Saturday, September 26, 2009

หลักการอิสลาม


หลักการอิสลาม
  א


รวบรวมโดย : สำนักวิจัยและค้นคว้า มหาวิทยาลัยอิสลามนครมะดีนะฮฺ
แปลโดย : กลุ่มนักศึกษาไทย มหาวิทยาลัยอิสลามนครมะดีนะฮฺ
จัดพิมพ์โดย
สำนักงานความร่วมมือเพื่อเผยแพร่และสอนอิสลาม
อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด ประเทศซาอุดิอาระเบีย
من إصدارات

พิมพ์ครั้งแรก : ฮ.ศ. 1427 - ค.ศ. 2006
สงวนลิขสิทธิ์โดย เว็บไซต์อิสลามเฮาส์
อนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากหนังสือ โดยไม่บิดเบือนหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาเดิม
หากมีข้อสงสัย คำแนะนำหรือแก้ข้อผิดพลาดใดๆ กรุณาติดต่อเราทางเว็บไซต์ :
www.islamhouse.com
(3320)
ฮ.ศ.1427 - ค.ศ. 2006
สำนักงานความร่วมมือเพื่อเผยแพร่และสอนอิสลาม
อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด ประเทศซาอุดิอาระเบีย
โทร. +966-1-445 4900, 491 6065
www.islamhouse.com

جميع الحقوق محفوظة لموقع دار الإسلام. ويحق لمن شاء أخذ ما يريد من هذه المادة بشرط الأمانة
في النقل وعدم التغيير في النص المنقول. والله الموفق.
وإذا كان لديك أي سؤال أو اقتراح أو تصحيح يرجى مراسلتنا على العنوان التالي:
www.islamhouse.com
(3320)
1427 ه
www.islamhouse.com

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ
ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงปรานียิ่งเสมอ

 
หลักการอิสลาม
รวบรวมโดย สำนักวิจัยและค้นคว้า มหาวิทยาลัยอิสลามนครมะดีนะฮฺ
ถอดความ ประเสริฐ(อับดุลลอฮฺ) ประสานการ
ร่วมกับ กลุ่มนักศึกษาไทย มหาวิทยาลัยอิสลามนครมะดีนะฮฺ
บรรณาธิการ ซุฟอัม อุษมาน
พิสูจน์อักษร ลุตฟี อะหฺมัด, ลุกมาน มุสฏอฟา
รูปเล่ม อบู ฟัยรูซ
หนังสือในโครงการความร่วมมือเพื่อจัดพิมพ์หนังสือ
โดยห้องสมุดอิกเราะอฺ www.iqraOnline.org
โดยความร่วมมือและการสนับสนุนของ สำนักงานความร่วมมือเพื่อเผยแพร่และสอนอิสลาม
อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด ประเทศซาอุดิอาระเบีย www.islamhouse.com

สารบัญ
หลักการอิสลามข้อที่หนึ่ง : การปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และ
มุหัมมัดเป็นศาสนทูตของพระองค์.....................................................................................13
หนึ่ง : ความหมายของการปฏิญานว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ”......14
สอง : เงื่อนไขของการปฏิญาณ ....................................................................................18
เตาฮีด อุลูฮิยะฮฺ...................................................................................................22
บัญญัติการศรัทธาในเอกภาพของอัลลลอฮฺด้านอุลูฮิยะฮฺ...........................24
ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของบรรดาศาสนทูตต่อคำปฏิญาณนี้ .........26
สาม : ความหมายของการปฏิญาณว่า “มุหัมมัดเป็นรอซูลของอัลลอฮฺ”..............27
สี่ : คุณค่าและความประเสริฐของคำปฏิญาณทั้งสองนี้...........................................31
หลักการอิสลามข้อที่สอง : การละหมาด (อัศ-เศาะลาฮฺ)................................................33
หนึ่ง : นิยามของการละหมาด ......................................................................................34
สอง : ความสำคัญของการละหมาดต่อบรรดานบีและรอซูล .................................35
สาม : หลักฐานในการบัญญัติละหมาด ......................................................................37
หลักฐานจากอัลกุรอาน ............................................................................................37
หลักฐานจากอัลหะดีษฺ..............................................................................................38
หลักฐานมติเอกฉันท์(อิจญ์มาอฺ) ............................................................................39
สี่ : เหตุผลและสาเหตุที่อัลลอฮฺทรงบัญญัติการละหมาด .......................................39
ห้า : ผู้ที่วาญิบ(จำเป็น)ต้องละหมาด...........................................................................40
หก : ข้อตัดสินของผู้ที่ทิ้งละหมาด ..............................................................................42
เจ็ด : เงื่อนไขของการละหมาด.....................................................................................42
แปด : เวลาของการละหมาด ........................................................................................43
เก้า : จำนวนร็อกอัต .......................................................................................................44
สิบ : รุก่นละหมาด (ข้อพึงจำเป็นต้องปฏิบัติในละหมาด) ......................................45
สิบเอ็ด : สิ่งที่เป็นวาญิบในการละหมาด.....................................................................45
สิบสอง : ละหมาดญะมาอะฮฺ(ละหมาดพร้อมกันเป็นหมู่คณะ).............................47
สิบสาม : สิ่งที่ทำให้การละหมาดเป็นโมฆะ ................................................................48
สิบสี่ : เวลาที่ห้ามทำการละหมาด ได้แก่....................................................................49
สิบห้า : ลักษณะของการละหมาดโดยรวม.................................................................50
หลักการอิสลามข้อที่สาม : ซะกาต .....................................................................................57
หนึ่ง : คำนิยามของซะกาต............................................................................................58
ความหมายตามรากศัพท์ทางภาษาอาหรับ...........................................................58
ความหมายทางศาสนบัญญัติ.................................................................................58
สอง : ความสำคัญและเหตุผลในการจ่ายซะกาต .....................................................58
สาม : ข้อตัดสิน(หุก่ม)ของการจ่ายซะกาต.................................................................60
สี่ : กฎเกณฑ์ เงื่อนไข ของผู้ที่ต้องจ่ายซะกาต..........................................................62
ห้า : ทรัพย์ที่จำเป็นต้องจ่ายซะกาต.............................................................................63
1. ทองคำและเงิน.......................................................................................................63
2. ปศุสัตว์ ...................................................................................................................66
พิกัดปศุสัตว์และจำนวนที่ต้องจ่ายซะกาต ......................................................67
1. อูฐ ......................................................................................................................67
2. วัวหรือควาย.....................................................................................................68
3. แพะหรือแกะ....................................................................................................68
3. ธัญญพืช และผลไม้.............................................................................................71
4. ทรัพย์ที่เป็นสินค้า.................................................................................................72
5. สินแร่และทรัพย์ที่ถูกฝังดินไว้ ...........................................................................73
หก : แหล่งจ่ายซะกาต ...................................................................................................75
1. คนยากไร้ (ฟากิรฺ).................................................................................................75
2. คนขัดสน (มิสกีน)................................................................................................75
3. เจ้าหน้าที่ซะกาต....................................................................................................75
4. ผู้ถูกดลใจให้เข้ารับอิสลาม .................................................................................75
5. ผู้ไร้อิสรภาพ ..........................................................................................................76
6. คนมีหนี้สิน.............................................................................................................76
7. ในวิถีทางของอัลลอฮฺ...........................................................................................76
8. คนเดินทาง.............................................................................................................77
เจ็ด : ซะกาตฟิฏรฺ(ฟิฏเราะฮฺ)........................................................................................77
1. เหตุผลหรือวิทยปัญญาในการบัญญัติซะกาตฟิฏรฺ........................................77
2. ข้อตัดสินหรือ หุก่มของซะกาตฟิฏรฺ .................................................................78
3. ปริมาณของซะกาตฟิฏรฺ.......................................................................................79
4. เวลาของซะกาตฟิฏรฺ ............................................................................................79
5. แหล่งจ่ายซะกาตฟิฏรฺ ..........................................................................................80
หลักการอิสลามข้อที่สี่ : การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน...........................................81
หนึ่ง : คำนิยามของการถือศีลอด.................................................................................82
สอง : หุก่มของการถือศีลอด........................................................................................82
สาม : ภาคผลและวิทยปัญญาในบทบัญญัติการถือศีลอด.....................................83
สี่ : เงื่อนไขที่จำเป็น(วาญิบ)ในการถือศีลอด .............................................................86
ห้า : ข้อควรปฏิบัติต่างๆของผู้ถือศีลอด.....................................................................87
หก : สิ่งที่ทำให้เสียศีลอด..............................................................................................88
เจ็ด : บทบัญญัติทั่วไป...................................................................................................91
หลักการอิสลามข้อที่ห้า : การบำเพ็ญหัจญ์.......................................................................97
หนึ่ง : คำนิยามของ หัจญ์..............................................................................................98
สอง : ข้อตัดสิน(หุก่ม)ของหัจญ์ ..................................................................................98
สาม : ภาคผลและเหตุผลในการบัญญัติหัจญ์..........................................................99
สี่ : กฎเกณฑ์ เงื่อนไขและสิ่งจำเป็นในหัจญ์(วาญิบ) .............................................102
ข้อตัดสินหรือหุก่มของการบำเพ็ญฺหัจญ์แทนผู้อื่น .....................................103
ผู้ที่ยังมิได้บำเพ็ญฺหัจญ์ให้ตนเอง จะบำเพ็ญให้ผู้อื่นได้หรือไม่?..............104
ควรบำเพ็ญหัจญ์เมื่อใด ?................................................................................105
ห้า : รุก่นหัจญ์...............................................................................................................106
ก. รุก่นแรก การอิหฺรอม ........................................................................................106
ลักษณะของการอิหฺรอม...................................................................................109
สิ่งต้องห้ามในการครองอิหฺรอม......................................................................111
ข. รุก่นที่สอง : คือการหยุดพำนัก ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺ ......................................116
ค. รุก่นข้อที่สาม : การเฏาะวาฟ อิฟาเฎาะฮฺ ......................................................116
ง. รุก่นที่สี่ : การสะแอ............................................................................................117
หก : สิ่งวาญิบ(พึงจำเป็น)............................................................................................117
เจ็ด : การประกอบพิธีหัจญ์ ........................................................................................118

คำนำ
การเผยแพร่ศาสตร์แห่งอิสลามนั้น มีบทบาทอย่างยิ่งในการอธิบายถึง
แก่นแท้จริงของอิสลามและความมั่นคงของศาสนา ตลอดจนความ
รุ่งโรจน์ของประชาคมมุสลิม
นี่คือวัตถุประสงค์ที่สำ คัญของมหาวิทยาลัยอิสลามนคร
มะดีนะฮฺที่กำลังดำเนินให้เป็นไปตามกระบวนการ เพื่อให้เกิดความ
สัมฤทธิผลบนเส้นทางของการเผยแพร่และการศึกษา
เพื่อส่งเสริมต่องานดังกล่าว สำนักวิจัยและค้นคว้าได้วางแผน
และเตรียมการต่างๆในเชิงวิชาการ ส่วนหนึ่งจากการเตรียมการดัง
กล่าวคือ การศึกษาและค้นคว้าถึงสารัตถะและคุณค่าแห่งอิสลาม รวมทั้ง
การเผยแพร่ผลสรุปทางการศึกษาที่น่าเชื่อถือและถูกต้องที่สุดที่เกี่ยวกับ
ศาสนาอิสลาม ไม่ว่าจะเป็นด้านอะกีดะฮฺ(ความศรัทธา) และชะรีอะฮฺ
(ด้านกฎหมาย)
สำหรับงานวิจัยชิ้นนี้ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับหลักการอิสลาม ซึ่ง
ถือว่าเป็นโครงการหนึ่งของสำนักวิจัยและค้นคว้า โดยการแนะนำจาก
คณะกรรมการฝ่ายจัดการการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย เพื่อให้
เขียนงานชิ้นนี้อยู่ภายใต้หัวข้อดังกล่าว โดยคณะกรรมการฝ่ายวิชาการ
ของสำนักงานได้ทำการศึกษาวิจัยและตรวจทานในงานชิ้นนี้ และคัดลอก
ออกมาตามความเหมาะสม ด้วยการพยายามศึกษารูปแบบทางวิชาการ
ภายใต้รากฐานที่นำมาจากอัลกุรอานและซุนนะฮฺ
ทางสำนักฯ ได้พยายามอย่างยิ่งในการเตรียมงานวิจัยชิ้นนี้
เพื่อให้ประชาคมโลกมุสลิมได้รับสาระและแก่นสารจากศาสตร์แห่ง
อิสลาม ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ทางสำนักฯ ได้ดำเนินการแปลเป็นภาษา
ต่างๆ ทั่วโลกและเผยแพร่โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนต
ขอพระองค์อัลลอฮฺทรงประทานคุณงามความดีแก่รัฐบาล
ซาอุดิอาระเบียในความพยายามและทุ่มเทกับการรับใช้เผยแพร่และ
ปกป้องอิสลาม และจากที่มหาวิทยาลัยได้รับความอนุเคราะห์และ
สนับสนุนจากรัฐบาลซาอุดิอาระเบียมาโดยตลอด
เราขอวิงวอนจากอัลลอฮฺให้พระองค์ยังคุณประโยชน์จาก
การศึกษาและวิจัยในครั้งนี้ และขอพระองค์ทรงประทานความสำเร็จใน
การดำเนินภารกิจของสำนักฯ และขอให้เราได้รับความรักและความโปรด
ปรานจากพระองค์ และขอให้เราเป็นหนึ่งในบรรดาผู้นำสารแห่งทางนำ
และผู้ช่วยเหลือสัจธรรม
สำนักวิจัยและค้นคว้า มหาวิทยาลัยอิสลามนครมะดีนะฮฺ

หลักการอิสลามข้อที่หนึ่ง
การปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ
และมุหัมมัดเป็นศาสนทูตของพระองค์

การกล่าวปฏิญาณทั้งสองนี้ คือหนทางเข้าสู่อิสลาม เป็นหลัก
อิสลามที่สำคัญที่สุด ซึ่งจะยังไม่ถือว่าบุคคลหนึ่งเป็นมุสลิม นอกจากเขา
จะต้องกล่าวและปฏิบัติตามข้อบ่งชี้ของคำปฏิญานทั้งสองนี้ และด้วยเหตุ
นี้เองที่ผู้ปฏิเสธจะกลับกลายเป็นผู้ศรัทธาได้
หนึ่ง : ความหมายของการปฏิญานว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ”
การปฏิญานข้างต้น หมายถึง การกล่าวโดยรู้ถึงความหมายและ
ปฏิบัติตามข้อบ่งชี้ของคำปฏิญาน ทั้งในส่วนการกระทำที่เปิดเผยและใน
ส่วนลึกของจิตใจ
ส่วนการกล่าวเพียงอย่างเดียวโดยไม่รู้ถึงความหมายและไม่
ปฏิบัติตามข้อบ่งชี้ของคำปฏิญานนี้ จะไม่ยังประโยชน์ใดๆ แก่ผู้ที่ปฏิบัติ
เลย ยิ่งไปกว่านั้นมันก็จะกลับมาเป็นหลักฐานมัดตัวเขาเองเสียอีก
ดังนั้น ความหมายโดยสรุปของคำว่า لا إله إلا الله ) ) อ่านว่า
“ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ” ก็คือ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรต้องเคารพสักการะ
และภักดีอย่างแท้จริง นอกจากอัลลอฮฺ
การปฏิญาณตน
คำปฏิญาณประกอบขึ้นมาจากสองส่วนด้วยกันคือ การปฏิเสธ
และการยืนยัน
กล่าวคือ ปฏิเสธคุณลักษณะความเป็นเจ้าที่คู่ควรแก่การเคารพ
สักการะออกจากสิ่งอื่นทั้งมวลนอกจากอัลลอฮฺ และยืนยันคุณลักษณะนี้
แด่อัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว ไม่มีการภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ใน
คุณลักษณะนี้ ซึ่งรวมไปถึงการปฏิเสธพระเจ้าจอมปลอมทั้งหลายที่ถูก
กราบไหว้บูชา ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ หิน ต้นไม้ หรือแม้กระทั่งอารมณ์ความ
อยากของมนุษย์ก็ตาม พร้อมทั้งต้องแสดงความไม่พอใจและปลีกตัวห่าง
สิ่งดังกล่าวด้วย เพราะผู้ใดก็ตามที่กล่าวคำปฏิญาณนี้ โดยไม่ปฏิเสธต่อ
สิ่งที่ถูกสักการะอื่นๆ นอกจากอัลลอฮฺ ก็เหมือนกับว่าเขาไม่ได้กล่าวมัน
นั่นเอง
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿وَإَِلهُكُمْ إَِلهٌ وَاحِدٌ لا إَِلهَ إِلَّا هُوَ الرَّحْمَنُ
( الرَّحِيمُ﴾ (سورة البقرة : 163
ความว่า : และผู้ที่คู่ควรแก่การเคารพสักการะของพวกเจ้านั้นมี
เพียงองค์เดียว ไม่มีผู้ที่คู่ควรแก่การสักการะใดๆนอกจากพระองค์ ผู้
ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอเท่านั้น [อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่
163]
และพระองค์ได้ตรัสอีกว่า

﴿لا إِكْرَاهَ فِي ال  دينِ َقدْ تَبَيَّنَ ال رشْدُ مِنَ الْغَ  ي َفمَنْ
يَ ْ كُفرْ بِالطَّا ُ غوتِ وَيُؤْمِنْ بِاللَّهَِفَقدِ اسْتَمْسَكَ
بِالْعُرْوَةِ اْلوُْثَقى لا انْفِصَامَ َلهَا وَاللَّهُ سَمِيعٌ عَلِيمٌ﴾
( (سورة البقرة : 256
ความว่า : ไม่มีการบังคับใดๆ (ให้นับถือ) ในศาสนาอิสลาม
แน่นอนความเที่ยงตรงถูกต้องนั้นได้เป็นที่กระจ่างแจ้งแล้วจากความผิด
อันคดเคี้ยว ดังนั้นผู้ใดปฏิเสธศรัทธาต่อ อัต-ตอฆูต (ทุกสิ่งที่ถูก
สักการะนอกจากอัลลอฮฺ) และศรัทธาต่ออัลลอฮฺแล้ว แน่นอนเขาได้ยึด
ห่วงอันมั่นคงไว้แล้ว โดยไม่มีการขาดใดๆเกิดขึ้นกับมัน และอัลลอฮฺนั้น
เป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้ [อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 256]
ดังนั้น คำว่า ( إله ) “อิลาฮฺ” จึงหมายถึง พระเจ้าผู้ที่คู่ควรแก่การ
สักการะอย่างแท้จริง
ส่วนผู้ที่มีความเชื่อว่า คำว่า ( إله ) “อิลาฮฺ” หมายถึงพระเจ้า
ผู้สร้าง ผู้ทรงประทานปัจจัยยังชีพ ผู้ทรงเดชานุภาพในการสร้างสรรค์สิ่ง
ต่างๆ และเข้าใจว่าการเชื่อมั่นเพียงเท่านี้ถือเป็นการเพียงพอแล้วโดยไม่
ต้องมีการศรัทธาในเอกภาพของอัลลลอฮฺในการเคารพสักการะ บุคคลผู้
นี้ การกล่าวปฏิญาณ ( لا إله إلا الله ) “ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ” ของเขานั้น
จะไม่ยังประโยชน์ใดๆ แก่เขาเลย ในการที่จะทำให้เขาเข้าสู่อิสลาม หรือ
ทำให้เขาปลอดภัยจากการลงโทษอันถาวรในวันอาคิเราะฮฺ อัลลอฮฺได้
ตรัสว่า

﴿ُق ْ ل مَنْ يَرْزُقُكُمْ مِنَ السَّمَاءِ وَالَْأرْضِ َأمَّنْ يَمْلِكُ
السَّمْعَ وَاْلَأبْصَارَ وَمَنْ يُخْرِجُ الْحَيَّ مِنَ اْلمَيتِ
وَيُخْرِجُ الْمَيتَ مِنَ الْحَ  ي وَمَنْ يُدَبرُ الَْأمْرَ
( َفسَيَقُوُلو َ ن اللَّهُ َفُق ْ ل َأَفلا تَتَُّقو َ ن﴾ (سورة يونس : 31
ความว่า : จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) ใครกันเล่าที่เป็นผู้ประทาน
ปัจจัยยังชีพที่มาจากฟากฟ้า และแผ่นดินแก่พวกท่าน ใครกันเล่าเป็น
เจ้าของการได้ยินและการมองเห็น และใครกันเล่าเป็นผู้ให้มีชีวิตหลังจาก
การตาย และเป็นผู้ให้ตายหลังจากมีชีวิตมา และใครกันเล่าเป็นผู้บริหาร
กิจการ แล้วพวกเขาจะกล่าวตอบกันว่า “คืออัลลอฮฺ” ดังนั้นจงกล่าวเถิด
ว่า แล้วพวกเจ้าจะไม่ยำเกรง(พระองค์)ดอกหรือ? [ยูนุส โองการที่ 31]
และพระองค์ได้ตรัสอีกว่า
﴿َأمَّنْ خََلقَ السَّمَاوَاتِ وَالَْأرْضَ وََأنْزَ َ ل َل ُ كمْ مِنَ
السَّمَاءِ مَاءً َفَأنْبَتْنَا بِهِ حَدَائِقَ ذَاتَبَهْجَةٍ مَا كَا َ ن
َل ُ كمْ َأ ْ ن تُنْبِتُوا شَجَرَهَا َأإَِلهٌ مَعَ اللَّهِ بَ ْ ل هُمْ قَوْمٌ
( يَعْدُِلو َ ن﴾ (سورة النمل: 60
ความว่า : หรือผู้ใดเล่าที่สร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และ
ทรงประทานน้ำจากฟากฟ้าแก่พวกเจ้า ซึ่งเราได้ให้สวนต่างๆ อันสวยงาม
งอกเงยขึ้นมา ซึ่งพวกเจ้า ก็ไม่สามารถที่จะทำให้ต้นไม้ของมันงอกเงย
ขึ้นมาได้ และจะมีพระเจ้าอื่นคู่เคียงกับอัลลอฮฺอีกหรือ หากแต่พวกเขา
เป็นกลุ่มชนที่(นำสิ่งอื่นมา)เทียบเท่า(อัลลอฮฺ)? [อัน-นัมลฺ โองการที่ 60]
และพระองค์ได้ตรัสอีกว่า

﴿وََلئِنْ سََألْتَهُمْ مَنْ خََلَقهُمْ َليَقُوُلنَّ اللَّهُ َفَأنَّى
( يُؤَْف ُ كو َ ن﴾ (سورة الزخرف: 87
ความว่า : และหากเจ้าถามพวกเขาว่า ใครเป็นผู้สร้างพวกเขา
พวกเขาก็จะกล่าวว่า “อัลลอฮฺ” แล้วด้วยเหตุอันใดพวกเขาจึงถูกหันเหไป
ทางอื่น? [อัซ-ซุครุฟฺ โองการที่ 87]
สอง : เงื่อนไขของการปฏิญาณ
การกล่าวคำปฏิญาณข้างต้นนี้ มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. การรู้ถึงความหมายของการปฏิญาณ ทั้งในแง่การปฏิเสธการ
เคารพสักการะสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ และในแง่การยืนยันถึงสิทธิที่จะ
ได้รับการเคารพสักการะของอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว ซึ่งการรู้ถึง
ความหมายของคำปฏิญาณนี้ตรงข้ามกับการไม่รู้
2. การเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่ โดยการกล่าวคำปฏิญาณด้วยความ
เชื่อมั่นอย่างเด็ดเดี่ยวแน่นอนในความหมายของมัน ซึ่งความเชื่อมั่นตรง
ข้ามกับความสงสัยเคลือบแคลง
3. การยอมรับในคำปฏิญาณ ซึ่งตรงข้ามกับคำปฏิเสธ หมายถึง
การยอมรับในทุกสิ่งที่คำปฏิญานได้บ่งชี้เอาไว้ ทั้งใจและวาจา โดยเชื่อใน
คำบอกเล่า ปฏิบัติตามคำสั่ง ออกห่างข้อห้าม และไม่ขัดกับตัวบท
หลักฐาน โดยการไม่ยอมรับหรือตีความเบี่ยงเบน ซึ่งการยอมรับนี้ตรง
ข้ามกับการปฏิเสธไม่ยอมรับ
4. การปฏิบัติตามสิ่งที่คำปฏิญาณได้ระบุเอาไว้ ทั้งโดยเปิดเผย
(โดยการปฏิบัติอย่างเปิดเผย และ/หรือ ในที่เปิดเผย) และซ่อนเร้นของ
จิตใจ ซึ่งตรงข้ามกับความไม่จริงใจ
5. ความสัตย์และความจริงใจ ซึ่งตรงข้ามกับการโกหกทั้งนี้โดย
การกล่าวคำปฏิญาณด้วยความสัตย์และจริงใจจากหัวใจ โดยที่จิตใจต้อง
สอดคล้องกับคำพูด และส่วนลึกต้องตรงกับพฤติกรรมที่แสดงออกมา
ส่วนผู้ที่กล่าวคำปฏิญาณด้วยลมปาก แต่ปฏิเสธในความหมาย
ของมันนั้น การกล่าวของเขาจะไม่ยังประโยชน์ใดๆแก่เขาเลย
เช่นเดียวกับพวกมุนาฟิก(พวกกลับกลอก สับปลับ) ที่พวกเขาจะพูดใน
สิ่งที่ตรงกันข้ามกับจิตใจของพวกเขา
6. ความบริสุทธิ์ใจในการปฏิบัติตนเพื่ออัลลอฮฺ ซึ่งตรงข้ามกับ
การภาคีต่อพระองค์ หมายถึงการทำให้การงานต่างๆนั้นปราศจากซึ่ง
สิ่งเจือปนที่เป็นการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ ทั้งนี้ด้วยการมีเจตนาที่ดีบริสุทธิ์
ใจเพื่อพระองค์ ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า
﴿وَمَا أُمِرُوا إِلَّا لِيَعْبُدُوا اللَّهَ مُخْلِصِينَ َلهُ ال  دينَ
( حُنَفَاءَ﴾ (سورة البينة : 5
ความว่า : และพวกเขามิได้ถูกบัญชาให้กระทำอื่นใดนอกจาก
เพื่อเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ ด้วยเจตนาบริสุทธิ์ในการภักดีต่อพระองค์
และอยู่ในแนวทางที่เที่ยงตรง [อัล-บัยยินะฮฺ โองการที่ 5]
7. การมีความรักความพอใจ ซึ่งตรงข้ามกับความโกรธเกลียด
และไม่พอใจ โดยต้องมีความรักต่อคำปฏิญาณ และรักต่อสิ่งที่คำ
ปฏิญาณได้บ่งชี้และระบุเอาไว้ รักในผู้ที่ยึดมั่นในเงื่อนไขของคำปฏิญาณ
นี้ และต้องเกลียดชังต่อสิ่งที่ตรงข้ามกับสิ่งดังกล่าวนี้
ซึ่งเครื่องหมายที่จะบ่งชี้ถึงสิ่งดังกล่าวก็คือ การทำให้สิ่งที่อัลลอฮฺ
ทรงรักนั้นอยู่เหนือสิ่งอื่นทั้งปวง ถึงแม้ว่าจะค้านกับความรู้สึกของตัวเอง
และจะต้องไม่พอใจในสิ่งที่อัลลอฮฺไม่พอใจ แม้ว่าความรู้สึกของตนเอง
จะเอนเอียงไปสู่สิ่งนั้นก็ตาม พร้อมทั้งต้องให้การสนับสนุนต่อผู้ที่
สนับสนุนช่วยเหลืออัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ และต้องต่อต้านผู้ที่
ต่อต้านอัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์
ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿َقدْ َ كانَتْ َل ُ كمْ ُأسْوَةٌ حَسَنَةٌ فِي إِبْرَاهِيمَ وَالَّذِينَ
مَعَهُ إِ ْ ذ َقاُلوا لَِقوْمِهِمْ إِنَّا بُرَآءُ مِنْ ُ كمْ وَمِمَّا تَعْبُدُو َ ن
مِنْ دُونِ اللَّهِ َ كَفرْنَا بِ ُ كمْ وَبَدَا بَيْنَنَا وَبَيْنَكُمُ اْلعَدَاوَُة
وَاْلبَغْضَاءُ َأبَدًا حَتَّى تُؤْمِنُوا بِاللَّهِ وَحْدَهُ﴾
( (سورة الممتحنة: 4
ความว่า : แน่นอนได้มีแบบอย่างอันดีงามสำหรับพวกเจ้าแล้ว
จากศาสนทูตอิบรอฮีม(อับราฮัม)และบรรดา(ผู้ศรัทธา)ที่อยู่ร่วมกับเขา
เมื่อพวกเขากล่าวแก่กลุ่มชนของพวกเขาว่า “แท้จริงพวกเราขอปลีกตัว
จากพวกท่านและจากสิ่งที่พวกท่านเคารพสักการะนอกจากอัลลอฮฺ เรา
ขอปฏิเสธ(ศาสนาของ)พวกท่านและการเป็นปฎิปักษ์และความเกลียดชัง
ระหว่างพวกเรากับพวกท่านได้ปรากฎขึ้นแล้ว (และจะคงอยู่)ตลอดไป
จนกว่าพวกท่านจะศรัทธาต่ออัลลอฮฺพระองค์เดียว” [อัล-มุมตะหะนะฮฺ
โองการที่ 4]
และพระองค์ได้ตรัสอีกว่า
﴿وَمِنَ النَّاسِ مَنْ يَتَّخِذُ مِنْ دُونِ اللَّهِ َأنْدَادًا
يُحِبونَهُمْ كَحُ  ب اللَّهِ وَالَّذِينَ آمَنُوا َأشَ  د حُبًّا لِلَّهِ﴾
( (سورة البقرة: 165
ความว่า : และในหมู่มนุษย์นั้นมีผู้ยึดถือบรรดาภาคีอื่น
จากอัลลอฮฺ ซึ่งพวกเขารักภาคีเหล่านั้นเช่นเดียวกับที่รักอัลลอฮฺ แต่
บรรดาผู้ศรัทธานั้นเป็นผู้ที่รักอัลลอฮฺมากยิ่งกว่า [อัล-บะเกาะเราะฮฺ
โองการที่ 165]
ใครก็ตามที่กล่าว ( لا إله إلا الله ) “ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ” ด้วย
ความบริสุทธิ์ใจและมั่นใจอย่างแน่วแน่ ไร้ซึ่งการชิริก (ตั้งภาคี)
ปราศจากบิดอะฮฺ (อุตริกรรม) และการฝ่าฝืนแล้ว แน่นอนเขาย่อมได้รับ
ทางนำให้รอดพ้นจากความหลงผิดในโลกนี้ และได้รับความปลอดภัย
จากการลงโทษในนรก
ดังนั้นจึงจำเป็นสำหรับทุกคนที่จะต้องปฏิบัติเงื่อนไขดังกล่าว
อย่างครบถ้วน หมายความว่า เงื่อนไขดังกล่าวต้องรวมอยู่ในตัวของคน
คนนั้นและเขาจะต้องยึดมันไว้ให้มั่น แต่ไม่ได้หมายความว่าเพียงแค่การ
ท่องจำมันอย่างเดียวเท่านั้น
คำปฏิญาณว่า ( لا إله إلا الله ) “ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ” นี้ คือการ
ศรัทธาในเอกภาพของอัลลอฮฺในความเป็นพระเจ้าผู้คู่ควรแก่การเคารพ
สักการะโดยถือได้ว่าเป็น เตาฮีด(การศรัทธาในเอกภาพของอัลลลอฮฺ) ที่
สำคัญที่สุด ซึ่งความขัดแย้งระหว่างบรรดาศาสนทูตของอัลลอฮฺกับ
ประชาชาติของแต่ละท่านนั้น มักจะดำเนินอยู่ตรงการศรัทธาในเอกภาพ
ของอัลลลอฮฺทุกรูปแบบ และด้วยเหตุนี้เองอัลลอฮฺจึงส่งศาสนทูตต่างๆ
ลงมา ดังที่พระองค์ได้ตรัสว่า
﴿وََلَقدْ بَعَْثنَا فِي كُلِّ أُمَّةٍ رَسُو ً لا َأنِ اعْبُدُوا اللَّهَ
( وَاجْتَنِبُوا الطَّا ُ غوتَ﴾ (سورة النحل: 36
ความว่า : และแน่นอนเราได้ส่งรอซูล(ศาสนทูต)มาในทุกๆ
ประชาชาติ (โดยมีบัญชาว่า) “พวกท่านจงเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ และจง
หลีกห่างจากสิ่งที่ถูกสักการะต่างๆ” [อัน-นะฮฺลิ โองการที่ 36]
และพระองค์ได้ตรัสว่า
﴿وَمَا َأرْسَْلنَا مِنْ َقبْلِكَ مِنْ رَسُولٍ إِلَّا نُوحِي إَِليْهِ
( َأنَّهُ لا إَِلهَ إِلَّا َأنَا َفاعْبُدُونِ﴾ (سورة الأنبياء: 25
ความว่า : และเรามิได้ส่งรอซูลคนใดมาก่อนหน้าเจ้า(มุหัมมัด)
นอกจากเราจะได้บัญชาแก่เขาว่า “แท้จริงไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่เที่ยงแท้
นอกจากข้า ดังนั้นพวกเจ้าจงเคารพภักดีต่อข้าเถิด” [ อัล- อันบิยาอฺ
โองการที่ 25]
ดังนั้นเมื่อเอ่ยถึงคำว่า เตาฮีด ก็จะหมายถึง การศรัทธาใน
เอกภาพของอัลลลอฮฺ
เตาฮีด อุลูฮิยะฮฺ
ความหมายของ ( توحيد الألوهية ) “เตาฮีด อุลูฮิยะฮฺ” หรือการ
ศรัทธาในเอกภาพของอัลลลอฮฺในฐานะผู้เป็นพระเจ้าผู้คู่ควรแก่การถูก
เคารพสักการะ
หมายถึง การยอมรับว่าอัลอฮฺคือพระเจ้าผู้คู่ควรแก่การเคารพ
สักการะโดยแท้จริงเหนือสิ่งอื่นใดทั้งมวล และให้การเอกสิทธิ์ในการ
สักการะพระองค์เพียงพระองค์เดียว ไม่มีภาคีใดๆต่อพระองค์ ซึ่งการ
ศรัทธาในเอกภาพของพระองค์ประเภทนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกัน
ดังต่อไปนี้
1. توحيد الإلهية أو توحيد الألوهية ) ) “เตาฮีด อัล-อิลาฮิยะฮฺ”
หรือ “เตาฮีด อัล-อุลูฮิยะฮฺ” ที่มีชื่อเช่นนี้เพราะเกิดมาจากความรักอัน
บริสุทธิ์ในอัลลอฮฺนั่นเอง
توحيد العبودية أو توحيد العبادة ) . 2 ) “เตาฮีด อัล-อุบูดิยะฮฺ”
หรือ “เตาฮีด อิบาดะฮฺ” ทั้งนี้เพราะการศรัทธาในเอกภาพชนิดนี้ตั้งอยู่บน
หลักแห่งความบริสุทธิ์ใจ ในการสักการะต่ออัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว
توحيد الإرادة ) . 3 ) “เตาฮีด อัล-อิรอดะฮฺ” หรือทั้งนี้เพราะตั้งอยู่
บนหลักแห่งความตั้งใจในการปฏิบัติสิ่งต่างๆเพื่ออัลลอฮฺเพียงพระองค์
เดียว
توحيد الق صد) . 4 ) “เตาฮีด อัล-ก็อซฺด์” ทั้งนี้เพราะตั้งอยู่บน
หลักการทำเจตนาให้บริสุทธิ์ อันจะยังผลให้เกิดความบริสุทธิ์ใจในการ
กระทำเพื่ออัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว
توحيد الطلب ) . 5 ) “เตาฮีด อัต-เฏาะลับ” ทั้งนี้เพราะตั้งอยู่บน
หลักความบริสุทธิ์ใจในการวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว
توحيد العمل ) . 6 ) “เตาฮีด อัล-อะมัล” ทั้งนี้เพราะตั้งอยู่บนหลัก
แห่งความบริสุทธิ์ใจในการปฏิบัติศาสนกิจต่างๆเพื่ออัลลอฮฺเพียง
พระองค์เดียว
บัญญัติการศรัทธาในเอกภาพของอัลลลอฮฺด้านอุลูฮิยะฮฺ
การศรัทธาในเอกภาพของอัลลลอฮฺในความเป็นพระเจ้าผู้คู่ควร
แก่การเคารพสักการะนั้นเป็นฟัรฎู(หน้าที่จำเป็น)แก่มนุษย์ทุกคน
บุคคลหนึ่งจะยังไม่เข้าสู่อิสลามได้ นอกจากว่าเขาจะต้องมี
เตาฮีดชนิดนี้เสียก่อน และเขาจะไม่รอดพ้นจากไฟนรกได้ นอกจาก
จะต้องเชื่อมั่นและปฏิบัติตามข้อบ่งชี้ของเตาฮีดนี้ทุกประการ
ซึ่งถือได้ว่าเป็นหน้าที่จำเป็นอันดับแรกที่บุคคลหนึ่งต้องเชื่อมั่น
และปฏิบัติ และจะต้องเป็นสิ่งแรกในการเรียกร้องเชิญชวนสู่อิสลาม ซึ่ง
คำสั่งใช้ของอัลลอฮฺที่ปรากฎอยู่ในอัลกุรอานและหะดีษฺย่อมบ่งชี้ถึง
ความจำเป็นได้เป็นอย่างดีเพราะอัลลอฮฺนั้นทรงสร้างสิ่งต่างๆและ
ประทานคัมภีร์ลงมาก็เพื่อการนี้นั่นเอง
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿ُق ْ ل إِنَّمَا أُمِرْتُ َأ ْ ن َأعْبُدَ اللَّهَ وَلا أُشْرِكَ بِهِ، إَِليْهِ
( َأدْعُو وَإَِليْهِ مَآبِ﴾ (سورة الرعد: 36
ความว่า : จงกล่าวเถิด(โอ้มุหัมมัด)ว่า แท้จริงฉันถูกบัญชาให้
เคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ และจะไม่ตั้งภาคีเทียบเคียงพระองค์และสู่
พระองค์ที่ฉันจะเชิญชวน และสู่พระองค์เท่านั้นคือการกลับไปของฉัน
[อัร-เราะอฺด์ โองการที่ 36]
และพระองค์ได้ตรัสอีกว่า
﴿وَمَا خََلقْتُ الْجِنَّ وَالْأِنْسَ إِلَّا لِيَعْبُدُونِ﴾
( (سورة الذاريات: 56
ความว่า : และข้า(อัลลอฮฺ)มิได้สร้างญินและมนุษย์เพื่อกิจอื่นใด
เว้นแต่เพื่อพวกเขาจะเคารพภักดีต่อข้า [อัซ-ซาริยาต โองการที่ 56]
และดังที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวกับ
ท่านมุอาซฺ เมื่อครั้งที่ท่านได้ส่งท่านมุอาซฺไปเมืองเยเมนว่า มีความว่า “(โอ้
มุอาซฺ) เจ้าจะต้องไปยังกลุ่มชนหนึ่งที่เป็นอะฮฺลุลกิตาบ(บรรดาผู้ได้รับ
การประทานคัมภีร์ชาวยิวหรือคริสเตียน) สิ่งแรกที่ท่านจะต้องเชิญชวน
พวกเขา คือการปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ ซึ่งหาก
พวกเขาเชื่อฟังเจ้าในสิ่งดังกล่าว เจ้าก็จงสอนแก่พวกเขาว่าอัลลอฮฺได้ทรง
กำหนดการละหมาดห้าเวลาในหนึ่งวันและหนึ่งคืนให้เป็นหน้าที่สำหรับ
พวกเขา และหากว่าพวกเขาเชื่อฟังเจ้า ก็จงบอกพวกเขาอีกว่า อัลลอฮฺได้
ทรงกำหนดให้เป็นหน้าที่สำหรับพวกเขาซึ่งการบริจาค ซึ่งจัดเก็บจากผู้มี
ฐานะและแจกจ่ายคืนกลับไปให้กับผู้ขัดสนในหมู่พวกเขา” (รายงานโดย
อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
เตาฮีดชนิดนี้ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ดีที่สุดและเป็นการกระทำ
ที่สำคัญที่สุดในการลบล้างความผิด ดังที่ท่านอัล-อัล-อัล-บุคอรีย์ย์และ
ท่านมุสลิมได้บันทึกวจนะของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม
ตามรายงานของท่านอิตบานมีความว่า “อัลลอฮฺทรงทำให้ผู้ที่กล่าว
ปฏิญาณว่า ( لا إله إلا الله ) “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ” โดย
หวัง(เจตนา)ในการกระทำดังกล่าวเพื่ออัลลอฮฺนั้น ให้เขาเป็นที่ต้องห้าม
จากไฟนรก”
ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของบรรดาศาสนทูตต่อคำปฏิญาณนี้
บรรดารอซูล(ศาสนทูต)ทั้งหมดนั้นมีความเป็นอันหนึ่งอัน
เดียวกันในการเรียกร้องเชิญชวนกลุ่มชนของพวกเขาสู่การปฏิญาณว่าไม่
มีพระเจ้าอื่นใดที่คู่ควรแก่การสักการะโดยแท้จริงนอกจากอัลลอฮฺ และ
ในการสำทับกลุ่มชนเหล่านั้นให้มีความเกรงกลัวต่อการปฏิเสธคำ
ปฏิญาณอันนี้ ซึ่งอัลกุรอานได้ระบุเอาไว้ในหลายจุดด้วยกัน
ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿وَمَا َأرْسَْلنَا مِنْ َقبْلِكَ مِنْ رَسُولٍ إِلَّا نُوحِي إَِليْهِ
( َأنَّهُ لا إَِلهَ إِلَّا َأنَا َفاعْبُدُونِ﴾ (سورة الأنبياء: 25
ความว่า : และเรามิได้ส่งรอซูลคนใดมาก่อนเจ้า(มุหัมมัด)
นอกจากเราได้บัญชาแก่เขาว่า แท้จริงไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่เที่ยงแท้
นอกจากข้า ดังนั้นพวกเจ้าจงเคารพภักดีต่อข้าเถิด [อัล-อันบิยาอฺ
โองการที่ 25]
และท่านรอซูลมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมยังได้
ยกตัวอย่างเปรียบเทียบความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของบรรดา
ศาสนทูตทั้งหลายในการเรียกร้องเชิญชวนสู่คำปฏิญาณนี้ โดยท่านได้
กล่าวไว้ซึ่งมีความว่า “นบีทั้งหลายนั้นเป็นพี่น้องกัน พ่อเดียวต่างแม่ แม่
ของพวกเขานั้นต่างกัน แต่ศาสนานั้นเป็นหนึ่งเดียว” ทั้งนี้เพราะแก่นหลัก
ของศาสนาที่บรรดานบีทั้งหลายนำมานั้นมีเพียงหนึ่งเดียว คือ การเตาฮีด
ต่ออัลลอฮฺ ถึงแม้ว่ารายละเอียดในข้อบัญญัติจะต่างกันก็ตาม ซึ่งก็
เหมือนกับลูกต่างแม่กันที่มีพ่อคนเดียวกัน
สาม : ความหมายของการปฏิญาณว่า “มุหัมมัดเป็นรอซูลของอัลลอฮฺ”
1. ความหมายของการปฏิญาณว่า “มุหัมมัดคือรอซูล(ศาสนทูต)
ของอัลลอฮฺ” นั้น คือการเชื่อฟังท่านในสิ่งที่ท่านสั่งใช้เชื่อมั่นในสิ่งที่ท่าน
บอก ออกห่างจากสิ่งที่ท่านห้ามปรามและสำทับไว้ และจะต้องไม่ปฏิบัติ
ศาสนกิจใดๆ นอกจากในสิ่งที่ท่านได้บัญญัติเอาไว้เป็นแบบอย่าง
2. การเข้าถึงความหมายของการปฏิญาณว่า “มุหัมมัดเป็นรอซูล
ของอัลลอฮฺ” นั่นคือการปฏิญาณดังกล่าวจะเป็นรูปธรรมขึ้นมาได้ก็โดย
การศรัทธาและเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่ที่สุดว่า มุหัมมัดนั้นคือบ่าวและ
ศาสนทูตที่อัลลอฮฺทรงส่งมายังมนุษย์และญินทั้งมวล
ท่านเป็นนบีและรอซูลคนสุดท้าย ท่านเป็นบ่าวที่ใกล้ชิดกับ
อัลลอฮฺมากที่สุด แต่ในตัวท่านนั้นไม่มีคุณสมบัติแห่งความเป็นเจ้าใดๆ
พร้อมทั้งต้องปฏิบัติตามและให้ความสำคัญต่อคำสั่งและข้อห้ามรวมถึง
การยึดมั่นในแบบอย่างของท่าน ทั้งในการกระทำ การพูด หรือความเชื่อ
ก็ตาม ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿ُق ْ ل يَا َأيهَا النَّاسُ إِني رَسُو ُ ل اللَّهِ إَِليْ ُ كمْ جَمِيعًا﴾
( (سورة الأعراف: 158
ความว่า : จงกล่าวเถิด(มุหัมมัด)ว่า โอ้มนุษย์ทั้งหลายแท้จริงฉัน
คือรอซูลของอัลลอฮฺมายังพวกท่านทั้งมวล [อัล-อะอฺรอฟฺ โองการที่ 158]
และพระองค์ได้ตรัสอีกว่า
﴿وَمَا َأرْسَلْنَاكَ إِلَّا كَافًَّة لِلنَّاسِ بَشِيرًا وَنَذِيرًا﴾
( (سورة سبأ: 28
ความว่า : และเรามิได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใด เว้นแต่เป็นผู้แจ้งข่าวดี
และเป็นผู้ตักเตือนแก่มนุษย์ทั้งหลาย [สะบะอฺ โองการที่ 28]

และพระองค์ได้ตรัสอีกว่า
﴿مَا كَا َ ن مُحَمَّدٌ َأبَا َأحَدٍ مِنْ رِجَالِ ُ كمْ وََلكِنْ رَسُو َ ل
( اللَّهِ وَخَاتَمَ النَّبِيينَ﴾ (سورة الأحزاب: 40
ความว่า : มุหัมมัดมิได้เป็นบิดาของผู้ใดในหมู่บุรุษของพวกเจ้า
แต่เป็นรอซูลของอัลลอฮฺและเป็นคนสุดท้ายแห่งบรรดานบีของอัลลอฮฺ
[อัล-อะฮฺซาบ โองการที่ 40]
และพระองค์ยังได้ตรัสอีกว่า
﴿ُق ْ ل سُبْحَا َ ن رَبي هَ ْ ل ُ كنْتُ إِلَّا بَشَرًا رَسُو ً لا﴾
( (سورة الإسراء: 93
ความว่า : จงกล่าวเถิด (โอ้มุหัมมัด) มหาบริสุทธิ์แห่งพระผู้
อภิบาลของฉัน ฉันมิได้เป็นอื่นใด นอกจากมนุษย์ผู้เป็นรอซูล(ศาสนทูต)
เท่านั้น [อัล-อิสรออฺ โองการที่ 93]
การปฏิญาณดังกล่าวนี้ ประมวลไว้หลายประเด็นด้วยกันคือ
1. การเชื่อมั่นยอมรับด้วยส่วนลึกของหัวใจในการเป็นรอซูลของ
ท่าน
2. การกล่าวยืนยันและยอมรับด้วยคำพูดอย่างเปิดเผยในความ
เป็นรอซูลของท่าน
3. การปฏิบัติตามท่านโดยการปฏิบัติตามสัจธรรมที่ท่านนำมา
และละเว้นความไม่ถูกต้องที่ท่านได้ห้ามไว้
ดังที่อัลลอฮฺได้ได้ตรัสไว้ว่า

﴿ َفآمِنُوا بِاللَّهِ وَرَسُولِهِ النَّبِ  ي الْأُ م  ي الَّذِي يُؤْمِنُ بِاللَّهِ
( وَ َ كلِمَاتِهِ وَاتَّبِعُوهُ َلعَلَّكُمْ تَهْتَدُو َ ن﴾ (سورة الأعراف: 158
ความว่า : ดังนั้นพวกท่านทั้งหลายจงศรัทธาต่ออัลลอฮฺและ
รอซูลของพระองค์ ผู้เป็นนบีที่เขียนและอ่านไม่ได้ ซึ่งเขาได้ศรัทธา
ต่ออัลลอฮฺและคำดำรัสทั้งหลายของพระองค์ และพวกเจ้าจงปฏิบัติตาม
เขาเถิด เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับการชี้นำ [อัล- อะอฺรอฟ โองการที่ 158]
4. การเชื่อมั่นในทุกสิ่งที่ท่านบอกไว้ว่าเป็นความจริง
5. การมีความรักต่อท่านมากกว่ารักตนเอง ทรัพย์สิน ลูกหลาน
พ่อแม่ หรือมนุษย์ทั้งมวล เพราะว่าท่านคือศาสนทูตของอัลลอฮฺ การรัก
ท่านก็เป็นส่วนหนึ่งของการรักอัลลอฮฺและการรักเพื่ออัลลอฮฺ
ดังนั้นความหมายที่แท้จริงของการรักอัลลอฮฺคือ การปฏิบัติตาม
ท่านโดยการเชื่อฟังคำสั่ง และออกห่างข้อห้ามของท่าน รวมทั้งการ
ช่วยเหลือและสนับสนุนท่าน ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿ُق ْ ل إِ ْ ن ُ كنْتُمْ تُحِبو َ ن اللَّهَ َفاتَّبِعُونِي يُحْبِبْ ُ كمُ اللَّهُ
( وَيَغْفِرْ َل ُ كمْ ُ ذنُوبَ ُ كمْ﴾ (سورة آل عمران: 31
ความว่า : จงกล่าวเถิด(มุหัมมัด)หากพวกท่านรักอัลลอฮฺก็จง
ปฏิบัติตามฉัน แล้วอัลลอฮฺก็จะทรงรักพวกท่าน และจะทรงอภัยให้แก่
พวกท่านซึ่งความผิดทั้งหลายของพวกท่าน [ อาล อิมรอน โองการที่ 31]
และท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็ได้กล่าวไว้
ความว่า “คนหนึ่งในพวกท่านจะยังไม่มีศรัทธาอย่างสมบูรณ์จนกว่า ฉัน
จะเป็นที่รักของเขายิ่งกว่าพ่อของเขา ลูกของเขา และมนุษย์ทั้งหมด”
(รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿َفالَّذِينَ آمَنُوا بِهِ وَعَزَّرُوهُ وَنَصَرُوهُ وَاتَّبَعُوا النورَ
الَّذِي أُنْزِ َ ل مَعَهُ ُأوَلئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُو َ ن﴾
( (سورة الأعراف: 157
ความว่า : ดังนั้นบรรดาผู้ที่ศรัทธาต่อเขา และให้ความสำคัญแก่
เขา และช่วยเหลือเขา และปฏิบัติตามแสงสว่างที่ถูกประทานลงมาแก่เขา
แล้วไซร้ ชนเหล่านี้แหละคือบรรดาผู้ที่ประสบความสำเร็จ [อัล-อะอฺรอฟ
โองการที่ 157]
6. การเชื่อมั่นว่า แบบฉบับของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม นั้นคือที่มาของหลักการอิสลาม มีฐานะเทียบเท่าอัลกุรอาน ซึ่ง
ไม่อาจคัดค้านโต้แย้งได้ด้วยเหตุผลทางสติปัญญาและความคิด
7. การเอาแบบฉบับของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม มาปฏิบัติและการยอมรับให้คำพูดของท่านอยู่เหนือคำพูดของ
บุคคลอื่นทั้งมวล ซึ่งรวมถึงการยอมรับพอใจและให้ข้อบัญญัติของท่าน
เป็นเครื่องตัดสินโดยเด็ดขาด ดังที่อัลลอฮฺ ได้ตรัสว่า
﴿َفلا وَرَبكَ لا يُؤْمِنُو َ ن حَتَّى يُحَكِّمُوكَ فِيمَا شَجَرَ
بَيْنَهُمْ ُثمَّ لا يَجِدُوا فِي َأنْفُسِهِمْ حَرَجًا مِمَّا َقضَيْتَ
( وَيُسَلِّمُوا تَسْلِيمًا﴾ (سورة النساء: 65

ความว่า : ขอสาบานด้วยพระเจ้าของเจ้าว่า เขาเหล่านั้นจะยังไม่
ศรัทธาจนกว่าพวกเขาจะให้เจ้าตัดสินในสิ่งที่ขัดแย้งกันระหว่างพวกเขา
และพวกเขาก็ไม่รู้สึกถึงความคับใจใดๆในจิตใจของพวกเขาต่อสิ่งที่เจ้า
ได้ตัดสินไป และพวกเขาก็ยอมรับและจำนนโดยดี [ อัน-นิสาอฺ โองการ
ที่ 65]
สี่ : คุณค่าและความประเสริฐของคำปฏิญาณทั้งสองนี้
คำปฏิญาณทั้งสองนี้มีคุณค่าและความประเสริฐอย่างยิ่ง ดังที่
อัลกุรอานและหะดีษฺได้ระบุเอาไว้ดังต่อไปนี้.
1. คำปฏิญาณทั้งสองนี้เป็นหลักการแรกของอิสลาม เป็นพื้นฐาน
และต้นตอของศาสนา เป็นสิ่งแรกที่บุคคลหนึ่งจะเข้าสู่อิสลามได้
2. การมีเตาฮีดต่ออัลลอฮฺและยึดเอาแบบฉบับของท่านรอซูล
ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม มาเป็นมาตรฐานในการตัดสินจะเกิดขึ้น
ได้ก็โดยการทำให้การปฏิญาณทั้งสองนี้เป็นรูปธรรม
3. คำปฏิญาณทั้งสองนี้นำไปสู่ความปลอดภัยในชีวิตและ
ทรัพย์สิน เพราะผู้ใดก็ตามที่กล่าวคำปฏิญาณทั้งสองนี้ มันก็จะเป็น
สาเหตุให้ชีวิตและทรัพย์สินของเขาปลอดภัย (หมายความว่า)อิสลามได้
ให้ความคุ้มครองแก่ชีวิตและทรัพย์สินของมุสลิมอย่างเสมอภาค
4. การกล่าว لا إله إلا الله ) ) “ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ” เป็นการ
ปฏิบัติในสิ่งที่ดีและเป็นเหตุสำคัญในการลบล้างความผิด ทั้งยังเป็นเหตุ
ให้ตาชั่งแห่งความดีในวันกิยามะฮฺนั้นมีน้ำหนักมากขึ้นอีก และเป็น
สาเหตุในการเข้าสวรรค์และปลอดภัยจากไฟนรก โดยหากนำเอาชั้นฟ้า

และแผ่นดินทั้งหมดมาวางในตาชั่งข้างหนึ่งและนำ لا إله إلا الله ) ) มาวาง
ในตาชั่งอีกข้างหนึ่ง คำว่า ( لا إله إلا الله ) นั้นย่อมหนักกว่าแน่นอน
ท่านอิมามมุสลิมได้รายงานจากท่านอุบาดะฮฺซึ่งได้อ้างถึงท่านรอซูล
ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมว่า ท่านได้กล่าวไว้ความว่า “ผู้ใดปฏิญาณ
ว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺและมุหัมมัดเป็นบ่าวและศาสนทูต
ของพระองค์ อัลลอฮฺจะทรงทำให้นรกเป็นที่ต้องห้ามแก่เขา”
5. คำปฏิญาณประกอบไปด้วยการรำลึก วิงวอน และสรรเสริญ
ต่ออัลลอฮฺ ประมวลไว้ซึ่งการวิงวอนร้องเรียกและวิงวอนขอ ซึ่งถือได้ว่า
เป็นการรำลึกที่มากความหมายและมีผลตอบแทนมากที่สุด เป็นคำพูดที่
ดียิ่ง เป็นสายสัมพันธ์อันเหนียวแน่น เป็นคำพูดแห่งความบริสุทธิ์ใจ
และด้วยเหตุแห่งคำนี้เอง สิ่งต่างๆจึงถูกสร้าง ศาสนทูตจึงถูกส่งมา และ
คัมภีร์จึงถูกประทานลงมา
ฉะนั้นใครก็ตามที่กล่าวและปฏิบัติตามข้อบ่งชี้ของคำปฏิญาณนี้
ด้วยความจริงใจ บริสุทธิ์ใจ ยอมรับและมีความรักต่อคำปฏิญาณนี้แล้ว
อัลลอฮฺก็จะทรงให้เขาได้เข้าสวรรค์ตามผลแห่งการปฏิบัติของเขา