Saturday, September 26, 2009

หลักการอิสลามข้อที่ห้า


หลักการอิสลามข้อที่ห้า
การบำเพ็ญหัจญ์
หนึ่ง : คำนิยามของ หัจญ์
หัจญ์ ในทางรากศัพท์ภาษาอาหรับ มีความหมายว่า ตั้งใจ
มุ่งหมาย ดังประโยคที่ว่า حجَّ إِ َليْنَا ُ ف َ لانٌ หมายความว่า เขาผู้นั้น
เจาะจงพวกเรา / มุ่งหมายหาพวกเรา
หัจญ์ ในทางศาสนบัญญัติ มีความหมายว่า ตั้งเจตนามุ่งไปยัง
มักกะฮฺเพื่อปฏิบัติศาสนกิจ โดยมีคุณสมบัติเฉพาะในเวลาที่เฉพาะและ
เงื่อนไขเฉพาะ
สอง : ข้อตัดสิน(หุก่ม)ของหัจญ์
ประชาชาติอิสลามได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ว่า ผู้ที่มีความสามารถ
วาญิบ(จำเป็น)ต้องประกอบพิธีหัจญ์หนึ่งครั้งในชีวิต เพราะหัจญ์คือหนึ่ง
ในหลักการอิสลามทั้งห้า ซึ่งอิสลามได้วางรากฐานอยู่บนหลักการทั้งห้า
ประการนี้ อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿وَلِلَّهِ عََلى النَّاسِ حِ  ج الْبَيْتِ مَنِ اسْتَطَاعَ إَِليْهِ
سَبِي ً لا وَمَنْ َ كَفرَ َفإِنَّ اللَّهَ َ غنِيٌّ عَنِ الْعَاَلمِينَ﴾
( (آل عمران: 97
ความว่า : สิทธิของอัลลอฮฺที่มีแก่มนุษย์นั้น คือ การมุ่งสู่บ้าน
หลังนั้น(กะอฺบะฮฺ) อันได้แก่ผู้ที่สามารถหาทางไปยังบ้านหลังนั้นได้ และ
ผู้ใดปฏิเสธแท้จริงอัลลอฮฺนั้นมั่งมีปัจจัยเหนือทุกสรรพสิ่ง(คือไม่ทรง
พึ่งพิงหรือขัดสนต่อสิ่งใดทั้งสิ้น) [ อาล อิมรอน โองการที่ 97]
และท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวไว้ความ
ว่า “อิสลามได้วางรากฐานอยู่บนหลักห้าประการ คือ กล่าวปฏิญาณตนว่า
ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และมุหัมมัดคือรอซูลของพระองค์
ทำการละหมาด จ่ายซะกาต ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนและประกอบ
พิธีหัจญ์” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
และท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวในขณะ
ประกอบหัจญ์วิดาอฺ(เป็นชื่อเรียกหัจญ์ครั้งเดียวและครั้งสุดท้ายที่ท่าน
รอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้ปฏิบัติ)ความว่า “โอ้มวลมนุษย์
แท้จริงอัลลอฮฺทรงกำหนดหัจญ์แก่พวกเจ้า ดังนั้นจงประกอบพิธีหัจญ์
เถิด” (รายงานโดย มุสลิม)
สาม : ภาคผลและเหตุผลในการบัญญัติหัจญ์
ได้มีบทบัญญัติมากมายที่กล่าวถึงความประเสริฐของการปฏิบัติ
หัจญ์ดังเช่น พระดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
﴿وََأذِّنْ فِي النَّاسِ بِاْلحَ  ج يَأْتُوكَ رِجَا ً لا وَعََلى كُلِّ
ضَامِرٍ يَأْتِينَ مِنْ كُلِّفَ  ج عَمِيقٍ لِيَشْهَدُوا مَنَافِعَ َلهُمْ
وَيَذْ ُ كرُوا اسْمَ اللَّهِ فِي َأيَّامٍ مَعْلُومَاتٍ عََلى مَا
(28 - رَزََقهُمْ مِنْ بَهِيمَةِ اْلَأنْعَامِ﴾ (سورة الحج : 27
ความว่า : และจงประกาศแก่มนุษย์ทั่วไปเพื่อการทำหัจญ์ พวก
เขาจะมาหาเจ้าโดยทางเท้าและโดยทางอูฐ มาจากทางไกลทุกทิศทาง
เพื่อพวกเขาจะได้มาร่วมเป็นพยานในผลประโยชน์ของพวกเขา และ
กล่าวพระนามอัลลอฮฺในวันที่รู้กันอยู่แล้ว(คือวันเชือดสัตว์) ตามที่
พระองค์ทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเขาจากสัตว์สี่เท้า [อัล-หัจญ์
โองการที่ 27-28]
การประกอบพิธีหัจญ์มีภาคผลมากมาย แก่มวลมุสลิมทั้งโลกนี้
และโลกหน้า ตัวอย่างเช่น ในการประกอบพิธีหัจญ์นั้น ได้รวบรวมเอา
อิบาดะฮฺหลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน ดังเช่น การเฏาะวาฟฺ(การเดินเวียน
รอบกะอฺบะฮฺ) การสะแอ(การเดินวนรอบ)ระหว่างเศาะฟาและมัรวะฮฺ
การพำนัก ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺ มีนา มุซดะลิฟะฮฺ การขว้างเสาหิน การค้าง
คืนที่มีนา การเชือดสัตว์พลี การโกนผม การรำลึกถึงอัลลอฮฺเพื่อ
แสวงหาความใกล้ชิด การนอบน้อมต่อพระองค์และสำนึกผิดต่อพระองค์
ด้วยเหตุนี้ หัจญ์จึงเป็นเหตุผลสำคัญในการลบล้างความผิดและ
เข้าสวนสวรรค์
มีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า ฉันได้
ยินท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวไว้ความว่า “ผู้ใดที่
ประกอบพิธีหัจญ์ ณ บ้านหลังนี้(บัยตุลลอฮฺ) และเขามิได้กล่าววาจา
หยาบคายหรือกระทำความเหลวไหล ความผิดของเขาจะถูกลบล้าง
เปรียบดัง(ทารก)ในวันที่แม่เขาคลอดเขาออกมา” (รายงานโดย อัล-
บุคอรีย์ และมุสลิม)
และจากการรายงานของท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ
อีกเช่นกัน ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวไว้ความว่า
“การประกอบอุมเราะฮฺหนึ่งไปยังอุมเราะฮฺหนึ่งคือการลบล้างความผิด
ระหว่างสองอุมเราะฮฺนั้น และหัจญ์มับรูรฺ(หัจญ์ที่อัลลอฮฺทรงรับ)นั้น
ผลตอบแทนคือสวนสวรรค์” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์และมุสลิม)
และจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เช่นกันความ
ว่า : มีชายผู้หนึ่งถามรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมว่า “กิจการใด
ที่ประเสริฐที่สุด?” ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ตอบว่า
“คือการศรัทธาต่ออัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์” ชายผู้นั้นก็ถามอีกว่า
“แล้วอะไรอีกเล่า?” ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมก็ตอบว่า
“การรบในหนทางของอัลลอฮฺ” ชายผู้นั้นก็ถามอีกว่า “แล้วอะไรอีกเล่า?”
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมตอบว่า “หัจญ์มับรูรฺ” (รายงาน
โดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
และตามรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺ
อันฮุ ว่าท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวไว้ความว่า “จง
ปฏิบัติหัจญ์และอุมเราะฮฺอย่างสม่ำเสมอ แท้จริงสองสิ่งนี้จะลบล้างความ
ขัดสนและความผิด เช่นเครื่องหล่อที่ลบล้างเอาสิ่งสกปรกออกจากเหล็ก
ทองคำและเงิน และหัจญ์มับรูรฺผลตอบแทนคือสวนสวรรค์” (รายงาน
โดย อัต-ติรมีซีย์)
ผลประโยชน์จากการประกอบพิธีหัจญ์อีกเช่นกันคือ การพบปะ
ระหว่างมุสลิมจากทั่วทุกมุมโลกในสถานที่ๆ พระองค์ทรงโปรดที่สุด ทำ
ความรู้จักกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในสิ่งดีงาม ทัดเทียมกันทั้งใน
คำพูด การรำลึกถึงพระองค์ และการกระทำสิ่งเหล่านี้จะช่วยอบรมมุสลิม
ในการรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวในด้านความศรัทธา อิบาดะฮฺ เป้าหมายและ
แนวทาง
ในการรวมตัวของมุสลิมจะนำมาซึ่งการทำความรู้จัก ความ
ใกล้ชิด สนิทสนม ดังพระดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
﴿يَا َأيهَا النَّاسُ إِنَّا خََلقْنَا ُ كمْ مِنْ َ ذ َ كرٍ وَُأنَْثى
وَجَعَلْنَا ُ كمْ شُعُوبًا وَقَبَائِ َ ل لِتَعَارَُفوا إِنَّ َأكْرَمَكُمْ عِنْدَ
( اللَّهِ َأتَْقا ُ كمْ إِنَّ اللَّهَ عَلِيمٌ خَبِيرٌ﴾ (سورة الحجرات 13

ความว่า : โอ้มวลมนุษย์ชาติทั้งหลาย แท้จริงเราได้สร้างพวกเจ้า
จากเพศชายและเพศหญิง และเราได้ให้พวกเจ้าแยกเป็นเผ่าและตระกูล
เพื่อจะได้รู้จักกัน แท้จริงผู้ที่มีเกียรติยิ่งในหมู่พวกเจ้า ณ ที่อัลลอฮฺคือผู้
ที่มีความยำเกรงยิ่งในหมู่พวกเจ้า แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้อย่าง
ละเอียดถี่ถ้วน [ อัล-หุญุรอต โองการที่ 13]
สี่ : กฎเกณฑ์ เงื่อนไขและสิ่งจำเป็นในหัจญ์(วาญิบ)
นักวิชาการอิสลามได้ลงความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า เงื่อนไขของ
หัจญ์มีห้าประการด้วยกันคือ
1. เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม
2. มีสติสัมปชัญญะ
3. บรรลุนิติภาวะ
4. เป็นไท
5. มีความสามารถในการบำเพ็ญหัจญ์.
และได้เพิ่มเงื่อนไขอีก 1 ประการคือ ต้องมีมะหฺร็อมสำหรับ
ผู้หญิง(ผู้ดูแลที่ไม่สามารถแต่งงานด้วยกันได้) ในการเดินทางเพื่อ
บำเพ็ญหัจญ์ ดังวจนะของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมตาม
รายงานของท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ซึ่งมีความว่า “ไม่
เป็นการอนุมัติแก่หญิงที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันอาคิเราะฮฺ ที่จะเดินทาง
ในระยะทางหนึ่งวันนอกจากจะมีมะหฺร็อมไปด้วย” (รายงานโดย อัล-
บุคอรีย์ และมุสลิม)
นักวิชาการฟิกฮฺได้จำแนกเงื่อนไขเหล่านี้ออกเป็นสามจำพวก
ได้แก่
จำพวกแรก : เงื่อนไขเพื่อวาญิบและเพื่อสมบูรณ์ได้แก่ การนับ
ถืออิสลามและการมีสติสัมปชัญญะ ดังนั้น ผู้ที่มิใช่อิสลามิกชนและ
สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์จึงไม่จำเป็นต้องต้องบำเพ็ญหัจญ์ถึงแม้บุคคล
สองจำพวกนี้จะปฏิบัติภารกิจหัจญ์ หัจญ์ของเขาก็ใช้ไม่ได้ เพราะบุคคล
สองจำพวกนี้ไม่พร้อม(เหมาะสม)ในการทำอิบาดะฮฺ(ศาสนกิจ)
จำพวกที่สอง : เงื่อนไขเพื่อวาญิบและ(ได้รับ)ภาคผล คือ บรรลุ
นิติภาวะ และเป็นไท สองเงื่อนไขนี้ไม่ใช่เงื่อนไขเพื่อหัจญ์สมบูรณ์ ดังที่
เข้าใจกัน หากเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและทาสปฏิบัติภารกิจแล้ว หัจญ์
ของบุคคลทั้งสอง จำพวกนี้ใช้ได้แต่จะไม่ได้รับผลบุญจากการปฏิบัติ
ภารกิจหัจญ์อิสลามแต่อย่างใด
จำพวกที่สาม : เงื่อนไขเพื่อวาญิบเพียงอย่างเดียว คือ มี
ความสามารถ หากผู้ที่ไม่มีความสามารถที่จะบำเพ็ญหัจญ์เนื่องด้วย
ความยากลำบาก เดินทางโดยไม่มีเสบียงหรือไม่มีพาหนะ ถือว่าหัจญ์
ของเขาใช้ได้(สมบูรณ์)
ข้อตัดสินหรือหุก่มของการบำเพ็ญฺหัจญ์แทนผู้อื่น
นักวิชาการอิสลามได้ลงความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า ผู้ใดเสียชีวิต
ก่อนที่จะมีความสามารถในการบำเพ็ญหัจญ์ หัจญ์ฟัรฎูของเขาก็สิ้นไป
(ถือว่าไม่จำเป็น) แต่หากผู้ใดเสียชีวิตหลังจากที่มีความสามารถในการ
บำเพ็ญหัจญ์ แต่เขาไม่ได้ปฏิบัติภารกิจหัจญ์ฟัรฎู หัจญ์ของเขาจะสิ้นไป
เพราะการเสียชีวิตของเขาหรือไม่ ?
ที่ถูกต้องแล้ว(อินชาอัลลอฮฺ) ฟัรฎูหัจญ์จะไม่สิ้นสุดด้วยการ
เสียชีวิต โดยญาติของผู้ตายจำเป็นจะต้องบำเพ็ญแทนผู้ตายด้วย
ทรัพย์สินของผู้ตาย ไม่ว่าจะสั่งเสียหรือไม่ก็ตาม เพราะหัจญ์วาญิบอยู่
บนตัวผู้ตาย เช่นเดียวกับหนี้สินที่ต้องชดใช้เท่าจำนวนที่ยืมมา ซึ่งมี
หลักฐานจากหะดีษฺอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ว่า ได้มีหญิงผู้
หนึ่ง บนบานต่ออัลลอฮฺว่า จะทำการบำเพ็ญหัจญ์ หลังจากนั้นไม่นาน
นางก็เสียชีวิต พี่ชาย/น้องชาย ของนางผู้นั้นจึงได้มาหาท่านรอซูล
ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และถามถึงสิ่งที่นางได้บนบานต่ออัลลอฮฺ
ไว้ ท่านจึงกล่าวว่า : “หากพี่/น้องสาวของเจ้ามีหนี้สินเจ้าจะชำระแทน
หรือไม่?” ชายผู้นั้นตอบว่า “จะชำระแทน” ท่านจึงกล่าวว่า “ฉะนั้นจง
ชำระแด่อัลลอฮฺ(คือการบำเพ็ญหัจญ์แทน)เพราะพระองค์ย่อมควรแก่การ
ชำระสัญญามากกว่า” (รายงานโดย อัน-นะสาอีย์)
ผู้ที่ยังมิได้บำเพ็ญฺหัจญ์ให้ตนเอง จะบำเพ็ญให้ผู้อื่นได้หรือไม่?
ที่ถูกต้องคือ เขาจงอย่าบำเพ็ญหัจญ์ให้ผู้อื่นตราบใดที่ยังไม่ได้
ปฏิบัติให้ตนเอง ดังหลักฐานในหะดีษฺที่เป็นที่รู้จักกันดีว่า ครั้งหนึ่งท่าน
รอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ยินชายผู้หนึ่งกล่าวว่า
َلبَّيْكَ عَنْ شُبْرُمََة
(ฉันได้ตอบรับคำเรียกร้องของพระองค์แทนชุบรุมะฮฺ)
ท่านรอซูลจึงถามว่า “ใครคือ ชุบรุมะฮฺ?” ชายผู้นั้นตอบว่า “พี่/
น้อง หรือญาติของฉัน” ท่านรอซูลถามต่อว่า “ท่านได้ปฏิบัติภารกิจหัจญ์
ให้ตนเองหรือยัง?” ชายผู้นั้นตอบว่า “ยังไม่ได้ปฏิบัติ” ท่านจึงกล่าวว่า
“จงบำเพ็ญหัจญ์ให้ตนเองเสียก่อน จากนั้นจงปฏิบัติให้ ชุบรุมะฮฺ”
(รายงานโดย อะหฺมัด, อบู ดาวูด, อิบนุ มาญะฮฺ และอัล-บัยฮะกีย์)
และที่ถูกต้องอีกเช่นกันคือ สามารถปฏิบัติภารกิจหัจญ์แทนผู้ที่
ขาดความสามารถหรืออ่อนแอได้ ด้วยหลักฐานจาก ฟัฏลฺ อิบนุ อับบาส
เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา กล่าวถึงหญิงจากเผ่า ค็อซฺอัม นางกล่าวว่า “โอ้
รอซูลุลลอฮฺ แท้จริงแล้วอัลลอฮฺทรงกำหนดให้บ่าวของพระองค์บำเพ็ญ
หัจญ์ ด้วยพ่อของฉันชราภาพไม่สามารถนั่งบนพาหนะได้ ฉันจะสามารถ
ปฏิบัติภารกิจหัจญ์แทนท่านได้หรือไม่?” ท่านรอซูลตอบว่า “ย่อมได้”
เหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นในหัจญ์วิดาอฺ
ควรบำเพ็ญหัจญ์เมื่อใด ?
จากคำกล่าวของนักวิชาการอิสลามที่มีน้ำหนักค่อนข้างมาก
(อินชาอัลลอฮฺ)ว่า การบำเพ็ญหัจญ์จำเป็นต้องปฏิบัติในทันทีที่เงื่อนไข
ของการวาญิบหัจญ์ครบถ้วนสมบูรณ์ และได้อ้างอิงถึงพระดำรัส
ของอัลลอฮฺ ที่ว่า
﴿وَلِلَّهِ عََلى النَّاسِ حِ  ج الْبَيْتِ مَنِ اسْتَطَاعَ إَِليْهِ
( سَبِي ً لا﴾ (سورة آل عمران : 97
ความว่า : สิทธิของอัลลอฮฺที่มีแก่มนุษย์นั้นคือ การมุ่งสู่บ้านหลัง
นั้น อันได้แก่ผู้ที่สามารถหาทางไปยังบ้านหลังนั้นได้ [ อาล อิมรอน
โองการที่ 97]
และพระดำรัสของอัลลอฮฺอีกบทหนึ่งที่ว่า
( ﴿وََأتِ  موا الْحَجَّ وَالْعُمْرََة لِلَّهِ﴾ (سورة البقرة : 196
ความว่า : และพวกเจ้าจงปฏิบัติให้สมบูรณ์ ซึ่งการทำหัจญ์และ
การทำอุมเราะฮฺ เพื่ออัลลอฮฺเถิด [อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 196]
และจากหะดีษฺอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ความว่า “จง
เร่งรีบในการบำเพ็ญหัจญ์เถิด (หมายถึงหัจญ์ฟัรฎู) แท้จริงบุคคลใด
บุคคลหนึ่งมิล่วงรู้ถึงสิ่งที่จะบังเกิดแก่เขา” (รายงานโดย อะหฺมัด, อบู
ดาวูด และอัล-หากิม)
ห้า : รุก่นหัจญ์
รุก่นหัจญ์มีสี่ประการคือ
1. การอิหฺรอม (หมายถึง การเนียตเข้าพิธีหัจญ์)
2. การวูกุฟ(พำนัก)ที่อะเราะฟะฮฺ
3. การเฏาะวาฟฺอิฟาเฏาะฮฺ (ในวันที่ 10 หรือในวันตัชรีก)
4. สะแอ ระหว่างเศาะฟาและมัรวะฮฺ
รุก่นทั้งสี่ประการนี้จำเป็นต้องปฏิบัติในการบำเพ็ญหัจญ์ ซึ่งหาก
ผู้ใดละทิ้งข้อหนึ่งข้อใดหัจญ์ของเขาก็จะไม่สมบูรณ์
ก. รุก่นแรก การอิหฺรอม
1. ความหมายของอิหฺรอม คือการเนียตเพื่อเข้าในการปฏิบัติ
ภารกิจหัจญ์
2. มีกอต(กำหนดเวลาและสถานที่)ของการครองอิหฺรอม มีสอง
ชนิดได้แก่ เวลา และสถานที่
มีกอตเวลา ได้แก่ : ช่วงเดือนหัจญ์ ซึ่งอัลลอฮฺทรงมีดำรัสว่า
( ﴿الْحَ  ج َأشْهُرٌ مَعْلُومَاتٌ﴾ (سورة البقرة: 197
ความว่า : การบำเพ็ญหัจญ์ อยู่ในเดือนที่ถูกกำหนดไว้แล้ว
[อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 197]
ซึ่ง ณ ที่นี้ คือเดือนเชาวาล ซุลเกาะอฺดะฮฺ และซุลหิจญะฮฺ
มีกอตสถานที่ ได้แก่ พรมแดนซึ่งไม่อนุมัติให้ผู้ที่ปฏิบัตภารกิจ
หัจญ์ล่วงล้ำเพื่อเดินทางไปยังมักกะฮฺโดยที่ยังมิได้ทำการอิหฺรอมซึ่งมีห้า
สถานที่ด้วยกัน
1. ซุลหุลัยฟะฮฺ มีชื่อเรียกในปัจจุบันว่า “อับยารฺ อะลี” ซึ่งถูก
กำหนดให้เป็นมีกอตของชาวมะดีนะฮฺ มีระยะทางห่างจากมักกะฮฺ 336
กิโลเมตร หรือ 226 ไมล์
2. ญุหฺฟะฮฺ คือ หมู่บ้านซึ่งอยู่ห่างจากทะเลแดง 10 กิโลเมตร
และห่างจากมักกะฮฺ 180 กิโลเมตร หรือ 120 ไมล์ มีกอตนี้กำหนดให้เป็น
มีกอตของชาวอียิปต์ ชาม(แถบซีเรีย) มัฆริบ(ประเทศทางโมร็อกโก)
และประเทศซึ่งตั้งอยู่แนวหลังประเทศเหล่านี้และชาวสเปน โรม ตักโร
เป็นต้น แต่ผู้คนในปัจจุบันได้ทำการอิหฺรอมจาก “รอบิฆฺ” ตั้งอยู่แนว
เดียวกันกับ ญุหฺฟะฮฺ
3. ยะลัมลัม มีชื่อเรียกในปัจจุบันว่า “สะอฺดิยะฮฺ” คือภูเขาจาก
เทือกเขาติฮามะฮฺ ห่างจากมักกะฮฺ 72 กิโลเมตร หรือ 48 ไมล์ เป็นมีกอต
ของชาว เยเมน ชวา อินเดียและจีน

4. ก็อรนุ อัล-มะนาซิลฺ มีชื่อเรียกในปัจจุบันว่า “ซัยลุลมีรฺ” ห่าง
จากมักกะฮฺ 72 กิโลเมตร หรือ 48 ไมล์ เป็นมีกอตของชาวเมืองนัจญ์ดฺ
และชาวฏออิฟ
5. ซาตุล อิรกฺ มีชื่อเรียกในปัจจุบันว่า “อัฏ-เฏาะรีบะฮฺ” ที่ได้มีชื่อ
เรียกเช่นนี้เพราะที่ซาตุล อิรกฺ มีเขาลูกเล็กที่ชื่อ อิรก ฺ ห่างจากมักกะฮฺ 72
กิโลเมตร หรือ 48 ไมล์ เป็นมีกอตของผู้ที่อาศัยอยู่ทางทิศตะวันออก คือ
ชาวอิรักและอิหร่าน
สถานที่ที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ คือ มีกอตสถานที่ เป็นพรมแดน
ซึ่งไม่อนุมัติให้ผู้ที่บำเพ็ญหัจญ์และอุมเราะฮฺล่วงล้ำไปยังมักกะฮฺโดยที่ยัง
มิได้ทำการอิหฺรอม
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้อธิบายถึงสถานที่
เหล่านี้ ดังในหะดีษฺ จากการรายงานของท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ
อันฮุมา ความว่า “ท่านรอซูลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้
กำหนดซุลหุลัยฟะฮฺเป็นมีกอตของชาวมะดีนะฮฺ ญุหฺฟะฮฺเป็นมีกอตของ
ชาวมักกะฮฺ(แถบซีเรีย) ก็อรนุ อัล-มะนาซิล เป็นมีกอตของชาวนัจญ์ดฺ
และยะลัมลัมเป็นมีกอตของชาวเยเมน สถานที่เหล่านี้กำหนดให้ชาวเมือง
เหล่านี้และผู้ที่เดินทางผ่านเมืองเหล่านี้เพื่อบำเพ็ญหัจญ์และอุมเราะฮฺ
สำหรับผู้อื่นที่มิใช่ชาวเมืองดังกล่าวให้ทำการอิหฺรอมจากที่ใดก็ได้ที่เขา
ประสงค์ ซึ่งชาวมักกะฮฺก็ให้ทำการอิหฺรอมจากมักกะฮฺ” (บันทึกโดย อัล-
บุคอรีย์ และมุสลิม)
และจากการบันทึกของมุสลิมตามรายงานหะดีษฺโดยญาบิรฺ
เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ความว่า “มีกอตของชาวอิรักคือ ซาตุล อิรกฺ”
หากผู้ใดไม่ได้เดินทางผ่านมีกอตของเขาก็ให้ใช้มีกอตที่กำหนด
ไว้แล้ว โดยทำการอิหฺรอมเมื่อรู้ว่าได้อยู่ในแนวเดียวกันกับมีกอตที่ใกล้
ที่สุดดังกล่าว สำหรับผู้ที่เดินทางโดยเครื่องบินให้ทำการอิหฺรอม เมื่อ
เครื่องบินบินอยู่ในแนวเดียวกันกับมีกอตเหล่านี้ และไม่อนุมัติให้
ยืดเวลาการอิหฺรอมจนกระทั่งเครื่องบินลงจอด ณ สนามบินญิดดะฮ์
ดังที่ผู้บำเพ็ญหัจญ์บางกลุ่มได้กระทำกัน เพราะญิดดะฮฺมิใช่มีกอตนอก
เสียจากว่าเขาเป็นชาวญิดดะฮฺเท่านั้น และไม่อนุมัติให้ทำการเนียตหัจญ์
หรือ อุมเราะฮฺจากญิดดะฮฺ แท้จริงเขาได้ละทิ้งสิ่งวาญิบนั่นคือ การอิหฺ
รอม ซึ่งเขาจำเป็นต้องจ่ายฟิดยะฮฺ (การชดเชยที่ถูกกำหนดไว้)
เช่นกันผู้ใดที่ล่วงล้ำมีกอตโดยมิได้ทำการอิหฺรอมก็ให้ย้อนกลับ
ไปยังมีกอตใหม่ หากไม่ย้อนกลับ แต่ทำการครองอิหฺรอมโดยที่ไม่ใช่จาก
มีกอต จำเป็นต้องจ่ายฟิดยะฮฺ โดยการเชือดแพะ 1 ตัว หรือ อูฐ 1 ตัว
แบ่งเป็น 7 ส่วน หรือ วัว 1 ตัว แบ่งเป็น 7 ส่วน จากนั้นในการแจกจ่าย
แก่คนยากจนในเขตหะร็อมมักกะฮฺ โดยที่เขาไม่ได้รับอนุญาตให้
รับประทานเนื้อสัตว์ เหล่านี้แม้แต่น้อย
ลักษณะของการอิหฺรอม
ส่งเสริมให้มีการเตรียมตัวก่อนการครองอิหฺรอมด้วยการอาบน้ำ
ทำความสะอาดร่างกาย ตัดหรือโกนขน ซึ่งเป็นขนที่อิสลามได้กำหนดไว้
ให้โกนได้(เช่น ขนในที่ลับ ขนใต้รักแร้) และพรมน้ำหอมลงบนร่างกาย
สำหรับผู้ชายให้เปลื้องผ้าที่ทำการตัดเย็บออก แล้วสวมผ้าที่ขาวสะอาดให้
ปกปิดส่วนบนและส่วนล่าง
ไม่มีการละหมาดใดที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการครองอิหฺรอม แต่
หากเกิดบังเอิญตรงกับเวลาละหมาดฟัรฎูก็ให้ทำการครองอิหฺรอม
หลังจากละหมาดฟัรฎูเสร็จ เพราะท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม เนียตอิหฺรอมหลังละหมาดเสร็จ หลังจากนั้นให้เลือกการ
อิหฺรอมตามต้องการจากหัจญ์สามประเภท คือ ตะมัตตุอฺ กีรอน อิฟรอด
- ตะมัตตุอฺ คือ การเนียตอิหฺรอมทำพิธีอุมเราะฮฺในเดือนหัจญ์
จากนั้นเปลื้องอิหฺรอมหลังจากปฏิบัติอุมเราะฮฺเสร็จ แล้วจึงเนียตอิหฺรอม
หัจญ์ในขณะที่ออกเดินทางประกอบพิธีหัจญ์ในวันที่แปด
- กีรอน คือ การเนียตอิหฺรอม อุมเราะฮฺ และหัจญ์ในคราว
เดียวกันหรือเนียตอิหฺรอมก่อน จากนั้นก็นำหัจญ์เข้าไปในการทำ
อุมเราะฮฺ โดยเนียตก่อนที่จะเริ่มการเฏาะวาฟอุมเราะฮฺ โดยต้องทำการ
เนียตอุมเราะฮฺและหัจญ์มาจากมีกอต หรือเนียตหัจญ์ก่อนที่จะเริ่มการ
เฏาะวาฟอุมเราะฮฺจากนั้นให้เฏาะวาฟอุมเราะฮฺและหัจญ์ต่อด้วยการ
สะแอของหัจญ์
- อิฟรอด คือการเนียตอิหฺรอมหัจญ์มาจากมีกอตเพียงอย่าง
เดียว จากนั้นให้ครองอิหฺรอมจนกระทั่งเสร็จพิธีหัจญ์
สำหรับผู้ที่ประกอบหัจญ์ตะมัตตุอฺหรือหัจญ์กีรอน หากมิใช่ชาว
หะร็อมมักกะฮฺจะต้องจ่ายฟิดยะฮฺ
ได้มีทรรศนะขัดแย้งกันถึงการบำเพ็ญหัจญ์ว่าหัจญ์อย่างใดดี
ที่สุด ซึ่งนักวิชาการรุ่นก่อนๆเห็นว่า การบำเพ็ญหัจญ์ตะมัดตุอฺดีที่สุด
เมื่อทำการอิหฺรอมหัจญ์ชนิดใดชนิดหนึ่งดังที่ได้กล่าวมาเสร็จ
เรียบร้อยแล้ว ก็ให้กล่าวตัลบิยะฮฺโดยกล่าวว่า
َلبَّيْكَ اللَّهُمَّ َلبَّيْكَ، َلبَّيْكَ َ لا شَرِيْكَ َلكَ َلبَّيْكَ، إِنَّ
اْلحَمْدَ وَالنعْمََة َلكَ وَاْلمَُلكَ َ لا شَرِيْكَ َلكَ
ลับบัยกัลลอฮุมมะลับบัยก์ ลับบัยกะลา ชะรีกะ
ล่ะกะ ลับบัยก์, อินนัลหัมดะ วันนิอฺมะตะ ล่ะกะ
วัลมุลก์ ลาชะรีกะลัก
ความหมาย : ขอตอบรับการเชิญชวนของพระองค์ โอ้ พระผู้
อภิบาลแห่งเรา เราขอตอบรับการเชิญชวนของพระองค์ เราขอตอบรับ
โดยไม่ตั้งภาคีใดๆ กับพระองค์ เราขอตอบรับพระองค์อีกครั้ง แท้จริง
การสรรเสริญและคุณต่างๆ นั้นเป็นของพระองค์ อำนาจทั้งมวลก็เป็น
ของพระองค์ โดยไม่มีภาคีใดๆ กับพระองค์
พยายามกล่าวให้บ่อยที่สุด หากเป็นผู้ชายก็ให้กล่าวด้วยเสียงดัง
และให้กล่าวเบาๆสำหรับผู้หญิง
สิ่งต้องห้ามในการครองอิหฺรอม
คือ สิ่งที่ห้ามไม่ให้ผู้ที่ครองอิหฺรอมกระทำ อันเนื่องจากการ
ครองอิหฺรอมมีเก้าอย่างด้วยกันคือ
1. การกำจัดขนจากร่างกายด้วยการโกนหรือวิธีอื่นๆ ดังดำรัส
ของอัลลอฮฺ
﴿وَلا تَحْلِقُوا رُؤُوسَ ُ كمْ حَتَّى يَبْلُ َ غ اْلهَدْيُ مَحِلَّهُ﴾
( (سورة البقرة: 196
ความว่า : และจงอย่าโกนศีรษะของพวกเจ้า จนกว่าสัตว์พลีนั้น
จะถึงที่ของมัน [ อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 196]
2. การตัดเล็บ เพราะการตัดเล็บจะนำมาซึ่งความเพลิดเพลิน
ดังนั้นการตัดเล็บจึงเหมือนการกำจัดขน ยกเว้นในกรณีจำเป็น อนุมัติให้
ตัดเล็บและกำจัดขนได้
3. การปกปิดศีรษะสำหรับชาย เนื่องจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ
อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ห้ามมิให้ผู้ที่ครองอิหฺรอมทำการโพกศีรษะ ดัง
วจนะของท่านในรายงานของท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ซึ่ง
กล่าวถึงชายที่ครองอิหฺรอมแล้วตกพาหนะเสียชีวิตความว่า “จงอย่า
ปกปิดศีรษะของเขา เพราะเขาจะฟื้นคืนชีพในวันกียามะฮ์ในสภาพที่
กล่าวตัลบิยะฮฺ (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์และมุสลิม)
และท่านอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ได้กล่าวว่า “การ
ครองอิหฺรอมของชายนั้นได้แก่ศีรษะของเขา(คือ ห้ามปกปิดศีรษะ)และ
การครองอิหฺรอมของหญิงคือใบหน้าของหล่อน(คือห้ามปกปิดใบหน้า)”
(รายงานโดย อัล-บัยฮะกีย์ ด้วยสายรายงานที่ดี)
4. ห้ามผู้ชายสวมใส่สิ่งที่ตัดเย็บเป็นรูปทรง หรือสวมคุ๊ฟ(ถุงเท้า
หุ้มข้อทำมาจากหนังสัตว์) ดังที่ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ
อันฮุมา รายงานว่า ได้มีชายผู้หนึ่งถามท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม ถึงสิ่งที่ผู้ครองอิหฺรอมสามารถสวมใส่ได้ ท่านรอซูลตอบว่า “ผู้
ที่ครองอิหฺรอมห้ามสวมเสื้อ โพกศีรษะ สวมเสื้อคลุม สวมกางเกง หรือ
สวมเสื้อผ้าที่พรมด้วยซ็อฟรอน(ชื่อของพืชชนิดหนึ่งที่สกัดเป็นน้ำหอม
หรือเครื่องแป้ง)หรือสวมถุงเท้าหนัง ยกเว้นผู้ที่ไม่มีรองเท้าแตะ เขาก็จง

ตัดถุงเท้าหนังดังกล่าวให้ต่ำกว่าข้อเท้า” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และ
มุสลิม)
5. การใช้เครื่องหอม เพราะท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม เคยสั่งให้ชายคนหนึ่งในรายงานของ ซ็อฟวาน อิบนุ ยะอฺลา
อิบนุ คุมัยยะฮฺ ล้างเครื่องหอมออก (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และ
มุสลิม)
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็เคยกล่าวถึงชายที่
ครองอิหฺรอมแล้วตกอูฐเสียชีวิตว่า “จงอย่าใช้เครื่องหอมในการจัดการ
ศพของเขา” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิมตามการรายงานของ
ท่านอิบนุ อับบาส)
ส่วนบทหะดีษฺที่บันทึกโดยมุสลิม มีความว่า “จงอย่าทาเครื่อง
หอมบนตัวเขา”
และห้ามมิให้ผู้ที่ครองอิหฺรอมพรมน้ำหอมหรือสิ่งใดที่มีกลิ่น
หอมลงบนร่างกาย หลังจากที่ครองอิหฺรอมเรียบร้อยแล้ว เนื่องจาก
หะดีษฺจาก อิบนุ อับบาส ที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น
6. การล่าสัตว์บก ดังพระดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
﴿يَا َأيهَا الَّذِينَ آمَنُوا لا تَقْتُلُوا الصَّيْدَ وََأنْتُمْ حُرُمٌ﴾
( (سورة المائدة: 95
ความว่า : โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงอย่าฆ่าสัตว์ล่าในขณะที่
พวกเจ้ากำลังครองอิหฺรอมอยู่ [อัล-มาอิดะฮฺ โองการที่ 95]
และห้ามล่าถึงแม้จะไม่ฆ่าหรือทำให้เกิดบาดแผลก็ตามดังพระ
ดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
﴿وَحُ  رمَ عََليْ ُ كمْ صَيْدُ الْبَ  ر مَا دُمْتُمْ حُرُمًا﴾
( (سورة المائدة: 96
ความว่า : และได้ถูกห้ามแก่พวกเจ้าซึ่งสัตว์ล่าบนบกตราบใดที่
พวกเจ้าครองอิหฺรอมอยู่ [อัล-มาอิดะฮฺ โองการที่ 96]
7. กระทำการแต่งงาน (นิกาหฺ) โดยห้ามมิให้ผู้ที่ครองอิหฺรอม
แต่งงานเป็นจ้าวบ่าวหรือแต่งให้ผู้อื่น จะด้วยการมอบอำนาจ หรือด้วย
ตัวแทนก็ตาม ซึ่งมีหลักฐานจากหะดีษฺซึ่งรายงานโดยท่านอุษมาน
เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าว
ความว่า “ห้ามมิให้ผู้ที่ครองอิหฺรอมกระทำการแต่งงานหรือแต่งให้ผู้อื่น
และห้ามการหมั้นหมาย” (บันทึกโดยมุสลิม)
8. การร่วมประเวณีกับหญิงทางอวัยวะเพศของนาง ดังดำรัส
ของอัลลอฮที่ว่า
﴿َفمَنْ َفرَضَ فِيهِنَّ الْحَجَّ َفلا رََف َ ث﴾
( (سورة البقرة: 197
ความว่า : ดังนั้นผู้ใดที่ได้ตั้งมั่นทำหัจญ์ในเดือนเหล่านั้นแล้ว ก็
ต้องไม่มีการสนองกำหนัด [ อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 197]
ท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา กล่าวว่าในที่นี้หมายถึง
การมีเพศสัมพันธ์ ดังหลักฐานจากคำดำรัสของพระองค์อัลลอฮฺที่ว่า
﴿ُأحِلَّ َل ُ كمْ َليَْلَة ال  صيَامِ الرََّفثُ إَِلى نِسَائِ ُ كمْ﴾
( (سورة البقرة: 187
คำว่า ( الرفث ) ในที่นี้ หมายถึง การมีเพศสัมพันธ์
9. การร่วมหรือหลั่งโดยมิใช่ทางอวัยวะเพศหญิง อันเกิดจาก
อารมณ์ทางเพศ จากการจูบ จากการแตะเนื้อต้องตัว หรือการมองด้วย
อารมณ์ทางเพศ ก็ต้องห้ามเช่นกัน เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นแนวทางอันจะ
นำไปสู่การร่วมเพศของผู้ที่ครองอิหฺรอม ดังนั้นสิ่งเหล่านี้จึงเป็นที่
ต้องห้าม
สำหรับผู้หญิงก็เช่นเดียวกับผู้ชายในข้อห้ามเหล่านี้ แต่จะ
แตกต่างกันในสิ่งอื่นคือ สำหรับผู้หญิงการครองอิหฺรอมของพวกนางคือ
ใบหน้าของนาง(ห้ามปกปิดใบหน้า) ดังนั้นจึงห้ามมิให้พวกนางปกปิด
ใบหน้าด้วยบุรกุอฺ(ลักษณะคล้ายหน้ากากใช้ปิดใบหน้า) หรือนิกอบฺ(ผ้าที่
ใช้ปิดใบหน้า) หรือด้วยสิ่งอื่นๆและห้ามมิให้สวมถุงมือ
ดังหะดีษฺที่รายงานโดยท่านอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา
จากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม (ส่วนหนึ่งจากหะดีษฺ)
ความว่า “ห้ามมิให้หญิงที่ครองอิหฺรอมปกปิดใบหน้าและสวมถุงมือ”
(บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์)
และอีกรายงานหนึ่งจากท่าน อิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา
เช่นกันว่า “การครองอิหฺรอมของหญิงคือใบหน้าของหล่อน” (บันทึกโดย
อัล-บัยฮะกีย์ ด้วยสายรายงานที่ดี )

และตามรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา “ได้
มีกลุ่มผู้ที่ขี่พาหนะเดินทางผ่านพวกเรา (เราในที่นี้หมายถึง กลุ่มผู้หญิง
ด้วยกัน) ซึ่งพวกเราในขณะนั้นอยู่กับท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม ในลักษณะครองอิหฺรอม เมื่อกลุ่มดังกล่าวได้เข้ามาใกล้พวกเรา
หญิงผู้หนึ่งในหมู่พวกเราได้ดึงผ้าปิดหน้าที่ยาวเลยทรวงอกของเธอลงมา
จากศีรษะปิดใบหน้าของเธอ และเมื่อกลุ่มดังกล่าวได้ผ่านไป พวกเราจึง
เปิดใบหน้าเช่นเดิม” (บันทึกโดยอบู ดาวูด, อิบน ุ มาญะฮฺ และอะหฺมัด)
และห้ามสำหรับผู้หญิงในสิ่งที่ห้ามสำหรับผู้ชาย ในเรื่องการ
กำจัดขน การตัดเล็บ การล่าสัตว์และอื่นๆ เพราะผู้หญิงรวมเข้าในคำสั่ง
ใช้โดยรวมเช่นกัน ยกเว้นการสวมสิ่งตัดเย็บ สวมถุงเท้า และการปกปิด
ศีรษะ ซึ่งไม่เป็นต้องห้ามสำหรับนาง
ข. รุก่นที่สอง : คือการหยุดพำนัก ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺ
ดังวจนะของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมที่มีความ
ว่า “หัจญ์คืออะเราะฟะฮฺ (หมายถึงการพำนักที่อะเราะฟะฮฺเป็นเป้าหมาย
หลักของหัจญ์)” (บันทึกโดย อะหฺมัด, อบู ดาวูด, อัน-นะสาอีย์, อิบนุ
มาญะฮฺ และอัต-ติรมีซีย์)
ค. รุก่นข้อที่สาม : การเฏาะวาฟ อิฟาเฎาะฮฺ
ดังพระดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
( ﴿وَلْيَطَّوَّفُوا بِالْبَيْتِ اْلعَتِيقِ﴾ (سورة الحج: 29
ความว่า : และจงให้พวกเขาเฏาะวาฟรอบบ้านอันเก่าแก่(บัย
ตุลลอฮฺ) [ อัล-หัจญ์ โองการที่ 29]
ง. รุก่นที่สี่ : การสะแอ
ดังมีหลักฐานจากวจนะของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม ความว่า “จงทำการสะแอเถิด แท้จริงอัลลอฮฺได้กำหนดแก่พวก
เจ้าซึ่งการสะแอ” (บันทึกโดย อะหฺมัด และอัล-บัยฮะกีย์)
หก : สิ่งวาญิบ(พึงจำเป็น)
ในการบำเพ็ญหัจญ์ มีเจ็ดประการคือ
1. การอิหฺรอม จากมีกอตที่ถูกกำหนด
2. หยุดพำนัก ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺ จนกระทั่งตะวันตกดิน สำหรับ
ผู้ที่หยุดในกลางวัน
3. การค้างคืนที่มุซดะลิฟะฮฺ
4. การค้างคืนที่มีนาในค่ำคืนของวันตัชรีก (วันที่ 10 ถึง 13)
5. การขว้างเสาหิน
6. การโกนหรือตัดผม
7. การเฏาะวาฟ วิดาอ์(เฏาะวาฟอำลาก่อนการเดินทางกลับ
ภูมิลำเนา)
เจ็ด : การประกอบพิธีหัจญ์
1. มีแบบฉบับสำหรับผู้ที่ต้องการประกอบพิธีหัจญ์ ให้อาบน้ำ
สุนัตซึ่งกระทำเช่นเดียวกับการอาบน้ำเนื่องจากญุนุบ ให้ใส่น้ำหอมตาม
ร่างกาย ศีรษะ เครา และให้ใส่ผ้าสีขาวสองผืน เพื่อใช้ห่มและนุ่ง สำหรับ
สตรีให้สวมใส่เสื้อผ้าตามที่นางต้องการ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องไม่เปิดเผย
เครื่องประดับของนาง
2. เมื่อเดินทางถึงมีกอต(สถานที่เพื่อเนียตครองอิหฺรอม)ให้
ละหมาดฟัรฎู หากว่าเวลานั้นอยู่ในช่วงฟัรฎู(สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ละหมาด)
เพื่อเขาจะได้ทำการเนียตครองอิหฺรอมหลังจากละหมาดเสร็จ แต่ถ้าหาก
ว่าเวลานั้นไม่ใช่เวลาละหมาดฟัรฎู ก็ให้ละหมาดสุนัต 2 ร็อกอะฮฺโดย
เนียตว่าเป็นการละหมาดสุนัตวุฎูอฺ(ละหมาดเนื่องจากอาบน้ำละหมาด)
และต้องไม่เนียตว่าเป็นการละหมาดครองอิหฺรอม เนื่องจากไม่มีหลักฐาน
ยืนยันจากท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า การละหมาดสุนัต
เพื่อครองอิหฺรอมเป็นแบบอย่างของท่าน
3. เมื่อเสร็จจากการละหมาดแล้ว ให้เนียตเข้าสู่พิธีกรรม หากทำ
แบบตะมัตตุอฺให้กล่าวตัลบิยะฮฺว่า
َلبَّيْكَ اللَّهُمَّ عُمْرًَة
คำอ่าน : ลับบัยกัลป์ลอฮุมมะ อุมเราะตัน
หากประกอบพิธีหัจญ์แบบอิฟรอดให้กล่าวว่า
َلبَّيْكَ اللَّهُمَّ حَ  جا
คำอ่าน : ลับบัยกัลป์ลอฮุมมะ หัจญัน
หากประกอบพิธีหัจญ์แบบกิรอนให้กล่าวว่า
َلبَّيْكَ اللَّهُمَّ حَجا فِيْ عُمْرَةٍ
คำอ่าน : ลับบัยกัลป์ลอฮุมมะ หัจญัน ฟี อุมเราะฮฺ
ซึ่งผู้ชายให้กล่าวเสียงดัง ส่วนผู้หญิงให้กล่าวเสียงเบา และสุนัต
(ส่งเสริม) ให้ทำการกล่าวตัลบิยะฮฺมากๆ
4. เมื่อถึงเมืองมักกะฮฺให้เริ่มเฏาะวาฟ(เวียนรอบกะอฺบะฮฺ) โดย
เริ่มจากแนวหินดำ และให้วิหารกะอฺบะฮฺอยู่ทางด้านซ้ายของเขา หลังจาก
นั้นเมื่อครบรอบ ให้ทำการจูบหินดำหรือใช้มือขวาสัมผัสหินดำ ในกรณีที่
สามารถทำได้และไม่มีการแออัดของผู้คน หากเกิดความลำบาก ให้ยก
มือไปทางหินดำแทนพร้อมกล่าวตักบีรฺ “อัลลอฮุ อักบัรฺ” และให้กล่าวว่า
َاللَّهُمَّ إِيْمَانًا بِكَ، وَتَصْدِيْقًا بِكِتَابِكَ، وَوََفاءً بِعَهْدِكَ،
وَاتبَاعًا لِسُنَّةِ نَبِيكَ صَلَّى اللهُ عََليْهِ وَسَلَّمَ
คำอ่าน : อัลลอฮุมมะ อีมานัน บิกะ, วะตัศดีก็อน บิ
กิตาบิกะ วา วะฟาอัน บิ อะฮฺดิกะ, วัตติบาอัน ลิ
ซุนนะติ นะบิยฺยิกะ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม
ความว่า : ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้าพระองค์(เฏาะวาฟ) ด้วยความมีใจ
ศรัทธาต่อพระองค์ และเชื่อในคัมภีร์ของพระองค์และยอมปฏิบัติตนตาม
สัญญาของพระองค์ อีกทั้งยังปฏิบัติตามแนวทางของศาสนทูตแห่ง
พระองค์ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม
การเฏาะวาฟรอบกะอฺบะฮฺนั้นต้องกระทำเจ็ดรอบ และเมื่อผ่าน
รุกนุลยะมานี(มุมหนึ่งของวิหารกะอฺบะฮฺก่อนถึงตำแหน่งของหินดำ) ให้
สัมผัสโดยไม่มีการจูบ (หากผู้คนไม่แออัด แต่หากผู้คนแออัดหรือเกิด
ความลำบากให้เขาละทิ้งโดยไม่ต้องกระทำการใดๆ)
สำหรับผู้ชายสุนัตให้เฏาะวาฟแบบร็อมลฺใน 3 รอบแรก(คือการ
วิ่งเหยาะๆ)ในเฏาะวาฟกุดูม(เฏาะวาฟครั้งแรก)โดยมีรายงานจากท่าน
อิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ความว่า “เมื่อท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺ
อะลัยฮิ วะสัลลัมทำการเฏาะวาฟครั้งแรก ท่านได้วิ่งเหยาะๆ สามรอบ
และเดินสี่รอบ” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์และมุสลิม)
และให้ทำการครองอิหฺรอมแบบสไบเฉียง ตามแบบอย่างของ
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม (คือ การห่มผ้าที่ใช้ห่มส่วนบน
โดยให้ผ้าอยู่ใต้รักแร้ด้านขวาเพื่อเปิดไหล่ขวาและปิดไหล่ซ้ายเอาไว้)
เนื่องจากมีหะดีษฺรายงานโดยอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ความ
ว่า “ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมและบรรดาเศาะหาบะฮฺของ
ท่านได้ห่มแบบสไบเฉียงและวิ่งเหยาะๆ สามรอบ”
การห่มแบบสไบเฉียงเป็นแบบฉบับเฉพาะในขณะที่ทำการ
เฏาะวาฟเท่านั้น จึงไม่มีแบบฉบับให้ห่มแบบสไบเฉียงก่อนหรือหลังการ
เฏาะวาฟ
ให้ขอดุอาอฺในสิ่งที่ปรารถนาด้วยความนอบน้อมและใจที่แน่วแน่
ขณะทำการเฏาะวาฟพร้อมให้กล่าวขณะเฏาะวาฟอยู่ระหว่าง รุกนุ้ล-
ยะมานีย์กับหินดำว่า
﴿رَبَّنَا آتِنَا فِي ال  دنْيَا حَسَنًَة وَفِي الْآخِرَةِ حَسَنًَة وَقِنَا
( عَذَابَ النَّارِ﴾ (سورة البقرة: 201
ความว่า : พระผู้อภิบาลของพระองค์ทรงประทานให้แก่เราซึ่งสิ่ง
ที่ดีงามในโลกนี้และสิ่งที่ดีงามในโลกหน้าและโปรดปกป้องเราให้พ้นจาก
การลงโทษในไฟนรกด้วยเถิด [ อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 201]
ส่วนการอ่านดุอาอฺที่เจาะจงแน่นอนในแต่ละรอบนั้น ไม่ใช่แบบ
ฉบับจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม แต่หากถือว่าการ
กระทำเช่นนั้นเป็นอุตริกรรม(บิดอะฮฺ)
การเฏาะวาฟมีสามประเภท คือ
1. อิฟาเฏาะฮฺ( คือเฏาะวาฟ หนึ่งครั้งในวันที่สิบหรือหลังจากนั้น)
2. กุดูม (คือเฏาะวาฟขณะเดินทางถึงมักกะฮฺหรือในการทำ
อุมเราะฮฺ)
3. วะดาอ์(การเฏาะวาฟเพื่ออำลาก่อนเดินทางกลับภูมิลำเนา) ซึ่ง
เป็นวาญิบตามทัศนะนักวิชาการส่วนใหญ่
5. เมื่อเสร็จจากการเฏาะวาฟแล้วให้ละหมาดสุนัตสองร็อกอัต
หลังมะกอมอิบรอฮีม แม้ว่าจะยืนละหมาดอยู่ไกลจากมะกอมอิบรอฮีมก็
ตาม โดยในขณะละหมาดให้อ่าน สูเราะฮฺ อัล-กาฟิรูน ในร็อกอัตแรก

และให้อ่าน สูเราะฮฺ อัล-อิคลาศ ในร็อกอัตที่สอง ซึ่งสุนัตให้อ่านด้วย
เสียงเบาทั้งสองร็อกอัต
6. จากนั้นให้ทำการสะแอ(การเดินระหว่างภูเขาเศาะฟากับ
มัรวะฮฺ)เจ็ดเที่ยว เริ่มจากภูเขาเศาะฟาและสิ้นสุดที่ภูเขามัรวะฮฺ เมื่อขึ้น
ภูเขาเศาะฟาให้กล่าวว่า
﴿إِنَّ الصََّفا وَالْمَرْوََة مِنْ شَعَائِرِ اللَّهِ َفمَنْ حَجَّ
الْبَيْتَ َأوِ اعْتَمَرَ َفلا جُنَاحَ عََليْهِ َأ ْ ن يَطَّوَّفَ بِهِمَا
وَمَنْ تَ َ طوَّعَ خَيْرًا َفإِنَّ اللَّهَ شَاكِرٌ عَلِيمٌ﴾
( (سورة البقرة : 158
ความว่า : แท้จริงภูเขาเศาะฟาและมัรวะฮฺนั้น เป็นหนึ่งจาก
เครื่องหมายของอัลลอฮฺดังนั้นผู้ใดประกอบพิธีหัจญ์หรืออุมเราะฮฺ ณ
บัยตุลลอฮฺ ก็ไม่มีบาปใดๆแก่เขาที่จะเดินวนเวียนไปมา ณ ภูเขาทั้งสอง
นั้น และผู้ใดประกอบความดีโดยสมัครใจแล้วแน่นอนอัลลอฮฺนั้นผู้ทรง
ขอบใจและผู้ทรงรอบรู้ [ อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 158]
และกล่าวว่า
َأبْدَُأ بِمَا بَدََأ اللهُ بِهِ
คำอ่าน : อับดะอุ บิมา บะดะอัลลอฮุ บิฮฺ
ความว่า : ข้าพเจ้าขอเริ่มด้วยสิ่งที่อัลลอฮฺทรงเริ่ม
และเมื่อถึงภูเขาเศาะฟา ให้หันสู่ทางกิบลัตพร้อมยกมือทั้ง 2 ข้าง
พร้อมกล่าวตักบี้ร และทำการสรรเสริญอัลลอฮฺแล้วกล่าวว่า
اللهُ َأ ْ كبَرُ، اللهُ َأ ْ كبَرُ، اللهُ َأ ْ كبَرُ، َ لا إِل ٰهَ إِ لا اللهُ و حدَ ه،
َ لا شَرِ يكَ َلهُ، َلهُ اْل مُْلكُ و َلهُ اْل حَمْدُ، يُحْيِيْ و يُمِيْتُ،
و هوَ علىَ ُ كلِّ شَيْ ء َ قدِ يْرٌ ، َ لا إِل ٰهَ إِ لا اللهُو حدَ ه،
َأنْجَزَ وَعْدَهُ، وَنَصَرَ عَبْدَهُ، وَهَزَمَ الأَحْزَابَ وَحْدَهُ
คำอ่าน : อัลลอฮุ อักบัรฺ, อัลลอฮุ อักบัรฺ, อัลลอฮุ อักบัรฺ,
ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮุ วะหฺดะฮู ลาชะรีกะละฮฺ,
ละฮุลมุลกุ วะ ละฮุลหัมดุ, ยุหฺยี วะ ยุมีต, วะฮุวะ อะลา
กุลลิชัยอิน เกาะดีรฺ, ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮุ วะหฺดะฮู ลา
ชะรีกะละฮฺ, อันญะซะ วะหฺดะฮฺ, วะนะเศาะเราะ อับดะฮฺ
, วะ ฮะซะมัล อะหฺซาบ วะฮฺดะฮฺ
ความว่า : อัลลอฮฺทรงยิ่งใหญ่ อัลลอฮฺทรงยิ่งใหญ่ อัลลอฮฺทรง
ยิ่งใหญ่ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่คู่ควรต่อการสักการะอย่างแท้จริงนอกจาก
อัลลอฮฺ หามีภาคีใดๆกับพระองค์ไม่ อำนาจปกครองและการสรรเสริญ
ล้วนเป็นเอกสิทธิ์ของพระองค์ ผู้ทรงทำให้เป็นและทำให้ตาย อีกทั้งยัง
ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสรรพสิ่งทั้งปวง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดควรต้อง
เคารพสักการะนอกจากพระองค์เพียงองค์เดียว
จากนั้นจึงทำการขอดุอาอฺตามใจปรารถนา ที่เป็นสิ่งที่ดีในโลกนี้
และโลกหน้า โดยอ่านคำกล่าวข้างต้นสามครั้งด้วยกันระหว่างการขอ
ดุอาอฺของเขา
หลังจากนั้นจึงลงจากภูเขาเศาะฟาสู่ภูเขามัรวะฮฺ โดยมีสุนัต
สำหรับผู้ชายให้วิ่งระหว่างสัญลักษณ์สีเขียว หากมีความสามารถและไม่
สร้างความเดือดร้อนแก่คนรอบข้าง เมื่อถึงภูเขามัรวะฮฺให้หันไปทาง

กิบละฮฺพร้อมยกมือขอดุอาอฺ และกล่าวเช่นเดียวกันกับการกล่าวที่ภูเขา
เศาะฟา
หากมีความประสงค์ที่จะขอดุอาอฺขณะสะแอให้กล่าวว่า
رَ  ب ا ْ غفِرْ وَارْحَمْ، إِنَّكَ َأنْتَ الأَعَ  ز الأَ ْ كرَمُ
คำอ่าน : ร็อบบิฆฺฟิรฺ วัรหัม, อินนะกะ อันตัล อะอัซซุลอักร็อม
ความว่า : ข้าแด่พระผู้อภิบาลของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรง
อภัยโทษและทรงเมตตาแก่ข้าพระองค์ด้วย แน่แท้พระองค์เป็นผู้ทรง
เกรียงไกรและทรงเกียรติยิ่ง
เนื่องจากมีตัวหลักฐานยืนยันซึ่งรายงานมาจากท่านอิบนุ อุมัรฺ
และท่านอิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ในการกระทำดังกล่าว
การสะแอ สุนัตส่งเสริมให้มีน้ำละหมาด โดยไม่ใช่สิ่งจำเป็นซึ่ง
หากสะแอโดยไม่มีน้ำละหมาดก็ถือว่าสมบูรณ์เช่นเดียวกัน การสะแอของ
หญิงมีประจำเดือนก็ถือว่าใช้ได้เพราะการมีน้ำละหมาดมิใช่เงื่อนไขของ
การเดินสะแอ
7. เมื่อเสร็จจากการเดินสะแอ ให้ตัดผมทั่วศีรษะ หากทำหัจญ์
แบบตะมัตตุอฺ ส่วนผู้หญิงให้ตัดออกยาวประมาณเท่าปลายนิ้ว และ
หากว่าทำหัจญ์แบบกิรอนหรืออิฟรอด ก็ให้อยู่ในชุดอิหฺรอมโดยไม่ต้อง
ตัดผมจนกระทั่งเปลื้องอิหฺรอมในวันนะหฺริ(หรือวันอีด) หลังจากขว้างเสา
หิน ญุมรอตุ้ล อะเกาะบะฮฺ ณ ทุ่งมีนา ตามเงื่อนไขการประกอบพิธีหัจญ์
8. ในวันที่ 8 ซุลหิจญะฮฺ ซึ่งเรียกว่า วันตัรวิยะฮฺ. ผู้ประกอบพิธี
หัจญ์แบบตะมัตตุอฺ ต้องครองอิหฺรอมเพื่อทำหัจญ์ในตอนสายจากที่พัก
ของตนเอง ซึ่งในกรณีนี้รวมถึงชาวมักกะฮฺที่ต้องการประกอบพิธีหัจญ์
และขณะที่ครองอิหฺรอมให้ถือปฏิบัติตามที่เคยทำมาเช่นการอาบน้ำชำระ
กาย เป็นต้น ส่วนการไปมัสญิดหะร็อมเพื่อทำการครองอิหฺรอมไม่ใช่แบบ
ฉบับจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เพราะการปฏิบัติ
แบบนี้ไม่มีรายงานจากท่านและท่านมิเคยสั่งใช้บรรดาเศาะหาบะฮฺให้ถือ
ปฏิบัติ
มีรายงานจากท่านญาบิรฺ อิบนุ อับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ
มา ว่า ท่านนบีได้กล่าวแก่บรรดาเศาะหาบะฮฺความว่า “พวกท่านจงอยู่ใน
สภาพที่ปลดอิหฺรอมเถิด กระทั่งเมื่อถึงวันตัรวิยะฮฺ พวกท่านก็จงกล่าว
ตัลบิยะฮฺเพื่อบำเพ็ญหัจญ์” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์และมุสลิม)
และจากการรายงานของท่านมุสลิม จากท่านญาบิรฺ เราะฎิยัล-
ลอฮฺ อันฮุมา กล่าวว่า : ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้สั่ง
ให้พวกเราทำการอิหฺรอมเมื่อกล่าวตัลบิยะฮฺ และเมื่อเรามุ่งสู่มีนา เราก็
กล่าว ตัลบิยะฮฺที่อับเฏาะฮฺ(ชื่อสถานที่หนึ่ง)
ส่วนผู้ที่ทำหัจญ์ตะมัตตุอฺให้กล่าวตัลบิยะฮฺว่า
َلبَّيْكَ اللَّهُمَّ حَ  جا
คำอ่าน : ลับบัยกัลป์ลอฮุมมะ หัจญัน
9. ส่งเสริมให้ออกสู่มีนาและทำการละหมาดซุฮฺริ อัศริ มัฆริบ
และอีชาอฺ แบบย่อ โดยไม่นำมารวมกัน และยังส่งเสริมให้ค้างคืนที่มีนา

ในคืนของวันอะเราะฟะฮฺด้วย เนื่องจากมีหะดีษฺที่รายงานจากท่านญาบิรฺ
เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ซึ่งบันทึกโดยมุสลิม
10. เดินทางสู่ทุ่งอะเราะฟะฮฺ ในยามตะวันทอแสงของวันที่ 9
ซุลหิจญะฮฺ โดยส่งเสริม(สุนัต)ให้ลงพักที่มัสญิดนะมิเราะฮฺ ณ ทุ่ง
อะเราะฟะฮฺ จนกระทั่งตะวันคล้อยหากเกิดความสะดวกในการปฏิบัติ
เนื่องจากเป็นการปฏิบัติของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม
หากไม่เกิดความสะดวกก็ให้หยุดพัก ณ ที่ใดก็ได้ในเขตอะเราะฟะฮฺ และ
เมื่อถึงเวลาละหมาดซุฮริให้ละหมาดซุฮริกับอัศริโดยรวมและย่อ จากนั้น
ให้ลงพักที่อะเราะฟะฮฺ และที่ดียิ่งในการพัก ให้เลือกตำแหน่งหลังภูเขา
เราะฮฺมะฮฺ โดยเมื่อผินหน้าไปยังกิบละฮฺแล้ว มีภูเขาอยู่ในแนวเดียวกัน
แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ ก็ให้หันไปทางกิบละฮฺอย่างเดียว โดยไม่ต้องผิน
ไปทางภูเขาเราะฮฺมะฮฺแต่อย่างใด
ส่งเสริมให้ใช้เวลาว่างขณะที่พำนัก ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺ ทำการ
กล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ (ซิกรฺ) และคงความนอบน้อม อ่านกุรอานและขอ
ดุอาอฺ โดยยกมือทั้งสองข้างขึ้น
มีรายงานจากท่านอุสามะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ความว่า : “ฉัน
เคยอยู่กับท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมที่ทุ่งอะเราะฟะฮฺ โดย
ท่านได้ยกมือทั้งสองข้างขึ้นขอดุอาอฺ แล้วอูฐของท่านได้เอนตัวลงจน
ตะกร้อครอบปากของอูฐได้ตกลง ท่านจึงได้ใช้มือข้างหนึ่งลงหยิบตะกร้อ
ครอบปากอูฐอันนั้น ในขณะที่มืออีกข้างหนึ่งยังยกขอดุอาอฺอยู่” (รายงาน
โดย อัน-นะสาอีย์)
และในอีกรายงานหนึ่งมีว่า : “ท่านยังคงยืนขอดุอาอฺ จนกระทั่ง
ตะวันลับขอบฟ้าแล้วแสงตะวันลับหายไป”
การขอดุอาอฺในวันอะเราะฟะฮฺ ถือว่าประเสริฐกว่าการขอดุอาอฺ
ใดๆ ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวไว้ความว่า : “การ
ขอดุอาอฺที่ดียิ่ง คือการขอดุอาอฺในวันอะเราะฟะฮฺ และคำกล่าวที่ดีที่สุดที่
ฉันและบรรดานบีก่อนหน้าฉันได้อ่านมาก็คือ
َ لا إِلٰهَ إِلاَّ اللهُ وَحْدَهُ، َ لا شَرِيْكَ َلهُ، َلهُ اْلمُْلكُ وََلهُ
اْلحَمْدُ، يُحْيِيْ وَيُمِيْتُ، وَهُوَ عَلىَ ُ كلِّ شَيْءٍ َقدِيْرٌ
คำอ่าน : ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮุ วะหฺดะฮู ลาชะรีกะ
ละฮฺ, ละฮุลมุลกุ วะ ละฮุลหัมดุ, ยุหฺยี วะ ยุมีต,
วะฮุวะ อะลา กุลลิชัยอิน เกาะดีรฺ
ความว่า : ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว
ไม่มีภาคีใดๆสำหรับพระองค์ กรรมสิทธิ์และการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์
ของพระองค์ และพระองค์ทรงเดชานุภาพเหนือสรรพสิ่งทั้งปวง”
(รายงานโดย มุสลิม)
การแสดงออกถึงความยากไร้ ความปราถนา และขอที่พึ่งพิง
กับอัลลอฮฺเป็นสิ่งที่จำเป็นสมควรปฏิบัติ และจะต้องไม่ปล่อยให้โอกาส
อันยิ่งใหญ่นี้ผ่านไปอย่างไร้ความหมาย
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวไว้ความว่า :
“ไม่มีวันใดอีกแล้ว ที่อัลลอฮฺจะทรงปลดปล่อยบ่าวของพระองค์จากไฟ
นรก มากไปกว่าวันอะเราะฟะฮฺ และแน่แท้อัลลอฮฺจะเสด็จใกล้เข้ามา
แล้วบรรดามะลาอิกะฮฺ จะนำพวกเขามาเข้าเฝ้าแล้วพระองค์ได้ตรัสว่า
พวกเขา(ปวงบ่าวของข้า)ต้องการอะไร?...” (รายงานโดยมุสลิม)
การวุกูฟที่อะเราะฟะฮฺ เป็นรุก่นของการทำหัจญ์ และจำเป็น
จะต้องวุกูฟจนกระทั่งตะวันลับขอบฟ้า โดยผู้ประกอบพิธีหัจญ์จะต้องให้
ความสำคัญกับเขตของทุ่งอะเราะฟะฮฺ เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีผู้
ประกอบพิธีหัจญ์จำนวนมากละเลยกับเขตของทุ่งอะเราะฟะฮฺ จนเป็น
เหตุให้พวกเขาหยุดพักนอกเขตอะเราะฟะฮฺ ซึ่งเป็นเหตุให้การบำเพ็ญ
หัจญ์ขาดตกบกพร่องไม่สมบูรณ์
11. เมื่อตะวันลับขอบฟ้าให้เดินสู่มุซดะลิฟะฮฺด้วยความสงบ
เสงี่ยมและนอบน้อม ดังที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม
กล่าวไว้ความว่า “ผู้คนทั้งหลาย สงบเสงี่ยมเข้าไว้ สงบเสงี่ยบเข้าไว้”
(รายงานโดย มุสลิม)
เมื่อถึงมุซดะลิฟะฮฺแล้วให้ละหมาดมัฆริบและอีชาอฺที่นั้น โดย
ละหมาดมัฆริบ 3 ร็อกอัต และอีชาอฺ 2 ร็อกอัต รวมกันในเวลาอีชาอฺ
(ญัมอ์ ตะคีรฺ)
และแนวทางสำ หรับผู้ประกอบพิธีหัจญ์นั้น เขาจะต้องไม่
ละหมาดมัฆริบและอีชาอฺที่ใด นอกจากที่มุซดะลิฟะฮฺ เพื่อเป็นการปฏิบัติ
ตามท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เว้นแต่เมื่อเขากลัวว่าเวลา
อีชาอฺใกล้จะหมด ก็ให้เขาละหมาดมัฆริบและอีชาอฺที่ใดก็ได้
ให้ค้างคืนที่มุซดะลิฟะฮฺ โดยไม่ต้องตื่นขึ้นมาเพื่อทำ การ
ละหมาดใดๆ หรือทำ อิบาดะฮฺในตอนกลางคืน เพราะท่านรอซูล
ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ไม่เคยปฏิบัติ ดังมีรายงานจากท่านญาบิรฺ
อิบนุ อับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ความว่า “แท้จริงท่านรอซูล
ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เมื่อมาถึงมุซดะลิฟะฮฺ ท่านก็ได้ละหมาดที่
นั่นทั้งเวลามัฆริบและอีชาอฺด้วยอาซานเพียงครั้งเดียวและอิกอมะฮฺสอง
ครั้ง โดยที่ท่านมิได้กล่าวตัสบีหฺใดๆ ระหว่างละหมาดทั้งสอง หลังจาก
นั้นท่านได้ล้มตัวลงนอนจนกระทั่งรุ่งอรุณ” (รายงานโดย มุสลิม)
ในกรณีของผู้ที่มีอุปสรรคหรือผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอนั้นอนุญาต
ให้ออกจากมุซดะลิฟะฮฺเข้าสู่มีนาหลังจากเที่ยงคืนเพื่อขว้างเสาหิน
(ญัมเราะตุลอะเกาะบะฮฺ)
ส่วนผู้ที่ร่างกายแข็งแรงและมิใช่ผู้คอยดูแลคนอ่อนแอ เขา
จะต้องอยู่ที่มุซดะลิฟะฮฺจนรุ่งอรุณ และการที่มีผู้คนจำนวนมากแข่งกัน
ไปขว้างเสาหินตั้งแต่ช่วงหัวค่ำเพื่อต้องการพักผ่อนถือเป็นการขัดกับทาง
นำของท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม
เมื่อผู้ประกอบพิธีหัจญ์ละหมาดซุบฮิที่มุซดะลิฟะฮฺแล้ว ให้เขาไป
หยุดยืนอยู่บริเวณ อัลมัชอะริ้ลหะรอม(มัสญิด ณ มุซดะลิฟะฮฺ) แล้วผิน
หน้าไปทางกิบละฮฺพร้อมยกมือขอดุอาอฺต่ออัลลอฮฺให้มากๆ จนกระทั่ง
ใกล้เวลาตะวันขึ้นหรือเป็นที่ใดก็ได้ของมุซดะลิฟะฮฺที่เขาได้หยุดพำนัก
ดังคำกล่าวของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่มีความว่า
“ฉันได้หยุดพักอยู่ที่นี่ และทั้งหมดนั้น(มุซดะลิฟะฮฺ)ล้วนเป็นที่พำนัก”
(รายงานโดย มุสลิม)
12. จากนั้น ผู้ประกอบพิธีหัจญ์จะต้องกลับสู่มีนา ก่อนตะวันขึ้น
ของวันนะหฺริ (วันที่ 10 ซุลหิจญะฮฺ) เพื่อขว้างเสาหิน ที่เรียกว่า
(ญัมเราะตุลอะเกาะบะฮฺ) คือเสาหินหน้าเดียว ซึ่งอยู่ใกล้กับมักกะฮฺกว่า
ต้นอื่นๆ ด้วยลูกหิน 7 ลูก ซึ่งแต่ละลูกให้มีขนาดใหญ่กว่าเมล็ดถั่ว
เล็กน้อย(ประมาณเม็ดอินทผาลัม)
นักวิชาการได้มีมติเอกฉันท์ว่า อนุญาตให้ขว้างเสาหินทางด้าน
ใดก็ได้แต่ที่ดีที่สุดคือให้กะอฺบะฮฺอยู่ทางซ้ายมือของเขาและมีนาอยู่
ทางด้านขวา ดังได้มีรายงานจากท่านอิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ
ความว่า : แท้จริงเมื่อท่านได้ขว้างเสาหินจนถึงเสาหินต้นใหญ่(เสาหน้า
เดียว)ท่านก็ได้ให้บัยตุลลอฮฺอยู่ทางด้านซ้ายและให้มีนาอยู่ทางด้านขวา
แล้วขว้างเสาหินด้วยก้อนหิน 7 ก้อน (หลังจากนั้นจึงกล่าวว่า) แบบ
เดียวกันนี้แหละที่ผู้ซึ่ง สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺถูกประทานให้แก่เขา
เคยขว้างเสาหิน (หมายถึงท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม)
(รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
ไม่อนุญาตให้ใช้ก้อนหินก้อนใหญ่หรือรองเท้าเพื่อขว้างเสาหิน
ผู้ที่ประกอบพิธีหัจญ์จะหยุดการกล่าวตัลบิยะฮฺเมื่อเขาขว้างเสา
หิน(ญัมเราะตุลอะเกาะบะฮฺ)
ตามแบบฉบับของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม
ให้ทำการขว้างเสาหินเป็นลำดับแรก จากนั้นให้เชือดสัตว์ หากทำหัจญ์
แบบตะมัตตุอฺหรือแบบกิรอน หลังจากนั้นให้โกนศีรษะ หรือตัดผม
สำหรับชาย การโกนศีรษะประเสริฐที่สุด เพราะท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ
อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ขอความเมตตาและการอภัยโทษจากอัลลอฮฺแก่ผู้
โกนศีรษะถึงสามครั้ง และขอพรให้กับผู้ที่ตัดผมเพียงครั้งเดียว ซึ่งมี
รายงานจากอัล-บุคอรีย์และมุสลิมในการอ้างอิงถึงเรื่องนี้
หลังจากนั้นให้ไปยังบัยตุลลอฮฺเพื่อทำการเฏาะวาฟอิฟาเฎาะฮฺ
การปฏิบัติตามกิจกรรมข้างต้นนี้เป็นแบบฉบับที่ท่านรอซูลเคยปฏิบัติ
ตามรายงานของท่านญาบิรฺ อิบนุ อับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา
ความว่า : ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้มาที่เสาหิน ซึ่ง
ใกล้กับต้นไม้ (หมายถึงญัมเราะตุลอะเกาะบะฮฺ) แล้วท่านได้ขว้างเสาหิน
ด้วยลูกหินเจ็ดลูก โดยท่านจะกล่าวตักบีรฺขณะจะขว้างลูกหินแต่ละก้อน
ซึ่งมีขนาดเท่าลูกแก้ว ท่านได้ขว้างตรงกลางหลุม หลังจากนั้นท่านได้ไป
ที่เชือดสัตว์ แล้วท่านก็ได้เชือด จากนั้นท่านได้ขี่อูฐไปทำการเฏาะวาฟ
อิฟาเฎาะฮฺ ที่บัยตุลลอฮฺ แล้วละหมาดซุฮริที่มักกะฮฺ” (รายงานโดย
มุสลิม)
ส่วนผู้ใดสลับกิจกรรมทั้งสี่นี้ก็ถือว่าใช้ได้ เนื่องจากมีรายงาน
จากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อัมรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ในพิธีหัจญ์อำลา
โดยเมื่อท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้ยืนขึ้น ผู้คนก็
ติดตามถามท่าน อับดุลลอฮฺ อิบนุ อัมรฺ กล่าวความว่า : ในวันนั้นไม่มี
ผู้ใดที่ถามท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ถึงสิ่งใดที่ควร
ปฏิบัติก่อนหรือสิ่งใดควรปฏิบัติหลัง นอกจากท่านจะกล่าวว่า “ทำไปเถิด
ไม่เป็นไร” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
เมื่อเฏาะวาฟเสร็จแล้ว ให้เดินสะแอหลังจากเฏาะวาฟ หาก
ประกอบพิธีหัจญ์แบบตะมัตตุอฺ เพราะการเดินสะแอในครั้งแรก เป็น
สะแอของอุมเราะฮฺ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำการเดินสะแอของพิธีหัจญ์อีก
ครั้งหนึ่ง และหากว่าเป็นการประกอบพิธีหัจญ์แบบอิฟรอดหรือกิรอน ซึ่ง
ได้เดินสะแอหลังจากเฏาะวาฟกุดูมไปแล้ว ก็ไม่ต้องมาทำสะแอใหม่อีก
ดังท่านญาบิรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา กล่าวความว่า : ท่านรอซูล
ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านมิได้ทำ
การเฏาะวาฟระหว่างภูเขาเศาะฟาและมัรวะฮฺ(หมายถึงสะแอ) นอกจาก
เพียงครั้งเดียวซึ่งเป็นเฏาะวาฟ(หมายถึงสะแอ) ในครั้งแรก(รายงานโดย
มุสลิม)
13. วันตัชรีกทั้งสามวัน (คือ วันที่ 11, 12 และ 13 เดือน
ซุลหิจญะฮฺ) นั้น ถือว่าเป็นวันของการขว้างเสาหินสำหรับผู้ที่ยังคงพำนัก
ที่มีนา ส่วนผู้ที่รีบกลับให้ขว้างเสาหินเพียงสองวัน คือวันที่ 11 และ 12
ดังพระดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
﴿وَاذْ ُ كرُوا اللَّهَ فِي َأيَّامٍ مَعْدُودَاتٍ َفمَنْ تَعَجَّ َ ل فِي
يَوْمَيْنِ َفلا إِثْمَ عََليْهِ وَمَنْ تََأخَّرَ َفلا إِثْمَ عََليْهِ لِمَنِ
( اتََّقى﴾ (سورة البقرة: 203
ความว่า : และพวกเจ้าจงกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ ในบรรดาวันที่
ถูกกำหนดไว้แล้ว(คือวันตัชรีก) สำหรับผู้ใดที่เร่งรีบในสองวัน ก็ไม่มี
ความผิดใดๆแก่เขา และหากผู้ใดรั้งรอไปอีก ก็ไม่มีความผิดใดๆแก่เขา
สำหรับผู้ที่มีความยำเกรง [อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 203]
การขว้างเสาหินนั้นให้เริ่มขว้างจากต้นแรก (ญัมเราะตุลซุฆฺรอ)
คือเสาต้นที่อยู่ใกล้มัสญิด ค็อยฟฺ ด้วยลูกหินเจ็ดก้อน จากนั้นให้ขว้าง
เสาหินต้นกลาง ด้วยลูกหินเจ็ดก้อน หลังจากนั้น ให้ขว้างเสาหิน
(ญัมเราะตุลอะเกาะบะฮฺ) ด้วยลูกหินเจ็ดลูก พร้อมกล่าวตักบีรฺในการ
ขว้างลูกหินทุกลูก ซึ่งตามแบบฉบับของท่านรอซูลนั้น ให้หยุดยืน
หลังจากขว้างเสาต้นแรกแล้วผินหน้าสู่กิบละฮฺ โดยให้เสาต้นแรกอยู่ใน
ตำแหน่งซ้ายมือของเขา แล้วทำการขอดุอาอฺนานๆ ส่วนต้นที่สองก็
เช่นกันให้ยืนหลังจากที่ขว้างเสาต้นนี้แล้ว โดยผินหน้าสู่กิบละฮฺ และให้

เสาต้นที่สองอยู่ในตำแหน่งขวามือของเขาและให้ขอดุอาอฺนานๆ ส่วน
ญัมเราะตุลอะเกาะบะฮฺ ไม่ต้องหยุดยืนเพื่อกล่าวหรือขอดุอาอฺใดๆ
ทั้งสิ้น
เวลาของการขว้างเสาหินในวันตัชรีกนั้น จะเริ่มหลังจากตะวัน
คล้อยตามรายงานจากท่านอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ความว่า :
เราได้คอยเวลา ซึ่งเมื่อตะวันคล้อย เราจึงขว้างเสาหิน (รายงานโดย อัล-
บุคอรีย์)
นักวิชาการมีมติเป็นเอกฉันท์แล้วว่า เวลาสุดท้ายของการขว้าง
เสาหินในวันตัชรีกนั้นคือ ตอนตะวันลับฟ้าของวันที่ 13 ซุลหิจญะฮฺ โดย
หากตะวันลับฟ้าในวันดังกล่าวไปแล้วและมีผู้ที่ยังมิได้ขว้างเสาหินก็ไม่
จำเป็นต้องขว้างเสาหินแล้ว แต่จำเป็นแก่เขาต้องเสียดัม(เชือดแพะ)
14. ต้องข้างคืนที่มีนาในวันตัชรีก คือ ( วันที่ 10, 11 และ 12) ซึ่ง
หากตะวันลับขอบฟ้าในวันที่ 12 แล้วยังมิได้ออกจากมีนา จำเป็นต้องค้าง
คืนที่มีนาอีกหนึ่งคืน และขว้างเสาหินทั้งสามต้นในวันที่ 13 อีกเช่นกัน
15. เมื่อผู้ประกอบพิธีหัจญ์ต้องการออกจากมักกะฮฺ เพื่อกลับ
ภูมิลำเนา จะต้องทำการเฏาะวาฟ วะดาอฺ (เฏาะวาฟอำลา) ก่อน เนื่องจาก
การเฏาะวาฟวะดาอฺ นั้นเป็นวาญิบของพิธีหัจญ์ตามทัศนะของนักวิชาการ
ส่วนใหญ่ ยกเว้นหญิงที่มีประจำเดือน มีคำบอกเล่าจากท่านอิบนุ อับบาส
เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม
กล่าวความว่า “คนหนึ่งคนใดอย่าพึ่งแยกย้ายไปไหน จนกว่าสัญญาของ
เขาจะสิ้นสุดที่บัยตุลลอฮฺ (หมายถึงการเฏาะวาฟวะดาอฺ)”

และมีรายงานหนึ่งได้กล่าวเสริมมีใจความว่า “เว้นแต่จะผ่อน
ปรนให้กับสตรีที่มีประจำเดือน(ไม่ต้องเฏาะวาฟวะดาอฺ)” (รายงานโดย
อิมาม มาลิก)
มีนักวิชาการจำ นวนมากได้ให้ความเห็นว่า ผู้ที่เฏาะวาฟ
อิฟาเฎาะฮฺ (เฏาะวาฟหัจญ์) ล่าช้าจนถึงเวลาเดินทางกลับ การเฏาะวาฟ
อิฟาเฎาะฮฺในขณะนั้นเพียงพอแล้ว โดยเขาไม่ต้องเฏาะวาฟวะดาอฺอีก
16. ผู้ที่จะเดินทางกลับภูมิลำเนาส่งเสริมให้กล่าวสิ่งที่ท่าน
อิมาม อัล-บุคอรีย์ได้บันทึกเอาไว้ ตามรายงานจากท่าน อิบนุ อุมัรฺ
เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ความว่า : แท้จริงท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม เมื่อท่านเสร็จสิ้นจากสงคราม หรือการประกอบพิธีหัจญ์ หรือ
อุมเราะฮฺ ท่านจะกล่าวตักบีรฺบนเนินดินที่สูง จากนั้นท่านจึงกล่าวว่า
َ لا إَِلهَ إِلاَّ اللهُ وَحْدَهُ َ لا شَرِيْكَ َلهُ، َلهُ اْلمُْلكُ وََلهُ
اْلحَمْدُ، وَهُوَ عَلىَ ُ كلِّ شَيْءٍ َقدِيْرٌ، آيِبُوْ َ ن تَائِبُوْ َ ن،
عَابِدُوْ َ ن لرَبنَا حَامِدُوْ َ ن، صَدَقَ اللهُ وَعْدَهُ، وَنَصَرَ
عَبْدَهُ، وَهَزَمَ الأَحْزَابَ وَحَدَهُ
คำอ่าน : ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮุ วะหฺดะฮฺ ลาชะรีกะ
ละฮฺ ละฮุลมุลกุ วาละฮุลหัมดุ วะฮุวา อะลากุลลิชัย
อิน กอดีรฺ, อายีบูน ตาอีบูน อาบีดูน ลีร๊อบบีนา
หามิดูน, เศาะดะก็อลลอฮุวะหฺดะฮฺ วะนะเศาะรอ
อับดะฮฺ วะฮะซะมัล อะหฺซาบะ วะหฺดะฮฺ
ความหมาย : ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์
เดียว โดยไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ ทรงครองอำนาจและสิทธิแห่ง
มวลการสรรเสริญ และทรงปรีชาสามารถเหนือทุกสรรพสิ่ง เราได้กลับ
ตัว ได้วอนขอลุแก่โทษ ได้เคารพอิบาดะฮฺพระผู้อภิบาลแห่งเรา อัลลอฮฺ
ทรงสัจจริงในสัญญาแห่งพระองค์ ทรงช่วยเหลือบ่าวของพระองค์ และ
ทรงกำราบเหล่ากองทัพทั้งหลายด้วยพระองค์เพียงผู้เดียว
*****