Saturday, September 26, 2009

หลักการอิสลามข้อที่สอง


หลักการอิสลามข้อที่สอง
การละหมาด (อัศ-เศาะลาฮฺ)

การละหมาด จัดเป็นการปฏิบัติศาสนกิจที่สำคัญที่สุดในอิสลาม
โดยมีหลักฐานและข้ออ้างอิงทางศาสนามากมาย ที่ชี้ถึงความสำคัญและ
ความประเสริฐของการละหมาด โดยได้ระบุว่า การละหมาดคือสายใย
สัมพันธ์ระหว่างบ่าวกับพระผู้อภิบาลของเขา ซึ่งการละหมาดยังเป็นสิ่งชี้
ชัดว่า บ่าวผู้นั้นเคารพภักดีต่อพระผู้อภิบาลของเขาหรือไม่
หนึ่ง : นิยามของการละหมาด
ความหมายตามรากศัพท์ในภาษาอาหรับ ( ال صَّلاة ) “อัศ-
เศาะลาฮฺ” หรือ การละหมาด หมายถึง ( الدعاء ) “อัด-ดุอาอฺ” หรือ การ
ขอพร ดังพระดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
﴿وَصَلِّ عََليْهِمْ إِنَّ صَلاتَكَ سَ َ كنٌ َلهُمْ﴾
( (سورة التوبة: 103
ความว่า : และเจ้าจงขอพรให้แก่พวกเขาเถิด เพราะแท้จริงการ
ขอพรของเจ้านั้น ทำให้เกิดความสุขใจแก่พวกเขา [ อัตเตาบะฮฺ โองการที่
103]
ความหมายในแง่ศาสนบัญญัติ การละหมาด คือ การเคารพ
ภักดี ซึ่งประกอบด้วยคำกล่าวและอิริยาบถต่างๆ ที่มีลักษณะเฉพาะ
เริ่มต้นด้วยการกล่าวตักบีรฺ (อัลลอฮุอักบัรฺ) และสิ้นสุดด้วยการให้สลาม
(อัสสลามมูอะลัยกุม วะเราะฮฺมะตุลลอฮฺ)
- คำกล่าวในที่นี้หมายถึง : การกล่าวตักบีรฺ การอ่านอัลกุรอาน
การกล่าวตัสบีฮฺ(การสรรเสริญ) การกล่าวดุอาอฺ(วิงวอนขอ) และ
สิ่งอื่นๆ
- อิริยาบทในที่นี้หมายถึง : การยืนตรง การรุกูอฺ(การโค้ง) การ
สุญูด(การกราบ) การนั่งและสิ่งอื่นๆ
สอง : ความสำคัญของการละหมาดต่อบรรดานบีและรอซูล
การละหมาดนับว่าเป็นหนึ่งในการปฏิบัติศาสนกิจที่ถูกบัญญัติ
ในศาสนาของอัลลอฮฺ ก่อนการแต่งตั้งนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม เป็นศาสนทูต
ท่านนบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสลาม ได้วิงวอนต่ออัลลอฮฺ ให้ตัวเขา
และลูกหลานของเขาเป็นผู้ดำรงการละหมาด ดังพระดำรัสของอัลลอฮฺ
﴿رَ  ب اجْعَْلنِي مُقِيمَ الصَّلاةِ وَمِنْ ُ ذريَّتِي﴾
( (سورة إبراهيم: 40
ความว่า : โอ้พระผู้อภิบาลของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงให้ข้า
พระองค์และจากลูกหลานของข้าพระองค์เป็นผู้ดำรงการละหมาดเถิด
[อิบรอฮีม โองการที่ 40]
ท่านนบีอิสมาอีล อะลัยฮิสลาม ได้สั่งให้ครอบครัวของท่าน ให้
ดำรงไว้ซึ่งการละหมาด ดังพระดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
﴿وَكَا َ ن يَأْمُرُ َأهَْلهُ بِالصَّلاةِ وَالزَّ َ كاةِ﴾
( (سورة مريم: 55

ความว่า : และเขาได้ใช้เครือญาติของเขาให้ปฏิบัติละหมาดและ
จ่ายซะกาต [มัรยัม โองการที่ 55]
อัลลอฮฺได้ตรัสแก่ท่านนบีมูซา อะลัยฮิสลาม ว่า
﴿إِنَّنِي َأنَا اللَّهُ لا إَِلهَ إِلَّا َأنَا َفاعْبُدْنِي وََأقِمِ الصَّلاَة
( لِذِ ْ كرِي﴾ (سورة طه: 14
ความว่า : แท้จริงข้าคืออัลลอฮฺ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่เที่ยงแท้
นอกจากข้า ดังนั้นเจ้าจงเคารพภักดีต่อข้า และจงดำรงไว้ซึ่งการละหมาด
เพื่อรำลึกถึงข้า [ฏอฮา โองการที่ 14]
และอัลลอฮฺ ได้สั่งเสียแก่นบีอีซา อะลัยฮิสลาม ถึงเรื่องการ
ละหมาดว่า
﴿وَجَعََلنِي مُبَارَكًا َأيْنَ مَا ُ كنْتُ وََأوْصَانِي بِالصَّلاةِ
( وَالزَّ َ كاةِ مَا دُمْتُ حَيًّا﴾ (سورة مريم: 31
ความว่า : และพระองค์ทรงให้ฉันได้รับความจำเริญไม่ว่าฉันจะ
อยู่ ณ ที่ใด และทรงสั่งเสียให้ฉันทำการละหมาด และจ่ายซะกาตตราบที่
ฉันมีชีวิตอยู่ [ มัรยัม โองการที่ 31]
อัลลอฮฺได้ทรงบัญญัติการละหมาดแก่นบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ
อะลัยฮิ วะสัลลัม ของเรา เหนือชั้นฟ้าในค่ำคืนแห่งการอิสเราะอฺและ
เมียะร็อจญ์(การเดินทางสู่อัล-กุดส์และขึ้นสู่ฟ้า) โดยครั้งแรกที่พระองค์
ทรงบัญญัติคือต้องทำการละหมาดวันหนึ่งกับคืนหนึ่งห้าสิบเวลา ต่อ
มาอัลลอฮฺ ได้ลดหย่อนเหลือเพียงห้าเวลา ส่วนภาคผลนั้นก็จะได้รับ
เสมือนกับทำการละหมาดห้าสิบเวลาเท่าเดิม

การละหมาดห้าเวลานั้น ประกอบด้วย ละหมาดฟัจญ์ริหรือศุบฮิ
ละหมาดซุฮฺริ ละหมาดอัศริ ละหมาดมัฆริบและละหมาดอิชาอฺ
และในที่สุดการละหมาดนั้นก็ถูกบัญญัติให้ดำรงอยู่ในห้าเวลา
อย่างที่เราถือปฏิบัติกันโดยมติเอกฉันท์ของบรรดามุสลิมีน
สาม : หลักฐานในการบัญญัติละหมาด
ได้มีหลักฐานมากมายที่ยืนยันถึงการบัญญัติละหมาด
หลักฐานจากอัลกุรอาน
1. พระดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
﴿وََأقِيمُوا الصَّلاَة وَآتُوا الزَّكَاَة﴾
( (سورة البقرة: 43
ความว่า : พวกเจ้าจงดำรงไว้ซึ่งการละหมาดและจงจ่ายซะกาต
[อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 43]
2. พระดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
﴿إِنَّ الصَّلاَة َ كانَتْ عََلى الْمُؤْمِنِينَ كِتَابًا مَوُْقوتًا﴾
( (سورة النساء: 103
ความว่า : แท้จริงการละหมาดนั้นเป็นบัญญัติที่ถูกกำหนดเวลา
ไว้แก่ผู้ศรัทธาทั้งหลาย [อันนิสาอฺ โองการที่ 103]

3. พระดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
﴿وَمَا أُمِرُوا إِلَّا لِيَعْبُدُوا اللَّهَ مُخْلِصِينَ َلهُ ال  دينَ
حُنَفَاءَ وَيُقِيمُوا الصَّلاَة وَيُؤْتُوا الزَّكَاَة﴾
( (سورة البينة: 5
ความว่า : และพวกเขามิได้ถูกบัญชาให้กระทำอื่นใดนอกจาก
เพื่อเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ อย่างผู้มีเจตนาบริสุทธิ์(ในการภักดีต่อ
พระองค์) เป็นผู้อยู่ในแนวทางอันเที่ยงตรงและจ่ายซะกาต [ อัล-
บัยยินะฮฺ โองการที่ 5]
หลักฐานจากอัลหะดีษฺ
1. หะดีษฺที่รายงานโดยท่านอิบนุ อุมัรเราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ท่าน
รอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวไว้ความว่า “อิสลาม
นั้นยืนหยัดอยู่บนหลักห้าประการด้วยกันคือ การกล่าวปฏิญานตนว่าไม่
มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรเคารพสักการะนอกจากอัลลอฮฺ และแท้จริงมุหัมมัด
นั้นคือศาสนทูตของอัลลอฮฺ การปฏิบัติละหมาด การจ่ายซะกาต การ
บำเพ็ญหัจญ์ ณ บัยติลลาฮฺ(มหานครมักกะฮฺ) และการถือศีลอดในเดือน
เราะมะฎอน” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
2. หะดีษฺที่รายงานโดยท่านอุมัรฺ อิบนุ อัล-ค็อฏฏอบ
เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้
กล่าวไว้ความว่า “อิสลามนั้นคือการที่ท่านต้องกล่าวคำปฏิญาณตนว่าไม่
มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรเคารพสักการะนอกจากอัลลอฮฺ และแท้จริง

มุหัมมัดนั้นคือศาสนทูตของอัลลอฮฺ ท่านต้องดำรงการละหมาด ท่าน
ต้องจ่ายซะกาต ท่านต้องถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน และท่านต้อง
บำเพ็ญหัจญ์ ณ บัยติลลาฮฺ หากท่านมีความสามารถเดินทางไปได้
(รายงานโดย มุสลิม)
3. หะดีษฺที่รายงานโดยท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ส่งมุอาซฺ เราะฎิยัลลอฮฺ
อันฮุ ไปยังเมืองเยเมน(เพื่อเผยแพร่ศาสนาอิสลาม)ท่านได้กล่าวแก่มุอาซฺ
ว่า “เจ้าจงเชิญชวนพวกเขาสู่การปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควร
เคารพสักการะนอกจากอัลลอฮฺ และแท้จริงมุหัมมัดคือศาสนทูต
ของอัลลอฮฺ หากพวกเขาเชื่อฟังเจ้าแล้ว ก็จงแจ้งให้พวกเขาทราบว่า
อัลลอฮฺได้บัญญัติให้พวกเขาทำการละหมาดวันหนึ่งกับคืนหนึ่งห้าเวลา
(รายงานโดย อัล- บุคอรีย์ และมุสลิม)
หลักฐานมติเอกฉันท์(อิจญ์มาอฺ)
บรรดามุสลิมีนมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า การละหมาดห้าเวลานั้น
เป็นบทบัญญัติและเป็นฟัรฎู(ข้อบังคับ)หนึ่งในศาสนาอิสลาม
สี่ : เหตุผลและสาเหตุที่อัลลอฮฺทรงบัญญัติการละหมาด
การละหมาดถูกบัญญัติขึ้นด้วยเหตุผลและสาเหตุ ซึ่งเราสามารถ
อธิบายถึงสิ่งดังกล่าวบางส่วนได้ ดังต่อไปนี้
1.การละหมาดถูกบัญญัติขึ้นเพื่อการเคารพภักดีของบ่าว
ต่ออัลลอฮฺ เนื่องจากบ่าวนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺเพียงองค์เดียว
การละหมาดจะทำให้มนุษย์สำนึกถึงความเป็นบ่าวต่ออัลลอฮฺ ด้วยเหตุนี้
เขาจะมีความสัมพันธ์กับพระผู้อภิบาลอย่างสม่ำเสมอ
2. การละหมาดนั้นจะทำให้ผู้ที่ละหมาดรู้สึกมีความใกล้ชิด
กับอัลลอฮฺ และรำลึกถึงพระองค์อย่างสม่ำเสมอ
3. การละหมาดสามารถยับยั้งผู้ที่ละหมาดจากสิ่งชั่วร้าย และยัง
เป็นสาเหตุที่ทำให้บ่าวผู้นั้นปลอดภัยจากบาปและมลทิน โดยหะดีษฺบท
หนึ่งได้กล่าวถึงเรื่องนี้ คือหะดีษฺที่รายงานโดย ท่านญาบิรฺ อิบนุ
อับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม ได้กล่าวไว้ความว่า “อุปมาการละหมาดนั้นดังลำน้ำสายหนึ่ง
ไหลผ่านหน้าประตูบ้านของคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่าน ซึ่งเขาจะอาบน้ำ
จากลำน้ำนั้นวันละห้าเวลา” (รายงานโดย มุสลิม)
4. การละหมาดจะทำให้ใจเกิดความสงบ สำรวมและห่างจาก
ความทุกข์ต่างๆที่ทำให้ชีวิตมัวหมอง ด้วยเหตุนี้การละหมาดเป็นดัง
แก้วตาดวงใจของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เมื่อท่านมี
เรื่องกลุ้มใจท่านจะมุ่งทำการละหมาดทันที กระทั่งท่านได้กล่าวแก่บิลาล
ความว่า “โอ้บิลาล ! จงทำให้เราสงบด้วยการละหมาด(คือสั่งให้บิลาลทำ
การอะซานเพื่อละหมาด)” (รายงานโดย อะหฺมัด)
ห้า : ผู้ที่วาญิบ(จำเป็น)ต้องละหมาด
การละหมาดเป็นวาญิบสำหรับมุสลิมทุกคนที่บรรลุศาสนภาวะ
และมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ทั้งชายและหญิง
การละหมาดไม่เป็นที่วาญิบสำหรับคนกาฟิรฺ(ผู้ไม่ใช่มุสลิม)เขา
ไม่ถูกเรียกร้องให้ปฏิบัติละหมาดในโลกดุนยานี้ เนื่องจากการละหมาด
ของเขานั้นใช้ไม่ได้ เพราะการปฏิเสธศรัทธาของเขา แต่ทว่าในวันปรโลก
เขาจะถูกลงโทษเนื่องจากเขาได้ทิ้งละหมาดโดยเขาสามารถที่จะละหมาด
ได้ เมื่อเขาเข้ารับอิสลาม แต่เขาก็ปฏิเสธอิสลาม
ดังพระดำรัสของอัลลอฮฺที่ชี้ถึงเรื่องนี้ว่า
﴿مَا سََل َ ككُمْ فِي سََقرَ. َقاُلوا َلمْ نَكُ مِنَ الْمُصَلِّينَ.
وََلمْ نَكُ نُطْعِمُ الْمِسْكِينَ. وَ ُ كنَّا نَخُوضُ مَعَ
الْخَائِضِينَ. وَ ُ كنَّا نُ َ كذِّبُ بِيَوْمِ ال  دينِ. حَتَّى َأتَانَا
(47- الْيَقِينُ﴾ (سورة المدثر: 42
ความว่า : อะไรเล่าที่นำพวกท่านเข้าสู่กองไฟที่เผาไหม้? พวกเขา
กล่าวว่า เรามิได้อยู่ในหมู่ผู้ทำละหมาด เรามิได้ให้อาหารแก่บรรดาผู้ขัด
สน และพวกเราเคยมั่วสุมอยู่กับพวกที่มั่วสุม และเราเคยปฏิเสธวันแห่ง
การตอบแทนจนกระทั่งความตายได้มาเยือนเรา [อัล-มุดดั๊ซซิรฺ โองการ
ที่ 42-47]
การละหมาดไม่วาญิบแก่เด็ก เพราะเขายังไม่บรรลุศาสนภาวะ
ไม่เป็นที่วาญิบแก่ผู้ที่ขาดสติปัญญา ไม่เป็นวาญิบแก่ผู้หญิงที่มา
ประจำเดือนหรือมีเลือดนิฟาส (เลือดหลังคลอดบุตร) ผู้หญิงสอง
ประเภทนี้มิได้ถูกบัญญัติให้ปฏิบัติละหมาดเนื่องจากพวกหล่อนมีญุนูบ
(ความจำเป็นที่ไม่ต้องละหมาด)
จำเป็นที่ผู้ปกครองต้องใช้ให้ลูกหลานทำการละหมาดเมื่อพวก
เขามีวัยเจ็ดขวบ และเมื่อพวกเขาวัยสิบขวบแล้ว และยังไม่ละหมาด เป็น
หน้าที่ของผู้ปกครองที่จะต้องเฆี่ยนตี เพื่อสั่งสอนพวกเขาดังที่ได้มีการ

รายงานจากตัวบทหะดีษฺ ซึ่งการกระทำดังกล่าวก็เพื่อให้บุตรหลานมี
ความเคยชินและให้ความสำคัญกับการละหมาดเมื่อพวกเขาเติบโตขึ้นมา
หก : ข้อตัดสินของผู้ที่ทิ้งละหมาด
ผู้ใดที่ละทิ้งละหมาดโดยตั้งใจ เขาผู้นั้นจะตกศาสนาและเป็น
กาฟิร(ผู้ปฏิเสธ) โดยถือว่าเขาสิ้นสุดจากสภาพความเป็นมุสลิม เนื่องจาก
เขาผู้นั้นได้เนรคุณ ฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺด้วยการที่เขาละทิ้งสิ่งที่พระองค์ทรง
บัญญัติ และตามด้วยการที่เขาจะถูกสั่งให้ทำการเตาบัต(กลับตัว) ถ้าเขา
กลับตัวและทำการละหมาดเขาก็จะเป็นมุสลิมเหมือนเดิมอีกครั้ง แต่หาก
เขาไม่ยอมกลับตัวเขาก็จะตกศาสนาเป็นมุรตัด และไม่อนุญาตให้ผู้ใด
อาบน้ำศพ กะฝั่น(ห่อศพ)และละหมาดญะนาซะฮฺเมื่อเขาเสียชีวิตไป
ตลอดจนไม่อนุญาตให้ฝังศพของเขาในสุสานของมุสลิมีน ทั้งนี้เนื่องจาก
เขาผู้นั้นได้พ้นจากสภาพความเป็นมุสลิมโดยสิ้นเชิง
เจ็ด : เงื่อนไขของการละหมาด
1. ต้องเป็นมุสลิม
2. ต้องเป็นผู้ที่มีสติสัมปชัญญะ
3. ต้องเป็นมุมัยยิซ (บรรลุศาสนภาวะ)
4. เข้าเวลาละหมาด
5. ต้องตั้งเจตนา (เนียต)
6. ต้องผินหน้าสู่กิบละฮฺ
7. ต้องปกปิดเอาเราะฮฺ( ส่วนของร่างกายที่ศาสนากำหนดให้
ปกปิด) เอาเราะฮฺของผู้ชาย คือส่วนที่อยู่ระหว่างสะดือกับหัวเขา ส่วน
เอาเราะฮฺของผู้หญิง คือทุกส่วนของร่างกาย ยกเว้นใบหน้าและฝ่ามือใน
เวลาละหมาด
8. จะต้องชำระสิ่งโสโครก(นะญิส)ออกจากเสื้อผ้า ร่างกายของผู้
ที่ละหมาดและสถานที่ที่ทำการละหมาด
9. จะต้องปลอดจากหะดัษฺทั้งใหญ่และเล็ก โดยการอาบน้ำ
ละหมาดสำหรับหะดัษฺเล็ก และอาบน้ำญะนาบะฮฺสำหรับหะดัษใหญ่
แปด : เวลาของการละหมาด
1. ซุฮฺริ : เริ่มตั้งแต่ตะวันคล้อยหลังเที่ยงวัน(คือตะวันจะ
เคลื่อนที่จากจุดกลางบนฟากฟ้าไปยังทิศตะวันตก) เรื่อยไปจนกระทั่งเงา
ของวัตถุมีขนาดเท่าตัวเอง
2. อัศริ : เริ่มตั้งแต่เมื่อเวลาของซุฮฺริสิ้นสุดลง จนกระทั่งเงาของ
วัตถุเท่ากับตัวเองสองเท่าตัว(คือระยะแรกของท้องฟ้ามีสีเหลือง)
3. มัฆริบ : เริ่มตั้งแต่ตะวันตกดิน จนกระทั่งสิ้นแสงสีแดงที่ขอบ
ฟ้า(แสงสีแดงที่ปรากฎหลังจากตะวันตกดิน)
4. อิชาอฺ : เริ่มตั้งแต่เมื่อเวลาของมัฆริบสิ้นสุดลง จนกระทั่งถึง
เที่ยงคืน
5. ฟัจญ์ริ หรือ ศุบฮิ : เริ่มตั้งแต่แสงฟะญัรฺ(แสงอรุณ)ครั้งที่สอง
ปรากฎขึ้นที่ขอบฟ้า จนกระทั่งดวงอาทิตย์ขึ้น
หลักฐานที่อ้างอิงถึงเวลาละหมาดต่างๆนั้น คือหะดีษฺที่รายงาน
โดย อับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า แท้จริงท่านรอซูล
ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวไว้ความว่า “เวลาละหมาดซุฮฺรินั้น
เมื่อตะวันคล้อยจนเงาของคนคนหนึ่งจะเท่าตัวเขาเอง(หรือ)กระทั่งเข้า
เวลาอัศริ ส่วนเวลาละหมาดอัศรินั้นจะสิ้นเมื่อตะวันเป็นสีเหลือง และ
เวลาละหมาดมัฆริบจะสิ้นสุดเมื่อแสงสีแดงที่ขอบฟ้าหายไป เวลาของ
ละหมาดอิชาอฺจะดำเนินได้ถึงเที่ยงคืน ส่วนเวลาละหมาดศุบฮินั้นเริ่ม
ตั้งแต่ฟะญัรฺ(แสงอรุณ)ปรากฎจนกระทั่งตะวันขึ้น เมื่อดวงตะวันปรากฎ
ก็จงหยุดการทำละหมาด” (รายงานโดย มุสลิม)
เก้า : จำนวนร็อกอัต
1. ละหมาดซุฮฺริ 4 ร็อกอัต
2. ละหมาดอัศริ 4 ร็อกอัต
3. ละหมาดมัฆริบ 3 ร็อกอัต
4. ละหมาด อิชาอฺ 4 ร็อกอัต
5. ละหมาดศุบฮิ 2 ร็อกอัต
ผู้ใดที่เพิ่มเติมหรือตัดทอนจากจำนวนที่กำหนดไว้โดยเจตนา
ละหมาดของเขาจะเป็นโมฆะ และถ้าหากว่าเขาทำด้วยความหลงลืม เขา
จะต้องชดเชยด้วยการสุญูดสะฮฺวีย์ เพื่อให้ละหมาดของเขาสมบูรณ์
กรณีดังกล่าวนั้น จะไม่รวมถึงการละหมาดของคนเดินทาง ซึ่ง
การละหมาดของคนเดินทางนั้นอนุญาตให้ย่อจำนวนร็อกอัต โดย
ละหมาดที่มีสี่ร็อกอัตให้ย่อเป็นสองร็อกอัต
มุสลิมจำเป็นต้องทำการละหมาดฟัรฎูห้าเวลาในช่วงเวลาที่
กำหนดไว้ ยกเว้นผู้ที่มีความจำเป็นตามที่ศาสนบัญญัติยอมรับ อย่างเช่น
การนอนโดยไม่รู้สึกตัว หลงลืม การเดินทาง
ถ้าหากผู้ใดนอนจนเลยเวลาละหมาดหรือลืมทำการละหมาด
ก็จงละหมาดเมื่อเขาตื่นขึ้นมาหรือเขานึกได้
สิบ : รุก่นละหมาด (ข้อพึงจำเป็นต้องปฏิบัติในละหมาด)
1. การยืนตรง หากมีความสามารถ
2. การกล่าวตักบีเราะตุลอิหฺรอม (กล่าว อัลลอฮฺ อักบัรฺ เริ่ม
ละหมาด)
3. การอ่าน อัล-ฟาติหะฮฺ
4. การรุกูอฺ
5. การเงยหน้าขึ้นจากรุกูอฺ
6. การสุญูด
7. การนั่งระหว่างสองสุญูด
8. การกล่าวตะชะฮฺฮุด(ตะฮียาต)
9. การนั่งเพื่อกล่าวตะชะฮฺฮุด
10. การปฏิบัติรุก่นที่กล่าวมาด้วยสมาธิ(เฏาะมะนีนะฮฺ)
11. การปฏิบัติรุก่นที่กล่าวมาโดยเรียงตามลำดับ(ตัรตีบ)
12. การให้สลาม
สิบเอ็ด : สิ่งที่เป็นวาญิบในการละหมาด
สิ่งที่เป็นวาญิบในการละหมาดมี 8 อย่างด้วยกัน
1. การกล่าวตักบีร อินติกอล (ตักบีรเพื่อเปลี่ยนอิริยาบท) ส่วน
ตักบีเราะตุลอิหฺรอม นั้นเป็นรุก่นดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
2. การกล่าวคำ سَمِعَ اللهُ لِمَنْ حمِدَ ه) ) “สะมิอัลลอฮุ ลิมัน
หะมิดะฮฺ” (ขออัลลอฮฺทรงรับฟังผู้สรรเสริญพระองค์ด้วยเถิด ) คำกล่าว

นี้เป็นสิ่งวาญิบสำหรับอิหม่ามและผู้ที่ละหมาดคนเดียว ส่วนผู้ที่เป็น
มะมูมนั้นไม่ต้องกล่าวคำดังกล่าว
3. การกล่าวคำว่า رَبَّنَا َلكَ اْلحَمْدُ) ) “ร็อบบะนา ละกัลหัมดุ” (โอ้
พระผู้อภิบาลของพวกเรา การสรรเสริญทั้งหลายนั้นเป็นของพระองค์)
คำกล่าวนี้เป็นสิ่งที่วาญิบสำหรับทุกคนจะต้องกล่าว ไม่ว่าเขาจะเป็น
อิหม่าม มะมูมหรือผู้ที่ละหมาดคนเดียว
4. การกล่าวคำว่า ( سُبْحَا َ ن ر بيَ العَ ظِيْمِ ) “สุบหานะ ร็อบบิยัล
อะซีม” (มหาบริสุทธิ์แด่พระผู้อภิบาลของฉันผู้ทรงเกรียงไกร) ในขณะที่
รุกูอฺ
5. การกล่าวคำว่า ( سُبْحَا َ ن ر بيَ الأَ علىَ ) “สุบหานะ ร็อบบิยัล
อะอฺลา” (มหาบริสุทธิ์แด่พระผู้อภิบาลของฉันผู้ทรงสูงส่ง) ในขณะที่สุญูด
6. การกล่าวคำว่า ( ر  ب ا ْ غ فِرْ لِيْ ) “ร็อบบิฆฺฟิรฺลี” (โอ้พระผู้
อภิบาลแห่งข้า ขอทรงโปรดอภัยแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด) ในขณะที่นั่ง
ระหว่างสองสุญูด
7. การกล่าวตะชะฮฺฮุด (ตะฮียาด) ครั้งแรก โดยกล่าวดังต่อไปนี้
َالتَّحِيَّاتُ لِلَّهِ وَالصََّلوٰاتُ وَالطَّيبَاتُ، َالسّ َ لامُ عََليْكَ َأيهَا
النَّبِ  ي وَرَحْمَُة اللهِ وَبَرَ َ كْاتُهُ، َالسَّ َ لامُ عََليْنَا وَعَلىٰ عِبَادِ
اللهِ الصَّالِحِيْنَ، َأشْهَدُ َأ ْ ن لاَّ إِلٰهَ إِلاَّ اللهُ، وََأشْهَدُ َأنَّ
مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرُسُوُْلهُ.
ความว่า : การเคารพภักดี การวิงวอน และสิ่งดีงามทั้งหลายนั้น
เป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺองค์เดียว ขอความสันติ ความเมตาปรานี
ความจำเริญจากอัลลอฮฺจงมีแด่ท่านด้วยเถิดโอ้ ผู้เป็นนบี ขอความสันติ
จงมีแด่พวกข้าพระองค์ และปวงบ่าวที่ศอลิฮฺ(ผู้มีคุณธรรม)ของพระองค์
ด้วย ข้าพระองค์ขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าที่ควรเคารพสักการะ
นอกจากอัลลอฮฺ และข้าพระองค์ขอปฏิญาณตนว่า มุหัมมัดนั้นเป็นทั้ง
บ่าวและ ศาสนทูตของพระองค์
8. การนั่งเพื่อกล่าวตะชะฮฺฮุดครั้งแรก
ผู้ใดที่ละทิ้งไม่ปฏิบัติสิ่งที่เป็นวาญิบที่กล่าวมาโดยเจตนา
ละหมาดของเขาจะเป็นโมฆะ แต่ถ้าหากผู้ใดละทิ้งด้วยความหลงลืม เขา
จะต้องสุญูดสะฮฺวีย์ทดแทน
สิบสอง : ละหมาดญะมาอะฮฺ(ละหมาดพร้อมกันเป็นหมู่คณะ)
ชายมุสลิมจำเป็นต้องละหมาดฟัรฎูห้าเวลาพร้อมกับหมู่คณะ
(ญะมาอะฮฺ มุสลิมีน) ที่มัสญิดเพื่อหวังความโปรดปรานและผลบุญ
จากอัลลอฮฺ
ละหมาดแบบญะมาอะฮฺนั้น ประเสริฐกว่าการละหมาดแบบ
รายบุคคลถึงยี่สิบเจ็ดเท่า ดังในหะดีษฺที่รายงานโดยอิบนุ อุมัรฺ
เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ว่าแท้จริงท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม
ได้กล่าวไว้ความว่า “การละหมาดแบบญะมาอะฮฺนั้นประเสริฐกว่าการ
ละหมาดคนเดียวถึงยี่สิบเจ็ดเท่า” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์และมุสลิม)
ส่วนสตรีมุสลิมะฮฺนั้นการละหมาดที่บ้านของนางจะประเสริฐกว่า
การละหมาดแบบญะมาอะฮฺที่มัสญิด
สิบสาม : สิ่งที่ทำให้การละหมาดเป็นโมฆะ
การละหมาดจะถือว่าเป็นโมฆะถ้าหากกระทำสิ่งต่อไปนี้ในขณะ
ละหมาด
1. กินหรือดื่มโดยเจตนา บรรดานักวิชาการมุสลิมต่างเห็นพ้อง
กันว่า หากผู้ใดกินหรือดื่มในขณะละหมาดโดยเจตนา เขาผู้นั้นจะต้องทำ
การละหมาดใหม่
2. พูดคุยในสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับการละหมาดโดยเจตนา ดังมีหะ
ดีษฺที่รายงานโดย ซัยดฺ อิบนุ อัรกอม เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า “พวกเรา
เคยพูดคุยในขณะที่ทำการละหมาด โดยมีชายคนหนึ่งจากหมู่พวกเรา
พูดคุยกับสหายของเขาที่อยู่ข้างเขาในขณะทำการละหมาด จนกระทั่ง
อัลลอฮฺได้ประทานโองการว่า
( ﴿وَُقومُوا لِلَّهِ قَانِتِينَ﴾ (سورة البقرة: 238
ความว่า : และจงยืนหยัดละหมาดเพื่ออัลลอฮฺโดยนอบน้อม
[อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 238]
“ดังนั้นพวกเราจึงถูกสั่งให้สงบเงียบและห้ามพูดคุยในเวลา
ละหมาด”
บรรดานักวิชาการต่างเห็นพ้องกันว่า ผู้ใดที่พูดคุยในเวลา
ละหมาดโดยเจตนา และไม่ได้แก้ไขละหมาดของเขา ละหมาดของเขานั้น
จะถือว่าเป็นโมฆะ (ใช้ไม่ได้)
3. การเคลื่อนไหว กระดิกตัวบ่อยครั้งในเวลาละหมาด คือ
เคลื่อนไหวบ่อยมากจนกระทั่งคนอื่นมองแล้วคิดว่าเขาไม่ได้อยู่ในข่าย
ของการละหมาดแต่อย่างใด

4. เจตนาละทิ้งรุก่นหรือเงื่อนไขการละหมาดโดยไม่มีความ
จำเป็นใดๆ อย่างเช่น การละหมาดโดยไม่มีน้ำละหมาด หรือไม่ผินหน้า
ไปยังกิบละฮฺในเวลาละหมาด
ดังที่มีหะดีษฺซึ่งบันทึกโดยอัล-บุคอรีย์และมุสลิม ท่าน
รอซูลศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวแก่ชายอาหรับชนบทคนหนึ่ง
ซึ่งทำการละหมาดไม่ดีว่า “จงกลับไปละหมาดใหม่ เพราะยังไม่ถือว่าเจ้า
ทำการละหมาด”
5. การหัวเราะในเวลาละหมาด ซึ่งบรรดานักวิชาการมุสลิมต่าง
เห็นพ้องกันว่า การหัวเราะทำให้ละหมาดเป็นโมฆะ
สิบสี่ : เวลาที่ห้ามทำการละหมาด ได้แก่
1. หลังละหมาดฟัจญ์ริ (ศุบฮิ) จนกระทั่งดวงอาทิตย์ขึ้น
2. ขณะที่ดวงอาทิตย์อยู่กึ่งกลางท้องฟ้า
3. หลังละหมาดอัศริ จนกระทั่งดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า
ได้มีหลักฐานระบุถึงการห้ามทำการละหมาดในเวลาดังกล่าวจาก
หะดีษฺที่รายงานโดย อุกบะฮฺ อิบนุ อามิรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า “สาม
เวลาที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้ห้ามไม่ให้พวกเราทำ
การละหมาด(ในช่วงนั้น)และไม่ให้ฝังศพคนตายในหมู่พวกเรานั้นก็คือ
เมื่อดวงอาทิตย์กำลังฉายแสงจนกระทั่งเมื่อมันลอยเด่นออกมา เมื่อดวง
อาทิตย์อยู่กึ่งกลางท้องฟ้าจนกระทั่งมันได้คล้อยไป และเมื่อดวงอาทิตย์
กำลังจะลับฟ้าจนกระทั่งหายลับไป” (รายงานโดย มุสลิม)
สิบห้า : ลักษณะของการละหมาดโดยรวม
มุสลิมทุกคนจำเป็นต้องปฏิบัติตามซุนนะฮฺ( แบบอย่าง )ของ
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ในการปฏิบัติศาสนกิจต่างๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำละหมาด
ดังหะดีษฺของท่านบทหนึ่งที่มีความว่า “ท่านทั้งหลายจงละหมาด
เสมือนกับที่พวกท่านเห็นฉันละหมาด” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์)
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมเมื่อท่านละหมาดนั้น
ท่านจะยืนตรงเสมือนกับท่านกำลังยืนอยู่ต่อหน้าพระพักตร์อัลลอฮฺ และ
ท่านจะเนียต(ตั้งเจตนา)ในใจของท่าน ไม่เคยปรากฎหลักฐานว่าท่าน
กล่าวเนียตด้วยวาจา จากนั้นท่านนบีก็จะตักบีรฺโดยกล่าวว่า “อัลลอฮุ
อักบัรฺ” (อัลลอฮฺผู้ทรงเกรียงไกรยิ่ง) ขณะยกมือทั้งสองของท่านขึ้นเสมอ
ไหล่ หรือบางครั้งท่านจะยกมือทั้งสองขึ้นเสมอใบหูทั้งสองของท่าน แล้ว
ท่านจะลดมือทั้งสองลงมากอดอก ทาบมือขวาลงบนมือซ้าย แล้วก็อ่าน
ดุอาอฺ อิสติฟตาฮฺ เช่น
سُبْحَانَكَ اللَّهُمَّ وَبِحَمْدِكَ، وَتَبَْارَكَ اسْمُكَ،
وَتَعَْالٰى جَ  دكَ، وَ َ لا َإلٰه َ غيْرُكَ
“สุบหานะกัลลอฮุมมา วะบิหัมดิกะ, วะตะบาเราะกัซ
มุกะ, วะตะอาลาญัดดุกะ, วะลาอิลาฮะ ฆ็อยรุกะ”
ความว่า : มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์ ข้าแต่อัลลอฮฺ และพร้อมด้วย
การสรรเสริญพระองค์ และพระนามของพระองค์มิ่งมงคลยิ่งแล้ว และ
เกียรติของพระองค์นั้นสูงยิ่งแล้ว และไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ต้องเคารพ
สักการะนอกจากพระองค์
ต่อจากนั้น ท่านก็จะอ่าน อัล-ฟาติหะฮฺและอื่นๆ เสร็จจากนั้น
ท่านจะกล่าวตักบีรฺพร้อมกับยกมือทั้งสอง แล้วรุกูอฺ(โน้มตัวลงเอามือจับ
เข่า) ท่านจะยืดหลังของท่านให้อยู่ในระดับเดียวกับศีรษะ จนกระทั่งหาก
มีใครคนหนึ่งไปวางแก้วที่บรรจุน้ำบนหลังของท่าน น้ำในแก้วนั้นก็จะไม่
หก ท่านจะกล่าวในขณะที่รุกูอฺว่า
(سُبْحَا َ ن رَبيَ العَظِيْمِ)
“สุบหานะ ร็อบบิยัล อะซีม” (จำนวนสามครั้ง)
ความว่า : มหาบริสุทธิ์แด่พระผู้อภิบาลของฉันผู้ทรงเกรียงไกร
จากนั้นท่านจะเงยศีรษะขึ้นจากรุกูอฺพลางกล่าวว่า
(سَمِعَ اللهُ لِمَنْ حَمِدَهُ ، رَبَّنَا َلكَ اْلحَمْدُ)
“สะมิอัลลอฮุ ลิมัน หะมิดะฮฺ ร็อบบะนา ละกัลหัมดฺ”
ความว่า : ขออัลลอฮฺทรงรับฟังผู้สรรเสริญพระองค์ด้วยเถิด โอ้
พระเจ้าของพวกข้าพระองค์ การสรรเสริญทั้งหลายเป็นกรรมสิทธิ์แด่
พระองค์
พร้อมกับยกมือทั้งสองด้วย ท่านจะยืนอิอฺติดาล(ยืนตรงนิ่ง
ชั่วขณะ) จากนั้นท่านจะกล่าวตักบีรฺ
พลางย่อตัวลงสุญูด ในขณะที่ท่านสุญูดท่านกางข้อศอกออกห่าง
จากลำตัวของท่าน จนกระทั่งเห็นใต้รักแร้ของท่าน ท่านได้วางหน้าผาก
จมูก เข่าทั้งสองข้าง ปลายเท้าทั้งสองข้างของท่านแนบกับพื้น พร้อมกับ
กล่าวว่า
(سُبْحَا َ ن رَبيَ الأَعْلىَ)
“สุบหานะ ร็อบบิยัล อะอฺลา” (จำนวนสามครั้ง)
ความว่า : มหาบริสุทธิ์แด่พระผู้อภิบาลของฉันผู้ทรงสูงส่ง
จากนั้นท่านจะตักบีรฺพร้อมเงยขึ้นจากสุญูดครั้งแรก แล้วนั่ง
แบบอิฟติรอชฺ คือนั่งบนเท้าซ้าย ปลายเท้าขวายันกับพื้น ส่วนนิ้วเท้าของ
ท่านชี้ไปทางกิบลัต
ท่านจะกล่าวดุอาอฺในขณะนั่งระหว่างสองสุญูดว่า
رَ  ب ا ْ غفِرْ لِيْ وَارْحَمْنِيْ وَارَْفعْنِيْ وَاهْدِنِيْ وَعَافِنِيْ وَارْزُْقنِيْ
“ร็อบบิฆฟิรฺลี วัรฺหัมนี วัรฺฟะอฺนี วะฮฺดินี วะอาฟินี วัรฺซุกนี”
ความว่า : โอ้พระผู้อภิบาลของข้า โปรดอภัยโทษแก่ข้าพระองค์
ด้วย โปรดเมตตาปรานีแด่ข้าพระองค์ โปรดทรงยกฐานะของข้าพระองค์
โปรดทรงนำทางข้าพระองค์ ทรงโปรดให้ข้าพระองค์มีความสุขสบาย
และทรงโปรดประทานริซกีปัจจัยยังชีพแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
จากนั้นท่านจะตักบีรฺ แล้วก้มสุญูดอีกครั้ง แล้วก็เงยศีรษะลุกขึ้น
ยืนร็อกอัตที่สองต่อ
ท่านจะปฏิบัติดังที่กล่าวมาในทุกร็อกอัต เมื่อท่านนั่งในร็อกอัตที่
สองเพื่อกล่าวตะชะฮฺฮุด ท่านก็จะกล่าวว่า
َالتَّحِيَّاتُ لِلَّهِ وَالصََّلوٰاتُ وَالطَّيبَاتُ، َالسّ َ لامُ عََليْكَ َأيهَا
النَّبِ  ي وَرَحْمَُة اللهِ وَبَرَ َ كْاتُهُ، َالسَّ َ لامُ عََليْنَا وَعَلىٰ عِبَادِ
اللهِ الصَّالِحِيْنَ، َأشْهَدُ َأ ْ ن لاَّ إِلٰهَ إِلاَّ اللهُ، وََأشْهَدُ َأنَّ
مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرُسُوُْلهُ
“อัตตะฮิยาตุ ลิลลาฮฺ วัซเศาะละวาตุ วัตฏ็อยยิบาต,
อัสลามุอะลัยกะ อัยยุฮันนะบิยฺยุ วะเราะหฺมะตุล-
ลอฮฺ วะบะเราะกาตุฮฺ, อัสลามุอะลัยนา วะอะลา
อิบาดิลลาฮิซฺศอลิฮีน, อัชฮะดุ อัลลา อิลาฮะ
อิลลัลลอฮฺ, วะอัชฮะดุ อันนะ มุหัมมะดัน อับดุฮู วะ
เราะซูลุฮฺ”
(โปรดดูความหมายจากสิ่งที่เป็นวาญิบในการละหมาดข้อที่ 7)
จากนั้นท่านจะตักบีรฺลุกขึ้นยืนพร้อมกับยกมือทั้งสองเมื่อยืนตรง
ซึ่งเป็นการยกมือครั้งที่สี่ในการละหมาดของท่าน
เมื่อท่านนั่งเพื่อกล่าวตะชะฮฺฮุดครั้งสุดท้าย (ซึ่งเป็นร็อกอัตที่
สามของละหมาดมัฆริบ หรือร็อกอัตที่สี่ของละหมาด ซุฮฺริ อัศริและ
อิชาอฺ) ท่านก็จะนั่งในท่า “ตะวั๊รรุก” คือการนั่งโดยสะโพกด้านซ้ายติดกับ
พื้น สอดเท้าซ้ายใต้ขาขวา ส่วนเท้าขวาตั้งขึ้นให้ปลายเท้ายันพื้น โดย
นิ้วเท้าขวานั้นชี้ไปยังกิบลัต
และท่านก็กำนิ้วมือทั้งหมดไว้ เหลือแต่นิ้วชี้ เพื่อชี้หรือกระดิก
มัน และสายตาทั้งสองของท่านจะมองยังนิ้วชี้ พลางกล่าวตะชะฮฺฮุด
สุดท้ายว่า
َالتَّحِيَّاتُ لِلَّهِ وَالصََّلوٰاتُ وَالطَّيبَاتُ، َالسّ َ لامُ عََليْكَ َأيهَا
النَّبِ  ي وَرَحْمَُة اللهِ وَبَرَ َ كْاتُهُ، َالسَّ َ لامُ عََليْنَا وَعَلىٰ عِبَادِ
اللهِ الصَّالِحِيْنَ، َأشْهَدُ َأ ْ ن لاَّ إِلٰهَ إِلاَّ اللهُ، وََأشْهَدُ َأنَّ
مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرُسُوُْلهُ، َاللَّهُمَّ صَلِّ عَلىٰ مُحَمَّدٍ وَعَلىٰ
آلِ مُحَمَّدٍ، َ كمَا صَلَّيْتَ عَلىٰ آلِ إِبْرَْاهِيْمَ إِنَّكَ حَمِيْدٌ
54 หลักการอิสลาม
مَجِيْدٌ، وَبَْارِكْ عَلىٰ مُحَمَّدٍ وَعَلىٰ آلِ مُحَمَّدٍ، َ كمَا
بَْارَ ْ كتَ عَلىٰ آلِ إِبْرَْاهِيْمَ إِنَّكَ حَمِيْدٌ مَجِيْدٌ
“อัตตะฮิยาตุ ลิลลาฮฺ วัซเศาะละวาตุ วัตฏ็อยยิบาต,
อัสลามุอะลัยกะ อัยยุฮันนะบิยฺยุ วะเราะหฺมะตุล-
ลอฮฺ วะบะเราะกาตุฮฺ, อัสลามุอะลัยนา วะอะลา
อิบาดิลลาฮิซฺศอลิฮีน, อัชฮะดุ อัลลา อิลาฮะ
อิลลัลลอฮฺ, วะอัชฮะดุ อันนะ มุหัมมะดัน อับดุฮู
วะเราะซูลุฮฺ, อัลลอฮุมมา ศ็อลลิ อะลามุหัมมัด
วะอะลา อาลิมุหัมมัด, กะมา ศ็อลลัยตะ
อะลา อาลิอิบรอฮีม อินนะกะ หะมีดุมมะญีด,
วะบาริก อะลา มุหัมมัด วะอะลา อาลิมุหัมมัด กะ
มา บาร็อกตะ อะลา อาลิอิบรอฮีม อินนะกะ หะมี
ดุมมะญีด)
(โปรดดูความหมายคำกล่าวท่อนบนจากสิ่งที่เป็นวาญิบใน
ละหมาดข้อที่ 7)
ความหมายของเศาะละวาต : โอ้อัลลอฮฺ ขอได้โปรดประทานพร
แด่มุหัมมัดและวงศ์วานของมุหัมมัด เช่นเดียวกับที่ได้ทรงโปรดประทาน
พรแด่วงศ์วานของอิบรอฮีมมาแล้ว แน่แท้พระองค์เป็นผู้ทรงได้รับการ
สรรเสริญยิ่งและทรงไว้ซึ่งเกียรติอันสูงศักดิ์ และขอได้โปรดประทาน
ความสิริมงคลแด่มุหัมมัดและวงศ์วานของมุหัมมัด เช่นเดียวกับที่
พระองค์ทรงประทานความสิริมงคลแด่วงศ์วานของอิบรอฮีม แน่แท้
พระองค์เป็นผู้ทรงได้รับการสรรเสริญยิ่งและทรงไว้ซึ่งเกียรติอันสูงศักดิ์
เมื่อท่านเสร็จจากการกล่าวตะชะฮฺฮุดแล้วท่านจะให้สลาม โดย
ผินหน้าไปทางขวาและทางซ้าย พร้อมกล่าวว่า
السَّ َ لامُ عََليْ ُ كمْ وَرَحْمَُة اللهِ
“อัสลามุอะลัยกุม วะเราะหฺมะตุลลอฮฺ”
ความว่า : ขอความศานติจงประสบแด่ท่าน รวมทั้งความเมตตา
จากอัลลอฮฺ
จนกระทั่งคนที่อยู่ด้านหลังเห็นพวงแก้มขวาของท่าน
ลักษณะของการละหมาดที่กล่าวมานั้น มีกล่าวอยู่ในตัวบท
หะดีษฺของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม หลายบทด้วยกัน
ที่กล่าวมานั้น คือกฎต่างๆที่เกี่ยวกับการละหมาด ซึ่งการงาน
ทั้งหลายนั้นขึ้นอยู่กับการละหมาด หากการละหมาดนั้นดีแล้ว การงาน
อื่นๆก็จะดีตามไปด้วย และหากว่าการละหมาดนั้นเสียหาย การงานอื่นๆ
ก็จะเสียหายไปด้วย
การละหมาดคือสิ่งแรกที่บ่าวจะถูกสอบสวนในวันปรโลก หากว่า
บ่าวผู้นั้นทำ การละหมาดอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เขาก็จะประสบ
ความสำเร็จ โดยได้รับความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ และหากมีการขาด
ตกบกพร่องเกี่ยวกับการละหมาด เขาก็จะประสบกับความหายนะ
การละหมาดสามารถยับยั้งจากการทำสิ่งชั่วร้ายต่างๆ
การละหมาด คือยาสำหรับรักษาจิตใจของมนุษย์ที่ต่ำทราม ให้
กลับผ่องใสสะอาดปลอดจากสิ่งชั่วช้าสามานย์ทั้งหลาย