮำหมัด บุตรของอับดุลเลาะฮ์ ซ.ล. บ่าวของพระองค์ โดยการประทานอายะฮ์เเรกของคัมภีร์อัลกุรอาน เเละติดตามด้วยอายะฮ์อื่นๆ กระทั่งอายะฮ์สุดท้าย คือ

“วันนี้ ข้า (อัลเลาะฮ์) ได้ทำให้ศาสนาของสูเจ้าทั้งหลายครบสมบูรณ์สำหรับพวกสูเจ้า เเละข้าได้ทำให้ความโปรดปรานของข้าที่มีต่อสูเจ้าทั้งหลายครบครัน เเละข้าพอใจให้อิสลามเป็นศาสนาของสูเจ้าทั้งหลาย” (ซูเราะฮ์ อัลมาอิดะฮ์/ 3)
อายะฮ์นี้ได้ถูกประทานมายังท่านรอซูล ซ.ล. ขณะที่ท่าน วุกุ้ฟ ณ ทุ่งอะรอฟะฮ์ในฮัจญีอำลา

พิมพ์จาก : http://www.muslimthai.com/main/1428/content.php?category=36&id=1057
วันที่ : 10 กันยายน 52 14:04:28
มุสลิมไทย http://www.muslimthai.com