Saturday, September 26, 2009

หลักการอิสลามข้อที่ส


หลักการอิสลามข้อที่สี่
การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน
หนึ่ง : คำนิยามของการถือศีลอด
การถือศีลอด(อัศ- ศิยาม) ทางด้านภาษา หมายถึง การระงับ
และทางด้านศาสนบัญญัติหมายถึง การระงับจากภาวะที่นำไปสู่
การละศีลอดตั้งแต่แสงอรุ่ณขึ้นจนกระทั่งดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า
สอง : หุก่มของการถือศีลอด
การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนเป็นหลักการประการหนึ่งของ
หลักการอิสลามห้าประการดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿يَا َأيهَا الَّذِينَ آمَنُوا كُتِبَ عََليْكُمُ ال  صيَامُ َ كمَا
كُتِبَ عََلى الَّذِينَ مِنْ َقبْلِ ُ كمْ َلعَلَّكُمْ تَتَُّقو َ ن﴾
( (سورة البقرة: 183
ความว่า : บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย การถือศีลอดนั้นได้ถูก
กำหนดแก่พวกเจ้า เช่นเดียวกับที่ได้ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้ก่อนหน้าพวก
เจ้ามาแล้ว เผื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง [อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 183]
และรายงานจากท่านอิบนุ อุมัรฺ เล่าว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ
อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวไว้มีความว่า “อิสลามนั้นตั้งอยู่บนรากฐานห้า
ประการคือ การกล่าวปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ
และมุหัมมัดเป็นรอซูลของอัลลอฮฺ ดำรงละหมาด จ่ายซะกาต ถือศีลอด
ในเดือนเราะมะฎอน และการประกอบพิธีหัจญ์ ณ บัยตุลลอฮฺ” (รายงาน
โดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
สาม : ภาคผลและวิทยปัญญาในบทบัญญัติการถือศีลอด
เดือนเราะมะฎอนเป็นเทศกาลที่ยิ่งใหญ่สำหรับการทำอิบาดะฮฺ
และปฏิบัติตามคำสั่งอัลลอฮฺ การมาเยือนของเดือนเราะมะฎอนนั้นคือ
ความโปรดปรานอันกว้างใหญ่ไพศาล และเป็นความประเสริฐที่มา
จากอัลลอฮฺ ซึ่งพระองค์จะทรงประทานให้แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ใน
บรรดาปวงบ่าวของพระองค์ ทั้งนี้และทั้งนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มพูนคุณงาม
ความดีและยกฐานะของเขาให้สูงเกียรติยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นการลบล้าง
ความผิดต่างๆ และเพื่อเสริมสร้างความผูกพันระหว่างปวงบ่าวกับพระ
ผู้สร้างให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เพื่อเขาจักได้รับความพอพระทัยจากพระองค์
และหัวใจที่เปี่ยมล้นไปด้วยความยำเกรง
ที่มาของความประเสริฐในการถือศีลอดเดือนเราะมะฎอนได้แก่
1. พระดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
﴿شَهْرُ رَمَضَا َ ن الَّذِي أُنْزِ َ ل فِيهِ الْقُرْآ ُ ن هُدىً لِلنَّاسِ
وَبَينَاتٍ مِنَ اْلهُدَى وَاْلُفرَْقانِ َفمَنْ شَهِدَ مِنْكُمُ
الشَّهْرَ َفلْيَصُمْهُ وَمَنْ كَا َ ن مَرِيضًا َأوْ عََلى سََفرٍ
َفعِدَّةٌ مِنْ َأيَّامٍ أُخَرَ يُرِيدُ اللَّهُ بِكُمُ اْليُسْرَ وَلا يُرِيدُ
بِكُمُ اْلعُسْرَ وَلِتُكْمِلُوا الْعِدََّة وَلِتُ َ كبرُوا اللَّهَ عََلى مَا
( هَدَا ُ كمْ وََلعَلَّكُمْ تَشْ ُ كرُو َ ن﴾ (سورة البقرة، الآية: 185
ความว่า : เดือนเราะมะฎอนนั้นเป็นเดือนที่อัลกุรอานได้ถูก
ประทานลงมาในฐานะเป็นข้อแนะนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอัน
ชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะนำนั้น และเป็นสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงกับ
ความเท็จ ดังนั้นผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว เขาก็จงถือ
ศีลอดในเดือนนั้น และผู้ใดป่วยหรืออยู่ในการเดินทาง ก็จงถือใช้ในวัน
อื่นแทน อัลลอฮฺทรงประสงค์ให้มีความสะดวกแก่พวกเจ้า และไม่ทรงให้
มีความลำบากแก่พวกเจ้าและเพื่อที่พวกเจ้าจะได้(ถือศีลอด)อย่าง
ครบถ้วนซึ่งจำนวนวัน(ของเดือนเราะมะฎอน) และเพื่อพวกเจ้าจะได้เชิด
ชูความเกรียงไกรของอัลลอฮฺในสิ่งที่พระองค์ทรงแนะนำแก่พวกเจ้า และ
เพื่อพวกเจ้าจะขอบคุณ [อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 185]
2. ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ รายงานว่า ท่าน
รอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวไว้มีความว่า “ผู้ใดถือศีลอด
ในเดือนเราะมะฎอนด้วยความศรัทธามั่นและหวังในการตอบแทนความ
ดี เขาจะได้รับการอภัยโทษในความผิดที่ผ่านมา” (รายงานโดย อัล-
บุคอรีย์ และมุสลิม)
3. ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้รายงานว่า ท่าน
รอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวไว้มีความว่า “ความดีจะถูก
เพิ่มพูนเป็นสิบถึงเจ็ดร้อยเท่า(ผลตอบแทนการปฏิบัติความดีจะมี
กฎเกณฑ์เช่นนี้ทั้งสิ้น) อัลลอฮฺได้ตรัสว่า ‘นอกจากการถือศีลอด แท้จริง
มันเป็นสิทธิ์ของข้า ข้าจะตอบแทนมันเอง(คือไม่ได้เป็นไปตามกฎเกณฑ์
ข้างต้นแต่อยู่ที่อัลลอฮฺจะทรงตอบแทนมากมายเท่าใดก็ตามแต่ประสงค์)
เขาได้ละทิ้งอารมณ์ใคร่ ละทิ้งอาหารเพื่อข้า’ และสำหรับผู้ถือศีลอดนั้น
เขาจะดีใจสองวาระด้วยกัน นั่นคือในขณะที่ละศีลอด และดีใจในขณะที่
เขาได้พบกับพระเจ้าของเขา และกลิ่นปากของผู้ถือศีลอดนั้น ณ อัลลอฮฺ

แล้วมีความหอมยิ่งกว่ากลิ่นชะมดเชียงเสียอีก” รายงานโดย (อัล-
บุคอรีย์ และมุสลิม)
4. ดุอาอฺของผู้ถือศีลอดจะถูกตอบรับ ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ
อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวไว้ความว่า “สำหรับผู้ถือศีลอดนั้นในขณะที่เขา
ละศีลอดนั้นการขอดุอาอฺของเขาจะไม่ถูกผลักไส” (รายงานโดย อิบนุ
มาญะฮฺ)
ดังนั้นสมควรอย่างยิ่งที่มุสลิมจะรีบฉวยโอกาสในช่วงเวลาแห่ง
การละศีลอด ด้วยการขอดุอาอฺต่อพระผู้เป็นเจ้าของเขาเผื่อว่าเขาจะได้รับ
ของขวัญอันล้ำค่าจากพระองค์ และเพื่อความผาสุกทั้งชีวิตในโลกดุนยา
และอาคิเราะฮฺ
5. อัลลอฮฺทรงกำหนดประตูหนึ่งจากประตูแห่งสรวงสวรรค์ เป็น
การกำหนดเฉพาะแก่ผู้ที่ถือศีลอดซึ่งไม่มีผู้ใดผ่านประตูดังกล่าวนอกจาก
ผู้ถือศีลอด ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่เขาและเพื่อจำแนกแยกแยะ
ระหว่างเขากับบุคคลอื่นๆ... จากซะฮลฺ อิบนุ สะอฺด์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ
กล่าวว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวไว้มีความว่า
“ในสวนสวรรค์นั้นมีประตูหนึ่งซึ่งถูกกล่าวขานว่า อัร-ร็อยยาน เมื่อวัน
กิยามะฮฺมาถึง จะมีเสียงกล่าวว่า ‘ไหนผู้ถือศีลอด?’ ครั้นเมื่อพวกเขาได้
เข้าไปยังประตูนั้น มันก็จะถูกปิดและจะไม่มีใครได้เข้าไปอีกภายหลัง
จากนั้นแม้สักคนเดียว” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
6. การถือศีลอดนั้นจะทำการไถ่โทษ(ชะฟาอะฮฺ) แก่ผู้ถือศีลอด
ในวันกิยามะฮฺ จากอับดุลลอฮฺ อิบนุ อัมรฺ อิบนุ อาซ กล่าวว่า ท่านรอซูล
ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวไว้ความว่า “การถือศีลอดและ
อัลกุรอาน ทั้งสองนี้จะขอไถ่โทษ (ชะฟาอะฮฺ) แก่ผู้เป็นบ่าวในวันกิยามะฮฺ
การถือศีลอดจะกล่าวว่า ‘โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน ฉันได้ยับยั้งเขาจากการ
รับประทานอาหาร และการปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ ดังนั้นขอพระองค์
ได้โปรดให้ฉันขอไถ่โทษให้แก่เขาเถิด’ อัลกุรอานกล่าวว่า ‘ฉันได้ยับยั้ง
เขาไม่ให้นอนหลับในยามค่ำคืนดังนั้นได้โปรดให้ฉันขอไถ่โทษให้เขาเถิด’
แล้วทั้งสองก็ได้รับอนุญาตให้ขอไถ่โทษ(ชะฟาอะฮฺ)” (รายงานโดย
อะหฺมัด)
7. การถือศีลอดทำให้มุสลิมได้รู้จักและเคยชินกับความอดทน
ต่ออุปสรรคและความทุกข์ยากทำให้เขาเลิกละจากความยั่วเย้าและการ
ตกเป็นทาสแห่งตัณหา และฉุดกระชากเขาออกจากความใคร่ในอารมณ์
สี่ : เงื่อนไขที่จำเป็น(วาญิบ)ในการถือศีลอด
บรรดานักวิชาการมุสลิมต่างเห็นฟ้องต้องกันว่า การถือศีลอด
เป็นหน้าที่จำเป็น(วาญิบ)แก่มุสลิมผู้บรรลุศาสนภาวะ มีสติสัมปชัญญะ
มีสุขภาพดี มิได้เป็นผู้เดินทางและจำเป็นสำหรับสตรีที่สะอาดจาก(ไม่มี)
รอบเดือนหรือเลือดเสียหลังคลอดบุตร(นิฟาส)
ห้า : ข้อควรปฏิบัติต่างๆของผู้ถือศีลอด
1. ห่างไกลจากการนินทา กล่าวให้ร้าย และสิ่งที่อัลลอฮฺทรงห้าม
ดังนั้นมุสลิมจำเป็นจะต้องสำรวมคำพูด และต้องระมัดระวังการสร้าง
ความเสียหายแก่ผู้อื่น ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวไว้
ความว่า “บุคคลใดไม่ละทิ้งคำพูดโกหก พฤติกรรมเท็จและไร้สาระ ทั้ง
ยังปฏิบัติมันอยู่อีก(ในขณะที่ถือศีลอด) ดังนั้นไม่มีความจำเป็นใดๆ
สำหรับอัลลอฮฺที่เขาผู้นั้นจะต้องอดอาหารและเครื่องดื่มของเขา(เพราะไม่
มีผลบุญใดๆ แก่เขาเลย)” (รายงานโดยอัล-บุคอรีย์)
2. ไม่ละเลยต่อการรับประทานอาหารสะฮูรฺ(อาหารช่วงก่อนรุ่ง
สาง) เพราะจะช่วยให้ผู้ถือศีลอดมีความกระปรี้กระเปร่าและมีชีวิตชีวาใน
การถือศีลอดในแต่ละวัน ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้
ส่งเสริมในการดังกล่าวโดยที่ท่านปรารภไว้ความว่า “การรับประทาน
อาหารสะฮูรฺนั้น เป็นอาหารมื้อที่มีความสิริมงคล (บารอกัต) ดังนั้นท่าน
จงอย่าละเลยในการที่จะรับประทานอาหารสะฮูรฺ ถึงแม้ว่าคนหนึ่งคนใด
จากพวกท่านจะดื่มน้ำเพียงแค่อึกเดียวก็ตาม แท้จริงอัลลอฮฺและบรรดา
มลาอิกะฮฺของพระองค์ทรงขอพรให้แก่ผู้ที่รับประทานอาหารสะฮูรฺ”
(รายงานโดย อะหฺมัด)
3. ให้รีบละศีลอดทันทีเมื่อแน่ใจว่าดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ท่าน
รอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวไว้ความว่า “ประชาชาติของ
ฉันยังคงอยู่ในความดีตราบเท่าที่พวกเขารีบละศีลอด(เมื่อถึงเวลา)”
(รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
4. ควร(เริ่ม)ละศีลอดด้วยอินทผาลัมสดหรืออินทผาลัมแห้ง
เพราะดังกล่าวนี้ เป็นแบบฉบับของท่านรอซูล(ซุนนะฮฺ) ดังที่ท่าน
อะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้กล่าวไว้ความว่า “ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ
อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ละศีลอดด้วยอินทผาลัมสดก่อนที่ท่านจะละหมาด
(มัฆริบ) ถ้าหากว่าไม่มีอินทผาลัมสดท่านก็จะละศีลอดด้วยอินทผาลัม
แห้ง หากว่าไม่มีอินทผาลัมแห้งท่านก็จะดื่มน้ำ” (รายงานโดย อบู ดาวูด)
5. อ่านอัลกุรอานให้มากๆ รวมทั้งการซิกรุลเลาะฮฺ (การรำลึก
ถึงอัลลอฮฺ) การสรรเสริญต่อพระองค์ การบริจาคทาน ทำคุณงามความดี
และละหมาดซุนนะฮฺต่างๆให้มากๆ ตลอดจนการประกอบความดีอื่นๆ
ดังที่ท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ได้กล่าวไว้ความว่า “ท่าน
รอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เป็นผู้ที่ประเสริฐที่สุดในเรื่องของ
ความดี และเป็นผู้ที่ประเสริฐที่สุดในช่วงแห่งเดือนเราะมะฎอน โดยที่
ญิบรีลได้มาพบกับท่านรอซูลในทุกค่ำคืนของเดือนเราะมะฎอนและ
ทบทวนอัลกุรอานแก่ท่าน และท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม
ในขณะที่เจอกับญิบรีลนั้น ท่านเอาใจใส่ในความดียิ่งเสียกว่าสายลมพัด
เสียอีก” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
หก : สิ่งที่ทำให้เสียศีลอด
1. กินหรือดื่มโดยเจตนาในช่วงกลางวันและรวมไปถึงสิ่งต่างๆที่
นำไปสู่การละศีลอด เช่นการให้น้ำเกลือ การรับประทานยาทางปาก
เพราะถือว่าอยู่ในสถานะเดียวกับการกินและดื่ม ส่วนการที่มีเลือดไหล
ซึมออกมาเพียงเล็กน้อยนั้น เช่น การเจาะเลือด เพื่อนำมาตรวจวินิจฉัย
ทางการแพทย์ ดังกล่าวนี้ถือว่าไม่มีผลกระทบใดๆต่อการที่จะทำให้เสีย
ศีลอด

2. การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงกลางวันของเดือนเราะมะฎอน ใน
การนี้ทำให้การถือศีลอดของเขาต้องโมฆะ เขาจะต้องลุกะโทษ(เตาบะฮฺ)
ต่ออัลลอฮฺในฐานะที่เขาละเมิดต่อสิ่งที่ต้องห้ามแห่งเดือนเราะมะฎอน เขา
จะต้องถือศีลอดชดใช้และเสียค่าปรับด้วยการปล่อยทาสให้เป็นอิสระ
หนึ่งคน หากว่าไม่มี(ทาส)ก็ให้ถือศีลอดติดต่อกันสองเดือน หากไม่มี
ความสามารถก็ให้เขาให้อาหารแก่คนยากจนหกสิบคน โดยจ่ายให้แก่ละ
คนนั้นครึ่งศออฺ( 2 กิโลครึ่งโดยประมาณ) ไม่ว่าอาหารนั้นจะเป็นข้าวสาลี
(ข้าวบาร์เล่)หรืออย่างอื่นก็ได้ที่ถือว่าอาหารท้องถิ่นนิยมของแต่ละ
ประเทศ ดังหะดีษฺจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ท่านกล่าวว่า :
ในขณะที่เรานั่งอยู่กับท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น มี
ชายผู้หนึ่งได้เข้ามาหาท่านแล้วพูดขึ้นว่า “โอ้ ท่านรอซูล! ฉันพินาศแล้ว!”
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงถามว่า “เกิดอะไรขึ้นแก่
ท่านหรือ?” เขาตอบว่า “ฉันได้ร่วมหลับนอนกับภรรยาฉันในขณะที่ฉัน
ถือ ศีลอดอยู่
ท่านรอซูลจึงกล่าวว่า “ท่านมีทาสเพื่อที่จะปลดปล่อยให้
เป็นอิสระบ้างหรือไม่?” เขาตอบว่า “ไม่มี” ท่านจึงกล่าวอีกว่า “ท่านมี
ความสามารถในการถือศีลอดติดต่อกันสองเดือนหรือไม่?” เขาตอบว่า
“ไม่” ท่านจึงกล่าวอีกว่า “ท่านมีความสามารถให้อาหารแก่คนยากจนหก
สิบคนได้หรือไม่?” เขาตอบว่า “ไม่” อบู ฮุร็อยเราะฮฺ)เล่าว่า ดังนั้นท่าน
รอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงนิ่งอยู่ชั่วขณะหนึ่ง ในขณะนั้นมี
ภาชนะที่บรรจุด้วยอินทผาลัมถูกนำมายังท่าน ท่านจึงถามว่า “ไหนผู้ถาม
เมื่อครู่?” ชายผู้นั้นตอบว่า “ฉันเอง” ท่านรอซูลกล่าวแก่ชายผู้นั้นว่า “จง
นำภาชนะที่บรรจุอินทผาลัมนี้ไปบริจาคเสีย” เขากล่าวว่า “มีผู้ยากจนกว่า
ฉันอีกกระนั้นหรือ โอ้ รอซูลุลลอฮฺ ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า ระหว่าง
ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกไม่มีครอบครัวใดที่ยากจนกว่าฉันอีกแล้ว”
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม หัวเราะจนเห็นซี่ฟันขาวของ
ท่าน แล้วกล่าวแก่ชายผู้นั้นว่า “ถ้าเช่นนั้นก็จงให้ทานแก่ครอบครัวของ
เจ้าเถิด” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์และมุสลิม)
3. การหลั่งน้ำอสุจิ ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุจากการจูบ เล้าโลม การ
สำเร็จความใคร่ หรือการเพ่งมอง(ด้วยความใคร่)ก็ตาม เมื่อผู้ถือศีลอด
ได้ทำการหลั่งน้ำอสุจิด้วยสาเหตุดังกล่าวนี้ การถือศีลอดของเขาก็ใช้
ไม่ได้ เขาต้องถือศีลอดชดใช้ในขณะเดียวกันเขาต้องอดอาหารใน
ช่วงเวลาที่เหลืออยู่ของวันนั้นโดยไม่ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺ(ค่าปรับ)ใดๆ
ทั้งสิ้น แต่เขาจะต้องเตาบะฮฺ(ขอลุกะโทษ)ต่ออัลลอฮฺอย่างจริงจัง และ
ต้องหลีกเลี่ยงจากทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นเหตุให้เกิดอารมณ์ทางเพศ ส่วน
ในกรณีที่เมื่อเขานอนหลับแล้วเกิดฝันโดยมีน้ำอสุจิเคลื่อนออกมานั้นไม่
ทำให้เสียการถือศีลอด และไม่ต้องเสียค่าปรับใดๆทั้งสิ้นแต่เขาจะต้อง
อาบน้ำญานาบะฮฺ
4. การอาเจียนโดยเจตนา ด้วยการทำให้สิ่งที่อยู่ในท้องออกมา
ทางปาก แต่ถ้าหากว่าอาเจียนออกมาโดยไม่ตั้งใจก็ไม่ทำให้เสียศีลอด
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวไว้ความว่า “ผู้ใดที่
อาเจียน(โดยไม่ตั้งใจ) ไม่จำเป็นที่เขาจะต้องชดใช้ และผู้ใดที่ทำให้เกิด
การอาเจียนโดยเจตนาเขาก็จงถือศีลอด(ชดใช้) (รายงานโดย อบู ดาวูด
และ อัต-ติรมีซีย์)
5. การมีรอบเดือนและเลือดหลังคลอดบุตร(นิฟาส)ไม่ว่าจะเป็น
ช่วงกลางวันหรือท้ายของกลางวัน หรือแม้เพียงแค่ก่อนดวงอาทิตย์ลับ
ขอบฟ้าก็ตาม
ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ถือศีลอดนั้น ต้องงดจากการกรอกเลือด
(หิญามะฮฺ) เพื่อหลีกเลี่ยงจากความเสี่ยงที่ทำให้การถือศีลอดนั้นต้อง
โมฆะไป
และที่ดีนั้นต้องไม่บริจาคเลือด นอกจากในภาวะฉุกเฉินเท่านั้น
หากว่ามีเลือดกำเดาไหลออกมาจากจมูกหรือไอ(ที่มีเลือดออกมา) หรือทำ
การถอนฟันนั้นไม่ทำให้เสียศีลอด
เจ็ด : บทบัญญัติทั่วไป
1. จำเป็นต้องถือศีลอดเมื่อเห็นจันทร์เสี้ยว อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿َفمَنْ شَهِدَ مِنْكُمُ الشَّهْرَ َفلْيَصُمْهُ﴾
( (سورة البقرة: 185
ความว่า : ดังนั้น ผู้ใดในหมู่พวกเจ้าอยู่ในเดือนนั้นแล้วก็จงถือ
ศีลอดในเดือนนั้น [อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 185]
การเป็นพยานของมุสลิมที่ซื่อสัตย์ยุติธรรมคนหนึ่งในการเห็น
ดวงจันทร์นั้นถือว่าเป็นการเพียงพอ ดังมีรายงานจากอิบนุอุมัร ท่านได้
กล่าวไว้ความว่า : ผู้คนได้เห็นดวงจันทร์ ฉันจึงนำเรื่องนี้ไปบอกแก่ท่าน
รอซูลว่าฉันได้เห็นดวงจันทร์(เช่นกัน) ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม จึงถือศีลอดและสั่งให้ประชาชนถือศีลอดดังการถือศีลอดของ
ท่าน” (รายงานโดย อบู ดาวูด, อัด-ดาริมีย์ และคนอื่นๆ)
การถือศีลอดของแต่ละประเทศนั้นขึ้นอยู่กับคำ สั่งของ
ผู้ปกครองมุสลิมในประเทศนั้นๆหากว่าผู้ปกครองมุสลิมออกคำสั่งให้มี
การถือศีลอดหรือไม่ก็ตาม จำเป็นที่จะต้องเชื่อฟัง(ฏออะฮฺ)ต่อผู้ปกครอง
มุสลิม หากไม่มีผู้ปกครองมุสลิมก็ให้ยึดถือปฏิบัติตามสภาศูนย์กลาง
อิสลามของประเทศนั้นๆ ทั้งนี้เพื่อความเป็นภารดรภาพแห่งอิสลาม
อนุญาตให้ใช้กล้องดูดาวในการดูดวงจันทร์ แต่ไม่อนุญาตให้ใช้
หลักการคำนวณทางดาราศาตร์ หรือการเห็นดวงดาวเพื่อกำหนดวันเข้า
บวชหรือออกบวช ให้ยึดถือตามการเห็นเท่านั้น ดังคำตรัสของอัลลอฮฺ
ที่ว่า
﴿َفمَنْ شَهِدَ مِنْكُمُ الشَّهْرَ َفلْيَصُمْهُ﴾
( (سورة البقرة: 185
ความว่า : ดังนั้น ผู้ใดในหมู่พวกเจ้าอยู่ในเดือนนั้นแล้วก็จงถือ
ศีลอดในเดือนนั้น [อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 185]
ผู้ใดได้เข้าสู่เดือนเราะมะฎอนโดยที่เขาบรรลุศาสนภาวะ
จำเป็นต้องถือศีลอดไม่ว่าช่วงเวลาของกลางวันนั้นจะยาวหรือสั้นก็ตาม
หลักการในการพิจารณาการเริ่มถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน
ของแต่ละแคว้น/หรือประเทศนั้น ขึ้นอยู่กับการเห็นตามตำแหน่งการขึ้น
ของดวงจันทร์ ดังกล่าวนี้เป็นทรรศนะที่ถูกต้องที่สุดจากสองทรรศนะ
ของนักวิชาการมุสลิม เนื่องจากบรรดาอุลามาอฺเห็นพ้องต้องกันว่า
ตำแหน่งการขึ้นของดวงจันทร์แต่ละตำแหน่งนั้นมีความแตกต่างกัน และ
ดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่รู้เห็นเด่นชัดกันโดยปริยาย เพราะท่านรอซูล
ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมกล่าวไว้ความว่า “ท่านทั้งหลายจงถือ
ศีลอดเมื่อเห็นดวงจันทร์(เข้าบวช) และท่านทั้งหลายจงละศีลอด(ออก
บวช) เมื่อเห็นดวงจันทร์ ดังนั้นถ้าหากว่ามีเมฆมาบดบังพวกท่าน ก็จง
นับเดือนชะอฺบานให้ครบ 30 วัน” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
2. ผู้ถือศีลอดจะต้องตั้งเจตนา (เนี๊ยต)ถือศีลอดในเวลากลางคืน
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวไว้ความว่า “แท้จริงทุกๆ
กิจการนั้นขึ้นอยู่กับการตั้งเจตนา (เนี๊ยต)” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์
และมุสลิม)
และท่านยังกล่าวอีกความว่า “ผู้ใดที่ไม่ได้ตั้งเจตนาก่อนรุ่งอรุณ
(ศุบฮฺ) นั้น ไม่มีการถือศีลอดสำหรับเขา(คือใช้ไม่ได้)” (บันทึกโดย
อะหฺมัด, อบู ดาวูด, อัต-ติรมิซีย์ และอัน-นะสาอีย์ จากหะดีษฺที่รายงาน
โดยท่านหญิงหัฟเซาะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา)
3. ไม่อนุญาตให้ละทิ้งการถือศีลอดหรือละศีลอดในช่วงกลางวัน
ของเดือนเราะมะฎอน ยกเว้นผู้ที่มีอุปสรรคเท่านั้น อันได้แก่ ผู้ป่วย ผู้
เดินทาง สตรีที่มีรอบเดือน มีเลือดหลังการคลอดบุตร ตั้งครรภ์หรือให้
นมบุตร ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿َفمَنْ كَا َ ن مِنْ ُ كمْ مَرِيضًا َأوْ عََلى سََفرٍ َفعِدَّةٌ مِنْ
( َأيَّامٍ ُأخَر﴾ (سورة البقرة: 184
ความว่า :และผู้ใดในพวกเจ้าป่วยหรืออยู่ในการเดินทางก็ให้ถือ
ใช้ในวันอื่น [อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 184]
ส่วนผู้ป่วยที่ไม่มีความสามารถถือศีลอด อนุญาตให้เขาไม่ต้อง
ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน แต่ทว่าหลังจากนั้นเขาต้องถือศีลอดชดใช้
ตามจำนวนวันที่เขาขาดถือศีลอด
สตรีที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรที่กลัวว่าจะเกิดอันตรายแก่ตนเอง
นั้น ไม่ต้องถือศีลอด แต่เขาต้องถือศีลอดใช้ ดังกล่าวนี้เป็นมติเอกฉันท์

ของบรรดานักวิชาการมุสลิม เพราะถือว่าเขาอยู่ในสถานะเดียวกับผู้ป่วย
ที่เกรงว่าจะเกิดอันตรายแก่ชีวิต
ส่วนในกรณีที่เมื่อกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตของตนเอง
รวมทั้งเด็กทารกหรือเด็กในครรภ์นั้น ก็ไม่ต้องถือศีลอดเช่นกัน แต่
จำเป็นต้องถือศีลอดชดใช้ดังมีรายงานจากท่านอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ
ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺทรงลดหย่อนผ่อนผันแก่ผู้เดินทางครึ่งหนึ่งของ
การละหมาดและการถือศีลอด และทรงลดหย่อนผ่อนผันแก่สตรีที่มี
ครรภ์และสตรีผู้ให้นมบุตร” (รายงานโดย อัน-นะสาอีย์ และอิบนุ
มาญะฮฺ เป็นหะดีษฺ หะซัน)
สำหรับผู้ชราภาพและสตรีที่อ่อนแอนั้นได้รับการผ่อนผันโดยไม่
ต้องถือศีลอด หากว่าการถือศีลอดนั้นก่อให้เกิดความยากลำบากอันหนัก
หน่วง และเขาต้องจ่ายอาหารให้คนยากจน(มิสกีน)ทุกวัน ดังที่อัลบุคอรีย์
ได้บันทึกจากอะฏออฺ ซึ่งท่านได้ยิน อิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา
อ่านโองการ
﴿وَعََلى الَّذِينَ يُطِيُقونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ﴾
( (سورة البقرة: 184
ความว่า :และหน้าที่ของบรรดาผู้ที่ถือศีลอดด้วยความ
ยากลำบากยิ่ง(โดยที่เขาได้งดเว้นการถือ)นั้น คือการชดเชย อันได้แก่การ
ให้อาหาร(มื้อหนึ่ง)แก่คนยากจนมิสกีนคนหนึ่ง [อัล-บะเกาะเราะฮฺ
โองการที่ 184]
ท่านอิบนุ อับบาสได้กล่าวว่า: โองการดังกล่าวนี้ ไม่ใช่โองการที่
ถูกยกเลิก ความในโองการนี้หมายถึง ผู้ชราภาพ และผู้หญิงที่อ่อนแอที่

ไม่สามารถถือศีลอดได้ เขาต้องจ่ายอาหารให้แก่คนยากจน (มิสกีน) ทุก
วัน
4. การเดินทางเป็นอุปสรรคประการหนึ่งที่ได้รับการผ่อนผันไม่
ต้องถือศีลอด ดังหะดีษฺจากท่านอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ความว่า “เรา
ได้เดินทางร่วมไปกับท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ผู้ถือ
ศีลอดไม่ตำหนิติเตียนผู้ไม่ถือศีลอด และผู้ไม่ถือศีลอดก็ไม่ตำหนิติ
เตียนผู้ถือศีลอด” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)