Saturday, September 26, 2009

หลักการอิสลามข้อที่สาม


หลักการอิสลามข้อที่สาม
ซะกาต

หนึ่ง : คำนิยามของซะกาต
ความหมายตามรากศัพท์ทางภาษาอาหรับ
หมายถึง การงอกเงย หรือการเพิ่มพูน และยังได้ใช้คำว่า ซะกาต
ในการยกย่องสรรเสริญ การชำระล้างทำความสะอาด หรือการปรับปรุง
แก้ไข
ทั้งนี้ได้เรียกอัตราที่จ่ายซะกาตว่า “ซะกาต” นั้น ก็เพราะส่วน
ดังกล่าวจะเพิ่มพูนความสิริมงคลแก่ทรัพย์สินที่อยู่ภายใต้การ
ครอบครอง และเป็นการชำระเจ้าของทรัพย์ด้วยการอภัยโทษจากอัลลอฮฺ
ความหมายทางศาสนบัญญัติ
หมายถึง ส่วนที่ถูกกำหนดไว้(วาญิบ)บนทรัพท์สินที่ถูกเจาะจง
ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ในช่วงระยะเวลาที่ถูกกำหนด
สอง : ความสำคัญและเหตุผลในการจ่ายซะกาต
ซะกาต คือหลักปฏิบัติ (รุก่น) ประการหนึ่งจากรุก่นอิสลามทั้งห้า
ซึ่งอัลลอฮฺได้ทรงระบุซะกาตพร้อมกับการกล่าวถึง การละหมาดใน
ขณะเดียวกันในหลายๆโองการของอัลกุรอาน เช่นพระดำรัสของพระองค์
ที่ว่า
( ﴿وََأقِيمُوا الصَّلاَة وَآتُوا الزَّكَاَة﴾ (سورة البقرة: 43

ความว่า : และพวกเจ้าจงยืนหยัดการละหมาดและจงจ่ายซะกาต
[อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 43]
และพระดำรัสของพระองค์ที่ว่า
( ﴿وَيُقِيمُوا الصَّلاَة وَيُؤْتُوا الزَّكَاَة﴾ (سورة البينة: 5
ความว่า : และ(พวกเจ้า)จงยืนหยัดการละหมาด และจงจ่าย
ซะกาต [อัล-บัยยินะฮฺ โองการที่ 5]
และท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวไว้ตาม
รายงานของท่านอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ความว่า “อิสลามได้
ถูกยืนหยัดบนหลักห้าประการ (โดยได้ระบุหนึ่งในจำนวนนั้นว่า) การจ่าย
ซะกาต” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
อัลลอฮฺได้ทรงบัญญัติซะกาตขึ้น เพื่อเป็นการขัดเกลาจิตใจ
มนุษย์จากความโลภ ตระหนี่ถี่เหนียว พร้อมทั้งเป็นการอนุเคราะห์บุคคล
ที่ขัดสนและยากไร้
ในขณะเดียวกันยังเป็นการชำระล้างทรัพย์สินให้หมดจากบาป
และเป็นการเพิ่มพูนทรัพย์สินให้มีความจำเริญและสิริมงคลห่างจาก
ความหายนะ ตลอดจนเป็นการสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความผาสุขและ
ปรีดา ในการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม
พระองค์ได้ตรัสว่า
﴿خُ ْ ذ مِنْ َأمْوَالِهِمْ صَدََقًة تُ َ ط  هرُهُمْ وَتُزَكِّيهِمْ بِهَا﴾
( (سورة التوبة: 103

ความว่า : ท่านจงเอาส่วนหนึ่งจากทรัพย์สมบัติของพวกเขาเป็น
ทาน เพื่อทำให้พวกเขาบริสุทธิ์ และล้างมลทินของพวกเขาด้วยส่วนที่เป็น
ทานนั้น [อัต-เตาบะฮฺ โองการที่ 103]
สาม : ข้อตัดสิน(หุก่ม)ของการจ่ายซะกาต
การจ่ายซะกาต คือข้อบังคับหรือฟัรฎู ซึ่งมุสลิมทุกคนที่มี
ทรัพย์สินครบตามจำนวนที่ศาสนากำหนด จะต้องจ่ายซะกาตตามเงื่อนไข
ที่ศาสนากำหนด ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินของผู้เยาว์ หรือคนบ้า โดย
ผู้ปกครองของผู้เยาว์และคนบ้าจะเป็นผู้จัดการในการจ่ายซะกาตแทน
บุคคลประเภทนี้ และผู้ใดปฏิเสธซะกาตโดยเจตนาแล้วเขาผู้นั้นถูก
จัดเป็นผู้ปฏิเสธ(กาฟิรฺ)สิ้นสุดการเป็นมุสลิมในทันที
แต่ถ้าหากเขาปฏิเสธซะกาตด้วยความตระหนี่ถี่เหนียวแล้ว เขาผู้
นั้นถูกจัดให้เป็นผู้ที่ทำบาปใหญ่ชนิดหนึ่ง ซึ่งหากเขาเสียชีวิตในขณะนั้น
ชะตากรรมของเขาจะถูกกำหนดโดยพระประสงค์ของอัลลอฮฺระหว่างเข้า
สวรรค์หรือลงนรก และจะต้องถูกประจานให้ผู้อื่นได้รับทราบถึง
พฤติกรรมของเขา ดังพระดำรัสของพระองค์ที่ว่า
﴿إِنَّ اللَّهَ لا يَغْفِرُ َأ ْ ن يُشْرَكَ بِهِ وَيَغْفِرُ مَا دُو َ ن َ ذلِكَ
( لِمَنْ يَشَاءُ﴾ (سورة النساء: 48
ความว่า : แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงอภัยโทษ แก่ผู้ที่ตั้งภาคีกับ
พระองค์โดยเด็ดขาด และพระองค์จะทรงอภัยโทษในบาปอื่นต่อผู้ที่
พระองค์ทรงประสงค์ [อัน-นิสาอฺ โองการที่ 48]
บุคคลที่ปฏิเสธการออกซะกาตนั้น อัลลอฮฺได้ทรงกำหนด
บทลงโทษแก่เขาไว้แล้ว ดังพระดำรัสของพระองค์ที่ว่า
﴿وَالَّذِينَ يَكْنِزُو َ ن الذَّهَبَ وَالْفِضََّة وَلا يُنْفُِقونَهَا فِي
سَبِيلِ اللَّهِ َفبَ  شرْهُمْ بِعَذَابٍ َألِيمٍ. يَوْمَ يُحْمَى عََليْهَا
فِي نَارِ جَهَنَّمَ َفتُ ْ كوَى بِهَا جِبَاهُهُمْ وَجُنُوبُهُمْ
وَظُهُورُهُمْ هَ َ ذا مَا َ كنَزْتُمْ لأنْفُسِكُمْ َف ُ ذوُقوا مَا ُ كنْتُمْ
(35- تَكْنِزُو َ ن﴾ (سورة التوبة،: 34
ความว่า : และบรรดาผู้สะสมทองคำและเงิน โดยไม่ยอมจ่ายไป
ในวิถีทางของอัลลอฮฺ จงแจ้งข่าวดีแก่พวกเขาเถิดถึงการลงโทษอัน
เจ็บปวด(เป็นสำ นวนเย้ยหยัน) ในวันที่มันจะถูกนำ มาเผาในไฟ
นรกญะฮันนัม แล้วนำมันไปนาบหน้าผาก สีข้าง และหลังของพวกเขา นี่
คือสิ่งที่พวกเจ้าสะสมไว้ เพื่อตัวของพวกเจ้าเอง ดังนั้นพวกเจ้าจงลิ้มรส
สิ่งที่พวกเจ้าได้สะสมไว้เถิด [อัต-เตาบะฮฺ โองการที่ 34-35]
ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูล
ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวความว่า “ไม่มีผู้ครอบครอง
ทรัพย์สินใดที่ไม่จ่ายซะกาต นอกเสียจากทรัพย์นั้นจะถูกนำไปเผาใน
นรกญะฮัมนัม จนเป็นแท่งแล้วถูกนำไปทาบกับสีข้างทั้งสองและหน้าผาก
ของเขา จนถึงวันที่อัลลอฮฺจะทรงพิพากษาบ่าวของพระองค์ ในวันซึ่ง
เวลาของมันนานเท่ากับห้าหมื่นปี (ของเวลาในโลกนี้)” (รายงานโดย อัล-
บุคอรีย์ และมุสลิม)
สี่ : กฎเกณฑ์ เงื่อนไข ของผู้ที่ต้องจ่ายซะกาต
กฎเกณฑ์ หรือเงื่อนไขดังกล่าวมี 5 ข้อด้วยกันคือ
1. ต้องนับถือศาสนาอิสลาม จึงไม่จำเป็นต่อผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมที่
จะต้องจ่ายซะกาต
2. เป็นไท หรือมีอิสรภาพ จึงไม่จำเป็นแก่ทาส ทั้งทาสทั่วไป หรือ
ทาสที่อนุมัตให้ไถ่ตัวเองได้ เนื่องจากทาสไม่มีทรัพย์สินในการ
ครอบครอง (ตามทัศนะของนักวิชาการส่วนมาก)
3. มีทรัพย์สินครบตามอัตรา จึงไม่จำเป็นแก่ทรัพย์สินที่มีจำนวน
น้อยไม่ครบตามอัตรา
4. ครอบครองทรัพย์สินโดยเด็ดขาด จึงไม่จำเป็นแก่ทรัพย์สินที่
พัวพันกับการเป็นหนี้ หรือเงินกำไรจากการลงทุนร่วมก่อนการแบ่งปันผล
หรือวงเงินที่ถูกหยิบยืม หรือทรัพย์สมบัติที่ถูกอุทิศเพื่อประโยชน์
ส่วนรวม (วากัฟ) เช่น ทรัพย์สินที่ถูกอุทิศแก่ นักรบ มัสญิด คนยากจน
เป็นต้น.
5. ครอบครองทรัพย์สินตามอัตรา ครบรอบปี(จันทรคติ)ยกเว้น
ในกรณีของธัญญพืชและผลไม้ที่ไม่ถูกกำหนดให้ครบรอบปี โดยการจ่าย
นั้นจะกระทำต่อเมื่อผลไม้นั้นๆสุกดีแล้ว พร้อมกับครบตามอัตราที่ถูก
กำหนดไว้ ดังพระดำรัสของอัลลอฮฺ ที่ว่า
( ﴿وَآتُوا حَقَّهُ يَوْمَ حَصَادِهِ﴾ (سورة الأنعام: 141
ความว่า : และจงจ่ายสิทธิ์ของมันในวันที่เก็บเกี่ยวมัน [อัล-
อันอาม โองการที่ 141]
ส่วนทรัพย์สินที่เป็นสินแร่นั้น ถูกจัดอยู่ในกรณีซะกาตของ
ผลผลิตที่งอกเงยจากพื้นดิน เนื่องจากสินแร่ก็เป็นผลผลิตที่ได้จาก
พื้นดินเช่นกัน
ส่วนผลผลิตจากการปศุสัตว์ที่เลี้ยงแบบปล่อยกินหญ้าสาธารณะ
นั้น อันได้แก่ลูกของสัตว์ดังกล่าว หรือผลกำไรจากการขาย ให้นำ
ผลผลิตเหล่านี้ รวมเข้ากับจำนวนเดิม(พ่อพันธุ์แม่พันธุ์) ซึ่งวาระของ
จำนวนหลังนั้นก็คือวาระของจำนวนแรก ซึ่งต้องจ่ายซะกาตเช่นกัน
ห้า : ทรัพย์ที่จำเป็นต้องจ่ายซะกาต
1. ทองคำและเงิน
ไม่ว่าจะอยู่ในรูปเงินตรา เป็นแท่งหรือรูปพรรณ เนื่องจาก
เงินตรานั้น เดิมทีเป็นทองคำหรือเงิน ดังนั้นเงินตราที่เป็นพันธบัตรหรือ
เหรียญนั้น จึงถือว่าเข้าข่ายของทองคำและเงินด้วย
อัตราที่ต้องจ่ายซะกาตจากทองและเงินนั้นคือ 2.5 % ของทองคำ
หรือเงินที่ครอบครองอยู่โดย ครบวาระรอบปีตามพิกัดที่ถูกกำหนดไว้
ซึ่งพิกัดของทองคำที่ต้องจ่ายซะกาตนั้นคือ 20 มิซกอล (หน่วย
การชั่งของอาหรับ) โดย 1 มิซกอล จะเท่ากับ 4.25 กรัม ดังนั้น พิกัดของ
ทองคำก็คือ 85 กรัมขึ้นไป
ส่วนพิกัดของเงินนั้น คือ 200 ดิรฮัม (หน่วยเงินของอาหรับ) โดย
1 ดิรฮัม จะเท่ากับ 2.995 กรัม ดังนั้นพิกัดของเงินก็คือ 595 กรัมขึ้นไป
ส่วนกรณีของเงินตราที่เป็นพันธบัตรนั้น การจ่ายซะกาตให้
ดำเนินการเช่นเดียวกับ พิกัดของทองคำหรือเงินก็ได้ โดยให้เปรียบเทียบ
เงินตราเท่ากับค่าของทอง 85 กรัม หรือเงิน 595 กรัมในขณะนั้นหรือช่วง
ปัจจุบัน เนื่องจากราคาทองคำและเงินนั้น มีการขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา
หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้ใดมีเงินที่สามารถซึ้อทองคำ 85 กรัมขึ้น
ไป หรือสามารถซื้อเงิน 595 กรัมขึ้นไปในขณะนั้น เขาจะต้องจ่ายซะกาต
เมื่อครบรอบปีในทันที โดยจะไม่คำนึงถึงค่าเดิมของเงินตรานั้นว่าจะมา
จากเงินหรือทองคำ เช่น เงินเหรียญดีนาร์ ปอนด์ ดอลลาร์ บาท เป็นต้น
และไม่คำนึงถึงลักษณะของมันไม่ว่าจะเป็นกระดาษ(พันธบัตร) หรือ
โลหะก็ตาม
และพึงจำไว้เสมอว่า เงินตราที่ต้องจ่ายซะกาตนั้นก็คือ เงินตราที่
สามารถซื้อพิกัดของทองคำ หรือเงินในขณะครบวาระนั้นเอง
ตัวอย่างเช่น ซะกาตจำเป็นต้องจ่ายในวันที่ 1 เราะมะฎอน ดังนั้นให้
เปรียบเทียบจำนวนเงินกับราคาของพิกัดทองคำและเงินในวันนี้เป็นต้น
ส่วนจำนวนทองคำ เงิน หรือเงินตราที่เกินจากพิกัด ก็จำต้องจ่าย
ซะกาตในส่วนที่เกินนี้ด้วยการเฉลี่ยตามอัตราและพิกัดเดิม โดยมีข้อ
อ้างอิงจากหะดีษฺบทหนึ่งซึ่งรายงานโดยท่านอะลี เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวความว่า “เมื่อท่าน
ครอบครองไว้สองร้อยดิรฮัม และครบรอบปี ต้องจ่ายซะกาตห้าดิรฮัม
และไม่มีอะไรที่ท่านจะต้องจ่าย(หมายถึงทองคำ) จนกว่าท่านจะ
ครอบครองมันไว้ยี่สิบดีนารฺเมื่อท่านครอบครองไว้ยี่สิบดีนารฺและ
ครบรอบปี ท่านต้องมีซะกาตครึ่งดีนารฺ และส่วนที่เกินจากนั้นก็ให้ใช้
หลักคำนวณเช่นกัน และไม่พึงต้องจ่ายซะกาตในทรัพย์สินจนกว่า จะ
ครบรอบปี” (รายงานโดย อบู ดาวูด และหะดีษฺนี้อยู่ในระดับหะซัน)
ส่วนเครื่องประดับที่ประดิษฐ์จากทองคำหรือเงิน มีสองลักษณะ
ด้วยกันคือ
1. เครื่องประดับที่ถูกเก็บไว้เพื่อการเช่า ซึ่งในกรณีนี้
นักวิชาการทั้งหมดเห็นพ้องกันว่า พึงจำเป็นต้องจ่ายซะกาต โดยไม่มี
ข้อยกเว้นใดๆ
2. เครื่องประดับที่ถูกนำ มาใช้ประดับ ก็จำ เป็นต้องจ่าย
ซะกาตเช่นกันตามทัศนะของนักวิชาการที่หลักฐานในการอ้างอิงของพวก
เขาที่มีน้ำหนักกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง
ซึ่งหลักฐานในการอ้างอิงของพวกเขาก็คือ ตัวบทอัลกุรอานที่
ระบุถึง ความจำเป็นที่ต้องจ่ายซะกาตของทองคำและเงิน และอ้างอิงถึง
หะดีษฺหลายบทด้วยกัน เช่น หะดีษฺที่บันทึกโดย อบู ดาวูด อัน-นะสาอีย์
และอัต-ติรมีซีย์ ซึ่งรายงานโดย ท่านอัมรฺ อิบนุ ชุอัยบฺ จากบิดาของท่าน
และบิดาของท่านก็รายงานมาจากปู่ของท่าน เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ความว่า
: มีหญิงนางหนึ่งมาหาท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม พร้อม
กับลูกสาวของนาง โดยที่ข้อมือลูกสาวของนาง ได้สวมเครื่องประดับจาก
ทองคำ ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมจึงถามนางว่า “เธอจ่าย
ซะกาตของสิ่งนี้แล้วหรือ?” นางจึงตอบว่า “เปล่าเลย” ท่านรอซูล
ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงกล่าวแก่นางว่า “เธอยินดีกระนั้นหรือ
ที่อัลลอฮฺจะประดับกำไลทั้งสองจากไฟนรก(อันมาจากสาเหตุไม่จ่ายซะ
กาตเครื่องประดับดังกล่าว)?” นางจึงถอดเครื่องประดับทั้งสองต่อหน้า
ท่านรอซูลพลางกล่าวว่า “มันทั้งสองเป็นสิทธิของอัลลอฮฺและรอซูลของ
พระองค์”
และจากหะดีษฺอีกบทหนึ่งที่ถูกบันทึกโดยอบู ดาวูดและคนอื่นๆ
ซึ่งรายงานมาจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ความว่า : ท่าน
รอซูลได้เข้ามาหาฉัน และเห็นวงแหวนหลายอันที่ทำจากเงิน ท่านจึงถาม
ว่า “นี่อะไรกัน อาอิชะฮฺ?” ฉันจึงตอบว่า “สิ่งนี้ฉันทำมันขึ้นมาเพื่อให้ท่าน
ได้เห็นฉันประดับมัน โอ้ท่านรอซูล” ท่านจึงกล่าวว่า “เธอจ่ายซะกาตของ
มันแล้วหรือ?” ฉันตอบว่า “เปล่า” (ในรายงานหนึ่งนางตอบด้วยความ
ประหลาดใจว่า) “มาชาอฺ อัลลอฮฺ (เป็นความประสงค์ของอัลลอฮฺ)” ท่าน
รอซูลจึงกล่าวว่า “มันเป็นสิ่งที่สามารถอย่างเพียงพอแล้วสำหรับจะนำเธอ
สู่ไฟนรก(ถ้าเธอไม่จ่ายซะกาต)”
หลักฐานเหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนที่ใช้ในการอ้างอิงถึงความ
จำเป็นที่ต้องจ่ายซะกาตของทองคำและเงินไม่ว่าจะใช้ประดับหรือไม่ก็
ตาม
ในส่วนของสินแร่และทรัพยากรธรณี ที่นอกเหนือจากทองคำ
และเงิน เช่น พลอยเป็นต้น นักวิชาการกลุ่มหนึ่งเห็นว่า ไม่จำเป็นต้อง
จ่ายซะกาต ยกเว้นในกรณีที่ถูกนำมาเป็นสินค้าซื้อขาย ซึ่งต้องจ่าย
ซะกาต ตามลักษณะของสินค้า
2. ปศุสัตว์
ได้แก่ อูฐ วัว แพะหรือแกะ การจ่ายซะกาตของสัตว์เหล่านี้ มี
กฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขว่า ต้องเป็นสัตว์ที่ถูกเลี้ยงให้หากินเองตามที่
สาธารณะเป็นส่วนใหญ่ ตามหลักฐานจากหะดีษฺที่มีความว่า “อูฐที่เลี้ยง
ตามทุ่งหญ้าสาธารณะนั้นต้องจ่ายซะกาต” (รายงานโดย อะหฺมัด, อบู
ดาวูด และอัน-นะสาอีย์)
และจากหะดีษฺอีกบทหนึ่งมีใจความว่า “ซะกาตของแพะนั้น คือ
(แพะ)ที่เลี้ยงตามทุ่งหญ้าสาธารณะ” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์)
การจ่ายซะกาตของสัตว์เหล่านี้มีเงื่อนไขอยู่ว่า ต้องครอบครอง
ครบตามพิกัดในช่วงครบรอบปี
พิกัดปศุสัตว์และจำนวนที่ต้องจ่ายซะกาต
1. อูฐ
พิกัด จำนวนที่ต้องจ่าย หมายเหตุ
จาก 5 ถึง 9 แกะหนึ่งตัว
จาก 10 ถึง 14 แกะสองตัว
จาก 15 ถึง 19 แกะสามตัว
จาก 20 ถึง 24 แกะสี่ตัว
แกะในที่นี้ คือแกะที่พลัดพันหน้า
หรือมีอายุหนึ่งปี
หรือแพะอายุสองปี
จาก 25 ถึง 35 บินตุมะคอตหนึ่งตัว คืออูฐตัวเมียมีอายุย่างเข้าสองปี
จาก 36 ถึง 45 บินตุละบูน คืออูฐตัวเมียมีอายุย่างเข้าปีที่สาม
จาก 46 ถึง 60 ฮิกเกาะฮฺหนึ่งตัว คืออูฐตัวเมียมีอายุย่างเข้าปีที่สี่
จาก 61 ถึง 75 ญิชอะฮฺหนึ่งตัว คืออูฐตัวเมียมีอายุย่างเข้าปีที่ห้า
จาก 76 ถึง 90 บินตุละบูนสองตัว
จาก 91 ถึง 120 ฮิกเกาะฮฺสองตัว
เกิน 120 ตัวขึ้นไป
เพิ่มขึ้น
ทุกๆ 40 ตัว
-ให้จ่ายบินตุละบูนหนึ่งตัว
เพิ่มขึ้น
ทุกๆ 50 ตัว
-ให้จ่ายฮิกเกาะฮฺหนึ่งตัว (ตามทัศนะของนักวิชาการส่วน
ใหญ่)
พิกัด จำนวนที่ต้องจ่าย
จาก 30 ถึง 39 วัวที่มีอายุหนึ่งปีเพศผู้หรือเพศเมียก็ได้จำนวน 1 ตัว
จาก 40 ถึง 59 วัวที่มีอายุสองปีต้องเป็นเพศเมียหนึ่งตัว

จาก 60 ถึง 69 วัวที่มีอายุหนึ่งปีจำนวน 2 ตัว
จาก 70 ถึง 79 วัวอายุหนึ่งปี 1 ตัว และอายุสองปีเพศเมีย 1 ตัว
รวมเป็น 2 ตัว
เกิน 70 ขึ้นไป
เพิ่มขึ้นทุกๆ 30 ตัว วัวอายุหนึ่งปี 1 ตัว
เพิ่มขึ้นทุกๆ 40 ตัว วัวอายุสองปีเพศเมีย 1 ตัว
3. แพะหรือแกะ
พิกัด จำนวนที่ต้องจ่าย
จาก 40 ถึง 120 แกะอายุหนึ่งปี หรือแพะอายุสองปี 1 ตัว
จาก 121 ถึง 200 แกะหรือแพะดังกล่าว จำนวน 2 ตัว
จาก 201 ถึง 300 แกะหรือแพะดังกล่าว จำนวน 3 ตัว
เกิน 300 ขึ้นไป ทุกๆ 100 ตัวให้จ่ายแกะหรือแพะดังกล่าว 1 ตัว
ส่วนหลักฐานที่ระบุถึงจำนวนสัตว์ที่ต้องจ่ายซะกาตนั้น คือ
หะดีษฺที่รายงานโดยอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ที่มีการระบุว่า ท่านอบู
บักรฺเราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้มอบข้อความฉบับหนึ่งในขณะที่ท่านอะนัส
ถูกส่งตัวไปพำนัก ณ เมืองบะฮฺเรน ซึ่งเนื้อความฉบับนั้นมีใจความดังนี้
“ด้วยนามแห่งอัลลอฮฺผู้ทรงกรุณายิ่งผู้ทรงปรานียิ่ง นี่คือ
ข้อบังคับเรื่องซะกาตที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้
กำหนดให้เป็นหน้าที่สำหรับมวลมุสลิม และคือข้อบังคับที่อัลลอฮฺทรง
บัญชาแก่ศาสนทูตของพระองค์ มุสลิมคนใดถูกเรียกเก็บซะกาตอย่าง
ถูกต้อง ให้เขาจงจ่ายเถิด และผู้ใดถูกเรียกเก็บเกินกว่าที่กำหนด เขาไม่
ต้องจ่าย ในอูฐจำนวนยี่สิบตัวหรือที่น้อยกว่านั้นได้แก่ ทุกห้าตัวต้องจ่าย
แกะหนึ่งตัว เมื่อมีอูฐยี่สิบห้าตัวจนถึงสามสิบห้าตัว ต้องจ่ายบินตุมะคอต
หนึ่งตัว(อูฐตัวเมียที่ย่างเข้าปีที่สอง) ถ้าไม่มีบินตุมะคอตให้จ่ายอิบนุ
ละบูนหนึ่งตัว (อูฐตัวผู้ที่ย่างเข้าปีที่สาม) เมื่อมีอูฐสิบหกตัวจนถึงสี่สิบห้า
ตัวให้จ่ายบินตุละบูนหนึ่งตัว(อูฐตัวเมียที่ย่างเข้าปีที่สาม) เมื่อมีอูฐสี่สิบ
หกตัวจนถึงหกสิบตัว ให้จ่ายฮิกเกาะฮฺ(อูฐตัวเมียย่างเข้าปีที่สี่)ที่รับการ
ผสมพันธุ์ได้แล้วหนึ่งตัว เมื่อมีอูฐห้าสิบเอ็ดตัวจนถึงเจ็ดสิบห้าตัว ให้
จ่ายญิซอะฮฺ(อูฐตัวเมียย่างเข้าปีที่ห้า)หนึ่งตัว เมื่อมีอูฐเจ็ดสิบหกตัวจนถึง
เก้าสิบตัวจ้องจ่ายบินตุละบูนสองตัว เมื่อมีอูฐเก้าสิบเอ็ดตัวจนถึงหนึ่ง
ร้อยยี่สิบตัวต้องจ่ายฮิกเกาะฮฺที่รับการผสมพันธุ์แล้วสองตัว และเมื่อ
เกินหนึ่งร้อยยี่สิบตัว ต้องจ่ายบินตุละบูนหนึ่งตัวต่อทุกๆยี่สิบตัวที่
เพิ่มขึ้น และผู้ใดครอบครองอูฐสี่ตัวก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตเว้นแต่
เจ้าของอูฐจะต้องการ แต่หากอูฐมีครบห้าตัว ก็ต้องจ่ายซะกาตแพะ(หรือ
แกะ) หนึ่งตัว และในส่วนซะกาตแพะนั้นต้องเป็นสัตว์ที่ปล่อยเลี้ยงในทุ่ง
หญ้าสาธารณะ ถ้ามีสี่สิบตัวถึงหนึ่งร้อยยี่สิบตัว ต้องจ่ายแกะหนึ่งตัว
และเมื่อเกินจากหนึ่งร้อยยี่สิบตัวถึงสองร้อยตัวต้องจ่ายซะกาตแกะสอง
ตัว และเมื่อเกินจากสองร้อยตัวถึงสามร้อยตัว ต้องจ่ายซะกาตแกะสาม
ตัว และเมื่อเกินจากสามร้อยตัวขึ้นไปให้จ่ายแกะหนึ่งตัวต่อทุกๆหนึ่ง
ร้อยตัวที่เกิน และถ้าหากแพะของชายคนหนึ่งขาดไปหนึ่งจึงจะครบสี่สิบ
ตัวก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาต นอกจากเจ้าของแพะต้องการ” (หะดีษฺ
บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์)
และยังมีหะดีษฺที่รายงานโดยมุอาซฺ อิบนุ ญะบัล เราะฎิยัลลอฮฺ
อันฮุ ความว่า : ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ส่งเขา(มุ
อาซฺ) ไปยังเมืองเยเมน พร้อมทั้งได้มีคำสั่งให้เก็บ (ซะกาต) ในวัวสามสิบ
ตัวให้จ่ายตะบีอฺหรือตะบีอะฮฺ (คือวัวที่มีอายุหนึ่งปีเพศผู้หรือเมีย)หนึ่งตัว
และในทุกๆ สี่สิบตัวนั้นให้จ่ายมุซินนะฮฺ(คือวัวที่มีอายุเข้าสองปีเพศเมีย)
หนึ่งตัว” (รายงานโดย อัต-ติรมิซีย์, อบู ดาวูด, อัน-นาสาอีย์ และอิบนุ
มาญะฮฺ)
สำหรับลูกของสัตว์จำพวกนี้ ที่คลอดใหม่หลังจากนับรอบปีพ่อ
พันธุ์แม่พันธุ์แล้ว ให้ถือเป็นสัตว์ที่อยู่ในจำนวนเดิม กล่าวคือ หากสัตว์
ดังกล่าวไม่ครบตามพิกัด เว้นแต่ต้องนับจำนวนลูกรวมเข้าไปด้วย ก็ให้
ถือว่า สัตว์นั้นครบตามพิกัดแล้วจำเป็นต้องจ่ายซะกาตเมื่อครบรอบปี
ถ้าหากว่าสัตว์พวกนี้ถูกเลี้ยงไว้เพื่อเป็นสินค้า การจ่ายซะกาตนั้นก็ให้
ดำเนินตามข้อกำหนดของซะกาตสินค้า แต่ถ้าถูกเลี้ยงไว้เพื่อการใช้งาน

และขยายพันธุ์ ก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตแต่อย่างใด ดังหะดีษฺที่รายงาน
โดย ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ
อะลัยฮิ วะสัลลัมกล่าวความว่า “ไม่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลิม ในบ่าว
ไพร่ และพาหนะของเขา(สัตว์ที่ใช้เป็นพาหนะ) ที่จะต้องจ่ายซะกาต”
(รายงานโดย อัล-บุคอรีย์)
3. ธัญญพืช และผลไม้
ต้องจ่ายซะกาตของธัญญพืชและผลไม้ทันทีเมื่อครบตามพิกัด
ซึ่งพิกัดของธัญญพืชและผลไม้นั้น คือห้าวะสัก ดังคำกล่าวของท่าน
รอซูลศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมมีความว่า “ในสิ่งที่ต่ำกว่าห้าวะสัก
ไม่ต้องจ่ายซะกาต” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์และมุสลิม)
โดย 1 วะสัก เท่ากับ 60 ศออฺ ดังนั้น 5 วะสัก จึงเท่ากับ 300 ศออฺ
ซึ่ง 1 ศออฺเท่ากับ 3 ลิตร โดยถ้าคำนวณตามนี้ พิกัดธัญญพืชและผลไม้
เท่ากับ 900 ลิตร (หากเป็นข้าวสารเท่ากับ 60 ถังโดยประมาณ)
และไม่มีการกำหนดวาระของธัญญพืชและผลไม้ ดังพระดำรัส
ของอัลลอฮฺที่ว่า
( ﴿وَآتُوا حَقَّهُ يَوْمَ حَصَادِهِ﴾ (سورة الأنعام: 141
ความว่า : และเจ้าทั้งหลายจงจ่ายสิทธิของมันในวันที่เก็บเกี่ยว
มัน [อัล-อันอาม โองการที่ 141]
ส่วนอัตราของซะกาตชนิดนี้ มี 2 ประเภท ด้วยกันคือ
1. ผลผลิตจากแหล่งเกษตรที่อาศัยน้ำ จากแหล่งน้ำธรรมชาติ
เช่น ฝน ลำคลอง เป็นต้น อัตราที่ต้องจ่ายคือ ร้อยละสิบ หรือ 10% ของ
ผลผลิตรวม
2. ผลผลิตจากแหล่งเกษตรที่ต้องใช้แรง หรือเครื่องทุ่นแรง เช่น
ใช้ระหัดฉุดน้ำ หรือเครื่องยนต์เป็นต้น อัตราที่ต้องจ่ายคือ ร้อยละห้า
หรือ 5% ของผลผลิตรวม
ดังหลักฐานจากวจนะของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม ที่มีความว่า “สำหรับพืชที่ใชัน้ำฝนรด ตาน้ำ หรือลำคลอง หรือ
อาศัยลำต้นดูดน้ำ ต้องจ่ายซะกาต เศษหนึ่งส่วนสิบ(ร้อยละสิบ) และพืช
ที่ อาศัยการฉุดน้ำด้วยระหัด ต้องจ่ายซะกาต ครึ่งหนึ่งของเศษหนึ่งส่วน
สิบ(ร้อยละห้า)” (รายงานโดยอัล-บุคอรีย์)
4. ทรัพย์ที่เป็นสินค้า
คือทรัพย์สินทุกประเภท ที่ถูกนำมาเป็นสินค้าซื้อขายโดยซะกาต
ของทรัพย์สินประเภทนี้นั้น ครอบคลุมทรัพย์สินทุกชนิด ทั้งที่กล่าว
มาแล้ว และยังไม่ได้นำมากล่าว ณ ที่นี้
การจ่ายซะกาตทรัพย์สินประเภทนี้ถูกกำหนดพิกัดโดยการ
คำนวณราคาของสินค้าทั้งหมด เทียบกับราคาของพิกัดทอง 85 กรัม หรือ
ของเงิน 595 กรัม ซึ่งกำหนดให้คำนวณราคารวมของสินค้าเทียบกับราคา
ปัจจุบันโดยไม่คำนึงถึงราคาในขณะซื้อหรือลงทุน และจำเป็นต้อง
ครอบครองครบตามพิกัดขึ้นไป เป็นระยะเวลาครบรอบปีเช่นกัน
ซะกาตของสินค้านั้น เป็นที่ต้องการของคนยากจนยากไร้ ยิ่งกว่าทองคำ
และเงินเสียอีก
อัตราซะกาตของสินค้าคือ เศษหนึ่งส่วนสี่ หรือ 2.5 % (ร้อยละ2.5)
ของราคารวมสินค้าทั้งหมด และส่วนของผลกำไรจากการซื้อขายสินค้า ก็
ให้นับรวมเข้ากับจำนวนราคาสินค้าเดิม โดยไม่ต้องเริ่มนับวาระใหม่ แต่
ถ้าหากว่าราคาสินค้าเดิมไม่ครบตามพิกัด นอกจากต้องรวมผลกำไรเข้า
ไปด้วยก็ให้เริ่มวาระในขณะนั้น
5. สินแร่และทรัพย์ที่ถูกฝังดินไว้
หนึ่ง : สินแร่ หมายถึง สิ่งที่ถูกขุดพบจากพื้นดินและมีค่า ซึ่ง
ไม่ใช่พืชพันธุ์ เช่น แร่ทองคำ แร่เงิน แร่เหล็ก ทับทิม และน้ำมันดิบ เป็น
ต้น
ทรัพย์สินประเภทนี้จำเป็นต้องจ่ายซะกาตเช่นกัน ดังพระดำรัส
ของอัลลอฮฺที่ว่า
﴿يَا َأيهَا الَّذِينَ آمَنُوا َأنْفِقُوا مِنْ َ طيبَاتِ مَا َ كسَبْتُمْ
( وَمِمَّا َأخْرَجْنَا َل ُ كمْ مِنَ الَْأرْضِ﴾ (سورة البقرة: 267
ความว่า : บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงบริจาคส่วนหนึ่งจาก
บรรดาสิ่งดีๆ ของสิ่งที่พวกเจ้าได้แสวงหาไว้ และจากสิ่งที่เราได้ให้
ออกมาจากดินสำหรับพวกเจ้า [อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 167]
และไม่ต้องสงสัยเลยว่า สินแร่คือสิ่งที่อัลลอฮฺทรงบันดาลให้
ออกมาจากดินเพื่อมวลมนุษย์
นักวิชาการส่วนใหญ่ เห็นว่าการกำหนดพิกัดของทรัพย์สิน
ประเภทนี้ จำเป็นเช่นกันในการจ่ายซะกาต โดยอัตราที่ต้องจ่ายเป็น
ซะกาตคือ ร้อยละ 2.5 หรือ 2.5 % ของทรัพย์ที่ขุดพบ เปรียบเทียบกับ
อัตราของเงินและทองคำ และทรัพย์สินประเภทนี้ไม่มีการกำหนดวาระ
โดยต้องจ่ายซะกาตในขณะที่ขุดพบตามพิกัดทันที
สอง : ทรัพย์ที่ถูกฝังดินไว้ หมายถึง ทรัพย์สินที่ถูกขุดพบ ซึ่งถูก
ฝังไว้ในยุคก่อนอิสลาม ไม่ว่าจะขุดพบในรัฐอิสลามหรือไม่ก็ตาม
ทรัพย์สินประเภทนี้จะถูกจารึกสัญลักษณ์ต่างๆของชาวกาฟิรฺ เช่น ชื่อ
กษัตริย์ ชื่อเจ้าของ ภาพของคน หรือภาพของเทวรูปต่างๆ
แต่ถ้าสิ่งที่ถูกจารึกไว้เป็นสัญลักษณ์ของมุสลิม เช่น ชื่อนบี หรือ
ชื่อผู้นำมุสลิมหรือโองการอัลกุรอาน หรือไม่ปรากฎสัญลักษณ์ใดอยู่เลย
เช่น ถ้วยจาน เครื่องประดับ สร้อยเป็นต้น ทรัพย์ทั้งหมดที่กล่าวมานี้
ถือว่าเป็นของสูญหาย ไม่สามารถนำมาครอบครองได้ จนกว่าจะประจักษ์
ว่าผู้ใดเป็นเจ้าของ เนื่องจากทรัพย์สินของมุสลิมเป็นกรรมสิทธ์แก่
เจ้าของตลอดไป
อัตราซะกาตของทรัพย์สินประเภทแรกนั้น (ไม่ใช่ของมุสลิม) คือ
หนึ่งส่วนห้า หรือร้อยละ 20 ของสิ่งที่ถูกขุดพบ โดยไม่จำกัดพิกัดจำนวน
ใดๆ ทั้งสิน จึงจำเป็นต้องจ่ายซะกาต ไม่ว่าจะขุดพบจำนวนมากหรือน้อย
ก็ตาม ดังวจนะของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมจากการ
รายงานของท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ ที่มีความว่า “และในสิ่งที่ขุดพบนั้น
(ต้องจ่ายซะกาต)หนึ่งส่วนห้า”
ซะกาตของทรัพย์ชนิดนี้ จะถูกจ่ายให้กับการบำเพ็ญบ้านเมือง
มุสลิม และส่วนที่เหลือหลังจากซะกาตแล้ว เป็นกรรมสิทธ์ของผู้ขุดพบ
ดังที่ท่านอุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้มอบส่วนที่เหลือแก่ผู้ขุดพบมัน
หก : แหล่งจ่ายซะกาต
ผู้มีสิทธิรับซะกาตมีแปดจำพวกด้วยกันคือ
1. คนยากไร้ (ฟากิรฺ)
ได้แก่ คนที่ไม่มีทรัพย์ ไม่มีค่าเลี้ยงชีพ หรือมีแต่ไม่เพียงพอใน
การเลี้ยงชีพ คนประเภทนี้สามารถรับซะกาตได้ตลอดปี.
2. คนขัดสน (มิสกีน)
ได้แก่ คนที่มีค่าเลี้ยงชีพในแต่ละวันครึ่งหนึ่ง หรือมากกว่า แต่
ไม่เพียงพอ คนประเภทนี้จะฐานะดีกว่าคนยากไร้ และสามารถรับซะกาต
ได้ตลอดปีเช่นกัน
3. เจ้าหน้าที่ซะกาต
ได้แก่ เจ้าหน้าที่ พนักงาน ที่ทำหน้าที่ เก็บรวบรวมซะกาต และ
แจกจ่ายซะกาตแก่ผู้มีสิทธิรับซะกาต บุคคลประเภทนี้รับซะกาตได้ เพียง
อัตราค่าจ้างของเขาเท่านั้น
4. ผู้ถูกดลใจให้เข้ารับอิสลาม
บุคคลประเภทนี้มี 2 จำพวก
จำพวกแรก : ผู้ที่ยังไม่ใช่มุสลิม คนจำพวกนี้สามารถมอบ
ซะกาตแก่เขาได้ในกรณีที่เพื่อให้เขาเข้ารับอิสลาม หรือให้เพื่อยับยั้ง
ป้องกันภัยในสังคมมุสลิมอันเกิดจากน้ำมือของเขา
จำพวกที่สอง : ผู้ที่เข้าอิสลามแล้ว คนจำพวกนี้สามารถมอบ
ซะกาตแก่เขาเพื่อเป็นการยึดเหนี่ยวเขาให้ยืนหยัดในอิสลามได้อย่าง
มั่นคง หรือหวังในการเข้ารับอิสลามของคนใกล้ชิด และพวกพ้องของเขา
เป็นต้น
5. ผู้ไร้อิสรภาพ
ได้แก่ ทาสที่นายอนุมัติให้ไถ่ตัวเองได้ ทาสประเภทนี้ สามารถ
มอบซะกาตให้เขาได้ เพื่อให้เขาเป็นอิสรภาพ ซึ่งเขาสามารถรับซะกาตได้
เพียงจำนวนทรัพย์ที่ขาดในการไถ่ตัวเองเท่านั้น และได้มีนักวิชาการบาง
กลุ่มให้ทัศนะว่า สามารถใช้ทรัพย์ซะกาตซื้อตัวทาสผู้นั้นเพื่อการ
ปลดปล่อยได้เช่นกัน
6. คนมีหนี้สิน
มีสองลักษณะด้วยกันคือ
ลักษณะแรก : ผู้เป็นหนี้สินของตัวเอง : ได้แก่ ผู้ที่หยิบยืม
ทรัพย์สินจากผู้อื่นเพื่อกิจการส่วนตัวของเขา และไม่มีลู่ทางที่จะใช้หนี้สิน
นั้นได้ คนลักษณะนี้ สามารถรับซะกาตได้เพื่อใช้ชำระหนี้ดังกล่าวเท่านั้น
ลักษณะที่สอง : ผู้เป็นหนี้สินให้ผู้อื่นได้แก่ : บุคคลที่กู้ยืมเพื่อ
ขจัดปัญหาในสังคม คนลักษณะนี้ สามารถรับซะกาตได้ เพื่อใช้ชำระหนี้
ดังกล่าวเท่านั้น ถึงแม้ว่าเขาจะมีฐานะร่ำรวยก็ตาม
7. ในวิถีทางของอัลลอฮฺ
หมายถึง การรบในหนทางของอัลลอฮฺ ดังนั้นจึงสามารถจ่าย
ซะกาตแก่ผู้ที่อยู่ในหนทางนี้ อันได้แก่ นักรบ ผู้ภักดีในแนวทางของ
อิสลาม ซึ่งพวกเขาไม่ได้รับค่าเลี้ยงดูจากคลังของอิสลาม (บัยตุลมาลฺ)
8. คนเดินทาง
ได้แก่ ผู้ที่เดินทางออกจากถิ่นเดิมของเขา และขาดปัจจัยในการ
เดินทาง จนไม่สามารถกลับภูมิลำเนาเดิมได้ ดังนั้น คนประเภทนี้
สามารถมอบซะกาตแก่เขาได้เพียงจำนวนที่ใช้เป็นปัจจัยเดินทางกลับ
ภูมิลำเนาเท่านั้น
บุคคลทั้งแปดจำพวกนี้ ได้ถูกกล่าวเอาไว้ในอัลกุรอาน คือ
﴿إِنَّمَا الصَّدَقَاتُ لِْلُفقَرَاءِ وَاْلمَسَاكِينِ وَالْعَامِلِينَ
عََليْهَا وَالْمُؤَلََّفةِ قُلُوبُهُمْ وَفِي ال  رقَابِ وَالْغَارِمِينَ
وَفِي سَبِيلِ اللَّهِ وَابْنِ السَّبِيلِ فَرِيضًَة مِنَ اللَّهِ وَاللَّهُ
( عَلِيمٌ حَكِيمٌ﴾ (سورة التوبة: 60
ความว่า : แท้จริงทานทั้งหลายนั้น สำหรับผู้ที่ยากจน และ
บรรดาผู้ที่ขัดสน และบรรดาเจ้าหน้าที่ในการรวบรวมมัน และบรรดาผู้ที่
หัวใจของพวกเขาโอนอ่อน(กับอิสลาม) และในการไถ่ทาส และบรรดาผู้ที่
หนี้สินล้นตัว และในทางของอัลลอฮฺ และผู้ที่อยู่ในระหว่างเดินทาง ทั้งนี้
เป็นบัญญัติอันจำเป็นซึ่งมาจากอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้
ทรงปรีชาญาณ [อัต-เตาบะฮฺ โองการที่ 60]
เจ็ด : ซะกาตฟิฏรฺ(ฟิฏเราะฮฺ)
1. เหตุผลหรือวิทยปัญญาในการบัญญัติซะกาตฟิฏรฺ
ซะกาตฟิฏรฺ ถูกตราเป็นบัญญัติขึ้นเพื่อเป็นสิ่งขัดเกลาและชำระ
ล้างผู้ที่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน ให้ปราศจากบาปอันเกิดจากคำพูด
ที่ไร้สาระและหยาบคายที่อาจเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติศาสนกิจอันนี้
ทั้งยังเป็นการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แก่ผู้ยากจนขัดสนในการบริจาค
อาหาร เพื่อพวกเขาจะได้อิ่มหน่ำสำราญ ไม่ต้องขอวิงวอนจากผู้ใดในวัน
ตรุษ(วันอีด)นั่นเอง
ดังที่ได้ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนในหะดีษฺที่รายงานโดยท่านอิบนุ
อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ความว่า “ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัมได้กำหนด ซะกาตฟิฏรฺเพื่อชำระผู้ถือศีลอดให้สะอาดจากคำพูด
ที่ไร้สาระและหยาบคาย และเพื่อเป็นอาหารแก่คนยากไร้” (รายงานโดย
อบู ดาวูด และอิบนุ มาญะฮฺ)
2. ข้อตัดสินหรือ หุก่มของซะกาตฟิฏรฺ
ซะกาตฟิฏรฺ เป็นฟัรฎู และจำเป็นเหนือมุสลิมทุกคน ทั้งชายและ
หญิง เด็กและผู้ใหญ่ ผู้เป็นทาสและไม่เป็นทาส ซึ่งมีหลักฐานจากหะดีษฺ
ที่รายงานโดยท่านอุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ มีความว่า “ท่านรอซูล
ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กำหนดซะกาตฟิฏรฺของเราะมะฎอนไว้
หนึ่งศออฺจากผลอินทผาลัม หรือหนึ่งศออฺจากข้าวสาลี เหนือทุกคนที่เป็น
เสรีชนหรือเป็นทาส เป็นเพศชายหรือเพศหญิง เป็นผู้เยาว์หรือผู้ใหญ่ ที่
เป็นมุสลิม และได้กำชับให้จ่ายมันก่อนที่ผู้คนจะออกไปละหมาดอีด”
(รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
ทั้งนี้ยังส่งเสริม(สุนัต)ให้จ่ายซะกาตฟิฏรฺในส่วนของทารกที่อยู่
ในครรภ์เช่นกัน
การจ่ายซะกาตฟิฏรฺเป็นสิ่งจำเป็นที่มุสลิมจะต้องจ่าย ในส่วน
ของตนและส่วนของผู้อยู่ใต้การอุปการะเลี้ยงดู เช่น ภรรยา หรือญาติพี่
น้องที่ตนเลี้ยงดูอยู่
และไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิฏรฺ ในกรณีที่อาหารไม่เพียงพอ
สำหรับเขาและสมาชิกครอบครัวของเขาในการบริโภคสำหรับวันอีดและ
ค่ำคืนของวันอีด
3. ปริมาณของซะกาตฟิฏรฺ
ปริมาณที่ต้องจ่ายได้แก่ 1 ศออฺ ของอาหารหลักในถิ่นนั้นๆ เช่น
ข้าวสาร ข้าวสาลี ข้าวบาเล่ย์ อิทผาลัม องุ่นแห้งเป็นต้น
โดย 1 ศออฺ มีปริมาณเท่ากับ 2.176 กิโลกรัมโดยเฉลี่ย
และไม่อนุมัติให้จ่ายเป็นค่าเงินแทนซะกาตฟิฏรฺ ตามทัศนะของ
นักวิชาการส่วนมาก เนื่องจากการกระทำดังกล่าวนั้น ผิดวัตถุประสงค์ที่
ท่าน รอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กำหนดไว้ ทั้งยังเป็นการ
ขัดแย้งกับแบบอย่างของเหล่าเศาะฮาบะฮฺของท่านอีกด้วย
4. เวลาของซะกาตฟิฏรฺ
การจ่ายซะกาตฟิฏรฺมีสองเวลาคือก่อนคืนวันอีดหนึ่งหรือสองวัน
หรือ เวลาอันประเสริฐ ได้แก่ ตั้งแต่เริ่มรุ่งอรุณของวันอีดจนกระทั่งก่อน
การละหมาดอีด
เนื่องจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กำชับให้
จ่ายซะกาตก่อนที่ผู้คนจะออกไปสู่การละหมาดอีด และหากผู้ใดล่าช้าใน
การจ่ายซะกาตฟิฏรฺ โดยปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปจนละหมาดเสร็จ
เขาผู้นั้นจะมีความผิดและบาปในการล่าช้าของเขา โดยสิ่งที่เขาบริจาคนั้น
ก็ไม่จัดว่าเป็น ซะกาตฟิฏรฺแต่อย่างใด หากถือว่าเป็นเพียงการบริจาค
ธรรมดานั้นเอง
5. แหล่งจ่ายซะกาตฟิฏรฺ
ซะกาตฟิฏรฺถูกกำหนดให้จ่ายหรือบริจาคแก่ผู้ขัดสนยากไร้
เนื่องจากบุคคลเหล่านี้เหมาะสมกับสิ่งนี้กว่าคนอื่นๆ